Posts

เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้  บางเรื่องรู้ก็ดีนะ แต่ไม่รู้ดีกว่า ถึงมีประโยคนี้ให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ” เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ ” จริง ๆ แล้วแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

 

วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn & Share

ในชีวิตประจำวันของเรา เรามักอยากรู้หลาย ๆ เรื่อง เพื่อการใช้ชีวิตดำเนินไปแบบมีเรื่องราว มีเรื่องคุย บางเรื่องรู้แล้วไม่ได้ช่วยอะไรเลย บางเรื่องรู้แล้วทุกข์

 

บางเรื่องพยายามจะรู้ให้ได้ พอรู้แล้วรับไม่ได้นั่นเพราะอะไร

 

ทำไมเราต้องอยากรู้ ? วิทยาศาสต์กับความสงสัยอยากรู้ของมนุษย์ 

Curiosity คือ ความอยากรู้อยากเห็นหรือความสงสัยใคร่รู้ ส่วนใหญ่จะถูกอธิบายว่าคือ ความต้องการหรือความปรารถนาที่จะรู้ เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราออกไปค้นหาความแปลกใหม่หรือสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ

 

นักจิตวิทยา  Jordan Litman กล่าวไว้ว่า Curiosity แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

 

I Curiosty Interest = ความสนใจ เป็นความอยากรู้ที่เกิดขึ้นเองแบบ เชิงรุกก็คือ เช่น อยากรู้แหล่งที่มาของสถานที่เที่ยวนั้น,ทำไมตรงนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย

 

D Curiosty  Deprivation = เป็นความอยากรู้ที่ถูกกระตุ้นด้วยคำถาม ความกระวนกระวายใจ จนต้องหาคำตอบ เช่น เรานึกถึงเพลงเพลงหนึงที่เราเคยชอบมากแต่ไม่รู้ว่าเพลงอะไร  จนต้องค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบ 

 

Litman กล่าว่า ระหว่างที่ยังไม่ได้คำตอบนั้น D -curiosity ก็คือความเครียดเล็ก ๆ จนกระทั่งเมื่อได้คำตอบแล้ว D-curiosity

 

ถึงจะเปลี่ยนเป็นความพอใจและความสุข ดังนั้น คนเราจึงไม่ค่อยชอบ D-curiosity 

 

 

ความอยากรู้ของคน มีกี่รูปแบบ 

นักจิตวิทยา ทอดด์ แคชแดน Todd Kashdan ยังจำแนกประเภทของ “คน” ที่อยากรู้อยากเห็นออกเป็น 4 ประเภทด้วย คือ

 

1. Problem Solvers คนแบบนี้จะมีอาการคันอยากจะแก้ปัญหาให้ได้อยู่เรื่อย เห็นประเด็นอะไรก็เกิดความสงสัยว่าจะทำให้ดีกว่าได้ไหม

 

2. Empathizers สนใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พยายามเข้าใจพฤติกรรมของคนที่พบเห็น รวมถึงผู้คนต่าง ๆ ในสังคมที่ได้ยินมา 

 

3. Avoiders คือ คนที่ไม่อยากรู้อยากเห็นอะไรเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะรู้สึกเครียด มีภาระอยู่แล้ว หรือชีวิตก็เครียดอยู่แล้ว ก็เลยเลือกที่จะไม่สนใจอะไร

 

4. The Fascinated คือ คนที่อยากรู้ไปหมด มีความสุขกับการอยากรู้ คนแบบนี้คือคนที่รับเอาความ curiosity ทุกรูปแบบไว้ในตัวเอง

 

รวมทั้งเป็นทั้ง Problem Sovers และ Empathizer ในคนคนเดียวกัน ทำให้น่าจะเป็นคนที่มีความสุขที่สุด และมีชีวิตน่าสนใจที่สุดด้วย

 

เรื่องบางเรื่อง ไม่ต้องรู้ก็ได้ ?

 

ข้อดี

 

ในเชิงวิทยาศาสตร์ คือ เมื่อเรารู้สึกสงสัยอยากรู้อะไร สมองมีกลไก ‘Rewarding system’ และหลั่งสาร Dopamine ทำให้มีความรู้สึกดี 

 

กลไกเหล่านี้เองที่ช่วยให้มนุษยชาติก้าวไปข้างหน้า และไม่หยุดค้นหาคำตอบใหม่ ๆ

 

อย่างเช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นความอยากรู้ อยากเห็นส่งผลให้เรามีแรงขับเคลื่อนในการเข้าสังคม สร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ

 

ข้อเสีย

 

เมื่อไหร่ที่เรามีความสงสัย อยากรู้ แล้วไม่ได้รู้กมันค้างคาใจ จะทำให้เรากระวนกระวายใจ อาจส่งผลให้เครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล

 

แต่หากเรารู้ความจริง แต่รับความจริงไม่ได้ก็เครียดอีกเช่นเดียวกัน

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

 

ที่มา :

‘เรียนรู้ว่าเราไม่ต้องรู้ไปทุกอย่าง’

ทำไมมนุษย์ถึงสนใจใคร่รู้

“ทำไม?” เรื่องของ curiosity

 

 

 

ใคร ๆ ต่างก็อยากมีความสุข . . แต่ในวันยาก ๆ การมีความสุขอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่รู้หรือไม่ว่า..

 

ความสุขมีได้หลากหลายรูปแบบ เรียนรู้ได้จากปรัชญาของชาวตะวันตก ฮุกกะ และ ลากอม

 

 

ฮุกกะ และ ลากอม

ฮุกกะ

‘ฮุกกะ’ (Hygge) เป็นภาษาเดนมาร์กที่พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดเลือกให้เป็นคำศัพท์ประจำปี 2016 สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความสนใจ ‘ความเป็นฮุกกะ’ จากทั่วโลก

 

แม้ฮุกกะจะเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกว่าเป็นจิตวิญญาณของชาวเดนมาร์ก แต่คำว่า ‘ฮุกกะ’ ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากรากศัพท์ในภาษาเดนมาร์กแท้ ๆ

 

แต่เป็นคำในภาษานอร์เวย์โบราณซึ่งมีความหมายว่า “ความเป็นอยู่ที่ดี” คำว่า “ฮุกกะ” ปรากฏตัวครั้งแรกในเดนมาร์ก ผ่านงานเขียนของนักประพันธ์ชาวเดนมาร์กเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 18

 

เดนมาร์กมักได้รับการยกย่องให้เป็น มหาอำนาจแห่งความสุข อันดับหนึ่งของโลกในการจัดอันดับของ UN และ OECD

 

ความหมายของฮุกกะในทัศนะของชาวเดนมาร์ก

ฮุกกะ (Hygge) ศิลปะการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแบบชาวเดนิช

 

ถ้าจะให้คำแปล ‘ ฮุกกะ ’ สั้น ๆ ในภาษาไทย คงหมายถึง ‘ ความสุข ’ หรือ ‘ ความผ่อนคลายสบายใจ ’ เทียบเคียงกับภาษาอังกฤษคำว่า Coziness/Cozy  แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้หมด

 

โดยฮุกกะ คือ ศิลปะแห่งการสร้างความใกล้ชิดผูกพัน รวมถึงการหาความสุขจากสิ่งรอบตัวในปัจจุบัน

 

ฮุกกะเกี่ยวข้องกับบรรยากาศและประสบการณ์มากกว่าสิ่งของ การได้อยู่กับคนที่เรารัก ความรู้สึกของบ้าน แสงเทียน ในบ้าน ความรู้สึกปลอดภัย

 

บทสนทนาต่อเนื่องไม่จบสิ้นเกี่ยวกับเรื่องเล็กหรือใหญ่ในชีวิต หรือสบายใจเมื่ออยู่เงียบ ๆ ด้วยกัน หรือ กับการดื่มชาสักถ้วยตามลำพัง การกินเค้ก ดื่มกาแฟหอม ๆ 

 

เป็นคำขยายความที่ ไมก์ วิกิง (Meik Wiking) ผู้เขียนกล่าวไว้ ไมก์เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยความสุขและตัวแทนนักวิจัยจากเดนมาร์กในสถาบันฐานข้อมูลความสุขโลก

แนวคิดของ ฮุกกะ จากหนังสือ The Little Book of Hygge 

บรรยากาศ

 

บ้าน เนื่องจากประเทศเดนมาร์กถูกปกคลุมไปด้วยความมืดจากฤดูหนาวอันยาวนาน นอกจากไปทำงานแล้ว ชาวเดนมาร์กจึงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน

 

นอกจากนี้ยังมักเชิญเพื่อนฝูงมาสังสรรค์ที่บ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าร้านอาหาร ดังนั้นชาวเดนมาร์กจึงใส่ใจกับการตกแต่งบ้าน ไอเทมที่ฮุกกะขาดไปไม่ได้เลย

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ยังไอเทมฮุกกะอื่นๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เซรามิก, กาน้ำชา, เซตจานชามเข้าชุด, แก้วน้ำลายโปรด, หมอนและผ้าห่มนุ่มนิ่ม, และจดหมายจากคนที่ห่วงใย เป็นต้น

 

ความสุขเล็ก ๆ รอบตัว 

 

อาหารและเครื่องดื่ม ความสุขหาซื้อไม่ได้ แต่เราซื้อของหวานและอาหารอร่อย ๆ ได้ ซึ่งคล้ายคลึงกัน สำหรับเดนมาร์กซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่คลั่งไคล้ขนมหวานมากที่สุด

 

ของหวานเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่วันพิเศษหรือ Cheat day ตามออฟฟิศและห้องประชุมจะมีขนมหวานวางไว้เสมอ สำหรับเครื่องดื่มต้องเป็นเครื่องดื่มร้อน

 

โดยเฉพาะกาแฟ คำว่า ‘คาฟฟีฮุกกะ’  อยู่ทั่วทุกหนแห่ง ยังมีคำขวัญที่ว่า “ใช้ชีวิตวันนี้ให้สุด เหมือนวันพรุ่งนี้ไม่มีกาแฟแล้ว” ด้วย กาแฟเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการทำงาน

 

เราดื่มกาแฟเพื่อจะได้ทำงานได้มากขึ้นหรืออ่านหนังสือโต้รุ้งได้ แต่สำหรับชาวเดนมาร์ก การดื่มกาแฟอุ่น ๆ ท่ามกลางอากาศหนาวถือเป็นความสุนทรีย์ ได้ตื่นตัวเพื่อพบปะเพื่อนฝูงและใช้ชีวิตฮุกกะมากขึ้น

