หลายคนเวลามีปัญหาที่ทำให้เครียด ไม่สบายใจ จะพึ่งพา หมอดู เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น หมอดูไม่ใช่แค่ดูดวง
แต่ดูลึกถึงจิตใจและให้ความช่วยเหลือ “หมอดูที่เป็นมากกว่าหมอดู” จริงหรือไม่ ?
พฤติกรรมการดูดวงของคนไทย
ภาวะเครียดจากการทํางาน เพื่อนร่วมงาน ไม่มีคนคอยช่วยปลอบใจ หรือปรับทุกข์ระบายสิ่งที่เกิดขึ้น ขาดผู้ที่คอยรับฟังปัญหา ขาดที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ต่างคนต่างที่จะแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการ
เพื่อสนองความต้องการของตนจึง ทําให้บางครั้งไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้จึงต้องหาสิ่งที่เป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาหรือระบายความทุกข์
ด้วยเหตุนี้เองคนในเมืองโดยส่วนมากมักจะหาทางออกที่ดีที่สุดโดยคนใช้บริการดูดวงเพื่อหวังว่าจะช่วยแก้ไขปัญหา และหาทางออก
หมอดูที่มากกว่า หมอดู แต่ช่วยเหลือทางจิตใจจริงไหม?
คุณพลอยไพลิน เล่าว่า เขาได้ศึกษาทั้งด้านดูดวงและด้านจิตวิทยามา 6-7 ปี แล้ว ก่อนหน้านี้ศึกษาจิตบำบัดเพื่อนำมาใช้ในการเรียนและประกอบอาชีพนักให้คำปรึกษา
แต่หลังจากลองนำมาผสมผสานกับการทำนายไพ่ทาโรต์ โดยเริ่มใช้เทคนิคดังกล่าวดูดวงให้เพื่อนสนิท หรือคนใกล้ตัว กลับมีฟีดแบ็กที่ดี คนที่มาดูดวงด้วยจะรู้สึกเหมือนได้แรงเสริมด้านบวกกลับไปด้วย
คำถามที่ว่า หมอดูที่มากกว่าหมอดูมีไหม? จากบทความเว็บไซต์ Philpapersกล่าวว่า การดูดวงเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับชีวิต คนไปหาหมอดูเพราะอยากได้คำแนะนำ และคำถามที่ถามหมอดูมักจะเชื่อมโยงกับสุขภาพจิต
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bangkok Post ด้วยว่า ในไทยมีโปรเจกต์พัฒนาหมอดูให้เป็นผู้รับการปรึกษาด้านสุขภาพจิตด้วย ริเริ่มโดยวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นโปรเจกต์ที่แสดงให้เห็นว่า
การดูดวงและการปรึกษาด้านสุขภาพจิตมีความเกี่ยวข้องกัน ในโปรเจกต์นั้นคือให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพจิตและการตรวจสอบสภาพจิตใจเบื้องต้น เช่น ความเครียด เพื่อพัฒนาทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร
การรับฟัง การสังเกต การตั้งคำถามที่เหมาะสม จากงานวิจัยเสริมว่าไว้ว่า ผู้ใช้บริการดูดวงร้อยละ 14.6แสดงความคิดเห็นว่า หมอดูเปรียบเป็นผู้ให้คําปรึกษาของสังคมโดยสามารถพูดความในใจออกมาได้ ทําให้รู้สึกโล่ง ไปได้ชั่วขณะ
เพราะอะไรคนถึงเลือกหา หมอดู มากกว่านักจิตวิทยา?
จากงานวิจัย พฤติกรรมการดูดวงของคนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร มีสถิติบอกไว้เป็นตัวเลข ว่าเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในชีวิตจะหาทางออกโดยการ ปรึกษา หมอดูเพื่อแนะนำทางออกของปัญหา ร้อยละ 9.6 ไม่ปรึกษาใคร
ร้อยละ 4.9 และ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและนักจิตแพทย์ ร้อยละ 2.9
บางสังคมยังมีค่านิยมว่าการไปหาผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เป็นเรื่องผิดปกติ ค่านิยมนี้ทำให้บางคนแก้ไขปัญหาด้วยการไปพึ่งอย่างอื่น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการดูดวง
เพราะคุณหมอมักพูดตามความเป็นจริง แต่หมอดูพูดค่อนข้างกว้าง ทำให้เราสามารถตีความ ใส่ความคิดเห็นของตัวเองลงไปได้ และ เชื่อมโยงเข้ากับความรู้สึกของตัวเองได้
จากงานวิจัยเดียวกัน กล่าวว่า ผู้คนที่เข้าไปดูดวงนั้น เพราะเกิดความคาดหวัง ต้องการที่พึ่งพาทางที่พึ่งทางใจ ต้องการรับรู้อนาคต เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจ
จึงเลือกที่จะเข้ารับการดูดวง ซึ่งการทำนายอนาคต นักจิตวิทยาไม่สามารถให้คำตอบได้ และไม่สามารถตอบสนองความหวังของผู้ที่เข้ารับการดูดวงได้ อีกทั้งยังเป็นเรื่องของราคาที่แตกต่างกันมาก
หมอดูที่มากกว่า หมอดู กับ การพูดคุยปรึกษาในทางจิตวิทยา ต่างกันอย่างไร?
1. หมอดูจะเป็นการพูดคุยตัวต่อตัว แต่การนักจิตวิทยา จะมี session หลากหลายรูปแบบ เช่น แบบเดี่ยว แบบกลุ่ม แบบครอบครัว แบบคู่รัก
2. ในศาสตร์การดูดวง จะมีหลายส่วนที่เอนเอียงไปทางความเชื่อ แต่ ศาสตร์ทางจิตวิทยา จะพัฒนาทฤษฎีการให้คำปรึกษาจากการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ จากปรัชญา จากวิทยาศาสตร์
3. ทฤษฎีที่ใช้แตกต่างกัน ศาสตร์การดูดวง มีหลายแบบ เช่น โหราศาสตร์ ทำนายอนาคตจากตำแหน่งดวงดาว การทำนายอนาคตจากการเสี่ยงทาย , การดูฤกษ์ , การดูชื่อสกุล ซึ่งจะเน้นไปที่การทำนายอนาคต
แต่การปรึกษาทางจิตวิทยา จะเน้นไปที่การทำให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจตัวเอง เข้าใจปัญหา ซึ่งมีทฤษฎีโดยเฉพาะเหมือนกัน เช่น Humanistic เน้นการพัฒนาศักยภาพ , Cognitive เน้นการปรับความคิด เป็นต้น
ที่มา :
Good mental health is in the stars
หมอดู พลอยไพลิน จากนักเทคนิคการแพทย์ ไม่ด้อยค่าโหราศาสตร์
พฤติกรรมการดูดวงของคนเมืองในกรุงเทพมหานคร
Post Views: 2,037