Posts

เราสามารถทำให้ชีวิตสมบูรณ์แบบได้จริงไหม หรือ… เราทำได้เพียงอยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่เป็น แนวคิดจากญี่ปุ่นที่น่าสนใจ ‘ คินสึงิ ’ คืออะไรและเกี่ยวข้องกับชีวิตในทุก ๆ วัน

ชีวิตมันซ่อมได้จริงไหม ?

“ถ้วยดินเผาหรือ ชีวิตสามารถแตกหักได้เป็นพันชิ้นแต่นั้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่ชีวิตต้องจบสิ้นลงด้วย ”

 

ทุกอย่างบนโลกนี้มันแตกและ พังได้หมด ตุ๊กตาที่เราชอบ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ รองเท้า แม้กระทั้งความสัมพันธ์กับผู้คน แต่ไม่ได้แปลว่าชีวิตเราจะล่มสลายตามสิ่งนั้น ๆ ไป และทุกการซ่อมแซมต้องใช้เวลา เปรียบเสมือน

 

ถ้วยที่แตกแล้วซ่อมด้วยวิธีคินสึงิ เขาใช้เวลาประกอบรอยร้าว 4-5 วัน รอยร้าวจึงจะเชื่อมกัน คิดว่าก็เหมือนชีวิตคน แตกแล้วไม่สารถประกอบให้เชื่อมกันได้ทันที ต้องอาศัยเวลา และใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในชีวิตเหมือนกัน

 

 

คินสึงิ 

โทมาส นาวาร์โร จิตแพทย์ ชื่อดังชาวสเปน เปลี่ยนจาก ‘ลบรอย’ เป็น ‘ยอมรับ’ คือ ปรัชญาที่ซ่อมแซมของที่แตกมีชื่อว่า ‘คินสึงิ’ ( Kintsugi ) เริ่มจากที่ โชกุน ทำกาน้ำชาใบโปรดแตก

 

จึงนำไปส่งซ่อมพอได้กลับคืนมารู้สึกว่า ไม่ถูกใจ จนไปเจอช่างฝีมือท้องถิ่นท่านหนึ่ง ซึ่งต่อรอยร้าวของถ้วยชามด้วยทอง เป็นวิธีซ่อมรอยแตกร้าวให้ภาชนะ โดยนำยางไม้จากต้นอุรุชิของญี่ปุ่นมาผสมเข้าด้วยทอง 

 

พอเอาใบที่ซ่อมมาติด ปรากฎว่าโชกุนชอบ เพราะมีความเป็นเอกลักษ์ สวยงาม และความสวยงามนี้ต้องเกิดจากการที่กาน้ำชามีร่องรอยก่อน การเอากานำชาเก่ามาใช้ ทำให้เห็นความงามไม่รูปแบบที่ต่างออกไป

 

หลักการนี้ชาวญี่ปุ่นเอามาใช้กับชีวิต  คนเราเวลาเจอเรื่อง ร้าย ๆ ในชีวิตก็เหมือนการแตกสลายของกาน้ำชา เรื่องราว ๆ ที่เจออาจไม่ได้เลวร้ายไปซะหมดแต่มันคือการเปลี่ยนแปลง 

 

คินสึงิ ( Kintsugi ) คือเทคนิคศิลปะแบบโบราณที่สะท้อนแนวคิดวะบิ-ซะบิได้เป็นอย่างดี โดยเป็นการซ่อมแซมเครื่องดินเผาหรือเซรามิคด้วยการใช้ยางไม้มาเชื่อมส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

 

แล้วนำทองมาเขียนตกแต่งลงบนรอยเชื่อมนั้น เกิดเป็นความงามอีกรูปแบบที่มาจากความบุบสลายของวัตถุ

 

วาบิซาบิ  วะบิ-ซะบิ (Wabi-Sabi) มาจากการรวมระหว่างสองคำ ได้แก่ คำว่า วะบิ ( Wabi ) ที่แปลว่าความเรียบง่าย ความสงบเงียบ และ ซะบิ (Sabi ) ที่หมายถึง ความงามที่ทรงคุณค่าตามกาลเวลา

 

อันนำมาซึ่งความไม่ สมบูรณ์ได้ซึ่งจะบอกว่าแนวคิดของญี่ปุ่นที่เราได้ยินบ่อย ๆ คือ อิคิไก คินสึงิ และ วาบิซาบิ เหมือนเป็นปรัชญาหลัก ๆ ของชาวญี่ปุ่น  

 

 

เราจะอยู่ในความไม่สมบูรณ์แบบได้อย่างไร

–  ต้องไม่ตัดสินตัวเองเพราะบนโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ 

–  เห็นอกเห็นใจตัวเองเหมือนที่เราปลอบใจคนอื่น

–  มนุษย์ที่สามารถยอมรับข้อบกพร่อง จะสามารถผ่านชีวิตไปได้ง่ายกว่าคนอื่น ชีวิตที่เราเจอเรื่องที่ดีและเรื่องที่แย่ ล้วนแล้วเป็นบทเรียนและเป็นเรื่องที่สำคัญ 

–  มองหาความเป็นจริง ข้อเท็จจริงให้มากที่สุด อะไรที่ไม่รู้คือไม่รู้ หาเหตุผลไม่ได้ก็คือไม่ได้

–  เรื่องเลวร้ายแต่ละคนไม่เหมือนกันอย่าเอาไปเทียบกับใคร

– พยายามไม่เอาตัวเองไปเทียบกับคนอื่น ยิ่งถ้าคนอื่นไม่ได้เลือกเดินทางเดินเดียวกันกับเราแล้วยิ่งไม่ควรเทียบเลย เพราะยิ่งทำแบบนั้นจะยิ่งบั่นทอนกำลังใจตัวเอง

 

ที่มา :

วิถีแห่ง ‘วะบิ-ซะบิ’ ความงามที่มีรอยตำหนิและกาลเวลาเป็นกัลยาณมิตร

How the philosophy behind the Japanese art form of kintsugi 

 

 

 

 

 

นิสัยแย่ ๆ ใคร ๆ ก็มี หลาย ๆ ครั้งที่เราหานิสัยไม่ดีของคนอื่น โดยลืมหันกลับมา ค้นหานิสัยไม่ดีของตัวเอง จนเผลอนำนิสัยนั้นออกมาทำร้ายความสัมพันธ์

 

เราจะสำรวจตัวเองอย่างไร ปรับปรุงตัวเองและความสัมพันธ์อย่างไร มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂

 

ค้นหานิสัยไม่ดีของตัวเอง

เพราะอะไรเราถึงมองเห็นนิสัยแย่ของคนอื่นมากกว่าตัวเอง

เพราะว่าเวลาคนอื่นทำอะไร แล้วเราไม่ชอบ ไม่ถูกใจเราจะมองว่ามันแย่ เราใช้ความรู้สึกของเราเข้าไปเป็นตัววัดว่าสิ่งนี้ไม่ดีหรือแย่

 

เราเอาบรรทัดฐานของเราไปทาบไปวัดกับนิสัย พฤติกรรมของคนอื่น การยอมรับข้อเสียของตัวเองมันยากเพราะ “ฉันไม่อยากดูแย่” 

 

 

เราจะยอมรับข้อเสียของตัวเองได้อย่างไร 

รู้ตัวก่อนว่านิสัยแบบไหน ที่เรารู้สึกว่าอาจจะไม่ได้ดีกับตัวเราและคนอื่น เราต้องมองเห็นว่านิสัยไหนบ้างที่ส่งผลต่อกับความสัมพันธ์ต่อกับคนอื่น

 

เราจะสำรวจนิสัยของตัวเองอย่างไร 

คำว่า “ดี หรือ แย่ ” คือไม้บรรทัดของแต่ละคน มุมมองของคนด้วยว่าให้ความสำคัญกับอะไร 

 

เราจะปรับปรุงหรือเลิกนิสัยบางอย่างได้ไหม

ตราบใดที่เรารู้สึกว่านิสัยที่เราเป็นเป็นปัญหา ลองถามคนที่อยู่รอบตัวว่าเขาเห็นเราเป็นคนอย่างไร แล้วส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไห

 

จะช่วยให้ความสัมพันธ์ไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตามไปต่อได้ สิ่งที่จะทำให้เราตระหนักได้ไม่ดึงขึ้นมาใข้บ่อย ๆ จะชัดเจนมากกว่า 

 

วิธีฟื้นฟูความสัมพันธ์ ทำอย่างไรได้บ้าง

ความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันฟื้นฟู ไม่ใช่ “หน้าที่” ของใครคนใดคนหนึ่ง ลดความเป็นตัวเองเรียนรู้ที่จะปรับตัวการอยู่ร่วมกัน

 

ความโรแมนติกเมื่อพูดถึงก็คงมีแต่ความสวยงาม ความน่าหลงใหล แต่ถ้าเป็น Romanticize สิ่งที่เราคิดว่าดี สุดท้ายแล้วดีจริง ๆ หรือเปล่า

 

เราจะมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่านี้ได้อย่างไร Alljit Podcast

 

Romanticize 

Romanticize การทำให้เป็นเรื่องอุดมคติหรือเกินจริงในด้านบวก โดยที่ไม่ได้มองถึงด้านลบของเรื่องนั้น ๆ หรือก็คือ ทำให้ดูโลกสวยขึ้นนั่นเอง

 

การที่เรามองในด้านเดียว มองแค่ด้านที่ดี มองข้ามความจริง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเกิดขึ้น เช่น ตอนโควิดที่ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีโควิดทำให้ธรรมชาติกลับมาสวยงาม

 

คนจนที่แบ่งกันกินข้าวหนึ่งกล่องด้วยรอยยิ้ม (เหมือนที่โฆษณาที่เราชอบเห็น) การทำงานหนักเกินเงินเดือน เห็นไหมว่ามันเป็นสิ่งทั่วไปมากที่เราสามารถพบเจอได้ในบริบทของสังคมที่เราอยู่แต่เราเอามา Romanticize 

 

หรือว่าเรื่องของ เวลาผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วไม่เจ้าชู้ เราจะชื่นชมเขามาก ๆ ว่าเขาเป็นคนดี แต่จริง ๆ คือเรื่องปกติ 

Romanticize VS โลกสวย?

อ้างอิงจากรายการ L&S  โลกสวย กับคิดบวก ได้กล่าวไว้ว่า โลกสวย หมายถึง การมองโลกในแง่ดีเกินไป จนกลายเป็นพวกมองโลกในแง่ดีเวอร์เกิน หรือหมายถึง คนที่มีโลกในอุดมคติของตัวเองอยู่แล้ว

 

และปรารถนาจะให้โลกเป็นดั่งที่ใจต้องการ แต่กลับรับไม่ได้กับความจริงที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งตรงข้ามกับโลกในอุดมคติของพวกเขา

 

ค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกับการ Romanticize ตรงที่มอง “แค่” ในด้านที่ดี มองข้ามความจริง มองในด้านเดียว การ Romanticize กับ โลกสวย อาจเป็นรูปแบบเดียวกัน

 

 

Romanticize และ Normalize

นอกจากมี Romanticize แล้วยังมีการ Normalize ด้วย ซึ่ง Normalize ก็คือคำว่า Normal แปลว่า ธรรมดา ความธรรมที่ไม่ธรรมดาตรงที่การทำให้เรื่องใดเรื่องหนึ่งมันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป

 

ไม่ใช่เรื่องที่ยิ่งใหญ่ หรือผิดแปลก เช่น การที่เรา Normalize  ผู้ชายเจ้าชู้ มีบ้านเล็ก บ้านน้อย ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่พอผู้หญิงเจ้าชู้เรากลับโจมตี ด่าท่อ ฝ่าย ญ

 

ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วไม่ว่าเพศไหน เจ้าชู้ มีบ้านเล็ก บ้านน้อย ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรอยู่ดี

Romanticize ด้านไหนบ้าง 

ด้านความรัก 

ดร.จูเลีย ลิปป์แมน มองว่าป๊อปคัลเจอร์คือส่วนหนึ่งที่ทำให้การเป็นสตอล์กเกอร์กลายเป็นเรื่องโรแมนติก เพราะถูกทำให้คิดว่าการพยายามเพื่อความรัก และการคอยตามดูแลอยู่เสมอโดยที่ไม่อยากให้อีกฝ่ายรู้ แ

 

