Posts
จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา เป็นวิชาชีพที่ดูแลเรื่องจิตใจ แต่แตกต่างกันอย่างไร มีปัญหาหัวใจจะเลือกใครดี ร่วมพูดคุยหาคำตอบกับ Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
นักจิตวิทยา VS จิตแพทย์ แตกต่างกันอย่างไร
ระบบการทำงานในแต่ละสถานบริการมีรายละเอียดเฉพาะที่แตกต่างกัน ส่วนภาคของการปฎิบัติงานมีความแต่กต่างกันค่อนข้างมาก
จิตแพทย์ เน้นในการวนิจฉัย จ่ายยา และรักษาความผิดปกติ ร่วมถึงวางแผนการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโรงพยาบาล
นักจิตวิทยา ในโครงสร้างของบางโรงพยาบาล นักจิตวิทยาจะทำหน้าที่รับคำสั่งงานต่อจากจิตแพทย์ เพื่อมาทำงานต่าง ๆ ตามสายงานของตัวเอง
เช่น Psychological Test หรือแบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือ Psychotherapy พูดคุยทำจิตบำบัด
จุดแตกต่างที่สำคัญมากในนักจิตวิทยา คือ ไม่สามารถจ่ายยา หรือปรับยาให้ผู้เข้ารับบริการได้เหมือนจิตแพทย์
แต่จุดประสงค์สำคัญร่วมกันของทั้งสองวิชาชีพคือ การดูแลรักษาปัญหาสุขภาพจิตในทุกมิติ
วิธีการสำรวจตัวเองเพื่อตัดสินใจเลือกพบผู้เชี่ยวชาญ
จุดเริ่มต้นคือ สำราวจความต้องการ จากการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำงานของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม โดยการมองหลักการทำงานของแต่ละวิชาชีพ
โดยเริ่มทำความเข้าใจ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา ว่าแต่ละสาขาทำงานอย่างไร แบบใดในเบื้องต้น เพราะหนึ่งปัญหาสามารถตีความออกมาได้หลากหลายรูปแบบ
ขึ้นอยู่กับมุมมองที่เฉพาะเจาะจงของนักวิชาชีพแต่ละสาขา เมื่อตั้งหลักที่การรับรู้ความต้องการของตัวเองความ ซับซ้อนของทางเลือกจะลดลงจะลดลง
แต่ในยุคสมัยนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราเข้าถึงตัวเลือกในการเข้ารับบริการ ของแต่ละสถานบริการได้ง่ายขึ้น
แต่ละสถานที่ก็จะให้ข้อมูลความถนัดในการให้คำปรึกษาของผู้เชี่ยวชาญ เราสารถหาข้อมูลกับผู้ให้บริการที่เราถูกตาต้องใจได้ มากกว่านั้นคือสามารถรับเข้ารับการปรึกษาเบื้องต้นผ่านออนไลน์ได้
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
ทำไมต้องปรึกษานักจิตวิทยา ในวันที่มีปัญหารุมเร้า ? จุดเด่นของนักจิตวิทยาคืออะไร ? แตกต่างจากการพูดคุยกับคนใกล้ตัว ครอบครัว เพื่อน แฟน อย่างไร ? กับ Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยา
การเลือกปรึกษาใครซักคน เราสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตัวเอง ที่เราสบายใจ บางเรื่องนักจิตวิทยาก็อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาภายในใจ
“การเลือกปรึกษานั้นขึ้นอยู่กับว่า อยากคุยเรื่องอะไร อยากได้รับอะไร จากกการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนั้น”
ทำไมต้องปรึกษานักจิตวิทยา? เรื่องบางเรื่องต้องเป็นนักจิตวิทยาเท่านั้น
จุดเด่นสำคัญอย่างหนึ่งของการปรึกษานักจิตวิทยาคือ การทำให้ผู้รับบริการเห็นมิติของปัญหาในมุมกว้าง รวมถึงความลึกซึ้ง และข้อมูลรายละเอียดของ ปัญหา ความรู้สึกที่มากขึ้น
โดยการเริ่มจากให้ผู้รับบริการ รีวิวรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ตัวเองพบเจออยู๋ เช่น ตอนนี้คุณรู้สึกอย่างไร และตั้งคำถามต่อว่า
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น เพื่อให้มองเห็นห้วงอารมณ์ รวมถึงทำความเข้าใจถึงสาเหตุต่าง ๆ ได้ลึกลงไป
แต่การให้บริการ การตีความในแต่ละละเหตุการณ์ แตกต่างกันออกไปตามวิธีการของนักจิตวิทยาแต่ละท่าน ด้วยเทคนิค และประสบการณ์
สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ นักจิตวิทยาพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเพื่อช่วยเหลือให้ผู้คนได้เข้าใจตัวเอง
นอกเหนือจากการเจาะลึกปัญหา สิ่งที่่สำคัญคือ การจัดการความรู้สึก รวมถึงหาวิธีการทำให้ผู้รับิการเห็นรภาพรวม โดยอาศัยบรรยากาศ สถานการณ์ เวลาที่เหมาะสม
เนื่องด้วย การจำกัดเวลาในการเข้ารับบริการ ส่วนหนึ่ง คือ เพื่อให้ผู้รับบริการจดจ่อ ไม่ออกนอกประเด็น ไม่จมกับความรู้สึกจนเกินไป
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
Self-Portrait การวาดภาพตัวเอง ทำให้รู้จักตัวเองได้มากขึ้นอย่างไร ?
