อ่อนแอ

ทำความเข้าใจความรู้สึก ” อ่อนแอ ” : เศร้าง่าย เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหม เสียใจง่าย เศร้าง่าย ถ้ามีอะไรเข้ามากระทบจิตใจก็รู้สึกจะพังทุกที ? จนสงสัยกับตัวเองว่า “นี่เรา อ่อนแอ เกินไปหรือเปล่า” แต่จริง ๆ เเล้วความรู้สึกนี้มีอะไรมากกว่าที่เห็นนะ

มาทำความเข้าใจตัวเองเพิ่มขึ้นกันเถอะ:)

ความอ่อนแอ เป็นความรู้สึกภายในของเรา เพราะฉะนั้น ความอ่อนแอ คือสภาวะที่ตัวเองมีต่อตัวเอง ไม่สามารถนิยามได้ว่า เป็นแบบนี้เท่ากับอ่อนแอ เป็นแบบนี้เท่ากับแข็งแกร่ง 

 

ความอ่อนแอ เป็นความรู้สึกของตัวเอง เช่น ไม่ไหวแล้ว อ่อนล้า อ่อนแรง อยากปลดปล่อย และยอมแพ้ หรือความรู้สึกอื่น ๆ หากฟังเสียงในใจชัดเจน และตัดสินใจว่านี่คือความอ่อนแอ

 

เราก็จะเจอรูปแบบความอ่อนแอของตัวเอง และพึงระวังว่าอย่าเอาคำพูดของตัวเองไปตัดสินคนอื่น เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน 

 

 

ความอ่อนแอทางด้านร่างกายและจิตใจ 

แน่นอนว่า ร่างกายและจิตใจทำงานผสานกัน บางช่วงอาจจะต้องใช้จิตใจนำ บางช่วงต้องใช้ร่างกายนำ  เช่น ในบางคนที่ต้องทานยาทางจิตเวช แล้วเกิดการเจ็บป่วยทางใจ

 

อาการจะรุนแรงตามมาทันที เนื่องจาก ฟังชั่นพื้นฐานในการควบคุมอารมณ์ จิตใจ สารเคมีในมองและฮอร์โมน ผิดปกติไป ต่อให้ร่างกายเข็มแข็งแต่ไหน ก็จะล้าไปพร้อม ๆ กัน  

 

เช่นเดียวกัน ถึงแม้ร่างกายไม่ได้เจ็บหนัก แต่เสียใจมาก ร่างกายก็จะขาดความสดชื่นเช่นกัน…

 

ในช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน หรือ Menstruation ผู้หญิงอารมณ์แปรปวน สภาวะความนิ่งของอารมณ์จะไม่เหมือนเดิม ซึ่งหากใครมีอารมณ์ที่เก็บเก็บกดไว้ หรือมีเรื่องไม่สบายใจค่อนข้างเยอะ

 

เมื่อเกราะป้องกันทางด้านร่างกายลดลง ขบวนการที่จะควบคุมอารมณ์ก็จะอ่อนแอลง สิ่งที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะออกมาเป็นอารมณ เช่น ร้องไห้เวลามีประจำเดือน เครียดง่าย หวั่นไหวง่าย  

 

Ego Functions หนึ่งในทฤษฎีจิตวิเคราะห์หรือระบบที่คอยควบคุมหลาย ๆ อย่างในร่างกายของเรารวมถึงส่วนของจิตใจ เช่น การควบคุมมอารมณ์ได้ อดทนได้ รับรู้ตามความเป็นจริงได้

 

ฉะนั้น ในคนที่เรียนจิตวิเคราะห์หรือจิตบำบัด มีกฎสำคัญคือ คือ หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะเมาสารเสพติด จะไม่สามารถให้คำปรึกษาหรือบำบัดได้ 

 

 

ระดับความเข็มแข็ง หรือ อ่อนแอ ขึ้นอยู่กับ…

  • ความแข็งแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ
  • สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร 
  • มิตรภาพและความสัมพันธ์มีที่มาอย่างไร 

 

 

 ร้องไห้ เท่ากับ อ่อนแอ ?

สมเหตุสมผลหากเราเจ็บปวดแล้วร้องไห้ การร้องไห้ คือการแสดงออกที่เป็นรูปธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่อนแอ 

 

ในอีกมุมหากเจอคนที่ตัดสินว่าเราอ่อนแอ ก็ถามตัวเองว่า เราอยากทำยังไงกับเขา หรือจัดการที่ความรู้สึกของตัวเองได้อย่างไรดี เพราะ ในบางคนที่อยากจะเข้าใจเราจริง ๆ

 

เขาจะมาถามเรา ก่อนตัดสินเรา ส่วนมุมของคนที่รับฟัง ควรทำความเข้าใจโดยไม่ต้องรีบตัดสิน สิ่งแรกสุดที่เราควรจะทำคือ รับฟังและเข้าใจเขาก่อน เพื่อชี้แนวทางการแก้ไขอีกมุมหนึ่ง 

 

อ่อนแอแค่ไหนถึงต้องขอความช่วยเหลือ 

 

เราทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น กับคนที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือของเรา 

 

โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้ อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ หากรอให้แผลใหญ่หรือ รักษาผิดวิธีอาจจะทำให้แผลใหญ่ขึ้น และทำให้เรารับมือได้ยากขึ้น

 

ก่อนจะก้าวข้ามความอ่อนแอ ลองหยุดดูความรู้สึกตัวเอง ว่าภายใต้ความอ่อนแอมีความรู้สึกอะไรอยู่ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วเราจะโอบกอดความรู้สึกตัวเองได้ และ ค่อย ๆ เดินไปต่อได้  

 

 

“การร้องไห้ คือการแสดงออกที่เป็นรูปธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอ่อนแอ”