ถ้าพูดถึง ความโดดเดี่ยว จะนึกถึงคำที่ อริสโตเติล บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ถ้าใครฝืนข้อนี้จะทำให้การใช้ชีวิตเหมือนขาดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทำให้คิดกับตัวเองตลอดว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์สามารถอยู่คนเดียวได้จริงไหมนะ และจะสามารถอยู่ได้ไหมถ้าไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรกับใครเลย Alljit Podcast
จากคำกล่าวของ อริสโตเติล ที่บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ในสมัยก่อนที่ไม่มีความสะดวกสบายเท่านี้ทำอะไรก็ต้องทำเป็นกลุ่มคน
ล่าสัตว์ ย้ายถิ่นฐาน เพื่อความปลอดภัยของครอบครัว คู่ เพื่อน แต่เทียบกับสมัยนี้ที่นี้ความสะดวกสบาย การเดินทาง อาหารที่ไม่ต้องไปตามล่าหาเอง เป็นอะไรที่เอื้อให้คนใช้ชีวิตง่ายมากขึ้น
ปลีกวิเวกอยู่ลำพังได้ง่ายมากขึ้น แต่ยิ่งความสบายมีมากเท่าไหร่ทำไมถึงมีความเหงา ความโดดเดี่ยว เต็มไปหมดในความรู้สึก
ความโดดเดี่ยว คืออะไร
Solitude อ้างวาง,สันโดษ,ความโดดเดี่ยว ถูกพบว่ามีการใช้กันเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 14 มาจากคำฝรั่งเศสเก่าที่สืบรากมาจากคำละติน solitudinem (Latin)
ที่แปลความได้ทั้ง ‘ความโดดเดี่ยว การอยู่คนเดียว สถานที่เปลี่ยว ที่ถูกทิ้งร้าง และในป่าเขาอันห่างไกลความเจริญ’ ซึ่งมาจากคำละติน solus ที่หมายถึง ‘ลำพัง’ หรือ alone
solitude ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาก่อน loneliness โดดเดี่ยว เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปลายศตวรรษที่ 16 ในเวลานั้นหมายถึงการปลีกวิเวกหรือการออกมาอยู่เพียงลำพัง
ก่อนหน้าที่สองคำนี้จะแพร่หลาย คำว่า oneness ถือเป็นหนึ่งคำที่ใช้แทนภาวะของการอยู่คนเดียว
สภาวะการอยู่ลำพัง ความโดดเดี่ยว ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ไม่ได้ติดต่อสื่อสารกับคนอื่น ๆ สูญเสียสถานะภาพทางสังคมเป็นเวลานาน โดยที่คน ๆ นั้นอาจจะโดดเดี่ยวแบบที่ตั้งใจแยกตัวออกมา
หรืออาจจะไม่ได้ตั้งใจ งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า บุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม ส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุหรือผู้พิการ (แต่คนทุกวัยก็มีสิทธิเป็นกันได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะในยุคนี้)
และที่สำคัญถ้าใครที่ตกอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยวเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพและจิตใจอย่างมาก อาจพัฒนากลายเป็นซึมเศร้า ปัญหาการนอน สมาธิสั้น
ความแตกต่างระหว่าง Loneliness และ Solitude
solitude เป็นภาวะจำเป็นในยามที่มนุษย์เราใช้สร้างสรรค์ รวมถึงการทำความเข้าใจตนเองเมื่อต้องอยู่เพียงลำพังหรือปลีกตัวเองออกมาจากคนอื่น ๆ
โดดเดี่ยว เป็นจำนวนเวลาที่เราใช้กับจำนวนคนที่ใช้เวลาร่วมกัน หรือเวลาอยู่เพียงลำพัง ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก สามารถวัดค่าในเงื่อนไขที่เป็นความจริง