ล้วจบด้วยความสมหวังคือเรื่องที่ทำได้ปกติ ลองนึกดูว่าถ้ามีคนมาแอบชอบเรา แล้วตามดู ตามสืบ ตามโทร หรือแม้แต่สั่งของมาให้แบบไม่บอกกล่าว ลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว เราอาจจะรู้สึุกอึดอัด ไม่ชอบ

 

รำคาญใจ และรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ถ้าเหตุผลของเขาคือทำเพราะชอบ ทำเพราะอยากจีบ มันจะดูมีเหตุผล ดูมีความพยายาม ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือการ Romanticize อย่างหนึ่ง

 

 

ด้านสุขภาพจิต 

เรื่องนี้ก็เป็นที่พูดถึงอย่างมากในต่างประเทศ คือ  Gen-Z Romanticizes ความเจ็บป่วยทางจิต 

 

ในสื่อสังคมออนไลน์ บางครั้งความเจ็บป่วยทางจิตก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเหมือนกับปัญหาร้ายแรงที่เป็นอยู่ วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อทำให้ความเจ็บป่วยทางจิต

 

แทนที่จะกล่าวถึงถึงความเป็นจริงอันโหดร้าย กลับได้รับการแปรสภาพเป็นสิ่งที่มักถูกอธิบายว่าเป็น “ความทุกข์ทรมานที่สวยงาม” 

 

 

ด้านความเป็นอยู่

ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน คนรวยเองก็มองว่าคนจนนั้นก็อยู่ในวิถีชีวิตในแบบพอเพียงของเขาก็ดีอยู่แล้วไม่ได้มีปัญหาอะไร ส่วนตัวเองอยู่ในจุดที่เหนือกว่าคนเหล่านี้ได้

 

เป็นเพราะตัวเองมีการศึกษามีความพยายาม ทั้งที่ลืมมองว่าโอกาสการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ความสะดวกสบาย การเดินทาง การทำงาน การศึกษา 

 

 “บริจาค” หรือการ “ให้” ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งกัน มีคนเมืองที่รับอาสาบทคนใจบุญที่เข้ามาช่วยเหลือในการมอบสิ่งของต่าง ๆ ให้กับผู้ยากไร้หรือผู้ขาดแคลน

 

ซึ่งไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ปีต่อกี่ปี ภาพเหล่านี้ก็จะยังเป็นการวนซ้ำไปซ้ำมาเช่นเดิมอยู่เสมอ เพราะคนมัก Romanticize กับการให้เหล่านี้ เป็นภาพการช่วยเหลือที่ทรงคุณค่า

 

การไปต่างจังหวัดที่ใช้ชีวิต Slow Life หรือกินอยู่แบบวิถีชาวบ้าน ทำให้มองเห็นความสุข จากความเรียบง่าย จนเข้าใจว่าคนที่เขาอยู่แบบนี้ก็คงมีความสุขไม่ต่างกัน

 

โดยที่ลืมคิดไปว่า เราแค่เปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมแค่ไม่กี่วัน แต่กลับตัดสินไปแล้วว่าชีวิตแบบนี้คือชีวิตที่ดี 

 

ด้วยสื่อหลาย ๆ อย่างทั้งโฆษณาหลากหลายที่ผ่านตาให้เห็นกำลังแทรกความ Romanticizes มาให้เราเหมือนกัน การที่เรามีข้าวกินหนึ่งกล่อง เราแบ่งกันครอบครัวด้วยรอยยิ้มนะ แต่เดี๋ยวก่อน แ

 

สารอาหาร . . ความอิ่ม . . เขาอยากยิ้มจริงไหม? ไม่มีใครตอบได้ ถ้ามองด้วยความเป็นจริง การเติบโต อาหาร ปัจจัย 5 อย่างของคนเราก็สำคัญ

 

หรืออย่างหนัง parasite ที่มีฉากที่ฝนตกแต่บ้านคนที่มีฐานะบอกว่าดีจังฝนตกทำให้หลับสบาย อากาศดี นั่งมองฝนตก แต่คนที่ฐานะยากจนในเรื่องต้องรีบกลับบ้านไม่เก็บของเพราะน้ำจะท่วมบ้าน  

ปัญหาของการมองโลกในแง่เดียว

 

เราจะมองโลกในแง่ของความเป็นจริงได้ยังไง

 Realistic ความจริง สามารถหาเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ แต่พอมาในความชีวิตคนเราแล้ว การมองสิ่งต่าง ๆ มันยากมาก และการเลี้ยงดูต่าง ๆ สภาพแวดล้อม สังคมเป็นส่วนล่อลอมให้มองโลก

 

มองโลกในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ว “ความเป็นจริง = การเดินทางสายกลาง” เช่น เราเลิกกับคนนึงไปแล้ว แล้วมองในแบบ วิธีที่หนึ่ง เดี๋ยวเขาก็กลับมา เขายังรักเราอยู่

 

วิธีที่สอง เราเลิกกันแล้ว ขอเวลาทำใจ แล้วชีวิตต้องไปต่อ วิธีที่สาม เขาต้องมีคนอื่นภายในเร็ว ๆ นี้แน่เลย เรามันไม่ดี ความคิดทั้ง 3 แบบ เป็นความคิดที่แน่นอนต้องตีกันบ้างในหัวเร

 

แต่ถ้าแบบที่หนึ่งเราจะมีความคาดหวัง แล้วถ้าเขาไม่กลับมาเราก็จะเจ็บปวดสุด ๆ แบบที่สาม เรากำลังมองในแง่ร้ายและทำให้ตัวเองแย่สุด ๆ หรือเปล่า และในแบบที่สองคือการเดินสายกลางตามความเป็นจริง

 

แต่กว่าเราจะบรรลุมาแบบที่สองได้มันก็ต้องใช้เวลา การมองโลกตามความเป็นจริงค่อนข้างยาก แต่ถ้าหากว่าเรามีสติ เรารับรู้ว่าตอนนี้นะสถานการณ์ไหน เราหาข้อมูล

 

หาใครสักคนมาคอยช่วยดึงสติ การจะมองโลกในความเป็นจริงสามารถทำได้ และทำให้มีความสุขในระยะยาวด้วยนะ

 

 

ถ้าโลกความเป็นจริงมันโหดร้าย จะทำอย่างไรให้มีความสุขได้บ้าง

Resilience ความยืดหยุ่นทางใจ  มีอีกชื่อเรียกด้วยว่าเป็นพลังแห่งการ ฮึบ เหมือนกันว่าถ้าเรากำลังเจอวิกฤตกับตัวเรา หรือเจอปัญหาไรสักอย่างที่ค่อนข้างหนักหน่วง

 

ตัวของเราเองจะฉุด RQ: Resilience Quotient) ขึ้นมา ถ้าหากว่าเรามีเจ้า RQ (Resilience Quotient) ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์รุนแรง ก็สามารถเผชิญชีวิตได้อย่างมีสติ มีจิตที่มั่นคง

 

รับความจริงของชีวิตที่ต้องมีทั้งด้านดี และด้านไม่ดี เรียนรู้ที่จะล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ได้ RQ เป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนกันได้ 

 

 

how to develop RQ 

มีชื่อเรียกว่า “พลัง 3 ด้านต้านวิกฤต เมื่อเราเจอสถานการณ์ที่มันโหดร้าย”

 

 

 

 

ที่มา :

คิดบวก กับ โลกสวย เหมือนกันหรือไม่?

The Romanticism of Mental Illness on Social Media

เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดีพลังสุขภาพจิต

เปิดนิยาม Romanticize คืออะไร?

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก

 

 

ถ้าพูดถึง ความโดดเดี่ยว จะนึกถึงคำที่ อริสโตเติล บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ถ้าใครฝืนข้อนี้จะทำให้การใช้ชีวิตเหมือนขาดความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ทำให้คิดกับตัวเองตลอดว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์สามารถอยู่คนเดียวได้จริงไหมนะ และจะสามารถอยู่ได้ไหมถ้าไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรกับใครเลย Alljit Podcast

 

จากคำกล่าวของ อริสโตเติล ที่บอกว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ในสมัยก่อนที่ไม่มีความสะดวกสบายเท่านี้ทำอะไรก็ต้องทำเป็นกลุ่มคน

 

ล่าสัตว์ ย้ายถิ่นฐาน เพื่อความปลอดภัยของครอบครัว คู่ เพื่อน แต่เทียบกับสมัยนี้ที่นี้ความสะดวกสบาย การเดินทาง อาหารที่ไม่ต้องไปตามล่าหาเอง เป็นอะไรที่เอื้อให้คนใช้ชีวิตง่ายมากขึ้น

 

ปลีกวิเวกอยู่ลำพังได้ง่ายมากขึ้น แต่ยิ่งความสบายมีมากเท่าไหร่ทำไมถึงมีความเหงา ความโดดเดี่ยว เต็มไปหมดในความรู้สึก

ความโดดเดี่ยว คืออะไร 

Solitude  อ้างวาง,สันโดษ,ความโดดเดี่ยว  ถูกพบว่ามีการใช้กันเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 14 มาจากคำฝรั่งเศสเก่าที่สืบรากมาจากคำละติน solitudinem (Latin)

 

ที่แปลความได้ทั้ง ‘ความโดดเดี่ยว การอยู่คนเดียว สถานที่เปลี่ยว ที่ถูกทิ้งร้าง และในป่าเขาอันห่างไกลความเจริญ’ ซึ่งมาจากคำละติน solus ที่หมายถึง ‘ลำพัง’ หรือ alone

 

solitude ถูกใช้อย่างแพร่หลายมาก่อน loneliness โดดเดี่ยว เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปลายศตวรรษที่ 16 ในเวลานั้นหมายถึงการปลีกวิเวกหรือการออกมาอยู่เพียงลำพัง

 

ก่อนหน้าที่สองคำนี้จะแพร่หลาย คำว่า oneness ถือเป็นหนึ่งคำที่ใช้แทนภาวะของการอยู่คนเดียว

 

สภาวะการอยู่ลำพัง ความโดดเดี่ยว ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ไม่ได้ติดต่อสื่อสารกับคนอื่น ๆ สูญเสียสถานะภาพทางสังคมเป็นเวลานาน โดยที่คน ๆ นั้นอาจจะโดดเดี่ยวแบบที่ตั้งใจแยกตัวออกมา

 

หรืออาจจะไม่ได้ตั้งใจ งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า บุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม ส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุหรือผู้พิการ (แต่คนทุกวัยก็มีสิทธิเป็นกันได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะในยุคนี้)

 

และที่สำคัญถ้าใครที่ตกอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยวเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงด้านปัญหาสุขภาพและจิตใจอย่างมาก อาจพัฒนากลายเป็นซึมเศร้า ปัญหาการนอน สมาธิสั้น

ความแตกต่างระหว่าง Loneliness และ Solitude

solitude เป็นภาวะจำเป็นในยามที่มนุษย์เราใช้สร้างสรรค์ รวมถึงการทำความเข้าใจตนเองเมื่อต้องอยู่เพียงลำพังหรือปลีกตัวเองออกมาจากคนอื่น ๆ

 

โดดเดี่ยว เป็นจำนวนเวลาที่เราใช้กับจำนวนคนที่ใช้เวลาร่วมกัน หรือเวลาอยู่เพียงลำพัง ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก สามารถวัดค่าในเงื่อนไขที่เป็นความจริง 

 

Paul Tillich นักปรัชญาชาวเยอรมัน-อเมริกันเป็นอีกคนที่อธิบาย ในงาน The Eternal Now (1963) ได้กล่าวไว้ว่า “ภาษาของเราได้กำหนดความหมายสองด้านของการอยู่เพียงลำพังได้อย่างลึกซึ้ง โดยการสร้างคำว่า โดดเดี่ยว (loneliness) เพื่อแสดงความเจ็บปวดของการอยู่ลำพัง และคำว่า ‘สันโดษ’ (solitude) ขึ้นมาเพื่อแสดงชัยชนะให้กับการอยู่ลำพัง” 

 

Diego Zavaleta, Kim Samuel, และ  China Mills นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด “การที่บุคคลหนึ่งๆ มีความสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าในระดับใดก็ตาม (เพื่อน, กลุ่ม, ชุมชน, หรือสังคม) ทั้งในเชิงปริมาณและ/หรือเชิงคุณภาพที่ไม่เพียงพอ”

สภาวะ ความโดดเดี่ยว

การรับรู้ของบุคคลว่าตัวเองกำลังสูญเสียการเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ ในเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น นาย A เริ่มรู้สึกว่าเขากำลังห่างเหินกับเพื่อนคนอื่น ๆ ในกลุ่ม 

