” Y2K ” คำที่ช่วงนี้หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ แฟชั่นสีสันสดใสที่มาพร้อมกับความมั่นใจ สงสัยกันไหมว่าการรีเทิร์นของแฟชั่นปี 2000 เพราะอะไรถึงกลับมาฮิต ? จิตวิทยาจะสามารถตอบคำถามในเรื่องนี้ได้ไหม?
จริง ๆ แล้ว Y2K อาจไม่ใช่แค่เรื่องเเฟชั่น
Y2K คืออะไร
Y2K มาจาก Y = Year , 2K = 2 Thaosand เป็นยุคของคนมีความฝัน มีความหวัง และให้ความสนใจกับโลกอนาคต เครื่องมือเครื่องใช้ดิจิตอลต่าง ๆ เริ่มบูม
ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต ทำให้แฟชันและงานศิลปะในสมัยนั้นจะสนุกกับการจินตนาการว่า โลกยุคใหม่จะเป็นอย่างไร
ลักษณะเฉพาะคือจะมีความ มน ๆ ขาว ๆ เงิน ๆ อวกาศ ซึ่งต่อมาเริ่มมีปาปารัซซี่ เริ่มมีรูป street fashion ของดาราศิลปินเผยแพร่ออกไปตามสื่อ
รวมถึงการแต่งตัวของตัวละครในภาพยนตร์ ซีรีส์ ซิตคอม ต่าง ๆ ทำให้สังคมหันมาสนใจและใช้ไอเท็มต่าง ๆ ตามจนฮิตเป็นวงกว้าง เช่น tank top, เสื้อครอป, กางเกงเอวต่ำ, มินิสเกิร์ต
Y2K เป็นแฟชั่นที่มีความหลากหลายเพราะเป็นยุคแห่งการลองผิดลองถูก และปล่อยใจสนุก ๆ เนื่องจากข่าวลือว่าโลกจะแตกและคอมพิวเตอร์จะล่มสลายในปี 2000 นั่นเอง
เก่าไปใหม่ ใหม่ไปเก่า การรีเทิร์นของแฟชั่น
“Everything old is new again.” เสื้อผ้าบางแบบที่เราใส่ ณ ปัจจุบันก็มาจากแฟชั่นในยุคเก่า มันฝังลึกกลายเป็นส่วนหนึ่งของเราไปแล้วโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว
เทรนด์มีการกลับไปกลับมาอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าอย่างเดียวด้วย ของใช้วินเทจ กล้องฟิล์ม หรือแม้กระทั่งเทรนด์ความงาม เช่น ครีมกวนอิม ผงพิเศษ แม่เลียบ
ทำไม Y2K ถึงกลับมาฮิต
การกลับมาของ Y2K แสดงให้เห็นถึง ‘ความยืดหยุ่นของเทรนด์’ เหตุผลที่กลับมาคือ
1.การย้อนกลับ
ตามธรรมชาติ ถ้าเราไม่ไปข้างหน้าเราจะถอยกลับหลัง หมายความว่า ไม่มีอะไรใหม่ ๆ เลยย้อนกลับไปหาอะไรเก่า ๆ อีกประเด็นหนึ่งคือ การกลับไปใช้สิ่งที่เคยเป็นกระแสในสมัยก่อน
เป็นการเปิดประสบการณ์สำหรับคนรุ่นใหม่ที่เกิดไม่ทันยุคนั้นด้วย เลยลองค้นหาไอเท็มเก่า ๆ มาใช้ ลองเลียนแบบวิธีการแต่งตัวในแบบต่าง ๆ
2.การสร้างทางลัด
ทางลัดในที่นี้คือ ‘Mental Shortcut’ การตามเทรนด์ หรือ การทำอะไรตาม ๆ กันจะเป็นเหมือนทางลัด ทำให้ตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของนักจิตวิทยา Bandura ที่บอกว่า
เป็นธรรมดาที่คนมักจะดูคนอื่นและเลียนแบบคนอื่น เพื่อสร้าง Mental Shortcut ในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ
3.เทรนด์
เทรนด์แฟชั่นจะเปลี่ยนไปตามภาพสะท้อนของวัฒนธรรมจากคนดัง และ Influencer (ผู้มีอิทธิพลทางสังคม) อย่างน้อง ๆ New Jeans ก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้คนที่ติดตามอยากแต่งตาม
4.ต้องการปลดปล่อยความเครียด
