โรคซึมเศร้า

หรือนี่อาจเป็นสาเหตุ โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล โดย Johann Hari

เรื่องAdminAlljitblog

หรือนี่อาจเป็นสาเหตุ โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล โดย Johann Hari บทความนี้ถอดรหัสมาจาก Ted Talk ซึ่งเป็นเรื่องการศึกษา ค้นหาคำตอบของ Johann Hari ที่เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล โจฮานเขาเป็นทั้งนักข่าวและนักเขียนหนังสือ อีกทั้งยังเคยตกอยู่ภาวะโรคซึมเศร้ามานานหลายปี

 

หรือนี่อาจเป็นสาเหตุ โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล โดย Johann Hari

โรคซึมเศร้า

 

ปัจจุบันมีอัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล เพิ่มขึ้นทุกปีในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และทั่วโลกตะวันตก(Western world)  จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลเกิดขึ้นเป็นวงกว้างเพิ่อมขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990

 

เริ่มต้นเรื่อง..

Johann Hari เคยประสบกับภาวะซึมเศร้า ตั้งแต่ชีวิตในวัยรุ่น เขารู้สึกสับสนในตัวเอง ไม่สบายตัวไม่สบายใจ รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ รู้สึกแย่กับตัวเอง การที่จะต้องดำรงชีวิตให้ผ่านพ้นไปแต่ล่ะวันนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เขาจึงตัดสินใจไปพบแพทย์

 

แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่าฮานเป็นโรคซึมเศร้า โดยแพทย์ได้บอกกับเขาว่า อาการเหล่านี้มันเกิดมาจาก “สารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน” การรักษาคือต้องกินยาที่เรียกกันว่า Paxil หรือ Seroxat  มันก็คือยารักษาโรคซึมเศร้า ยาตัวนี้จะช่วยทำให้ฤทธิ์ของสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า Serotonin คงอยู่ได้นานขึ้น (***Serotonin คือสารแห่งความสุข)

 

การเริ่มต้นรักษาด้วยยาโรคซึมเศร้าเป็นไปได้ดีมากในช่วงแรกๆ หลังจากนั้นก็เกิดอาการดื้อยา ทำให้เขาต้องรับยาในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น จนถึงระดับที่แพทย์ห้ามจ่ายยา

เขากินยานี้ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานถึง 13 ปี แต่ทำไมยังมีอาการโรคซึมเศร้าอยู่ นั้นเป็นความคิดของโจฮาน ณ ตอนนั้น ว่า …เกิดอะไรขึ้นกับขากันแน่ ทำไมเขาถึงไม่หายจากโรคนี้สักที ถ้าสาเหตุมันเกิดมาจากสารเคมีในสมองที่มีไม่สมดุลกันจริงๆ ทำไมเขาถึงยังคงทรมานกับการเป็นโรคนี้อยู่

 

เพื่อค้นหาคำตอบ ของข้อสงสัยนี้ เขาจึงตัดสินใจเดินทางกว่า 40,000ไมล์ เดินทางไปทั่วโลก เพื่อตามหาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เพราะว่าเขาอยากรู้สาเหตุที่แท้จริงของภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล

 

จริงอยู่ที่ว่ายีนของเรามารถทำให้เราอ่อนไหวต่อปัญหาต่างๆที่เข้ามาได้ แต่ว่ามันจะไม่สามารถมากำหนดชะตาชีวิตของเราได้ การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อคุณรู้สึกหดหู่หรือเกิดความเครียด

 

การศึกษาโดยส่วนใหญ่ได้พิสูจน์แล้วว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ปัจจัยหลักๆนั้นเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม และการดำเนินชีวิต ของแต่ละคน มีอยู่หลายปัจจัยมากที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า

ยกตัวอย่างเช่น

  • หากคุณเหงา คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า
  • หากคุณเครียดจากที่ทำงาน คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า
  • หากคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า

 

เราไม่ควรละเลยสุขภาพจิตของตัวเอง

คนส่วนใหญ่มักจะตระหนักถึงสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ต้องการอาหาร ต้องการน้ำ ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการอากาศบริสุทธิ์ คือขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย แท้จริงแล้วจิตใจเราก็ต้องการสิ่งบำรุงอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน

 

จิตใจของคนเรา ก็ต้องการอาหารหรือสิ่งบำรุงไม่ต่างจากร่างกาย

 

โจฮาน เคยมีโอกาสไปสัมภาษณ์จิตแพทย์ชาวแอฟริกาที่ชื่อว่า ดร. ดีเร็ก ซัมเมอร์ฟิลด์ (Derek Summerfield) ในปี 2001 ดร. ดีเร็ก ซัมเมอร์ฟิลด์ ได้ไปเยือนกัมพูชา และได้แนะนำยาแก้โรคซึมเศร้าให้แก่ประชาชน แต่พวกกัมพูชาได้บอกว่า พวกเขามียาที่วิเศษมาก ที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างหายขาด และแล้วแพทย์กำพูชาก็ได้เล่าเรื่องหนึ่งให้ ดร.ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องจริง

 

เริ่มต้นเรื่อง….

ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีชายชาวนากำลังทำนาอยู่ แต่บังเอิญโชคร้ายไปเหยียบใส่ระเบิดที่หลงเหลือจากการสู้รบ ในช่วงมีสงครามกับสหรัฐฯ ด้วยแรงระเบิดจึงทำหาขาของเขาขาดไปครึ่งท่อน หลังจากนั้นชายชาวนาก็ต้องใส่ขาเทียม ด้วยอาชีพชาวนาเขาต้องกลับไปทำนา แต่การกลับไปทำนาครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดทรมานให้ขาของเขาเป็นอย่างมาก ขาที่ต้องทนแช่น้ำทั้งวัน ทั่งเปื่อยและเกิดอาการอักเสบและทรมาน

 

ชายผู้นั้นเริ่มมีอาการท้อแท้และรังทดกับชีวิตของตัวเอง เขาเริ่มร้องไห้ ไม่ยอมกินอาหาร ไม่ยอมลุกจากเตียง หมดอาลัยตายอยาก

 

แล้ววิธีที่แพทย์กำพูชาช่วยเหลือชายชาวนาคนนี้ให้ออกจากโรคซึมเศร้านั้นก็คือ การช่วยให้ชายคนนี้รู้สึกว่าตัวเองมีความหมายอีกครั้ง เขาทำยังไงนะหรอ?

  • เข้าไปพูดคุยกับชายชาวนา สอบถามว่าข้อมูลว่าลึกๆแล้วสาเหตุเกิดมาจากอะไร
  • แพทย์ได้พบว่าชาวนาเศร้าจากการที่ตัวเองไม่สามารถทำนาได้แบบเมื่อก่อน
  • แพทย์จึงตัดสินใจซื้อวัวให้ชาวนา
  • หลังจากนั้นอาการของชาวนาดีขึ้นเรื่อย ๆ จนสุขภาพจิตกลับเข้าสู่ช่วงปกติ

 

แพทย์กัมพูชาก็ได้บอกกับ ดร. ดีเร็ก ซัมเมอร์ฟิลด์ ว่า … “คุณเห็นไหม วัวตัวนั้น คือยาแก้ซึมเศร้าของชายชาวนา”

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นเราไม่ได้บอกว่า วัว สามารถเป็นยาต้านโรคซึมเศร้าให้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ทุกคน สิ่งที่แพทย์กำพูชากำลังสื่อถึง ก็คือ ต้องหาสาเหตุต้นตอของปัญหาให้ได้ แล้วแก้ไขให้ถูกจุด (เราไม่สามารถใช้วิธีเดียวกันกับทุกๆคนได้)

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของดร. ดีเร็ก ซัมเมอร์ฟิลด์ ได้ที่นี่: “Global Mental Health Is An Oxymoron and Medical Imperialism”

 

ถ้าหากคุณรู้สึกหดหู่ หากคุณวิตกกังวล คุณไม่ได้อ่อนแอ คุณไม่ได้บ้า คุณไม่ใช่หุ่นยนต์ คุณคือมนุษย์ ที่มีความอยากเป็นที่ยอมรับของสังคม มนุษย์ที่อยากเป็นที่รัก เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Social Animal) ซึ่งหมายความว่า มนุษย์จะมีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า และแน่นอนว่าเราต้องการ “การสนับสนุนจากสังคม” และนี่คือสิ่งที่คนเป็นโรคซึมเศร้าทุกคนต้องการ

 

นี่คือเหตุผลที่หนึ่งในแพทย์ชั้นนำขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการสำหรับวันอนามัยโลกเมื่อปี 2017

 

เขากล่าวว่า “เราจำเป็นต้องพูดคุยน้อยลงเกี่ยวกับความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เพราะนั้นมันคือการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ถ้าหากจะแก้ไขปัญหาแบบถอนรากถอนโคน เราต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เจาะให้ลึกถึงสาหตุที่มาให้ได้”

 

ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ Mr. Dainius Puras ได้กล่าวเนื่องในวันอนามัยโลกปี 2017 โดยใจความที่ว่า ยุคนี้ถือว่าเป็นอยู่ในยุคสังคมที่โดดเดี่ยวที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่เคยมา ผู้คนรู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยวในสังคม

 

ในปี 2018 มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาถึงความชุกของความเหงาในหมู่ชาวยุโรปรวมถึงในสหราชอาณาจักร พบว่ามี 39% (ดัชนีความเหงาของประชาชนในสหรัฐฯ) ข้อมูลที่ได้พบว่าพวกเขา “ไม่ได้สนิทกับใครเลย”

 

โจฮานได้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์ John Cacioppo ผู้ล่วงลับไปแล้ว John Cacioppo คือผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลกในเรื่องความเหงา ได้ให้คำถามที่เราต้องคิดตามว่า “ทำไมเราถึงดำรงชีวิตอยู่ได้? … เหตุใดเราจึงมาอยู่บนโลกใบนี้… เรามีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร?”

 

บรรพบุรุษของมนุษย์ ไม่ได้วิ่งเร็วเหมือนเสือ ไม่ได้ตัวใหญ่เหมือนช้าง ได้ว่ายน้ำได้เหมือนปลา แต่มนุษย์มีสปีชีส์ มีวิวัฒนาการมาอยู่ในชนเผ่า อยู่รวมกลุ่มเป็นอย่างดี มีการช่วยเหลือกัน สนับสนุนกัน

 

ศาสตราจารย์ John Cacioppo ยังกล่าวอีกว่า “ความเหงาเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างมากต่อภาวะซึมเศร้าและโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ”

 

อีกคนหนึ่งที่โจฮานพูดถึงก็คือ คุณหมอแซม เอเวอร์ริงตัน คุณหมอเคยกังวลเพราะว่าเขามีผู้ป่วยจำนวนมากมาหาเขาด้วยอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล หมอแซมไม่ได้ต้อต้านการให้จ่ายยาแก้โรคซึมเศร้าให้กับผู้ป่วย เพราะว่าเขาคิดว่ายาเหล่านี้ช่วยผู้ป่วยได้เฉพาะบางคนเท่านั้น

 

หมอแซมจึงได้คิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาไม่ได้ผล หนึ่งในนั้นก็คือลิซ่า เธอขังตัวเองอยู่ในบ้านนานเป็นเวลา 7 ปี เป็นทั้งโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

 

หมอแซมได้จัดตารางให้ลิซ่าเขามาศูนย์การแพทย์ของหมอแซม สัปดาห์ละ2 ครั้ง เพื่อพบปะกับกลุ่มคนที่อาการเช่นเดียวกันกับเธอ  จุดประสงค์ของการพบปะครั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อมาเล่าความทุกข์ให้กันฟัง แต่สร้างเพื่อสนับสนุนให้แต่ละคนค้นพบความหมายของชีวิต ช่วยเหลือกัน เป็นกำลังใจให้กัน และเติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย

 

ครั้งแรกที่ลิซ่าพบกับคนกลุ่มนี้ เธอเริ่มอาเจียน ซึ่งเป็นปฎิกริยาที่มาจากความวิตกกังวล แต่ก็มีคนเข้ามาช่วยลูบหลังให้เธอด้วยความห่วงใย พวกเขาเริ่มคุยกัน ว่าจะทำอะไรกันดีในศูนย์ให้เกิดประโยชน์ หลังจากนั้นก็มีไอเดียว่าควรใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยการปลูกพืช ดอกไม้ ผัก ด้านหลังศูนย์ พวกเขาช่วยกันหาความรู้ในอินเตอร์เน็ต ถึงวิธีการปลูก การดูแลรักษา การพบปะของพวกเขาแต่ละครั้ง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้ป่วย

 

ลิซ่าบอกกับโจฮานว่า “ดอกไม้เริ่มเบ่งบาน พวกเราก็เริ่มเบ่งบานด้วย” วิธีการรักษาของหมอแซมครั้งนี้ เรียกว่า “Social Prescribed”

 

สรุปหรือนี่อาจเป็นสาเหตุ โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล

สาเหตุที่แท้จริงของ “ภาวะซึมเศร้า” หรือ “วิตกกังวล” ไม่ได้มาจากการที่สารเคมีในสมองบกพร่องเพียงอย่างเดียว แต่เกิดมาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิต ความเหงา การขาดเป้าหมายในชีวิต

 

การศึกษาในโรคซึมเศร้าของโจฮานครั้งนี้ สามารถดูได้อย่างละเอียดในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Lost Connections

 

Source

https://www.ted.com/talks/johann_hari_this_could_be_why_you_re_depressed_or_anxious/transcript?subtitle=en

Related Posts