Paul Tillich นักปรัชญาชาวเยอรมัน-อเมริกันเป็นอีกคนที่อธิบาย ในงาน The Eternal Now (1963) ได้กล่าวไว้ว่า “ภาษาของเราได้กำหนดความหมายสองด้านของการอยู่เพียงลำพังได้อย่างลึกซึ้ง โดยการสร้างคำว่า โดดเดี่ยว (loneliness) เพื่อแสดงความเจ็บปวดของการอยู่ลำพัง และคำว่า ‘สันโดษ’ (solitude) ขึ้นมาเพื่อแสดงชัยชนะให้กับการอยู่ลำพัง”
Diego Zavaleta, Kim Samuel, และ China Mills นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด “การที่บุคคลหนึ่งๆ มีความสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าในระดับใดก็ตาม (เพื่อน, กลุ่ม, ชุมชน, หรือสังคม) ทั้งในเชิงปริมาณและ/หรือเชิงคุณภาพที่ไม่เพียงพอ”
สภาวะ ความโดดเดี่ยว
- สภาวะโดดเดี่ยวเชิงสังคมแบบอัตวิสัย (Subjective Social Isolation)
การรับรู้ของบุคคลว่าตัวเองกำลังสูญเสียการเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ ในเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น นาย A เริ่มรู้สึกว่าเขากำลังห่างเหินกับเพื่อนคนอื่น ๆ ในกลุ่ม
การห่างเหินดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในหัวของ A ถึงแม้ในความเป็นจริง คนอื่น ๆ จะติดต่อพบปะพูดคุยปกติ แต่ A คิดว่าทุกคนเริ่มห่างเหิน เท่ากับว่า A ได้อยู่ในสภาวะโดดเดี่ยวเชิงสังคมแบบอัตวิสัย
นักวิจัยส่วนมากยอมรับร่วมกันแล้วว่าจริง ๆ แล้ว สภาวะโดดเดี่ยวเชิงสังคมแบบอัตวิสัยที่พวกเราสัมผัสนี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันอีกอย่างว่า ‘ความเหงา’ (loneliness)
- สภาวะโดดเดี่ยวเชิงสังคมแบบภววิสัย (Objective Social Isolation)
การที่ได้สูญเสียปริมาณและคุณภาพของสังคมของตน ไม่จำเป็นต้องรับรู้การสูญเสียความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ได้
เช่น เพื่อนในกลุ่มรวมตัวกันแบนเพื่อนหนึ่งคน แต่เพื่อนคนนั้นเป็นคนที่ไม่สังเกต ไม่รับรู้ว่าเพื่อน ๆ กำลังแบนเขาอยู่ จึงเป็นสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมแบบภววิสัย
การเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ต้องเผชิญ ความโดดเดี่ยว อะไรบ้าง
การระบายไม่ใช่ทางออกเหมือนตอนเด็ก ๆ แล้ว
ลองนึกย้อนกลับไปเราเลือกระบายความรู้สึกแบบไหนกัน? โทรไปร้องไห้กับเพื่อน เดินไปกอดแม่แล้วร้องไห้หรือเปล่า แล้วตอนนี้ยังคงทำเหมือนเดิมอยู่ไหม
การระบายที่กล่าวไปข้างต้นอาจไม่ใช่ทางออกแล้ว หรือบางทีเราต้องคิดให้เยอะมากขึ้นว่าเรื่องนี้เราพูดกับคนนี้ได้นะ ถ้าย้อนกลับไปตอนเด็กประถม มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเราคงไปหากลุ่มเพื่อนเพื่อปรึกษา
ความโดดเดี่ยวของแต่ละรุ่นแตกต่างกันแต่ดูเหมือนกันตรงที่เราโหยหาเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน แต่ความสามารถของคนสูงวัยจะยากกว่าคนหนุ่มสาวด้วยทางร่างกาย
ที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมได้ลื่นไหลเท่าตอนหนุ่ม ๆ เลยรู้สึกว่าการโดดเดี่ยวไม่ใช่จำเป็นว่าคือการอยู่คนเดียวนะ การมีคนอยู่ข้าง ๆ เราในตอนนั้นเราอาจรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกเหงาได้เหมือนกัน