 

การห่างเหินดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นในหัวของ A  ถึงแม้ในความเป็นจริง คนอื่น ๆ จะติดต่อพบปะพูดคุยปกติ แต่ A คิดว่าทุกคนเริ่มห่างเหิน เท่ากับว่า A ได้อยู่ในสภาวะโดดเดี่ยวเชิงสังคมแบบอัตวิสัย

 

นักวิจัยส่วนมากยอมรับร่วมกันแล้วว่าจริง ๆ แล้ว สภาวะโดดเดี่ยวเชิงสังคมแบบอัตวิสัยที่พวกเราสัมผัสนี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกกันอีกอย่างว่า ‘ความเหงา’ (loneliness)

 

 

การที่ได้สูญเสียปริมาณและคุณภาพของสังคมของตน ไม่จำเป็นต้องรับรู้การสูญเสียความสัมพันธ์ดังกล่าวก็ได้

 

เช่น เพื่อนในกลุ่มรวมตัวกันแบนเพื่อนหนึ่งคน แต่เพื่อนคนนั้นเป็นคนที่ไม่สังเกต ไม่รับรู้ว่าเพื่อน ๆ กำลังแบนเขาอยู่ จึงเป็นสภาวะโดดเดี่ยวทางสังคมแบบภววิสัย

 

 

การเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ต้องเผชิญ ความโดดเดี่ยว อะไรบ้าง 

การระบายไม่ใช่ทางออกเหมือนตอนเด็ก ๆ แล้ว

ลองนึกย้อนกลับไปเราเลือกระบายความรู้สึกแบบไหนกัน? โทรไปร้องไห้กับเพื่อน เดินไปกอดแม่แล้วร้องไห้หรือเปล่า แล้วตอนนี้ยังคงทำเหมือนเดิมอยู่ไหม 

 

การระบายที่กล่าวไปข้างต้นอาจไม่ใช่ทางออกแล้ว หรือบางทีเราต้องคิดให้เยอะมากขึ้นว่าเรื่องนี้เราพูดกับคนนี้ได้นะ ถ้าย้อนกลับไปตอนเด็กประถม มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเราคงไปหากลุ่มเพื่อนเพื่อปรึกษา

 

ความโดดเดี่ยวของแต่ละรุ่นแตกต่างกันแต่ดูเหมือนกันตรงที่เราโหยหาเพื่อนมนุษย์เหมือนกัน แต่ความสามารถของคนสูงวัยจะยากกว่าคนหนุ่มสาวด้วยทางร่างกาย

 

ที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมได้ลื่นไหลเท่าตอนหนุ่ม ๆ เลยรู้สึกว่าการโดดเดี่ยวไม่ใช่จำเป็นว่าคือการอยู่คนเดียวนะ การมีคนอยู่ข้าง ๆ เราในตอนนั้นเราอาจรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกเหงาได้เหมือนกัน

 

 

โตขึ้นใช่ว่าปัญหาจะลดลง หรือแก้ปัญหาเก่งขึ้น 

เหมือนว่าเรามีภูมิคุ้มกันกับปัญหามากกว่าแต่ไม่ใช่ว่าเรามีภูมิคุ้มกันมากขึ้นที่จะแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น แต่เหมือนกับว่าเราต้องจัดการวางตัวยังไง 

 

เหมือนชีวิตต้องเรียนรู้ที่จะแก้ไขอยู่ตลอดเวลาสิ่งท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเกือบจะทุกวัน ความรู้สึกเคยคิดว่าโตขึ้นจะเก่งขึ้น แก้ปัญหาได้ดีขึ้นก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นซะทีเดียว

 

แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวขึ้น คงเป็นเรื่องที่เราต้องยืนรับมือ แก้ไขมันให้ไหว ด้วยตัวเอง ตัวคนเดียว แล้วผ่านมันไปให้ได้

 

 

การอยู่ในเมืองใหญ่ 

มีงานวิจัยที่คนอยู่ในเมืองใหญ่ ตึกสูง แล้วยิ่งรู้สึกเหงา ปริมาณคนที่อยู่เยอะคือคนแปลกหน้าที่เดินสวนกันไปมา ทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง โฟกัสแต่สิ่งที่อยู่ข้างหน้า ไร้ปฏิสัมพันธ์

 

ทำให้มีความรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น แต่งานวิจัยก็บอกมาว่าบางทีความรู้สึกโดดเดี่ยวในเมืองใหญ่ก็แก้ได้ด้วยการที่เรามี Interaction กับคนแปลกหน้าอาจจะยิ้มให้คนที่เดินสวนกัน เพื่อให้การอยู่เมืองใหญ่ไม่เปลี่ยวใจเกินไป

 

 

การย้ายที่อยู่

การย้ายที่อยู่จากที่ที่เราเคยมีปฏิสัมพันธ์ การเปลี่ยนที่อยู่ก็ทำให้เราห่างหาย ห่างเหินจากผู้คนไปเหมือนกัน จะมีทั้งคนที่เราติดต่อกันละบางคนกาลเวลาก็ทำให้จางไปด้วย

 

จากคนที่เราเคยสนิทกันมาก ๆ  พอกลับมาเจอ อาจจะไม่ได้รู้สึกว่าเหมือนเดิมอีกแล้ว

 

 

ต้องทำบางอย่างที่ไม่ได้อยากทำ แต่การโตเป็นผู้ใหญ่มันแค่หนีออกมาไม่ได้ 

ถึงแม้ว่าเรามีสิ่งที่ไม่อยากทำมากแค่ไหน อยากจะหนีมันไป แต่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีข้อจำกัดหลายอย่างในชีวิตมากที่เราลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วก็ต้องทำสิ่งนั้นต่อไป

 

ถ้าตอนเป็นเด็กเราอาจหาข้ออ้างเพื่อไม่ทำมัน ทำตามใจตัวเองได้มากกว่าตอนนี้ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทำเพื่อตัวเอง ทำเพื่อคนอื่น ทำเพื่อเข้าสังคม ทำเพื่อเป็นมารยาท

 

การโตขึ้นเราจะต้องทำหลายอย่างมาก ๆ จริง ๆ เหมือนเป็นการเอาตัวรอด มันอาจจมีบางจุดที่เราเลือกไม่ทำได้ บางจุดเราพลิกแพลงได้ บางจุดเราไม่อยากทำ แต่เราก็ต้องทำ 

 

 

การให้ความสำคัญกับสิ่งสิ่งนั้น 

สิ่งที่เราให้ความสำคัญ เราทุกคนล้วนให้คุณค่ากับสิ่งในชีวิตที่แตกต่างกันสิ่งต่าง ๆ จึงสร้างผลกระทบให้กับเราแต่ละคนได้ไม่เหมือนกันอย่างที่สุด เช่น การให้คุณค่าความสัมพันธ์แบบเพื่อน

 

ถ้าเรามีกระทบกันกับเพื่อน เพื่อนอาจจะไม่ได้คุย แน่นอนว่าความโดดเดี่ยวมันจะเกิดขึ้น เพราะเหมือนว่าเราแยกจากสิ่งที่เราให้ความสำคัญ 

 

 

การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 

คนไทย 80% กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต โดยในจำนวนนี้ คน Gen Z อายุ 18-24 ปี คือช่วงวัยที่รู้สึกโดดเดี่ยวมากที่สุด ซึ่งปัจจัยที่ทำให้คน Gen นี้ตกอยู่ในสภาวะดังกล่าวคือ การทำงาน การเรียน แรงกดดันจากเพื่อน และโซเชียลมีเดีย

 

รัฐบาลกรุงโซล คาดการณ์ว่า มีคนรุ่นใหม่กว่า 129,000 ในโซลที่กำลังอยู่ในสภาวะโดดเดี่ยว เนื่องจากไม่มีงานทำ มีปัญหาสุขภาพจิต และประสบความลำบากในการสื่อสารกับผู้อื่น

 

ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุก็เช่นกัน งานศึกษาแสดงให้เห็นถึงผู้สูงอายุ 60 ปี ที่มีความรู้สึกถึงความโดดเดี่ยวบางครั้ง หรือบ่อย ๆ มักจะมีอายุสั้นลง 3-5 ปี

 

 

ความโดดเดี่ยว ไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป

พอพูดถึงความโดดเดี่ยว การอยู่คนเดียว ความเหงา ฟังดูแล้วเหมือนเป็นคำที่ถูกมองในแง่ลบ แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่แง่ลบเสมอไป

 

ซึ่งจริง ๆ ก็ส่งผลเสียถ้าเราอยู่กับความโดดเดี่ยวนานเกินไป เพราะอะไรที่เกินไปมันก็ไม่ดีกับตัวเราและสุขภาพจิต สุขภาพกาย เราต้องหาจัดการหรืออยู่ร่วมกัน

 

การอยู่อย่างโดดเดี่ยวให้มีความสุข กับ การที่เราต้องออกไปมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบ้าง 

 

 

เวลาที่เราอยู่ด้วยตัวคนเดียว เราจะเลือกอะไรบางอย่างได้โดยที่ไม่ต้องมีเสียงจากคนอื่นมาทำให้เราสับสน หรือไขว้เขว ยิ่งเรารู้จักตัวเราเองมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้เราเข้าใจตัวเราเองมากขึ้น 

 

 

เมื่อเราได้ลองใช้เวลาอยู่กับตัวเองเงียบ ๆ คนเดียว จะทำให้รู้สึกมีความเห็นนอกเห็นใจ เข้าใจคนอื่นมากขึ้น อาจเพราะเวลาอยู่คนเดียวทำให้เราได้ทบทวนอะไรหลาย ๆ อย่าง มีความรู้สึกอยากตั้งคำถามกับตัวเองกับสิ่งที่ผ่านมาในชีวิต แล้วก็อยากถามสารทุกสุขดิบกับคนรอบข้างของเราด้วย

 

 

 

 

การอยู่คนเดียวทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีมากขึ้นรู้สึกสงบ

 

 

ทบทวนเป้าหมาย หาแรงบัลดาลใจ หยุดพักจากความวุ่นวายแล้วให้เวลากับชีวิตตัวเองมากขึ้น

 

 

เมื่อเราเรียนรู้ถึง ความโดดเดี่ยว อาจเป็นสัญญาณบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังโตขึ้นแล้วนะ เมื่อความรู้สึกนี้มาถึงแล้ว เราจะมีความรู้เหงาบ้าง เศร้างบ้าง

 

ว่าคนรอบตัวเราค่อย ๆ สูญหายไปทีละคนตามกาลเวลาแต่เมื่อเราเติบโตขึ้น ความสุขบางอย่างเราอาจจะต้องหาวิธีเติมเต็มด้วยตัวของเราเอง

 

เป็นความสุขที่เล็กน้อยแต่เติมเต็มเราได้สิ่งที่สำคัญคือเมื่อไม่ว่าเราจะเป็นแบบไหน เราต้องทำความค่อย ๆ เข้าใจและค่อย ๆ ยอมรับความรู้สึกของตัวเรา

 

ที่มา

คนรุ่นใหม่ตกอยู่ใน ‘สภาวะโดดเดี่ยว’ ไม่มีงานทำ สื่อสารกับคนอื่นลำบาก

เพราะเป็นมนุษย์ จึงไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพัง 

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก

 

 

Blue Monday  วันจันทร์ทีไร ไม่สบายใจทุกที… ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยทำงาน ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ชอบวันจันทร์ เป็นปกติไหมที่เราจะรู้สึกแบบนี้ ? และความรู้สึกแบบนี้จะสะสมกลายเป็นภาวะอื่น ๆ ได้ไหม ?

