The Imaginary Audience รู้สึกว่าตัวเองถูกจับจ้องและถูกตัดสินอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลาย ๆ ครั้งเวลาทำอะไรที่เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย
จะรู้สึกอายอยู่นานเพราะคิดว่าคนอื่นตัองหัวเราะเยาะเราต้องนินทาเราแน่เลย เกิดอะไรขึ้นกับตัวเรากันแน่ ? ที่ทำให้เราคิดแบบนี้ รู้สึกแบบนี้ คำอธิบายทางจิตวิทยาไหนไหมที่ตรงกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ ?
Imaginary Audience
“ผู้ชมในจินตนาการ” เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่พบได้ทั่วไปในช่วงวัยรุ่น หมายถึง ความเชื่อที่ว่า ตัวเราอยู่ภายใต้การสังเกตอย่างใกล้ชิดจากคนรอบข้างและ คนแปลกหน้า
พูดอย่างเข้าใจง่าย คือ เรารู้สึกถูกจับจ้องจากสายตาคนรอบข้าง คนรอบข้างมักมองและสนใจเรา ซึ่งในความเป็นจริง มีคนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความสนใจในกิจกรรมของผู้อื่น
เมื่อเราเติบโตขึ้น เราจะค่อย ๆ ลด Imaginary Audience หรือผู้ชมในจินตนานการ ของเราลง อย่างไรก็ตามบางคนยังคงเข้าใจผิดแบบนี้จนถึงวัยผู้ใหญ่
อีกปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง คือ Adolescent Egocentrism ที่วัยรุ่นมักจะเชื่อว่าโลกหมุนรอบตัวเอง ทุกคนสนใจเขา ซึ่งความเชื่อเหล่านี้จะทำให้ความมั่นใจในตัวเองสั่นคลอน
Spotlight effect
Spotlight Effect เป็นคำที่นักจิตวิทยาสังคมใช้อ้างถึงแนวโน้มที่คิดว่าคนอื่นคอยสังเกตดูตัวเรา มองเห็นความผิดพลาด ข้อบกพร่องทั้งหมดของเรา
โดยคิดว่าตัวเองเป็นจุดสนใจของผู้อื่น มีสปอตไลท์ส่องมาที่ตัวเองตลอดเวลา ทฤษฎีนี้ผ่านการทดลองเมื่อ ปี 2000 จาก โทมัส กิโลวิช ศาสตราจารย์จิตวิทยา ที่ให้เด็กที่เข้าเรียนสายใส่เสื้อยืดลายที่เด่นมาก ๆ
เด็กที่มาสายจะคิดว่าตัวเองต้องถูกล้อเรื่องเสื้อและ คิดว่าต้องมีคนจำลายเสื้อได้มากกว่า 50% แน่นอน แต่ความจริงมีคนสนใจและจดจำได้แค่ 25% เท่านั้น
ทั้งหมดนี้มันเป็นกลไกของจิตใจ เรามักคิดว่าคนรอบตัวเพ่งความสนใจมาที่เรา ทั้งที่ความจริงตัวเรานั่นแหละที่คิดไปเอง
“ผู้ชมในจินตนาการ”คำนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผู้ที่สร้างคำว่า “ผู้ชมในจินตนาการ” ในช่วงปี 1967 คือ David Elkind นักจิตวิทยาพัฒนาการ และศาสตราจารย์กิตติคุณที่ Tufts University
เขาใช้เวลาหลายปีทำงาน สังเกตว่าเด็ก ๆ ที่มีปัญหา มักจะพยายามสร้างความประทับใจให้กับผู้คนรอบตัว และคิดว่าผู้คนรอบตัวให้ความสนใจในทุกการเคลื่อนไหว
เขาเริ่มศึกษาเรื่องนี้และพบว่า ความคิดที่คนอื่นกำลังดูอยู่นั้นผูกติดอยู่กับพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
วัยรุ่นมักเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกาย อารมณ์ บทบาทในสังคม และพวกเขาคิดมากเกี่ยวกับตัวเองในช่วงเวลานั้น
เมื่อพวกเขาสงสัยว่าคนอื่นคิดอย่างไร พวกเขาจะกลับทบทวนตัวเอง และสรุปว่า ผู้คนต้องคิดในสิ่งที่เขาคิดเหมือนกันแน่ ๆ เกี่ยวกับตัวเอง
ผู้ชมในจินตนานการ มีแนวโน้มที่จะแข็งแกร่งขึ้นในเด็กที่มีความนับถือตนเองต่ำกว่าและในเด็กผู้หญิง ตัวอย่างเช่น
“บางครั้งตอนที่ฉันอยู่ในร้านอาหาร หยิบส้อมแล้วมันก็กระทบกัน “ฉันคิดว่าทุกคนกำลังมองดูฉันอยู่และคิดว่าฉันเป็นคนบ้า” เขาพูดพร้อมกับหัวเราะคิกคัก
“เมื่อใดก็ตามที่เราอยู่ในสถานการณ์ทางสังคมใหม่ ๆ เราจะตระหนักถึงคนอื่นเป็นพิเศษและว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับเรา”
แนวทางการแก้ไข
1. ท้าทายความคิดตัวเอง
เราจำความผิดพลาดอะไรของคนอื่นได้บ้าง ? หากคำตอบคือไม่มี นั่นอาจหมายความว่า เราไม่ได้ทำอะไรที่ถูกจับจ้องแบบที่เราคิด
2. ปรับความคิดและ ความเชื่อที่ทำให้เกิดปัญหา
ปัญหาควรแก้ที่ต้นเหตุ ลองกลับมาทบทวนกับตัวเอง ว่าทุกคนหันความสนใจมาที่เราจริง ๆ ไหม หรือเป็นแค่เราที่คิดไปเอง
3. ให้เวลาตัวเองได้เติบโตขึ้น
ในบางเรื่องราวอาจจะเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้นแต่เมื่อเราเติบโตขึ้น เราอาจเรียนรู้ได้ด้วยประสบการณ์ว่า “ไม่มีใครสนใจเราขนาดนั้น”
ที่มา :
When the imaginaryaudience becomes more real
Understanding Adolescent Egocentrism
What is imaginaryaudience
บทความที่น่าสนใจ
Post Views: 32