 

 

ให้ความสำคัญกับคนที่รัก

ฮุกกะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ การได้ใช้เวลา เป็นการสร้างความทรงจำที่ดีและเกิดความฮุกกะ 

 

 

 

ข้อเสีย

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฮุกกะยังมีความฮุกกะคือ การอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะคนที่สนิทใจกันเท่านั้น ชาวเดนมาร์กกังวลว่ายิ่งคนมาก ยิ่งฮุกกะน้อยลง

 

จึงเป็นข้อจำกัดของวิถีฮุกกะแบบชาวเดนิชที่เปิดใจรับคนใหม่ ๆ เข้ามายาก แต่หากทะลุกำแพงเข้ามาอยู่ในวงฮุกกะได้แล้ว ก็อาจจะได้เจอมิตรภาพที่ยาวนานตลอดชีวิต 

 

แม้จะเป็นที่ถกเถียงกันว่า สิ่งที่ทำให้ปรัชญาความสุขแบบฮุกกะงอกงามและ ‘ใช้ได้ผล’ ในเดนมาร์ก เป็นเพราะรัฐสวัสดิการที่เป็นเลิศและวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่ได้มีการแข่งสูงเท่าประเทศอื่น

 

ลากอม

‘ลากอม’ เป็นภาษาสวีดิช แปลได้หลาย เช่น ความพอดี ความพอประมาณ ความยั่งยืน สังเกตได้ว่าทุกความหมาย ทุกคำที่แปลมาล้วนมีแต่ความหมายเชิง พอดีทั้งนั้น

 

ซึ่งต้นตอมาจากสุภาษิตของสวีเดน “Lagom är bäst เป็นสุภาษิตเก่าแก่ของชาวสวีดิช หมายถึงความพอดีนั้นดีที่สุด

 

และมีอีกความหมายที่เก่ากว่านั้น ว่ากันว่า ‘ลากอม’ มาจากคำพูดของพวกไวกิ้งที่ว่า “Laget om.” หรือ “Around the team.” ซึ่งพวกเขาจะพูดเมื่อส่งเหล้ามให้จิบต่อ ๆ กันไป

 

เป็นการย้ำเตือนให้ดื่มแต่พอดี เพื่อให้เหลือพอสำหรับทุกคนในทีม

 

แนวคิดของลากอม

ในขณะที่ฮุกกะหมายถึงไลฟ์สไตล์การทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ เป็นพิเศษ เพื่อสร้างความสุขส่วนตัว แต่ลากอมไม่ใช่ ลากอมคือการไม่ทำเรื่องไม่จำเป็น

 

การไม่ฟุ่มเฟือย ถ้ารู้ว่าเท่านี้คือ พอ จะต้องการมากขึ้นอีกทำไม

 

‘Not too little, not too much. Just right.’

‘ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป พอดีๆ’

หรือ “ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ไม่มีใครดีเด่นกว่าคนอื่นแต่พวกเราทุกคนเด่นไปพร้อมๆกัน”

 

จะเอาแนวคิด ลากอม ไปปรับใช้ได้ยังไง

 

 

 

 

ข้อเสีย

ไม่ใช่ว่าคนจะเห็นชอบกับ (การใช้ชีวิต) แบบเป็นกลางไปทั้งหมด ชาวสวีดิชบางส่วนก็เห็นว่า ลากอม คือหนทางสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ที่นำสังคมไปสู่ภาวะที่ทุกคน ‘ลอยตัวเหนือปัญหา’

 

ไม่เผชิญหน้า ไม่ขัดแย้ง และพยายามเป็นกลางมากเกินไปเห็นได้จากสถานการณ์ทางการเมืองของสวีเดน ที่มักมีการหลบเลี่ยงการเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา

 

ทำให้ไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด ไม่มีการตัดสินอย่างเด็ดขาด เป็นอีกด้านที่ถูกนำเสนอเพื่อค้านกระแสไลฟ์สไตล์แบบลากอม เป็นธรรมดาโลกที่เมื่อเกิดกระแสนิยมในสิ่งใดอย่างท่วมท้น

 

ในไม่ช้าย่อมมีกระแสเห็นต่างสิ่งนั้นตามมาและแท้ที่จริง หากเปรียบลากอมเป็นเหรียญ ลากอมอาจไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่งของเหรียญ แต่เป็นด้านที่อยู่ตรงกลางระหว่างเหรียญสองด้านนั้น

 

สังเกตว่าข้อดีที่ลากอมกล่าวออกไปและการที่ประเทศเขาติด TOP ความสุข มันไม่ใช่แค่แนวคิดที่ผู้คนทำ แต่เขามีสิ่งที่เอื้อกับชีวิตเขาด้วยคือ สวัสดิการของรัฐ ที่บ้านของเราอาจไม่ได้เท่ากับ

 

เขาทำให้ในบางอย่างแนวคิด ความพอดีบางอันเราก็อาจจะสามารถทำได้และทำไม่ได้ ต้องลองปรับใช้กัน 😊

 

 

ที่มา

สรุปหนังสือ The Little Book of Hygge : ฮุกกะ ปรัชญาความสุขฉบับเดนมาร์ก

ลากอม (Lagom): ความพอดีแบบสวีเดนที่มาแตะไหล่ให้เราพอใจกับสิ่งที่มี

Move Over Hygge: Why Lagom Is The Scandinavian Lifestyle Concept We Really Need

The Swedish philosophy of lagom: how “just enough” is all you need

 

 

 

 

 

 

 

“Manifest” “เชื่ออะไร ก็ได้แบบนั้น”  จริง ๆ แล้ว Manifest คืออะไร เกี่ยวข้องกับกฏแรงดึงดูดหรือไม่ จะเริ่มทำได้อย่างไร วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn&Share

Manifest 

Manifest ในมุมมองทางวิทยาศาตร์ คือ Core Value สิ่งที่เราให้ความสำคัญ ในทางวิทยาศาสตร์ได้กล่าวถึง growth mindset การที่เรามีความคิด ทัศนคติแบบยืดหยุ่น ไม่หยุดอยู่กับที่ ไม่ปิดกั้น

 

Dr. Carol Dweck – ถ้าเรามีความเชื่อในสามารถของเรา เชื่อว่าเราจะทำได้อย่างสำเร็จ เราก็จะตั้งใจ สอดคล้องกับหลักทางจิตวิทยาที่ว่า ความเชื่อของเรามีผลต่อ ความคิด พฤติกรรมของเรา

 

เมื่อเรามีความเชื่อแบบไหน เราก็มักจะมีพฤติกรรม และ การลงมือทำที่สอดคล้องกับความเชื่อของเรา ส่งผลให้เกิดเป็นผลลัพธ์นั่นเอง

 

Dr. Barbara Fredrickson – อารมณ์ในด้านบวกช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เรา 

 

Dr. Sonja Lynbomirsky – หากเรามีความสุขกับสิ่งใด เราก็มักจะประสบความสำเร็จในการทำสิ่งนั้น 

 

 

กฎแรงดึงดูด

เป็นหลักปรัชญาที่ได้รับการพูดถึงตั้งแต่ปี 1887 โดยสอนว่า ความคิดในแง่ดีจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงบวก ส่วนความคิดในแง่ลบจะดึงดูดผลลัพธ์ในเชิงลบเช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวมีฐานคิดมาจากความเชื่อที่ว่า

 

ความคิดเป็นเหมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้ โดยพลังงานเชิงบวก (การคิดบวก) จะสามารถดึงดูดความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการเงิน และด้านความสัมพันธ์ 

 

Manifest VS กฎแรงดึงดูด

Law of Attraction เป็นหลักความคิดที่เชื่อว่าเราสามารถดึงดูดสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการ ผ่านแรงปรารถนา หรือความคิดเชิงบวก เพื่อทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการ Manifest

 

เพื่อดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต หลักการที่สำคัญของกฎแห่งแรงดึงดูด คือ “พลังงานที่เหมือนกันย่อมดึงดูดซึ่งกันและกัน”

 

Manifest คือ การตั้งจิตอย่างแน่วแน่ และการสร้างภาพในใจเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก ครอบครัว การเรียน และอื่น ๆ อีกมากมาย บางคนอาจใช้การนั่งสมาธิ ใช้การจดบันทึก หรืออื่น ๆ

 

ที่ทำให้คุณสามารถเพ่งจิตไปสู่สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น และเชื่อจริง ๆ ว่าสิ่งนั้น ๆ จะต้องเกิดขึ้น นับว่าเป็นส่วนสำคัญของกฎแรงดึงดูด 

 

 

ข้อดี

1. Set Standart ของตัวเอง

สร้างจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนให้กับชีวิต มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการชีวิต 

 

2. สร้าง Self -Esteem

เช่น พอเราบิ้มตัวเอง ว่าเราสวย เราต้องได้แบบนี้ เหมือนเป็นการปรับ mindset ของตัวเราเอง เมื่อเราสนใจตัวเองมากขึ้น เราจะโฟกัสรอบข้างน้อยลง อะไรที่เป็นคำพูดลบ ๆ ที่เคยได้ยินมาก็จะไม่มีผลกับเรามาก 

 

3. สร้างพลังความตั้งใจของเรา 

เชื่อว่าเราจะทำมันได้สำเร็จอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อเราเชื่ออะไรมาก ๆ เราก็มีแนวโน้มที่จะพยายามทำมันให้ดีที่สุดอย่างไม่ย่อท้อ และไม่คิดลบกับตัวเองว่าคนอย่างฉันไม่เหมาะที่จะได้สิ่งนั้น หรือคนอย่างฉันไม่มีวันทำได้ 

 

4. เรื่องของการจัดการความคิดด้วยแง่มุมเชิงบวก สร้างความมั่นใจ 

Manifesting เป็นสิ่งที่มอบพลังใจ หลายคนก็อาจจะมีกำลังแรงในการทำตามความตั้งใจ เพราะรู้ว่ามีบางสิ่งหนุนหลังอยู่ ความเชื่อแบบนี้จึงสามารถพัฒนาความมั่นใจ หรือทำให้เรากล้าขึ้นในหลาย ๆ เรื่องได้ 

 