จากความปั่นป่วนและความไม่แน่นอนในปีที่ผ่านมา บางทีการกลับมาของ Y2K ครั้งนี้เป็นการแสดงออกถึงการโหยหาความสบาย สีสัน และการแสดงออก การแต่งตัวเชื่อมโยงกับจิตใจและความรู้สึกของเราในวันนั้น
เช่น จากที่เรามักจะใส่กางเกงยีนส์เป็นประจำ อยู่ๆวันนึงเปลี่ยนมาใส่กางเกงวอร์มก็อาจจะมีความรู้สึกบางอย่างที่ซ่อนอยู่ เราอาจจะรู้สึกไม่สบายใจ เลยอยากใส่อะไรสบาย ๆ ในวันนั้น
Enclothed Cognition
กับแนวคิดที่ว่า “เสื้อผ้าเชื่อมโยงกับความรู้สึก” Hajo Adam และ Adam d.Galinsky นักจิตวิทยาที่ร่วมกันทำวิจัยเกี่ยวกับเสื้อผ้าและความรู้สึก
งานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal of Experimental Social Psychology (2012)
ท่ามกลางการแพร่ระบาด อาจจะดูเป็นเรื่องแปลกที่จะเห็นคนใส่เสื้อผ้าสไตล์สดใสใช่มั้ย แต่บางทีอาจจะบ่งบอกถึงการโหยหาการมองโลกในแง่ของความสดใสมากขึ้น
เป็นวิธีที่เขาสามารถแสดงตัวตนให้คนอื่นรับรู้ถึงแม้ว่าจะอยู่บนหน้าจอโทรสัพท์หรือสวมแมสปิดไปครึ่งหนึ่งของหน้าก็ตาม
5.ความอิสระในการแต่งตัว
ยุคนี้คนเราเริ่มเปิดกว้างในการแต่งตัวมากขึ้น เมื่อก่อนการที่คนคนนึงใส่ชุดบิกีนีอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ในปัจจุบันคนเริ่ม Normalize กันมากขึ้นแล้ว การมีอิสระตรงนี้ ทำให้พวกเขากล้าที่จะครีเอทชุดมากขึ้น
จิตวิทยากับ Y2K
-Y2K Anxiety
จาก True center publishing
1. A fear of helplessness and loss of control
เทคโนโลยีอาจเข้ามามีผลกระทบจนไม่สามารถควบคุมได้
2. A fear of The End
ความกลัวเกี่ยวกับจุดจบ Y2K เป็นยุคที่ทุกคนต่างมีความกลัวเกี่ยวกับวันสิ้นโลก ทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต โลก ไปจนถึงจักรวาลต่างมีวันสิ้นหมดอายุขัย
3. A fear of change and the unknown
ความเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องปรับตัว คนส่วนใหญ่ต่างรับรู้ว่านี่เป็นเรื่องที่อันตราย เป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ว่า เทคโนโลยีจะพามนุษย์ไปในทิศทางไหน
4. A fear of interdependence
ในยุคใหม่ที่ทุกคนต้องพึ่งพาตัวเอง อยู่อย่างโดดเดี่ยว เพราะการอยู่คนเดียวในยุคสมัยนี้ไม่เหมือนยุคโบราณที่จะอยู่รอดได้โดยมีเผ่า
5. A fear of retribution
ความกลัวเรื่องกรรม เพราะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นการ ‘เอาคืน’ หรือ payback มนุษย์คิดว่าตัวเองสามารถควบคุมเทคโนโลยีได้ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นจะนำพามาซึ่งสิ่งดี ๆ เสมอไป อาจจะเกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดได้
-Y2K influencer
อย่างที่บอกว่า Y2K เป็นยุคที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ต ทำให้เทรนด์ในด้านต่าง ๆ ถูกแพร่กระจายไปได้ในวงกว้างมากขึ้น เพราะอะไรดาราศิลปินถึงมีอิทธิพลกับเรา? เพราะอะไรเราถึงซื้อของตาม แต่งตัวตาม?