คำนิยาม Self-Portrait
Avant Arte ‘การอธิบายตัวตนของบุคคล ๆ หนึ่งซึ่งสร้างขึ้นโดยตัวเขาเอง เป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่ถ่ายทอดภาพของตัวเองออกมา โดยส่วนใหญ่ผ่านการวาด การถ่ายภาพ หรือเทคนิคอื่นๆ ผสม เพื่อถ่ายทอดการรับรู้ของตัวเขาเองผ่านศิลปะที่บุคคลสร้าง’
ประวัติศาสตร์ของ Self-Portrait
- ในยุคอียิป Self-Portrait ถือเป็นอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูง มีแค่ฟาร์โรเท่านั้นที่จะมีภาพเหมือนของตนเองได้
- เพลโต นักปราชญ์ในยุคกรีกเองมองว่า ร่างกายคือกรงขังของวิญญาณ = ไม่ได้ให้ความสำคัญในการเก็บภาพเรือนร่างของตัวเองซักเท่าไหร่ Self-Portrait ในยุคนั้นจึงไม่ค่อยมี
- ช่วงศตวรรษที่ 15 สังคมเริ่มมีอิสระและมีความเป็นปัจเจคบุคคลมากขึ้น เลยเกิดการวาดภาพตัวเองมากขึ้น ใช้การวาด เพราะยังไม่มีกล้อง
- ช่วงศตวรรษที่ 20 Self-Portrait ก็ถูกสร้างเรื่อยมา เน้นเรื่องความงามและเรือนร่าง เป็นช่วงที่ Beauty Standart ในสังคมกำลังเข้มข้นทั้งในวงการนางแบบ เครื่องสำอางและวงการอาหาร
หลักจิตวิทยาเบื่องหลัง Self-Portrait
Self-Image เป็นตัวแทนการรับรู้ตัวตนของเราในหัวเรา พูดง่าย ๆ คือ เรามีภาพอยู่ในหัวว่าเรามีรูปร่างหน้าตาแบบไหน
มาจากประสบการณ์ของเรา สังคมและวัฒนธรรมที่เราอยู่ เงาสะท้อนในกระจก ของเล่น ไปจนถึงสื่อที่เราดู และปฎิสัมพันธ์ต่อคนรอบตัวเรา
Self image เป็นส่วนหนึ่งของ Self-Concept
Self-Concept คือ ชุดข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเราในความเข้าใจของเรา ทั้งมุมมอง ไอเดีย ความคิดเห็นที่ตัวบุคคลมีต่อตัวเอง ลักณะนิสัย ข้อดีข้อด้อยของตัวเอง
ไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกหรือตรงกับความเป็นจริง แต่เป็นข้อมูลในหัวเราทำให้เราสามารถอธิบายออกมาได้ว่า เราเป็นใคร
งานวิจัยพบว่า Self-portraits สัมพันธ์กับ ความเชื่อเกี่ยวกับตัวเอง (Self-beliefs)
เช่น คนที่มีมุมมองเชิงลบต่อรูปร่างของตัวเองจะเลือกภาพที่เป็นตัวแทนของตัวเองใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีมุมมองเชิงบวกต่อร่างกายของตัวเอง
เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางจิตวิทยา ความรู้ทางจิตวิทยาโดยส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีและเป็นภาวะสันนิษฐาน
หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ตรงๆ ต้องวัดผ่านเครื่องมืออื่นๆ หรือพฤติกรรมภายนอกเพื่อใช้ทำความเข้าใจสิ่ง ๆ นึง
Self-Esteem ก็ไม่สามารถวัดได้ตรง ๆ เหมือนการวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือวัดความดัน แต่ก็จะวัดผ่านการใช้เครื่องมือ
เครื่องมือทางจิตวิทยาที่สร้างมาจากการศึกษาและทดลองมาแล้วว่า ข้อคำถามหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ สามารถวัดตัวแปรๆ นั้นๆ ได้จริงๆ
ที่มา :
What is a Self-Portrait? | A guide to art terminology.
This Is How We See Our Face and Body in Our Mind
About the psychological interpretation of drawing
A Powerful Way to Increase Self-Control.
เสพข่าวร้าย ข่าวร้ายฟรี ข่าวดีเสียเงิน… ในยุคที่ข่าวสารทุกอย่างเข้าถึงง่ายและรวดเร็ว บ่อยครั้ง เรามักจะอินไปกับข่าว เราจะจัดการตัวเองได้อย่างไรบ้าง ? กับคุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
เสพข่าวร้าย ส่งผลต่อสุขภาพจิตจริงไหม
ถึงแม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับอย่างเป็นทางการว่าข่าวร้ายส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง แต่แน่นอนว่าส่งผลต่อความรู้สึกของเราได้แน่นอน
อาทิเช่น ภาวะเครียด รู้สึกสงสารผู้ถูกกระทำในข่าว รู้สึกหดหู่ และส่งผลกระทบถึงภายในจิตใจของเราได้ ยิ่งในยุคที่ข่าวสารเข้ามาหาเราได้ง่ายและไวมากยิ่งขึ้น
ข่าวร้าย ส่งผลให้มีภาวะทางจิตได้ไหม
เมื่อข่าวร้ายเข้าไปสั่งคลอนอารมณ์ภายในของเรา อาจส่งผลถึงสารสื่อประสาทของเราได้ ยกตัวอย่างในช่วงการระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา
หลาย ๆ คนเกิดภาวะตื่นตระหนก หรือ Panic เด่นชัดขึ้นในบางบุคคล เพียงเพราะเราเสพข่าว Covid ที่ค่อนข้างน่ากลัว รุนแรง เราไม่สามารถควบคุมโรคได้
เราก็เริ่มกลัวการออกจากบ้าน เริ่มล้างมือบ่อย ๆ ต้องกินของร้อนเท่านั้น ต้องอุ่นอาหารทุกครั้ง ทำทุกอย่างเป็น Pattern เป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ
เพื่อให้ตัวเองติดอยู่กับความรู้สึกไม่แน่ไม่นอนในใจของตัวเอง จากการเสพข่าว
อินข่าวจนกระทบความสัมพันธ์ ทำอย่างไร
1. เคร่งครัดและจำกัดเวลาในการเข้าชมข่าวต่าง ๆ
2. เมื่อใดที่เริ่มมีอารมณ์ มีความรู้สึกร่วม ก็ควรรู้ตัวเอง และหยุดพฤติกรรมเสพสื่อก่อน
3. รับฟังข่าวสารจากสื่อที่เชื่อถือได้ เพราะเราจะได้ข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น โดยทั่วไปคนเราเมื่อฟังสิ่งที่ไม่แน่นอน ความแตกต่างของข้อมูลกจะทำให้
4. ในบางข่าวอาจจะมีแง่มุมที่ดีบางแง่มุมเกิดขึ้นในข่าวได้
ดาวน์ โกรธ จากการเสพข่าว จัดการอย่างไร
ปิด หยุดเสพข่าว และออกมาใช้ชีวิตจริง ๆ ของตัวเอง อย่าลืมว่าเเรา และคนในข่าวคือคนละคนกัน และตัวเราเองก็ไม่ได้รับรู้ถึงข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับเขา
จริง ๆ เราอาจจะช่วยเขาได้แค่เพียงเล็กน้อย หรือช่วยไม่ได้เลยด้วยซ้ำ
อยากวิจารณ์ หยุดตัวเองอย่างไร
ตั้งคำถามว่าเราที่เราพิมพ์วิจารณ์ เราทำเพื่อตอบสนองความรู้สึกอะไรของตัวเอง ถ้าเรารู้สาเหตุว่าไปเพื่ออะไร ก็จะช่วยทำให้เรายับยั้งช่างใจตัวเองได้ง่ายขึ้น
เพราะหลาย ๆ ครั้งการที่เราพิมพ์ในโลกโซเชียล มันมาจากความต้องการลึก ๆ ของตัวเอง เกิดจากการเชื่อมโยงชีวติตัวเองที่เราไม่สามารถทำอะไรได้
เสพข่าวร้าย แล้วอยากทำตาม ทำอย่างไร
หากเราเริ่มมีคำถามกำตัวเองว่าจะทำพฤติกรรมนี้ หรือเริ่มวางแผน การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะภายในจิตใจอาจมีแรงขับเคล่อนบางอย่างที่ไปกระตุ้นทำให้เราอยากทำตาม
ทั้ง ๆ ที่ในใจรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องราวที่ไม่สมควรกระทำ
ความไวของโลก และเทคโนโลยี เป็นไปตามยุคสมัย แต่เราไม่จำเป็นต้องวิ่งตาม อยากให้ลองประเมินว่าเสพข่าวได้แค่ไหน แต่อย่าลืมว่า เรายังคนต้องใช้ชีวิตจริงของตัวเอง
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
ฝันกลางวันทั่วไปคือการ มโน การมีความหวัง การมีความฝัน การมีจินตนาการถึงภาพชีวิตที่สวยงาม
หรือการมีชีวิตตามต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าแบบไม่ปกติ คืออะไร?