ข้อเสีย

ตามที่ ฮอว์ลัน อู๋ Hawlan Ng นักจิตบำบัดบอกกับ SELF ว่าผู้คนอาจเชื่อมั่นในพลังนั้นว่าจะสามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้จริง แต่ในความจริง

 

คนเรามีอุปสรรคในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความยากจน การถูกเลือกปฏิบัติ และความเป็นคนชายขอบพื้นที่ห่างไกล 

 

การทำให้เรารู้สึกว่า เราสามารถควบคุมหรือนำทางชีวิตของตัวเองได้ ถ้าเราพยายามหรือคิดเรื่องนี้หนักมากพอ ซึ่งบางคนที่เขารู้สึกว่าเขายังทำไม่มากพอเขายังไม่ได้ มันคือการพาตัวเองไปสู่ความเครียด 

 

การแสดงออกนี้อาจเป็นวิธีดึงดูดให้ผู้คนหลีกเลี่ยงความชอกช้ำในอดีตหรือสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่สิ่งสำคัญสำหรับคนจำนวนมากคือต้องทำใจกับความเจ็บปวดก่อนที่จะโฟกัสไปที่อนาคต

 

 

เริ่มต้นทำ Manifest อย่างไร 

 

ขั้นตอนที่ 1 : มีเป้าหมายที่ชัดเจน ขั้นตอนแรกของ Manifesting  คือ การมีเป้าหมายที่แน่ชัดและเฉพาะเจาะจง รู้อย่างชัดเจนว่า อะไรคือสิ่งที่เราอยากดึงดูดเข้ามาสู่ชีวิตของเราเองจริง ๆ

 

ขั้นตอนที่ 2 : จินตนาการภาพแห่งความสำเร็จ จินตนาการคือองค์ประกอบสำคัญของ Manifesting คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ จะจินตนาการภาพของตัวเองในวันที่ประสบความสำเร็จไว้อย่างชัดเจนแล้ว

 

ขั้นตอนที่ 3 : ใช้ถ้อยคำที่เป็นบวก เขียน พูดกับตัวเองทุกวัน ถึงสิ่งที่เป็นบวก เช่น ฉันเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ฉันมีสุขภาพที่ดี สิ่งดีๆ มากมายเกิดขึ้นกับชีวิตฉัน ฉันเป็นคนที่ร่ำรวย พูดเหมือนสิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้ว

 

ขั้นตอนที่ 4 : หยุดคิดลบและหยุดด้อยค่าตัวเอง การคิดลบ และการไม่มั่นใจในตัวเอง คือ สิ่งที่จะกระทบกระบวนการของการ Manifestingได้มากที่สุด จงคิดถึงสิ่งที่เป็นบวก มั่นใจในตัวเอ และมั่นใจว่าทุกอย่างเป็นไปได้ 

 

ขั้นตอนที่ 5 : รักษาพลังบวกไว้ พลังงานในตัวเรา และความรู้สึกของเรา มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ Manifesting การรักษาพลังบวกและความรู้สึกที่เป็นบวกไว้ จะช่วยให้เรายังคงดึงดูดพลังบวกเข้ามาในชีวิต

 

ขอขอบคุณข้อมูล จากคุณ Satangbank

 

 

ที่มา : 

‘Manifestation’ หลักคิดที่หลายคนยึดถือ ว่าหากเรา ‘เชื่อ’ ว่ามันจะเกิดขึ้น มันก็จะเกิดขึ้น

Why Is Everyone Obsessed With Manifesting and Does It Actually Work?

How to Manifest Anything You Desire

Manifestation กับคำอธิบายเชิงจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์

 

หรือตัวเราเองที่ Toxic เพราะ “Toxic” มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในรูปแบบครอบครัว คนรัก เพื่อน เมื่อจำเป็นต้องอยู่ใกล้คน Toxic หรือ ในวันที่เรา Toxic เสียเอง เราจะทำอย่างไรได้บ้าง

 

มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก

 

Toxic มีรูปแบบไหนบ้าง 

ไม่จำเป็นนต้องแยกว่ากี่รูปแบบ แต่ขอเรียกทุก ๆ อย่างว่าบริบท เช่น พ่อแม่ คนรัก เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน เพราะนั่นคือ บทบาทหน้าที่ที่เราเมื่อต้องไปอยู่ ณ สิ่งแวดล้อมตรงนั้น 

 

แต่เมื่อเราอยู่ในภาวะความสัมพันธ์กับใครซักคน ในลักษณะ เห็นแก่ตัว พยายามควบคุมทุกอย่าง คนที่ชอบซุบซิบนินทา หรือบางกลุ่มคนที่วิจารณ์ เห็นแต่แง่ไม่ดีของคนอื่น พูดถึงคนอื่นในแง่ลบ 

 

จนทำให้เราสงสัยในความสามารถของตัวเอง ไม่ว่าอยู่ในบริบทไหนก็สามารถเจอบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทั้งสิ้น  

 

 

จะแยกอย่างไรว่าใครสักคน Toxic ไม่ใช่เพราะอคติของเรา 

แน่นอนว่ามีเส้นบาง ๆ กลั้น แต่ให้ลองนึกถึงเมื่อเราอยู่กับคนที่ไม่ชอบ ไปด้วยมาก ๆ และ นาน ๆ  ก็จะเริ่มเป็นความ Toxic เพราะเราไม่อยากอยู่กับเขา 

 

บางทีที่เราไม่ชอบเพราะเรารู้สึกไม่ดีกับนิสัยบางอย่างของบุคคลนั้น และเราก็อยู่กับเขาได้ยากขึ้น แต่ละคนจะมีประเภทของคนที่ไม่ชอบแตกต่างกัน ระดับความไม่ชอบก็ไม่เท่ากัน อาจจะอยู่รวมกันได้ หรืออาจจะทนไม่ได้

 

แต่สุดท้ายคงไม่จำเป็นต้องแยกว่าเเป็นเพราะเรา หรือเขา เพียงว่าหากเราอยู่กับเขาแล้วเราไม่สุขสบายใจ การพาตัวเองห่างออกมา จะดีกว่า และเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด

 

 

จำเป็นต้องอยู่กับคน Toxic ทำอย่างไร

อยู่กับเขาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น อยู่กับเขาเท่าที่ต้องอยู่ หลีกเลี่ยงเท่าที่เราทำได้ เพราะเราไม่สามารถเลือกคนรอบข้างได้ในทุก ๆ สถานการณ์  

 

เรียนรู้ที่จะซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเอง โดยไม่ต้องเเสแสร้ง ว่าเอ็นดูเขา อยากอยู่กับเขา หรืออยากทำงานด้วย อยากพูดคุยด้วย หลาย ๆ คนจะรู้สึกแบบนั้น และฝืนตัวเองโดยไม่กล้าที่จะบอกว่าเราไม่ชอบคนนี้

 

เพียงเพราะว่าเรายังคงต้องอยู่ด้วยกันอยู่ ย่าให้พลังงานลบของคนอื่น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกเป็นการแสดงออกที่อาจจะทำให้เราและเขา ค่อ ๆ เข้ามา “กัดกิน” หัวใจตัวเอง

 

 

หรือตัวเราเองที่ Toxic รีเช็คตัวเองอย่างไร

เมื่อเวลาเราพูดถึงคน ก็จะต้องมีปฎิสัมพันธ์ เมื่อเราอยากรู้ว่าเราหรือเขา Toxic ให้ลองดูว่าเรามีปฏิสัมพันธ์กับเขาได้ไหม หรือเขามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเป็นยังไง 

 

อาจจะไม่ต้องหาคำตอบที่ชัดเจนว่าเราหรือ เขาที่ Toxic เพราะ การที่เขา Toxic ใส่เรา ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่ Toxic ใส่เขา คงมีบางอย่างที่เราไม่ชอบในนิสัยของเขา เขาไม่ชอบนิสัยของเรา

 

ฉะนั้นถ้าปฎิสัมพันธ์ของเราไปต่อกับใครไม่ได้ นั่นอาจแปลว่าเราเองเข้าไม่ได้กับคนนั้น  เช่นเดียวกันหากเราปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้ อย่างน้อยท้ายที่สุดเราก็ยังเป็นมวลสารที่ดีให้กับคนอื่น 

 

 

หรือตัวเราเองที่ Toxic จะปรับแก้อย่างไร

1. ใส่ใจแต่ไม่คิดแทน 

ใส่ใจในรายละเอียดว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เข้าจะชอบไหม เขาจะรู้สึกแย่ไหม   แต่ไม่ใช่การคิดแทนกันว่าอันนี้ดี หรือไม่ดี จนทำให้เขารู้สึกอึดอัดเกินไป 

 

2. อย่าใช้อารมณ์ชนะเหตุผล 

หลาย ๆ ครั้งที่เรารู็สึก Toxc ใส่กันเพราะเราสาดอารมณ์ใส่กันโดยไม่ใช้เหตุผลที่อยู่ตรงกลาง ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง เหตุผลของเธอ เหตุผลของฉัน เพราะฉะนั้นเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์มากกว่าให้อารมณ์ควบคุมเรา

 

3. ขอโทษและขอบคุณให้เป็น

ในวันหนึ่งที่เราทำผิดเราต้องเรียนรู้ที่จขอโทษให้ได้ หรือแม้ในวันที่เรารู้สึกไม่ผิด แต่เรื่องกำลังแย่ แต่เราไม่ได้ลำบากในการขอโทษ ก็สามารถขอโทษได้เพื่อให้เรื่องดีขึ้นและได้เริ่มคุยกันใหม่ การขอบคุณก็เช่นกัน

 

4. อย่าให้โลกหมุนตัวเอง  

ถ้าเมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้โลกหมุนรอบตัวเอง เราจะไม่เห็นคนอื่น ๆ เลย  เมื่อเราเป็นแบบนั้นแล้ว เราจะอยู่กับคนอื่นได้อย่างไร

 

บทความที่น่าสนใจ 

self Expression เคยไหม… ที่ต้องซ่อนความเป็นตัวเองไว้เพราะกลัวว่าคนอื่นจะไม่ชอบ การทำเช่นนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราอย่างไร การเป็นตัวของตัวเองในทางจิตวิทยาคืออะไร

 

วันนี้เราจะมาร่วมพูดคุยกันใน Alljit Podcast กับรายการ Learn&Share

Self – Expression

การแสดงตัวตน คือ การแสดงความคิด ค่านิยม หลักการ ความเชื่อ อารมณ์และความรู้สึกของคุณ มันเป็นวิธีที่เรานำเสนอตัวเองต่อโลกต่อสังคม  และสามารถมีได้หลากหลายรูปแบบ

 

คำพูด สีหน้า ร่างกาย พฤติกรรม การเคลื่อนไหว เสื้อผ้า การกระทำวิธีที่เราสื่อสารความคิด อารมณ์ และทัศนคติของเรา ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของเรา 

 

วิธีที่เราเลือกที่จะแสดงออกเป็นการบอกข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับความสนใจและลักษณะนิสัยของเรา ในขณะเดียวกัน การแสดงตัวตนของผู้อื่นก็ให้ข้อมูลที่สำคัญแก่เราเกี่ยวกับพวกเขา 

 

ผู้คนต้องการแสดงความเป็นตัวเอง และ ต้องการสะท้อนตัวตนของตัวเอง ซึ่งจำเป็นมาก ๆ เลย และเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะสามารถแสดงออกมาได้ 

 

ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางคนคนจะซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองไว้ เพราะการแสดงตัวตนที่แท้จริง อาจเป็นการกระทำที่อ่อนแอ หรือกลัวคนตัดสิน 

 

บางคนพบว่าตัวเองหลีกเลี่ยงการแสดงออกแม้ในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แตกต่างจากผู้อื่นที่สุด เพราะกลัวว่าจะถูกตัดสิน ถูดต่อว่า

 

 

Self – Expression กับ Mental Health?

ตั้งแต่แรกเกิดเราแสดงตัวตนออกมาเพื่อตอบสนองความอยู่รอด และความต้องการทางสังคม การแสดงออกถึงตัวตนเป็นช่องทางในการตัดสินใจ เลือกคนที่เราต้องการเพื่อเชื่อมต่อและเป็นสมาชิกด้วย 

 

แต่บางครั้ง เรามักจะมองข้ามและลืม ทัศนคติและค่านิยมที่เป็นความเชื่อที่แท้จริงของเราเอง โดยเฉพาะหากเราไม่ได้รับการส่งเสริม เช่น โตมาในสังคมที่ห้าม อย่าทำแบบนั้น ห้ามทำแบบนี้ แบบนี้ไม่ถูกต้อง

 

ทำให้การแสดงออกในช่วงนั้นถูกปิดกั้นมากกว่า ทำให้เด็กในวัยนั้นเติบโตมาทุกวันนี้อาจจะไม่ได้เห็นตัวตนที่แท้จริงเท่าที่ควร เมื่อเราไม่สามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงได้

 

เราอาจรู้สึกสูญเสียความเป็นตัวเอง หวาดกลัว หรือแม้แต่ผิดหวังกับวิธีที่เราทำหรือไม่แสดงออกไป เป็นเรื่องปกติที่จะต่อสู้กับความคิดต่าง ๆ เช่น เรา ‘ควร’ ประพฤติตัวอย่างไร ภาพลักษณ์แบบไหนที่เรา ‘ควร’ คล้อยตาม 

 

 

การได้เป็นตัวของตัวเองในรูปแบบที่ตัวเองอยากจะเป็นดีอย่างไร

เมื่อเรามีอิสระและความมั่นใจที่จะพูดในสิ่งที่เราเชื่อและ รู้สึกอย่างแท้จริง และเมื่อการกระทำของเราสอดคล้องกับความเชื่อและค่านิยมของเราเอง เราก็มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพจิตที่ดี ความสัมพันธ์ และความเป็นอยู่ที่ดี

 

 

เพิ่มทักษะการแสดงออก?

1. การยอมรับตนเอง

การแสดงออกเริ่มต้นด้วยการยอมรับตนเอง มันอาจไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะรับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็กว่าควรพูดอะไร ไม่ควรพูดอะไร วิธีปฏิบัติตัว และวิธีไม่ควร เราควรนำเสนอตัวเองต่อโลกอย่างไร เราต้องมองเข้าไปในตัว

 

ตนที่แท้จริง และยอมรับว่าเป็นเราจริง ๆ เริ่มค้นหาว่าเราเป็นใครด้วยการฟังตัวเอง รับทราบอารมณ์ของเราและให้เกียรติความรู้สึกของเรา หากตรหนักรู้ตนเองและยอมรับตนเอง  การแสดงตัวตนของเราก็จะง่ายขึ้น

2.การเขียน

บันทึกประจำวัน เป็นวิธีการแสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริงของ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่จับต้องไม่ได้ กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้

 

3. พูดอย่างเปิดเผย

บ่อยครั้งที่เราไม่เปิดใจ พอที่จะพูดความรู้สึกหรือประสบการณ์ อาจเพราะ กลัวความขัดแย้งขาดความมั่นใจ หรือ ไม่ต้องการทำร้ายอีกฝ่าย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม

 

4. คนจะคิดยังไง

กังวลว่า คนจะชอบหรือไม่  ทำแบบนี้ถูกต้องหรือเปล่า อย่าให้ความคิดเห็นของพวกคนอื่นมีความสำคัญต่อการแสดงออกของเรา 

5. การแสดงออกที่สร้างสรรค์

การแสดงออกอย่างสร้างสรร เช่น วาดภาพ หรือทำการ์ตูน ร้องเพลง เต้นรำ ระบายสี แต่งเพลงหรือทำงานประดิษฐ์ เพื่อสะท้อนถึงความรู้สึก อารมณ์ และความคิดของคุณ

 

6. กำจัดความอาย และฝึกความมั่นใจ 

การขาดความมั่นใจเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการแสดงออก เมื่อกำลังพูดคุยกับใครสักคน จงพูดด้วยความมั่นใจ มีท่าทางตรง สบตา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ออกเสียงอย่างถูกต้องชัดเจน

 

 

ความเหมาะสมของ Self Expression

แน่นอนว่าการที่เราแสดงความเป็นตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การที่เราแสดงความเป็นตัวเองนั้นก็ต้องถูกในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย  ยกตัวอย่างจากบทความของ carolyn stern 

 

กล่าวว่า  “ถ้าการแสดงออกความเป็นตัวเองของเราที่ มากเกินไป จนทำร้ายคนอื่น” เช่น ถ้าเราแสดงอารมณ์อารมณ์ ความรู้สึกที่มีมากเกินไปอาจทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดและกดดันที่จะตอบสนอง

 

เพราะฉะนั้นแล้ว การที่เราจะแสดงออก ไม่ว่าจะในทางใดก็ตามย่อมมีผลลัพธ์กับคนอื่นเสมอ สิ่งสำคัญคือเราต้องเคารพบบุคคลที่อยู่ในสังคมเดียวกับเราด้วย เพราะเราก็เป็นคนที่มีความแตกต่างเช่นกัน

 

ที่มา:

What It Isn’t

express yourself more effectively

why is it so important?

Damaging Your Relationships?

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

หนังสือ ชีวิตเราไม่ได้ยืนยาว พอที่จะอยู่อย่างอดทน 

 

เขียนโดย จิตแพทย์ คุณซูซูกิ ยูซึเกะ 

 

 

หนังสือเล่มนี้เป็น 28 วิธีคิดที่เพื่อชีวิตที่ปลอดโปร่งสบายใจ เลิกฝืนทำสิ่งที่ตัวเองรู้สึกแย่ เลิกเดินตามความคาดหวังของคนอื่น และหันมาใช้เวลาในแต่ละวันเพื่อตัวเองจริง ๆ สักที

 

ชีวิตของเรามันไม่ยั่งยืนยืดยาวอะไรขนาดนั้นจริง ๆ นะ เคยคิดเหมือนกันว่า ในการที่เราใช้ชีวิต การที่เราจะทำอะไรเพื่อตัวเองคืออะไร

 

ซึ่งวันนี้เราจะหยิบยกมา 2 บทที่อยากนำมาให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันค่ะ 🙂

 

 

บทที่ 1

เพราะทำงานแล้วเพราะเป็นผู้ใหญ่ ทำให้ต้องอดทนอะไรมากมาย ต้องฝืนทำอะไรจนร่างกายเริ่มส่งสัญญาณเตือนว่าเริ่มไม่ไหวแล้วนะ

 

แนวคิดการเป็นผู้ใหญ่ และการทำงาน คุณซูซูกิไม่ได้เห็นต่างด้วยนะ เขาเข้าใจว่ามนุษย์ต้องทำมาหากินถึงจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ 

 

‘ แต่…โลกนี้มีคนมากมายที่ไม่แม้แต่จะรู้ตัวว่างานนั้นหรือคนคนนั้น ไม่เหมาะกับตัวเอง ‘

 

คุณซูซูกิได้ยกตัวอย่างว่า ถ้าเกิดเราอยู่ในครอบครัวที่ทุกคนเป็นครู เราเลยเป็นครูตามครอบครัวเรา แล้วเราดันทำอาชีพ ครูได้ดี ทำได้ถนัด ทำแล้วมีคนชื่นชม

 

แต่สิ่งที่เราเป็นทำให้สัญญาณร่างกายที่เราส่งออกมา มันตรงกันข้าม เราไม่มีความสุข ทุกข์ใจ คุณซูซูกิได้บอกว่า เวลาทำสิ่งที่ทำได้ดี แม้ไม่อยากทำ เราได้รับคำชมแล้วคำชมนั้นก็เหมือนปิดหูปิดตาเราอีกทีหนึ่ง

 

จนไม่รู้ตัวว่าจริง ๆ แล้วสิ่งนั้นเราไม่อยากทำ นอกจากเรื่องงานแล้ว คุณซูซูกิ ก็ได้พูดเรื่องคน

 

‘ โลกนี้ยังมีคนที่ทำให้รู้สึกว่า ไม่ใช่คนไม่ดี แล้วก็คงไม่ได้คิดร้ายอะไรกับเรา แต่อยู่ด้วยแล้วเหนื่อยยังไงไม่รู้ ‘

 

คนที่เรารู้สึกว่าเราอยู่ด้วยแล้วเหนื่อย เขาไม่ใช่คนไม่ดี ไม่ใช่คนที่คิดร้าย แต่เรารู้สึกว่าเรากับเขาเข้ากันไม่ได้ นั้นแหละคือสิ่งที่ร่างกายเราส่งสัญญาณถ้าเราอดทนไปเรื่อย ๆ

