12 กฎ

12 Rules For Life หนังสือที่ทำให้ ‘ชีวิตของคุณ ดีขึ้น’ หลังจากนี้และตลอดไป

เรื่องAdminAlljitblog

12 กฎที่ใช้ได้ตลอดชีวิต  12 Rules For Life

 

เขียนโดย จอร์แดน บี ปีเตอร์ (Jordan B. Peterson) โดย ผู้เขียนได้สื่อว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในการที่จะใช้ชีวิตที่ดีและมีความหมายซึ่ง Jordan  B เป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาผู้ทรงนิพนธ์ที่สุดในโลกตะวันต

 

Alljit ร่วมกับ Mini Reader ได้สรุปข้อคิดดี ๆ จากหนังสือ 12 Rules For Life หนังสือที่ทำให้ ‘ชีวิตของคุณ ดีขึ้น’ หลังจากนี้และตลอดไป

 

12 Rules For Life

สารบัญ

12 กฎที่นำมาปรับใช้ได้ตลอดชีวิต คือ ปัญญาที่นำไปใช้ได้จริงและทันทีเพื่อที่เราจะพบกับความมหัศจรรย์ของจิตวิญญาณมนุษย์และพลังเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ไม่มีวันหมดสิ้นภายในตัวเราเอง 

12 ข้อที่ใช้ได้ตลอดชีวิต

กฎข้อที่ 1 ยืนให้ตัวตรงอกผายไหล่ผึ่ง 

ท่าทางของสิ่งมีชีวิตจะส่งผลโดยตรงเกี่ยวกับสมองในการหลั่งสารเคมี มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่เมื่อรู้สึกประสบความสำเร็จก็จะยืดตัวและมั่นใจ

 

ดังนั้น เวลาที่เรารู้สึกเครียด กังวลใจ การยืนตรงอกผายไหลผึ่งจะสามารถช่วยเรียกความมั่นใจของเราได้

 

เพียงแค่บุคลิกของเราก็ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่เรากำลังทำอยู่ ยิ่งถ้าเรากำลังรู้สึกท้อแท้การที่เราห่อไหล่ยิ่งเหมือนตอกย้ำความรู้สึกของเรา

กฎข้อที่ 2 ดูแลตัวเองให้ดีเหมือนเวลาที่ดูแลคนอื่น

ในบทนี้ผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่าทำไมเราทำเหมือนว่าเราไม่ค่อยรักตัวเอง คนจำนวนมากไม่ยอมกินยาตามที่หมอสั่ง อาจจะกินครบบ้างไม่ครบบ้าง แต่กับลูก ๆ หรือสัตว์เลี้ยงของเราป่วยเราค่อนข้างจะบังคับทำให้คนที่เรารักกินยาครบ

 

อาจจะเป็นเพราะว่าลึก ๆ เรารู้สึกว่าเราไม่สมควรได้รับสิ่งที่ดี เลยกีดกันตัวเองจากสิ่งดี ๆ ออกไป อย่างแรกเลยคือชื่นชมตัวเองบ้าง ใส่ใจตัวเองอย่างเหมาะสม

กฎข้อที่ 3 คบหาคนที่อยากให้คนได้ดี

ผู้เขียนได้แนะนำว่าจงคบหาแต่คนที่อยากให้เราได้ดี ไม่ได้ใช้เราเป็นฐานให้พวกเขารู้สึกภูมิใจหรือรู้สึกละอายใจน้อยลง

 

ซึ่งการที่เรามีเพื่อนที่คอยขัดคอเราตอนที่เราทำนิสัยแย่ ๆ คอยเตือนเราบ้าง เป็นสิ่งที่จำเป็นเราต้องยอมรับสิ่งที่เราไม่ได้มองเห็นตัวเองสิ่งที่เพื่อนเตือนอาจจะทำให้เราไม่พอใจจริง ๆ แล้วในระยะยาวคำเตือนเหล่านี้เป็นคำเตือนที่ติเพื่อก่อและมันดีต่อเรา

กฎข้อที่ 4  เปรียบเทียบตัวเรากับคนที่เราเป็นในอดีตไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเป็นในวันนี้ 

ไม่ว่าเราจะทำอย่างไรในโลกกว้างก็ยังมีคนที่เก่งกว่าเราเสมอ การที่เราทำอะไรได้ไม่ดีไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว ความอิจฉาคือราคาที่ต้องจ่าย มนุษย์เกิดมาต้องมีความอิจฉาเป็นสิ่งควบคู่กันในเวลาใดเวลาหนึ่ง

 

ถ้าเราลดความอิจฉาของเราลงแล้วตั้งเป้าหมายของเราจากสิ่งเล็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ จนสำเร็จเป็นสิ่งใหญ่เราก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุข คนเราที่ควรเปรียบเทียบด้วยมีแค่คือตัวเราในอดีตไม่ใช่คนอื่น

กฎข้อที่ 5 อย่าให้ลูกของคุณทำสิ่งที่จะทำให้คุณไม่ชอบพวกเขา

ในตอนที่เราเป็นเด็กเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าการเล่นแบบไหนคือเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม คนที่เป็นเด็กมักจะถามได้แค่ว่าอันไหนควรหรือไม่ควร ซึ่งการให้รางวัลหรือแม้กระทั้งการทำโทษเป็นกลยุทธ์ที่ต้องใช้ในเวลาที่เหมาะสม การขู่ทำโทษอย่างเดียวจะทำให้เขาเติบโตมาด้วยความไม่มั่นใจ

 

การให้รางวัลอย่างเดียวทำให้พวกเขาไม่รู้ขอบเขตในสิ่งที่ทำได้ทำให้หลงตัวเองโดนคนอื่นเกลียดตอนโต เพราะฉะนั้นแล้วการทำทุกอย่างให้พอดีให้รางวัลลงโทษอย่างเหมาะสมทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ตัวเรา อยากให้ลูกเราเป็นแบบไหนเราต้องเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกของเรา

กฎข้อที่ 6  ดูแลบ้านของคนให้เรียบร้อยก่อนที่จะวิจารณ์โลก

ซึ่งผู้เขียนได้ตั้งหัวข้อไว้ว่าจริง ๆ แล้วโลกนี้ไม่ยุติธรรม สื่อได้ว่าต่อให้โลกมันดีแค่ไหนถ้าแต่เราทำตัวแย่ ๆ ชีวิตมันก็จะไม่ดีขึ้น 

กฎข้อที่ 7 ทำสิ่งที่มีความหมายไม่ใช่สิ่งที่ง่ายทันใจ

ผู้เขียนเล่มนี้ยกตัวอย่างของประโยชน์การถนอมอาหารของมนุษย์ ว่าการถนอมอาหารเป็นสิ่งที่ถูกค้นพบว่ามีประโยชน์ การที่เรารู้จักถนอมอาหาร ใช้ไฟ แบ่งปันให้คนใกล้เคียงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก ๆ

กฎข้อที่ 8 พูดความจริงหรืออย่างน้อยก็ไม่โกหก

วิถีชีวิตของคนที่พูดความจริงกับคนที่โกหกมันแตกต่างอย่างสิ้นเชิง การที่พูดเล่าเรื่องที่จะโกหกให้คนอื่นสบายใจจริง ๆ แล้วมันเหมือนระเบิดเวลาสิ่งที่เราโกหกไปไม่ว่าวันใดวันหนึ่งมันจะกลับมาเป็นสิ่งที่ทำร้ายเราในระยะยาวแน่นอน

กฎข้อที่ 9 สงสัยไว้ก่อนว่าคนที่คุณกำลังฟังอาจรู้บางสิ่งที่คุณไม่รู้

ความรู้เราจะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ที่ตัวเรา หลายครั้งที่เราช่วยแก้ปัญหาของคนอื่นได้ด้วยการฟังเฉย  ๆ คนที่พูดเก่งมีเยอะกว่าคนที่ฟังเก่ง

 

แต่หากจะให้หาคนที่ฟังเก่งจริง ๆ ฟังด้วยความเข้าใจไม่ใช่ฟังแค่คำพูดที่เราพูดแต่ฟังด้วยบริบทกิริยาท่าทาง หาได้น้อยมากจริง ๆ ซึ่งการฟังนี้ถือเป็นสกิลที่ขอแนะนำให้เราต้องฝึกตั้งแต่ตอนนี้เลย

กฎข้อที่ 10 พูดอะไรให้ชัดเจน

ปัญหาเล็ก ๆ จากการไม่พูดคุยกันเหมือนระเบิดเวลาทำให้เกิดปัญหา การยอมรับว่ามีปัญหาเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา

กฎข้อที่ 11 อย่าไปยุ่งเวลาที่เด็ก ๆ กำลังเล่นสเก็ตบอร์ด

สาเหตุที่เราไม่ควรเข้าไปยุ่งเวลาที่เด็กกำลังไปทำอะไรที่อาจจะเป็นการสันทนาการหรือทำความคิดสร้างสรรค์

 

เพราะเด็กคนนั้นอาจจะเป็นแชมเปี้ยนในอนาคต เราไม่ควรเข้าไปแทรกแซงเด็ก ๆ ที่กำลังเล่นอะไรสักอย่างฟังดูอาจจะอันตรายแต่ถ้าไม่ร้ายแรงค่อย ๆ พวกเขาทำต่อไปให้เขาได้ลองสร้างประสบการณ์ในชีวิตของตัวเอง

กฎข้อที่ 12 หยุดเพื่อลูกแมวที่คนพบเจอตามถนนบ้าง

สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะสื่อเลยก็คือให้โอกาสตัวเองมีความสุขบ้าง ในชีวิตที่เราเจอแต่ความวุ่นวาย เราต้องให้เวลากับสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขบ้าง

Related Posts