Posts

ภาระที่อมไว้ คายมันออกมานะ หนังสือที่รวมเทคนิคสั้น ๆ ที่ทำให้เรามีพื้นที่ว่างในใจมากขึ้น

 

ความน่ารักของหนังสือเล่มนี้คือ เจ้าหนูแฮมสเตอร์ แต่ถ้าสังเกตดี ๆ เจ้าหนูแฮมสเตอร์ตัวนี้มีน้ำตานะ

 

หนูแฮมเตอร์ที่แก้มตุ่ย ๆ การ ‘กักตุน’ อาหารที่มากเกินไปจนเกิดเป็นความไม่สบายตัว . . 

 

หนูแฮมสเตอร์ที่กักตุนอาหาร ถ้าเปลี่ยนจากอาหารเป็นกักตุน ความเครียด หละ?

 

ก็เหมือนกับคนถ้าเราเก็บทุกสิ่งอย่างมาไว้กับตัวมากเกินไป เราก็คงไม่สบายใจและไม่สบายตัว

 

หนังสือเล่มนี้เป็น how to ที่มีเทคนิคการฮีลใจในทางเชิงจิตวิทยาที่นำมาใช้ได้จริง เขียนโดย คุณ ไนโต โยะชิฮิโตะ แปลโดย คุณ อทิตยา ทรงศิริ 

 

หนังสือเล่มที่มีทั้ง 6 บท และ 198 เทคนิคที่ทำให้เราสบายใจสบายตัวมากขึ้น เป็นเทคนิคสั้น ๆ และวิธีการใช้ที่ใช้ได้จริง

 

จึงขอหยิบยกมา 2 บทที่ชอบและอยากมาบอกต่อ :))

 

การมองอารมณ์ของตัวเองผ่านมุมมองคนนอก

มุมมองคนนอกคือการที่เราไม่เอาตัวเองไปยืนในจุดที่ไปเกี่ยวข้อง เป็นมุมมองจากการสังเกตระยะไกล

 

หลาย ๆ คนคงคิดว่าการตอบกลับและการปล่อยผ่านอย่างเหมาะสมคือเรื่องที่ดี 

 

แต่สิ่งที่อยากบอกคือ บางครั้งเราไม่ต้องจริงจังมากก็ได้ เอาตัวเองออกมาไม่ต้องตอบโต้ทันที 

 

ถ้าตอนนั้นเรากำลังโต้เถียงหรือทะเลาะกับใครบางคนอยู่ ให้เราออกมาเป็นคนนอกดู

 

เพราะการที่เราเป็นคนนอกเรามักจะแก้ปัญหาได้มากกว่าเป็นคน ฝึกฝนได้ มีสติมาก ๆ

 

การมองตัวเองโดยใช้มุมมองคนนอกจะทำให้เราควบคุมอารมณ์ด้านลบได้

 

เขียนข้อดีของตัวเองออกมา

เพราะถ้าเราคิดถึงแต่ข้อไม่ดีของตัวเอง เราจะมีความสุขได้ยังไง..

 

บางทีเราก็ไม่ชอบนิสัยของตัวเอง เอาตัวเองไปเปรียบเทียบจนเห็นข้อเสียของตัวเองมากมาย

 

เห็นข้อเสียมากกว่าเห็นข้อดี เพราะฉะนั้นของแก้ไขโดยการเขียนจุดแข็งและข้อดีของตัวเองที่เราชอบตัวเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องใหญ่ก็ได้ 

 

เพราะการที่เราเขียนข้อดีของตัวเองบ่อย ๆ จะทำให้เราปลูกฝังข้อดีของตัวเองและความคิดลบ เกี่ยวกับตัวเองจางลงไปด้วย 

 

สำหรับใครที่สนใจหนังสือเล่มนี้

สั่งซื้อที่ได้ที่นี่ 

ความสำเร็จ การบรรลุเป้าหมาย , ชัยชนะ , เห็นผล ที่พูดมาทั้งหมดก็คือความหมายของคำว่าสำเร็จ

 

การที่เราทำตามเป้าหมายไว้ให้เป็นจริง เป้าหมายที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่ตอนเด็กที่ครูถามว่าอยากเป็นอะไร หรือเป้าหมายที่เราวาดไว้ในใจเมื่อเราโตขึ้น  

 

นิยามของคำว่า สำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

 

แน่นอนว่าชีวิตมันไม่ง่ายกว่าที่เราจะสำเร็จ หรือบรรลุเป้าหมายที่เราวางไว้ บางครั้งที่เราเหนื่อยเราก็ล้มเลิกไปบ้าง

 

ขอย้อนไปที่ตอนเกริ่นตอนแรกว่า นิยามของคำว่า สำเร็จ ของแต่ละคนคืออะไร? ถ้าสำหรับมาย ความสำเร็จที่มายนิยามไว้ตอนนี้

 

คือ การที่รู้สึกชอบตัวเอง ชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ และชอบวิถีที่ตัวเองใช้ชีวิต ถ้าตอนเด็กมายก็มีความฝันคืออยากทำงานในโรงบาลค่ะ

 

หมอ พยาบาล หรือแผนกไรก็ได้ เพราะเราชอบกลิ่นของโรงบาล แล้วเวลาไปหาหมอแล้วหายเราชอบความรู้สึกตอนนั้น แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้ทำ

 

อันนี้ก็เรียกว่าไม่สำเร็จตามเป้าหมายเหมือนกันนะ เพราะเรารู้ตัวเองด้วยว่าเราไม่ไหวกับการเรียน การอ่านหนังสือหนัก ๆ

 

ตอนนั้นก็คิดว่าไอการที่เราอยากเป็น แต่มันแฝงมาด้วยความรู้สึกทุกข์ใจ เราจะสามารถมีความสุขได้จริง ๆ ใช่ไหม

 

แต่ไม่ได้แปลว่ามันถูกทั้งหมดนะความคิดมาย คนเรามีขีดความฝืนไม่เหมือนกัน บางคนก็สามารถฝืนได้เพื่อให้ตัวเองบรรลุเป้าหมายเหมือนกัน

 

ตัดภาพมาที่ตอนนี้ที่เป็นอยู่ มายก็มีความสุขดีนะ อาจจะไม่ใช่การประสบความสำเร็จแบบ 100% แต่เราก็ชอบที่เราใช้ชีวิตแบบนี้ ได้มาอัดพอดแคส ได้มาอ่านคอมเม้นของทุก ๆคน 

 

แต่ที่อยากบอกสำหรับคนที่กดดันกับชีวิตตัวเอง หรือคนที่กำลังคิดว่าทำไมเราไม่ประสบความสำเร็จสักที

 

เพราะอาจจะเพราะสภาพสังคมของประเทศเรา เมื่ออายุเยอะมากขึ้น การที่คนนึง ๆไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีครอบครัว ไม่แต่งงาน

 

ไม่เป็นเจ้าคนนายคน ถูกมองว่า ไม่ประสบความสำเร็จ บางครั้งเราโหนความสำเร็จเราไว้ตรงนั้นจนเราลืมไปว่า ตอนนี้ชีวิตของฉันก็มีความสุขดีนี่นา 

 

ไม่ว่าเลือกที่จะประสบความสำเร็จแบบไหนอย่าลืมว่าเป้าหมายชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่าเอามาตรฐานหรือภาพความสำเร็จของตัวเองไปตัดสินคนอื่น

 

หรือเอาของคนอื่นมาตัดสินตัวเอง บางคนเขาอาจจะมีความสุขกับการเป็นคนธรรมดาแบบไม่ต้องขวนขวายอะไรมากมายก็ได้

 

ความสำเร็จอาจจะแค่การได้กินอะไรอร่อย ๆ กินอิ่ม นอนหลับ เลี้ยงหมา เลี้ยงแมว อาจจะคือความสำเร็จที่สุดจะเรียบง่ายที่สุดของแล้วก็ได้

 

อยากให้ทุกคนมองหาการประสบความสำเร็จด้วยความสุข ยอดพีระมิดการใช้ชีวิตเหนือความสำเร็จ ยังมีความสุขอยู่

 

อยากให้ทุกคนตามหาสิ่งที่ทำให้ตัวเองมีความสุขให้เจอไม่ว่าจะวัยไหน

 

เชื่อว่าความสุขมันเปลี่ยนไปแต่ละช่วงวัย แต่ละ step ของการใช้ชีวิต อย่าลืมตรวจสอบว่าระหว่างทางที่เรากำลังทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ

 

เรามีความสุขอยู่หรือเปล่า หรือกำลัง สำเร็จด้วยความทุกข์ อยู่ ทำตามเกณฑ์สังคม มีบ้าน มีรถ  มีแฟน มีครอบครัวของตนเอง

 

มีเงินเก็บ มีความมั่นคงมั่งคั่ง ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี เป็นคำว่าสำเร็จสูตรบรรทัดฐานที่ใครก็อยากมี 

 

แต่เราก็อย่าลืมว่าอย่าผลักดันตัวเองมากเกินไปจนความขาดสมดุลในการใช้ชีวิต

 

และถ้าหากวันนึงเรากลายเป็นไม่ประสบความสำเร็จขึ้นมาแล้ว เรามองว่าเราล้มเหลว

 

อยากจะบอกว่าคำว่าล้มเหลวไม่มีอะไรเจ้าบเท่าเรามองว่าตัวเองล้มเหลวนะ อย่าลืมว่าระหว่างทางการที่เราจะพยายามทำอะไรสักอย่าง

 