โตขึ้นใช่ว่าปัญหาจะลดลง หรือแก้ปัญหาเก่งขึ้น
เหมือนว่าเรามีภูมิคุ้มกันกับปัญหามากกว่าแต่ไม่ใช่ว่าเรามีภูมิคุ้มกันมากขึ้นที่จะแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น แต่เหมือนกับว่าเราต้องจัดการวางตัวยังไง
เหมือนชีวิตต้องเรียนรู้ที่จะแก้ไขอยู่ตลอดเวลาสิ่งท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเกือบจะทุกวัน ความรู้สึกเคยคิดว่าโตขึ้นจะเก่งขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้นก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นซะทีเดียว
แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวขึ้น คงเป็นเรื่องที่เราต้องยืนรับมือ แก้ไขมันให้ไหว ด้วยตัวเอง ตัวคนเดียว แล้วผ่านมันไปให้ได้
การอยู่ในเมืองใหญ่
มีงานวิจัยที่คนอยู่ในเมืองใหญ่ ตึกสูง แล้วยิ่งรู้สึกเหงา ปริมาณคนที่อยู่เยอะคือคนแปลกหน้าที่เดินสวนกันไปมา ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง โฟกัสแต่สิ่งที่อยู่ข้างหน้า ไร้ปฏิสัมพันธ์
ทำให้มีความรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น แต่งานวิจัยก็บอกมาว่าบางทีความรู้สึกโดดเดี่ยวในเมืองใหญ่ก็แก้ได้ด้วยการที่เรามี Interaction กับคนแปลกหน้าอาจจะยิ้มให้คนที่เดินสวนกัน เพื่อให้การอยู่เมืองใหญ่ไม่เปลี่ยวใจเกินไป
การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จากที่ที่เราเคยมีปฏิสัมพันธ์ การเปลี่ยนที่อยู่ก็ทำให้เราห่างหาย ห่างเหินจากผู้คนไปเหมือนกัน จะมีทั้งคนที่เราติดต่อกันละบางคนกาลเวลาก็ทำให้จางไปด้วย
จากคนที่เราเคยสนิทกันมาก ๆ พอกลับมาเจอ อาจจะไม่ได้รู้สึกว่าเหมือนเดิมอีกแล้ว
ต้องทำบางอย่างที่ไม่ได้อยากทำ แต่การโตเป็นผู้ใหญ่มันแค่หนีออกมาไม่ได้
ถึงแม้ว่าเรามีสิ่งที่ไม่อยากทำมากแค่ไหน อยากจะหนีมันไป แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีข้อจำกัดหลายอย่างในชีวิตมากที่เราลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วก็ต้องทำสิ่งนั้นต่อไป
ถ้าตอนเป็นเด็กเราอาจหาข้ออ้างเพื่อไม่ทำมัน ทำตามใจตัวเองได้มากกว่าตอนนี้ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทำเพื่อตัวเอง ทำเพื่อคนอื่น ทำเพื่อเข้าสังคม ทำเพื่อเป็นมารยาท
การโตขึ้นเราจะต้องทำหลายอย่างมาก ๆ จริง ๆ เหมือนเป็นการเอาตัวรอด มันอาจจมีบางจุดที่เราเลือกไม่ทำได้ บางจุดเราพลิกแพลงได้ บางจุดเราไม่อยากทำ แต่เราก็ต้องทำ
การให้ความสำคัญกับสิ่งสิ่งนั้น
สิ่งที่เราให้ความสำคัญ เราทุกคนล้วนให้คุณค่ากับสิ่งในชีวิตที่แตกต่างกันสิ่งต่าง ๆ จึงสร้างผลกระทบให้กับเราแต่ละคนได้ไม่เหมือนกันอย่างที่สุด เช่น การให้คุณค่าความสัมพันธ์แบบเพื่อน
ถ้าเรามีกระทบกันกับเพื่อน เพื่อนอาจจะไม่ได้คุย แน่นอนว่าความโดดเดี่ยวมันจะเกิดขึ้น เพราะเหมือนว่าเราแยกจากสิ่งที่เราให้ความสำคัญ
การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย
คนไทย 80% กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต โดยในจำนวนนี้ คน Gen Z อายุ 18-24 ปี คือช่วงวัยที่รู้สึกโดดเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้คน Gen นี้ตกอยู่ในสภาวะดังกล่าวคือ การทำงาน การเรียน แรงกดดันจากเพื่อน และโซเชียลมีเดีย