 

มันอาจจะบั่นทอนจิตใจเราจนเหมือนการทำร้ายความรู้สึกตัวเอง เมื่อรู้สึกแบบนั้นให้ถอยห่างออกมา ถ้าถอยออกมาแล้วเรารู้สึกว่าการอยู่ใกล้เขามันดีกว่าการถอย ก็ค่อย ๆ เขยิบเข้าไปใกล้เขาใหม่

 

แต่กว่าเราจะรู้ว่าอะไรที่เข้ากับเราได้ อะไรที่เข้ากับเราไม่ได้ เราจะรู้ได้ยังไง จะมีทักษะในการคัดกรองได้ยังไง คุณซูซูกิก็มีทริคมาบอกเราเหมือนกัน

 

 

 

 

 “ถอยห่างจากสิ่งที่ไม่ชอบ ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ต้องการ เลิกทำสิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเอง”

 

ในช่วงแรกเราอาจจะไม่เก่งพอที่จะทำอะไรแบบนี้อาจจะมีเสียงรบกวนในหัวว่าเราสามารถทำได้จริงหรอ สิ่งที่ทำมันถูกไหม แล้วถ้าทำไปแล้วโดนเกลียดโดนไม่ชอบขึ้นมาจะทำยังไง

 

แต่เชื่อไว้เถอะว่า ชีวิตมันคือการลอง ลองทำสิ่งที่เราไม่ชอบ ลองคบคนที่ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ชอบตัวเองเลยเวลาฝืนใจทำ เพราะเมื่อเรารู้แล้ว

 

เราจะได้รู้ก็จดจำความรู้สึกนั้นไว้และนึกไว้เสมอว่า ชีวิตเราไม่ได้ยืนยาวที่จะอดทนกับความรู้สึกเหล่านั้น

 

 

บทที่ 2

ชีวิตหาคอนเทนต์

 

คุณซูซุกิขึ้นเริ่มมาด้วยประโยค เราจะเข้าหาคนที่รู้สึกอยากตายยังไงดี?

 

คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จของแพทย์ให้บอกว่า สัญญากันก่อนนะว่าจะไม่ตาย คุณซูซุกิบอกว่า แพทย์อย่างพวกผมเรียนกันมาแบบนี้ ทั้งตอนเรียนในคณะหรือตอนสอบใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ

 

ตัวเขาเองก็เคยพูดอยู่หลาย ๆ ครั้ง แต่เขาก็รู้สึก ไม่ได้ผลอยู่หลายครั้งและเหมือนเป็นการกระทำที่อวดดีและใจร้าย

 

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่ได้เกิดมาด้วยความโชคดีมีคนที่ทำให้รู้สึกว่า ถ้ามีคนคนนี้อยู่ด้วยก็มีชีวิตไปต่อได้ ก็ไม่ได้แปลว่าสิ้นหวัง เพราะเราสามารถยืมพลังจากคอนเทนต์มาเป็นแรงใจในการใช้ชีวิตต่อได้ 

 

คอนเทนต์คือ..?

 

ต่อให้ เป็นคนที่ ตอนนี้ไม่ได้สนใจอะไรเป็นพิเศษ หรือคนที่ แค่ทำงานกับใช้ชีวิตประจำวันไปวัน ๆ ก็เหนื่อยจะแย่แล้วไม่ว่างดูละครหรือกาตูนสนุก ๆ  หรอก

 

อยากให้ลองสละเวลาสัก 1 นาที อาจจะเจอคอนเทนต์ที่เปลี่ยนชีวิตของเราก็ได้

 

“แม้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อะไร แต่คุณอาจเจอกับสิ่งที่ทำให้รู้สึกผูกผันจนอยากอยู่กับมันไปตลอดก็ได้”

 

การที่เรารับรู้ตัวเราเองว่าเราพอใจกับอะไร ไม่พอใจกับอะไร สามารถทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น และขอให้คุณผู้อ่านทุกคนได้หาคอนเทนต์ที่เราชอบเจอกันนะคะ

 

สุดท้ายแล้วชีวิตเราไม่ได้ยืนยาวพอที่จะอยู่อย่างอดทน .. 🙂

 

 

 

 

 

 

พฤติกรรมการนอนของเด็ก  เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ จะสร้างนิสัยการนอนให้เด็กอย่างไร ให้นอนหลับเป็นเวลาและนอนหลับแบบมีคุณภาพ

พฤติกรรมการนอนของเด็ก สำคัญอย่างไร 

เมื่อพูดถึงการนอนของทารกแรกเกิด จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพราะนอกจากจะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย ยังส่งผลไปถึงอารมณ์และสติปัญญาของเด็กได้อีกด้วย

 

โดยผลการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน ซึ่งในขณะเดียวกันหากระยะเวลาการนอนของทารกไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิด ก้าวร้าว และงอแง

 

รอบการนอนหลับของลูกน้อยวัยแรกเกิดแต่ละครั้งจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ และส่วนใหญ่ที่ลูกน้อยหลับเรียกว่าเป็นการหลับฝัน ซึ่งจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาการของสมองของเด็กทารก

 

 

การนอนหลับเพียงพอ ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำดีขึ้น

การนอนหลับที่เพียงพอ จะเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของวันรุ่งขึ้น และทำให้จำสิ่งที่เรียนรู้ของวันก่อนหน้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนอนหลับส่วน Non-rapid Eye Movement Sleep จะมีคลื่นสมองชนิดหนึ่งเกิดขึ้นมา

 

เรียกว่า Sleep spindles ซึ่งการเกิด Sleep spindles ในปริมาณที่เพียงพอ จะทำให้เกิด Memory refreshment ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวันต่อมาดียิ่งขึ้น

 

และมีการศึกษาว่า sleep spindles ยังสัมพันธ์กับ IQ ของเด็กและวัยรุ่นด้วย นอกจากนี้ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ความจำระยะสั้นนั้น เป็นการเก็บข้อมูลของสมองส่วน Hippocampus

 

และจะส่งข้อมูลไปเก็บความจำระยะยาวที่เนื้อสมองส่วน Cerebral cortex ซึ่งจะทำงานได้ดีช่วงหลับลึก หรือ Slow wave sleep นั่นเอง

 

กล่าวโดยสรุป คือ การนอนหลับให้เพียงพอ มีผลต่อ การเรียนรู้ ความจำ และยังมีผลต่อ Executive function ของสมอง สมาธิ และการควบคุมอารมณ์อีกด้วย

 

 

พฤติกรรมการนอนของเด็ก แต่ละช่วงวัย 

1.อายุแรกเกิดถึง 1 เดือน 

นอนหลับรวมกัน 18-20 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน แต่ระหว่างวัน รวมถึงกลางคืน คุณแม่จะค่อยปลุกน้อง ทุก ๆ 2- 3 ชั่วโมง เพื่อดื่มนม  ช่วงเวลานี้ผู้ปกครองแทบจะไม่ได้นอนกลางวันและกลางคืนเลย

 

วิธีที่จะช่วยให้น้องหลับสบาย : ชุดที่สวมใส่คือ ผ้าห่อหุ้มตัวเด็ก คือ ทำให้เด้กรู้สึกว่าอบอุ่นตลอดเวลา

 

2. อายุ 2 เดือนถึง 3 เดือน

น้องก็จะนอนหลับรวมกันประมาณ16-17 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน ผู้ปกครองพยายามหลับพร้อมกันกับน้องไปเลย กลางวันน้องจะนอนประมาณ 3-4 ครั้ง หรือมากกว่านั้น

 

วิธีที่จะช่วยให้เด็กหลับสบาย : ชุดที่สวมใส่ให้น้องควรจะเป็นชุดที่ใส่สบายและมีผ้าห่อตัวห่อหุ้มตัวน้อง เมื่อน้องกลิ้งตัวไปมาได้ ให้หยุดใช้ผ้าห่อตัว และสวมใส่เสื้อผ้าแทน

 

3. อายุ 4 เดือน

น้องจะนอนหลับรวมกันประมาณ 14-16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน เริ่มฝึกน้องนอนยาวในตอนกลางคืน ที่สำคัญคือ คุณแม่พักผ่อนไปพร้อม ๆ กับน้อง เพื่อให้น้องนอนยาวที่สุดในช่วงกลางคืน 

 

 ไม่ควรให้นมมื้อดึกกับน้อง เมื่อน้องอายุเข้า 4 เดือน อาจจะทำให้น้องฟันผุได้ง่าย ควรฝึกวินัยโดยการไม่ทานมื้อดึก 

 

วิธีที่จะช่วยให้เด็กหลับสบาย : กลางวันน้องจะนอนประมาณ 3 ครั้ง ผู้ปกครองควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายตามสภาพอากาศได้เลย

 

4. อายุ 5 เดือนถึง 6 เดือน

น้องจะนอนหลับรวมกันประมาณ 13-16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน ช่วงเวลากลางคืนเด็กสามารถนอนยาวได้เกือบ 10-12 ชั่วโมง เริ่มฝึก นอนตอนเช้า 1 ครั้ง และตอนบ่าย 1 ครั้ง บางคนอาจจะนอน 3 ครั้ง

 

วิธีที่จะช่วยให้เด็กหลับสบาย : ให้เรารอคอยประมาณ 5 นาที ก่อนตอบสนองเวลาที่น้องร้องเรียก 

 

5.  อายุ 6 เดือนถึง 12 เดือน

น้องจะนอนหลับรวมกันประมาณ 13-16 ชั่วโมงต่อหนึ่งวันน้องสามารถนอนหลับยาวตลอดคืนโดยที่ ไม่ต้องให้นมมื้อดึก เพราะน้องสามารถกินอาหารที่เป็นพวกข้าว ทำให้น้องอยู่ท้อง

 

6.  อายุ 1 ปีถึง 2 ปี

น้องจะนอนหลับยาวรวมกันประมาณ 11-14 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน  น้องจะเริ่มนอนตั้งแต่หัวค่ำเวลา 1 ทุ่มหรือ 2 ทุ่ม

 

 7. อายุ 3 ปีถึง 5 ปี

น้องจะนอนหลับยาวรวมกันประมาณ 10-13 ชั่วโมงต่อหนึ่งวัน น้องเริ่มนอน 2 ทุ่ม ไม่ควรให้น้องนอนดึก เพราะมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต เวลาการนอนของน้องจะลดลงเหลือการนอนเพียง 1 ครั้ง/วัน