โรคฝันกลางวัน
ภาวะหนึ่งในช่วงกลางวันที่ทำให้เราจินตนาการและเห็นภาพความคิดชัดเจนเป็นประจำ ชัดถึงขนาดที่เราจะรู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเหมือนเกิดขึ้นจริง
อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะพอเกิดอาการนี้ เราจะหยุดทำกิจกรรมที่เราทำอยู่ทันที
เช่น เรียน ๆอยู่แล้วเกิดภาวะนี้ขึ้นมา เราก็จะหลุดโฟกัสไปอยู่ในจินตนาการของตัวเอง ก็จะเหม่อไปเลย และอาจจะเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการนั้นด้วย
อาการของ โรคฝันกลางวัน
- เห็นภาพอย่างชัดเจน เป็นฉาก ๆ คล้ายกับการดูภาพยนตร์
- ฝันกลางวันบางครั้งอาจยาวนานหลายชั่วโมง เกิดบ่อย รุนแรง และนาน
- หลงใหลการฝันกลางวัน และอยากให้ความฝันเกิดขึ้นต่อ แม้จะมีสิ่งที่รบกวนหรือดึงตัวเองออกจากการฝันกลางวัน
- มีการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะจินตนาการอยู่ แสดงสีหน้า พูดคนเดียว และมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น เดินวนไปมา โยนของ หรือหมุนสิ่งที่อยู่ใกล้มือ
- ไม่สามารถจดจ่อกับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ
- มีความยากลำบากในการควบคุม
มีความคล้ายกับโรคจิตเภท แต่ต่างกันที่ คนที่มีอาการฝันกลางวันมักรู้ตัวตลอดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเป็นเพียงความฝัน
แต่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ ส่วนผู้ป่วยโรคจิตเภทจะ ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงหรือแค่จินตนาการ
โรคฝันกลางวัน เกิดจากอะไร
โรคฝันกลางวันไม่ได้จัดเป็นโรคทางจิตเวช แต่สันนิษฐานว่าโรคทางจิตอื่นที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น
หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ มีส่วนทำให้เกิดอาการหรือเป็นสัญญาณของโรคฝันกลางวันได้
สาเหตุก็อาจเกิดจากเหตุการณ์ในวัยเด็ก เช่น ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ความโดดเดี่ยวจากการไม่มีเพื่อน
การฝันกลางวันจึงเป็นวิธีหลีกหนีจากโลกแห่งความจริง เข้าไปอยู่ในโลกแห่งความฝันที่มีความสุขและปลอดภัยกว่า
หนีจากความกลัวการเข้าสังคม และทำให้ความต้องการที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริงสำเร็จ
เช่น หนังเรื่อง The Secret Life Of Walter Mitty ที่ตัวเอกมักจะหลุดเข้าไปในโลกจินตนาการบ่อย ๆ
ตลอดจนอาจเกิดจากเพราะชีวิตประจำวันมันน่าเบื่อหรือมีความเครียดหนัก เลยอยากจินตนาการถึงเรื่องที่น่าตื่นเต้นในหัวแทนก็ได้
อีกตัวอย่างจาก กรมสุขภาพจิต เจย์น บีเกลเซน นักวิจัยสาวชาวอเมริกัน เคยประสบกับโรคนี้มาด้วยตัวเอง
โดยตั้งแต่ 8 ขวบ ทุกครั้งเวลาว่าง เธอจะเริ่มจินตนาการถึงซีรีส์ที่เธอชอบ แต่แทนที่เธอจะรอดูตอนต่อไป เธอกลับสร้างตอนใหม่ขึ้นมาในหัว
ภาพในหัวเธอนั้นมันชัดเจนมากแถมยังสนุกกว่าเรื่องต้นฉบับอีกด้วย ทุกครั้งที่เธอมีอาการฝันกลางวันนี้ เธอจะเดินวนไปวนมา หรือกำบางอย่างไว้ในมือ
เพราะทำให้มีสมาธิและภาพชัดขึ้น รู้ตัว ตลอดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเธอนั้นมันคือความฝันที่ไม่ได้เป็นจริง แต่เธอก็ยังคงหลงใหลที่จะฝันกลางวันแบบนี้ต่อไป
จนขึ้น high school เธอเริ่มรู้สึกว่าโลกความจริงและโลกจินตนาการมักจะเชื่อมโยงกันโดยที่เธอควบคุมไม่ได้
แต่ในทางการแพทย์ยังไม่มีการวิจัยไว้อย่างชัดเจนด้วยความที่เป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่
เธอเข้ารับการบำบัดอยู่นานจนเธอพบว่า การแชร์ประสบการณ์กันระหว่างผู้ที่เป็นโรคฝันกลางวัน เป็นเหมือน “ยาที่ดีที่สุด”
วิธีรักษา
- สังเกตตัวเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
- อยู่กับตัวเองในปัจจุบัน
- พยายามทำตัวให้ไม่ว่าง ลองหาเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำอยู่ตลอด เช่น ออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงกลางวันแทนการอยู่แต่ในห้อง ออกกำลังกาย (สมาธิ สติ)
- หรือใช้ประโยชน์จากจินตนาการ นำไปเขียนนิยาย เป็นผลงานของตัวเองแทนก็ได้
- ตั้งเวลาฝันกลางวัน ค่อย ๆ ลดจำนวนเวลาลงจาก 45 นาที-30 นาที-15 นาที
ถ้าควบคุมอาการได้ดีขึ้น ก็อย่าลืมที่จะชื่นชมและให้กำลังใจตัวเองด้วย แต่ถ้าอาการเกินควบคุม แนะนำให้เข้าพบจิตแพทย์ เพื่อหาทางออกและแนวทางการรักษาตามอาการ
ที่มา :
โรคฝันกลางวัน ภาวะของการหลุดเข้าสู่โลกแห่งจินตนาการ