รัฐบาลกรุงโซล คาดการณ์ว่า มีคนรุ่นใหม่กว่า 129,000 ในโซลที่กำลังอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยว เนื่องจากไม่มีงานทำ มีปัญหาสุขภาพจิต และประสบความลำบากในการสื่อสารกับผู้อื่น
ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุก็เช่นกัน งานศึกษาแสดงให้เห็นถึงผู้สูงอายุ 60 ปี ที่มีความรู้สึกถึงความโดดเดี่ยวบางครั้ง หรือบ่อย ๆ มักจะมีอายุสั้นลง 3-5 ปี
ความโดดเดี่ยว ไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป
พอพูดถึงความโดดเดี่ยว การอยู่คนเดียว ความเหงา ฟังดูแล้วเหมือนเป็นคำที่ถูกมองในแง่ลบ แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่แง่ลบเสมอไป
ซึ่งจริง ๆ ก็ส่งผลเสียถ้าเราอยู่กับความโดดเดี่ยวนานเกินไป เพราะอะไรที่เกินไปมันก็ไม่ดีกับตัวเราและสุขภาพจิต สุขภาพกาย เราต้องหาจัดการหรืออยู่ร่วมกัน
การอยู่อย่างโดดเดี่ยวให้มีความสุข กับ การที่เราต้องออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบ้าง
- ความโดดเดี่ยวทำให้รู้จักตัวเอง
เวลาที่เราอยู่ด้วยตัวคนเดียว เราจะเลือกอะไรบางอย่างได้โดยที่ไม่ต้องมีเสียงจากคนอื่นมาทำให้เราสับสน หรือไขว้เขว ยิ่งเรารู้จักตัวเราเองมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้เราเข้าใจตัวเราเองมากขึ้น
- ความสัมพันธ์กับตัวเองและคนอื่นดีขึ้น
เมื่อเราได้ลองใช้เวลาอยู่กับตัวเองเงียบ ๆ คนเดียว จะทำให้รู้สึกมีความเห็นนอกเห็นใจ เข้าใจคนอื่นมากขึ้น อาจเพราะเวลาอยู่คนเดียวทำให้เราได้ทบทวนอะไรหลาย ๆ อย่าง มีความรู้สึกอยากตั้งคำถามกับตัวเองกับสิ่งที่ผ่านมาในชีวิต แล้วก็อยากถามสารทุกสุขดิบกับคนรอบข้างของเราด้วย
- การอยู่คนเดียวทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
- การอยู่คนเดียวทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น
การอยู่คนเดียวทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีมากขึ้นรู้สึกสงบ
- การอยู่คนเดียวทำให้เรามีโอกาสในการแพลนสิ่งต่างๆในชีวิต
ทบทวนเป้าหมาย หาแรงบัลดาลใจ หยุดพักจากความวุ่นวายแล้วให้เวลากับชีวิตตัวเองมากขึ้น
เมื่อเราเรียนรู้ถึง ความโดดเดี่ยว อาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังโตขึ้นแล้วนะ เมื่อความรู้สึกนี้มาถึงแล้ว เราจะมีความรู้เหงาบ้าง เศร้างบ้าง
ว่าคนรอบตัวเราค่อย ๆ สูญหายไปทีละคนตามกาลเวลาแต่เมื่อเราเติบโตขึ้น ความสุขบางอย่างเราอาจจะต้องหาวิธีเติมเต็มด้วยตัวของเราเอง
เป็นความสุขที่เล็กน้อยแต่เติมเต็มเราได้สิ่งที่สำคัญคือเมื่อไม่ว่าเราจะเป็นแบบไหน เราต้องทำความค่อย ๆ เข้าใจและค่อย ๆ ยอมรับความรู้สึกของตัวเรา
ที่มา
คนรุ่นใหม่ตกอยู่ใน ‘สภาวะโดดเดี่ยว’ ไม่มีงานทำ สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
เพราะเป็นมนุษย์ จึงไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพัง
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก
Post Views: 2,940