ทดลองเรียน aristech.online ลงทะเบียน โฆษณา 1 รายการจาก 2 รายการ · 0:46 aristech.online 2 0:02 / 0:49 หมดไฟ มันไม่ใช่แค่ไม่อยากไปทำงาน… Burnout Syndrome

หมดไฟ มันไม่ใช่แค่ไม่อยากไปทำงาน…Burnout Syndrome

เรื่องAdminAlljitblog

บางคนอาจจะคิดว่า หมดไฟ ก็แค่ลาหยุด พักสักหน่อยไม่ต้องไปทำงาน แต่หมดไฟมันไม่ใช่แค่ไม่อยากไปทำงาน บางคนก็รู้สึกลามไปถึงการหมดไฟในการดำเนินชีวิต

 

รู้สึกว่าชีวิตไร้สีสัน ใช้ชีวิตไปวันๆ แล้วแบบนี้เราจะทำยังไงกันดี ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเพลง Zombie – Day 6 

 

“Zombie” – Day 6 

สารบัญ

 

DAY6 ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจ ในการเขียนเนื้อเพลง ‘Zombie’ ว่า หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมของวัน เขามองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเห็นการเคลื่อนไหวของผู้คน  ก็คิดขึ้นมาว่า

 

‘เราใช้ชีวิตวันๆ แบบเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมาไม่ใช่เหรอ?’ มันรู้สึกเหมือนเราไร้ความรู้สึกและเคลื่อนไหวเหมือนเครื่องจักร เลยได้รับแรงบันดาลใจจากความรู้สึกว่างเปล่านี้

 

“Breathing but I’ve been dying inside” การที่ยังรับรู้นะว่าฉันกำลังหายใจอยู่ แต่ข้างในมันตายไปหมดแล้ว เหมือนต้นใหม่เหี่ยว ๆ Dying inside ความรู้สึกไร้จุดมุ่งหมาย เกิดคำถามเกี่ยวกับการมีชีวิต

 

รู้สึกเฉื่อยชา สามารถเกิดขึ้นได้แบบที่บางทีเราเองก็ไม่ได้รู้ตัว ในเพลงมีท่อนขยายความ dying inside ไว้ด้วยว่า  

 

Nothin’ new and nothing’ feels right ไม่มีอะไรใหม่ ไม่มีอะไรดี Dejavu  so I close my eyes มันเป็นแบบนี้ในทุก ๆ วัน เหมือนเดจาวู

 

“Today’s a present that I don’t want”  วันนี้คือของขวัญที่ฉันไม่ต้องการ ในวันที่ใช้ชีวิตแบบวนเวียน ล่องลอย จับต้องไม่ได้แบบนี้ การต้องตื่นมาเเล้วพบว่ามันยังมีอีกวันให้ก้าวต่อ กลับกลายเป็นสิ่งที่ทรมาน 

 

เพลงนี้ไม่ได้ให้วิธีแก้ปัญหาหรือคำแนะนำในการผ่านความรู้สึกแต่เป็นการปลอบโยนในแง่ที่ เราเจอคนที่เข้าใจเราแล้ว อย่างน้อยเราก็ไม่ได้โดดเดี่ยว…  

 

“วัยรุ่นซาโตริ” ในญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่น เกิดการที่วัยรุ่นใช้ชีวิตไปวัน ๆ แบบไม่มีแบบแผน ไม่หวังรุ่ง ไม่หวังรวย ใช้ชีวิตวันต่อวันเพื่อความอยู่รอด ไม่ฝักใฝ่ ไม่หวังที่จะต้องประสบความสำเร็จหรือเรียกว่า

 

“วัยรุ่นซาโตริ” ที่หมายความว่า “รู้แจ้ง”  พวกเขาเลือกที่จะอยู่ในบ้านเพื่อพักผ่อนในเวลาว่าง ใช้เวลาพักผ่อนและแสวงหาความสมดุลในการใช้ชีวิต ไม่วางเส้นทางอาชีพที่ต้องประสบความสำเร็จ

 

