ไบแอส

Cognitive Bias เรากำลังตัดสินคนอื่นอยู่หรือเปล่า?

เรื่องAdminAlljitblog

เคยเป็นไหมบางครั้ง เรามีความเชื่อ ทัศนคติต่อบางอย่างแล้วเรามักจะนำสิ่งนี้ ไปเผลอตัดสินคนบางคน การกระทำบางการกระทำ แต่การที่เรามีความเชื่อ ทัศนคติกับสิ่งต่าง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์

 

เพราะสมองของเราได้ทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็วสำหรับบางประสบการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เราคุ้นชิน ทำความรู้จัก Cognitive Bias 

 

ทำความรู้จักกับ Cognitive Bias 

สารบัญ

เรียก ภาษาไทย ว่า อคติทางความคิด หรือ อคติทางปัญญา 

 

ความเอนเอียง ความผิดพลาด ในการตัดสินใจ หรือ การประเมินหลักฐาน/ข้อมูล/สถานการณ์ อย่างบิดเบือนไป ไม่ค่อยสมเหตุสมผล เพราะ ประสบการณ์ในอดีต การรับรู้รับทราบ การสังเกต ความเห็น เป็นต้น

 

ซึ่งทำให้มองเห็นความความเชื่อมโยงของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆ  ตีความคำพูดของคนอื่นอย่างผิด ๆ เข้าใจความสามารถของตนเองผิด ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ 

 

การที่เรามีความเชื่อ มีความคิดว่าเรามีเหตุผล แต่ความจริงแล้วมนุษย์อย่างเรา ๆ ก็ ใช้ชีวิตด้วยความมีคติ มีไบแอส กับสิ่ง ๆ นั้นกันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องปกติมาก ๆ

 

แต่จะไม่ปกติและผิดพลาดก็ต่อเมื่อเราเลือกที่จะเชื่อความเชื่อเราเพียงด้านเดียว ไม่รับความเห็นต่าง ถึงแม้ว่าจะมีคนมาบอก มีอะไรมาอ้างอิง ที่ถูกต้องอยู่ตรงหน้าก็ตาม สิ่งผิด ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้มีการตัดสินใจผิดพลาด หรือเกิดการพังทลายของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้

 

 

ทำไมถึงมี Cognitive Bias

สมองของเรามีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา สมองจึงมองหาทางที่ทำงานง่ายขึ้น โดยใช้ประสบการณ์และความรู้สึกชอบไม่ชอบมาช่วย 

  • ธรรมชาติสร้าง Cognitive Bias มา
  • เพราะเรามีความคิด 2 รูปแบบ ดังนี้

1. ความคิดโดยสัญชาติญาน (Intuitive Thinking)

ความคิดที่คุณแทบไม่ได้คิดอะไร เช่น การเดินเรื่อยเปื่อย การหลบสิ่งกีดขวาง การแปรงฟัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการกระทำที่คุณแทบไม่ได้ใช้สมองคิดอะไรมาก

2. ความคิดโดยสะท้อนกลับ (Reflective Thinking)

ความคิดที่ต้องใช้เวลามากขึ้น เช่น การคำนวนรายได้ส่วนตัว การต่อรองราคากับลูกค้า เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เวลาและประเมินทุกอย่างด้วยความละเอียดรอบคอบ แต่อย่างที่บอกไป  ปกติแล้วคนเราจะใช้สัญชาติญานในการคิดก่อนเสมอ

 

  • เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะคิดอย่างรอบคอบและจงใจ (deliberately) ได้ตลอดเวลา
  • เรามีความจำที่จำกัด ไม่สามารถจำได้ทุกเรื่อง
  • ถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์หรือสังคมได้เรื่อย ๆ
  • อยากจะคิดให้สั้นลงและไม่อยากคิดอะไรมาก

 

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ ทำให้เรามีความผิดพลาดในการคิด (Cognitive Error) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ การรับรู้ แยกแยะ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ ๆ ที่จริง ๆ แล้วมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำในชีวิตประจำวันเลยด้วยซ้ำ

 

เช่น การพูดไม่คิด พูดไม่เข้าหู ตัดสินใจทำอะไรแล้วไม่เข้าตาผู้อื่น ผลลัพธ์ไม่เป็นดังหวัง ฯลฯ หรือประเมินสถานการณ์บางอย่างผิดพลาด เช่น เข้าข้างตัวเองมากเกินไป มีแนวโน้มที่จะเชื่อผู้อื่นโดยไม่คิดอะไรมากจนเกินไป

 

ตัวอย่างเช่น ความเห็นด้านการเมืองหรือศาสนา หรือว่าเลือกที่จะคล้อยตามคนอื่นโดยไม่หาข้อเท็จจริงจนกลายเป็นความเข้าใจผิดและผิดหวัง

 

