เคยไหมที่เวลาเจอปัญหา เจอกับความเครียดต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต เราก็จะไป ชอปปิง ซื้อของเพื่อระบายความเครียด หากว่าเราเป็นแบบดังกล่าวในระดับที่พอดี
สามารถควบคุมตัวเองได้โดยที่ไม่รบกวนเงินในกระเป๋าตัวเองคงจะเป็นวิธีที่ระบายความเครียดได้ดีมากๆ แต่ถ้าเราไม่สามารถจัดการได้ล่ะ เราอาจจะเข้าค่าย Shopaholic อยู่หรือเปล่า?
เสพติดการ ชอปปิง Shopaholic คือ?
Shopaholic หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า Compulsive Buying Disorder (CBD) หรือมีอีกชื่อคือ Oniomania จะมีอาการคร่าวๆ คือเสพติดการช้อปปิ้งอย่างควบคุมตัวเองไม่ได้
ชอบซื้อของอยู่ตลอดเวลา รู้สึกดีเวลาได้เห็นราคา แต่เป็นความรู้สึกดีได้ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เมื่อซื้อเสร็จจะมีความรู้สึกทุกข์ใจ
ซื้อของซ้ำบ้าง ใช้จ่ายเกินตัวบ้าง และอาจจะทำให้มีปัญหากับคนรอบข้างเรื่องการซื้อของด้วย
หมอ Astrid Mülle กล่าวว่าอีกด้วยว่า “Shopaholics คือการซื้อมากเกินจำเป็น ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าที่ผู้มีอาการเสพติดการซื้อมักจะเป็นสิ่งของไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้ก็ได้”
พร้อมระบุอีกว่า อาการเหล่านี้เป็นการปิดบังอารมณ์เชิงลบหรือเพื่อความสุขชั่วครั้งชั่วคราว และผลลัพธ์ด้านไม่ดีของมันจะส่งผลออกมาในระยะยาวเป็นรูปแบบของหนี้สิน
สาเหตุของ Shopaholic
1. ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือไม่ต้องถึงซึมเศร้าก็ได้ อาจมีความวิตกกังวล เกิดภาวะเครียดจึงต้องชอปปิงเพื่อคลายเครียด หรือหาทางระบายอารมณ์ด้วยการชอปปิ้ง
เนื่องจากสารเคมีในสมองมีสารเซโรโทนินสูง เมื่อได้ซื้อของชอปปิงสมองจะหลั่งสารโดปามีน อย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดความสุขในขณะนั้นซึ่งทำให้ผู้เสพเกิดความพอใจ
หรือภาวะ High และมีความต้องการทำการกระทำนั้นซ้ำๆ ขึ้นมา
2. ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้ป่วยอาจต้องการสร้างตัวตนเพื่อให้เกิดการยอมรับในการเข้าสังคม เช่น การแต่งตัวตามแฟชั่นเพื่อให้ตัวเองดูดี ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงเพื่อให้เหนือกว่าคนอื่น เป็นต้น
3. ชดเชยความรู้สึกไม่มั่นใจตัวเอง low selfesteem เวลาที่ซื้อของจะรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมตัวเองได้ ควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ด้วยเงิน
4. สื่อโฆษณา การได้เห็นสินค้าที่สนใจบ่อยครั้งในอินเทอร์เน็ต หรือเห็นรีวิวตามช่องทางต่าง ๆ อาจทำให้เกิดความอยากได้ และตัดสินใจซื้อในที่สุด
5. ความสะดวกในการซื้อ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์มากมายทำให้เอื้ออำนวยต่อการซื้อขาย
6. เสพติตวัตถุนิยม เห็นของต่างๆ ที่คนอื่นๆ มีในโลกออนไลน์ แล้วเราอยากจะมี อยากจะซื้อบ้าง โดยเรายังอาจไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้เลย
อาการ Shopaholic
สังเกตได้จากพฤติกรรมการซื้อเป็นหลัก โดยผู้ที่เข้าข่ายป่วยเป็นโรคนี้ ได้แก่ นักชอปที่หมกมุ่น ไม่สามารถหยุดยั้งความคิด ในการซื้อของ โดยจะรู้สึกสนุกสดชื่น หรือมีความสุขอย่างมากกับทุกขั้นตอนในการซื้อ
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสินค้า หรือการแย่งซื้อสินค้าในงานลดราคา การต่อรองราคาสินค้า โดยเฉพาะช่วงที่มีการจ่ายเงินและได้รับสินค้ามาครอบครอง
ในทางตรงกันข้ามจะมีความรู้สึกโกรธหรือทรมานอย่างมาก หากไม่ได้ซื้อตามที่ต้องการ การซื้อเหล่านี้เกิดขึ้นมากหรือบ่อยเกินไป จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียกับตนเองทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นหนี้ มีความเสียการเสียงาน
มีปัญหาจากการจับจ่ายจนต้องทะเลาะกับแฟนหรือคนในครอบครัว ซึ่งจากปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาจากการใช้จ่ายที่มากเกินไปนี้
อาจเกิดเป็นวังวนสู่ปัญหาอื่นๆ ที่ยุ่งเหยิงอีกมากมาย เกิดความรู้สึกผิด และนำไปสู่โรคเครียด ภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาด้านอารมณ์อื่นๆ
ทำไมเครียดต้อง Shopping ?
