“ปล่อยวาง ดูสิ”… คำที่ใคร ๆ ก็พูดกันอยู่เสมอเวลาเจอปัญหา จริง ๆ แล้วปล่อยวางคืออะไร? ทำได้จริงไหม?
เราจะปล่อยวางอย่างไรไม่ให้หลอกตัวเอง ? มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂 หรือรับฟังได้ที่ Alljit Podcast
การ ปล่อยวาง คืออะไร
การปล่อยวาง เปรีบได้เหมือน เราไม่เอามาไว้ในใจ เอาไปตั้งไว้ที่อื่น เหมือนตอนเรายกของไว้ในมือ ถ้าเรายกของเพิ่มขึ้นก็จะหนักมากขึ้น แต่ถ้าเรารู้ว่ามันวางได้ มันไม่ได้สำคัญในชีวิต
ก็จะทำให้เราปล่อยวางได้ง่ายขึ้น ซึ่งการปล่อยวางไม่ได้ทำง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะฝึกฝน ให้เราสามารถปล่อยกับสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งสำคัญในชีวิตได้
หลอกตัวเอง คืออะไร
การหลอกตัวเองคือ การเป็นทำเหมือนว่าเข้าใจ ทำเหมือนว่าไม่รู้สึกอะไร ทำเหมือนว่าไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งเหล่านั้น แต่สุดท้ายวันหนึ่งเมื่อมีอะไรมากระทบ ความรู้สึกก็จะสั่นคลอน เพราะว่า ณ ตอนนั้น
เราเพียงแต่บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร ช่างมัน โดยไม่แก้ไข ซึ่งจริง ๆ แล้วเรายังไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริง ยังคิดวนเวียนกับสิ่งเดิม ก็คล้ายกับการหลอกใจตัวเองว่าไม่ได้รู้สึกอะไรแล้ว ไม่เป็นไรแล้ว
จุดที่บอกได้ว่า ปล่อยวาง หรือ หลอกตัวเอง
ดูที่ความรู้สึกของเราที่มีต่อเรื่องนั้น ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถมองเห็น และสามารถออกมาเป็นผู้ดูได้โดยความรู้สึกไม่เข็มข้นเท่าเดิม เปรียบเที่ยบกับการที่เรานั่งบนหาดทรายแล้วนั่งมองคลื่นที่ซัดเข้ามาที่ชายหาด
คลื่นเปรียบเสมือนปัญหา ถ้าเราปล่อยวางได้เราก็คงยื่นมองคลื่นและเลือกหาวิธีที่จะจัดการคลื่นนั้น แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเรายังหลอกตัวเองอยู่ ว้าวุ่น กระวนกระวายใจ ก็เปรียบเหมือนคลื่นใต้น้ำที่ถูกซัดอยู่แบบนั้น
การหลอกตัวเอง คือการป้องกันตัวเองอย่างหนึ่งไหม
กลไกการป้องกันจิตใจมักจะเกิดขึ้นเมื่อ เรามีความกังวล ความกลัว ไม่สบายใจ โดยเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อเกิดเรื่องอะไรขึ้นก็ตาม เราพยายามยามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง หรือบอกตัวเองว่าไม่เป็นไร
คงทำให้เราสบายใจขึ้น ณ ตอนนั้นและผ่านช่วงเวลานั้นไปได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคนหนึ่งคนจะใช้กลไกอะไรมันขึ้นอยู่ที่ว่าเราให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านั้นมากแค่ไหน เราใส่ใจกับเรื่องนั้นมากขนาดไหน
แต่ละคนก็จะมีกลไกการป้องกันตัวเองที่แตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือ กลไกการป้องกันตัวเองควรใช้อย่างหลากหลาย และใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ
พยายามปล่อยวางมากเกินไป เท่ากับ หลอกตัว ?
อะไรที่ควบคุมไม่ได้ก็ต้องปล่อย อาจจะดูคล้ายการหลอกตัวเองแต่ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราปล่vยว่างเกินไป ละเลย ไม่ใส่ใจ ก็ไม่ได้แปลว่าหลอกตัวเอง เพียงแต่เรื่องนั้นอาจไม่ได้มีสาระสำคัญกับเราจึงไม่รู้ว่าจะใส่ใจไปทำไม
การปล่อยวางเริ่มต้นอย่างไร
1. ตระหนักว่า เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างบนโลกนี้ได้
เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างบนโลกนี้ได้ ขนาดบางครั้งเรายังไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย ฉะนั้นตราบใดที่เรารู้ว่าเราคุมทุกอย่างไม่ได้ เราก็จะไม่เอาตัวเองไปวางอยู่บนนั้น
ถ้าเรารู้ว่าสถานการณ์ทุกอย่างบนโลกเราไม่ได้ควบคุมได้ทั้งหมด เราก็จะปล่อยวางกับบางอย่างได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเห็นด้วยว่าเรามีอะไรที่คุมได้ พอเราเห็นครบทุกด้าน ก็จะปล่อยว่างได้ง่ายขึ้น
2. ตราบเท่าที่เราเป็นมนุษย์ ทุกอย่างบนโลกเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรยั่งยืน
ทุกอย่างจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน ตัวเราเองในเมื่อวาน และวันนี้ก็ไม่เหมือนกัน พอรับรู้ว่าไม่มีอะไรยั่งยืนในชีวิตเราหรอก เราก็จะไม่ได้ทุ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนั้นมากจนไม่สามารถปล่อยวางได้
3. เราผิดพลาดได้
เราทุกคนสามารถผิดพลาดได้ หากเราแบ่งพื้นที่ไว้สำหรับความผิดพลาด เผื่อพื้นที่เหลือไว้ให้เราได้ล้มได้ลุก เพื่อไม่แบกทุกความรู้สึกของเราไว้หากวันหนึ่งเราเกิดความผิดพลาดขึ้น
หากปล่อยวางไม่ได้จริง ๆ เราจะทำอย่างไร
ถามตัวเองว่าที่เราปล่อยไม่ได้เป็นเพราะอะไร จุดเริ่มต้นของปัญหาอยู่ตรงไหนที่ทำให้เราปล่อยวางไม่ได้ และไปจัดการที่ปัญหานั้น พอปัญหาดีขึ้น ปัญหาคลี่คลายลง เราจะปล่อยวางลงได้
ปล่อยวาง ดีอย่างไร
1. เราจะสงบและ ผ่อนคลาย มีความสงบสุขอยู่ภายในจิตใจของเราเอง
2. เราจะเรียนรู้เรื่องที่เราไม่คาดหวัง และเราก็จะไม่ผิดหวัง
3. เราจะมีพื้นที่ของการสร้างความรู้สึกรักตัวเอง เราจะไม่ให้คุณค่ากับสิ่งรอบ ๆ ตัว เกินมากกว่าตัวเราเอง
สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog
Post Views: 2,553