เพื่อนหาว เราหาวตาม เพื่อนขำ เราขำด้วย ทำไมเราถึงทำแบบคนอื่นโดยไม่รู้ตัว
ชวนทำความรู้จักและเข้าใจกับ Mirror Neurons ทฤษฎีกระจกเงา
Mirror Neurons คืออะไร
เซลส์สมองส่วนหนึ่งของมนุษย์ ที่ทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึก ของมนุษย์ต่อสิ่งมีชีวิต รอบ ๆ ตัวเรา เช่น คำที่บอกว่า คนรอบตัวเราเป็นแบบไหน เราก็เป็นแบบนั้น
แต่ก็อาจจะไม่ได้หมายถึงว่าเราจะเป็นแบบเขาทั้งหมด เราอาจได้พฤติกรรม นิสัยบางอย่างมา ไม่ใช่แค่พฤติกรรมอย่างเดียว
แต่หมายถึง การเห็นใจเห็นใจ การรับรู้ความรู้สึก คนข้าง ๆ เศร้าเราก็เศร้า หรือมีความสุขก็ได้รับมวลความสุขไปด้วย
ซึ่งทฤษฎี Mirror Neurons มาจากนักวิจัยชาวอิตาเลียน ตอนแรกถูกทดลองในลิงก่อนโดยลิงจะถูกติดเครื่องมือวัดคลื่นสมอง
แล้วให้นั่งดูคนกินไอติม สรุปคือ คลื่นสมองของลิงกระตุกเป็นตามจังหวะการเลียไอติมของคน
นักวิจัยเลยทดลองต่อจนพบว่ามันมีเซลล์สมองกลุ่มนึงถูกกระตุ้นเมื่อลิงเห็นภาพและสะท้อนภาพนั้นไปยังสมองส่วนอื่นเหมือนกับกระจกสะท้อน
ทำให้ตอบคำถามได้ว่าที่เรามีความเห็นอกเห็นใจกัน มันไม่ใช่แค่เรื่องของนามธรรมแบบจับต้องไม่ได้
แต่มีความรูปธรรมถึงในระดับเซลล์ที่ทุกคนมีอยู่ในสมองตั้งแต่เกิด ก็คือ เราสามารถรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของคนอื่นได้โดยยังไม่ต้องถามไถ่นั่นเอง
Mirror Neuron กับ Copycat
‘เข้าเมืองตาลิ่วต้องลิ่วตาตาม’ ก็คือการที่เราทำอะไรให้เหมือนกันคนส่วนใหญ่ที่สังคมเราทำ จะได้ไม่ดูแปลกแยกในสังคม
ซึ่งการที่เราจะทำอะไรให้เหมือนกับคนส่วนใหญ่ก็เกิดจากการที่เราเรียนรู้ หรือเลียนแบบเพื่อให้ตัวเราได้กลมกลืนกับสังคม
ลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นคนพูดเสียงดังมาก แต่ในสังคมมีแต่คนพูดเสียงเบาๆ หรือไม่ดังเท่า การที่จะพูดเสียงดังต่อไปในสังคมก็จะดูแปลก
Mirror Neurons เป็นส่วนนึงของ Copycat เพราะการเลียนแบบพฤติกรรมเกิดจากเซลล์ในสมองจำและทำตามเพื่อการอยู่รอดในสังคม
Mirror Neuron คือดาบสองคม ควรใช้ยังไง
ด้วยความที่เราสามารถเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้างรวมถึงสภาพแวดล้อมก็มีทั้งแง่ดีและไม่ดีเหมือนกัน ดังนั้น อยากเป็นคนแบบไหนก็เลือกไปอยู่ในสังคมแบบนั้น
ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะดูแลเราเหมือนไข่ในหินขนาดไหนก็ตาม เราก็ต้องเติบโตไปเจอผู้คนมากมายร้อยพ่อพันแม่ มีอะไรให้เราได้เลียนแบบพฤติกรรมเต็มไปหมด
ซึ่งถ้าหากตัวเราไปเลียนแบบอะไรที่ไม่ดี ซึ่งไม่ดีของแต่ละคนก็ต่างกันไป ก็คงจะไม่ได้ดีกับตัวเราสักเท่าไหร่กว่าจะรู้ตัวก็สายไป
เพราะฉะนั้นทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับตัวเราจริง ๆ การที่เราอยากเป็นคนแบบไหน ให้ตัวเราเป็นคนกำหนด
ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อบุคลิกตัวตนคนหนึ่งคนจริง ๆ ถ้าเราอยากเป็นคนแบบไหน ก็ให้พาตัวเองไปอยู่ในสังคมแบบนั้น
และถ้าปรับตัวแล้วยังรู้สึกว่ามันไม่ใช่ที่ของเรา ก็แค่เดินออกมา เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนใครได้
ที่มา :
ความสัมพันธ์ของคนคิดมากที่ต้องอยู่กับคนไม่คิดอะไรเลย สองความสัมพันธ์ถ้ามาอยู่ด้วยกัน จะอยู่ด้วยกันได้ไหม?
คนคิดมาก
คนคิดมาก มาจากความคิดมากที่เกิดจากความวิตกกังวล ยิ่งคิดยิ่งต้องใช้พลังงานชีวิตมากขึ้นทำให้รู้สึกเหนื่อย นอนไม่หลับ
จนคิดและตัดสินใจผิดพลาด ทำให้ส่งผลกระทบต่อตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งสอดคล้องกับบทความ Alljit
ที่เคยกล่าวถึงไปในหัวข้อ “คิดมาก คิดวนจนนอนไม่หลับ” ที่ว่า
คนที่คิดมาก คือคนที่ยึดติดอยู่กับความผิดพลาด อยู่แต่กับเรื่องนั้นจนกระทบชีวิตปัจจุบัน กับคนที่คิดมากถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ไม่คิดอะไรเลย คือ ภาวะสมองโล่ง?
ภาวะที่อยู่ ๆ ก็ลืมว่าจะพูดอะไร จะเดินมาหยิบอะไร อยู่ ๆ สมองโล่งว่างเปล่าเลยเรียกว่า “ปรากฏการณ์ปากประตู” (doorway effect)
การที่สมองเราจะล้างความทรงจำการใช้งานเฉพาะหน้าเพื่อรับข้อมูลใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ต่างกับอาการที่มีช่วงเวลานึงเลยที่คิดอะไรไม่ออกหรืออาการสมองตื๊อ เรียกมันว่า “ภาวะสมองล้า” คือ เราจะไม่มีสมาธิกับอะไรเลยแล้วจะรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์บ่จอย เหนื่อยง่าย
แต่ถ้าในมุมของ คนคิดมาก กับ คนไม่คิดอะไรเลยในความสัมพันธ์ ..