คำว่าอคติทางปัญญา cognitive bias เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1970 โดยนักจิตวิทยาชาวอิสราเอล Amos Tversky และ Daniel Kahneman ซึ่งใช้วลีนี้เพื่ออธิบายรูปแบบการคิดที่บกพร่องของผู้คนในการตอบสนองต่อปัญหา

 

การตัดสินและการตัดสินใจ ถ้าพูดถึง Bias หรือ อคติ ดูเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และแน่นอนหลาย ๆ คนไม่ยอมรับแน่ ๆ ว่าเราเองมีอคติ แต่จริง ๆ แล้ว อคติ เป็นเรื่องที่เราทุกคนมีจะมากน้อยหรือกับเรื่องไหนเป็นพิเศษ ก็แตกต่างกัน 

 

จากข้อมูลของ Verywellmind เขาได้บอกสาเหตุที่ทำให้เรามี Cognitive Biases ว่า 

 

ถ้าหากเราต้องคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นทางเลือกในชีวิตเรา เรื่องที่เราจะต้องตัดสินใจ ถึงจะมีตัวเลือกที่ง่ายที่สุดแต่การตัดสินใจก็ต้องใช้เวลามากอยู่ดี ธรรมชาติของมนุษย์เราเลยมี Cognitive Biases ขึ้นมา

 

จากประสบการณ์ ความเชื่อ ความรู้ต่าง ๆ ที่เราได้สั่งสมมานั้นเอง ถึงแม้ว่าบ่อยครั้งไบแอสเหล่านี้จะแม่นยำแต่ก็สามารถนำไปสู่ข้อผิดพลาดในการคิดได้เหมือนกัน ซึ่งก็มีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

  • อารมณ์
  • แรงจูงใจส่วนบุคคล
  • แรงกดดันทางสังคมที่ทำให้เกิดความลำเอียง
  • อายุที่มากขึ้นทำให้ความยืดหยุ่นทางความคิดลดลง เกิดเป็นการ fix mindset ต่าง ๆ

 

ความลำเอียงตัดสินใจที่เรามีโดยไม่รู้ตัว 

จริง ๆ แล้ว ไบแอสมีอยู่มากมายและมีหลายประเภทมาก กว่า 180 ชนิด เลย แต่วันนี้เราจะยกมาอันที่น่าสนใจ ที่เรามักเป็นกัน 

 

1. Confirmation Bias การที่เรารับแต่ข้อมูลที่ตรงกับความเชื่อของตัวเอง

ปิดกั้นข้อมูลที่ขัดแย้ง บางครั้งเรามีอคติในการรับข้อมูลข่าวสาร โดยจะเลือกรับแต่ข้อมูลที่ยืนยันความเชื่อเดิมของตัวเองเท่านั้น และกำจัดข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อตัวเองทิ้งไป เช่น การเปิดดูแต่ข่าวช่องเดียวซ้ำ ๆ เพราะข่าวช่องนั้นรายงานข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อของเราเอง  

 

2. Cognitive Dissonance : การรับรู้ไม่ลงรอย 

การที่เราหาเหตุผลมาเข้าข้างความเชื่อตัวเอง เพื่อให้เกิดความสบายใจเมื่อเราเจอข้อมูลที่ไม่สอดคล้องหรือไม่ลงรอยกับความเชื่อของตัวเอง เราจะมีอาการสั่นคลอน อึดอัด ไม่สบายใจ และจะเริ่มหาเหตุผลมาคิดเข้าข้างความเชื่อนั้น

 

เพื่อปลอบใจตัวเอง เมื่อคุณถูกวิจารณ์ในขณะที่กำลังนำเสนองาน คุณเองรู้สึกว่าคำวิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่ดูเข้าท่า แต่คุณก็ยังโต้เตียงว่าสิ่งที่คุณนำเสนอไปเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เพื่อปกป้องความเชื่อของตนเอง 

 

เช่น เมื่อเราซื้อสินค้าร้านหนึ่งในราคา 20 บาท แต่อีกสองวันต่อมา เราเจอสินค้านั้นลดราคาเหลือ 15 บาท เราจึงปลอบใจตัวเองว่า ไม่เป็นไร ถือว่าเงิน 5 บาทนั้น ใช้ซื้อความรวดเร็วในการได้สินค้านั้นมาใช้

 

3. Halo Effect อคติที่เกิดจากรูปลักษณ์ภายนอก 

คิดว่าลักษณะภายนอกเป็นอย่างไร  ข้างในก็เป็นอย่างนั้น  เป็น กระบวนการคิดเชิงเทิดทูน อันนี้เป็นสิ่งที่เราเจอบ่อยมาก ๆ เลย คนสวย คนแต่งตัวดู คนขับรถหรู นี่คือคนนิสัยดี และน่าเคารพ  แต่ถ้าเจอคนแต่งตัวไม่ดี  มีรอยสัก จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี  halo effect มักจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว 

 