1. เรารู้สึกมีอำนาจ
โดยปกติแล้วทุกคนมีความเครียดที่สะสมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจากเรื่องงาน เรื่องครอบครัว เรื่องความสัมพันธ์ต่างๆ ส่งผลให้บางครั้งเราไม่มีอำนาจที่จะตัดสินใจอะไร
เราจะรู้สึกอึดอัดเป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ ที่ไม่สามารถทำอะไรได้ การชอปปิงจะช่วยเติมเต็มเราในส่วนนี้ เรามีอำนาจในการตัดสินใจอยู่ในมือ เราสามารถเลือกได้ตามความต้องการ มีพนักงานที่คอยบริการอยู่เสมอ
ซึ่งเราสามารถเลือกที่จะซื้อหรือปฏิเสธก็ได้ เพราะแบบนี้จึงทำให้เรารู้สึกถึงอำนาจที่มีอยู่ในมือ
2. ทำให้เราลืมเรื่องต่างๆ ไปในชั่วคราว
ปกติแล้วเรามักจะนึกถึงเรื่องเครียดๆ อยู่ตลอดเวลาแม้จะกลับมาบ้านแล้วก็ตาม แต่การชอปปิงนั้นต้องใช้เวลาและสมาธิในการเลือกซื้อของที่ถูกใจ
ทำให้เราต้องคิดเรื่องชอปปิงแทนเพื่อตอบสนองสิ่งที่เราต้องการ ทำให้เราลืมคิดถึงเรื่องเครียดไปได้ชั่วคราว
3. เพิ่มความมั่นใจ
เมื่อเราได้ซื้ออะไรบางอย่างไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ลิปสติก ส่วนใหญ่นั้นเรามักใช้กับตัวเองแล้วมันจะช่วยเสริมความมั่นใจให้รูปร่าง ฐานะ หรือสภาพแวดล้อมของเราได้
บางคนมีชุดตัวเก่งที่ซื้อมาใส่ไปออกงานอยู่เสมอๆ ได้รับการเติมเต็ม ผลวิจัยบางชิ้นชี้ว่า การซื้อของบางอย่างที่เราไม่เคยมีหรือเคยอยากได้นั้นช่วยทำให้เรามีความสุขได้
เช่น วัยเด็กเราอาจจะไม่ได้มีเงินพอที่จะซื้อของเล่นชิ้นนี้ เมื่อโตมาเราได้ซื้อนั้นจะช่วยเติมเต็มความรู้สึกและทำให้เรามีความสุขได้
Chek list เราเป็น Shopaholic หรือเปล่า?
- อยากซื้อของตลอดเวลา
- ซื้อของเกินความจำเป็น
- มีความรู้สึกดีเมื่อได้ซื้อของ โดยมักจะรู้สึกดีได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ
- รู้สึกผิดหลังจากที่ซื้อมาแล้ว
- ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้
- ซื้อซ้ำๆ ทั้งที่มีอยู่แล้วหลายชิ้น
- ต้องหลบซ่อนหรือโกหกปกปิดเวลาซื้อของนั้นๆ
- มีปัญหาด้านอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น เกิดปัญหาหนี้สิน ปัญหาความสัมพันธ์ เป็นต้น
ผลกระทบจาก Shopaholic
พฤติกรรม Shopaholic เสพติดการชอปปิงโดยที่ไม่คำนึงรายรับ-รายจ่ายของตนเอง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น
1. ชอปสนุกแต่ทุกข์เมื่อต้องจ่าย พฤติกรรมเสพติดการชอปปิงที่เกินตัวอาจทำให้เกิดการหยิบยืม หรือกู้ยืมเงินเพื่อมาจ่ายค่าสิ่งของที่เราซื้อไป ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มพูนมากขึ้น
2. ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด เพราะต้องโกหกว่าของที่ซื้อมานั้นมีคนให้มา หรือซื้อในราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง
3. สุขภาพจิตเสื่อม หากมีหนี้สินแล้วไม่สามารถจัดการกับหนี้สินได้ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะเครียด ซึมเศร้า เมื่อหาทางออกของปัญหาไม่ได้อาจถึงขั้นก่อเหตุอาชญากรรม ซึ่งนำไปสู่การจับกุมและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
จัดการตัวเองอย่างไรเมื่อเราเป็น Shopaholic
- จดรายการที่สำคัญก่อนชอป
- ยกเลิกอีเมล์การแจ้งเตือนต่างๆ
- ปิดการแจ้งเตือน กรุ๊ปช้อปปิ้งต่างๆ ในเฟซบุ๊ก
- ล้างโซเชียลมีเดียให้มีแต่สิ่งจำเป็น
- ลบข้อมูลบัตรเครดิตผ่านแอพพ์ต่างๆ, จำกัดวงเงินในบัตรเครดิต
- ลบแอพพลิเคชั่นออกจากโทรศัพท์
- ทำตัวดีเลย์
- ลองยืมก่อนซื้อ
- หากิจกรรมอย่างอื่นทำแทน
- จัดบ้านใหม่
- ยับยั้งชั่งใจ
- มีสติอยู่เสมอ
- บำบัด
วิธีที่อยากแชร์จาก Alljit 😀
1. คิดแล้วคิดอีกไม่รีบซื้อ บอกตัวเองรอลดราคาก่อน หรือบางทีก็ลืมๆ ไปบ้าง
2. ซื้อตอนเทศกาลการลดราคา หรือบางทีเราก็จะใส่ตะกร้าไว้ก่อน แล้วชั่งใจตัวเองว่าตอนนี้มันยังไม่จำเป็นขนาดนั้น พอกลับมาดูอีกทีความรู้สึกมันหายไปแล้วที่อยากได้
3. เวลาจะซื้ออะไรให้เก็บไว้ใจสัก 1 อาทิตย์ ถ้าครบแล้วเรามีสิ่งนั้นติดค้างอยู่ให้ซื้อแต่ถ้าไม่ก็พอกับตัวเอง
ที่มา :
psychologytoday.com/intl/blog/the-intelligent-divorce
rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/shopaholic
verywellmind-com
petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Shopaholic
innnews.co.th/lifestyle/
Post Views: 5,075