คุณค่าของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่คุณทำ การขยันทำงานเป็นเรื่องที่ดีต่อองค์กรและดีต่อตัวเราจริงๆ หรือเปล่า? “ความขยัน” อาจกำลังทำร้ายเราโดยไม่ทันตั้งตัว
ความขยัน ที่ไม่ได้ส่งผลดี
“ยุคที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ” ในปัจจุบันเรามักจะเห็นประโยคนี้บ่อย ๆ ด้วยค่านิยม ด้วยรูปแบบการใช้ชีวิต ที่แข่งขันสูง อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียสร้างช่องทำมาหากิน
ทำให้หนุ่มสาวที่ยังเรียนไม่จบเริ่มต้นเร็ว บางคนประสบความสำเร็จก่อนคนที่เรียนมหาลัยหรือคนที่ทำงานแล้ว ทำให้คนเหล่านั้นเกิดกดดันขึ้นมาว่าฉันจะต้องรีบ จะต้องขยัน
แอคทีฟมากขึ้น ฝืนตัวเองจนไม่มีความสุข
มีงานศึกษาวิจัยออกมายืนยันว่าการ WFH มีประโยชน์และสามารถช่วยเพิ่ม Productivity ของพนักงานได้ Productivity เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการทำงาน
บางคนมีน้อย บางคนมีมาก แต่ถ้ามีมากไปจนทำร้ายตัวเองอาจไม่ดีสักเท่าไหร่ หลายคนเชื่อว่า ฉันต้องยุ่งตลอด ฉันต้องมีงานตลอด จนขาด work-life balance ไปเลยก็มีเยอะ
Toxic Productivity ความขยัน ที่ทำร้ายเรา
Toxic productivity หมายถึง ความต้องการที่จะใช้ชีวิตให้ productive อยู่ตลอดเวลา การพยายามทำอะไรให้เยอะเข้าไว้ ทำงานทั้งวัน ทำกิจกรรมทั้งวัน
บางคนเลือกที่จะออกกำลังกายต่อ เรียนคอร์สออนไลน์ต่อ หรือทำอะไรบางอย่างที่ต้องใช้แรงกายแรงสมองเกินที่จำเป็นต้องทำ หลังจากที่ตัวเองเลิกงาน
ไม่อนุญาตให้ตัวเองพักผ่อนเพราะกลัวจะต้องเจอกับความรู้สึกผิดความรู้สึกกังวลว่าตัวเองจะทำไม่มากพอทำไม่ดีพอ แล้วจะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
วิธีรับมือ ความขยัน ที่ไม่ส่งผลดี
1. ฝึกการใช้ Work-life balance
Work-life balance คือ การแบ่งเวลาให้ทั้งกับงานและชีวิตส่วนตัว การกำหนดไว้อย่างชัดเจนเลยว่า วันไหน ทำอะไร แบบละเอียด
2. มี Self-talk และ Self care ที่ดี
มีการศึกษาทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ self-talk มากมายที่พบว่า self-talk มีผลต่อการทำสิ่งต่าง ๆ อย่าลืมชื่นชมและดูแลเอาใจใส่ตัวเอง
3. เลิกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
ฝึกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นให้น้อยลง สำรวจตัวเอง ให้มั่นใจว่าเราต้องการอะไร เราต้องการใช้ชีวิตแบบไหน แล้วโฟกัสกับชีวิตตัวเอง
เพราะทุกคนมีจังหวะการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน จะขยันมาก ขยันน้อย ก็มีความสุขได้ 🙂
Post Views: 3,251