เหนื่อยแค่ไหนมีเพียงเราคนเดียวที่รู้ คนอื่นไม่รู้ คนอื่นจะมองว่าแค่ตอนทำเสร็จว่าผลงานเรามันออกมาดีหรือไม่ดี สิ่งที่ว่าดีหรือไม่ดีมีอะไรเป็นตัววัด

 

การวัดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันอีก เพราะฉะนั้นอย่ามองว่าตัวเองล้มเหลวเลยที่ทำอะไรไม่สำเร็จ

 

แต่ละคนมีจังหวะชีวิตหรือโอกาสที่เข้ามาแตกต่างกัน ตราบใดที่เรายังมีชีวิตและหายใจอยู่ มันสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ทุกวันนะ

 

ยินดีกับความล้มเหลวของตัวเอง

 

อย่าลืมว่าในชีวิตของเราทุกคน มักมีช่วงเวลาที่เราล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน ความรัก หรือเป้าหมายส่วนตัว

 

เพราะความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นบนโลกกับมนุษย์ มายเข้าใจที่เวลาล้มเหลวเราจะเสียใจและผิดหวัง

 

แต่คืนนี้มายก็มีมุมมองใหม่ๆ ที่อยากชวนให้ทุกคนมายินดีกับความล้มเหลวค่ะ 

 

ความล้มเหลวคือบทเรียน

 

ความล้มเหลวคือบทเรียนที่ทำให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาด และรู้จักปรับปรุงตัวเอง การยอมรับความล้มเหลวทำให้เราเติบโต และเข้าใจตัวเองมากขึ้น

 

ความล้มเหลวคือความแข็งแกร่ง

 

การเผชิญกับความล้มเหลวช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในใจ เมื่อเราผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

 

เราจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการเผชิญกับความท้าทายในอนาคต การรู้ว่าตัวเองสามารถผ่านสถานการณ์ที่ไม่ดีได้ จะทำให้เราเป็นคนที่เข้มแข็งและอดทน

เปิดโอกาสใหม่

 

บางครั้ง ความล้มเหลวอาจเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ที่เรายังไม่เคยคิดถึง มันอาจนำเราไปสู่เส้นทางที่ดีกว่า

 

หรือทำให้เราได้ค้นพบความสนใจใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน การยอมรับความล้มเหลวจะทำให้เราไม่กลัวที่จะลองทำสิ่งใหม่

เปลี่ยนความคิด

 

แทนที่จะมองว่าความล้มเหลวคือความสูญเสีย ลองมองมันเป็นความสำเร็จในรูปแบบหนึ่ง เพราะเรามีความกล้าที่จะพยายามและเสี่ยง

 

แม้จะไม่สำเร็จในครั้งแรก แต่การพยายามก็เป็นสิ่งที่ดี อยากให้ทุกคนใช้ชีวิตด้วย ความหวัง ไม่ใช่ ความคาดหวัง

 

ความคาดหวังคือสิ่งที่เราคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีความแน่นอนหรือแนวโน้มว่ามันจะเกิดขึ้นได้สูง

 

ในขณะที่ความหวังคือการมีความฝันหรือเป้าหมายที่เราตั้งใจจะไปถึง แต่ไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ที่ชัดเจน มันทำให้เรามีจิตใจที่เปิดกว้าง และยอมรับกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น

 

เมื่อเรามีความหวัง เราจะรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการก้าวเดินต่อไปในชีวิต ไม่ว่าจะเจออุปสรรคหรือความท้าทาย

 

ความหวังช่วยให้เรามองโลกในแง่ดี และมีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่รัก หรือตามความฝันของเราการสร้างความหวังสามารถทำได้หลายวิธี

 

เช่น การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งการหมั่นฝึกจิตใจให้มองโลกในแง่ดี และเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ที่เข้ามาในชีวิต

 

การสร้างความหวังไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่โต เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ

 

เช่น อ่านหนังสือเล่มใหม่ หรือออกไปสำรวจสถานที่ใหม่ ๆ ความสำเร็จในสิ่งเล็ก ๆ จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ

 

และเปิดโอกาสให้เรามองเห็นความหวังในอนาคต ให้เราทุกคนจงใช้ชีวิตด้วยความหวัง ไม่ใช่ความคาดหวัง แล้วเราจะค้นพบว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยโอกาสที่รอเราอยู่

 

นักจิตวิทยาที่เราเลือกเหมาะกับเราไหม เพราะนักจิตวิทยามีให้เลือกมากมายในสายอาชีพ แต่ละคนจะมีความถนัดและ บรรยากาศในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

 

เราจะรู้ได้อย่างไรว่านักจิตวิทยาที่เราคุยอยู่ ‘ใช่’ ? มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา

 

 

นักจิตวิทยาที่เราเลือกเหมาะกับเราไหม

1. ความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษา

ความรู้สึกเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบอกได้ว่าการปรึกษานั้นตอบโจทย์เราหรือไม่ เช่นเดียวกับการที่เราไปทานอาหารร้านหนึ่งแล้วรู้สึกว่าอยากกลับไปอีก

 

ถ้าเรารู้สึกอยากกลับไปคุยกับนักจิตวิทยา นั่นหมายความว่าการพบปะครั้งนั้นเป็นประโยชน์และทำให้เรารู้สึกสบายใจ

 

2. ความลึกซึ้งในการเข้าใจปัญหาของผู้ให้คำปรึกษา

นักจิตวิทยาที่ดีต้องสามารถเข้าใจปัญหาของผู้รับคำปรึกษาได้อย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่เพียงแค่ฟังอย่างผิวเผิน แต่ยังต้องสามารถเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ

 

ที่เกิดขึ้นในการสนทนาให้เป็นภาพรวมเดียวกันได้ นี่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการวิเคราะห์และการเข้าใจอย่างแท้จริง 

 

3. การเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ

การเชื่อมโยงประเด็นที่ผู้รับคำปรึกษาเล่ามาเป็นเรื่องราวเดียวกันจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษามองเห็นภาพรวมของปัญหาและรู้สึกว่ามีการก้าวหน้าทางจิตใจ

 

การฟังและถามคำถามที่เหมาะสมจากนักจิตวิทยาจะเป็นการสะท้อนให้ผู้รับคำปรึกษาเห็นความเชื่อมโยงของปัญหา

 

4. ประโยชน์ที่ได้รับ

หลังจากการเข้าพบนักจิตวิทยา เราควรรู้สึกว่ามีความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับปัญหาของเรา หากผู้รับคำปรึกษา

 

รู้สึกว่าได้รับการช่วยเหลือและเห็นถึงความก้าวหน้าทางจิตใจ นั่นเป็นสัญญาณที่ดีว่าการพบปะนั้นมีประโยชน์

 

 หากหลังจากการเข้าพบ 3-4 ครั้ง ยังไม่มีการก้าวหน้าหรือยังรู้สึกว่าปัญหายังคงอยู่ อาจจำเป็นต้องพิจารณาว่าการปรึกษานั้นได้ผลหรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการเห็นผลอาจขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหาและการปรับตัวระหว่างนักจิตวิทยากับผู้รับคำปรึกษา

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

 

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) อีกครั้งและมาลงลึกถึงรายละเอียดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น 3 ระดับของความวิตกกังวล กลุ่มโรคในร่มเดียวกัน

 

ไปจนถึงกลไกการเกิดภาวะวิตกกังวล แล้วมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า โรควิตกกังวล โฟเบีย และแพนิคเหมือนหรือแตกต่างกันยังไง

 

 

Anxiety Disorder “เป็นภาวะที่ประชาชนมักเข้าใจผิดกันบ่อย คิดว่าผู้ป่วยแกล้งทำ หรือคิดว่าเกิดมาจากตัวเอง

 

ไม่ได้เจ็บป่วย จึงไม่ไปพบแพทย์ หรือจิตแพทย์ เพื่อรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ ซึ่งโรคนี้มียารักษา และต้องใช้วิธีบำบัดร่วม เพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม ”

 

ซึ่งจากหนังสือจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี ได้อธิบายว่า  Anxiety เกิดเมื่อมีความเครียดเข้ามากระทบจิตใจของเรา นั่นหมายความว่า  Anxiety  ก็พัฒนาต่อมาจากความเครียดนั่นเอง

 

 

ลักษะของ Anxiety  Disorder

 

ทางใจ : สับสน เครียด กังวล วิตก ตื่นเต้น ไม่มีความสุข 

 

ทางกาย : มือสั่น ตัวสั่น ปัสสาวะบ่อย ปั่นป่วนในท้อง แน่นหน้าอก ลุกลี้ลุกลน

 

ความวิตกเป็นอาการที่เกิดได้กับคนปกติก็จริง แต่จะถือว่าผิดปกติหรือเป็นโรคเมื่อเกิด 4 ข้อนี้

 

1.  ความวิตกที่เกิดขึ้นมากเกินกว่าจะอธิบายด้วยความเครียดที่มากระตุ้น  (รู้สึกมากกว่าสถานการณ์ที่เกิด)

 

2.  ความวิตกกังวลที่เกิดมีอาการรุนแรงมาก 

 

(ไม่ได้แน่นหน้าอกธรรมดา แต่แน่นจนหายใจลำบาก หรือ รู้สึกว่านั่งเฉย ๆ ไม่ได้ ต้องวิ่ง ต้อนหนีเดี๋ยวนั้น)

 

3. อาการยังคงอยู่แม้สิ่งเร้าจะไปแล้ว

 

4.  อาการที่เกิดขึ้นรบกวนกิจวัตรประจำวันและหน้าที่การงาน

 