4. Hindsight Bias : “ว่าแล้วต้องเป็นแบบนี้” “รู้อยู่แล้วว่าสิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้น” “เห็นไหมละ”

ที่กล่าวไปข้างต้นมีชื่อเรียกว่า เป็นกับดักทางความคิดที่น่ากลัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เราคิดว่าเราสามารถคาดเดาสถานการณ์ข้างต้นได้ เป็นอคติที่ทำให้คนปัดความรับผิดชอบเมื่อเกิดความล้มเหลวเกิดขึ้น

 

เช่น การทำงานกลุ่มแล้วงานกลุ่มนั้นเกิดความล้มเหลวเกิดขึ้น คนที่มีอคตินี้ก็จะปัดความรับผิดชอบไปให้คนอื่นๆทั้งที่ก่อนเริ่มทำทุกคนมีความรู้เท่าๆ กันหมด แต่ปัดเพราะตัวเองมีอคติว่า เราสามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ว่ามันจะต้องล้มเหลวอยู่แล้วเลยมีคตินี้เกิดขึ้นมา

 

5. Fundamental Attribution Erro มองเห็นความผิดของตัวเองน้อยกว่าคนอื่น

เปรียบเทียบเวลาตัวเองทำผิดกับคนอื่นทำผิดในเรื่องเดียวกัน แต่มองว่าเราอะผิดน้อยเพราะว่าสถานการณ์มันบังคับ แต่คนอื่นผิดกว่าเพราะนิสัยของพวกเขา เช่น สถานการณ์ที่เรามาสายแต่คิดว่ามาสายเพราะรถติด แต่อีกคนมาสายเหมือนกันแต่เพราะเป็นนิสัยที่เขาชอบตื่นสาย

 

6. Bandwagon Effect การทำอะไรที่เป็นกระแสนิยมในเวลาเหล่านั้น

เพราะมนุษย์ต้องการเป็นที่ยอมรับ แต่สิ่งที่นิยมในตอนนั้นเรากลับทำด้วยความฝืนใจตัวเอง ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากจะทำ สิ่งที่เราชอบจริงๆ แต่ทำเพราะไม่อยากโดนมองว่าแปลก

 

7. Stereotypical Bias การเหมารวม

เช่น การที่เราเห็นคนใส่แว่น เราก็จะมองแล้วก็เออเขาเนิร์ด เขาเรียนเก่งโดยที่เราไม่ได้ทำความรู้จักกับเขาเลยมองแค่แบบภายนอกเท่านั้น หรือการที่เราเห็นคนผิวสีเราก็จะตีความไปละว่าเขาต้องฟังเพลง hip hop ร้องเพลงเก่งแน่ ๆ 

 

8. Self-serving Bias การหาเหตุผลมาเข้าข้างตัวเองในการจะทำสิ่งที่ไม่ดี

ทำให้เกิดมาตรฐานที่ใช้ในการตัดสินคนไม่ถูกต้อง เช่น เราตัดสินคนอื่นจากประสบการณ์ที่เราผ่านมาเยอะกว่า 

 

 

วิธีเอาชนะกับอคติต่าง ๆ ที่เรามี 

  • ยอมรับว่าตัวเอง มีอคติ แน่นอนคงไม่มีใครคนไหน ยอมรับตรง ๆ ว่า ตัวเองมีอคติ แล้วถ้าไม่ยอมรับ มันไม่มีทางแก้ไขได้แน่นอน 
  • ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่าเราทุกคนแตกต่างกัน เขาคิดไม่เหมือนเรา ไม่ใช่ว่าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะทำให้เราเป็นคนที่น่ารัก และเราจะสามารถเพิ่มพูดความรู้ และประสบการณ์ได้อีกมากมาย 
  • มองหาหลักฐานมาช่วยยืนยัน แนวโน้มที่เราจะเชื่อสิ่งที่เราคิด หรือประสบการณ์ของเราย่อมมีมากอยู่แล้ว แต่ก่อนจะเชื่อเราควรหา หลักฐาน ข้อมูล มาพิจารณาเพิ่มเติมก่อน 
  • มีสติ มีสติและรู้ตัวเองเสมอจะช่วยให้เราลดการที่เรามีอคติกับสิ่งอื่นๆได้
  • ฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตนทางปัญญา โดยปกติ เราจะสอนให้มีกริยา มารยาทที่อ่อนน้อม แต่เราไม่ค่อยได้พูดกันว่า ให้อ่อนน้อมทางปัญญา บางความคิดของเราไม่ต้องแน่วแน่ หรือแข็งมากจนเกินไปก็ได้ ให้มีอ่อนบ้าง มีถ่อมบ้าง เพื่อเปิดรับมุมมองใหม่ ๆ  

 

อ้างอิง

What Is Cognitive Bias?

Common Types of Bias That Influence Thinking

ทำไมคนเราถึงมี Cognitive Biases 

Cognitive bias: What it is and how to overcome it