เคยไหม ? มีคำถามกับตัวเองอยู่เสมอว่าชอบอะไร อยากทำอะไร เราเป็นคนแบบไหน.. ตอนนี้เรา รู้จักตัวเอง มากแค่ไหนกันนะ ?
มารู้จักตัวเองให้มากขึ้นกันเถอะ
คนที่เข้าใจได้ยากที่สุดก็คือตัวเราเอง ในบางครั้ง บางวัน เราก็ไม่เข้าใจตัวเอง ฉะนั้นการที่เรารู้จักตัวเอง ทั้งข้อดี ข้อเสีย จะทำให้เรารู้เท่าทันตัวเองมากขึ้น ก็จะทำให้เรามีความสุขกับตัวเองมากขึ้นด้วย
Self-Awareness คือ?
Self-awareness คือ ความสามารถในการมองเห็นตัวเองและ ตระหนักถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้อย่างชัดเจน ผ่านการรับรู้และเข้าใจสภาวะต่าง ๆ เช่น
- อารมณ์ ความรู้สึก
- ประสบการณ์ ความสามารถด้านต่าง ๆ
- ความคิดของตัวเอง
- การรับรู้ทางร่างกาย
การ รู้จักตัวเอง มีกี่ด้าน
ตาม ทฤษฎีของ The Johari Window จิตวิทยาชาวอเมริกัน 2 ท่านคือ Joseph Luft และ Harry Ingham เฝ้าสังเกตพฤติกรรมนุษย์ จนเกิดเป็นทฤษฎี The Johari Window
ทฤษฎีที่บอกว่าคนทุกคนจะนำเสนอตัวตนใน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ช่อง ภายในพื้นที่เหล่านั้นคือที่อยู่ของตัวตนต่างแง่มุม ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนจะเลือกเปิดเผยหรือซุกซ่อน จะแสดงออกหรือ ต้องการปิดบัง
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นวิธีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล
1.Open self : ตัวตนส่วนที่เรารู้จักตัวเองดี รู้ว่าตัวเองคิดอะไร มีศักยภาพอะไร รู้สึกอย่างไร และเราเปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ตัวตนของเราแบบตรงไปตรงมา คนรอบตัวจึงรู้และเข้าใจตัวตนของเราส่วนนี้
2.Blind self : ตัวตนส่วนนี้คนอื่นรอบตัวสัมผัสรับรู้ แต่ตัวเราเองกลับไม่รู้ว่าเรามีพฤติกรรมหรือความสามารถส่วนนี้ อย่างเช่น A เป็นคนชอบเอาชนะ ชอบแข่งขันกับคนอื่นแบบไม่รู้ตัว
แต่คนอื่นก็รู้ว่า A ชอบแข่งขัน เพราะ A จะทำทุกทางขอแค่ให้ได้สัมผัสชัยชนะ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้ตัวเองมีส่วนนี้เยอะก็คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะจะทำให้ขาดตัวช่วยให้เราพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้
3.Hidden self : ตัวตนที่เรารู้แต่เพียงผู้เดียว คนอื่นไม่เคยรู้มาก่อน เพราะเรารู้แล้วซ่อนไว้เป็นความลับส่วนตัว เช่น A เป็นคนวาดรูปเก่ง แต่วาดอยู่คนเดียวลำพัง ไม่เคยบอกใคร ไม่เคยวาดรูปให้ใครดู
4.Unknown self : ตัวตนส่วนนี้มืดมิดเลย เป็นดินแดนที่ไม่มีใครค้นพบ ตัวเราเองก็ไม่รู้ คนรอบตัวก็ไม่รู้เลยว่าเรามีความสามารถ หรือทักษะประเภทนี้ด้วย ซึ่งตัวตนส่วนนี้อยู่ระหว่างการสืบเสาะค้นพบ
การ รู้จักตัวเอง มีมิติไหนบ้าง
1.ความสนใจ (Interest)
- งานอดิเรก
- สิ่งที่ทำแล้วมีความสุข
- อะไรที่ทำแล้วมีสมาธิ จดจ่อได้นาน
2.ความชอบหรือลักษณะนิสัยติดตัว (Preference and Temperament)
- สไตล์การทำงานที่ชอบ
- ลักษณะการคิด การแก้ปัญหา
- นิสัยที่ติดตัวมา เรียกว่าเป็นพื้นฐานของอารมณ์
3.พฤติกรรมและการแสดงออก (Behavior and Expression)
- บุคลิคภาพ
- การแสดงออก การใช้คำพูด
4.ความเข้าใจทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (Emotion)
- อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
- ระยะเวลาที่อยู่ในอารมณ์และความรู้สึกนั้น
- จัดการกับอารมณ์อย่างไร
การเข้าใจอารมณ์ของตนเองเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความตระหนักรู้ในตนเอง เช่น เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น เราสามารถรับรู้ได้ถึงการมีอยู่ของความโกรธนี้ และเมื่อความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป เราสามารถรับรู้ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงของตนเองได้ไหม
5.ลักษณะของการมีความสัมพันธ์ (Relationship Pattern)
- จำนวนเพื่อนสนิท กลุ่มเพื่อนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ
- ความสัมพันธ์ในครอบครัว พี่น้อง
- การทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ โดยปกติเราทำยังไง
6.คุณค่า (Value)
คุณค่าคือคุณลักษณะที่แสดงความเป็นสิ่งนั้น ๆ ในกระบวนการเติบโตและหล่อหลอมของมนุษย์ มีการเลือกคุณค่าทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว และ ส่วนใหญ่คุณค่าที่เราเลือกรับมาจะเกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่รู้ตัว เกิดจากสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ในชีวิตจริง
7.จุดมุ่งหมายในชีวิต (Life Purpose)
- จุดมุ่งหมายชีวิตระยะยาว
- สิ่งที่อยากทำ เติมเต็มความสุขในชีวิต
ข้อดีของการ รู้จักตัวเอง
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Positivepsycolohy
- สามารถทำให้เรามีความกระตือรือร้นมากขึ้น ส่งเสริมการยอมรับ และส่งเสริมการพัฒนาตนเองในเชิงบวก
- การรู้จักตัวเองทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของผู้อื่น ฝึกการควบคุมตนเอง ทำงานอย่างสร้างสรรค์ และสัมผัสความภาคภูมิใจในตนเองและงานของเรา รวมถึงการเห็นคุณค่าในตนเองได้ดียิ่งขึ้น
- มีความสามารถในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น
- ทำงานได้ดีมากขึ้น สื่อสารได้ดีมากขึ้น เพราะเมื่อเรารู้จักตัวเองจะทำให้ความมั่นใจ ของเราเพิ่มขึ้นไปด้วย
เราจะเริ่มรู้จักตัวเองได้อย่างไรบ้าง
-
ฝึกทำสมาธิ และพยายามมีสติอยู่เสมอ
การมีสติหมายถึงการที่เราอยู่กับปัจจุบัน ให้ความสนใจกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว มากกว่าที่จะจมอยู่ในความคิดในอดีต และการทำสมาธิเป็นการฝึกสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง
เช่น ลมหายใจหรือ ความรู้สึก และปล่อยให้ความคิดลอยไปแทนที่จะยึดติดอยู่กับมัน ซึ่งการทำทั้งสองแบบสามารถช่วย ให้ตระหนักถึง สัมพันธ์ ของเรา และปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ ของเรามากขึ้น
สามารถช่วยให้เราจัดการความคิด ความรู้สึก และป้องกันไม่ให้จมจนรู้สึกสูญเสีย “ตัวเอง”
-
ฝึกโยคะ หรือออกกำลังกาย
การทำโยคะสามารถช่วยได้จริงหรอ? การฝึกโยคะช่วยให้โฟกัสกับท่าทาง ท่วงท่าของตัวเอง ทำให้เสียงของเราชัดขึ้น หากได้ทำการฝึกฝน จะนำไปสู่รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วย
-
ใช้เวลา
การใช้เวลาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจัดบันทึก การทบทวนสิ่งต่าง ๆ เช่น Self Talk กับตัวเองสามารถช่วยได้มาก เพราะถ้าเราเริ่มให้เวลากับตัวเองเราก็จะมีเวลาในการทบทวน
ความคิด พฤติกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมาของเรา อะไรที่เราทำแล้วดี อะไรที่เราเคยล้มเหลว
-
การเขียนไดอารี่
การที่เราเขียนไดอารี่ทำให้ยอมรับความคิดและความรู้สึกของเราได้ ถ้าเราบันทึกแต่ละวันพอ กลับมาย้อนอ่านจะทำให้เรา เกิดคำถามกับตัวเอง
อีกทั้งการเขียนไดอารี่ทำให้เราโฟกัสสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของเราได้ง่านมากขึ้นด้วย
-
ถามที่รักเรา คนรอบตัว
พิจารณาสิ่งที่พวกเขาพูดอย่างรอบคอบและคิดเกี่ยวกับมันเมื่อคุณจดบันทึกหรือไตร่ตรอง แน่นอน อย่าถือเอาคำพูดของคนใดคนหนึ่งเป็นสิ่งที่ดีเกินไป
เราต้องพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเรา และจำไว้ว่าในท้ายที่สุด ความเชื่อและความรู้สึกในตนเองของคุณสำคัญที่สุดสำหรับเรา
ผลกระทบถ้าเราไม่ รู้จักตัวเอง
- ไหลตามคนอื่นได้ง่าย ยิ่งโลก เทรนด์ต่าง ๆ ตอนนี้เปลี่ยนไปไวมาก ถ้าเราขาดการรู้จักตัวเอง อาจจะทำให้เราไหลตามกระแสสังคมโดยที่จริงๆแล้วเราไม่ชอบ ไม่อยากเป็นแบบนั้น
- ไม่กล้าตัดสินใจ ตามใจคนอื่นกลายเป็น people pleaser
- ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ และจิตใจ
ที่มา:
self-awareness
self-awareness-matters-how-you-can-be-more-self-aware
schoolofchangemakers.com/knowledge
Post Views: 5,711