” Low self-esteem ” ไม่เห็นคุณค่าของตัวเองเท่ากับซึมเศร้าไหม?
Self-esteem คืออะไร?
เป็นการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่เป็นมากกว่าการชอบตัวเองโดยทั่วไป แต่ยังหมายถึง การเชื่อว่าเราสมควรได้รับความรักและเห็นคุณค่าของความคิด ความรู้สึก ความคิดเห็น ความสนใจ และเป้าหมาย
แบบเข้าใจง่ายที่สุด Self-esteem คือ การภูมิใจในตัวเอง รักตัวเอง ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น ทุกคนควรเห็นคุณค่าตัวเอง เพราะสิ่งนี้สำคัญมาก แต่ในทางปฏิบัติการเห็นคุณค่าตัวเองอาจไม่ใช่เรื่องง่าย
เรากำลังเป็นคน Low self-esteem หรือเปล่า?
ถ้ามีลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ อาจเข้าข่ายว่ามี Low self-esteem
1.อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์
2.ไม่กล้ากำหนดของเขตตัวเอง
3.ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
4.พูดถึงตัวเองในเชิงลบ
5.จมกับตัวเองในอดีต
6.กลัวความผิดพลาด
7.กลัวการเข้าสังคม
8.ชอบเปรียบเทียบ
สาเหตุที่ทำให้เกิด Low self-esteem
1. ครอบครัว
self-esteem ของคนบางคนถูกผู้ใหญ่ทำลายไปตั้งแต่วัยเด็กเพียงเพราะคำว่า “อย่าชมเด็กเยอะ เดี๋ยวเหลิง” ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าจะวัยไหน การชื่นชมเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างต้องการ
2. สังคมโซเชียล
การเห็นสื่อสังคมทำให้ยิ่งเป็นการตอกย้ำกับตัวเองว่าเรายังดีไม่พอ สวยไม่พอ เก่งไม่พอ ถ้าเทียบกับคนอื่น
3.ไม่มีกำลังใจ
ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามที่มันยาก ท้าทาย ก็ไม่เคยได้รับกำลังใจจากใครเลย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรอบข้าง
4. ถูก Bully
ทั้งทางคำพูดและการกระทำ จะทำให้มีการรับรู้คุณค่าของตัวเองลดลง อีกทั้งยังสร้างบาดแผลภายในจิตใจ
5. เจอกับความล้มเหลว
การประสบปัญหาในชีวิตที่ส่งผลกับสภาพจิตใจ อาจทำให้คน ๆ นั้นหมดหวังกับชีวิตและไม่พึงพอใจในตัวเอง
ผลกระทบจาก Low self-esteem
1. ส่งผลต่อความสุข
ทำให้ไม่มีความสุข กลัวและกังวลในทุกสิ่งที่ทำ ทำให้พลาดโอกาส นำไปสู่ความรู้สึกเกลียดตัวเอง
2. โรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล
เมื่อเวลาผ่านไป อาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอย่าง โรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้
วิธีการก้าวข้ามผ่านเรื่องที่ทำให้ Low self-esteem
1. รับรู้ความรู้สึกและความต้องการของตัวเอง
การรับรู้ความรู้สึกและความต้องการของตัวเองอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ดี ลองเริ่มด้วยการลองทำในสิ่งที่ชอบ สร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนคู่ควรที่จะมีความสุข
2. ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่ยึดกับความเป็นจริง
ลองก้าวผ่านความรู้สึกแย่ที่มีต่อตัวเองด้วยเป้าหมายเล็ก ๆ ถ้าทำสำเร็จอย่าลืมที่จะให้รางวัลตัวเอง เพื่อเป็นแรงเสริมให้สามารถมองเห็นคุณค่าในตัวเอง
3. ลองหยิบยื่นความรู้สึกดี ๆ ให้คนอื่น
อาจจะเป็นคำชื่นชม ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ เวลาที่ได้ยินคำว่าขอบคุณ อาจทำให้เรามีความสุขและเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้นได้ รวมถึงพัฒนาความสัมพันธ์ด้วย
แต่อย่าลืมว่า ถ้าไม่ไหว ไม่ผิดที่จะไปพบจิตแพทย์ 🙂
Post Views: 4,583