 

ระดับความ วิตกกังวล  

1. ระดับต่ำ Mild Anxiety

 

 ระดับนี้พบได้ทั่วไป เช่น การตึงเครียดจากการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นระดับที่ทำให้บุคคลเกิดความตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะเอาชนะปัญหา มีการรับรู้ที่ว่องไว ความจำดี สมาธิดี

 

อารมณ์และการกระทำไม่เปลี่ยนจากปกติมากนัก รวมถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ม่านตาขยาย ฝ่ามือมีเหงื่อออก

 

การเคลื่อนไหวเร็วขึ้น บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับต่ำนี้ยังสามารถควบคุมตนเองได้ โดยอาจต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น ต้องการ รเรียนรู้ลดลง อาจมีอาการทางสรีระ

 

เช่น หายใจเข้าออกแรง รู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร ปวดศีรษะ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับปานกลางนี้ยังสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ 

 

2. ระดับรุนแรง Severe Anxiety 

 

ระดับนี้มีผลทำให้ประสาทสัมผัสและการรับรู้แคบลง ทำให้หมกมุ่นในรายละเอียดมากจนเกินไป ไม่สามารถจับสาระสำคัญของเรื่องใดได้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาลดลงและทำงานได้ไม่เต็มสมรรถภาพ

 

เกิดความสับสน มีพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อปกป้องตนเองมากขึ้น และมักเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด โมโหง่าย เรียกร้องเกินกว่าเหตุ ต่อต้าน ตื่นกลัว

 

ตัวสั่น เกร็ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเดิน หรือท้องผูก นอนไม่หลับ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงนี้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น

 

3. ระดับรุนแรงมาก  Panic Level Anxiety 

 

ระดับนี้มีผลทำให้บุคคลเกิดความกลัวอย่างรุนแรงมาก หรือเป็นความกลัวสุดขีด ทำให้บุคคลขาดการควบคุมตนเอง และแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่มีในสภาวะปกติ เช่น กรีดร้อง

 

วิ่งหนีไปอย่างไรจุดหมาย หรือตกตะลึงแน่นิ่งหมดสติทันทีทันใด บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงมากนี้ จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและไม่สามารถทำภารกิจเหมือนปกติได้ 

 

 

โรคกลัวต่าง ๆ เชื่อมโยงกับภาวะวิตกกังวล 

 

1.  Separation Anxiety Disorder : เป็นโรคที่มีความวิตกกังวลในเรื่องการแยกจาก (กลัวการแยกจาก)

 

2.  Selective Mutism : เงียบใบ้ พูดไม่ได้แบบเฉพาะเจาะจงสถานการณ์

 

3.  Specific Phobia: กลัวมากกว่าปกติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบเจาะจง

 

4.  Social Anxiety Disorder (Social Phobia) :  กลัวสถานการณ์ที่คนจ้องมองมาที่ตนเอง

 

5.  Panic Disorder: อาการวิตกทั้งกายและใจแบบไม่มีสิ่งกระตุ้น แล้วก็กลัวว่าจะเป็นอีก

 

6.  Agoraphobia : กลัวว่าสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้น และกลัวว่าจะหนีไม่ทัน

 

7. Generalized Anxiety Disorder : กลัวมากในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน  

 

 

กลไกการเกิด ภาวะวิตกกังวล 

ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม จะมีกลไก ขั้นตอนการเกิดในลักษณะที่เหมือน ๆ กัน ซึ่ง Peplau 1989 แบ่งไว้ตามนี้ 

 

ขั้นที่ 1. คนเรามีความคาดหวัง และต้องการ 

 

ขั้นที่ 2. เกิดอุปสรรค หรือภาวะคุกคามใดใด 

 

ขั้นที่ 3. มีความรู้สึกหวั่นไหว สับสน คับข้องใจ คุณค่าในตัวเองลดลง 

 

ขั้นที่ 4.  มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป

 

4.1  ด้านจิตใจ อารมณ์ – เครียด กระวนกระวายใจ หงุดงิด โมโห 

 

4.2 ด้านชีวเคมี – ท้องผูก  นอนไม่หลับ ปั่นป่วนในกระเพราะ 

 

4.3  ด้านร่างกาย  – เกร็งกล้ามเนื้อ เหงื้อแตก กรีดร้อง  

 

ขั้นที่ 5.  แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ 

 

5.1 คลี่คลายปัญหาได้ ค่อย ๆ ดีขึ้น 

 

5.2  หลีกเลี่ยงปัญหา ความวิตกกังวลก็ยังคงอยู่ 

 

 

 The Road Not Taken บนถนนที่เราไม่ได้เลือกเดิน

 

The Road Not Taken มาจากกวีในชื่อเดียวกันของ Robert Frost

 

ที่เขียนเพื่อล้อเลียนเพื่อนตัวเองที่เวลาเดินป่าจะชอบตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกเส้นทางไหน แล้วพอเลือกไปแล้วก็จะชอบบนว่าตัวเองน่าจะเลือกอีกเส้นทางดีกว่า 

 

หลังจากนั้น Edward Thomas คนที่ Robert เขียนล้อเลียน ก็เอากวีที่เพื่อนแต่งเพื่อแซวตัวเขาเองไปอ่านให้นักศึกษาฟัง

 

กลายเป็นว่านักศึกษาที่ฟังกวีบทนี้ไม่ได้มองว่ามันเป็นกวีล้อเลียน แต่เป็นกวีที่ลึกซึ่งและชวนให้คิดไม่ตก

 

และแม้ว่ากวีบทนี้จะถูกเขียนตั้งแต่ปี 1915 แต่ก็เป็นกวีที่ถูกจัดว่าคลาสสิคและถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุเพราะมันสามารถตีความได้หลากหลายแบบ หลากหลายประเด็น

เมื่อป่าใหญ่ให้ทางไปต่างแห่ง

ทางสองแพร่งแบ่งสายเป็นซ้ายขวา

ฉันยืนหยุดดูจุดหมายสุดสายตา

เสียดายว่าฝ่าได้…แค่สายเดียว

  

มีทางหนึ่งซึ่งเยี่ยมทัดเทียมเท่า

พงหญ้าเล่าเข้าประดูรกเขียว

รอผู้คนพ้นผ่านมานานเชียว

เส้นทางเปลี่ยวเลี้ยวลดจรดใด

 

ใบไม้คลุมสุมเท่ายามเช้าตรู่

ไม่มีผู้รู้ย่างย่ำทางไหน

ทางโล่งนั้นครั้นเล่ามิเข้าไป

ขอเก็บไว้ในตอน…เผื่อย้อนมา

 

ถอนหายใจไม่หยุดถึงจุดแบ่ง

ทางสองแพร่งแหล่งใดเดินไปหา

ขอเลือกทางต่างกันในมรรคา

ทางที่ว่าหาใช่…คนใฝ่เดิน…

ความหมายของกวีก็ตีความได้หลากหลายแบบมากๆ สามารถตีความถึงมนุษย์เราเองที่มักจะเสียดายกับอะไรที่เราไม่ได้เลือก

 

และมักจะละเลยคุณค่าของสิ่งที่เรามีหรือได้มา ในที่นี้ก็คือถนนที่เราไม่ได้เลือกเดิน

 

ขณะเดียวกันมันก็สะท้อนอีกว่ามนุษย์เรามักยืนอยู่บนทางแยก เราต้องเลือกและตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา

 

ในทางที่หลายๆ ครั้งเราก็ไม่รู้ว่าจะไปจบที่ตรงไหน หรือปลายทางมีอะไรรออยู่ เราเลยจำเป็นต้องเลือกและยอมรับในผลของการตัดสินใจนั้นๆ ของเรา

เส้นทางที่แตกต่างจะนำเราไปสู่การเติบโต

อีกการตีความนึงจากคุณ วลัยลักษณ์ ผดุงเจริญ บนเว็บ GotoKnow 

 

กวีนี้อาจชี้แนะว่าการเลือกเดินบนเส้นทางที่คนสวนใหญ่ไม่เดินกันย่อมนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากคนอื่น

 

ไม่แน่ว่าการเลือกเส้นทางที่คนส่วนใหญ่ไม่เดินนั้น อาจสะท้อนถึงการเลือกในสิ่งที่เราให้คุณค่า

 

หรืออะไรที่ท้าทายไปจากเดิม และแน่นอนว่าเมื่อเราเลือกอะไรที่แปลกใหม่และท้าทาย เราจะเติบโตและเรียนรู้อะไรต่างๆ มากมาย

ความสุขกับ Hedonic Adaptation

คุณ Ryder พูดถึงว่าทำไมบ่อยครั้งคนเราประสบความสำเร็จ ถึงเป้าหมายที่อยากจะไป แต่กลับไม่มีความสุข 

 

มันก็มีหลักการทางจิตวิทยามาอธิบายว่ามันเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Hedonic adaptation 

 

หมายถึงแนวโน้มที่คนเราจะกลับสู่ระดับความสุขหรือความทุกข์ที่คงที่ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตก็ตาม

 

 

คงที่คือตรงไหน

และถ้าถามว่าระดับคงที่ของความสุขอยู่ตรงไหน คำตอบก็คือแล้วแต่คน

 

ประเด็นเรื่องความสุขยังเป็นอะไรที่กำลังถูกศึกษาอย่างต่อเนื้องและยังไม่มีคำตอบใดๆ ที่ชัดเจน

 

แต่นักจิตวิทยาบางส่วนเชื่อว่า ความสุขพื้นฐาน หรือ Set Point ของแต่ละคนไม่เท่ากันโดยมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและพื้นบุคลิกภาพของเราเอง

 

Some psychologists believe that as much as half of our happiness comes from an inherited genetic “set point”. Happy events, or negative experiences, affect us only for a short while. Then we return to a level of contentment mostly dependent on our personality.