Blue Monday 

Blue Monday  ถูกขนานนามว่าจะเป็นวันที่คนเราจะเศร้าที่สุดของปี ในหนึ่งปีจะมีเพียง 1 วันเท่านั้น โดยเขาระบุว่ามันคือจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคมเท่านั้น  โดยคำคำนี้ถูกเขียนขึ้นครั้งแรกในบทความของ

 

บริษัทท่องเที่ยวที่ใช้ชื่อว่า Sky Travel เมื่อปี 2005 ซึ่งทีมการตลาดของบริษัท Sky Travel ได้ร่วมประชุมกับนักจิตวิทยา และไลฟ์โค้ชชาวอังกฤษที่ชื่อว่า Dr.Cliff Arnall จากมหาวิทยาลัย Cardiff University 

 

คำว่า “Blue Monday” และพยายามสร้างกระแสของสิ่งนี้นั้นก็เป็นเพราะความเชื่อที่ว่า ยิ่งผู้คนรู้สึกเศร้า และห่อเหี่ยวมากเท่าไร พวกเขาก็มีความรู้สึกอยากจะจองตั๋วไปเที่ยวมากเท่านั้น 

 

แต่สุดท้ายกระแสของ Blue Monday ก็ถูกเปิดเผยโดยนักจิตวิทยา Dean Burnett  ซึ่งออกมาต่อต้านกระแส Blue Monday และระบุว่าทฤษฎี Blue Monday นี้เป็นวิทยาศาสตร์เทียม

 

เว็ปไซต์ CNN  Health ก็กล่าวว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมเช่นกัน และยังเป็นการด้อยค่าอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าด้วยซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เผชิญภาวะซึมเศร้าจริง ๆ 

 

แต่ปัจจุบันเราก็ยังคงใช้อยู่ โดยไม่ได้มีความหมายเหมือนเดิมตั้งแต่คำนี้เริ่มต้นขึ้น โดยจะเปรียบเปรย Monday Blues คือ ความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากตื่นมาทำงานเมื่อวันจันทร์มาถึง

 

เพียงแค่นึกถึงวันจันทร์ก็จะรู้สึกเศร้า  เหนื่อยล้า ไม่อยากไปทำงาน เพราะปัญหาหลายอย่างทั้งปัญหาเรื่องการทำงาน เรื่องเพื่อนร่วมงาน เรื่องการใช้ชีวิตหรือปัญหาอื่น ๆ 

 

 

Sunday scaries

Sunday Scaries มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Sunday Blues, Sunday Syndrome หรือ Sunday Night Syndrome  เป็นที่รู้จักกันในชื่อความวิตกกังวล ความกลัว หรือความกังวลที่รู้สึกก่อนเริ่มสัปดาห์ใหม่”

 

Divya Robin, MHC, นักจิตอายุรเวทในนครนิวยอร์กเชี่ยวชาญเรื่องความวิตกกังวล อธิบายว่า”ไม่ใช่การวินิจฉัยความวิตกกังวลทางคลินิก แต่กำหนดประสบการณ์ที่หลายคนเผชิญเมื่อวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น”

 

ความรู้สึกไม่สบายใจมักจะปรากฏขึ้นเมื่อใกล้ถึงวันทำงานหรือสัปดาห์เรียน อาจเป็นครั้งคราวหรือต่อเนื่อง  และก็จะะมีบางอาการที่คล้าย ๆ กันหรือเกี่ยวข้องกัน และเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์

 

คือ Post-Vacation Blues ซึมเศร้าหลังไปเที่ยว หรือวันหยุดยาว และ Seasonal Affective Disorder (SAD) หรือ ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล 

 

 

ความรู้สึกหลงรักวันหยุดของชาวออฟฟิศ 

แน่นอนว่าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในวัยออฟฟิศอย่างเรา ๆ ที่ส่วนมากทำงานทุกวัน 5-6 วันต่อสัปดาห์ มันดูเหนื่อยล้า สะสม ทำให้เราเกิดความหลงรักวันเสาร์- อาทิตย์ เพราะมันคือวันหยุดที่เราจะได้พักผ่อน

 

แต่การที่เราทำงาน 5-6  วัน แค่ 2 วันมันคงไม่พอจริง ๆ ที่จะเยียวยาหัวใจ หรือฮีลใจชาวออฟฟิศได้ ซึ่งช่วงที่ผ่านมามายจะเห็นการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ หรือการที่ให้พนักงานได้ทำงาน 5 วันซึ่ง

 

เป็นการทำแบบ hybrid คือ การทำงานโดยการแบ่งการทำงาน ที่ออฟฟิศ และมีการ work form home ด้วย ก็สามารถทำให้เยียวยาจิตใจได้เหมือนกัน 

 

การทดลองการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ได้มีการทดลองทำกับบริษัท panasonic ในประเทศญี่ปุ่นบอกไว้ว่า การที่เอาแนวคิดทำงาน 4/7 หวังว่าจะช่วยสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้กับพนักงาน

 

“ความรับผิดชอบของเราคือการสร้างสมดุลในอุดมคติระหว่างรูปแบบการทำงานและวิถีชีวิตสำหรับทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลายของเรา เราต้องสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานของเรา”  Panasonic กล่าว

 

Panasonic หวังว่า วันหยุดที่เพิ่มขึ้นจะเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถนำไปทำประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานอาสาสมัครหรืองานเสริม

 

 

ความรู้สึกของชาวออฟฟิศที่บ่งบอกว่าเราควรหันมาใส่ใจสุขภาพใจแล้ว 

–  ไม่มีความสุขในการทำงาน รู้สึกเบื่อหน่ายทุกครั้งเมื่อถึงวันจันทร์

–  ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน จนนำไปสู่ความผิดพลาดในการทำงานแต่ละชิ้น

–  เริ่มรู้สึกไม่อยากมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือลูกค้า จนไม่มีสังคมในที่ทำงาน

–  ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานแต่ละชิ้น เพราะจิตใจไม่อยู่กับการทำงาน

–  เฝ้ารอแต่วันหยุดหรือเวลาเลิกงาน มองนาฬิกาทั้งวัน 

–  จิตใจเปราะบางขึ้น มีความรู้สึกอ่อนไหวง่ายกว่าปกติ ร้องไห้คนเดียวบ่อย

–  หงุดหงิดง่ายขึ้น อารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา

– รู้สึกหมดไฟในการทำงาน ซึ่งถือเป็นต้นเหตุสำคัญของการลาออก

 

 

ทำไมต้องเป็นสี blue เป็นสีอื่นไม่ได้หรือ

ทำไมเวลาเศร้าเราถึงจะใช้สีน้ำเงิน หรือ คำว่า feeling blue ข้อมูลจาก verywellmind ได้บอกถึงจิตวิทยาของสีน้ำเงินไว้ว่า Individual experiences have an important effect on the moods that colors can create

 

ประสบการณ์ส่วนบุคคลมีผลต่อสีต่าง ๆ อย่างถ้าสมมติถ้าเราเชื่อมโยงสีน้ำเงินกับเพื่อนที่มีพลังงานล้น ๆ  สีน้ำเงินในมุมมองของเราอาจเปลี่ยนไป ซึ่งที่มาของสีน้ำเงินกับความเศร้ามีหลายอย่างมาก

 

แต่ว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เราจะเห็นแล้วรู้สึก ว่า มันหม่น มันเศร้า แสดงถึงความห่างเหิน และเขาก็ยกตัวอย่างว่า สีน้ำเงินเป็นสีของยาพิษ

 

 

อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ? 

ถึงแม้มันจะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ แค่ไม่อยากไปทำงาน หรือไปเรียนวันจันทร์ แต่ในความไม่อยากของเรามันมีอะไรซ่อนอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นความเครียดสะสม ความวิตกกังวล ความเหนื่อยล้า 

 

ผลกระทบในด้านจิตใจเหล่านี้ก็ส่งผลต่อระดับการหลั่งฮอร์โมนของ ทำให้ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) หลั่งออกมาเยอะและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น อาการนอนไม่หลับ หลับยากกว่าปกติ,

 

มีอาการปวดเมื่อยตามตัว, ปวดหัวบ่อยขึ้น ซึ่งในระยะยาวอาการเหล่านี้อาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงร้ายแรงที่เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ อย่างที่เราได้ยินบ่อย ๆ ก็จะเป็นซึมเศร้า หมดไฟ หรือว่าภาวะสิ้นยินดี

 

 

เอาชนะ Monday Blue ได้อย่างไร 

1. Identify the problem 

เขาบอกว่า “The first thing to do is to ask yourself what’s wrong” เราต้องถามตัวเราก่อนว่าทำไมเราไม่ชอบวันจันทร์ เพราะอะไร จับจุดสาเหตุให้เจอ เช่น  บางคนไม่ชอบเพราะหัวหน้า

 

ไม่ชอบเพราะไม่อยากไปเจอเพื่อนร่วมงาน เพราะว่าถ้าเราหาสาเหตุเจอแล้วเราจะได้รู้ว่า สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับเรามันพอจะแก้ได้ไหม แล้วถ้าแก้ได้อะคือวิธีไหนดี ถ้ามันสะสมมาก ๆ เราอาจต้องเปลี่ยนงานใหม่หรือเปล่า

 

2. Dress for success 

ลองสวมชุดที่เรามั่นใจ ชุดใหม่ ในวันจันทร์ดู  แบบว่าสมมติเราไม่ชอบวันจันทร์ แต่เราได้ลองมีไอเทมอะไรใหม่ ๆ อาจช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความสนุกสนานให้วันจันทร์ได้ 

 

3.Make someone else happy

ชมเชยเพื่อนร่วมงานหรือคนแปลกหน้าคนอื่นระหว่างทาง การที่เราทำอะไรดีๆให้คนอื่นแน่นอนว่ามันจะส่งผลกับตัวเรา

 

4. เคลียร์งานที่ค้างให้เสร็จภายอาทิตย์ที่แล้ว 

เรื่องนี้เป็นเรื่องของการจัดการงาน และจัดสรรค์เวลาที่ดีในการทำงาน  ซึ่งบางคนอาจจะงานเยอะงานน้อยต่างกัน การหาวิธี หรือเครื่องมือที่ จะช่วยจัดการงานให้เป็นระบบ ระเบียบจะทำให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น

 

หากเราไม่มีงานค้าง การจะมาเริ่มต้นสัปดาห์แบบงานน้อย ๆ ก็จะช่วยสร้างความโล่งใจให้เราได้  และที่สำคัญก็อย่าอัดงานให้แน่นก่อนวันหยุด  WORK LIFE BALANCE 

 

5. สร้างวันจันทร์ให้เป็นวันพิเศษ

 เช่น วันจันทร์หลังเลิกงานจะเป็นวันชิว ๆ ของเรา หลังเลิกงานคือการได้ไปเดินห้าง เพื่อช้อปปิ้ง หรือแบบนัดแฟนว่าทุกวันจันทร์ฉันและเธอจะได้กินชาบูหม้อใหญ่ ๆ  เดินตลาดเพื่อหาซื้อของกินแบบจัดเต็ม

 

หรือ เป็นวันที่เราจะได้ทำบางสิ่งที่เราชอบอะไรก็ได้ สร้างให้ตัวเองตื่นเต้น หรือดีใจทุกครั้ง มันน่าจะค่อย ๆ สะกดจิตใจตัวเองให้รักวันจันทร์ขึ้นมานิดหนึ่ง 

 

ที่มา :

5 แนวคิดเปลี่ยน Mindset บอกลาอาการ Monday Blues 

Post-Vacation Blues ฮีลตัวเองหลังหยุดยาว

The Color Blue: Meaning and Color Psychology

Panasonic ในญี่ปุ่น

What Are Sunday Scaries?

What to know about the Monday blues

11 Ways to Beat the Monday Blues

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก

คำที่ได้ยินกันบ่อย ๆ “เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย” … จริง ๆ แล้ว เรียกว่าเป็นไบโพลาร์หรือเปล่า? ไบโพลาร์ มีลักษณะอาการอย่างไร มีสาเหตุมาจากไหน รักษาอย่างไร ตลอดจนคนรอบข้างที่อยู่ด้วยควรปฏิบัติตัวอย่างไร…

 

มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ หรือรับฟังได้ที่  Alljit Podcast

 

Bipolar Disorder หรือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว คือ ?