คนที่ไม่คิดอะไร เลยอาจเป็นคนที่ปล่อยใจจอย ๆ ในความสัมพันธ์ได้ อาจมีบ้างที่คิดบ้างแต่อาจจะแค่น้อยไปเลยคิดไม่ถึงไม่รอบคอบ
เหมือนคำพูดที่ว่า “โอ๊ย ทำไมแค่นี้ก็คิดไม่ได้/ไม่คิดเลย” คือจริง ๆ อาจจะคิดก่อนทำแล้วแต่อาจจะพลาดเพราะคิดน้อยไปหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ซึ่งตรงข้ามกับ คนคิดมาก ที่บางเรื่องไม่ต้องคิด ก็คิด พอมีอะไรมากระทบก็จะคิดวนไปมาอยู่เรื่อย เพราะฉะนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องในชีวิต ที่ต้องเรียนรู้การแก้ไข
คนใกล้ตัวเป็นคนไม่คิดอะไรเลย มีวิธีรับมือยังไงเพื่อหาจุดตรงกลางอยู่ร่วมกัน
การเว้นระยะห่าง หรือการมีระยะห่างที่พอดีก็อาจช่วยให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้
เพราะถ้าเราไม่สบายใจกับการที่อีกคนไม่คิดอะไรเลย มีแต่เราที่คิดมากอยู่ฝ่ายเดียว
ลองเฟดตัวออกมาแปปนึง ทำความเข้าใจตัวเขาตัวเราแล้วอาจจะลองสื่อสารความรู้สึกนั้นออกไป
และอีกวิธี คือการสื่อสารอยากตรงไปตรงมา ที่บอกความรู้สึกความต้องการของทั้งคู่ออกไป
การสื่อสารที่ไม่ทำร้ายจิตใจของอีกฝ่าย ด้วยการบอกอย่างถนอมใจและรักษาความรู้สึก
ที่มา :
คนคิดมาก ข้อมูล โรงพยาบาล มนารมย์
นอกจากเราที่ไปพบเจอคน Toxic แล้วบางครั้งตัวเราเองก็ไป Toxic ใส่คนอื่นเหมือนกัน …
และอีกพฤติกรรมนึงที่อยากนำเสมอคือ Chronic liars เสพติดการโกหก
Chronic liars
Chronic – เสพติด
Liars – โกหก
การโกหก เป็นพฤติกรรมและลักษณะทั่วไปของการเข้าสังคมของมนุษย์ แม้แต่สัตว์บางชนิด เช่น ลิง ก็มีพฤติกรรมแบบนี้ด้วยเช่นกัน
คนโกหก มักจะมีเหตุผลที่ชัดเจนที่พวกเขาพูดโกหก การโกหกอาจเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายได้บางสิ่ง บางอย่าง
เช่น โกหกแฟนเพื่อที่จะได้ออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อน โกหกว่าไม่มีแฟน จะได้มีแฟนเพิ่ม
โกหกว่าไม่ได้ทำ.. เพราะกลัวความผิด เรียกว่าเป็นพฤติกรรมทั่วไปที่มนุษย์มี
นพ.วรตม์ กล่าวว่า เมื่อวิธีที่ ‘ตรงไปตรงมา’ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ คนเราจึงเลือก ‘การโกหก’ เป็นทางออกแก้ปัญหา
การโกหกถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการสื่อสาร แม้รู้ว่าปลายทางความจริงจะถูกเปิดเผย หรือไม่สามารถโกหกต่อไปเรื่อยๆ ได้
หากคนเราสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการ ‘พูดความจริง’ เราก็เลือกที่จะพูดจริงอยู่แล้ว เพราะ การโกหกเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อน
Chronic liars ถ้าในทางการแพทย์ Compulsive Liar หรือ เสพติดการโกหก ก็คือโกหกซ้ำ ๆ จนเป็นนิสัย รู้ว่าโกหกแต่ก็ชินกับการโกหก
การศึกษาในปี 2559 ระบุว่าสมองคุ้นเคยกับความไม่ซื่อสัตย์ นักวิจัยได้ศึกษาสมองของผู้เข้าร่วมเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขาโกหก
และพบว่ายิ่งมีคนโกหกมากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งโกหกได้ง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นเท่านั้น
บางคนโกหกบ่อย รู้สึกตื่นเต้นที่ได้โกหก ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ก็อาจจะมีโรคเสพติดการโกหก
แต่ว่าไม่ได้เป็นโรคที่พบได้บ่อย แล้วการโกหกเพียงครั้งหรือสองครั้ง จะไม่สามารถใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคได้ ต้องใช้การวินิจฉัยของจิตแพทย์อย่างละเอียด
โรคหลอกตัวเอง (Pathological Liar)
ภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้ มักกระทำโดยไม่มีเหตุผลและไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา
คำโกหกเหล่านี้กว้างขวางและซับซ้อน แยกไม่ได้ว่าเรื่องที่ตัวเองพูดนั้นโกหกอันไหนจริงเท็จ
ถ้าเป็นโรคโกหกตัวเองแล้วเขาจะหลอกแม้แต่ความทรงจำของตัวเอง
คนโกหกที่อยากเลิกโกหกทำ
- รู้เท่าทันทุกคำพูดของตัวเอง โกหกไปเรื่อย อย่าทำลายความน่าเชื่อถือของตนเอง
- สำรวจว่าทำไมเราถึงชอบโกหก เพราะอยากเป็นที่รักของเพื่อน
- พบผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งสำคัญคือรู้เท่าทันตัวเอง ว่ากำลังโกหก โกหกเรื่องอะไร ทำไมถึงโกหก ลองค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับตัวเองว่าทำไมถึงชอบโกหก
ถ้าเรารู้สาเหตุแล้วเราอาจจะแก้ไขทัน อย่าโกหกแม้กระทั่งโกหกตัวเอง โกหกเพื่อให้ตอนนี้เรารอดจากสถานการณ์นี้ไปวัน ๆ
ยังไงการหาวิธีบอกความจริง สื่อสารให้อีกคนรู้คงจะดีกว่าเขามารับรู้ทีหลังแล้วจะบานปลาย
รับมือกับคนที่ชอบโกหก
- แสดงออกให้เขารู้ ว่าเรารู้โดนโกหก เพราะส่วนมากถ้าเรารู้ว่าเขาโกหก เขาจะไม่ค่อยอยากโกหกเราต่อ
- การที่คน ๆ นั้นต้องโกหกจะสะท้อนถึงตัวเขามากกว่าตัวเรา
- อธิบายว่าคำโกหกของพวกเขาส่งผลต่อเราอย่างไร เช่น “ฉันโกรธและเสียใจเมื่อรู้ว่าคุณโกหกฉัน” “ ถ้าคุณโกหกฉัน มันยากสำหรับฉันที่จะพึ่งพาคุณเพื่อทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ” “มันยากสำหรับฉันที่จะเชื่อว่าคุณกำลังบอกความจริงกับฉันตอนนี้”
- หากจับได้ว่าคน ๆ นั้นโกหก พยายามอย่าหงุดหงิด และพยายามดึงความจริงกลับไปกลับมา
- กำหนดขอบเขตกับพวกเขา
ที่มา :
How to Understand and Cope with Compulsive Liars
ไม่ว่าจะวัยไหน ๆ ใคร ๆ ก็อยากประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองคาดหวังและตั้งใจกันทั้งนั้น
การหาสมดุลของวิธีการคิดและลงมือทำที่จะนำไปสู่เส้นชัยแห่งความสำเร็จด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ
คิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ คืออะไร
“คิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่” พอมาตกตะกอนกับตัวเองดี ๆ ก็รู้สึกว่า ถ้าพูดถึงคนในวัยทำงาน
การเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีความสดใสและสร้างสรรค์อย่างเด็ก มันจะเป็นยังไงกันนะ
คิดแบบเด็ก คือ ความคิดที่มีอิสระ ไม่เขินอายที่จะจินตนาการ ไม่มีกฎเกณฑ์หรือกติกาในการคิดว่าให้คิดอยู่ในกรอบเท่านั้น
