เรื่องสยองขวัญ เรื่องฆาตกรรม เรื่องเล่าตำนานน่ากลัว ๆ เคยสงสัยไหม? ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี
บางคนอาจจะชอบเพราะว่าการฟังเรื่องผีมันน่าตื่นเต้น สนุกที่ได้ฟัง แต่วันนี้เรามีคำตอบตามหลักจิตวิทยาฝาก
ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี
Krista Jordan (คริสตา จอร์แดน) นักจิตวิทยาคลินิกในออสติน, เท็กซัส กล่าวว่า “สมองไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างจินตนาการและความเป็นจริงอย่างมีประสิทธิภาพเสมอไป”
ยกตัวอย่าง เช่น หากมีคนมาบรรยายเรื่องการกัดมะนาว และถ้าบุคคลนั้นบรรยายถึงมะนาวได้เก่งจริง ๆ ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกเข็ดฟัน หรือน้ำลายสอขึ้นมาได้ เหมือนกับการที่เราดูหนังสยองขวัญ
สมองจะลืมไปชั่วขณะว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นไม่เป็นอันตรายจริง ๆ อาการตอบสนองแบบสู้หรือหนีที่เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกถึงอันตรายจึงเกิดขึ้นระหว่างเราดูหนังด้วย
สารเคมีในสมองต่าง ๆ อย่างอะดรีนาลิน เอ็นดอร์ฟิน และโดพามีนจึงถูกหลั่งออกมาทำให้เราตื่นเต้นและสนุกไปกับหนังสุด ๆ แบบไม่ต้องไปเผชิญเหตุการณ์น่ากลัวจริง ๆ
ความกลัว เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นฮอร์โมนออกมา โดย Margee Kerr (มาจี เคอ) นักสังคมศาสตร์ได้อธิบายกับ The Atlantic ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะสนุกไปกับความกลัวนี้
เพราะความตื่นเต้นนั้นจะเกิดขึ้นจากสารเคมีในสมองซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคน โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของนักประสาทวิทยาอย่าง David Zald
ได้บอกเอาไว้ว่าคนจะมีการตอบสนองต่อสารเคมีในสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่แตกต่างกัน
หนึ่งในฮอร์โมนหลักของร่างกายจะถูกผลิตออกมาในตอนที่ตกใจและตอนที่ตื่นเต้นก็ คือ โดาปามีน บางคนอาจจะตอบสนองกับฮอร์โมนนี้ได้ดี ทำให้รู้สึกสนุกกับสถานการณ์ที่น่าตื่นเต้น น่ากลัวกว่าคนอื่น ๆ
ทำไมคนชอบฟังเรื่องผี
การดูหนังผีก็มีประโยชน์
อ้างอิงจาก ฮาร์เวย์ มิลค์แมน (Harvey Milkman) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์จิตวิทยาที่ Metropolitan State University ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยว่า
กลุ่มคนที่ชอบดูหนังสยองขวัญจะสามารถเผชิญหน้ากับความกลัว สามารถสร้างความยืดยุ่นต่อความกลัวได้ หรือเรียกว่าเป็น ‘กลยุทธ์การเผชิญหน้ากับปัญหาที่มีประสิทธิภาพ’
และนั่นอาจทำให้พวกเขาได้เปรียบในสถานการณ์ที่น่ากลัวของจริง ขอยกตัวอย่างว่า เพื่อนเป็นคนที่ชอบดูหนังพวกซอมบี้ หรือพวกโรคระบาดมาก ๆ เลยนั่ง ๆ เลยนั่งคุยกันว่าถ้ามันเกิดเหตุการณ์นี้จริง ๆ
เพื่อนคนนั้นสามารถเอาตัวรอดได้เพราะเคยเรียนรู้จากหนัง ฟังดูแล้วมันอาจจะแบบจริงหรอ?
แต่จริง ๆ แล้วมันสามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะเหมือนเขามีการตั้งรับในสิ่งที่น่ากลัว มีพื้นฐานที่รู้ว่าควรจะจัดการกับสถานการณ์ตรงหน้ายังไง
กลัวผีนะแต่ก็ยังชอบดูแปลกไหม?
ในเชิงจิตวิทยามันเป็นการเพิ่มความเคารพในตัวเอง (self-esteem) ได้ทางหนึ่ง ทำให้รู้สึกมั่นใจ มีความภูมิใจในตัวเองขึ้น ส่วนคำอธิบายว่าทำไมบางคนก็ชอบที่จะกลัว บางคนก็ไม่ชอบ มันเป็นเรื่องของรสนิยม
เหมือนกับงานวิจัยของ David Zald ที่บอกว่าความชอบไม่ชอบต่อความกลัวมันเป็นเรื่องของสารเคมีในสมองที่แตกต่างกันในแต่ละคน สมองของแต่ละคนตอบสนองต่อโดปามีน ฮอร์โมนแห่งความสุข
ที่หลั่งออกมาในห้วงเวลาที่เราเจอเหตุการณ์สยองหรือน่าตื่นเต้นแตกต่างกัน บางคนก็ตอบสนองมากกว่า บางคนก็น้อยกว่า ตรงนี้เองที่ทำให้บางคนก็สนุกกับความกลัว แต่กับบางคนก็ไม่ค่อยสนุ
Post Views: 4,743