เวลาที่เราได้รับรู้เรื่องใดเรื่องนึงมาในทุกวันนี้ที่มี internet ที่สามารถแพร่ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เราไม่รู้ด้วยว่าจริงหรือไม่จริง ยิ่งเร็ว ยิ่งสดใหม่
บางครั้งก็ดีใจที่ได้รู้ก่อน ดังนั้นจำเป็นหรือไม่ที่เราควรใช้วิจารณาญาณในการเสพสื่อต่าง ๆ
Critical Thinking คิด วิเคราะห์ แล้ว แยกแยะ
Critical Thinking คือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นกระบวนการคิดรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ในการสร้างและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใด ๆ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
นอกจากความหมายนี้แล้ว ยังมีนักวิชาการที่ให้ความหมายของ Critical Thinking อีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
Critical Thinking คือ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินและตัดสินใจข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล Benjamin Bloom (1956)
Critical Thinking คือ กระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ
โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย
องค์ประกอบของ Critical Thinking มีอะไรบ้าง?
หลักจากเข้าใจถึงความหมายของ Critical Thinking ต่อมาเราจะมาถึงองค์ประกอบ (Elements) ของทักษะนี้ จริง ๆ แล้วองค์ประกอบของ Critical Thinking Skills
ถ้าจะเรียกให้ถูกควรจะเรียกว่า ทักษะย่อย (Subskills) แต่มันก็ไม่ได้เป็นกระบวนการ หรือ Process ที่ต้องเอาทุกองค์ประกอบมาทำต่อ ๆ กัน
พูดง่าย ๆ ก็คือ มี Subskill ที่ 2 ได้โดยไม่ต้องคิด Subskill 1 ก่อน นั่นเอง โดย Subskills ของ Critical Thinking มีดังนี้ช
1. การทำความเข้าใจ ( Understanding )
การทำความเข้าใจเป็นที่มีความสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบ และข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำไปวิเคราะห์ในขั้นต่อไป จริงแล้ว ๆ มนุษย์เราได้เปรียบกว่าสัตว์อื่น
เพราะเราพยายามทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอมาตั้งแต่อดีต และวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการทำความเข้าใจ ก็คือ การตั้งคำถาม
2. การวิเคราะห์ข้อมูล ( Analysis )
สิ่งต่อมาคือการหาความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านั้นว่าองค์ประกอบเหล่านั้น ถ้าสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกสิ่งหนึ่งจะเป็นอย่างไร หรือถ้าสิ่งหนึ่งขาดหายไปสิ่งไหนจะโดนผลกระทบบ้าง
เราเรียกการเชื่อมโยงที่ว่านี้ว่า การให้เหตุผล ซึ่งนี่ก็ยากบางทีเราก็วิเคราห์แบบใส่อคติลงไปโดยไม่รู้ตัว
3. การอนุมาน (Inference) การคาดการณ์..
การประเมินให้เกิดผลลัพธ์จาก องค์ประกอบที่มีความหมาย หรือผลจากการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ คาดการณ์ว่าผลลัพท์จะออกมาแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้
ยกตัวอย่าง
มีคอลเซ็นเตอร์โทรมาบอกว่าคุณมีพัสดุตกค้างอยู่ที่ สมมุติเป็น บริษัทชื่อ DD จะต้องจ่ายเงินจำนวน 100 บาทถึง ทำความข้าใจกับข้อมูลก่อน โดยการตั้งคำถาม ฉันมีพัสดุจริง ๆ หรือ
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาลองเชื่อมโยงกัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ฉันมี พัสดุอยู่ที่ บริษัท DD แล้วจะต้องจ่ายเงิน 100 บาท วิเคราะห์จากข้อมูลที่ตัวเองมี รวมกับข่าวสารที่เคยได้รับมา
หรือหาข้อมูลจากการถามคนรอบข้าง อินเทอร์เน็ต อนุมาน ว่า มิจฉาชีพแน่ ๆ แบบนี้ไม่ปกติ ขั้นตอนต่อไปเป็นการตัดสินใจว่าจะเอายังไงต่อ
คิด วิเคราะห์ แล้ว แยกแยะ ในด้านต่าง ๆ
ด้านการทำงาน
