เชื่อเถอะ อย่าเยอะเกิน

เชื่อเถอะ อย่าเยอะเกิน

เรื่องAdminAlljitblog

เคยรู้สึกกันกันไหมบางครั้งเราก็เป็นคนที่เยอะเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการที่คิดเยอะจนทำให้เราเสียเวลาไปกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือแม้แต่การที่เราวิตกกังวลไปกับทุกเรื่องจนอะไรในชีวิตมันดูยากไปหมดเลย 

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ อ่านแล้ว อ่านเล่า (ธนานนท์ โดมทอง) จะพาคุณท่องเข้าไปในโลกของหนังสือ พร้อม ๆ กับท่องเข้าไปในจิตใจของตัวคุณ

 

หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า เชื่อเถอะ อย่าเยอะเกิน

หนังสือ : เชื่อเถอะ อย่าเยอะเกิน

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดย ดร.ริชาร์ด คาร์สัน ตีพิมพ์ครั้งแรกนานกว่า 20 ปี ปัจจุบัน ดร.ริชาร์ด คาร์สัน เสียชีวิตไปแล้ว

 

ตีมของหนังสือเป็นเรื่องราวของการชวนให้เราทำความเข้าใจกับจิตใจของเราเอง รวมถึงแนะนำวิธีในการปฏิบัติตัวเองมีอยู่ด้วยกัน 100 บท บทละ 2-3 หน้า

 

โดยเลือกบางบทที่น่าสนใจ แล้วคิดว่านำไปปฏิบัติได้จริง ปฏิบัติได้ไม่ยาก เอามาให้คุณผู้อ่านได้อ่านกัน

เชื่อเถอะ อย่าเยอะเกิน อย่าเสียเวลาไปกับเรื่องเล็ก ๆ 

ต้องบอกว่าคนเรามักจะปล่อยตัวเองให้จมอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นเรื่องที่ใหญ่ขนาดนั้น เราเสียเวลาไปมากกับการจดจ่อปัญหา กับความกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ

 

ที่ตัวเราเองทำให้มันดูใหญ่โตเกินจริง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเวลาที่เราขับรถแล้วโดนรถคันอื่นปาดหน้า

 

แทนที่เราจะปล่อยให้เหตุการณ์นี้มันผ่านไปแต่เรากับเก็บอารมณ์โมโหเอาไว้กับตัวเราเอง หรือแม้กระทั่งการที่เรานำไปเล่าต่อทั้ง ๆ ที่เราควรที่จะให้มันจบกันไปแค่ตรงนั้น 

 

การฝึกที่จะไม่วิตกกังวลกับเล็ก ๆ มันจะส่งผลดีอย่างไม่น่าเชื่อเลยกับตัวเราเองผู้คนจำนวนมากเสียพลังชีวิตกับการกังวลเรื่องเล็ก ๆ จนพวกเขาเหล่านั้นหลงลืมความงดงาม แล้วก็ความมหัศจรรย์ของชีวิตจนหมดสิ้น

ตะกร้างานที่ไม่มีวันว่าง

ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าความสุขความ ความสุขของเรา ความสุขของคนที่เรารัก การที่ทำงานจนหลงลืมให้เวลากับตัวของเราเอง

 

ละเลยคนรักของเราจะทำให้สักวันเราสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป ถึงแม้ว่าไม่มีเราก็จะมีคนทำแทนเราอยู่ดี ควรแบ่งเวลาให้ทุกอย่างอย่างพอดี

ยอมให้คนอื่นได้หน้า

หลาย ๆ คนมักจะคิดว่าตัวเราเวลาพูด เวลาแสดงความคิดเห็นอะไรไป เราสำคัญที่สุดเรื่องของเราน่าฟังที่สุด การกระทำแบบนี้อาจจะทำให้ใครบางคนอึดอัด

 

การที่เรายอมให้คนอื่นได้เล่าเรื่องของพวกเขาบ้าง หรือคอยเชียร์ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นสนุกให้เขาพูดต่อจะทำให้เราเป็นคนที่น่าอยู่ด้วยและพวกเขาจะได้รับความั่นใจกลับไปด้วย

พิธีกรรมความเงียบ

อันนี้เป็นเรื่องของผู้เขียนเอง เขาใช้เวลาในช่วงเช้าที่ผู้คนกำลังหลับ ทำอะไรเงียบ ๆ คนเดียวซึ่งวันอาจจะเป็นการทำสมาธิ

 

หรือว่าการเล่นโยคะ หรือแม้แต่การอาบน้ำสัก 10 นาทีสบาย ๆ มันทำให้การจัดการช่วงเวลาที่เหลือของวันทำได้ดียิ่งขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลย 

หยุดหาข้อบกพร่อง

คนเราชอบหาจุดบกพร่องในความสัมพันธ์ คือมองหาแต่รอยร้าว แล้วก็หาสิ่งที่ต้องแก้ไข นิสัยแบบนี้ต้องบอกว่าไม่น่ารักเลย

 

นอกจากจะทำให้คุณเนี่ยห่างเหินกับคนอื่น ๆ อาจจะเป็นคนในครอบครัวหรือเป็นเพื่อน เราเองก็จะรู้สึกแย่ด้วย

 

การไปหาสิ่งที่ตัวเราไม่ชอบในตัวคนอื่นนะครับ มันกลับกลายเป็นการนิยามตัวเราไปด้วยว่าเราเป็นคนที่ชอบจับผิด ที่สำคัญไม่มีใครหรอกที่ชอบนิสัยแบบนี้ไม่มีใครหรอกที่ชอบโดนจ้องจับผิด

ยืดหยุ่นกับความเปลี่ยนแปลงในแผนงาน

หลายครั้งเลยที่แผนการที่เราวางไว้จะมีการเปลี่ยนแปลง คำถาม คือ ตัวของเราตอบสนองกับเวลานั้นอย่างไร กับการผิดแผนเรามีการตอบรับอย่างไร

 

ตั้งเป้าให้เราเป็นคนยืดหยุ่นเพราะว่าจะทำให้เราไม่เสียเวลาไปกับการหัวเสียนอกจากตัวเราจะดีขึ้นแล้วยังส่งผลให้คนรอบข้างลดความกังวลได้ด้วย

ใช้ชีวิตให้เหมือนกับวันสุดท้าย

ไม่มีใครรู้ว่าเราจะตายเมื่อไหร่ เราผลัดวันประกันพรุ่งกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังทำ โดยที่เราเอาเวลาเหล่านั้นมาใช้กับสิ่งที่ไม่สำคัญ ผู้เขียนแนะนำว่าให้อย่าเสียเวลาไปกับเรื่องเล็ก ๆ 

 

การเป็นคนที่จริงจังกับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่ดีแต่เชื่อเถอะว่าอะไรที่มันเยอะเกินไป ไม่มีความยืดหยุ่นคนที่จะแย่ที่สุดก็คือตัวเราเอง