Dysthymia

” Dysthymia ” ภาวะซึมเศร้า ที่เศร้าน้อยแต่เศร้านาน

เรื่องAdminAlljitblog

 Dysthymia ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง โรคซึมเศร้าเป็นคำที่มีความหมายหลายอย่าง ตั้งแต่อารมณ์เศร้าหรือความท้อแท้

 

ไปจนถึงสภาวะแห่งความทุกข์ยากที่ไม่อาจบรรเทาได้ ความคิดฆ่าตัวตาย อาการหลงผิด

 

 

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง Dysthymic Disorder

Dysthymic Disorder หรือ Persistent Depressive Disorder (PDD) ที่มาของ Dysthymia มาจากภาษากรีกหมายถึง “สภาพจิตใจที่ไม่ดี” 

 

สมาคมจิตแพทย์อเมริกันกล่าวไว้ว่า Dysthymia เป็นอารมณ์ซึมเศร้าเกือบตลอดเวลาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือ (อย่างน้อย 1 ปีสําหรับเด็กและวัยรุ่น) มีร่วมกับอาการอย่างน้อย 2 อาการ

 

คือ ไม่อยากทานอาหาร ทานน้อยลง หรือ ทานมากเกินไป,นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป พลังงานต่ำ เหนื่อยล้า ความนับถือตนเองต่ำ สมาธิไม่ค่อยดี และความสิ้นหวัง  

 

โดยรวม คือ โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง เป็นโรคซึมเศร้ารูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน อาจรู้สึกเศร้าและว่างเปล่า หมดความสนใจในกิจกรรมประจำวัน

 

และมีปัญหาในการทำสิ่งต่างๆ ให้เสร็จ รู้สึกเหมือนล้มเหลว และรู้สึกสิ้นหวัง ความรู้สึกเหล่านี้คงอยู่นานหลายปีและอาจรบกวนความสัมพันธ์  การเรียน การทำงาน 

 

โรคซึมเศร้า กับ โรคซึมเศร้าเรื้อรัง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

โรคซึมเศร้า มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ในลักษณะเศร้า เบื่อหน่าย มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง คิดเรื่องที่เป็นด้านลบ รู้สึกท้อแท้ ความสนใจในกิจกรรมรอบตัวลดน้อยลง

 

การนอนอาจเปลี่ยนไป การกินเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่มักพบเป็นการเบื่ออาหาร กินน้อยลง ผู้อื่นอาจ สังเกตเห็นผู้ป่วยพูดน้อยลง ซึมลง เก็บตัว นั่งครุ่นคิด หรือร้องไห้บ่อย ๆ

 

อาการมักเกิดต่อเนื่องทุกวัน เป็นช่วง แต่ละช่วงมีอาการนานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป

 

Dysthymia และ โรคซึมเศร้า มีอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น อารมณ์ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท พลังงานต่ำ และสมาธิไม่ดี 

 

ความรุนแรงของอาการน้อยกว่า Major Depression ลักษณะ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยจะ เศร้า ไม่ค่อยมีความสุขในชีวิต รู้สึกขาดอะไร

 

สิ่งที่แตกต่างกันในแบบทดสอบ คือ ไม่มีการฆ่าตัวตาย และ อาจมีอาการของโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) ต่อเนื่องนาน 2 ปี

 

สาเหตุของ โรคซึมเศร้าเรื้อรัง

ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของ Dysthymic Disorder แต่อาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น

 

  • Biological Differences ความแตกต่างทางชีวภาพ ผู้ที่เป็นโรคอาจเป็น Dysthymic Disorder เปลี่ยนแปลงทางร่างกายในสมอง ยังไม่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อความผิดปกติอย่างไร 
  • เคมีในสมอง สารสื่อประสาทเป็นสารเคมีในสมองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การวิจัยชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทอาจมีส่วนสำคัญในภาวะซึมเศร้าและการรักษา
  • พันธุกรรม โรคซึมเศร้าแบบถาวรเหมือนจะพบได้บ่อยในผู้ที่มีญาติทางสายเลือดมีอาการ
  • เหตุการณ์ในชีวิต  เช่น เดียวกับโรคซึมเศร้า เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ปัญหาทางการเงิน หรือความเครียดในระดับสูงสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าเรื้อรังในบางคนได้

 

รีเช็คตัวเอง

ผู้ป่วย Dysthymic Disorder จะมีอาการเศร้าเป็นระยะเวลามาเป็นมาอย่างน้อย 2 ปี หรือ ผู้ป่วยต้องมีอาการไม่ถึงระดับของ Major depressive disorder เลย

 

โรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่มักจะเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย ความรุนแรงของอาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เช่น ใน 1 มี 12 เดือน จะมีช่วงที่ดีขึ้นไม่เกิน 2 เดือน

 

 

แล้วมีอาการกลับมาเศร้าอีก นอกจากนี้ อาการของโรคซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นก่อน หรือระหว่าง โรคซึมเศร้าเรื้อรัง 

 

  • ความเศร้า ความว่างเปล่า หรือความรู้สึกดาวน์ 
  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมประจำวัน
  • ความเหนื่อยล้าและการขาดพลังงาน
  • ความนับถือตนเองต่ำ วิจารณ์ตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ
  • ปัญหาในการโฟกัสอย่างชัดเจนและปัญหาในการตัดสินใจ
  • ปัญหาในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและตรงเวลา
  • หงุดหงิดใจร้อนหรือโกรธอย่างรวดเร็ว
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม
  • ความรู้สึกผิดและความกังวลในอดีต
  • ความอยากอาหารไม่ดีหรือกินมากเกินไป
  • ปัญหาการนอนหลับ
  • ความสิ้นหวัง

 

การรักษา

1. การรักษาด้วยยา

การใช้ยาต้านเศร้าช่วยให้อาการดีขึ้น ขึ้นอยู่กับอาการ ของแต่ละคน เมื่อกินยาแล้วอาจไม่เห็นผลชัดเจนในช่วงแรก แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

สิ่งสำคัญ คือ ต้องกินยาต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนำ หากมีผลข้างเคียง ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

2. การทำจิตบำบัด

  • การรักษาในหลาย ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง การทำการรักษาแบบจิตบำบัด แลกเปลี่ยนความคิดต่อตัวเองและสิ่งรอบข้างและช่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ
  • การแสดงความคิดหรือความรู้สึก
  • การจัดการอารมณ์ตัวเอง
  • การปรับตัวเมื่อเจอกับความท้าทายหรือสถานการณ์วิกฤต
  • การพัฒนาทักษะทางสังคม ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • การระบุความคิด พฤติกรรมและอารมณ์ทางลบที่ส่งผลต่ออาการของตัวเองได้
  • การปรับความเชื่อในแง่ลบให้เป็นทางบวก
  • เพิ่มความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต
  • ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้

อาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรังอาจต้องใช้ระยะเวลารักษาแบบระยะยาว อาการของโรคทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า สิ้นหวัง ไม่มีคุณค่า ซึ่งเป็นความคิดและความรู้สึกทางลบที่ทำให้อยากเลิกรักษา

 

สิ่งสำคัญ คือ รู้ว่าความคิดและความรู้สึกทางลบที่เกิดขึ้นนี้มาจากอาการของโรคไม่ใช่ตัวตนของผู้ป่วย

 

 

3. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ การที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อเรา จิตใจ ร่างกาย จะทำให้เราคงสภาพซึมเศร้าแบบเรื้อรังได้

 

Persistent depressive disorder

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง