อิจฉา

Jealousy ความอิจฉา ถือเป็น Toxic ?

เรื่องAdminAlljitblog

ความอิจฉา เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ที่มักจะสร้างความหงุดหงิดใจให้กับมนุษย์เอง

 

 

ความอิจฉา

 

ความอิจฉามีหลากหลายความหมาย …

 

 

จากอาจารย์ คิม รันโดว 

 

อิจฉา เป็นการเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าแล้วรู้สึกไม่พอใจ อยากได้บ้าง แต่ก็ยอมรับความจริง ไม่ยอมรับความสำเร็จของคนอื่น 

 

ริษยา คือ การไม่อยากเห็นผู้อื่นได้ดีกว่า 

 

 

จากอาจารย์ ดร.แพง ชินพงศ์ 

 

“คนขี้อิจฉา” หมายถึง คนที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วมีความรู้สึกไม่พอใจ เกิดรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ อยากจะเป็นหรืออยากจะมีเหมือนกับเค้าบ้าง 

 

“คนขี้อิจฉา” หมายถึง คนที่มีความอยากและความปรารถนา ที่จะได้ดีมากกว่าคนอื่น และไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตนเอง 

 

และเมื่อไม่เป็นไปอย่างที่อยากให้เป็น ก็เกิดอาการโกรธ เกลียด กลัว มืดมัว อ้างว้าง บางคนมีอาการหนัก

 

ถึงขนาดที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเองแล้วทนไม่ได้ ต้องหาทางทำลายหรือทำร้ายคนที่ตนเองอิจฉาริษยาให้ต้องมีเหตุย่อยยับไป

 

 

โรงพยาบาลมโนรมณ์ 

 

“อิจฉา” เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการประเมิน แข่งขัน หรือเปรียบเทียบทางสังคม ระหว่างตัวเองและผู้อื่น

 

ก่อให้เกิดความไม่สบายใจหรือไม่มีความสุข แน่นอนว่าโดยส่วนมากเป็นอารมณ์ที่เป็นไปในทางลบ

 

และมักเป็นอารมณ์ที่แม้แต่เจ้าของความรู้สึกยังคิดว่ามันไม่เหมาะสม บางคนจึงอาจรู้สึกผิดที่ไปอิจฉาคนอื่น

 

 ดังนั้นอิจฉาจึงมักเป็นอารมณ์ที่ถูกเก็บซ่อนไว้อยู่ภายในโดยไม่ได้แสดงออกไปให้ใครเห็น

 

 

วิธีเราจะต้องหัดยอมรับกับอารมณ์เหล่านี้ เพื่อให้เราเติบโตไปข้างหน้าได้

 

สำรวจตัวเองก่อนว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุของความรู้สึกอิจฉาของตัวเราเอง

 

เราต้องการอะไรเรามีความอยากได้อะไร หรือเราลองให้เวลาตัวเอง

 

สัมผัสกับความรู้สึกอิจฉาของตัวเองให้เต็มที่

 

ถ้าเกิดขึ้นแล้วเราก็ถอยออกมาจากสถานการณ์นั้นทำให้จิตใจเราค่อย ๆ สงบลงก่อน

 

ถ้าเราสงบจิตใจเราลงได้แล้วเราก็ยอมรับได้ว่าเราเป็นคนขี้อิจฉาคนนึงแล้วเราถอยออกมามองตรงนั้น

 

เราจะเข้าใจได้ว่าที่มันอยู่ภายใต้ความรู้สึกที่เราอิจฉาเราต้องการอะไรจากความอิจฉาตรงนั้น 🙂