ทำให้เด็กหลายคนมักจะเกิดมุมมองที่ผู้ใหญ่ชื่นชมว่า เด็กคนนี้มีความคิดที่สร้างสรรค์
การลงมือทำแบบผู้ใหญ่ คือ การทำงานที่มีการวางแผน คิดก่อนทำ สามารถประเมินผลงาน พัฒนางาน บริหารจัดการเวลาและงานต่าง ๆ ได้อย่างรัดกุม
เมื่อนำความคิดแบบเด็กมารวมกับการทำงานแบบผู้ใหญ่ ผลงานที่ออกมาก็จะมีความโดดเด่น
น่าสนใจด้วยความคิดจินตนาการและการลงมือทำที่ทำให้จินตนาการนั้นเกิดขึ้นจริงและมีความสร้างสรรค์ ความเป็นไปได้
จริง ๆ ในแต่ละช่วงชีวิตเรา แน่นอนว่าบุคลิกนิสัยเราจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมรอบข้าง
ไม่ว่าเราจะเป็นคนแบบไหน ช่วงเวลาใด เพียงแค่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ตอนนี้เราเป็นคนแบบไหน คนแบบไหนที่เราอยากเป็น และเราจะเป็นคนแบบนั้นได้อย่างไร
ลักษณะคนที่คิดแบบ…ลงมือทำแบบ…
คิดแบบเด็ก ทำแบบเด็ก จะเป็นการทำงานที่ขาดการวางแผน ขาดวินัย ไม่มีระเบียบขั้นตอน พูดง่าย ๆ คือ เอาความสนุกเป็นที่ตั้ง
สุดท้ายงานที่ออกมาก็อาจจะไม่เหมาะสมกับความสามารถที่แท้จริง
คิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ คือ คนที่มีความคิดจินตนาการและลงมือทำด้วยการวางแผนที่ชัดเจน
ผลงานที่ออกมาก็จะมีความสร้างสรรค์แบบเด็กและเป็นไปได้ด้วยการลงมือทำแบบผู้ใหญ่ ก็จะทำให้ผลงานมีความน่าสนใจและมีโอกาสทำจนสำเร็จ
คิดแบบผู้ใหญ่ แล้วทำแบบเด็ก แบบนี้คงเดาไม่ยากใช่ไหมว่างานที่ออกมาก็อาจจะไม่ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้
เพราะหากเราคิดการใหญ่ วางแผนไว้อย่างดีเหมือนผู้ใหญ่แต่ถึงเวลาดันลงมือทำงานแบบเด็กที่อาจจะมีความอดทนน้อย
อาจจะทำนอกขอบเขตที่วางไว้ ก็จะมีความขัดแย้งกันจนงานอาจจะไปต่อไม่ได้หรือมีความยากในการทำให้สำเร็จ
คิดและทำแบบผู้ใหญ่ การทำให้ตัวเองดูโตสุด แต่ถ้าเราลองมองว่าถ้ามีแต่ความเป็นผู้ใหญ่อยู่ในตัวตลอดเวลา
งานที่ออกมาก็อาจจะมีความน่าเบื่อ เรียบ ๆ เดิม ๆ ได้ ซึ่งถ้าถามว่าผิดไหมที่จะคิดและทำแบบผู้ใหญ่ ไม่ผิด
บางเวลาเราก็ต้องการและจำเป็นต้องใช้ความคิดและทำแบบผู้ใหญ่ เพียงแค่ระหว่างทางการทำงาน
บรรยากาศอาจจะไม่สนุกผ่อนคลายเท่าการใส่ความเป็นเด็กลงไปในงานด้วยเท่านั้นเอง
คิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ ไม่ใช่การเป็นผู้ใหญ่ที่คิดแบบเด็ก
แต่ทั้งนี้ เพื่อน ๆ คิดว่า การคิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ ความหมายต่างจากผู้ใหญ่ที่คิดแบบเด็กไหม
เมื่อพูดถึงผู้ใหญ่ที่คิดแบบเด็ก ส่วนใหญ่เราจะนึกถึงคนที่ตัวเป็นผู้ใหญ่แต่ความคิดยังเด็ก ไม่เหมาะสมกับวัยที่ควรจะเป็น
เพราะการคิดแบบเด็ก อาจจะมองได้สองนัยยะ นัยยะแรก ก็คือการนำมุมมองแง่ดีของเด็กมาทำให้เกิดประโยชน์อย่างที่เราพูดกันมา
เช่น ความคิดที่สร้างสรรค์ ไม่ยึดติดกรอบเดิม การใส่ความสนุกลงไปในงานที่ทำ
และการคิดแบบเด็กใน อีกนัยยะ คือ คิดอะไรก็ทำแบบนั้นโดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อน และถ้ามองลึกลงไปในความหมายนี้ ก็อาจมีความใกล้เคียงกับการคิดและทำแบบเด็ก
หากเปรียบให้เห็นภาพมากขึ้น คงเหมือนกับการที่ผู้ใหญ่คนนึงแต่งตัวดีใส่ชุดสูท แต่แต่ละความคิดที่พูดออกมา
ผู้ที่ฟังล้วนแต่ส่ายหน้าให้กับความคิดที่โตแต่ตัวเหล่านั้น แบบนี้คงไม่มีใครอยากพูดด้วย
เพราะการจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีอย่างเหมาะสม ต้องรู้จักการแสดงออก การวางตัว และการลงมือทำให้เป็นด้วย
เพราะการเป็นผู้ใหญ่ที่คิดแบบเด็ก เหมือนมันมีความไม่ชัดเจนแทรกอยู่ตรงที่คิดแบบเด็กแล้วจะลงมือทำแบบไหน
เราที่ฟังจะสามารถไว้ใจคนที่พูดแบบนี้ได้จริงไหม แต่การคิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่
มันมีแนวทางชัดเจนในตัวเองแล้วว่าถึงเราจะคิดแบบเด็กแต่เราจะลงมือทำแบบผู้ใหญ่ให้เห็น
คนฟังก็จะมีความมั่นใจในตัวเราได้มากกว่า ดังนั้น การเป็นผู้ใหญ่ที่คิดแบบเด็กก็ต้องดูที่วิธีการคิดและการลงมือทำอีกทีเนอะว่าคิดแล้วจะลงมือทำแบบไหน
ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของการคิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ คือ คน ๆ นั้นสามารถเป็นใครในวัยไหนก็ได้
เด็กประถมมัธยมก็สามารถเป็นคิดแบบเด็กและลงมือทำแบบผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
วิธีการคิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่
คนไหนอยากทำงานด้วยความคิดที่สดใหม่แบบเด็ก และมีความมั่นคงแบบผู้ใหญ่
สามารถทำได้โดยเริ่มจากการคิดนอกกรอบแต่อยู่บนความเป็นจริง คือ การคิดแบบมีความสุข ตื่นเต้น กล้าคิดกล้าทำ อย่าเพิ่งกลัวไปก่อน
ไม่ยึดติดกับการคิดแบบเดิม และจินตนาการเหล่านั้นก็ต้องไม่แฟนตาซีจนเกินขอบเขตความเป็นจริงมากเกินไป
รวมถึงสามารถนำหลักทางจิตวิทยาต่าง ๆ มาใช้ร่วมด้วยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น
- จิตวิทยาการมองโลกในแง่บวก และจิตวิทยาความสุข ซึ่งก็คือการมองเห็นและคิดถึงความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทางที่จะพาเราไปสู่เส้นชัยความสำเร็จ
- จิตวิทยาการรักตัวเอง เพราะเมื่อเรารักตัวเอง สิ่งที่ทำเพื่อตัวเอง เราก็จะคิดและทำแต่สิ่งดี ๆ และเมื่อเรารักตัวเองแล้ว มวลความสุขเราก็จะเผยแผ่ไปยังผลงาน เผยแผ่ไปถึงคนรอบข้างได้มีความสุขและชื่นชอบที่จะอยู่ใกล้เราก็อาจส่งผลให้เกิดการซัพพอร์ตกันและกันได้ จนนำไปสู่การสร้างมิตรภาพความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับผู้อื่น เพราะยังไงมนุษย์เราก็เป็นสัตว์สังคมและจะรู้สึกอบอุ่นใจเมื่อได้รับและให้ความรัก
ผลของการคิดแบบเด็กและทำแบบผู้ใหญ่
สุดท้าย ผลของการคิดแบบเด็กและทำแบบผู้ใหญ่ จะทำให้เรามีมุมมองความคิดที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ กว้างไกล
เกิดความสนุกในการทำงาน และยังมีการตระหนักเท่าทันความคิดที่จะนำไปใช้แบบผู้ใหญ่
ความคิดเหล่านั้นย่อมมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ และจะเกิดประโยชน์กับเราและสังคมได้แน่นอน
