คิดลบ

คิดลบ ต่อตัวเอง ชอบโทษตัวเอง จนรู้สึกไม่ภูมิใจในตัวเอง

เรื่องAdminAlljitblog

เวลาที่เรามีความ ” คิดลบ ” เกิดขึ้นบ่อย ๆ จนกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ  เป็นความคิดที่ใครหลาย ๆ คนรู้สึกว่าไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยใช่ไหมคะ? บทความนี้จะมาพูดคุยในเรื่องของเทคนิคในคิดบวกและเราจะทำยังไงได้บ้างถ้าเราชอบคิดลบบ่อย ๆ

 

Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ

ความ คิดลบ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ความคิดลบเป็นความเชื่อของตัวเราที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีต เรื่องไหนหรือเหตุการณ์ไหนที่เคยเกิดขึ้นแล้วทำให้เรามีชุดความคิดและความเชื่อแบบนี้ ๆ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรที่คล้ายเดิมอีก ความคิดลบเหล่านั้นก็จะเกิดขึ้นทับซ้อนกันเหมือนตอนที่เกิดขึ้นในอดีต

 

เราจะสร้างความคิดแบบนี้ขึ้นมาในจิตใต้สำนึกของตัวเราเอง จนกลายเป็นความคิดด้านลบอัตโนมัติ สุดท้ายจะกลายเป็นความเคยชินกลายเป็นเป็นอุปนิสัยของตัวเราเอง 

จะทำอย่างไรได้บ้างเมื่อเกิดความ คิดลบ ? 

“ใช้เวลาฝึกฝน”

การที่จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนคิดบวกได้ต้องใช้เวลาและการฝึกฝน เพราะการที่เรามีความคิดด้านลบแบบอัตโนมัติเกิดขึ้นได้ขนาดนี้ ก็มาจากการสะสมประสบการณ์ตั้งแต่อดีต การที่เราจะสร้างแนวคิดเชิงบวกกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

ต้องอาศัยการปฏิบัติซ้ำ ๆ ฝึกฝนซ้ำ ๆ จนกลายเป็นนิสัยใหม่ เป็นความคิดใหม่ ๆ ต่อเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น 

“เรื่องดี ๆ จากเรื่องแย่ ๆ”

ในวันนึงถ้ามันกลายเป็นความคิดเชิงบวกอัตโนมัติกับตัวเราเอง เวลาที่เราสามารถมีมุมมองด้านบวกหรือสามารถปรับเปลี่ยนความคิดตัวเราเองให้เท่าทันความคิดเชิงลบ

 

เราจะมองเห็นว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ในตอนแรกเราไม่สามารถเห็นประโยชน์จากมัน ถ้าเราเเค่ปรับความคิดสักนิดหน่อยราก็จะเห็นว่ามีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นในเรื่องราวเลวร้ายได้เสมอ  

เริ่มต้นการฝึกตัวเองให้คิดบวก   

1. ยอมรับกับตัวเองว่ามีความคิดลบเกิดขึ้น

เริ่มต้นจากตัวเราก่อน เราลองยอมรับกับตัวเองว่าเราเป็นคนที่มีความคิดด้านลบเกิดขึ้นอัตโนมัติบ่อย ๆ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ตัวเราเองไม่ได้มองเห็นว่าการคิดลบของเราเป็นปัญหา

 

การที่เราจะเอาเทคนิคหรือเอาวิธีการไปฝึกฝน มันก็จะไม่เกิดประโยชน์และเราก็จะมองไม่เห็นประโยชน์ของการที่เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยเช่นเดียวกัน 

2. พยายามหยุดความคิดด้านลบตั้งแต่แว๊บแรกที่เข้ามา

เวลาที่เรามีความคิดลบบางอย่างเกิดขึ้นมาแว๊บแรก ให้เริ่มจากการเราหยุดอยู่กับตัวเองและลองพยายามหยุดกับความคิดด้านลบของตัวเอง

 

หลังจากที่หยุดแล้วลองทบทวนกับตัวเองว่า “ความคิดด้านลบที่เกิดขึ้นสามารถพลิกกลับเป็นอีกด้านได้ไหม” อาจจะทำให้เราค่อย ๆ มองเห็นมุมมองที่แตกต่างมากกว่าความคิดด้านลบ 

