Busy Culture เมื่อสังคม บีบบังคับให้ยุ่ง เพราะถ้าถ้าอยู่เฉยๆ = ขี้เกียจ งานเสร็จหมดแล้ว เคลียร์ของล่วงหน้าก็แล้ว
แต่พอว่างงานเพราะเราจัดการงานของเราเสร็จแล้ว ทำไมรู้สึกว้าวุ่นใจจัง รู้สึกผิด อยากยุ่ง ๆ เข้าไว้
ทำไมภาพลักษณ์ดู ยุ่ง = ดูดี
ในปัจจุบันความยุ่งไม่ได้แค่ใช้อธิบายสภาวะ แต่ความยุ่งเป็นเสมือนใบประกาศเกียรติคุณ ใครยุ่งน้อยอาจถูกลดทอนว่าเป็นพวกไม่ยอมทำอะไร ในขณะที่คนยุ่งมากมักได้รับการยอมรับมากกว่า
เมื่อคนที่ทำงานเยอะ เป็นคนขยัน และได้รับคำชื่นชม ตรงกันข้าม คนที่มีเวลาว่างเยอะ หรือ ทำงานเสร็จเร็ว จะทำให้ดูขี้เกียจคนหลาย ๆ คนอาจไม่อยากดูแย่ในสายตาใครอยู่แล้วจึงต้องพยายามทำให้ตัวเองยุ่งเข้าไว้
J Christine Kim ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการตลาดที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกงในเกาลูน กล่าวว่า “เมื่อมีคนพูดว่าตัวเองกำลังยุ่ง มันทำให้พวกเขารู้สึกว่าชีวิตของพวกเขาสำคัญ
และการปรากฏตัวของพวกเขามีความสำคัญต่อคนรอบข้าง” เราคิดว่าการทำตัวยุ่งทำให้ตัวเองมีค่า ไม่ว่าจะเป็นกับเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ครอบครัวหรือเพื่อนก็ตาม เราจะเห็นว่าเวลาของตนเองสำคัญที่สุดเสมอ
Busy Culture
การที่ทำตัวยุ่งตลอดเวลา ทำตัวเองให้มีอะไรทำตลอดเวลา ทั้งที่ความจริงแล้วอาจไม่ได้ยุ่งอยู่ก็ได้ เพื่อภาพลักษณ์ และเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกผิดที่ว่างงาน ซึ่งบางองค์กรก็เป็นคนปลูกฝังวัฒนธรรมแบบ busy culture
มาเพื่อกดดันตัวพนักงาน และให้พนักงานจับผิดคนว่างกันเองเหมือนกันนะ พออยู่กับความเป็น busy มาก ๆ อาจกลายเป็น toxic productivity ได้
มีคำอธิบายในจิตวิทยา ข้อมูลจาก salaryinvestor “Jaimie Bloch” นักจิตวิทยา และผู้อำนวยการคลินิก MindMovers Psychology ประเทศออสเตรเลีย อธิบายถึงอาการ “เสพติดงานยุ่ง” ไว้ว่า
เป็นภาวะที่ได้รับอิทธิพลมาจากฮอร์โมนโดปามีน (ฮอร์โมนแห่งความสุข) คือ เมื่อเราทำงานเสร็จหรือบรรลุเป้าหมาย สมองจะปล่อยฮอร์โมนโดปามีนออกมา ซึ่งเราจะรู้สึกดี ทำให้บางคนอาจยึดติดกับความรู้สึกดีเหล่านี้
และอยากให้มันเกิดขึ้นซ้ำๆ กลายเป็นว่าเกิดการโหยหาความสุขนี้ซ้ำๆ และอีกหนึ่งปัจจัยอาจมาจากคนนั้นมีอาการของโรควิตกกังวล (Anxiety) ที่เกิดขึ้นได้บ่อยในวัยทำงาน
Idleness Aversion ภาวะเสพติคความยุ่ง
แน่นอนการที่เราถูกกดดัน สร้างให้มีความเชื่อที่ผิด ๆ และตกอยู่ในวัฒนธรรมความยุ่ง หรือ Busy Culture ยิ่งยุ่งยิ่งดูดี ก็จะเป็นต้นต่อที่นำเราไปสู่ ภาวะหนึ่ง ที่เรียกว่า ภาวะเสพติดความยุ่ง คือ
ภาวะที่ผู้คนมีความสุข เมื่อพวกเขายุ่งมากขึ้น แม้ว่าเราจะถูกบังคับให้ยุ่ง จึงมีงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยชิคาโก้ บอกว่า ผู้คนอยากจใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า แต่ไม่แน่ว่ากิจกรรมที่เราทำอาจจะไม่ได้คุ้มค่าแบบที่เราตั้งใจไว้
สำรวจตัวเอง ยุ่งจริง หรือเสพติดความยุ่ง
1.รู้สึกผิดเมื่อว่างงาน
เนื่องจากการทำงานหนักกลายเป็นคุณค่าที่สื่อถึงความสำเร็จ และความ Productive ของสังคมชาวออฟฟิศ หลายคนจึงกดดันตัวเองให้ทำงานต่างๆ ให้สำเร็จอย่างต่อเนื่อง
กลายเป็นบรรทัดฐานที่ว่า “ยิ่งทำมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น” หากปล่อยตัวเองให้ว่าง ก็มักจะเกิดความรู้สึกผิด ความละอาย ความวิตกกังวล
2. “งานยุ่ง” เป็นสถานะทางสังคม :