ตามกรอบความคาดหวังเดิม ๆ ของสังคม หรือแม้กระทั่ง “ไม่อยากรวย” ซึ่งสวนทางกับคนส่วนใหญ่ที่ตั้งความหวังไว้ว่าอยากจะ “รวย” เข้าสักวัน  

 

“ถ่างผิง” ในประเทศจีน

ปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่กดดันคนทำงานในประเทศจีน ทำให้เกิดคำว่า “ถ่างผิง” หรือการ นอนราบ ขึ้นในคนจีน เนื่องจาดวัฒนธรรมการทำงานหนักแต่กลับไม่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

 

การทำงานที่เรียกว่า 9 9 6 คือ มาทำงาน 9 โมงเช้า เลิก 3 ทุ่ม และมา 6 วันต่อสัปดาห์ ทำให้คนรุ่นใหม่ในจีนรู้สึกอ่อนล้า จนถึงขั้นต้องออกมาสร้างกระแสเพื่อตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบ

 

การใช้ชีวิตใหม่ การไม่ทำงานหนักเกินไป การให้ความสำคัญกับความสำเร็จที่พอทำให้เกิดขึ้นได้ และให้เวลาตัวเองในการผ่อนคลาย จึงเกิดการลาออกเพื่อมานอนอยู่เฉย ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด

 

และยังนำไปสู่ความคิดที่ว่า ไม่จำเป็นต้องมีบ้าน มีรถ แล้วสมาชิกชาวนอนราบ มีถึงเกือบ 3 แสนคนเลยทีเดียว

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดการ หมดไฟ 

1. การพยายามวิ่งล่าตามหาความฝัน/ความสำเร็จ

บางครั้งเราก็ถูกกดดันจากทั้งภายนอกและภายใน ภายนอก อาจจะเป็นสังคม เพื่อน ครอบครัว คำถามบางคำถาม ความหวังบางความคาดหวัง “รู้หรือยังว่าจะทำอะไร” อยากเป็นอะไร อยากไปทางไหน

 

ต้องรู้ได้แล้วนะ”  สิ่งนี้มองอีกแง่นึงอาจจะมองเป็นแรงบันดาลใจได้ แต่ ไม่เสมอไป… และภายใน ก็มาจากตัวเราเอง ที่บางครั้งตรรกะของโลกความเป็นจริงกับความรู้สึกของเราขัดแย้งกัน

 

เเต่เราก็ต้องยอมที่จะมีความฝันเพื่อให้เป็นไปในแบบที่เข้ากับตรรกะของโลกได้ อย่างท่อนนึงในเพลง Zombie ที่บอกว่า

 

“เมื่อใช้ชีวิต เรามักจะรอคอยให้ความฝันเป็นจริงอยู่เสมอ ฉันจึงใช้ชีวิตที่มีอยู่นี้ โหยหาบางอย่างที่มองไม่เห็น บางสิ่งที่ไม่มีวันเอื้อมถึง หรือสิ่งที่ไม่ไม่มีอยู่จริง”

 

ให้ความรู้สึกถึง ความท้อ เหมือนกันนะ ใช้ชีวิตแบบที่รอคอยความฝันที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นจริงไหม และความฝันที่หยิบโหย่งไม่รู้ว่าทำไมถึงอยากจะฝันแบบนี้ แต่เออ เอาก็เอาวะ ทุกคนต้องมีความฝันแหละมั้ง 

 

2. วัฒนธรรมองกรค์ 

วัฒนธรรมองกรค์เป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ที่จะหล่อหลอมให้เรา และที่ทำงานเป็นส่วนหนึ่งกันได้ และดึงประสิทธิภาพของเราออกมา นอกจากนั้นยังรวมไปถึง บรรยากาศในการทำงานด้วยเช่น 

 

–  ปริมาณงานเยอะเกินไป จนไม่สามารถจัดการเวลาได้ดี 

–  ไม่ให้ความสมดุลระหว่างการทำงาน และใช้ชีวิต  

–  องค์กรไม่ปรับตัวต่อวิธีการทำงาน เทรนด์การทำงาน ที่ไม่ตรงต่อความต้องการของพนักงาน 