ทักษะของ Critical Thinking เป็นทักษะนึงที่สำคัญมาก ๆ ในการทำงานคนในองค์กร ‘ควรที่จะ’ มีทักษะนี้ เพราะ Critical Thinking คือ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ แน่นอนว่าการทำงาน
หรือการใช้ชีวิตประจำวันมันหนีไม่พ้นกับการแก้ปัญหาเรื่องราวหรือการที่เราจะตัดสินใจในแต่ละวันอยู่แล้ว
ด้านความรัก ความสัมพันธ์
เวลาทะเลาะกับเพื่อน กับแฟน กับคนในครอบครัว เราสามารถนำ Critical Thinking มาปรับใช้ได้ คบกับแฟนช่วงแรกเราจะมีความรู้สึกหลงไหล เลยช่วงหลง ๆ ไป
จะเริ่มเกิดการตั้งคำถามกันบ่อยขึ้นแล้ว ทำไมเธอทำแบบนี้ ทำไมเธอเปลี่ยนไปแล้ว แต่ถ้าเราตั้งคำถามก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี
จากนั้นหลังจากการตั้งคำถามเราก็นำเหตุผลหลาย ๆอย่างมาวิเคราะห์ นำมาพูดคุยหาจุดลงตัว แก้ปัญหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะถูกนำไปคลี่คลาย มากกว่าตั้งคำถามแล้วไม่พอใจอย่างเดียว
เช่นเดียวกันเราไม่เข้าใจพ่อแม่ เราไม่เข้าใจเพื่อน เราสามารถนำหลักการ วิเคราะห์ แยกแยะ แก้ไขได้เช่นเดียวกัน
ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน
ในการใช้ชีวิตประจำวันของเราแบบว่าถ้านั่งนึกง่าย ๆ เลยคือเรื่องของการเล่นโซเชียลของพวกเรา แค่เราไถ หน้าจอ เราก็ได้รับสารได้อะไรมาใหม่ ๆ
ทุกวันนี้การพาดหัวข้อข่าวต่าง ๆ หัวข้อคลิปในยูทูปก็ล่อให้เรากดเข้าไปสุด ๆ การที่เรามี Critical Thinking จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรได้ง่าย ๆ เราจะเริ่มคิดว่าจริงหรอ
เกิดการตั้งคำถาม มีการไปค้นหาข้อมูล และเอ๊ะอ๋อกับตัวเองว่ามันจริงหรือไม่จริงนะ
5 ข้อที่จะพัฒนาให้เรามี Critical Thinking ได้
อ้างอิงจาก Ted x Samantha Agoos
ฝึกตั้งคำถาม
ตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวแล้วเริ่มหาข้อมูล ถ้ามีผลลัพธ์ที่ต้องการในใจอยู่แล้วก็ลองคิดหาวิธีการที่จะทำให้ผลลัพธ์นั้นเกิดขึ้นได้โดยเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย
อย่างมีวิจารณญาณ จากนั้นจึงเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด
รวบรวมข้อมูล
เมื่อมีคำถามที่ต้องการคำตอบ คำตอบในยุคนี้หาไม่ยากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แต่ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูลต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ
ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในที่นี้อาจเป็นเปเปอร์ งานิจัยที่แหล่งที่มาชัดเจน หรือคำแนะนำโดยตรงของผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่าลืมรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง
และนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาอย่างละเอียดอีกที
นำข้อมูลไปใช้
การนำข้อมูลไปใช้ในที่นี้รวมถึงการตั้งคำถามกับข้อมูลนั้นด้วย นอกจากตรวจสอบว่าข้อมูลนี้ตอบคำถามที่เราสงสัยได้ไหม
คิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าเราจะตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรก็จะมีผลจากการตัดสินใจนั้น ๆ ตามมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในระยะสั้นและในระยะยาว
ผลกระทบทางตรงและทางอ้อม การได้ลองคิดว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้เกิดผลอะไรตามมาบ้าง จะช่วยให้เราตัดสินใจได้รอบคอบกว่าเดิม
สำรวจมุมมองอื่น ๆ
ลองมองประเด็นเดียวกันจากขั้วความคิดตรงข้ามหรือสำรวจมุมมองอื่น ๆ อาจช่วยให้การตัดสินใจของเรามีน้ำหนักมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลและที่มา :
Critical Thinking เพราะการคิดที่ดีสร้างขึ้นได้
5 เทคนิคพัฒนาทักษะ Critical Thinking
Post Views: 2,187