Bi แปลว่า สอง 

Polar แปลว่า ขั้ว 

อารมณ์โดยทั่วไปมีสองขั้ว แยกออกเป็น ขั้วเศร้า และ ขั้วดีด (สุขมาก หรือ หงุดหงิดมาก) 

 

คำว่าโรคไบโพลาร์ จึงหมายถึง การมีอารมณ์ทั้งสองขั้วที่มากเกินไป  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการมีขั้วดีด เพียงอย่างเดียว ก็เรียกว่า โรคไบโพลาร์ได้เช่นเดียวกัน  และถ้ามี ขั้วเศ้ราเพียงอย่างเดียวจะเรียก โรคซึมเศร้า

 

ถ้ามีทั้ง  ขั้วเศร้า และ ขั้วดีด จะเรียกว่าไบโพลาร์ หรือ มีขั้วดีดเพียงอย่างเดียว จะเรียกโรคไบโพลาร์ 

 

การหงุดหงิดเช้า เศร้าเย็น อาจไม่ได้หมายความว่าเราเป็นไบโพลาร์ เพราะเรามีอารมณ์ และเรามีสิทธ์ที่จะ มีอารมณ์เศ้รา อารมณ์ดี หงุดหงิด สลับกันไปมาอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติของมนุษย์

 

และอุปนิสัยของแต่ละคน ร่วมไปถึง ฮอร์โมน และความเครียด หากจะเป็นไบโพลาร์ คือต้องเข้าเกณฑ์วินิจฉัยของโรค เช่น ขั้วเศร้าก็ต้องเศร้าด้วยความรุนแรงที่มากพอและนานพอ 

 

 

ลักษณะอาการของไบโพลาร์มีอะไรบ้าง

ขั้วดีด คือ อารมณ์ดีมากผิดปกติ หงุดหงิดมากผิดปกติติดต่อกัน และอาจจะมีอาการร่วมชวนสังเกตเพิ่มเติมเช่น ความคิดแล่นเร็ว ยับยั้งชั่งใจยาก สมาธิลดลง ควบคุมตัวเองยาก ใช้จ่ายแบบเกิน

 

ขั้วเศร้า คือ เศร้ามาก เฉื่อยชา ซึม ๆ  ไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เป็นต้น 

 

 

สาเหตุของ ไบโพลาร์ คืออะไร 

สาเหตุมาจากสารสื่อประสาทในสมองถูกกระตุ้น ส่งผลให้สมองทำงานผิดเพี้ยนไป ส่งผลออกมาทางอารมณ์และการแสดงออก 

 

 

รีเช็คตัวเองอย่างไร 

สังเกตควมผิดปกติดังอาการข้างต้นที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่อย่าเพิ่งตัดสินให้เข้าไปพบผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด 

 

 

โรคซึมเศร้า กับ ขั้วเศร้า ของไบโพลาร์ต่างกันไหม

คล้ายกันมาก แต่ต้องดูว่ามีขั้วดีดมาปะปนด้วยไหม เช่น บางคนเข้ามาพบหมอ ซักประวัติแล้วพบว่ามีอาการซึมเศร้า แต่เพิ่มคำถามสุดท้ายว่าในช่วงนี้มีอาการที่เรียกว่าขั้วดีดบ้างไหม หากมี คำวินิจฉัยจะเปลี่ยนทันที 

 

 

การรักษาทำได้อย่างไร

1.  รักษาทางชีวภาพ คือ การรับประทานยาตามที่หมอสั่ง

2. จิตวิทยา คือ การพูดคุยโดยดูว่าคนนี้มีความคิดอะไรทางจิตใจซ่อนอยู่

3. สังคม คือ การจัดสรรค์สิ่งแวดล้อมที่อยู่ให้เหมาะสม ส่งเสริมต่อการรักษา

 

 

คนใกล้ชิดจะช่วยดูแลอย่างไรได้บ้าง

1. พามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้

 

2. ตระหนักไว้ว่าเขาคือผู้ป่วย พฤติกรรมที่เข้าแสดงออกมันเกิดแค่ชั่วขณะหนึ่งที่ตัวโรคกำเริบ หากอาการของโรคสงบลงแล้ว เขาอาจจะรู้สึกผิดก็ได้ อย่าไปตำหนิต่อว่าเพราะคนเราป่วยได้ 

 

 

ผู้ดูแล ต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี 

ไม่ต้องเอาตัวเองไปผูกกับเขา ให้รู้ตัวเองว่าตอนนี้เรากำลังแย่ และสิ่งที่เรากำลังรู้สึกแย่ เพราะเราได้รับผลกระทบจากคนใกล้ตัวที่ป่วยด้วยอาการอะไรก็แล้วแต่ ให้มองว่านั่นคือส่วนของเขา

 

และนี่คือส่วนของเรา มาตูต่อว่าเราจะดูแลหัวใจตัวเองได้อย่างไรบ้าง ด้วยวิธีไหนบ้าง  ที่จะทำให้เราสบายใจมากขึ้น และมีแรงกลับไปดูแลผู้ป่วยต่อได้ 

 

 

ไบโพลาร์ รักษาให้หายได้ไหม

ไบโพลาร์ สามารถรักษาให้หายได้ โดยการรับประทานยา และรับการดูแลทางจิตวิทยา ก็จะทำให้อาการดีขึ้น และหายได้ 

 

สุดท้าย อย่านำคำว่า ไบโพลาร์ มาใช้ฟุ่มเฟื่อย เพราะคำว่าไบโพลาร์ เป็นชื่อโรคหนึ่ง ซึ่งมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่สบายและได้รับความทุกข์จากโรคนี้

 

และการที่เราเอาชื่อโรคนี้มาเป็นคำที่ใช้พูดกับเพื่อนเป็นปกติ นำมาใช้เป็นคำต่อว่า ด่าทอ วิพากวิจารณ์ เหมือนเป็นการทำร้ายคนกลุ่มหนึ่งที่กำลังป่วยด้วยโรคนี้ 

 

สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog

“ไม่มีอะไรต้องขอโทษ เพราะการเป็นเพศทางเลือกไม่ใช่เรื่องผิด” Heartstopper เธอทำให้ใจฉันหยุดเต้น

 

เป็นซีรีส์ที่เกี่ยวกับ LGBTQ+ ที่สะท้อนมุมมองอีกหลาย ๆ มุมมอง ผ่านตัวละคร ที่มีความหลากหลายอยากให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ และรักกับเรื่องนี้ไปพร้อม ๆ กันกับเรา

 

กำกับโดย : อูรอส ลิน

 

ภาพยนตร์แนว : โรแมนติก

 

 

Heartstopper เธอทำให้ใจฉันหยุดเต้น

ความรัก LGBTQ การออกมา come out  บอกความรู้สึก เรื่องเพศกับความชอบ การบูลลี่กันในโรงเรียน เรื่องราวของ ชาร์ลี กับ นิก ที่เริ่มรู้จักกันในรั้วโรงเรียน ทั้งคู่มีความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน

 

แต่ความรู้สึกดี ๆ ก็มาพร้อมกับความสับสน ความรู้สึกว่าเราชอบอะไรกันแน่ การต่อสู้ดิ้นรน ผ่านการแกล้ง และการต่อสู้ที่จะออกมาบอกความรู้สึกของตัวเอง เป็นซีรีส์ที่มีเรื่องของการ Coming Of Age

 

การเติบโตของตัวละคร ที่ค้นหาตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นการตีแผ่ที่ไม่ใช่ในแง่ที่ดราม่าอย่างเดียว แต่ในเนื้อเรื่องสอดแทรกข้อคิดในแง่ดี ดูแล้วสามารถอมยิ้มตามหนังไปได้เรื่อย ๆ ผ่านตัวละคร 🥰

ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTQ+

ถึงแม้ว่าโลกของเราจะหมุนไปอย่างรวดเร็ว แต่เรื่องของการยอมรับความแตกต่าง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ LGBTQ+ ยังมีบางกลุ่มที่เข้าใจแบบผิด ๆ หรือไม่ว่าจะเป็นภาพจำว่าคนกลุ่มนี้ต้องตลก

 

คนกลุ่มนี้ต้องประสบความสำเร็จ คนกลุ่มนี้ต้องเสียงดัง ปากจัด กล้าแสดงออก ซึ่งการเป็น LGBTQ+ ก็เหมือนคนทั่วไป คนเท่ากัน ที่สามารถมีความรู้สึกต่าง ๆ ได้ เศร้า เสียใจ ผิดหวัง ขี้อาย

 

นอกจากนี้ยังมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมในการเรียกผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือการที่ไม่ยอมรับว่าการแปลงเพศ ข้ามเพศ ว่าอีกคนได้กลายเป็นเพศที่เขาต้องการจะเป็นแล้วอีกด้วย

 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจได้ ขอบคุณข้อมูลจาก arts.chula.ac.th

 

 

 

ตัวละคร

ชาร์ลี

เด็กหนุ่มขี้อาย เป็นคนเงียบ ๆ แล้วเขาได้ออกมา come out ว่าชอบผู้ชายทำให้คนรอบข้างบูลี่ ต่อสู้ดิ้นรถกับสังคมที่ไม่ให้การยอมรับกับการเป็นเพศทางเลือก

 

นิก เนลสัน

หนุ่มรักบี้สุดฮอต  ของโรงเรียน ใจดี สุภาพ ไม่เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ในชั้นเรียนที่ชอบแกล้ง ชอบบูลี่เพื่อน จนวันนึงมาเจอกับชาร์ลีในคาบเรียน ได้ทำความรู้จัก และพัฒนาจนเขาเกิดความสับสนกับตัวเอง

 

*gay crisis วิกฤตความสับสนทางเพศ เพราะว่าในตอนเด็กเขาชอบผู้หญิง ทำให้เกิดความสับสน 

ข้อคิด

“ไม่มีอะไรต้องขอโทษเพราะการเป็นเพศทางเลือกไม่ใช่เรื่องผิด” คำพูดของ นิกส์ ที่ดีมาก ๆ เพราะการที่เราชอบแบบไหน เป็นอะไร ไม่ใช่ความผิดเลย

 

ไม่ต้องออกมาขอโทษหรือพิสูจน์ตัวเองว่าการที่เป็นแบบนี้คือเรื่องที่ผิด และอีกคนพูดนึงที่ชอบมาก ๆ คือ “ไม่จำเป็นต้องเก่งหรือพิสูนจ์อะไร” ฉันแค่เป็นอะไรสักอย่าง ชอบใครสักคน

 

และการที่ตัวละคนเกิดการตั้งคำถามกับตัวเอง ได้เปลี่ยนตัวเอง เปลี่ยนกลุ่มเพื่อน  พอเราได้เจอใครบางคนเหตุการณ์อะไรบางอย่าง อาจทำให้เราเปลี่ยนไป

 

จากในเรื่องความรักที่ดีจะทำให้เรารักตัวเอง การเป็นโซเชียลซัพพอร์ตให้ใครสักคน ใส่ใจคนรอบข้าง อาจทำให้วัยร้าย ๆ ของใครบางคนเป็นวันดี ๆ เลยก็ได้

 

 

 

เกร็ดความรู้

 

 

เรากำลัง ติดโซเชียล มากเกิดไปหรือเปล่า ? การเล่นโซเชียล ดูคลิปสั้น เลื่อนฟีดบ่อย ๆ ส่งผลกระทบทำให้เรารอไม่เป็นจริงไหม ? ข้อดีและข้อเสียของการเล่นโซเชียลมีอะไรบ้าง ?

 

แล้วถ้าเด็ก ๆ น้อง ๆ ที่บ้านเรามีอาการหงุดหงิดจากการเล่นโซเชียลเราทำอย่างไรดี Alljit Podcast

 

 

 

กำลังเสพ ติดโซเชียล (Social Addiction) อยู่หรือเปล่า?

1. สิ่งแรกที่ทำตอนตื่น คือ เช็คโซเชียลมีเดีย

2. ใช้โทรศัพท์ระหว่างทำกิจกรรมอื่น เช่น กินข้าว ทำงาน เรียน 

3. กระสับกระส่าย หงุดหงิดทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย 

4. กระวนกระวายใจเมื่อไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้หรือเเบตหมด (ใช้ไปด้วย ชาร์จไปด้วย)

5. ใช้เวลามากมายในการคิดและวางแผนโพสต์ รวมถึงเช็คเอนเกจเม้นต์หลังโพสต์

6. คิดว่าได้ยินเสียงโทรศัพท์ทั้งที่จริงๆ แล้วมันไม่ได้มีเเจ้งเตือนอะไรเลย

7. ละเลยงานอดิเรกที่เคยทำและเพิ่มงานอดิเรกใหม่ขึ้นมาคือไถโทรศัพท์

 

ไม่ว่าจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อกับเพื่อน ๆ  ดูคลิปเพื่อเพิ่มความบันเทิง หรือเล่น “ฆ่าเวลา” แต่การเล่นบ่อย ๆ อาจทำไปสู่การเสพติดได้ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้งานอดิเรกที่ดูไม่มีพิษมีภัยกลายเป็น “สิ่งเสพติด”

ทำไมถึงเสพ ติดโซเชียล?