 

 

วิธีช่วยให้เด็กมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี

การเข้านอนเป็นเวลาเป็นควรเริ่มจากการสร้าง  “กิจวัตรประจำวันที่คาดเดาได้สม่ำเสมอ”  มีกิจกรรมก่อนนอน ที่ผ่อนคลาย และช่วยให้เด็กรู้ว่าถึงเวลานอน เช่น อ่านนิทาน เล่าเรื่องสนุก พูดคุยกับลูก

 

นอนหลับกลางคืนห้องนอนควรมืด ไม่มี แสงรบกวน จัดห้องให้เงียบสงบ  และอุณหภูมิเหมาะสม และ ค่อย ๆ ลด จำนวนมื้อดึกลง

 

 

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนเข้านอนของเด็ก 

–  ไม่ควรดูดนมจนหลับ กินอาหาร หรือ ขนมหวานก่อนนอน

 

–  ไม่ควรสบตาเด็ก เพราะเป็นการกระตุ้นเด็กให้อยากเล่น หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อ  

 

–  เมื่อเด็กร้องไห้กลางดึกไม่ควรตอบสนองด้วยการดูดเต้า หรือดูดนมทันที

 

–  ห้ามให้เด็กทารกนอนหลับในท่าคว่ำเด็ดขาด  เพราะ ถ้าน้องนอนท่าคว่ำ หน้าน้องอาจไปแนบกับหมอน อาจจะทำให้หายใจไม่สะดวก 

 

–  ผู้ใหญ่ไม่ควรขู่เด็กว่าถ้าไม่นอนจะมีสัตว์หรือสิ่งไดมาทำร้า เพราะ อาจจะให้น้องเกิดความกังวล จนไม่กล้าที่จะนอน 

 

– ไม่ควรหลีกเลี่ยงการเล่นสนุกหรือ กิจกรรมที่ตื่นเต้นก่อนนอน  เพราะ ว่า น้อง ๆ อาจจะตื่นตัว อยากเล่นต่อ 

 

 

เทคนิคที่ใช้ได้ผลจากประสบการณ์ของแม่ ๆ 

น้องอายุ 1 ปี เวลาจะนอนคุณแม่จะทำกิจกรรมแบบเดิม ๆ  ซ้ำในทุก ๆ วัน เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าจะได้เวลานอนแล้ว เช่น

 

เวลา 17.00น. พาลูกเดินเล่นชมธรรมชาติ

 

เวลา 17.30 น. อาบน้ำตอนเย็นค่ะ

 

เวลา 18.00 น. กินนมค่า แปรงฟัน

 

เวลา 18.30 น. อ่านหนังสือนิทานค่ะ

 

เวลา 19.30 น. เปิดไฟสลัว ๆ น้องอาจจะนอนดิ้นไปมา 

 

เวลา 20.00 น. ลูกเข้านอน 

 

 

ที่มา :

การนอนหลับ กลไกสำคัญพัฒนาการเรียนรู้ของลูกน้อย

ทารกควรนอนกี่ชั่วโมง? 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

การสื่อสาร การสนทนาทำให้รู้จักใครคนนึงได้มากขึ้น วิธีการพูดคุย  Deep Talk ยิ่งคุย ยิ่งรู้จัก คืออะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง แล้วจะเริ่มสร้างบทสนทนา Deep Talk ได้อย่างไร . .

 

Deep Talk คืออะไร

Deep Talk หรือ Deep Conversation แปลเป็นความหมายให้สวยงามคือการพูดคุยเชิงลึกที่มีความหมาย มีอีกชื่อหนึ่งว่า Meaning Conversation การเปิดเผยข้อมูลตัวเอง

 

หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เกี่ยวกับความคิดของใครบางคน ความรู้สึกของพวกเขา สิ่งที่พวกกำลังประสบอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ความคิด ความเชื่อ ศาสนา ดนตรี เพลง ความชอบต่าง ๆ

 

ถ้าใครยังนึกไม่ออกว่าตัวเราเคยมีการ Deep Talk ไหมนะ อาจลองนึกภาพเราคุยกับเพื่อนของเราเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ ว่าช่วงนี้เป็นยังไงบ้างแล้วไปจบเรื่องของชีวิต อดีต การวางอนาคต ต่างๆนาๆ

 

พอบทสนทนาจบลงแล้วเรารู้สึกอิ่มใจ มันช่างมีความหมายเหลือเกิน 

 

 

บทสนทนาเล็กน้อย Small Talk

ก่อนที่จะเริ่มพูดคุย Deep Talk กับใครสักคนได้ ก็ต้องเริ่มที่ Small Talk ก่อน การพูดคุยเรื่องเล็กน้อยเพื่อปูไปเป็นการพูดคุยเชิงลึก Small Talk คือการพูดคุยแบบผิวเผิน

 

ทักทายกันส่วนตัวแต่ก็ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวกันมากเกินไป แต่เป็นการเริ่มพูดคุยเพื่อให้ความสัมพันธ์มีความใกล้กันมากขึ้น เช่น การถามว่าเช้านี้กินอะไร การชื่นชมอีกฝ่ายด้วยคำพูดเล็ก ๆ 

 

การที่เราเริ่ม Small Talk เล็ก ๆ ก็ช่วยทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีการ Connect กับสังคมมากขึ้นด้วย

 

 

จะเริ่ม Deep Talk กับคนรอบข้างอย่างไร

การที่เราจะคุย Deep Talk กับใครสักคนได้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญ คือ

 

 

 

ประโยชน์ ข้อดี ของการ  Deep Talk 

มีงานวิจัยที่น่าสนใจที่ชื่อว่า “งานวิจัยแอบฟังความสุข” ทดลองโดยนักจิตวิทยาอย่าง “Matthias Mehl” ได้ทำการทดลองนี้กับนักศึกษา

 

ได้ข้อสรุปว่า “ถ้าคุยเรื่องที่มีสาระอย่างลึกซึ้ง (Deep talk) กับเพื่อนมีโอกาสพบความสุขได้มากกว่า” การสนทนาเชิงลึก ทำให้พบความหมายของชีวิต

 

 

 

 

เราไม่มีค่าพอ เมื่อทุกคนหันหน้าหนี แล้วรู้สึกไร้ค่า เราจะทำอย่างไร จริง ๆ แล้วเราสามารถผ่านปัญหาไปได้ด้วยตัวเองหรือ Social support เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

 

มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂

Social Support จำเป็นหรือไม่

สารบัญ

ตั้งแต่แรกเกิดเรามีภาวะทางผูกพันทางอารมณ์กับใครซักคนหนึ่ง ซึ่งนั้นก็เป็นการพึ่งพิงทางอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเมื่อเรายึดโยงอารมณ์ และความรู้สึกกับคนอื่น

 

เวลาที่เราไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง  เราก็ต้องการใครซักคนหนึงเป็นที่พึ่งพิงให้กับเรา  เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่เวลาที่มีลมพัดแรงมาก ๆ ถึงแม้จะต้ยใหญ่มากแต่บางทีก็รับมือไม่ไหว

 

ก็เลยต้องการอะไรบ้างอย่างมายึด ป้องกัน ดูแล เพราะคุมลม และตัวเองไม่ได้ สุดท้ายต้นไม้ก็ต้องการอะไรซักอย่าง พึงพิงใครบางคน หรืออะไรวักอย่าง เพื่อให้มันยื่นอยู่ได้ 

 

ในมนุษย์ก็เช่นกัน การพึงพิง พึงพากัน มนุษย์ใช้อย่างธรรมชาติ บางครั้งไม่รู้ตัว เพราะมันคือิธีการที่เรากำลังปรับสมดุลตัวเอง เวลาที่เราเจออะไร เช่นเวลาที่เราเหนื่อยมาก ๆ

 

เราก็ต้องการพื้นที่จะงอแงกับใครซักคน สิ่งเหล่านั้นคือ เราต้องการการซับพอร์ตทางใจ  

 

 

ผ่านปัญหาด้วยตัวคนเดียว เป็นไปได้หรือไม่

เป็นไปได้เพราะหลาย ๆ คนเรียนรู้วิธีการคิดการเรียนรู้ การตัดสินใจ การรับมือกับปัญหา การดูแลตัวเอง มาโดยตลอด เนื่องจากประสบการณ์ของเขาบอกว่าเขาพึงพาใครไม่ได้ เขาก็จะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง 

 

สุดท้ายการเลือกพึงพาตัวเอง ก็คือการตัดสินใจ และยินดีที่จะรับสิ่งจะเกิดขึ้นด้วย แต่อย่าลืมว่าเราเป็นมนุษย์มันก็จะมีวันหนึงที่เรารู้สึกไม่ไหวได้เหมือนกัน 

 

ในวันที่เราห่อเหี่ยวมาก ๆ ก็ต้องมีน้ำหยดหนึ่ง หยดลงมาที่ใจอีกครั้ง สุดท้ายก็ยังคงเป็นวัฎจักรแบบนั้นในการอยู่ร่วมกัน   

  

 

เพราะอะไรเราถึงรู้สึก เราไม่มีค่าพอ

1. เพราะเรารู้สึกว่าเราไม่สำคัญ

 

2. เราไม่มีค่าพอกับใครจริง ๆ หรอ

 

3. ฉันดีไม่พอที่ถูกรักจากใครซักคนหรือ  

 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าต้องการ Social Support มากเกินพอดี

1. ถามตัวเองว่าเลือกชีวิตตัวเองจริง ๆ ได้ไหม 

โดยการถามตัวเองก่อนว่าเราเลือกชีวิตตัวเองได้ไหม หรือว่าพอจะเลือกอะไรซักอย่างหนึ่งด้วยตัวเอง หรือต้องถามคนอื่นก่อน

 

2. เรายึดโยงตัวเองกับคนอื่นมากไปไหม 

มากไปไหมในที่นี้คือ เราพยายามจะคิดแทนคนอื่น เช่น ถ้าเราจะทำแบบนี้คนอื่นจะคิดอย่างไร เราตัดสินใจได้ยากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เรามีคำตอบในใจ 

 