 

Hedonic adaptation จึงอาจเป็นสาเหตุที่ว่าทำไม เราจึงโหยหาความ สุขซ้ำๆ และไม่เคยมีความสุขที่มากพอในระยะยาว 

 

จบที่ข้อสรุปว่า บางทีความสุขอาจมาจากการกระทำมากกว่าเป้าหมาย เพราะฉะนั้นแล้ว การตามหาสิ่งที่มีคุณค่า

 

มีความหมายและสำคัญกับเราต่างหากที่จะนำไปไปสู่ความสุขในระยะยาวได้ ซึ่งก็เป็นแนวคิดอิงมาจากปรัชญาแนว Eudaimonism 

 

 

หลักจิตวิทยาเบื่องหลัง 

The Road Not Taken หลักการคล้ายกับกระบวนการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า Visualization ครับ

 

Visualization คือกระบวนการของการสร้างภาพจิตใจ ความรู้สึก หรือกระบวนการทำงานต่างๆ ของใจเราผ่านการใช้จินตนาการ

 

ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในเชิงจิตวิทยาเพื่อให้เราทำความเข้าใจและทำงานกับจิตใจของเราเอง

 

The Road Not Taken ซึ่งก็จะเป็นกิจกรรมที่จะชวนเพื่อนๆ ลองจินตนาการว่าตัวเองเป็นนักเดินทางที่กำลังยืนอยู่บนสองทางแยก

 

และชวนให้เราจินตนาการถึงชีวิตของเราทั้งสองแบบว่าจะเป็นยังไงและจบลงตรงไหน 

 

ที่มา :

Robert Frost: “The Road Not Taken” 

The Road Not Taken เส้นทางนี้ที่ไม่เลือก…

The Road Not Taken ทางที่ไม่ถูกเลือก

When Happiness Doesn’t Last

Hedonic Treadmill

Visualization: Definition, Benefits, and Techniques

 

 

การที่เรานอนไม่หลับตอนกลางคืน หรือไม่อยากนอนจริง ๆ แล้วมีที่,kสาเหตุหลากหลายมาก

 

นอกความเครียด คิดมาก ก่อนนอนแล้วอยากพาทุกคนไปรู้จักกับ การนอนที่เราไม่อยากนอน 

 

 

การนอนดึกเพื่อล้างแค้น

พฤติกรรม “นอนดึกเพื่อล้างแค้น”  เป็นการตัดสินใจที่จะสละเวลานอน เพื่อที่ตัวเองจะได้มีเวลาว่างไปทำสิ่งต่างๆ

 

เป็นผลมาจากความยุ่งจากการทำงานจนไม่มีเวลาในระหว่างวัน ความเครียดหรือความคิดที่ว่า “ยังไม่ได้มีเวลาเป็นของตัวเองเลย” 

 

หลายคนในวัยทำงาน เราได้ใช้เวลา ส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงานพอกลับมากว่าจะเดินทางถึงห้อง ที่พัก กว่าจะถึงก็ต้องกินข้าวอาบน้ำ

 

ขึ้นเตียงไปเล่นมือถือ ตามข่าว ตามกระแสที่เราพลาดไปในระหว่างทำงานการนอนดึกเพื่อล้างแค้น

 

เป็นสาเหตุให้หลายคนใช้ชีวิตในช่วงเวลาก่อนนอน แม้ว่าจะง่วง เหนื่อย เพลียมากเพียงใด แลกกับความสุขเล็ก ๆ น้อย  

 

 

Night Owls ไนท์ อาว 

“ชาวนกฮูก” (Night Owls) ทุกคนอาจจะเป็นกัน เพราะคนในยุคนี้การทำงานมีหลากหลายมากขึ้น การทำฟรีแลนซ์

 

หรือบางคนที่ทำงานที่เกี่ยวกับ Creative มักจะใช้เวลากลางคืน ยิ่งดึกยิ่งคึก สมองยิ่งแล่น มีความคิดสร้างสรรค์

 

ผุดขึ้นมาในเวลากลางคืน ตรงกันข้ามกับ “นกที่ตื่นเช้า” (Early Birds) ที่นอนเร็ว ตื่นเช้า ตื่นตัวในเวลากลางวัน

 

เรียนหรือทำงานได้ดีในเวลาฟ้าสว่าง และพักผ่อนในเวลากลางคืน อันนี้ก็เป็นสาเหตุที่ไม่ยอมนอนได้เหมือนกัน

ไม่ยอมนอนเพราะเสียดายเวลา 

อาจดูคล้ายๆ การนอนดึกเพื่อล้างแค้น แต่มันคือ การผลัดเวลาเข้านอน  การนอนหลับพักผ่อนเพียงอย่างเดียว

 

ไม่สามารถคลาย “ความเครียด” สำหรับบางคนได้ จึงตัดสินใจที่จะใช้ “เวลานอน” เพื่อผ่อนคลายหรือหาความบันเทิงให้กับตัวเอง

 

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ดูซีรีย์ ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ ไปเบียดกับช่วงเวลานอน ทำให้เราต้องผลัดเวลาเข้านอน

 

มีเวลานอนน้อยลง หรือถึงขั้นอดนอนนั่นเอง พฤติกรรม “ผลัดเวลาเข้านอน” แตกต่างจาก “โรคนอนไม่หลับ”

 

อย่างการข่มตานอนแต่หลับไม่ลงจากความเครียด หรือมีคลื่นไฟฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รบกวนจนทำให้นอนหลับไม่สนิท

 

แต่เกิดจากจิตใจของเราล้วน ๆ ว่า “ยังไม่อยากนอน อยากเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน” ซึ่งหากเกิดขึ้นต่อเนื่อง ก็จะส่งผลกับร่างกาย และ สุขภาพจิตได้

 

 

ภาวะ การนอนไม่หลับ

เราพอจะรู้ถึงสาเหตุที่เราไม่ยอมนอนกันไปบ้างแล้วว่ามีอะไรบ้าง นอกจากสาเหตุที่เราไม่ยอมนอนแล้ว คือ ความรู้สึกของเรา

 

เคยไหมที่นอนไม่หลับเพราะ ความรู้สึกที่ค้างคาใจก่อนนอน …

 

 

คิดมาก เครียด แบบรู้ตัวว่าเครียดอะไร จนนอนไม่หลับ

การที่เรารู้ตัวว่าเราเครียด เราคิดมากเรื่องอะไร ก่อนอน คือในความเครียดยังมีข้อดีตรงที่เรารู้สาเหตุ

 

เราต้องลองคิดว่า สาเหตุที่ทำให้เราเครียดนั้น เราสามารถจัดการได้ไหม 

 

ถ้าจัดการได้ขั้นตอนการจัดการจะเป็นยังไง อาจทำให้เราหายเครียดหรือความเครียดมันจางลงได้บ้าง

 

 

การ เครียด คิดมาก แบบไม่รู้ตัว จนนอนไม่หลับ

เพราะทุกวันนี้มีหลายอย่างเข้ามาในชีวิตของเรา ทั้งเรื่องของตัวเอง และเรื่องที่ไม่ใช่ของตัวเอง แล้วเรา ‘เผลอ’ คิดเรื่องของคนอื่น

 

จนเกิดความเครียด คิดมาก หรือบางทีเราก็คิดเรื่องของเรานี่แหละ เราอาจคิดว่าเราไม่เครียดแต่เราเครียดอยู่ 

 

ซึ่งการที่เราเครียดมาก ๆ แต่ไม่รู้ว่ากำลังเครียดอะไรอยู่ มีชื่อเรียกว่า  ‘Micro stress’ เป็นเรื่องเล็กน้อยที่เราไม่รู้ตัวว่ามันกำลังต่อตัวเป็นภัยเงียบให้กับเราอยู่

 

 ถ้าเทียบความเครียดทั่วไปแล้วที่เราเห็นเป็นก้อนความเครียด แบบเราสามารถจับก้อนนั้นได้ แต่ Micro-Stress

 

จะเป็นเหมือนก้อนเล็ก ๆ ที่เราค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่มันก้อนใหญ่ให้เรา เพราะ Micro-Stress สมองไม่รับรู้เรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่าเป็นความเครียด

 

และกลายเป็นเรื่องตกค้างที่เราไม่สามารถจัดการได้ง่าย ๆ เช่น เราโดนตำหนิจากเพื่อนร่วมงาน เราทะเลาะกับที่บ้านเรื่องเดิม ๆ

 

เรื่องที่เคยเกิดขึ้น แล้วเราเคยรับมือกับมันได้ สมองเราก็จะคิดว่าเราจัดการได้แต่จริง ๆ มันไม่ได้หายไปมันถูกกดไว้

 

เพราะฉะนั้นแล้วถ้าเรากำลังเครียดแบบไม่รู้ตัวอยู่ ลองลิสต์ออกมาว่า ในแต่ละวันเราต้องเจอกับใคร ต้องคุยกับใครเป็นหลักบ้าง

 

เพื่อสำรวจว่า คนเหล่านั้นคือแหล่งต้นทางที่ทำให้เราเกิดความเครียดรึเปล่า และมายอยากให้ลองลิสต์รูปแบบของความเครียดที่เจอแบ่งออกมา

 