 

3. Hustle Culture 

Hustle Culture คือ วัฒนธรรมแห่งความเร่งรีบ กระตือรือร้น ต้องรีบทำให้เสร็จ ต้องทำงานต่อ พักได้แค่แป็บเดียวเท่านั้น เพราะโดยอย่างปกติ  พนักงานทุกคนมีระยะเวลาทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เกินเวลาที่กำหนด เช่น

 

เวลาทำงานปกติ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่สำหรับในองค์กรHustle Culture นั้น ๆ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของพนักงาน อาจสูงมากถึง 50-55 ชั่วโมง

 

อีกทั้งถึงจะเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน แต่ไม่มีใครอยากหยุดพัก แล้วหันกลับไปทำงานต่อ

 

4. Busy Culture 

การที่ทำตัวยุ่งตลอดเวลา ทำตัวเองให้มีอะไรทำตลอดเวลา ทั้งที่ความจริงแล้วอาจไม่ได้ยุ่งอยู่ก็ได้ เพื่อภาพลักษณ์ และเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกผิดที่ว่างงาน

 

ซึ่งบางองค์กร ก็เป็นคนปลูกฝังวัฒนธรรมแบบ busy culture มากดดันตัวพนักงาน และให้พนักงานจับผิดคนว่างกันเองเหมือนกันนะ พออยู่กับความเป็น busy มาก ๆ อาจกลายเป็น toxic productivity ได้  

5. Productive Culture 

“Productivity Culture” หรือวัฒนธรรมที่เชื่อว่า ‘ยิ่งทำงานเยอะๆ ยิ่งเป็นเรื่องดี’ และยิ่งหากงานออกมาสมบูรณ์ด้วยยิ่งดีขึ้นไปใหญ่ และการทำงานเยอะๆ คือสิ่งที่แสดงว่าคุณคือ

 

Productive employee” วัฒนธรรมแบบนี้คอยผลักให้คนจำเป็นต้องมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เก่งมากขึ้น ทำให้ได้มากขึ้น ต้องมากขึ้นไปอีก เร็วเพิ่มขึ้นได้อีก  

 

6. Youth Disillusionment 

ความสิ้นหวังเมื่อเผชิญกับความจริงของคนรุ่นใหม่  เช่น

 

–  ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในสังคม เรื่องนี้อาจจะต้องพูดถึงระบบโครงสร้างที่เกิดขึ้น ทั้งความไม่เป็นประชาธิปไตย 100 % ความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้น ทั้งที่ทุก ๆ คนก็หาเงินมาและจ่ายภาษี

 

–  ความไม่มั่นคงทางการเงิน  เศรษฐกิจ  ค่าครองชีพ เงินไม่คุ้มค่ากับงาน จากสถิติกลุ่ม Gen Y มีเงินใช้แบบเดือนชนเดือน รวมไปถึงรู้สึกว่าไม่สามารถดูแลค่าครองชีพได้อย่างมั่นคง 

 

7. ความกดดันทางสังคม 

ความกดดันต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่อุปสรรคที่เล็กเลยในบางคน ที่พยายามแล้วในหลาย ๆ ทางแต่ ระบบต่าง ๆ ที่อยู่รอบข้างไม่ได้เป็นใจ แล้วยิ่งในยุคนี้ที่เรามองเห็นความสำเร็จของคนอื่นได้ง่าย เช่น

  

–  ต้องลงทุนให้เก่ง ศึกษาการลงทุน 

–  ต้องมี Passive Income 

–  ต้องมีหลายงาน คน Gen Z 43 % และ Millennials 33 % กำลังรับงานที่ 2 มาทำเป็นเหตุที่ทำให้ชีวิตเสียสมดุล

–  ต้อง มีบ้าน มีรถ เพราะนั่นคือความมั่นคง ที่สังคมปลูกฝังมายาวนาน 

–  ต้องได้ไปเที่ยวต่างประเทศเพื่อประสบการณ์ชีวิต  

 