ในวันนี้ เราอาจจะตอบตัวเองไม่ได้ว่าเราเป็นคนแบบไหน อาจจะยังไม่ได้เป็นคนในแบบที่เราต้องการได้อย่างสมบูรณ์พอใจ
หรือบางคนก็อาจจะยังค้นหาตัวตนตัวเองอยู่ เพราะมิติของตัวตนมีหลากหลายมากมายเหลือเกิน
มีตัวเราในแต่ละเวอร์ชันอีกตั้งมากมายที่รอให้เราได้ค้นพบ ไม่ต้องกดดันตัวเองมากจนเกินไป ใช่ว่าตื่นมาพรุ่งนี้
เราจะต้องเป็นคนที่สมบูรณ์เพอร์เฟกต์ร้อยเปอร์เซนต์ พวกเราต่างกำลังเรียนรู้ความเป็นตัวเองอยู่ในทุกนาที
และถ้าเราเกิดความรู้สึกว่าอยากปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น นี่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพาตัวเราเองไปสู่ตัวเองที่ดีขึ้น
สำหรับใครที่เป็นสายจดบันทึก อาจรู้ว่า Gratitude Journal คืออะไร แต่เราจะมาทำความรู้จักกับ Gratitude Journal กันมากขึ้น
Gratitude Journal
Cambridge Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ว่า Gratitude = the feeling or quality of being grateful
แปลว่า ความรู้สึกขอบคุณ ซาบซึ่ง และเห็นคุณค่าของสิ่งๆ หนึ่ง
ในทางจิตวิทยา Gratitude ‘Gratitude’ หมายถึงความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิต
ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานการณ์ หรือกระทั่งกับตัวเราเอง
การอยู่กับปัจจุบันขณะ ชื่นชมและขอบคุณสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เป็นมากกว่าแค่อารมณ์แต่เป็นทัศนะคติที่ทำให้เรามองสิ่งต่างๆ ในเชิงบวกมากขึ้น
Gratitude มันส่งผลดีอย่างไร
1. ทำให้เราเกิดความสุข
เวลาที่เราจะฝึกทำ Gratitude ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพ เขียน บันทึก หรือเล่าให้ใครสักคนฟัง
เราชะลอเวลาให้ตัวเองได้จมอยู่กับช่วงเวลานั้นมากขึ้น ในขณะนั้น Serotonin และ Dopamine หลั่ง เป็นสัญญาณว่าเรามีความสุข
Serotonin และ Dopamine หลั่ง เป็นสัญญาณว่าเรามีความสุข
- เป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความสุข
- นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ฮอล์โมนความเครียดลดลงด้วย
เพราะฉะนั้ัน การขอบคุณหรือเห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัวเรา สามารถช่วยให้เรามีความสุขและลดความเครียดได้
2.เป็นเซ็ตกระบวนการทำงานของสมองของเราใหม่
สมองเราถูกโปรแกรมมาให้จดจำและสังเกตเรื่องทางลบได้ดีกว่าบวก เพราะเป็นกระบวนการณ์ในการอยู่รอด
แต่ในปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องระแวดระวังเพื่ออยู่รอดมากขนาดนั้นแล้ว
การทำ Gratitude เลยช่วยฝึกให้สมองเริ่มสังเกตและใส่ใจเรื่องดีๆ ในชีวิต
เพราะสมอง adapt ได้ดี สมองของเรามีคุณสมบัติที่เรียกว่า นิวโรพลาสติกซิตี (Neuroplasticity) เป็นความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
Neuroplasticity ความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
พอส่งแรงกระตุ้นเชิงบวกเป็นประจำ เรากำลังฝึกสมองให้สังเกตสิ่งดีๆ มากขึ้น สุดท้ายแล้วสมองก็จะปรับเปลี่ยนกระบวนการไปเอง
มีงานวิจัยหลายชิ้นมากที่ศึกษาผลดีของการทำ Gratitude อันนี้ฟิวอ่านและแปลมาจาก Review Research ของ University of Callifornia
ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ นำไปสู่การเห็นคุณค่าต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวเราไม่ว่าจะคน สิ่งของหรือกระทั่งตัวเอง
และนำไปสู่สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เพิ่มความสุข ความพึงพอใจในชีวิต
และลดความเป็นวัตถุนิยม (ต้องการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของสิ่งต่างๆ) รวมไปถึงมีแนวโน้มว่าจะ Burn out ลดลงด้วย
3. Gratitude กับกลุ่มฆ่าตัวตาย
งานวิจัยชิ้นหนึ่งฝรั่งเศษ ให้ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายบันทึกความรู้สึกทราบซึ้งขอบคุณ หรือ Gratitude Journal เป็นเวลา 7 วัน
ผลพบว่า สภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และแนวโน้มฆ่าตัวตามที่ต่ำลง
งานวิจัยยังเสนอให้นำ gratitude ไปรวมเป็นหนึ่งในวิธีการบำบัด กลุ่มผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย
4. ในกลุ่มหัวใจล้มเหลว หัวใจดีขึ้น
อีกงานวิจัยหนึ่งก็ได้ให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวทำ Gratitude Journal ในระหว่างการรักษา
พบว่ากลุ่มผู้ป่วยทำ gratitude ร่วมกับการรักษาหลับง่ายขึ้น เหนื่อยล้าลดลง และมีระดับของการอักเสบของเซลล์ลดลง
5. ช่วยในเรื่องของ Trauma
ในผู้ป่วยที่มี Trauma หรือเผชิญเหตุสะเทือนขวัญ การทำ Gratitude ร่วมกับการรักษา ช่วยให้อาการซึมเศร้าลดลง และฟื้นตัวจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญได้ดีขึ้น
บางงานวิจัยยังเสริมอีกด้วยว่า Gratitude หรือความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา มีส่วนช่วยให้เราอายุยืนขึ้นด้วย
6. กาวทางสังคม
ในหลายๆ งานวิจัยก็ยกให้ Gratitude มีชื่อเล่นว่า “กาวทางสังคม”
เพราะมันช่วยให้คนใจกว้างขึ้น ใจดี ช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น และส่งเสริมสัมพันธภาพในด้านต่างๆ ให้แข็งแรงขึ้นด้วย
นั้นหมายความว่า การทำ Gratitude ช่วยทั้งในเรื่องของสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มความสุข ความพึงพอใจในชีวิต ลดความเป็นวัตถุนิยม
ลดแนวโน้มการเกิดสภาวะ Burn out ช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของร่างกายและจิตใจ และทำให้คนใจกว้างขึ้น ใจดี และช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น
- เพิ่มความสุข ความพึงพอใจในชีวิต
- ลดความเป็นวัตถุนิยม
- ลดแนวโน้มการเกิดสภาวะ Burn out
- ช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของร่างกายและจิตใจ
- ใจกว้างขึ้น ใจดีขึ้น ช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น
Gratitude มีรูปแบบไหนบ้าง ?