1. โดปามีน : เมื่อเข้าใช้งานแอพต่าง ๆ สารโดปามีนในสมองจะเพิ่มขึ้น (สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสุข) เมื่อได้รับโดปามีนมากขึ้น

 

สมองจะติ๊กถูกว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมให้รางวัลที่ควรทำซ้ำ และโดปามีนอาจเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อเราโพสต์รูปหรือข้อความของตัวเอง แล้วได้รับการตอบรับดี  ทำให้เกิดอาการติด (เหมือนสารเสพติต)

 

2. เบี่ยงเบนความสนใจ : โซเชียลมีเดียอาจเป็นสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อรู้สึกโดดเดี่ยว ยิ่งใช้งานมากเท่าไหร่ สมองจะยิ่งจดจำและบอกเราว่านี่เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยลดความเหงาได้ 

 

หรือเบี่ยงเบนตัวเรามาจากความเครียดที่กำลังเผชิญ เป็นกิจกรรมคลายเครียดอย่างหนึ่งได้

 

3. จากเว็ปไซต์ BBC  บอกว่า ในปี 2549 Mr.Raskin วิศวกรเทคโนโลยีชั้นนำ ได้ออกแบบ การเลื่อนที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของแอพจำนวนมากที่ตอนนี้ถูกมองว่าเป็นการสร้างนิสัยติดมือถือ 

 

 

โซเชียลทำให้รอไม่เป็นจริงไหม

มีส่วนที่คิดว่าจริงและไม่จริง เพราะถ้าต้องให้รออะไรสักอย่าง เชื่อว่าทุกคนสามารถรอได้ ไม่ได้หมายความว่าการที่เล่นโซเชียลเเล้วจะรอไม่ได้เลย

 

แง่นึงของคำว่า “รอไม่เป็น” คือ ร้อนใจเมื่อต้องรอ  การที่รอดาวน์โหลดแล้วกระวนกระวายใจหงุดหงิด อาจจะสื่อถึงคำว่า รอไม่เป็น 

 

หรือการโซเชียลเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันทำให้เรารออยู่เฉย ๆ ไม่ได้ เช่น รออาหารต้องเล่นมือถือ รอขึ้นรถเมย์ต้องเล่นมือถือ รออะไรก็ต้องเอามือถือคนอื่นขึ้นมา 

 

ซึ่งหากให้รอเฉย ๆ เราก็อาจจะกระวนกระวาย หงุดหงิด รู้สึกว่านานมาก ๆ ก็ได้ 

 

 

เด็ก และ โซเชียลมีเดีย

เด็กที่ถูกเลี้ยงดูมากับการใช้โทรศัพท์หรือโซเชียล  

 

มิเชล มานอส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ของเด็ก อธิบายว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สมองของเด็ก ๆ เริ่มคุ้นชินกับคลิปที่มาไวไปไวมาก ๆ

 

แล้วสมองก็จะเกิดอุปสรรคที่จะเรียนรู้โลกแห่งความเป็นจริงที่สิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เคลื่อนผ่านเร็วเหมือนอย่างกับในโลกดิจิทัล 

 

 

มีอาการที่เรียกว่า “Tiktok Brain” คือ พฤติกรรมสมองของเด็กที่ดูคลิปสั้นมากเกินไป จนทำให้สมาธิสั้น คำนี้มาจากบทความของ Wall Street Journal (WSJ)

 

เจมส์ วิลเลียมส์ นักจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า “มันเหมือนกับการที่เราปล่อยให้เด็ก ๆ อยู่ในร้านขนม กินขนมในร้านเท่าไหร่ก็ได้

 

แล้วพอวันหนึ่งเราบอกให้เด็ก ๆ มากินผักสักจาน พวกเขาก็จะปฎิเสธมัน” การเปรียบเทียบนี้ สื่อถึงการที่พ่อแม่ปล่อยให้เขาดูคลิปสั้นมากเกินไป

 

การจะบอกเขาว่าให้จดจ่อกับการเรียน 1 วัน ดูหนัง 1 เรื่องยาว ๆ คงเป็นเรื่องยาก

สมาธิสั้นแท้ และสมาธิสั้นเทียม 

โรคสมาธิสั้นเทียมมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้นทุกอย่าง แต่ต่างกันที่สาเหตุ เพราะโรคสมาธิสั้นเทียมจะไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของสมองเหมือนโรคสมาธิสั้น

 

แต่เกิดจากพฤติกรรมบางอย่างที่เมื่อทำบ่อย ๆ แล้วจะทำให้เราเสียสมาธิในระยะยาวอย่าง เช่น การเล่นมือถือ

ข้อดีและข้อเสียที่ตรงข้ามกัน

1. สะดวกสบาย / รอไม่เป็น

เราสามารถติดต่อกันได้สบายมาก อยู่คนละซีกโลกก็สามารถติดต่อกัน วิดีโอคอลกันให้หายคิดถึงได้ เราสามารถรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสงสัยได้แบบไม่ต้องไปห้องสมุดแล้วค้นหาหนังสือทีละเล่ม

 

นี่คือความสะดวกสบาย แต่กลับกันเลย ความสะดวกสบายนี้อาจจะทำให้เรา ทนรอสิ่งที่ต้องใช้เวลานานไม่ได้ เมื่อก่อนการดูการ์ตูนที่ชอบ เราต้องรอนะ กว่าจะได้ดู รอวันเสาร์ ต้องตื่นเช้า

 

ข้ามเรื่องที่ไม่ชอบก็ไม่ได้ แต่ปัจจุบันไม่ต้องรอเลย เเค่พิมพ์ค้นหาก็เจอแล้ว ไ่ชอบก็เเค่เลื่อน ชีวิตง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่ในความเป็นจริงมันก็มีเรื่องที่ต้องรออยู่เหมือนกันนะ

 

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness Syndrome) เกิดขึ้นหลังจากที่อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทุกอย่างทำได้อย่างสะดวกสบายและไวมาก

 

ไม่ว่าเป็นการค้นหาสิ่งที่สงสัย เล่นโซเชียล การเลื่อนคลิปที่ไม่ชอบ หรือค้นหาคอนเท้นต์ที่ชอบ ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนที่เสพติดการเล่นโซเชียล

 

จากคนที่ใจเย็น สามารถรอบางสิ่งบางอย่างได้ดี กลายเป็นคนใจร้อน หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย รอไม่เป็นแม้แต่เรื่องเล็กน้อย เช่น รอการดาวน์โหลดรูปภาพนาน ๆ

 

หรือหงุดหงิดเมื่อคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือค้าง ทำให้กลายเป็นคนไม่รอบคอบ ไม่ใช้เวลาคิดหรือตัดสินอะไรให้ละเอียด พอมีเรื่องอะไรที่ต้องการคำตอบหรือแม้กระทั่งหาของไม่เจอจะรีบถามคนอื่น

 

 

2.เชื่อมต่อเรากับคนอื่นๆได้ง่าย/ ละเลยความสัมพันธ์ในชีวิต “จริง”

ข้อดีคือ เชื่อมต่อกับคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น ดูสตอรี่ไอจีเพื่อรับรู้ชีวิตคนอื่น ๆ วันนี้เขาทำอะไรไปที่ไหน แต่ด้านตรงข้ามคือ ตัดขาดลดปฏิสัมพันธ์และสื่อสารระหว่างคนรอบข้าง

 

ภาพของการเล่นโทรศัพท์ระหว่างมื้ออาหาร ดูเป็นภาพที่คุ้นชินกันมากๆ ทั้งที่เมื่อก่อนการกินข้าวกับที่บ้านเป็นช่วงเวลาแลกเปลี่ยนความรู้สึกกันและกัน

 

3. รู้ข้อมูลข่าวสารได้ไว/แต่ขาดความสามารถในการเรียนรู้

ในโซเชียลข่าวจะไวมาก รู้ทันข่าวเกือบทุกข่าว บางครั้งก็ไวยิ่งกว่าข่าวในทีวี แต่เราอาจจะคุ้นเคยกับการอ่านอะไรสั้น ๆ ไม่อ่านข้อมูลทั้งหมด

 

หรือถ้าเป็นโพสต์ยาวๆก็อ่านแบบไม่ละเอียด ความถูกต้องของการรับรู้ก็อาจจะผิดเพี้ยนไป

 

 

4. เพิ่มความรู้สึกดีกับตัวเอง / เปรียบเทียบ ไม่พอใจในชีวิตตัวเอง

ถ้าเราลงรูปหรือโพสต์ข้อความเเล้วคนมากดไลค์ ชมเรา เราก็จะรู้สึกดี เหมือนได้รับการยอมรับจากคนอื่น แต่กลับกันเลยถ้าเราลงไปแล้วไม่มีคนมารีแอคอะไรเลยละ

 

เราจะรู้สึกยังไง เพราะบางคนก็เอาความรู้สึกไปผูกกับยอดเอนเกจเม้นท์ อีกแง่นึงที่อยากแชร์คือ การที่เราเห็นชีวิตคนอื่นได้ง่ายก็ทำให้เราเปรียบเทียบและไม่พอใจกับชีวิตตัวเองได้ง่ายเช่นเดียวกัน

 

5. เป็นเครื่องมือทำหากิน ซื้อของ ขายของ /การถูกหลอก ล่อล่วง จากมิจฉาชีพ

สื่อสังคมออนไลน์สามารถเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับสิ่งที่ดี ช่วยให้ผู้คนติดต่อกันได้แม้จะอยู่ห่างไกลกันหลายพันไมล์ สื่อสารด้วยความเร็วที่เกือบจะทันที ขายของได้ ซื้อของได้ง่าย

 

 

 

เล่นอย่างไรให้ดี

การใช้มือถือเพื่อเป็นตัวช่วยที่เป็นประโยชน์ในการหาความรู้ หรือ กำหนดเวลาในการโฟกัส ใช้แอพเป็นตัวช่วยในการอ่านหนังสือ เป็นการใช้แอพเพื่อช่วยให้เราโฟกัสกับการอ่านหนังสือให้ได้นานมากขึ้น

 

กำจัดสิ่งเร้า เพิ่มบรรยากาศให้เหมาะกับการเรียนรู้และกระตุ้นให้เราอยากอ่านหนังสือ เช่น Forest แอพช่วยให้เราคอนเนคกับธรรมชาติ เมื่อเราตั้งเวลาว่าจะไม่เล่นมือถือ

 

ต้นไม้จะเริ่มถูกปลูกโดยอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าเราออกจากแอพต้นไม้เราจะไม่โต ต้องเริ่มต้นใหม่ ปลูกไปเรื่อย ๆ ถ้าเราทำตามเวลาได้ครบโดยไม่เล่นมือถือเลย เราจะได้เงินตอบแทนมาด้วย

 

 

 

 

ในส่วนของผู้ปกครองที่จะลดการเล่นโซเชี่ยลของเด็ก ๆ จากข้อมูลของ NY time กล่าวว่า ผู้ปกครองอาจต้องนั่งลงกับลูก ๆ และสร้างข้อตกลงในการใช้เทคโนโลยีโดยสรุปรายละเอียดต่าง ๆ

 

เวลาที่เด็ก ๆ สามารถใช้หน้าจอได้ และนานเท่าไหร่ หรือ เด็กเล็กอาจดูสื่อได้ก็ต่อเมื่อผู้ปกครองอยู่ด้วย บางทีสิ่งสำคัญที่สุดคือพ่อแม่ควรพูดคุยกับลูก ๆ เป็นประจำเกี่ยวกับหน้าจอและโซเชียลมีเดีย

 

ถามพวกเขาว่าพวกเขากำลังดูอะไรและสนใจอะไร และแลกเปลี่ยนกับลูก ๆ อธิบายถึงความเป็นจริง และเข้าใจความเป็นจริงในสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย ลองเล่นให้เป็นเวลา 

 

หากิจกรรมอย่างอื่นทำแทนในช่วงเวลาที่เราแบ่งเอาไว้ กิจกรรมที่ไม่ต้องใช้โซเชียลมีเดีย เช่น วาดรูป ทำกับข้าว รดน้ำต้นไม้ ออกกำลังกาย มันคือการเปิด “silent mode” ให้กับตัวเอง 

 

อ่านบทความอื่น ๆเพิ่มเติม ได้ที่นี่

 

ที่มา

โรคทนรอไม่ได้

เหรียญสองด้านของโซเชียลมีเดีย

ทำความรู้จัก Tiktok Brain ปล่อยเด็กดูคลิปสั้น พาสมาธิสั้น-ความจำสั้น

สมาธิสั้นเทียม

Social media apps are ‘deliberately’ addictive to users

What is social media addiction?