 3. เราได้ทำสิ่งที่เราอยากทำหรือไม่ 

เราแค่รอดูว่าสิ่งที่เราทำจะได้รับผลตอบรับจากผู้อื่นอย่างไร  บางคนตั้งใจเรียนมาก ๆ เพื่อต้องการได้พ่อชื่นชม บางคนตั้งใจทำงานมาก ๆ เพราะต้องการให้พ่อแม่ภูมิใจ แต่การที่เราเรียนได้ดีเราก็ควรจะดีใจได้ด้วยตนเอง 

 

4. การเรียกร้องและมองหาคนรอบตัวอยู่ตลอดเวลา

การที่เรามองหาคนรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สัญญาณที่ทำให้เราตระหนักได้ว่าเราต้องการคนอื่นตลอดเวลา

 

 

พึ่งพาคนอื่นอย่างไรให้พอดี

1. มองเห็นศักยภาพที่มีในตัวเอง 

เมื่อเราเห็นศักยภาพที่อยู่ในตัวเอง เราก็จะมั่นใจว่าเราทำได้ด้วยตัวเอง เราเลือกชีวิตเราได้ด้วยตัวเอง เราจะเชื่อมั่นว่าเราทำมันได้

 

2. รู้จักการใช้ชีวิตของตัวเอง 

บางครั้งเราร้องขออยู่ตลอด จนมีความสุขด้วยตัวเองไม่ได้ สร้างเงื่อนไขให้ชีวิตจนไม่สามารถมีความสุขได้ เพราะฉะนั้นมองให้เห็นความสุขเล็ก ๆ น้อย รอบตัวเอง 

 

3. เรียนรู้ที่จะอภัยตัวเอง

เมื่อเราให้อภัยตัวเองได้เราก็จะไม่ตำหนิตัวเอง ไม่มองตัวเองแย่ และรับรู้ได้ถึงการมีอยู่ของการมีตัวตนและจะลดการพึงพิงคนอื่นได้  

 

4. ยิ้มให้ตัวเอง 

คนที่ยิ้มให้เราได้บ่อยที่สุดคือ ตัวเราเอง กลับมาลองยิ้ม ทักทายตัวเอง โดยไม่ต้องรอคอยรอยยิ้มและ ความสุขจากคนอื่นเพราะเราทำมันได้ด้วยตัวเอง ก็จะทำให้เราลดการพึงพิงคนอื่นเพราะเราสร้างตัวเอง

 

 

เราไม่มีค่าพอ จัดการความรู้สึกอย่างไร 

1. ตั้งคำถามกับตัวเอง เพราะอะไรจึงมองตัวเองไม่มีค่า 

หลาย ๆ ครั้งที่เรามองตัวเองไม่มีค่า เพราะเรากำลังมองผ่านสายตาของคนอื่น ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า การที่เรารับรู้ว่าเราไม่มีค่านั้น เรามีอะไรที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองบ้างไหม

 

นี่แหละคือคุณค่าของเรา แต่ถ้าวันนี้ไม่มีค่าไม่เป็นไร ลองออกไปช่วยเหลือผู้อื่นอาจจะช่วยเติมเต็มความรู้สึกดี ๆ ให้ตนเองได้ เพราะเราเองก็มีค่าสำหรับใครบางคนเสมอ

 

2. มองไปรอบ ๆ ตัว ว่ามีใครที่เรารักอยู่บ้าง 

บางครั้งเราอาจจะโฟกัสไปที่คนที่เขาไม่ได้รู้สึกรักเรา แต่เวลาที่เรารู้สึกไม่มีค่า ให้เรามองหน้าไปหาคนที่เรารัก  เพราะเพียงแค่การถูกรักก็ทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าในชีวิตได้

 

หากมีสถานการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกไม่มีค่าหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่เป็นไปได้หรือไม่ว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมาจะไม่มีเหตุการณืไหนที่ทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง 

 

เรื่องนี้ต้องฝึกฝน และตั้งคำถามกับตัวเองเสมอ ๆ เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเข้ามาในชีวิต ถอยออกมาเพื่อมองให้เห็นว่าเรามีอะไรอยู่ในตัวเอง 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

 

อารมณ์ เกิดขึ้นทุกวัน… จริง ๆ แล้ว อารมณ์คืออะไร ? อารมณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่ายถือว่าผิดปกติไหม? แล้วเมื่ออารมณ์เริ่มเข้ามามีผลกระทบกับชีวิต

 

เราจะดูแลตัวเองอย่างไร? มาหาคำตอบกับรายการ พูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์

อารมณ์ คืออะไร

สภาวะภายในที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมและแสดงออกเป็นความรู้สึก เช่น ดีใจ ตื่นเต้น เสียใจ หรือ แสดงออกทางกาย  ใจเต้นแรง หน้าแดง

 

 

การเข้าใจ อารมณ์ ของตัวเอง 

การเข้าใจอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ ของชีวิตเลยก็ว่าได้  เพราะหากเราไม่เข้าใจอารมณ์ตัวเอง อารมณ์ของเราจะถูกละเลย

 

เช่น หากเราละเลยอารมณ์ที่เป็นสุขเราก็จะไม่ได้ดื่มด่ำ และชื่นชมกับความสุขนั้น ๆ และไม่สามารถนำอารมณ์ไปต่อยอดในทางที่สร้างสรรค์ เช่นกัน

 

ถ้าไม่รู้อารมณ์ด้านลบ เราก็จะไม่จัดการแก้ไข เกิดปัญหาสะสม จนวันหนึ่งทนไม่ไหว การใส่ใจอารมณ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะได้รู้ว่าอะไรที่เราควรทำเพื่อหัวใจของตัวเอง 

 

 

จะดูแลอารมณ์ ตัวเองได้อย่างไร

1. ฝึกตระหนักรู้อารมณ์ของตัวเอง

 

2. จัดการกับอารมณ์ ด้วยวิธีที่เหมาะสม

 

การละเลยอารมณ์แล้วเก็บกดเอาไว้จะส่งผลต่อความคิดและการตัดสินใจ อย่างความสุขเช่นกัน หากเรามีความสุขแต่ละเลยเราจะไม่สามารถดึงพลังใจนี้มาใช้ได้ในวันที่ห่อเหี่ยว 

 

 

อารมณ์ดีมากเกินไปมีผลเสียไหม

อารมณ์ดีที่มากเกินไปให้ดูว่า มากเกินไปจนส่งผลต่อพฤติกรรมแล้วมีปัญหาในภายหลังหรือไม่ อย่างเช่น วันนี้เราอารมณ์ดีมากในไม่ถูกสถานการณ์ก็ส่งผลเสียได้  

 

การอารมณ์ดีมากเกินไปอาจส่งผลให้เราขาดการยับยั้งชั่งใจ ขาดสถิควบคุมตัวเอง ฉะนั้นการอารมณ์ดีจะต้องต้องมีสติในการควบคุมอารมณืด้วยเช่นกัน 

 

 

อารมณ์ที่เป็นลบเป็นสิ่งไม่ดี ?

ความโกรธ คือ พื้นฐานของมนุษย์คนหนึ่งรับรู้ว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรมและกำลังปกป้องตัวเอง หากเราไม่มีความโกรธเราอาจจะไม่ปกป้องตัวเอง  

 

ความกลัว คือ พื้นฐานที่เรารู้สึกไม่ปลอดภัย และพยายามทำให้ตัวเองปลอดภัยขึ้น 

 

อารมณ์ ทุกอารมณ์มีหน้าที่ของตัวเอง มีข้อดี ข้อเสีย ถ้าหากใช้ไม่สมดุลและ การปฎิเสธอารมณ์จะเป็นผลเสียยิ่งกว่า 

 

ฉะนั้น การเข้าไปคุยกับความรู้สึกเช่น เกิดความโกรธขึ้นให้ลองเข้าไปคุยกับคุณความโกรธว่าเกิดอะไรขึ้นและ เราต้องการตอบสนองมันหรือไม่ บางครั้งความโกรธนี้อาจอยากให้เราทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เรารู้สึกดีขึ้น

 

แต่ถ้าความโกรธออกมามากเกินไปอาจจะส่งผลเสียให้ควบคุมตัวเองไม่ได้ เนื่องจากอารมณ์ไม่ได้น่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ พฤติกรรมเพราะมันส่งผลกระทบต่อคนอื่น 

 

 

โตขึ้นจะควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น? 

การที่เราโตขึ้นวุฒิภาวะจะมาในรูปแบบ 

 

1. การคุมพฤติกรรมตัวเองว่าควรแสดงออกหรือไม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ 

 

2. เราจัดการอารมณ์ นี้ได้ ทำให้ความโกรธนี้คลี่คลายได้อย่างไร เพื่อให้เป็นสุขขึ้นอย่างมีวุฒิภาวะ 

 

การควบคุมอารมณ์ให้สมดุลเป็นสิ่งสำคัญ นั่นหมายถึง รับฟังอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมไม่ให้ออกมามาก หรือน้อยเกินไป 

 

 

อารมณ์อ่อนไหวง่าย ผิดปกติไหม

ปกติหรือผิดปกติ  ให้สังเกตตัวเองว่าอารมณ์เหมือนเดิมหรือไม่ โดยสังเกตว่าอารมณ์ผิดแปลกไปจากเดิมมากหรือไม่

 

และส่งผลเสียตามมาไหม  ให้สงสัยว่าอาจจะเรียกว่าอารมณ์ผิดปกติ ส่วนเป็นโรคหรือไม่นั้นต้องเข้าไปพบจิตแพทย์

 

อารมณ์ที่เป็นปกติของบางคนที่จะสวิงขึ้นลง ไม่ได้ผิดปกติ แต่เราสามารถพัฒนา จัดสมดุล ด้วยการรับฟัง

 

รู้ความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง รู้ว่ารากฐานของอารมณ์นั้นเกิดจากอะไร แล้วไปตอบสนองสิ่งนั้นให้ตัวเองอย่างเหมาะสม

 

 

อารมณ์แปรปรวนคืออะไร

แปรปรวน อาจหมายถึง ขึ้น ๆ ลง ๆ  เปลี่ยนไปมา ไม่คงเดิม ซึ่งทางการแพทย์ไม่ได้บรรจุอารมณ์แปรปรวน เป็นคำวินิจฉัยทางแพทย์ 

 

 

อยากมีอารมณ์ ที่มั่นคง ทำอย่างไร

ถ้าอยากมีอารมณ์ ที่เข็มแข็ง ต้องรู้อารมณืตัวเองให้ได้ ว่าในขณะนี้เรากำลังมีอารมณือะไร และรู้ให้ได้ว่าที่มาที่ไปคืออะไร และเขาต้องการอะไร

