ทุกคนเคยคิดว่าตัวเองควบคุมทุกอย่างได้ไหม แต่จริง ๆ แล้วเราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ขนาดนั้น
หนังสือนี้เล่มนี้จะมีหลักการทางวิทยาศสาสตร์มาให้คำตอบเราผ่านเรื่องราวของยีน ดีเอนเอ จุลชีพ กระบวนการเหนือพันธุกรรมต่าง ๆ
หนังสือปกสีน้ำเงิน ที่ทำให้เราได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรามากขึ้น เราอาจจะคิดว่าตัวเองปกติ
แต่ก็จะมีใครมองว่าเราแปลกอยู่ดี อาหาร นิสัย ความชอบ ทำไมบางคนใจดีจัง แล้วทำไมบางคนถึงใจร้าย
หลาย ๆ อย่างพฤติกรรม การกระทำ ความคิดที่แตกต่างกันของมนุษย์ ความหลากหลายในการใช้ชีวิต หนังสือเล่มนี้ทำให้เราอยากเข้าใจว่าทำไมคนเราถึงแตกต่างกัน
แต่ในความแตกต่างและหลากหลายก็มีสิ่งนึงที่ทุกคนเหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรียนรู้ความลับของมนุษย์
มนุษย์มักจะชอบคิดว่าเราสามารถควบคุมความชอบ พฤติกรรม นิสัยต่าง ๆ หรือจังหวะชีวิตของเราได้
แต่จริง ๆ แล้วยังมีจังหวะชีวิตที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็นคือ ‘พลังซ่อนเร้นที่วางแผนและจำกัดความเคลื่อนไหวของเรา’
เช่น ตัวอย่างในหนังสือที่ผู้เขียนกล่าวถึง บล็อคโคลี่ เขาไม่ชอบกินบล็อคโคลี่ เพราะขม
แต่ภรรยาชอบกิน เป็นความแตกต่างของสามี-ภรรยา และเขาก็ค้นพบว่าลูกชายเขาชอบแต่ลูกสาวไม่ชอบ
เขาไม่ได้สอนลูก แต่ลูกตอบสนองต่อบล็อคโคลี่เอง คือ DNA ความลับของวิทยาศาตร์ที่ซ่อนไว้
รสนิยมของคุณ
ตอนเด็ก ๆ ทุกคนเคยไหมที่พ่อแม่บังคับให้กินผัก บังคับให้กินในสิ่ง ที่ไม่ชอบ
หรือบางทีกินอาหารจานเดียวกันกับเพื่อน เราชอบแต่เพื่อนไม่ชอบ ในทางวิทยาศาสตร์หนังสือเล่มนี้มีคำอธิบาย
ว่าทำไมรสนิยมคตวามชอบถึงแตกต่างกัน อาหารทั้งหมดของเราประกอบด้วยสารเคมี เมื่อคนเรากินอะไรเข้าไปย่อมได้รับสารเคมีที่แตกต่างกัน
ลิ้นของเรามีปุ่มรับรสชาติที่แตกต่างกัน ปุ่มรับรสชาติของเราประกอบด้วย 50-150 cells ยีนในตระกูลที่เรียกว่า tas2r
เป็นตัวสร้างกลไกรับรสเซลล์ แล้วก็ไปเกี่ยวกับเคมีและโมเลกุลของอาหาร พอโมเลกุลนี้เข้าไปในปากเราก็จะเชื่อมเข้ากับตัวรับรส
และส่งสัญญาณไปที่สมองเราว่า อร่อย กับ ไม่อร่อย และนอกจากนี้แล้วก็ยังมีเข้า DNA ในตัวเราด้วย DNA คือเครื่องจักรที่ทำให้มนุษย์อยู่รอด
และการที่มีปุ่มรับรสขมก็ช่วยให้มนุษย์รอดชีวิตจากสิ่งที่กินเข้าไป
พบกับเนื้อคู่ของคุณ
แรกรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน รักจืดจางนำ้ตาลยังว่าขม เคยสงสัยไหมว่าทำไมความรักในช่วงแรกมันตื่นเต้น เร้าใจ ทำให้นอนไม่หลับ
ผีเสื้อบินในท้องตลอดเวลา เพราะว่าความรักได้เปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองของเรา เวลาที่เราตกหลุมรักใครสักคน
เส้นประสาทที่เดียวกับอารมณ์ด้านลบ รวมถึงความกลัวและการใช้วิจารณญานจะไม่ยอมทำงาน
ดังนั้นส่งผลให้เราในตอนนั้นมีการประเมินตัวตนบุคคลต่ำลง เลยทำให้เกิดคำว่า ความรักทำให้คนตาบอด
ไม่ใช่คำที่เอามาพูดกันเฉย ๆ มันมีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ตาบอดในแง่ที่มันทำให้สมองเราหยุด คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ไปชั่วขณะ
เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่หัวใจเราต้องการ สำหรับคนนอกอาจมองว่าไร้สติ ไม่มีเหตุผลแต่สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นจริงๆ กับระบบประสาทของเรา
แต่ความรักและการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในร่างกายก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่นอนว่าความรู้สึกที่กระปรี้ดนะเปร่าตกลุมรักไม่ได้อยู่ตลอดไป
เพราะการที่มีคอร์ติซอลสูง เซโรโนนีนต่ำนั้นไม่ดีต่อร่างกายของเรา ร่างกายเลยจำเป็นที่ต้องกลับสู่อารมณ์พื้นฐาน
เพื่อเปลี่ยนทิศทางให้ร่างการได้ใช้พลังงานที่ถูกต้อง เมื่อโดปามีนลงลด ความตาบอดของเราก็จะค่อยๆ หายไป
เริ่มมีการคิดถึงเหตุผลมากขึ้น วงจรการ คิดวิเคราะห์แยกแยะ ก็จะเริ่มกลับมาปกติ เลยอาจเป็นที่มาของคำว่าหมดโปรโมชั่นเหมือนกัน
เห็นไหมคะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา บางอย่างที่เราทำ ที่เราเลือก ไม่ใช่แค่ตัวเราที่ควบคุมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีพลังของวิทยาศาสตร์ในตัวเราที่คอยควบคุมเราอีกทีเหมือนกัน
สำหรับหนังสือเล่มนี้ ทำให้เห็นความแตกต่างของคน เข้าใจถึงการกระทำที่มีอะไรอยู่เบื้องหลัง คิดอยากเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
และนอกจากจะเข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังทำให้อยากพยายามทำความเข้าใจคนอื่นเหมือนกัน
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้จะมาบอกให้เราทำใจยอมรับว่าร่างกายของเรานั้นถูกกำหนดไว้ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่เขากำลังบอกเราว่าเราควรที่จะรู้จักกับร่างกายของเราให้ดีมากพอเพื่อที่จะควบคุมมันได้อีกทีมากกว่า
Post Views: 2,324