 

ภาวะ หมดไฟ Burnout syndrome

สภาวะหมดไฟหรือ burnout ที่เป็นสภาวะเชิงลบของความอ่อนล้าทางอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ  เกิดจาก ความเครียดที่มากเกินไปและ เราไม่สามารถรับมือกับความเครียดนั้นได้ การใช้เวลาส่วนใหญ่บนเตียง

 

และนอนเฉย ๆ เหนื่อยง่าย จนไม่อยากที่จะทำอะไร พฤติกรรมนี้มองเผิน ๆ อาจ “ขี้เกียจ” แต่จริง ๆ แล้ว Burn out กับ ขี้เกียจ สองสิ่งนี้มีความทับซ้อนกันอยู่มาก ทำให้ยากในการแยกความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ 

 

 

6 สัญญาญของอาการ หมดไฟ ไม่ใช่แค่ขี้เกียจ 

1. รู้สึกตัดขาดจากทุกสิ่ง 

 ทำทุกอย่างและเคลื่อนไหวไปเหมือนระบบอัตโนมัติ เป็นความรู้สึกเหมือนตัวเราเองเเยกออกจากตัวเอง สิ่งนึงที่เราอาจกำลังประสบอยู่แต่ไม่ค่อยได้รับการตระหนักและทำความเข้าใจคือ

 

“Depersonalization”   การตัดขาดจากตัวเองเหมือนกับว่ากำลังมองดูชีวิตจากภายนอก ไม่รู้สึกเหมือนเป็นตัวเอง ไม่ใช่เจ้าของ ไม่สามารถควบคุมได้  โดยปกติเเล้วมักจะเกิดขึ้นกับคนที่กำลังต่อสู้กับบาดแผลทางจิตใจ 

 

2 . เคยมีเเรงบันดาลใจ 

ขี้เกียจ เป็นนิสัย และ แน่นอนว่านิสัยจะคงที่ มั่งคง คนที่ขี้เกียจจะไม่เคยรู้สึกอยากออกแรงเพื่อทุ่มเทให้กับสิ่งไหนเลย แต่ถ้าเราเป็นคนที่เคยมีเเรงจูงใจและเคยประสบความสำเร็จ

 

เก่งในด้าน ๆ นึง แต่เพิ่งจะมาหมดแรง ไม่มีเเรงบันดาลใจ ก็มีแนวโน้มว่าเรากำลัง Burnout

 

3. เคยมี Passion 

ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง Burnout และ Lazy คือ เขาคนนั้นเคยมีสิ่งที่หลงใหล แต่ตอนนี้กลับดิ้นรนหาสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข เพราะจะทำสิ่งที่เคยรักไม่ได้เเล้ว เกลียดและไม่พอใจ เพราะการที่ทำงานหนักเกินไป

4. กลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวน 

 หงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึ่งไม่รู้ว่าทำไม แต่กับคนขี้เกียจ ตรงข้ามเลย เพราะเขามักจะผ่อนคลาน เอนหลังลง ไม่สะทกสะท้านกับสิ่งต่างๆ ไม่ได้รู้สึกหงุดหงิดอะไร

5. ละเลยการดูเเลตัวเอง 

สิ่งที่น่ากังวลที่สุดอย่างนึงว่าใครบางคนกำลังหมดไฟทั้งทางอารมณ์และร่างกาย คือ ถ้าเริ่มละเลยการดูแลตัวเองและถอนตัวออกจากสังคม การกินและการนอนเปลี่ยนไป  ปล่อยเนื้อปล่อยตัว

 

โดยที่ไม่ทำอะไรเลยเพราะเหนื่อยง่าย ความแตกต่างระหว่าง  Burnout และ ความขี้เกียจนั่นชัดเจน เพราะไม่มีใครที่เป็นแบบนี้ตลอดเวลา

6. การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นทีละนิด 

–  ขาดแรงจูงใจและ passion โดยเฉพาะสิ่งที่เคยรัก

–  ความรู้สึกแยกออกจากตัวเองและตัดขาดจากทุกสิ่งรอบตัว

–  ปลีกตัวออกจากสังคม

–  ละเลยการดูแลตัวเอง

 

 

 5 ระยะสำคัญของอาการ หมดไฟ 

1. Honeymoon Phase  เมื่อเริ่มงานใหม่ จะเริ่มต้นด้วยความพึงพอใจในงานสูง ความมุ่งมั่นสูง พลังงานเยอะ 

2. Onset of Stress  เริ่มตระหนักว่าวันนี้มันยากกว่าวันอื่น ๆ สังเกตเห็นอาการเครียดทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต

3. Chronic Stress  ความเครียดเรื้อรัง อาการรุนแรงกว่าระยะที่สอง

4. Burnout   เกิดความเหนื่อยหน่ายในตัวเอง รับมือได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ  

5. Habitual Burnout  ความเหนื่อยที่กลายเป็นนิสัย ฝังแน่นอยู่ในชีวิต เกิดปัญหาทางจิตใจ ร่างกาย อารมณ์

 

หลายคนเริ่มมีอาการตั้งแต่ระยะที่ 2  คือ มีความเครียดในระดับปานกลาง แต่การมองโลกในแง่ดี ความสนใจ แรงจูงใจและความ productive เริ่มลดลงแล้ว

 

และเมื่อไปถึงระดับที่ 5 ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์จะฝังแน่นกับกับตัวเราเเล้ว จนรุนแรงและยากต่อการรักษา  การที่เรารู้ตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆจะทำให้เราฟื้นตัวจากอาการต่างๆได้ง่ายกว่า

 

 

ป้องกันอาการ หมดไฟ ด้วย 4 steps Self-Care 

การป้องกัน Burn Out  อาจจะต้องเริ่มจาก Self-Care  ที่หลายคนละเลยการดูเเลตัวเองเพราะบางทีคิดว่ามันเกิดขึ้นได้เองแบบอัตโนมัติ แต่จริงๆแล้ว Self-Care ถือเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนและลงมือทำ

 

1. Connect⁠ 

–  ส่งข้อความหาคนที่รัก (1 นาที) 

–  แชร์โพสต์สร้างแรงบันดาลใจ(2 นาที)

–  โทรหาเพื่อน(10 นาที)

 

2. Move⁠     

–  ยืดกล้ามเนื้อ (5 นาที)

–  เต้นเพลงที่ชอบ (10 นาที)

–  ลองออกกำลังแบบใหม่(15 นาที)

 

3. Rest⁠    

–  ไม่ทำอะไรเลย (1 ชั่วโมง)

–  งีบ (20 นาที)

–  นั่งสมาธิ(7 นาที)

 

4. Unplug⁠

–  เขียนความคิด ความรู้สึกลงกระดาษ (10 นาที)

–  ออกไปเดินเล่นแบบไม่มีโทรศัพท์ (30 นาที)

–  ออกห่างจากโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่นๆ (1 ชั่วโมง)

 

Self-Care ไม่ใช่สิ่งที่ทำแค่ 1 เดือน/ครั้ง อาทิตย์ละครั้งหรือ ลาพักร้อนไปเที่ยวแค่นั้น เพราะบางทีเราอาจจะเจอความเครียดสะสมทุกวัน ถ้ารอนาน ๆ อาจจะทำให้ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ 

 

 

เมื่ออาการ หมดไฟ เกิดขึ้นแล้วจัดการอย่างไรดี 

1. หาต้นเหตุของการ Burn Out ครั้งนี้ 

 

คิดว่าทุก ๆ ครั้งไม่ว่าเราจะแก้ไขอะไร เราควรรู้สาเหตุก่อน ถึงจะนำไปสู่การแก้ไขที่ง่ายขึ้น และรวดเร็วขึ้น อย่างน้อยได้รู้ไว้ ก็เป็นทางให้ได้ตัดสินใจต่อว่าจะแก้ด้วยวิธีที่ 1 2 หรือ 3 

 

2. พยายามสร้างประสิทธภาพให้กับตัวเองในเวลาทำงาน 

 

แน่นอนว่าในช่วงเวลานั้นไม่ง่ายอย่างแน่นอน แต่เหมือนชีวิตยังคงต้องดำเนินไป เรายังต้องกิน เรายังคนต้องทำงาน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องสนใจองค์กรทั้งหมด  แต่ใส่ใจสนใจในตัวเอง  ว่าเราทำอะไรได้บ้าง

 

จัดการอะไรได้บ้าง  และงานไหนที่เป็นหน้าที่ของเราที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดทักษะ ให้เราเติบโตในสายนั้น ๆ ได้ จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น ทำให้ตัวเองมีประสิทธิภาพ แบบพอดี ไม่กระทบกับเรามากเกินไป 

 

3. จัดลำดับความสำคัญกับงาน และการใชีชีวิต 

 

การหมดไฟเกิดขึ้นได้เร็ว เมื่อไม่ได้จัดลำดับความสำคัญ การจัดลำดับของการทำงานดีเป็นสิ่งที่สำคัญอีกเช่นกัน  เช่น งานนี้สำคัญมากหรือเปล่า เลทได้ไหม งานไหนเป็นงานด่วนสำคัญ ด่วนไม่สำคัญ ง

 

4. พักผ่อน กาย ใจ 

 

ทำในสิ่งที่อยากจะทำ เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงมีแพลนหรือกิจกรรมอะไรสักอย่างที่อยากจะทำ แต่ด้วยชีวิตที่มันยุ่งอยู่ตลอดเวลาจนไม่มีเวลาไปทำสิ่งเหล่านั้นสักที จริง ๆ แล้วถ้าหากเราสามารถจัดระเบียบชีวิตใหม่ได้

 

ก็จะทำให้เรานั้นมีเวลามากขึ้น พร้อมทั้งเพียงพอที่จะออกไปทำในสิ่งที่อยากทำ ท้ายที่สุดแล้วมันก็จะส่งผลให้สภาพร่างกาย และจิตใจของเราได้พักผ่อน พร้อมทั้งเราจะเดินก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างมีความสุขได้

 

5. เปิดใจคุยกับหัวหน้า หรือ HR

 

องค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ดีจะช่วยเราในเรื่องนี้ได้  และองค์กรเขาควรจะซัพพอร์ตเราเรื่องนี้ และเราควรจะรีบบอกเลย เพื่อทำให้องค์กรได้รับรู้ และหาทางช่วยเหลือ เช่น ลดงาน เพิ่มคน กระจายงาน

 

จัดลำดับความสำคัญใหม่ หรือช่วงนี้ที่งานเยอะเป้นช่วงเวลาเริ่มต้นใหม่ หากพูดคุยเราจะได้ทางออกเพิ่มมากยิ่งขึ้น 

 

6. ออกจากที่ ที่ไม่ใช่ของเรา 


วิธีนี้อยากให้เอาไว้หลังสุด ท้ายสุด ในวันที่เราลองมาทุกอย่างและพร้อมแล้ว และหากเราต้องการเลือกที่จะเดินออกมา มันไม่ใช่ว่าเรานั้นจะกลายเป็นผู้แพ้ หรือยอมรับความพ่ายแพ้เสมอไป

 

แต่คือการก้าวเดิน และการมองหาเส้นทางใหม่ที่เราจะต้องเดินไปข้างหน้า ซึ่งมันอาจจะยากหรือง่ายกว่า แต่เชื่อเถอะว่ามันจะรู้สึกดีกว่าเส้นทางเก่าที่มันไม่ใช่เส้นทางของเราอย่างแน่นอน

 

แต่ถ้าหากเราวางแผนกับเส้นทางใหม่ให้ดี ไม่ว่าทางข้างหน้าเราจะเจออะไร เราจะรับมือได้เสมอ

 

 

ที่มา: 

What are the 5 stages of burnout?

“ถ่าง ผิง” กระแสใหม่ในจีน