 

 

 

 

 

 

ชีวิตของเรามี การเริ่มต้นใหม่ ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตเข้ามาทักทายเสมอ  และการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งจะมีความรู้สึกของความ ‘กลัว’ พ่วงมาด้วย 

 

กลัวว่าจะไม่มีความสามารถในการเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ ๆ หรือกลัวที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างที่ควรจะเป็น Alljit Podcast

 

 

การเริ่มต้นใหม่

การเริ่มต้นใหม่ต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้ชีวิตได้เติบโต ได้มูฟออนจากสิ่งเก่า ๆ ทั้งดีและไม่ดี  แต่สิ่งที่ยากกับการเริ่มต้นใหม่คือความเปลี่ยนแปลง

 

เมื่อพูดถึงความเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราเจอการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้ง ถ้านึกให้เห็นภาพ คงเป็นการเลื่อนระดับชั้นการเรียนตามอายุ การเปลี่ยนผ่านการทำความรู้สึกกับผู้คนในช่วงวัยของชีวิต

 

หรือแม้แต่การที่เรานอนในคืนนี้แล้วตื่นมาวันใหม่ก็นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน

 

 

ความรู้สึกกลัว การเริ่มต้นใหม่ การเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงมักจะให้อะไรใหม่ ๆ กับเราเสมอ แต่ก่อนที่เราจะรู้สึก ดีใจ ตื่นเต้น เสียใจ แน่นอนว่าต้องมีความกลัว ความกังวล เข้ามาด้วย ทำไมเราถึงรู้สึก ‘กลัว’ อาจเป็นเพราะความไม่รู้

 

ไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่าเราต้องเจอกับอะไร หรือกลัวเพราะสิ่งที่เราวาดฝัน คาดหวังไว้ไม่เป็นอย่างที่ใจเรานึกคิด ไม่ผิดที่ทุกคนจะรู้สึกถึงความสับสน วิตกกังวล กับการเปลี่ยนแปลง

 

แต่ในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงมันสามารถสร้างพลังใจและความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงมีทั้งดีและอาจจะมีบางที่มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น แน่นอนว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของชีวิตที่ต้องเกิดขึ้น

 

ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะใช้เวลาในการปรับตัวหรือเตรียมใจรับมือกับการเริ่มต้นใหม่ได้อย่างไร 

รับมือกับ การเริ่มต้นใหม่

 

 

การเริ่มต้นใหม่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องลืมเรื่องเก่า ๆ ที่เคยผ่านมา แต่เราสามารถเลือกเก็บสิ่งที่ผ่านมาเป็นประสบการณ์ แรงบัลดาลใจ ในการใช้ชีวิตที่ใหม่ ให้ดีกว่าเดิม ได้ที่นี่

 

 

ความสัมพันธ์ Toxic Relationship เป็นอย่างไร? ถ้าตอนนี้ความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ทำให้เราทุกข์ใจมากกว่ามีความสุข แบบนี้เรียกว่า Toxic ไหม

 

อยากออกมาทำอย่างไรดี และถ้าตัวเราเป็นฝ่ายที่เริ่ม Toxic กับคู่ก่อนเราจะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไรบ้าง . .

 

มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂 หรือรับฟังได้ที่  Alljit Podcast

 

ความสัมพันธ์ Toxic คืออะไร 

คำว่า Toxic ถ้าเป็นแบบเป็นภาษาอังกฤษโดยไม่อ้างอิงถึงจิตวิทยาแปลว่า ‘เป็นพิษ’ อยากให้นึกถึงมวลสารอะไรบางอย่างที่ทำให้เราไม่อยากอยู่ตรงนั้น

 

คล้ายกับความอึดอัด ไม่สุขสบายทั้งด้านจิตใจ ความสัมพันธ์ ชั้นบรรยากาศ 

คู่รักที่ดี ควรเป็นอย่างไร

เพราะความรักเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนกว่าที่เราคิด การที่เราอยากให้ความรักที่เรามีทำให้เรามีความสุข หน้าตาออกเป็นสีชมพู ซึ่งการใช้ชีวิตร่วมกันมันไม่ง่าย

 

ความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองไปด้วย คู่ชีวิตที่ซัพพอร์ตกันก็จะทำให้สุขภาพจิตเราดีไปด้วย สิ่งหลัก ๆ สำคัญในการเป็นคู่รักที่ดี การสื่อสาร กันสำคัญมาก

 

มีหลายคู่ที่เลิกรากันไป เพราะการสื่อสารที่ไม่ปรับเข้าหากัน มีอะไรไม่พูด พูดแต่สื่อสารคำแรง ๆ ออกไป จนกระทบกับความสัมพันธ์ การสื่อสารเป็นอันดับแรก ๆ ที่ต่างฝ่ายต้องยอมลดความเป็นตัวเอง

 

เพื่อที่จะให้ความสัมพันธ์ได้ไปต่ออย่างราบรื่น

 

 

อะไรคือสัญญาณของ ความสัมพันธ์ Toxic 

 

 

รีเช็คตัวเองอย่างไรว่าเราเป็นฝ่ายที่ Toxic

 

 

เหตุผลที่ทำให้คนยอมอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic 

ทำอย่างไรเมื่อเหตุผลคือ อยู่เพื่อลูก

ต้องถามตัวเองว่าเป็นความต้องการของเราหรือลูก ถ้าเราอยู่ในฐานะของพ่อแม่แล้วต้องอยู่เพื่ออดทน ต้องเห็น แม่ร้องไห้ พ่อเสียใจ คงเป็นบ้านที่ไม่น่าอยู่

 

เราไม่มีทางรู้ว่าเราอดทนอยู่เด็กจะเติบโตมาแบบมีคุณภาพ สุขภาพจิตดี สิ่งสำคัญคือตอบให้ได้ว่าในการอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำร้ายครอบครัว

 

เราต้องการอะไรจากตรงนั้น เราสามารถบอกลูกได้ถ้าตอนนี้อยู่ด้วยกันแล้วแย่กว่าแยกกันอยู่

 

 

พราะอะไรคนที่รักกันถึงเลือกที่จะทำร้ายกัน 

“รักกัน” ไม่ได้หมายความว่ารักทั้งหมดของตัวตนที่มี ความรักอาจไม่ใช่ทุกอย่าง ของการใช้ชีวิตร่วมกัน ความรักเป็นเพียงจิ๊กซอว์อย่างหนึ่งที่ถูกวางไว้ แต่ไม่ได้เข้ากันได้ทุกอย่าง

 

บางคนรักตัวเองมากพอฉันรักแต่เพียงตัวเอง แต่อยู่กับเขาแล้วมันสบายใจจังเลย แล้วเราเผลอทำร้ายเขาไปด้วยนิสัยของเรา

 

รวมไปถึงเขาไม่มั่นคงในความสัมพันธ์ พอความกังวลถูกสั่นคลอนเราก็จะทำอย่างไรก็ได้ ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนรัก เพื่อให้เกิดความมั่นคงในความรัก 

 

สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog

ไม่กล้ารับคำชม จะทำอย่างไรดี ? การได้รับคำชมจากคนอื่นอาจเป็นเรื่องที่ทำให้หนักใจ อึดอัดใจ..บางครั้งกลับไม่รู้จะตอบไปว่าอะไร ถึงจะดีต่อใจทั้งคนพูดคนฟัง.. เพราะสำหรับหลายคนการได้รับคำชมไม่ใช่เรื่องน่ายินดี

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้ ไม่กล้ารับคำชม ?

สารบัญ

1. การตั้งคำถามกับความจริงใจ 

สำหรับคนที่มีพื้นฐานหวาดระแวง ไว้ใจคนอื่นยาก เวลาได้รับคำพูดดี ๆ จากคนอื่น บางสถานการณ์อาจทำให้รู้สึกว่า เขาชมไปงั้นงั้นรึเปล่า , เขามีจุดประสงค์อะไรแฝงหรือไม่ , เราเป็นอย่างที่เขาชมหรือเปล่า

 

2. การมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ

หากมี self-confidence ต่ำ เราจะรู้สึกว่า ไม่จริง เราไม่ได้ทำได้ดีขนาดนั้น เราไม่ได้ดูดีขนาดนั้น ทำให้เวลาได้รับคำพูดดีๆ จากคนอื่น มีแนวโน้มที่เราจะรู้สึกอึดอัด หนักใจ และตั้งคำถามกับคำชมที่เกิดขึ้น  

 

3. การที่ไม่สามารถรับรู้คุณค่าของตัวเองได้

self-esteem ที่ต่ำ จะทำให้เราด้อยค่าตัวเอง เราจะรู้สึกว่าเราเป็นใคร เราสมควรได้รับคำพูดนั้นจริงไหม เป็นความเจ็บปวดอย่างหนึ่งเช่นกัน เวลาที่เรามีความคิดไปในทางที่ดูถูกตัวเอง ตัวเองไม่ดีพอ 

 

ถ้าเรามี Low Self-esteem จะอึดอัดใจเวลาตอบรับคำชม ไม่สามารถยอมรับคำเชิงบวกและไม่ยอมเปลี่ยนการรับรู้ของเราเกี่ยวกับตนเองตามคำชมนั้นได้ จะคิดว่าตัวเองไม่คู่ควร (Self-worth)

 

เพราะ คำชมนั้นขัดแย้งกับสิ่งที่เรามองตัวเองในปัจจุบัน หากได้รับคำชมในวันที่เรารู้สึกว่าเรายังไม่ใช่ ก็ยากที่จะเชื่อและแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะยอมรับ ดังนั้นแม้แต่คำชมที่จริงใจและมีความหมาย ก็ยังดูเป็นคำโกหก

 

4. การเลี้ยงดู 

การถูกเลี้ยงดูมาแบบไม่เคยได้รับคำชมเลย จะทำให้เกิดความรู้สึกดีไม่พอ ด้อยกว่าคนอื่น รวมถึงการยอมรับคำชมจากคนอื่นเองก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน ประโยคที่ว่า “ชมมากเดี๋ยวเหลิง”

 

คิดว่าหลาย ๆ บ้านคงเคยได้ยินหรือได้ใช้ประโยคนี้ ลองย้อนกลับไปตอนที่ลูกเป็นเด็ก เริ่มหัดเดิน หัดพูด หัดทำนู่นทำนี่ด้วยตัวเอง พ่อแม่หยิบยื่นคำชมให้เขาอย่างง่ายดาย “พูดคำนี้ได้แล้วเก่งจังเลย”

 

“เดินเก่งจังเลย” แต่พอโตขึ้นมาช่วงวัยหนึ่ง การหยิบยื่นคำชมให้เขาในวันที่เขาทำสิ่งดี ๆ กลับเป็นเรื่องยากมาก เพราะ วัฒนธรรมที่ถูกส่งต่อว่า ชมมากไม่ดี ชมมากเดี๋ยวเหลิง… 

 

จากหนังสือ Dare to dream คว้าฝันสุดปลายเท้า ที่เขียนโดยเลนา มาเรีย เขากล่าวถึงการชมไว้ได้น่าคิดตามมาก ๆ ” อย่าชมมากไป เดี๋ยวเหลิง! ” แต่ใครจะเหลิงจริงจังเพียงเพราะได้รับคำชมเล่า

 

ฉันอยากบอกว่า การไม่มีใครชมต่างหากที่ทำให้เราทะเยอทะยาน อยากเป็นคนเด่นดัง จากนั้น ก็ห่อหุ้มตัวเองไว้ด้วยอัตตาและความหยิ่งทะนง

 

5. การตีความจากประสบการณ์ส่วนตัว

–  คำชมเป็นเหมือนการถูกตัดสิน  เช่น การ “เป็นคนฉลาด” เป็นคำชมที่ดูน่าภูมิใจ แต่ในบางครั้ง ความฉลาดของเขาที่มี ทำให้ความตั้งใจและความพยายามถูกมองข้าม  “เก่งแบบนี้ ไม่ต้องพยายามอะไรเลย”

 

เรื่องราวของคุณ Ohm Cocktail จากรายการ The Chair  ภาพลักษณ์ที่หลายๆคนให้กับเขาคือ “ฉลาด”  เขาบอกว่าการถูกมองว่าฉลาดบางครั้งก็ดีเพราะคำพูดเขาจะดูมีน้ำหนัก

 

แต่บางครั้ง คำว่าฉลาดก็ตามมากับคำว่าเจ้าเล่ห์ ทั้งที่คนอื่นอาจไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำลงไปเป็นความจริงใจที่ออกจากเราหรือวางแผนไว้ก่อนมากมาย  เพราะดูซับซ้อนกว่าคนปกติ

 

–  คำชมคือความกดดัน บางคำชมทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน  ลูกเก่งมากเลย ไม่เคยทำให้ผิดหวัง = ต้องสมบูรณ์แบบ ทำให้ผิดหวังไม่ได้ งานครั้งนี้ยอดเยี่ยมมาก = ครั้งหน้าต้องดีกว่านี้

 

–  ประสบการณ์ได้รับคำชมที่ไม่ได้ชมจากใจ แต่แอบแฝงไว้ด้วยบางอย่างเช่น  “เขียนสรุปน่าอ่านจังเลย ส่งให้บ้างสิ” หรือ “เก่งนะ แต่… ”

 

 

เหตุผลทางจิตวิทยา ที่ทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก ไม่กล้ารับคำชม ? 

1. ความไม่อยากเป็นจุดเด่น

เพราะสำหรับบางคน เขาไม่ชอบเป็นจุดเด่น การได้รับคำชมอาจจะเหมือนกับการได้รับแสงสปอร์ตไลท์ส่องมาที่ตัว ทำให้เขารู้สึกว่าไม่รู้จะรับมือหรือตอบรับยังไง 

 

2. ความไม่พอใจที่มีต่ออีกฝ่าย

ในกรณีที่ คนนั้นอาจจะเคยทำให้รู้สึกหรือ เคยมีปัญหากันในอดีตที่ยากจะลืม ทำให้รู้สึกไม่ดีจากการได้รับอะไรจากอีกฝ่าย เพราะเราคงจะมองคน ๆ นั้นในแง่ร้ายไปแล้ว 

 

3. ความรู้สึกกดดันจากความคาดหวัง

คำชมมาพร้อมกับความคาดหวังบางอย่างได้ จากข้อมูล ยกตัวอย่างว่า ถ้าเจ้านายบอกว่ามอบงานนี้ให้ดูแลเลยเพราะคุณทำงานเสร็จตรงเวลาเสมอ 

 

4. Cognitive Dissonance 

การไม่ลงรอยกันของการรับรู้ ความคิด ความเชื่อ หรือการให้คุณค่าต่อบางสิ่งบางอย่างขัดแย้งกันเอง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ มีส่วนของการมีความมั่นใจในตัวเองต่ำด้วย สมมติคนอื่นบอกว่าเราฉลาด

 

แต่เราไม่รู้สึกว่าตัวเองฉลาด เลยจะเกิดความขัดแย้งกันขึ้นในตัวเองที่เรียกว่า Cognitive Dissonance การไม่ลงรอยกันของความรับรู้ต่อตนเอง

 

5. ความไม่เคบชินที่ได้รับคำชม

เป็นเพราะคำชมทำให้รู้สึก Surprise  ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะคิดไปก่อนแล้วว่า เราทำสิ่งนี้ได้ไม่ดี มีข้อผิดพลาดเยอะไปหมด พอมีใครชื่นชม เลยอาจจะรู้สึกว่า ไม่รู้ควรตอบรับยังไง

 

 

เราจะรับมือยังไง เวลาได้รับคำชมแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ? 

1. คำชมเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่ของเรา 

จาก Harvard Business Review  ผู้เขียนบอกว่าเวลาคนอื่นชื่นชม นั่นเป็นประสบการณ์ของเขา ว่าเขาได้รับผลยังไง เขาอาจจะแค่มองว่า สิ่งที่เราทำ เป็นเรื่องที่ดีก็เลยบอกออกไปว่าดี ไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น

 

2. ลดการคิดล่วงหน้า

สำรวจตัวเอง ว่าเราคิดในสิ่งที่ยึดกับความเป็นจริงหรือเปล่า เพราะเวลาเราชมคนอื่น เราก็คงไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะต้องตอบแบบไหนขนาดนั้น เขาก็คงไม่ได้คาดหวังเหมือนกันว่า เราจะต้องตอบรับให้ถูกใจเขา 

3.  ลดอคติ

ข้อนี้คิดว่าใช้กับคนที่ไว้ใจคนอื่นยากได้ดี เวลาไว้ใจคนอื่นยาก เรามักจะตั้งคำถาม เรามักจะตั้งคำถามกับการกระทำของคนอื่น การลดอคติลง เปิดใจรับสิ่งที่เขาแสดงออก อาจไม่ใช่เรื่องแย่ 

 

4. ลดการตีความ

บางทีเบื้องลึก เบื้องหลัง คำพูดของเขาอาจจะไม่มีอะไรไปมากกว่าการอยากชื่นชมเรา แต่เพราะคำพูดของเขาไม่ถูกใจหรือไม่ตรงใจเราเท่านั้นเองเราจึงตีความจากความคดของตัวเอง

 

แต่อีกมุมหนึ่งไม่มีใครที่จะรู้ว่าเราต้องการอะไร เขาชมว่าเราเก่ง เขาอาจจะรู้สึกแบบนั้น จริง ๆ ไม่ได้ต้องการจะกดดันเรา หรือไม่ได้คาดหวังให้เราสมบูรณ์ไปซะทุกอย่าง

 

 

ตอบรับคำชมอย่างไรดี 

หนังสือ Happy Together: Using the Science of Positive Psychology to Build Love That Lasts ของ Pawelski มี 3 ขั้นตอน ในการรับมือกับคำชมแบบเฉพาะหน้าคือ 

 

–  Accept น้อมรับคำชมนั้นด้วยคำว่า “ขอบคุณ”

–  Amplify รับมันเข้ามาในตัวเรา รู้สึกถึงคำชมนั้น ดีใจไปกับมัน

–  Advance ต่อยอดด้วยการถามคำถาม ที่นำบทสนทนาไปสู่สิ่งอื่น สิ่งที่จะทำให้งานหรือตัวเราดีขึ้น

 

วิธีชื่นชมอย่างไรให้รู้สึกดี

1. จริงใจ

เริ่มต้นจากความจริงใจ เราอยากชมเขาจริง ๆ หรือเปล่า เพราะถ้าเราชมเขาด้วยความไม่จริงใจแล้วอีกฝ่ายจะรับรู้ได้

 

2. ชื่นชมที่ความตั้งใจและความพยายาม

การที่ชมเขาว่าเก่งมาก ฉลาดมาก อาจทำให้เขารู้สึกว่าเขาต้องเพอร์เฟค พลาดไม่ได้ ลองลงรายละเอียดสักหน่อย ให้รู้ว่าไม่ได้ชม ส่ง ๆ แต่เราสนใจและสังเกตเขาจริง ๆ ถ้าชื่นชมที่ความตั้งใจ และ ความพยายาม

 

เขาจะรับรู้ได้ว่า ตัวเองทำสุดความสามารถแล้ว และคู่ควรกับคำชมนั้น

 

 

ที่มา:

Why Do Some People Hate Receiving Compliments?

Do Compliments Make You Cringe? Here’s Why.

cognitive dissonance

‘ฉันทำดี ก็ต้องชมฉันสิ!’

การชื่นชมเด็ก

 

ลายนิ้วมือ ที่อยู่ติดตัวกับเรามาตั้งแต่เกิด สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง ?

 

ทำไมตอนที่เราไปหาญาติผู้ใหญ่เขาชอบมาขอดูลายนิ้วมือของเรา …

 

 

ลายนิ้วมือ คืออะไร ? 

ลายนิ้วมือ (Fingerprints) คือ ลายเส้นที่ปรากฏอยู่บนผิวหนังด้านหน้าของนิ้วมือ ประกอบด้วยเส้น 2 ชนิด คือ เส้นนูน หรือสันลายนิ้วมือ (Ridge) ที่เป็นรอยนูนที่ยกสูงกว่าพื้นผิวหน้านิ้วมือ

 

มีลักษณะเป็นเส้นนูนโค้งและยาวตามรูปแบบลายนิ้วมือ (เมื่อประทับลายนิ้วมือจะติดหมึกพิมพ์) และร่องลายนิ้วมือ (Furrow) ที่เป็นรอยลึกสลับระหว่างเส้นนูน (จะมองเห็นเป็นร่องสีขาว เมื่อประทับลายนิ้วมือ)

 

ซึ่งลายนิ้วมือของแต่ละบุคคลก็จะมีความเป็น เอกลักษณ์ ที่แตกต่างกันออกไป และจะมีโอกาสเพียงแค่ 1 ใน 64,000 ล้าน เท่านั้นที่ลายนิ้วมือของเราจะไปซ้ำกับบุคคลอื่นบนโลกใบนี้

 

เพราะกระบวนการพัฒนาลายนิ้วมือของมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน โดยจะเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์

 

และถึงแม้จะเป็นฝาแฝดที่เกิดมาจากไข่ใบเดียวกัน แต่แรงดันภายในมดลูกก็มีส่วนทำให้ลายนิ้วมือของฝาแฝดทั้งคู่มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าลานิ้วมือของแต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์

 

การที่จะให้ลายนิ้วมือซ้ำกันเป็นไปได้ยากมาก ๆ ลายนิ้วมือมีการเชื่อมโยงกับสมอง เริ่มตั้งแต่เป็นกระบวนการที่อยู่ในครรภ์ของแม่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป เซลล์สมอง เซลล์ลายนิ้วมือ 

 

 

ประโยชน์ของ ลายนิ้วมือ

ในปัจจุบัน มีการนำ ลายนิ้วมือ มาใช้ประโยชน์ในหลายด้านมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น การระบุตัวคนร้ายจากลายนิ้วมือ,ทำพาสปอร์ต,สแกนลายนิ้วมือเวลาเข้างาน,ความปลอดภัยทางเทคโนโลยี Touch ID

 

 

ดูดวงจาก ลายนิ้วมือ

เป็นความเชื่ออีกศาสตร์นึง ที่สามารถบอกบุคลิค อุปนิสัย และสามารถทำนายอนาคตได้ วิธีการดูเส้นลายมือสามารถดูได้ทั้ง 2 ข้าง แต่เส้นลายมือผู้ชายกับผู้หญิงจะต่างกัน

 

เส้นลายมือฝั่งซ้ายของผู้ชาย จะหมายถึงโชคชะตาตั้งแต่เกิด ฝั่งขวาหมายถึงสิ่งที่สร้างสะสมด้วยตัวเอง

 

และเส้นลายมือของผู้หญิงจะสลับกับของผู้ชาย ฝั่งซ้ายคือสิ่งที่สะสมมาด้วยตัวเอง ฝั่งขวาคือโชคชะตาตั้งแต่เกิด

 

 

มือแต่ละข้างจะมี 4 เส้นหลัก 

เส้นจิตใจ

เส้นลายมือด้านบนสุด เริ่มต้นจากโคนนิ้วก้อยไปจนสุดนิ้วชี้ ซึ่งใช้ทำนายถึงเรื่องจิตใจ, ความรัก, ความรู้สึก รวมถึงเรื่องสภาพจิตใจ

เส้นสติปัญญา

เส้นลายมือที่อยู่ถัดลงมาจากเส้นจิตใจ ซึ่งเส้นลายมือนี้จะใช้ทำนายลักษณะชีวิต, วิธีคิดหรือการวางแผนต่างๆ นอกจากนี้ยังทำนายถึงเรื่องความรู้, ความสามารถของตัวคุณ

เส้นชีวิต

เส้นลายมือเส้นล่างสุด ลักษณะเป็นเส้นโค้ง ลากยาวตั้งแต่ช่วงหัวแม่มือลงมา ใช้ทำนายคุณภาพชีวิต, สุขภาพร่างกาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชีวิต

เส้นวาสนา

เส้นลายมือที่อยู่ตรงกลางฝ่ามือ ลากตัดทั้งเส้นจิตใจ, เส้นสติปัญญา และเส้นชีวิต ซึ่งเส้นวาสนาจะทำนายถึงโชคลาภ วาสนา แต่เส้นลายมือเส้นนี้เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเส้นวาสนา

 

แต่หากว่าใครอยากดูเส้นฝ่ามือเบื้องต้น สามารถดูได้ที่ ดูลายมือเบื้องต้น ขอบคุณข้อมูลจาก thestreetratchada