 

การทำแบบนี้บ่อยๆฝึกแบบนี้กับตัวเองบ่อย ๆ สมองเราจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและจะมีการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่มากยิ่งขึ้น เป็นการเรียนรู้ในการที่เราตอบสนองกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่มันแตกต่างจากเมื่อก่อน

 

เราจะมีการจัดระเบียบการเชื่อมโยงของระบบสมองเราใหม่ ให้มันเป็นอย่างที่เราอยากจะให้เป็น

 

เพราะเรามีการฝึกคิด เรามีการหยุดและมีการพลิกกลับมาคิดอีกฝั่ง สักพักสมองของเราก็จะเริ่มเรียนรู้ว่าเวลาที่มีความคิดด้านลบเกิดขึ้น เราก็จะพลิกมาอีกฝั่งหนึ่งได้

กุญแจสำคัญของการฝึกเป็นคนคิดบวก    

“ใส่ใจกับความคิด” และสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองว่า เกิดอะไรขึ้นบ้าง การที่ใช้คำว่า “พยายามคิดบวก” ไม่ได้หมายความว่าเราจะคิดได้ทันที

 

ทุกอย่างต้องใช้ความพยายาม เรื่องทุกเรื่องยากสำหรับเราอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่มันง่ายเลยในชีวิต แต่มันก็ไม่ได้แปลว่าทุกเรื่องมันจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเราเสมอไป 

 

“ไม่ได้คิดแต่ด้านที่ดี แต่คิดในมุมมองที่หลากหลาย”

 

การที่บอกว่าให้เราลองพยายามในการฝึกคิดอีกมุมนึง ไม่ได้หมายถึงว่าให้เรามองโลกในด้านดี แต่หมายถึงตัวเราเองควรจะฝึกคิดในอีกมุมที่มันหลากหลายมากกว่าเดิม เพื่อให้สมองเราเกิดเป็นความคุ้นเคย

 

จากนั้นสมองเราก็จะเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ ตามที่เราในเป็นคนกำหนดได้ 

 

“ลองทำให้ตัวเองสงบลง”

 

ทำให้ตัวเองก็ค่อย ๆ สงบลงด้วยการหายใจ ด้วยการยืนนิ่ง ๆ แล้วบอกกับตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไร เรากำลังคิดอะไรอยู่ เรากำลังยืนอยู่ที่ไหน รอบ ๆ ห้องเราเป็นอย่างไรบ้าง เรากำลังได้ยินเสียงอะไรอยู่

 

เพื่อตัวเราหยุดและกลับมาอยู่กับปัจจุบัน เราจะได้ชะลอความคิดของตัวเราเองให้ค่อย ๆ ช้าลง เพื่อที่เราจะได้มี ช่วงเวลาในการคิดและทบทวนเพื่อพลิกกับใหม่ด้านหนึ่งได้ด้วย 

3. พาตัวเองไปอยู่ในสังคมที่คิดเชิงบวก

เราอาจจะต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในใกล้ ๆ สังคมที่เขามีการคิดเชิงบวกด้วย เพราะถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยู่ในสังคมที่มีแต่การพูดตำหนิกัน มีการพูดกันในเชิงลบ ตัวเราเองก็จะค่อย ๆ ซึมซับสิ่งเหล่านั้น แล้วเราก็จะมองว่านั่นคือบรรทัดฐานที่ถูกต้องแล้ว 

 

การมองเชิงบวกไม่ได้หมายความว่าเรามองโลกในแง่ดีเกินไป แต่คือการมองโลกให้สอดคล้องกับความเป็นจริง การคิดบวกหมายถึงการที่เราสามารถมีความคิดที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

 

ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิต และตัวเราเองก็จะเป็นคนที่คนอื่น ๆ อยากจะเข้าหา

 

มากไปกว่านั้น อาจจะช่วยลดในเรื่องของความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและรวมไปถึงเรื่องของปัญหาอัลไซเมอร์ได้ด้วย

Related Posts