สำรวจตัวเองว่าการที่เรายุ่ง ๆ อยู่นี้ เรายุ่งจริง หรือเพียงแค่ต้องการการยอมรับจากสังคมกันแน่ เพราะการที่สังคมยกย่องการทำงานหนัก ดังนั้นการทำตัวเองให้ยุ่งตลอดเวลา จึงทำให้รู้สึกว่ากำลังมีการยอมรับที่มากขึ้นจาก
สังคม และเชื่อว่ามันสามารถยกระดับสถานะทางสังคมได้ จนเข้าขั้นเสพติดงานยุ่ง อีกส่วนคือ คนที่เสพติดความยุ่งมักจะตอบปากรับคำกับงานทุกอย่างไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม รับมาให้เยอะมากที่สุด
เพื่อที่จะได้ใจคนรอบข้าง แต่หากยุ่งจริง เขาจะใช้เวลาคิดไต่ตรอง ว่าจะรับงานนี้มาดีไหม จะสามารถทำได้ไหม ส่งได้ทันเวลาหรือไม่
3. การมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จที่เกินพอดี
ชอบให้ตัวเองงานยุ่งตลอดเวลา เพราะรู้สึกว่าเป็นวิธีเดียวที่จะประสบความสำเร็จ เมื่อว่างขึ้นมาก็จะรู้สึกกระวนกระวายรู้สึกเหมือนเป็นความล้มเหลวรูปแบบหนึ่ง ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลและความเศร้า
อีกส่วนคือ คนเสพติดความยุ่งต้องการจะทำงานทุกงาน เพื่อให้ดูยุ่ง โดยลืมโฟกัสสิ่งที่สำคัญ หรืองานที่สำคัญไป แต่คนที่ยุ่งจริง จะรู้ว่ายุ่งเพราะอะไร อะไรคือเป้าหมายในการยุ่งครั้งนี้
4. พยายามหลีกเลี่ยงอารมณ์ด้านลบ
บางคนมีปัญหาชีวิตส่วนตัวที่ยากลำบาก เช่น สูญเสียคนในครอบครัว เลิกกับแฟน ฯลฯ และไม่อยากเผชิญหน้ากับมัน จึงเลี่ยงปัญหานั้นด้วยการทำงานให้ยุ่งอยู่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่อยู่ว่างๆ ในที่ทำงานก็จะเกิดความกังวล
5. มักบอกใคร ๆ ว่าตัวเองยุ่ง
คนที่เสพติดความยุ่ง มักพูดเสมอ ๆ ว่าเขานั้นยุ่ง เพราะเบื้องหลังคำพูดนั้น ต้องการรู้สึกดีกับตัวเอง และให้คนอื่นรู้สึกดี และรับรู้ว่าตัวเองงานเยอะ ในอีกมุมหนึ่ง คนที่ยุ่งจริง จะไม่ค่อยพูดว่าตัวเองยุ่งมากเท่าใดนัก
ยุ่งตลอดเวลาดีจริงไหม? ผลกระทบจากความยุ่ง (ข้อเสีย ของ Busy Culture )
1. สุขภาพกาย โหมงานหนักเกินไป จนไม่มีเวลาดูแลร่างกาย
2. สุขภาพจิต ความเครียดจากงานต่าง ๆทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้
3. การไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอ
4. กดดันที่คนอื่นยุ่งแต่เราว่างงานจนตั้งคำถามว่าตัวเรามีคุณค่าไหม
5. ยุ่งจนไม่มีเวลาให้คนรอบข้าง ครอบครัว เพื่อน
6. ลดความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยบอกว่า การที่เราทำตัวยุ่งตลอดเวลา จะลดความคิดสร้างสรรค์ของเรา
รักษาความบาลานซ์ ไม่ยุ่งจนเกินไป
1.แบ่งงานไว้ทำแบบไม่รวบตึง
แบ่งตารางการทำงานให้เป็นเวลา เพื่อที่จะได้ไม่ว่าง และมีเวลาในการทำงานจนครบตามเวลาการทำงาน
2. จัดการทำงานของตัวเอง
จัดลำดับความสำคัญของงาน ดูว่าช่วงนี้มีงานอะไร ต้องส่งช่วงไหน แบ่งงานไว้ทำเป็นส่วนๆ ไม่ต้องทำให้จบไวเกินไป มีงานมานั่งทำตลอด โดยไม่ต้องวุ่นวายหาอะไรทำเพื่อไม่ให้ตัวเองว่างจริงๆ ก็ได้
3. หาเวลาให้ตัวเองได้ผ่อนคลายบ้าง
โดยร่วมแล้วเป็นเรื่องของการจัดสรรค์เวลา และวางแผน ในสำหรับคนที่งานเยอะจริง ๆ ควรจะหาเวลามาพักผ่อน ผ่อนคลายซักนิดด้วยเช่นกัน
“ความยุ่งไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าเรามีคุณค่า หรือว่าสำเร็จ เพียงแค่เราต้องทำหน้าที่ และงานที่ได้รับอย่างเต็มความสามารถ ”
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
ที่มา:
6 signs you are addicted to being busy and the reasons why
“มนุษย์เงินเดือน” เสพติดงานยุ่ง
What is Idleness Aversion?
วัฒนธรรมแห่งความ ‘ยุ่ง’
Post Views: 2,925