 

เมื่อเข้าใจแล้วตอบสนองเขาอย่างมีวุฒิภาวะ ในขณะเดียวกัน ก็ฝึกการตระหนักรู้อารมณ์ และควบคุมอารมณ์ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม  

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

 

เคยไหมที่รู้สึกว่า “ ไม่กล้าปฏิเสธ ” ทั้งที่เรารู้ว่าเราไม่ได้อยากไปหรืออยากทำสิ่งต่าง ๆ การปฏิเสธคนไม่เป็นก็ทำให้หลายครั้งเราต้องหนักใจ

 

จะปฏิเสธใครก็กลัวว่าเขาจะรู้สึกไม่ดี เราจะปฏิเสธอย่างไรไม่ให้คนอื่นเสียความรู้สึก Alljit Podcast

 

ไม่กล้าปฏิเสธ

 

“ได้ค่ะ , ไปสิ , ทำได้ , โอเค” ความรู้สึกที่เราไม่ได้รู้สึกเหมือนคำที่กล่าวออกไปข้างต้น อยากปฏิเสธมาก ๆ แต่ไม่กล้าปฏิเสธ

 

กลัวดูมองไม่ดี กลัวคนอื่นไม่ชอบ ฝืนทำทั้งที่ใจเราไม่ได้อยากจะทำแบบนั้นเลย การเป็นคนใจดีไม่ใช่เรื่องเลวร้าย

 

แต่บ่อยครั้งที่ความมีน้ำใจเกินเหตุก็ย้อนกลับมาสร้างปัญหาให้ตัวเอง คงจะดีไม่น้อยหากบางครั้งเรารู้จักพูดคำว่า ‘ไม่’ เสียบ้าง

 

 

จุดสังเกตว่าเรา ไม่กล้าปฏิเสธ 

1. People pleaser อยากได้รับการยอมรับจากคนอื่นจนฝืนทำอะไรในสิ่งที่ไม่อยากทำ

 

2. กลัวจะไม่ได้รับการยอมรับเลยไม่กล้าปฏิเสธ

 

3. ช่วงวัยด้วยความที่วัยเด็กไม่กล้าปฏิเสธคนที่อายุเยอะกว่า เช่น เหตุการณ์ในที่ทำงานถ้าคนที่อายุเยอะกว่า หรือ ทำงานมาก่อนเราวานให้เราทำอะไรแล้วเราไม่กล้าปฏิเสธ

 

4. ความคิดเยอะเกินไปว่าถ้าเราไม่ช่วยเขาต้องไม่มีใครช่วยเราแน่ ๆ

 

5. Imposter Syndrome รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้เราเลี่ยงที่จะปฏิเสธคนอื่น เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถปฏิบัติตามบทบาท

 

และความรับผิดชอบของตัวเองได้  นอกจากนี้ยังอาจทำให้ยากที่จะปฏิเสธตัวเอง เพราะรู้สึกอยู่เสมอว่าต้องตอบตกลงเพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถทำงานของเราได้จริง

 

สังคมชอบเชื่อมโยงความหมายเชิงลบ กับคำว่า “ไม่” ซึ่งส่วนใหญ่ทำให้คนรู้สึกอึดอัดและหวาดกลัว ที่จะปฏิเสธ เนื่องจากเรากลัวว่าพฤติกรรมนี้จะไม่เหมาะสมและไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม

 

ารเรียนรู้ที่จะปฏิเสธเป็นวิธีการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ และสุขภาพจิต เพราะมันส่งผลต่อการเพิ่มความนับถือตนเองและความรักที่มีต่อตนเอง

 

 

สัญญาณที่จริง ๆ แล้วเราอยากตอบปฏิเสธ

 

 

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่า ‘ควร’ ปฏิเสธ

เวลามีคนมาขอให้ทำอะไร อยากให้เราหยุดคิดก่อนซักนิดนึง อย่างเพิ่งอัตโนมัติว่าทำได้ ลองพิจารณาเหตุผลต่าง ๆ เพื่อตัวเราเองก่อน 

 

1. หากเรารู้สึกไม่สบายใจ

ไม่มีใครรู้ขีดจำกัดของของเราดีไปกว่าตัวเราเอง หากถูกขอให้ทำบางอย่างที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจอาจเป็นสัญญาณว่าต้องปฏิเสธ

 

 

2. เมื่อเราทำงานหนักเกินไป หรือยุ่ง 

เมื่อเรามีงานที่ล้นมือแต่มีคนมาขอให้เราช่วยเหลือ ควรปฏิเสธเพื่อตัวของเราเอง

 

3. หากคำขอข้ามขอบเขตส่วนบุคคล

เมื่อมีคนขอให้ทำบางสิ่งที่ข้ามขอบเขตของสิ่งสำคัญคือต้องหยุดและปฏิเสธขอบเขตของเรามีค่าควรแก่การยืนหยัด 

 

4. แค่พูดว่าใช่เพื่อเอาใจคนอื่น

แม้ว่าการเอาใจผู้อื่นเป็นแรงจูงใจตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่ทำงานหนัก ถ้าการเอาใจคนอื่นแลกกับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีมันไม่คุ้มเลย 

 

ปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เสียความรู้สึก

 

ที่มา

ทำไมการปฏิเสธถึงเป็นเรื่องยาก

10 Tips for Overcoming Your Fear of Rejection

How to say no to others (and why you shouldn’t feel guilty)

 

 

 

นอนไม่หลับ ปัญหาที่ใคร ๆ ก็เจอ ปัญหาการนอนมีสาเหตุมาจากอะไร ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากแค่ไหน แล้วจะปรับแก้เพื่อให้การนอนกลับมาเป็นปกติต้องทำอย่างไรบ้าง

 

มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ 🙂

 

นอนหลับยาก เป็นเรื่องปกติหรือไม่

บางคนเป็นคนที่นอนหลับยากอยู่แล้วเป็นปกติ  บางคนเป็นเรื่องผิกปกติ เพราะเคยเป็นคนหลับง่ายมาก่อน ฉะนั้นจะปกติหรือไม่

 

ให้เทียบกับพฤติกรรมการนอนของตัวเองปัจจุบันกับอดีต  และหากการนอนหลับยากนั้น นำไปสู่การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ก็สามารถเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญได้ 

 

 

ฝันร้ายบ่อย เป็นเรื่องปกติหรือไม่

ความฝันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในมนุษย์ แต่หากฝันจนสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ กลางดึก กระทบต่อการนอน สามารถเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน  

 

 

สัญญาณการนอนที่เตือนว่าเราควรเข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญ 

1. กระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา เช่น นอนไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถตื่นไปทำงานได้อย่างปกติ

 

2. เราไม่พอใจกับการนอนนี้ ไม่ต้องคิดเพียงแต่ว่าต้องรอให้อาการนอนไม่หลับหนัก หรือร้ายแรงเท่านั้น 

 

 

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ นอนไม่หลับ

1. มีสารเคมีบางอย่างเข้าสู้ร่างกาย  เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์

 

2. สภาพแวดล้อม เช่น ห้องนอนส่วงเกินไป เสียงดังเกินไป

 

3. มีเรื่องราวภายในจิตใจ ตั้งแต่เครียดมาก หรือเรื่องกังวลเล็กน้อย

 

 

นอนไม่หลับ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

1. การซ่อมแซมร่างกาย การพัฒนาของร่างกายทำงานได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น

 

2. ส่งผลกระทบจิตใจ  เช่นหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย

 

 

จิตแพทย์ประสบกับปัญหานอนไม่หลับบ้างหรือไม่

ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่สามารถจัดการกับตัวเองหลับฝันดีทุกคืนได้ เพราะในบางวันมีงานรุมเข้ามา หรือมีเรื่องกังวลใจ

 

แต่ก็จะรีบรู้ทันตัวเอง และรีบกลับมาจัดการตัวเองโดยนำเทคนิคต่าง ๆ มาใช้  

 

 

มีเทคนิคอะไรบ้างที่ช่วยเรื่องการนอน

1. ถามใจตัวเองถึงที่มาของปัญหาในใจ

 

2. ฝึกสมาธิ หรือ การทำ Mindfulness พาเรากลับมาอยู่กับ ณ ที่นี่ ตรงนี้ มีแค่เราและเตียงนอน

 

3. คลายความเครียดหลากหลายวิธี

 

4. ปรับสมดุลการนอน เช่น การเข้านอนในเวลาที่กำหนด ไม่เล่นมือถือบนเตียงนอน

 

5. ไม่ต้องกังวลเมื่อนอนไม่หลับ เพราะจะทำให้วนกลับมาที่ความกังวล ให้ลุกออกไปหากิจกรรมเบา ๆ ทำก่อน แล้วกลับมานอนอีกครั้ง

 

 

ปัญหาการนอนพบจิตแพทย์ได้หรือไม่

นอนไม่หลับเป็นหนึ่งในสาเหตุที่หลาย ๆ คนเข้ามาปรึกษา เนื่องจากการปรับการนอนมีรายละเอียดมาก ๆ ที่อาจจะใช้ได้ดีกับบางคน หรืออาจใช้ไม่ได้กับบางคน

 

ก็อาจจะต้องมานั่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด อีกทั้งการนอนไม่หลับเป็นอาการที่เจอได้บ่อยในหลาย ๆ ภาวะ เช่น โรคซึมเศร้า หรือภาวะอื่น ๆ 

 

 

รักษาปัญหาการ นอนไม่หลับ ในทางการแพทย์ ทำอย่างไร

1. เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายจดจำช่วงเวลาการนอนที่เหมาะมสม

 

2. หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ทำให้นอนหลับยาก เช่น คาเฟอีน

 

3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

4. การจัดการความเครียดด้วยหลากหลายวิธี

 

 

ผู้เชี่ยวชาญมีคำแนะนำเรื่องยานอนหลับอย่างไร 

ในหลาย ๆ ครั้งยานอนหลับช่วยให้หลับได้จริง และช่วยให้สุขก่ารนอนดีขึ้นได้จริง แต่ยานอนหลับออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ไม่ควรซื้อรับประทานเอง

 

ควรที่จะเข้าไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากยานอนหลับแต่ละชนิดมีข้อจำกัดในการใช้ที่ต่างกัน ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก