peterpan syndrom

Peter Pan Syndrome ยิ่งโตยิ่งไม่อยากโต

เรื่องAdminAlljitblog

Peter Pan Syndrome หนังของดิสนีย์ที่เราเคยดูกันแต่เด็ก ๆ 

 

เรื่องราวของเด็กคนนึงที่มีมนต์วิเศษที่เลือกได้ว่าไม่ต้องโต เป็นเด็กตลอดกาล ท่องเที่ยวในเนเวอร์แลนด์

 

peterpan syndrom

 

Peter Pan Syndrome

Peter Pan Syndrome เป็นคำศัพท์ ‘Pop- Psychology’ ที่ใช้อธิบายผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในการ   ‘เติบโต’ เป็นภาวะซับซ้อน ที่ผู้ใหญ่ยังคงยึดติดกับแนวโน้มในวัยเด็ก

 

อาการจะพบได้ชัดหลังจากที่เราเรียนจบมหาลัย เราจะเริ่มมีความคิดว่าไม่อยากโต อยากเรียนต่อไปเรียน ๆ ไม่อยากรับผิดชอบ

 

แทนที่เราจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ทางสังคมและอารมณ์มีความรับผิดชอบ แต่ Peter Pan Syndrome ยังคงอยู่ในวัยเด็กไม่อยากมีความเสี่ยงในด้านใด ๆ

 

แม้ว่าจะไม่สามารถวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขอาการนี้ตั้งแต่แรกเริ่มอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้กลายเป็นภาวะทางจิต เช่น ซึมเศร้า 

 

Peter Pan Syndrome เป็นคำที่บัญญัติโดย ดร. แดน ไคลีย์ (Dr. Dan Kiley) ซึ่งปรากฏในหนังสือ ‘The Peter Pan Syndrome: Men Who Have Never Grown Up’

 

ในปี 1983 และแม้จะไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคโดยตรง แต่ได้กลายเป็นคำที่นักจิตวิทยาใช้เรียกคนที่มีอาการไม่อยากโตจนถึงปัจจุบัน 

 

ปีเตอร์ แพนส์ มีความขี้เล่น สนุกสนาน  แต่กลับขัดกับการมีส่วนร่วมในหน้าที่ของชีวิต เป็นเสน่ห์แบบเด็กผู้ชายที่ทั้งน่าหลงใหลและน่ารำคาญ

 

 

Peter Pan Syndrome อาการ

  • กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่อยากรับผิดชอบชีวิตตัวเอง
  • ระเบิดอารมณ์เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด,เศร้า,ก้าวร้าว 
  • มีแนวโน้มที่จะแก้ตัวและตำหนิผู้อื่นเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น กลัวการถูกตำหนิ วิจารณ์
  • ไม่อยากโต
  • ความคาดหวังที่จะได้รับการดูแลจากพ่อแม่ตลอดไป

สาเหตุมาจากอะไร?

 

1. รูปแบบการเลี้ยงดูแบบที่ตามใจ ‘มากเกินไป’

 

2. การเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป การเลี้ยงดูที่ไม่ได้ปล่อยให้ลูกไปเจออิสระ หรือสถานการณ์ที่ลูกต้องเจอปัญหาแล้วแก้ไขด้วยตัวเอง ทำให้ติดล่มต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่เมื่อโตขึ้น

 

3. ความวิตกกังวลสามารถมีบทบาทให้เกิดการพัฒนาเป็นภาวะปีเตอร์แพนได้ ในวัยผู้ใหญ่ เราถูกคาดหวังให้จัดการกับปัญหา 

 

4. ความเหงาอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและอาจบีบให้เราต้องถอยกลับไปสู่ช่วงต้นของชีวิต (วัยเด็ก) เพื่อรู้สึกถึงความรักและได้รับการปกป้อง

 

5. ความกลัวการผูกมัดเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของโรคปีเตอร์แพน บุคคลที่เป็นโรคปีเตอร์แพนจะกลัวการตัดสินใจ 

 

6. ความรู้สึกหลงทาง ความกดดันจากครอบครัวหรือคนที่เรารัก ที่ทำให้รู้สึกว่าต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 

 

 

Peter Pan syndrome ผลกระทบกับการทำงาน

  • ตกงาน เนื่องจากขาดความพยายาม ทำงานล่าช้า หรือโดดงาน
  • ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยในการหางาน หรือทำงาน 
  • ออกจากงานบ่อย ๆ เมื่อพวกเขารู้สึกเบื่อ ถูกท้าทาย หรือเครียด
  • ทำงานนอกเวลาเท่านั้น ไม่มีความสนใจในการแสวงหาโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง

 

Peter Pan syndrome ผลกระทำกับความสัมพันธ์

  • ให้แฟนวางแผนทุกอย่างและตัดสินใจเรื่องสำคัญได้
  • ละเลยงานบ้าน และความรับผิดชอบในการดูแลเด็ก
  • ชอบที่จะ “มีชีวิตอยู่เพื่อวันนี้” และแสดงความสนใจเพียงเล็กน้อยในการวางแผนระยะยาว
  • แสดงสัญญาณของความไม่พร้อมทางอารมณ์ เช่น ไม่มีความชัดเจนในความสัมพันธ์ 
  • ใช้จ่ายเงินอย่างไม่ฉลาดและมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับการเงิน
  • หลีกเลี่ยงการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิผล อย่างสม่ำเสมอ

 

ที่มา : 

Peter Pan Syndrome: When People Just Can’t Grow Up

What Is Peter Pan Syndrome, and Could It Be Hurting Your Relationship?

“Stuck in Neverland”: Understanding the Peter Pan Syndrome

Are you in a relationship with ‘Peter Pan’? Here’s how to tell