1.ความรู้สึกอยากเป็นส่วนหนึ่ง
ในทางจิตวิทยา ข้อมูลจาก GRIN บอกว่า การที่เราได้รับอิทธิพลจากใคร หรือ การที่เรามีอิทธิพลต่อใครสักคน เป็นเรื่องที่ไม่มีใครรู้ตัว เหตุผลเบื้องหลังคือ เราต้องการความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เราจะรู้สึกมั่นใจในการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง ถ้าสิ่งนั้นเป็นอะไรที่สังคมส่วนใหญ่หรือคนที่มีอิทธิพลทำ
2.การเสริมสร้างภาพลักษณ์ตัวเอง
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม in-group จะเป็นกลุ่มที่ตามเทรนด์และ out-group คือคนที่ไม่ตามเทรนด์ คนที่อยู่ใน in-group จะพยายามหาข้อเสียของ out-group เพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น กับภาพลักษณ์ของตัวเอง
ตามแฟชั่นไม่ผิด
การที่เราจะตามแฟชั่นหรือไม่ตาม อยู่ที่ความชอบและความ ‘อยาก’ ส่วนบุคคล สไตล์ วิถีการใช้ชีวิต หรือแม้กระทั่งแฟชันของแต่ละคน เราไม่ตามแต่เราก็สบายใจดี มีความสุขกับตัวเองก็ไม่เป็นไรเลย
หรือถ้าเราจะตามก็ไม่ผิดเช่นกัน แต่ต้องถามตัวเองก่อนว่า เรามีความสุขกับทางที่เลือกไหม เราตามเทรนลึก ๆ เเล้วเรามีความสุขจริงหรือเปล่า หรือแค่อยากได้รับการยอมรับ
และเรื่องที่สำคัญคือผลกระทบ ถ้าตามมากไปจะลำบากเรื่องเงิน แต่ถ้าไม่ตามมากไป จะรู้สึก insecure ได้ว่า เราแปลกแยกไหม เราไม่เข้าพวกไหม อาจจะต้องบาลานซ์ให้ดีและตั้งลิมิตไว้ให้ตัวเองบ้าง
ว่าเราไหวแค่ไหน อะไรได้อะไรไม่ได้
แต่งตัวให้เป็นตัวของตัวเองอย่างไรให้มีความสุข?
1.ทำในสิ่งที่ใจบอกว่าใช่
สารตั้งต้นตัวแรกเลยคือ ความสุขของเราเอง เรามีความสุขกับการเเต่งตัวเเบบไหน มั่นใจเวลาใส่เสื้อผ้าแบบไหน เราคงต้องเป็นคนตอบคำถามในข้อนี้
2.ชีวิตคือการลองผิดลองถูก
การแต่งตัวเป็นเรื่องที่สนุกเหมือนกับการสร้างผลงานศิลปะ ไม่มีคำว่าถูกผิด ตัวนี้ใส่แล้วไม่ใช่ ก็ไม่เป็นไร ลองใหม่ เเนวนี้ใส่แล้วไม่มั่นใจ ก็ลองเเนวใหม่ เราไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวเองให้อยู่ในกรอบของแนว ๆ เดียว
ที่มา :
why-the-return-to-y2k-fashion-is-psychological
bangkokbiznews
unlockmen.com/virgil-abloh-jeweley
Post Views: 2,768