ถ้าวันหนึ่งเรารู้สึกว่าบ้านไม่ใช่ Comfort Zone เราจะสร้างคอมฟอร์ตโซนของตัวเองได้อย่างไรบ้าง? คุยกับนักจิตวิทยาคลินิก Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
การที่เราจะบอกว่าบ้านเป็นเซฟโซน อาจจะใช้ไม่ได้กับทุก ๆ คน แต่กับบางคนก็จะยังคงมีความรู้สึกแบบนั้นอยู่ เพราะคนในบ้านอาจจะไม่ได้สร้างความรู้สึกเจ็บปวดให้กับเขา แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถมีครอบครัวแบบนั้นได้
เวลาที่พูดถึงคำว่า “บ้าน” คงไม่ได้ประกอบไปแค่ตัวบุคคล พ่อแม่ ลูก พี่น้อง แต่ประกอบไปด้วยเรื่องของความทรงจำ สิ่งที่เคยเกิดขึ้นในครอบครัว
เรามักจะถูกสั่งสอนมาว่า “บ้านคือที่ที่ให้ความรักที่ดีที่สุด” “บ้านคือสถานที่สร้างความอบอุ่นได้มากที่สุด” “บ้านคือที่ที่เราสามารถพึ่งพิงและพักใจได้ดีที่สุด” ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังทิ่มแทงใจใครหลาย ๆ คนอยู่
ถ้าเกิดว่าคนในครอบครัวหรือสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในครอบครัว เป็นบาดแผลหรือเป็นความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นเลยว่า เวลาที่เราอยู่ในบ้านเราจะต้องรู้สึกปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
เพราะในขณะเดียวกัน เวลาเราอยู่ในบ้านอาจจะมีทั้งการกระทบกระทั่งทางอารมณ์ มีการทำร้ายจิตใจด้วยคำพูดหรือพฤติกรรมบางอย่างกับเรา และทำให้ตัวเราเองรู้สึกเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ถ้ารู้สึกว่าครอบครัวไม่ใช่ Comfort Zone
ถ้าเราพูดถึงคำว่าเซฟโซน อาจจะไม่ได้หมายถึงแค่สถานที่อย่างเดียว แต่หมายถึงความรู้สึกปลอดภัยทางความคิด,ความรู้สึกและอารมณ์ของเรา ที่เราสามารถเก็บ และเป็นตัวเองได้ในรูปแบบที่ควรจะเป็น
ซึ่งบางคนอาจจะผูกติดหรือโยงไปกับบุคคล บางคนอาจจะโยงไปกับสถานที่หรือสิ่งของบางอย่าง ที่เราทำและอยู่กับมันแล้วรู้สึกดี มีความสุข รู้สึกปลอดภัย
แต่ว่าบ้านคือพื้นที่ที่เราควรจะได้รับการพักใจและรู้สึกว่าปลอดภัยที่สุด ตั้งแต่เริ่ม มีการระบาดของ Covid19 หลาย ๆ บ้าน เริ่มรู้สึกว่าบ้านไม่ปลอดภัยและไม่ใช่เซฟโซนมากยิ่งขึ้น
เพราะการที่เราจะต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันนาน ๆ ก็อาจจะทำให้ตัวเราไม่มีช่องว่าง ไม่มีพื้นที่เป็นของตัวเอง ทำให้เราใกล้ชิดกับคนในครอบครัวมากขึ้น
ถ้าเรามองอีกมุมก็อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เราสามารถกระชับมิตรกับคนในครอบครัวได้ แต่ในขณะเดียวกัน บางบ้านการที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกันมากยิ่งขึ้น กลับกลายเป็นว่าช่วงเวลาเหล่านั้นคือ “ช่วงเวลาที่สามารถทำร้ายกันได้อยู่ตลอดเวลา”
เด็กสมัยนี้มีความเป็นปัจเจกบุคคลที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งก็จะแตกต่างจากคนยุคก่อนมาก ๆ เขาจะมีความคิดเป็นของตัวเอง มีความรู้สึกเป็นของตัวเอง มีจุดยืนของตัวเองที่ค่อนข้างชัดเจน แล้วก็พยายามทำอะไรที่เป็นการแสดงจุดยืนนี้ค่อนข้างชัดเจน
ซึ่งก็จะแตกต่างจากเมื่อก่อนมาก ๆ คนยุคก่อนก็จะมองว่าเคยเชื่อแบบนี้ก็ควรจะเชื่อต่อไปแบบนั้น แต่กับเด็กยุคนี้อาจจะไม่ใช่แบบนั้น
หรือร้ายแรงที่สุด การที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกันมาก ๆ ก็จะมีการใช้ความรุนแรงกันในครอบครัวที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การใช้ความรุนแรงในที่นี้อาจจะไม่ได้เป็นการทำร้ายร่างกาย
แต่อาจจะมาในรูปแบบของการพูดจากระทบกระทั่งหรือเป็นการใช้ความแรงทางด้านอารมณ์ต่อกัน ที่อาจจะสร้างบาดแผลหรือความรู้สึกบางอย่าง จนทำให้เด็กหลาย ๆ คนเริ่มเกิดความรู้สึกว่าบ้านไม่ใช่เซฟโซน
เวลาที่รู้สึกว่าบ้านไม่ใช่เซฟโซนหรือคนในครอบครัวไม่เซฟใจของเรา อาจจะเป็นวันที่เหนื่อยมาก ๆ เราอยากจะกลับบ้านไปแล้วมีที่พักพิง แต่ถ้าเรากลับไปแล้วคนในครอบครัวก็ไม่เซฟใจ
แล้วเราก็ไม่มีพื้นที่ตรงไหนของบ้านที่จะทำให้เรารู้สึกปลอดภัย กลายเป็นความเครียด ความรู้สึกแย่ ๆ เต็มไปหมด
บางคนรู้สึกว่าคือความโดดเดี่ยวและว่างเปล่า เวลาที่เขาต้องมองกลับเข้าไปในบ้านและมองเห็นว่าบ้านไม่ใช่เซฟโซนของเขา ไม่มีความรู้สึกอะไรที่เป็นด้านดี ๆ ก็ยิ่งจะสร้างความเครียดและความทุกข์ใจต่อเรามาก ๆ
สร้างComfort Zoneของตัวเองภายในบ้าน
1. หาสถานที่
คำว่าเซฟโซนเป็นอะไรที่ดูเหมือนว่าจะสร้างได้ง่าย ๆ แต่จริง ๆ แล้วเซฟโซนอาจจะไม่ใช่แค่พื้นที่หรือสถานที่ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราอยู่ตรงนั้นแล้วเราปลอดภัยอย่างเดียว
แต่การที่จะเริ่มสร้างเซฟโซน บางทีสร้างด้วยตัวเราเองค่อนข้างยาก
แล้วยิ่งใครที่ต้องอยู่ในครอบครัวใหญ่ บ้านของเราก็มีพื้นที่จำกัด การที่เราจะหาพื้นที่เป็นสถานที่เพื่อเซฟใจตัวเองก็จะเป็นเรื่องที่ยากตามมาด้วย บางบ้านพี่น้องสองคนจะต้องอยู่ในห้องเดียวกัน
เราไม่สามารถมีพื้นที่ตรงไหนที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ของเราจริง ๆ…
ถ้าเป็นแบบนั้น การที่เราจะใช้คำว่าเซฟโซนแล้วใช้เป็นสถานที่ อาจจะเป็นเรื่อง ยาก แต่ถ้าใครรู้สึกว่าบ้านเราพอจะมีพื้นที่ให้เรารู้สึก ว่าเราอยู่แล้วเราสบายและปลอดภัย ตรงนั้นอาจจะเป็นการใช้สถานที่เพื่อสร้างเซฟโซนกับตัวเองก็ได้
2. สื่อสารกับคนในครอบครัว
แต่ในการสร้างเซฟโซนหรือสร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นเรื่องที่คนในครอบครัวก็ต้องเข้าใจด้วย มากกว่าการที่เราจะสร้างคนเดียว แต่ถ้าเรารู้สึกว่าเราพยายามกับตัวเองแล้วเรากลับมารู้สึกปลอดภัยในการอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ได้ อาจจะช่วยให้ตัวเราเองรู้สึกดีขึ้น
แต่ในขณะเดียวกัน พ่อแม่เขาอาจจะไม่ได้รับรู้ส่วนนั้น แล้วก็เป็นการคุกคามกันมากขึ้นเข้าไปอีก
ส่วนนึงเลยก็คือนอกจากที่เราจะหาสถานที่เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยกับตัวเองแล้ว ตัวเราเองอย่าลืมว่าเราอาจจะต้องสื่อสารให้กับคนในครอบครัวทราบด้วย ว่าเราขอพื้นที่เพื่อเซฟจิตใจของตัวเราเอง
3. จัดการกับสิ่งที่เป็นพิษ
การจัดการกับสิ่งที่เป็นพิษในความรู้สึกของเรา ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เราจะต้องทำ อะไรก็ตามที่เข้าไปกระตุ้นหรือเข้ามากระทบกับตัวเราเอง แล้วทำให้เรารู้สึกแย่ รู้สึกไม่ปลอดภัย
จนทำให้เราเกิดเป็นอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธ เศร้าหรือเหนื่อย เป็นเรื่องปกติมาก ๆ ที่เราจะรู้สึกว่าเกิดขึ้นซ้ำ ๆ แล้วเราจะไม่ปลอดภัย
เราอาจจะดึงตัวเองออกมาจากสิ่งเร้านั้นหรือเอาตัวเองออกมาให้ห่างจากสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น เพื่อเป็นการเซฟจิตใจของตัวเราเอง ให้เราสามารถมีช่วงเวลาในการเยียวยาจิตใจของตัวเองด้วย
4. หาคนที่เราไว้ใจมากที่สุด
การที่เรารู้สึกไม่ปลอดภัยกับคนในครอบครัว ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่สามารถไว้ใจใครได้เลย เราอาจจะเลือกใครสักคนมาเป็นคนพูดคุยกับเรา
เพื่อทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ในความรู้สึกของเรา ให้เราไม่ต้องไปตึงเครียดกับการที่จะต้องอยู่ในบ้านนั้นตลอดเวลา
ลองรวบรวมความคิดและความกล้าของตัวเอง เลือกใครสักคนที่เรารู้สึกว่าเราไว้ใจที่จะเล่าบางอย่างให้เขาฟัง หรือใครก็ตามที่อยู่ในชีวิตเรา แล้วเรารู้สึกว่าคนนี้เวลาอยู่กับเขาแล้วรู้สึกว่าไว้ใจได้และรู้สึก ปลอดภัย
การเล่าให้ใครสักคนฟังเป็นการระบายอารมณ์และความรู้สึกจากภายในของเราออกได้ดีด้วย
5. มองหาสิ่งของอะไรบางอย่าง
อาจจะเลือกวัตถุบางอย่าง ที่เรารู้สึกว่าเวลาเราอยู่กับสิ่งนี้ เรามองเห็นสิ่งนี้ แล้วสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยในความรู้สึกของเราเองขึ้นมาได้
บางคนอาจจะเลือกใช้เป็นตุ๊กตา บางคนใช้เป็นเป็นการทำกิจกรรมบางอย่างหรือบางคนใช้เป็นของที่มีสัญลักษณ์แทนใจของตัวเราเอง ที่เวลาเราอยู่ด้วยแล้วเรารู้สึกดีขึ้นมาก ๆ เลย
เปิดใจกับตัวเอง
ด้วยข้อจำกัดอะไรหลาย ๆ อย่าง อาจจะทำให้ตัวเราเองมองว่าการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในบ้านเป็นเรื่องที่ยาก แต่การที่เราเปิดใจกับตัวเองว่าสิ่งไหนที่เราทำหรืออยู่ด้วย ทำให้เรารู้สึกมั่นคงและปลอดภัย
สิ่งนั้นเราก็สามารถเรื่องขึ้นมาเป็นเซฟโซนสำหรับตัวเองได้
ไม่ใช่ว่าในทุก ๆ ครอบครัวเขาจะให้ความร่วมมือในการสร้างเซฟโซนสำหรับตัวเราเอง แต่นั่นไม่ใช่ความผิดของครอบครัว ไม่ใช่ความผิดของเรา ที่ไม่สามารถสร้างเซฟโซนในบ้านของเราได้
แต่ตัวเราเองอาจจะต้องหันกลับมาเซฟใจของตัวเอง หาพื้นที่สำหรับตัวเราเอง ที่เรารู้สึกว่าเรากลับมาแล้วเราปลอดภัย
ถ้ามองเห็นอะไรที่ก่อให้เกิดเป็นความเครียด ไม่มั่นคง เราก็เอาตัวเองออกมาจากตรงนั้น กลับมาเซฟจิตใจของตัวเราเอง ปล่อยให้เรามีช่องว่างและมีช่วงเวลาที่สามารถเยียวยาจิตใจของตัวเอง
แค่นี้ก็เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยหรือเป็นการสร้างเซฟโซนให้ตัวเองได้ง่าย ๆ แล้วค่ะ
Post Views: 2,950