 ‘หากไม่รู้ว่าจะจัดการอะไรต่อไป ลองนอนดูสักตื่น พอตื่นมาเรื่องราวเหล่านั้นอาจเบาบางลงก็ได้’ การที่เรานอนไม่หลับ หรือยังนอนไม่ได้

 

เป็นเพราะสมองเรายังคิด วน หยุดคิดไม่ได้ ลองหาวิธีที่เราพอจะหลับได้และไม่ฝืนเกินไป เมื่อเราตื่นแล้ว สิ่งเหล่านั้นอาจจะเบาบางลง

 

และเมื่อเราตื่นเราอาจจะมีวิธีแก้ไขสิ่งเหล่านั้นก็ได้นะ :))

 

มีรายการชื่อว่า Cinema Therapy ที่จิตแพทย์ดู Godzilla ภาคใหม่ แล้วพูดถึงประเด็นที่เรียกว่า Survival Guilt

 

เป็นศัพท์ที่แปลกใหม่ดี ไม่เคยได้ยิน แล้วพอหาข้อมูลมามันก็เป็นอะไรที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด เลยอยากชวนมาทำความรู้จักกัน

 

 

Survivor Guilt

เป็นสภาวะที่พบเจอได้บ่อยในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรง เช่น ทหารผ่านศึก หรือผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ เหตุสังหารหมู่ 

 

ผู้ที่รอดชีวิตรู้สึกไม่สมเหตุสมผลที่ตัวเองรอดในขณะที่คนข้างกายเสียชีวิต เกิดความละอาย คิดว่าตัวเองไม่สมควรรอด

 

และรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องช่วยเหลือคนอื่นๆ นึกย้อนไปว่าในตอนนั้นควรทำอะไรได้มากกว่านี้ โทษตัวเอ

 

และเกิดความคิดว่า การกระทำของตนส่งผลต่อความทุกข์ทรมานของคนอื่น 

 

ไม่ใช่โรคทางการแพทย์ แต่เป็นสภาวะที่บุคคลหนึ่งเผชิญและต้องได้รับการดูแลรักษา

 

งานวิจัยพบว่าหลายคนที่มี Survivor Guilt เข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้

 

แต่ก็ยังรู้สึกผิดและคิดว่าตัวเองควรช่วยได้มากว่าที่ได้ทำลงไป รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

การรู้สึก Survivor Guilt สามารถนำไปสู่อาการ PTSD ได้ PTSD คือ ภาวะที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจนเกิดความผิดปกติทางอารมณ์ หลังจากผ่านเหตุการณ์รุนแรง สะเทือนใจมาหนักๆ 

 

ทำไมถึงผิดหวังที่ยังมีชีวิต

คนที่พื้นนิสัยเป็นคนขี้กังวล เป็น People Pleaser หรือ Self-Esteem ต่ำ ยิ่งเกิด Survivor Guilt ง่าย

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้รู้สึกผิดที่คนอื่นทนทุกข์แม้จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่ความผิดเรามาจากสิ่งที่เรียกว่า…

 

Mirror Neurons เป็นกระบวนการที่สมองเลียนแบบความรู้สึก/พฤติกรรมของอีกฝ่ายที่เรามองอยู่ 

 

รียกอีกชื่อว่า complex Empathy = ถ้าเราเห็นคนที่เรารักเจ็บปวด กระบวนการในสมองจะลอกเลียนไปโดยธรรมชาติจนเรารู้สึกเจ็บปวดไปด้วย 

 

มันก็จะวนไปที่เรื่อง Empathy และ สัตว์สังคม ซึ่งเป็น Quality พื้นฐานของมนุษย์ที่เราเคยพูดถึงกัน

 

ในทางจิตวิทยา คนที่มี Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจ จะเกิดความรู้สึดผิดได้ง่าย

 

ด้วยความที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม สังคมเราก็ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ

 

คนที่มีจิตสำนึกคุณธรรม และคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งคนเหล่านี้จะเกิดความรู้สึกผิดได้ง่ายเหมือนกัน

 

อีกสาเหตุ คือ บางคนอาจจะรู้สึกผิดเพราะมีคนอื่นมาพูดใส่ด้วย เช่น สังคมกดดันให้เราต้องรับผิดชอบ ต่อว่า ตำหนิ

 

มันก็อาจจะทำให้คนที่รอดยิ่งรู้สึกแย่หรือกระตุ้นความรู้สึกผิดนั้น แต่บอกก่อนว่าถ้ารู้สึกผิดในระดับที่สมควรรู้สึกผิด

 

แบบนึกถึงใจเขาใจเราอะ มันโอเคที่จะรู้สึกนะ แต่ถ้ารู้สึกผิดจนทำร้ายตัวเอง ให้อภัยตัวเองไม่ได้ อันนี้ต้องหาทางออกให้ตัวเอง รวมถึงคนรอบข้างก็ต้องซัพพอร์ตความรู้สึกด้วย

 

Survival guilt ในปัจจุบัน

หลายคนอาจจะคิดว่าไกลตัว แบบเราไม่ใช่ทหาร เราไม่ได้ผ่านเหตุภัยพิบัติอะไรใหญ่หลวง เราก็ไม่น่าเป็น แต่จริงๆ แล้ว Survivor Guilt มันใกล้ตัวกว่านั้นอีก

 

คำว่า Survivor Guilt จะเขียนว่า Survivor’s Guilt ที่แปลว่า ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต เพราะแต่ก่อนมันเป็นสภาวะที่เกิดกับผู้รอดจากเหตุการณ์ร้ายแรง

 

ในปัจจุบันนิยามกว้างขึ้น สามารถใช้เรียกสภาวะหรือความรู้สึกแย่ที่ชีวิตตัวเองไปได้ดีในขณะที่เพื่อน คนรัก หรือคนรู้จักของเรากำลังลำบากอยู่ ซึ่งเป็นอะไรที่ชีวิตประจำวันมากขึ้น 

 

เช่น 

 

มันคือความรู้สึกผิดที่ตัวเราไปได้ดี ประสบความสำเร็จ มีโชค หรือเป็นทุกข์น้อยกว่า ในขณะที่คนที่เรารักหรือใส่ใจกำลังเผชิญกับความลำบาก

 

จนอาจจะเกิดความคิดที่ว่า เพราะเราเขาถึงได้เป็นทุข์ ความสำเร็จของเราทำให้คนอื่นไม่เป็นสุข นำไปสู่ความรู้สึกไร้ค่า คิดว่าตัวเองไม่คู่ควรกับสิ่งต่างๆ

 

บางครั้งเราเลยจะทำตัวให้เด่นน้อยลง ลดความสำเร็จของเรา บางครั้งอาจถึงขั้นทำลายชีวิตของตัวเอง (Self-Sabotage) เพราะรู้สึกผิดที่เราไปได้ดีกว่าคนรัก

 

 

จากคำว่า  Survivor’s Guilt ที่แปลว่า ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต

ปัจจุบันก็ถูกเปลี่ยนเป็น Survivor Guilt ที่ไม่มี ‘s ที่แปลว่า ความรู้สึกผิดที่รอดชีวิต 

มีอีกคำที่ความหมายใกล้ๆ กัน คือ Happiness Guilt ตรงตัวเลยคือ

ความรู้สึกผิดที่ตัวเองมีความสุขหรือยิ้มได้ในขณะที่คนอื่นๆ หรือบริบทรอบตัวมันกำลังหม่นหมองและอมทุกข์

 

การดูแลตัวเอง

 

1. สังเกตและรับรู้ความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าจะโกรธ เสียใจ หรือกังวล รับรู้ว่าเรามีมันอยู่ ยอมรับว่าเรามีความรู้สึกผิดที่เรารอดหรือประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่น

 

2. กลับมาดูแลใจตัวเอง อย่าลืมว่าเราก้ผ่านความยากลำบากมาเหมือนกัน ถึงเราจะรอดแต่เราก็บาดเจ็บไม่ว่าจะกายหรือใจ

เราสูญเสียเหมือนกัน เอาความเห็นอกเห็นใจที่เรามีต่อคนอื่น แบ่งมันกลับมาใช้กับตัวเองบ้าง (Positive Self-Talk: แกเก่งมากแล้ว แกทำเต็มที่แล้ว)

 

3. เวลาที่อยู่ใกล้คนที่ทนทุกข์ ทุกครั้งที่หายใจเข้า จิตนาการว่าเราสูบความทรมานและความทนทุขของเขาเข้าไป อาจจะจินตนาการเป็นควันดำ

จินตนาการว่ามันเข้าไปทางจมูก เข้าไปในใจเราแล้วก้แตกสลายและถูกย่อยไป แล้วหายใจเอาความสุขทั้งหมดของเราออกมา

อาจจินตนาการเป็นควันขาว นึกภาพว่ามันรายล้อมคนที่เรารัก นึกภาพว่าความสุขและความโชคดีที่เรามีแผ่หยายไปหาเขา ฝึกนึกภาพนี้บ่อยๆจนเป็นธรรมชาติ

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ไม่มีใครควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ก็ฝึกการให้อภัยตัวเอง

 

กลับมามองเห็นคุณค่าในตนเองหลังจากยอมรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าก็เป็นเรื่องยาก เรื่องแบบนี้มันต้องใช้เวลาก็ค่อย ๆ ให้เวลากับตัวเอง

 

 

ที่มา :

Blog ของ Hist Talk ที่นี่มีเรื่องเล่า วันที่ 1 มี.ค. 2022 

Godzilla and the Birth of Modern Environmentalism

Survivor Guilt

How to Live with Survivor Guilt

รู้สึกผิด ไม่กล้ามีความสุข : Happiness Guilt เมื่อรัฐแย่ๆ ทำให้เราไม่กล้ามีความสุข

 

 

 

โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก 

 

 

ขอกล่าวถึง ป้าแหม่ม สักหน่อย 🙂 ชอบป้าแหม่มมากๆ ชอบทัศนะคติของเขา ชอบมุมมองของเขา 

 

ป้าแหม่มมีมุมมองต่อโลกที่ดี ตรง และมีความเข้าอกเข้าใจโลกและมนุษย์สูงมาก

 

เกี่ยวกับหนังสือ

พูดถึงมุมมองการเลี้ยงลูก แต่ละประเด็นก็จะเป็นบทความสั้นๆ 

 

ไม่ได้มีลูกก็อ่านได้

หลายคนที่ยังไม่เคยมีลูกก็อ่านได้นะ เพราะมันคือการทำความเข้าใจมนุษย์ ทำความเข้าใจคนตัวเล็กๆ ที่ใจและกายยังบอบบางอยู่ ได้ข้อคิดอะไรกลับมาดูแลใจตัวเราเองด้วย

 

บทที่ชอบชื่อบทว่า “คุณเองก็เช่นกัน ไม่เคยรักใครหรืออะไรไปมากกว่าลูก”

 

ป้าแหม่มเล่าย้อนไปว่าตอนที่เห็นหน้าลูกครั้งแรกเรารักเขามากขนาดไหน รักคนตัวน้อยๆ คนนั้นแบบไม่มีเงื่อนไขขนาดไหน

 

และอยากให้สัญญากับตัวเองว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะไม่เลิกรักเขา แล้วป้าแหม่ก็เล่าต่อไปว่า

 

คนทุกคนล้วนทำดีที่สุดเท่าที่ทำได้เสมอ แค่จดจำไว้ว่าในวันที่ลูกเกิดเราเคยหวังมากเพียงไร สุขใจเพียงไหนว่าเขาจะมีชีวิตที่ดี จำไว้ให้แม่นว่าความหมายของชีวิตที่ดีในวันแรก ๆ ของเขาคือมี ‘คุณ’

 

ถ้าวันนึงลูกทำเราผิดหวัง ไม่ว่าจะเจ็บปวดแค่ไหน เราจะไม่เลิกรักเขา เราจะไม่กระทั่งรักลูกน้อยลง

 

 

ความรักบางครั้งก็มากับความคาดหวัง

 

ถึงเราจะไม่ใช่พ่อแม่คนอะ แต่เป็นปกติมากๆ ที่เราจะถูกคาดหวัง หรือบางครั้งก็คาดหวังกับคนอื่นซะเอง 

 

ยิ่งกับคนที่เรารักอะ บางครั้งเราก็เผลอคาดหวังอะไรบางอย่างจากเขา แล้วพอไม่ได้ดั่งหวัง เราก็เสียใจ ซ้ำร้ายไปผิดหวังในตัวเขาอีก

 

ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วความคาดหวังทั้งหมดนั้นมันมาจากตัวเราเองทั้งนั้นเลย

 

เราสร้างมันขึ้นมาเองแล้วไปคาดหวังให้คนอื่นทำได้อย่างใจเรา จากรักกลายเป็นเจ็บใจและทำร้ายกันโดยไม่รู้ตัว

 

มันน่าเศร้าแต่ก้เป็นอะไรที่ฟิวเชื่อว่ามันเกิดกับทุกคนแน่ๆ  มันน่าจะต้องเคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

ประโยคนี้จากบทนี้เหมือนเป็นการเตือนเรานิดๆ ว่า ผิดหวังบ้างก็ไม่เป็นไร ไม่เป็นดั่งใจมากก็ไม่เป็นไร เพราะบางทีคนตรงหน้าหรือแม้กระทั้งตัวเราเอง ในตอนนั้นอะทำเต็มที่ที่สุดแล้ว

 

 

ไม่ได้ต่อว่าพ่อแม่

 

ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะชื่อว่า โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก อาจจะเข้าใจว่ามันถูกเล่าแบบเข้าข้างลูก

 

ต่อว่าพ่อแม่ แต่เอาเข้าจริงคือมันไม่จริงเลยทุกคน มันปลอบคนเป็นพ่อเป็นแม่ด้วย

 

หน้า 22 ครับ ชื่อบทว่า “การเป็นพ่อแม่คือการเดินทางไกล” บทนี้ป้าแหม่เล่าว่า….

 

พ่อแม่เองก็เติบโตเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่ๆ พร้อมกับลูกๆ ด้วย เราจะอยากได้ชีวิตที่ดีขึ้น สังคมที่ดีขึ้น อนาคตที่ดีขึ้นเพราะเราอยากเห็นลูกๆ ของเรามีชีวิตที่ดี 

 

 

เฉกเช่นการเดินทางไกลทั้งหลาย เราจะพบว่าเราจะไม่ใช่คนเดิมในทางที่เราเดินจากมา

 

 

บางครั้งเราอาจจะเผลอโทษพ่อแม่ ทำไมเขาไม่ทำแบบนั้น ทำไมเขาไม่เลี้ยงเรามาแบบนี้ แต่บทที่ก็เตือนสติเราเหมือนกันว่า

 

ใจเย็นๆ พ่อแม่ก็เลี้ยงลูกครั้งแรกเหมือนกัน และเขาก้เรียนรู้ ลองผิดลองถูก และเติบโตไปเหมือนๆ กับเรานั้นแหละ

 

 

ขอจบด้วยการอ่านประโยคที่ชอบอีกสักนิด .. 

ความสัมพันธ์ที่งดงามที่สุด ที่มนุษย์จะมีได้กับกลายเป็นเรื่องโหด

 

ร้ายและเจ็บปวดขนาดนี้ได้อย่างไรอะไรกัน ที่ทำให้คนที่รักกันอย่างที่สุด พ่อ แม่ ลูก

 

ต้องมาอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ลากพากันมาจน ถึงจุดนี้อะไรทำให้ความรักความหวังดีที่ เรามีต่อกันทำร้ายกันได้ถึงขนาดนี้

 

#โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก

🙂

 

 

 … ‘ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ เราก็ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้’ ….

 

หลาย ๆ คนเวลาที่เริ่มอายุเยอะมากขึ้นก็เริ่มมีความกลัว กังวล ว่าชีวิตจะเป็นยังไงต่อไป จะป่วยไหม จะมีคนอยู่กับเราไหม

 

แต่ถึงแม้ว่าจะกังวลขนาดไหน สุดท้ายเราก็หนีการที่เราต้องเติบโตขึ้นในทุก ๆ วัน จนเข้าสู่ ‘วัยชรา’ ไม่ได้อยู่ดี

 

ถ้าได้ลองอ่าน จะได้รับคำแนะนำในการใช้ชีวิตอย่างมากมายและอบอุ่นหัวใจกับจิตแพทย์ที่วัยต่างกัน

 

วัยที่ก้าวเข้าสู่วัยชรา คุณสึเนะโกะ อายุ 92 ปี และ คุณโอะกุดะ จิตแพทย์ที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ อายุ 54 ปี หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย นานมีบุ๊คส์ จำกัด

 

หนังสือเล่มนี้จะพาเราไต่ระดับการเตรียมพร้อมสำหรับจิตใจจริง ๆ เริ่มตั้งแต่…

 

สารบัญบทแรกยันบทสุดท้าย การยอมรับ การปล่อยวางความสัมพันธ์ การปลดปล่อยความกังวล ความตาย การจากโลกนี้ไปด้วยรอยยิ้มและความสุข

 

ถ้าให้พูดถึงความรู้สึกดีที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ คงยาวมากจนไม่รู้จบ ขอเลือกมาหนึ่งเรื่องที่ค่อนข้างจะมีผลกับความรู้สึกของคนในวัยนี้ หรือ (อาจ) ในสังคมนี้

 

ความคิดที่ว่า ไม่อยากโดนคนอื่นเกลียด กลัวถูกเกลียด จนบางครั้งก็เก็บอารมณ์ข่มตัวเองไว้จนเครียด แต่เข้าใจนะถ้าเราเลือกได้เราคงอยากเกิดมาโดยที่ไม่มีใครเกลียดหรอก

 

 

เราอยากให้คนอื่นชอบ อยากเป็นคนที่ถูกรัก เป็นปกติที่จะมีความคิดแบบนี้

อาจเป็นเพราะเราถูกปลูกฝังมากับคำว่า ‘เกลียด’ เป็นอะไรที่ร้ายแรง 

 

 

จนบางครั้งก็ยอมทนกับบางคนที่รู้สึกว่าเข้ากันไม่ได้ ไปด้วยกันไม่ได้ ความเห็นไม่ลงรอยกัน อยู่ด้วยแล้วมีแต่พลังลบ

 

ทะเลาะกันอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ไหน ๆ ก็ตามแต่เพราะกลัวว่าเขาจะเกลียด เขาจะไม่ชอบ

 

เลยต้องยอมอยู่กับความรู้สึกแบบนี้ แบกความเครียดต่อไปจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต 

 

 

คุณสึเนะโกะ แนะนำไว้ว่า

 

“แค่โดนคนสักหนึ่งหรือสองคนเกลียด อย่าไปสนใจเลย โดนเกลียดมันไม่ถึงตายหรอก

อย่าไปทนฝืนคบ ให้เรามองหาคนที่ยอมรับเราที่เป็นเราดีกว่า”

 

 

และคุณโอกุดะก็เสริมว่า “เราไม่จำเป็นต้องพยายามให้ทุกคนชอบเราขนาดนั้น คิดเสียว่าถ้าโชคดีก็จะเจอคนที่ชอบเราในแบบที่เราเป็น”

 

เมื่ออายุมากขึ้นแล้วถ้าเรายังต้องใส่ใจเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก เรื่องผลประโยชน์หรือมานั่งใส่ใจว่าคนอื่นจะมองมายังไงจนไม่เกิดความรู้สึกดี ๆ กับตัวเอง

 

หรือกับความสัมพันธ์ ก็ควรที่จะสะสางความสัมพันธ์ที่ไม่ดีไปเลย ดีกว่ามานั่งเสียดายแรงกายแรงใจหรือเวลาที่เอาไปทุ่มเทประโยชน์กับอะไรที่ดีและมีค่ามากกว่านี้

 

เมื่ออ่านบทนี้จบเรารู้สึกว่าก็จริงนะ…บนโลกนี้มีคนอีกหลายคนที่เรายังไม่รู้จักที่อาจจะรอให้เราได้มีโอกาสได้รู้จักกัน

 

การที่เรามัวแต่รักษาความสัมพันธ์กับคนที่ไม่ได้ชอบเราหรือ ‘เกลียด’ เรา คิดดูว่ามันคงน่าเสียดายน่าดูถ้ามองกลับไป

 

ละทิ้งความสัมพันธ์ที่ชวนเครียดหรือปวดหัว และเลือกอยู่กับคนที่มีคุณภาพกับชีวิตกันเถอะ 🙂

 

สุดท้ายแล้ว หนังสือ เตรียมพร้อม ‘จิตใจ’ ก่อนวัย ‘เกษียณ’ หนังสือที่ทุกวัยสามารถอ่านได้

 

หนังสือที่เหมือนเราได้รับคำแนะนำจากญาติผู้ใหญ่ที่เราคุ้นเคย ญาติผู้ใหญ่ที่คอยบอกเราว่า ไม่เป็นไรนะ

 

การเติบโตถึงจะเจ็บปวดบ้างหรือมีอะไรที่ไม่คาดคิดบ้างแต่สุดท้ายมันจะจบและผ่านไปได้ด้วยดี 

 

#เตรียมพร้อมจิตใจก่อนวัยเกษียณ

#Bloomread #BloomPublishing

#HaveaBooktifulDay #Nanmeebooks #นานมีบุ๊คส์ #AlljitMiniReview 

ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพราะ เรื่องผี เรื่องลี้ลับ เรื่องสยองขวัญ เรื่องพวกนี้ถึงดึงดูดและน่าฟังกว่าเรื่องทั่วไปหรือเปล่า ไขข้อสงสัยทำไมเรื่องลี้ลับถึงน่าดึงดูดในทางจิตวิทยาได้ที่บทความนี้ค่ะ

 

 

ผี และ สิ่งลี้ลับ

“ผี” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้

 

มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน หรือกระทั่งการใช้เรียกคนที่ตายไปแล้ว

 

“สิ่งลี้ลับ”  คือ สิ่งที่ไม่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป แต่เมื่อสัมผัสหรือพบเห็นแล้ว อาจทำให้เกิดความสนใจต่อมาได้ และสิ่งลี้ลับที่อยู่ในรูปของพลังงาน

 

จะเป็นพวกผี วิญญาณ แต่สิ่งลี้ลับที่มีตัวตนก็คือมีร่างกายไว้สิงสถิตย์ เช่น ปีศาจ สัตว์ประหลาด 

 

 

ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี

1. ปลดปล่อยอารมณ์ 

จริง ๆ แล้วภายใต้จิตใจของมนุษย์มีอารมณ์ที่รุนแรงซ่อนอยู่ เวลาที่ได้ฟังหรือ ดูเรื่องน่ากลัวทำให้รู้สึกได้ถูกปลดปล่อยออกมา

 

การดูหนังผีหรือ ฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับผี เวลาที่มีฉากที่ทำให้เราระทึก หรือรู้สึกกลัว ช่วงเวลานั้นในสมองเกิดฮอร์โมนอะดรีนาลีน หลั่งเพื่อตอบสนองกับสิ่งที่เสมือนอันตรายและเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายในการสู้

 

ทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายตื่นตัว และตื่นเต้น เป็นผลมาจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนความสุขชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโดพามีน จึงทำให้การฟังเรื่องผีที่น่ากลัว ทำให้ตื่นตัวและมีความสุข

 

2. กิจกรรมทางร่วมกันทางสังคม

 เคยไหมตั้งแต่เด็ก ๆ เวลาจับวงเล่าเรื่องผี และสิ่งเล้นลับ เพื่อนจะมาล้อมเป็นพิเศษ แล้วทุกคนจะเงียบตั้งใจฟัง ซึ่งการที่เป็นแบบนี้มีตั้งแต่สมัยโบราณแล้วนะเราจะเห็นได้จากหนังไทยยุคก่อน ๆ เช่น กระสือ ปอบ

 

3. ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพื่อตอบสนองความรู้สึก

เพราะเรื่องผีเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าจริงไม่จริง การฟังเรื่องผีเหมือนเป็นการเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ 

 

 

ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพราะทำให้หลับง่ายขึ้น?

 

คุณเจฟ คาห์น หนึ่งในผู้วิจัยเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการนอนโดยอาศัยเทคโนโลยีและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE Application เพื่อการนอนหลับได้อธิบายความสัมพันธ์

 

ของการฟังและการนอนหลับว่า การฟัง Podcast ก่อนนอนจะช่วยให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย และเหมือนเป็นการสร้างกิจวัตรให้ร่างกายรับรู้ว่าถึงเวลานอนแล้ว

 

ดร.ลินซีย์ บราวนิง นักจิตวิทยาคลินิกและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการนอน Navigating Sleeplessness กล่าวว่า การฟัง Podcast จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจเราไปยังเรื่องอื่นนอกเหนือเรื่องที่เรากำลังเครียด 

 

ซึ่งเหตุผลที่เรื่องผีเป็นที่นิยมในการฟังก่อนนอน เพราะการเสพสื่อพวกนี้ สามารถลดระดับคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดได้

 

จากงานวิจัย Pandemic practice : Horror fans ในวารสาร Personality and individual differences กล่าวว่า ความกลัวจะกระตุ้นการตอบสนองทางสรีรวิทยา

 

เช่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก รูม่านตาขยาย หลังจากนั้นร่างกายจะเข้าสู่โหมดจัดการอารมณ์ลบเพื่อหนีความกลัว และเมื่อเริ่มสงบสติอารมณ์ลง หัวใจจะเต้นช้าลง และหยุดผลิตคอร์ติซอล สมองรู้สึกผ่อนจะคลายในท้ายที่สุด

 

 

 

โรคกลัวผี Phasmophobia 

 

‘โรคกลัวผี’ เป็นอาการกลัวสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งลี้ลับ จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการกลัว Phobia  แต่โรคกลัวผี จะต้องมีอาการต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 เดือน

 

มีความกลัวและวิตกกังวลเกินปกติและควบคุมไม่ได้ พยายามทำทุกทางที่จะหลีกหนีสิ่งนั้น ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น

 

ไม่กล้าอยู่คนเดียว กลัวความมืดแม้เพียงเล็กน้อย นอนหลับยาก สำหรับโรคกลัวผีนี้ นอกเหนือจากความกลัวจากภาพจำในสมองแล้ว ยังกลัวสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและทึกทักว่า เป็นผีอีกด้วย 

 

ซึ่งพวกสื่อหรือภาพยนตร์ แม้กระทั่งความเชื่อที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เรื่องเล่าต่าง ๆ สภาพแวดล้อมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยจะพบความกลัวผีได้มากในวัยเด็ก

 

และเริ่มหายกลัวเมื่อโตขึ้น แต่หลายคนก็ยังคงมีอาการนี้ และอาจร้ายแรงขึ้นจนมีอาการหลอน หากกระทบกับชีวิตประจำวันมาก ก็ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน

 

การรักษามี 2 แบบ คือ รักษาทางจิตบำบัดและยา หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน การใช้ยาจะเป็นการรักษาชั่วคราว แค่บรรเทาอาการทางกายลง

 

แต่การเอาชนะความกลัวอาจจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อจัดการกับความกลัวและอาการต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ

 

 

ประโยชน์ของความกลัว  

 

จากงานวิจัยของนักสรีรวิทยาในลอนดอน พบว่าเมื่อเรารู้สึกกลัวจากการดูหนังสยองขวัญ อัตราการเต้นของชีพจรจะสูงขึ้น ทำให้อะดรีนาลินและเลือดไหลเวียนเร็วขึ้น

 

ทำให้ไขมันและน้ำตาลถูกดึงมาใช้ในกระบวนการเผาผลาญ จึงช่วยลดน้ำหนักได้ อีกทั้งยังมีนอร์อิพิเนฟริน ถูกปล่อยออกมาพร้อมกัน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้เราตื่นตัวเต็มที่ มีสมาธิเตรียมพร้อมรับมือสิ่งต่าง ๆ 

 

ความกลัวทำให้เซโรโทนินถูกหลั่ง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สมองเกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากขึ้น เช่น เดินกลับบ้านเส้นใหม่ที่ไม่คุ้นเคย

 

ความกลัวจะทำให้เราระวังตัวมากขึ้น รวมถึงบางที การทำตามสัญชาตญาณจากความกลัว ก็อาจจะช่วยเราให้เลี่ยงเผชิญอันตรายได้เร็วกว่าเดิม

 

จริง ๆ แล้วความกลัวก็เป็นสัญชาตญาณของเราที่ช่วยปกป้องเราให้มีชีวิตรอดด้วย ถ้าเราไม่กลัวอุบัติเหตุ เราก็คงเดินข้ามถนนโดยไม่แคร์ความปลอดภัยของตัวเอง 

 

 

ที่มา: 

คุยเรื่องผี ๆ แบบจิตวิทยา เรื่องที่ว่าปรากฏการณ์เกี่ยวกับ “ผี”

The Psychology Behind Why We Love (or Hate) Horror

8 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่าทำไม “ความกลัว” ส่งผลดีกับเรา

 

 

หนังสือเล่มม่วง ปกน่ารัก ๆ อย่าง “เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย” วันนี้เลยอยากมาเล่าสู่กันฟัง

 

“เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย” เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดชีวิตของคุณอีซูย็อน

 

นักดนตรีชาวเกาหลีในรูปแบบของไดอารี่ประจำวัน วางจำหน่ายที่ไทยครั้งแรกช่วงปีพ.ศ. 2564 โดยสำนักพิมพ์ Bloom

 

คำนำของเล่มจั่วหัวได้น่าสนใจมาก โดยบอกว่า “เรารับรู้” ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย แต่บางครั้งกลับยังไม่ “เข้าใจ” ผู้ป่วยซึมเศร้าเท่าที่ควร 

 

จริงที่ว่าหลายคนมีความรู้มากมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และอาจเป็นอาการป่วยทางจิตเวชที่ถูกพูดถึงบ่อยที่สุดด้วยซ้ำ

 

แต่ถึงอย่างนั้น เราหลายคนก็อาจยังไม่ได้ “เข้าใจ” ความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสักเท่าไหร่

 

หนังสือเล่มนี้พาเราไปถึงตรงนั้นได้ มันคือการชวนเราไปลองใช้ชีวิต ลองเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนหนึ่ง

 

พาเราไป “เข้าใจ” ความเจ็บปวด ความทรมานและความตะเกียกตะกายอย่างยากลำบากเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่ใช่ในระยะยาว แต่เป็นการอยู่ต่อไป…แบบวัน ต่อ วัน

 

ถึงหนังสือเล่มนี้จะถูกเขียนออกมาในรูปแบบของไดอารี่แต่คุณอีซูย็อนก็เล่าชีวิตของตัวเองออกมาได้อย่างน่าติดตาม มีปริศนา มีการคลายปม

 

และแทบจะให้ความรู้สึกเหมือนอ่านวรรณกรรมดี ๆ สักเล่มหนึ่งเลยด้วยซ้ำ

 

นอกจากประสบการณ์การอ่านที่ดีแล้ว หนังสือยังหยิบยกหลายประเด็นที่น่าสนใจและชวนให้ได้คิดตามอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ในเรื่องของโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว

 

 

“การจากไปของเพื่อนสามีทำให้เราได้รู้ว่าความตายเป็นแค่คำพูดหนึ่งคำ ข้อความเพียงหนึ่งข้อความ

โทรศัพท์เพียงหนึ่งสายที่เปลี่ยนวันซึ่งเคยคิดว่าเป็นวันธรรมดาให้กลายเป็นวันที่ผิดเพี้ยนไป…”

 

 

ไดอารี่วันจันทร์ที่ 14 เดือนสิงหาคม (หน้า 24-26) เป็นอีกบทที่ชอบ ในบทนี้คุณอีซูย็อนเขียนถึงความตายและมุมมองของความตายต่อความสัมพันธ์

 

เรื่องเริ่มที่ข่าวเพื่อนสามีของเธอที่เสียชีวิต และจบลงที่บทสนทนาระหว่างเธอกับจิตแพทย์ของเธอ

 

เหมือนเธอจะมองว่าความตายคือสิ่งสามัญ ธรรมดาและเรียบง่ายไม่ต่างจากตอนที่เราเกิดมา มันอาจเจ็บปวดสักชั่วครู่สำหรับคนที่อยู่ต่อ แต่มันก็จะหายไป 

 

 

“เมื่อเด็กสักคนเกิดมา ทุกคนล้วนยอมรับได้ว่าชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลงไป

แต่เมื่อใครสักคนตายจากไป ทุกคนกลับพยายามใช้ชีวิตให้ ‘เหมือนปกติ’ ”

 

 

กับความสุขก็เหมือนกัน สำหรับเธอ ดูเหมือนความสุขเป็นสิ่งที่ เข้าใจได้ แต่ รู้สึกไม่ได้

 

“แต่ถึงเข้าใจก็ใช่ว่าจะรู้สึก หมายถึง ความสุขแบบที่ผุดขึ้นในใจ”

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็คงจะประสบกับเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน เข้าใจว่าชีวิตมีความสุขกระจัดกระจายอยู่ในนั้น

 

แต่ด้วยเพราะตัวโรคและสารเคมีในสมองจึงรู้สึกถึงมันไม่ได้ คงเป็นอะไรที่น่าปวดใจไม่น้อย

 

กับเรื่องความสัมพันธ์ก็เหมือนว่าคุณอีซูย็อนจะมีมุมมองของการ เว้นระยะห่าง ระหว่างตัวเองกับคนรอบตัวอยู่พอสมควร

 

เพราะตัวเธอมองว่าการเว้นระยะห่างจะทำให้ เมื่อเธอจากไป ความเจ็บปวดของคนรอบตัวจะได้ไม่หนักจนเกินไป

 

 

“แต่ฉันชอบนั่งห่างจากคุณหมอหนึ่งเมตรแบบนี้

เพราะมันเป็นระยะห่างที่ช่วยปกป้องความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายไงคะ”

 

 

กลายเป็นว่านอกจากจะทรมานจากโรคซึมเศร้า สิ่งที่ผู้ป่วยคนหนึ่งนึกถึง กลับเป็นความเจ็บปวดของคนรอบตัวก่อนความรู้สึกของตัวเอง 

 

เป็นอีกหนึ่งบทที่ลึกซึ้ง เล่าได้อย่างน่าสนใจและรู้สึกปวดใจไปด้วยนิด ๆ ระหว่างที่อ่าน

 

“เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย” เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่อยากแนะนำหากคุณอยากเข้าใจโลกซึมเศร้า

 

และมุมมองอื่น ๆ ของชีวิต อาจจะหม่นหมองนิดหน่อยระหว่างที่อ่าน แต่เราเชื่อว่าคุณจะได้อะไรกลับไปแน่นอน

 

#เป็นคนธรรมดาแต่ว่าซึมเศร้าเล็กน้อย

#Bloomread #BloomPublishing

#HaveaBooktifulDay #Nanmeebooks #นานมีบุ๊คส์ #AlljitMiniReview 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยา หลายคนเชื่อว่าพวกเขาสามารถดูดวงหรืออ่านใจคนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเข้าใจผิด

 

มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองกับนักจิตวิทยาการปรึกษาในหัวข้อที่น่าสนใจนี้ ใน Alljit x  คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา

 

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยา : นักจิตวิทยาอ่านใจคนได้

เมื่อเราเห็นนักจิตวิทยา สามารถสะท้อนความรู้สึกหรือพฤติกรรมของบุคคลได้อย่างแม่นยำ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า พวกเขามีพลังพิเศษในการเข้าใจจิตใจผู้อื่น

 

แม้ว่าการสะกดจิตเป็นหนึ่งในเทคนิคที่นักจิตวิทยาใช้ในช่วงยุคหนึ่งในอดีต แต่การใช้วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่านักจิตวิทยาสามารถ “อ่านใจ” ผู้อื่นได้อย่างที่หลายคนเชื่อ

 

เมื่อมีคนบอกว่านักจิตวิทยาอ่านใจได้จริง ๆ นั่นอาจเป็นการคาดเดาจากประสบการณ์มากมายที่นักจิตวิทยาสั่งสมมา ไม่ได้เกิดจากความสามารถวิเศษแต่อย่างใด

 

ยกตัวอย่างจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านสามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นเติบโตมาอย่างไรเพียงแค่ฟังเพียงประโยคสองประโยคแรกที่พูด ซึ่งสร้างความประหลาดใจมาก

 

แต่เมื่อถามท่านเพิ่มเติม ท่านบอกว่า นี่เป็นผลจากการทำงานมาหลายสิบปี ทำให้สามารถมองเห็นพฤติกรรมและเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีทางจิตวิทยาได้

 

 

นักจิตวิทยาเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง

แม้ว่าจะมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนักจิตวิทยาอยู่ แต่จริง ๆ แล้ว นักจิตวิทยาก็เป็นคนธรรมดา บางคนยังคงเชื่อในศาสนาหรือ มีความเชื่อในเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์ หรือ ดูดวง

 

และอาจมีบางสถานการณ์ที่นักจิตวิทยาอาจไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์แบบที่เราคิดกันเอง 

 

การเป็นนักจิตวิทยาไม่ได้ทำให้บุคคลนั้น “เหนือ” กว่าผู้อื่น สิ่งที่นักจิตวิทยามีคือ ความรู้และ ประสบการณ์ที่ทำให้พวกเขาเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ได้มากขึ้น

 

ในที่สุดแล้ว นักจิตวิทยาไม่ใช่ผู้วิเศษ พวกเขายังคงเป็นมนุษย์ธรรมดา เพียงแต่ว่ามีทักษะที่สามารถช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น 

 

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่