กอด โอบ สัมผัสทางกายที่แสนอบอุ่น หรือเรียกว่าการ Skinship จำเป็นไหม? สำหรับคนที่เราสนิท
คำว่า Skinship (สกินชิพ) เริ่มจากไหน?
คำว่า ‘สกินชิพ’ หรือ Skinship ไม่ได้มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึงการสัมผัสกันระหว่างแม่และลูก ในการจับมือ ลูบหัว กอดลูก
และลามไปถึงการ สกินชิพ กับเพื่อน หรือคนรัก แต่เมื่อคำนี้เข้าสู่เกาหลีใต้ เรามักจะได้ยินคำนี้ตามอุตสหกรรมบันเทิงของเกาหลี บริบทของคำนี้แปรเปลี่ยนความหมายสู่การสัมผัสแตะเนื้อต้องตัวกันระหว่างคู่รักหรือเพื่อน
อีกทั้งอิทธิพลของซีรีส์เกาหลีที่แพร่หลาย ทำให้คำว่า ‘สกินชิพ’ ดูเป็นการแสดงออกทางความรักที่น่ารัก และไม่ได้มีความหมายในแง่ลบ
ในเชิงวิทยาศาสตร์คำว่า Skinship
ในเชิงวิทยาศาสตร์เรียกการสัมผัสเหล่านี้ว่า ‘ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกาย’ (Somatic Sensory System หรือ Body Sensing System)
ข้ออ้างอิงงานวิจัยของ แฮร์รี่ เอฟ ฮาร์โลว์ (Harry F. Harlow) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ทำการทดลองศึกษาพฤติกรรมของ ลิงรีซัส โดยการสร้างหุ่นแม่ลิงจำลองขึ้นมา 2 ตัวซึ่งทำด้วยลวดตาข่าย
โดยสร้างความแตกต่างด้วยการให้ลิงจำลองตัวหนึ่งมีผ้าขนหนูหนานุ่มห่มไว้ ส่วนลิงจำลองอีกตัวนั้นไม่มีผ้าห่อแต่มีขวดนม ในตอนแรกมีการตั้งสมมติฐานว่าลูกลิงน่าจะเลือกแม่ลิงจำลองที่มีขวดนม
แต่ผลการทดลองกลับกลายเป็นว่าลูกลิงเลือกที่จะเข้าหาลิงที่มีผ้าขนหนูมากกว่า แม้ว่าจะไปหาแม่ลิงจำลองที่มีขวดนมในบางครั้งก็ตาม แต่เมื่อใดที่มีเสียงกระทบเพียงเล็กน้อย มันกลับซบที่แม่ลิงที่มีผ้าขนหนูมากกว่า
คุณแฮร์รี่ยังคงทำการทดลองต่อด้วยการให้ลูกลิงตัวนั้นอยู่กับแม่ลิงจำลองที่มีขวดนม (โดยจับแยกแม่ลิงจำลองที่มีผ้าขนหนูออกไป) แล้วทำการศึกษาต่อว่าเมื่อโตขึ้น ลูกลิงตัวนั้นจะเป็นอย่างไร
ผลปรากฏว่าลูกลิงดังกล่าวมีอาการหวาดระแวง และปรับตัวเข้ากับลิงตัวอื่น ๆไม่ได้ ผลการทดลองของคุณแฮร์รี่นำไปสู่การเขียนทฤษฎีข้อหนึ่งในวิชาจิตวิทยาที่เรียกว่า “ทฤษฎีการยึดติดผูกพัน (Attachment Theory)”
การทดลองดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์อย่างดียิ่งว่าความผูกพัน การใกล้ชิด การได้รับการดูแลเอาใจใส่ จะทำให้เกิดพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ดียิ่ง หากมองในแง่ของความรักในครอบครัว การดูแลลูกของตนอย่าง
ใกล้ชิดจะทำให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือหากมองในแง่ของความรัก การดูแลกันและกัน ให้เกียรติกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ก็จะทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นขึ้นและได้รับการพัฒนาต่อไปในระดับที่สูงขึ้น การสกินชิพเนี่ยทำให้สารฮอร์โมนแห่งความสุขอย่างโดปามีนเพิ่มขึ้น
บางทีการ ‘สกินชิพ’ อาจเป็นวิธีสื่อสารความรักที่ดียิ่งกว่าการพูดคำว่า “รัก” ออกไปตรง ๆ ได้อีกด้วย เพราะบางที เราเองก็เขิลที่จะบอกรักใครสักคน เพราะฉะนั้นพี่รู้สึกว่าวิธีนี้ก็เป็นการบอกรักได้อีกรูปแบบหนึ่ง
ข้อดีของการ Skinship
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก็เคยค้นพบว่าการสัมผัสทางกายภาพจะสามารถเพิ่มระดับของโดปามีนและเซโรโทนิน ที่เป็นสารสื่อประสาทแห่งความสุขที่ช่วยควบคุมอารมณ์ บรรเทาความเครียด และความวิตกกังวลในมนุษย์ด้วย
ข้อเสียของการ Shinship
- ถ้าใครไม่ชอบอาจจะรู้สึกรำคาญและถอยออกห่างไปเลย ถึงการสกินชิพจะมีข้อดีแต่ถ้ามากเกินไปจนอีกฝั่งอึดอัด อาจจะต้องพูดคุยกัน
- ทำให้ถูกที่ถูกเวลา
ซึ่งแน่นอนว่า การสกินชิพไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะ มันคือการแสดงออกทางความรักที่มนุษย์คนหนึ่งมีให้กับอีกคนหนึ่ง แต่ไม่ควรลืมว่า การสกินชิพเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการยินยอมจากทั้งสองฝ่าย
และต้องคำนึงถึงเวลา สถานที่ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู้ข้อถกเถียงในเรื่อง ‘การแสดงออกทางความรักในที่สาธารณะ’ ต่อได้อีกด้วย
Post Views: 3,531