- Gratitude Journal: การทำ Gratitude ในรูปของบันทึก
1. Counting Journals
บันทึก 5 สิ่งที่อยากขอบคุณ/ สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้น จะทำรายวัน/สัปดาห์ก็ได้
2.Three Good Things
3 สิ่งที่เป็นเรื่องดีๆ และเขียนรายละเอียดเพิ่ม เช่น เพราะอะไรมันถึงทำให้คุณมีความสุข และสุขยังไง
3. Mental subtraction
ให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และลองเขียนถึงมันในหัวข้อว่า “จะเป็นอย่างไรถ้าสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเรามันไม่ได้เกิดขึ้น”
- Gratitude letter: การทำ Gratitude ในรูปของบันทึก
จดหมายขอบคุณให้คนที่เรายังไม่ได้ขอบคุณ แล้วนำไปให้เขา
ทุกคนรู้สึกคันไม้คันมืออย่างเขียนกันบ้างไหม ถ้าใครรู้สึกเริ่มอยากเขียน
ให้หยิบหยิบสมุด หรือจะเศษกระดาษก็ได้ ปากกาหรือดินสอใกล้มือ มาเริ่มเขียนกันนะ 🙂
มนุษย์มีความผูกพัน ต่อธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและหยั่งรากลึกในวิวัฒนาการ
เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงชอบจองที่พัก ที่มองเห็นวิวสวยงามจากระเบียง
ทำไมผู้ป่วยที่ได้รับมุมมองที่เป็นธรรมชาติจากเตียงในโรงพยาบาลจึงฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนอื่นๆ
หรือเมื่อความเครียดส่งผลเสียต่อจิตใจของเรา เราจึงกระหายเวลาที่จะค้นพบสิ่งต่างๆ ท่ามกลางธรรมชาติ?
แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “ ศึกษาธรรมชาติ รักธรรมชาติ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ” มันจะไม่ทำให้คุณล้มเหลว
Nature Therapy
“Nature Therapy” คือ การบำบัดด้วยธรรมชาติ ที่ครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ
การที่มนุษย์ต้องพบกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นั้นอาจเพราะพาตัวเองห่างออกจากธรรมชาตินั่นเอง โดย Ecotherapy เป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับธรรมชาติอีกครั้ง
มนุษย์ผูกพันธ์กับธรรมชาติยังไง
ข้อมูลจากมูลนิธิไทยรักป่า ได้กล่าวไว้ว่า ตั้งแต่ที่เราเกิดมาลืมตาดูโลก เราสูดอากาศหายใจจากธรรมชาติ นั้นก็คือ ออกซิเจน
ในสมัยแรก ๆ ปัจจัยการดำรงชีวิตทุกอย่างได้มาโดยตรงจากธรรมชาติ ทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
นอกจากนี้แล้ว มนุษย์ ก็มีความความผูกพันและความเชื่อกับธรรมชาติมานานแล้ว
หลักความเชื่อ พิธีกรรม และศาสนา วัฒนธรรมของคนไทย ก็มีความเชื่อว่า ธรรมชาติทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน
มีการเกื้อกูลพึ่งพากันในระบบนิเวศ ซึ่งความเชื่อนี้ นำไปสู่พิธีกรรมเกี่ยวกับป่า
และกลายมาเป็นวัฒนธรรมประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การบวชป่า ที่บ่งบอกถึงเจตนาของชุมชนที่แสดงออกถึงการรู้คุณค่าของทรัพยากรป่าไม้
ธรรมชาติทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงไหม?
- ธรรมชาติช่วยในการควบคุมอารมณ์และปรับปรุงการทำงานของสมองส่วนความจำ การศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ด้านการรับรู้ของธรรมชาติพบว่า ผู้เข้าร่วมที่เดินชมธรรมชาติจะมีความจำที่ดีกว่าผู้ที่เดินไปตามถนนในเมือง (Berman, Jonides และ Kaplan, 2008)
- การเดินชมธรรมชาติเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ผลการศึกษาพบว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้า ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงจะมีอารมณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อสัมผัสกับธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังรู้สึกมีแรงบันดาลใจและมีพลังมากขึ้นในการฟื้นตัว (Berman et al., 2012)
- ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการอยู่กลางแจ้งช่วยลดความเครียดโดยการลดฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (Gidlow et al., 2016; Li, 2010)
- การศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคนซัสพบว่าการใช้เวลากลางแจ้งมากขึ้นและใช้เวลากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์น้อยลงจะช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ได้ (Atchley, Strayer, & Atchley, 2012)
- การทดลองขนาดใหญ่ที่ดำเนินการกับผู้เข้าร่วม 120 ราย ยืนยันถึง ‘การเชื่อมโยงทางธรรมชาติ’ ในการลดความเครียดและการเผชิญปัญหาผู้เข้าร่วมแต่ละคนสังเกตภาพทิวทัศน์ธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อมในเมือง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้เผยให้เห็นว่า
- ผู้เข้าร่วมที่ดูภาพสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีคะแนนความเครียดต่ำ และมีการเต้นของหัวใจและชีพจรดีขึ้น (Ulrich et al., 1991)
โรคขาดธรรมชาติ
โรคขาดธรรมชาติ Nature Deficit Disorder มีการพูดถึงครั้งแรกในปี ค.ศ.2005 Richard Louv นักเขียนชาวอเมริกัน
ผู้เขียนหนังสือ The Nature Principle และ Last Child in the Woods กล่าวไว้ว่า เด็กที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ
ไม่มีกิจกรรมนอกบ้านหรือห้องเรียนให้ได้สัมผัสจับต้องกับธรรมชาติอย่าง ต้นไม้ ดินหญ้า ลำธารหรือสวนสาธารณะ
แต่ใช้เวลาอยู่แต่กับการเล่นมือถือ เกม คอมพิวเตอร์ หรือเรียนพิเศษจนหมดวัน ก็อาจจะทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ได้
โรคขาดธรรมชาตินี้จะยังไม่ได้มีการระบุทางการแพทย์ว่าเป็นหนึ่งในโรค
เพราะว่าในธรรมชาตินั้นมีสิ่งซ่อนเร้นอยู่ แสง สี เสียง กลิ่น อุณหภูมิ ที่ทำให้ประสาทสัมผัสของเรารับรู้
มีการทำปฎิกิริยากับระบบประสาทต่างๆ ของร่างกายเราโดยอัตโนมัติ และส่งต่อไปยังสมอง
จนเกิด “ความรับรู้เชิงบวก” (Positive Perception) หรือที่เราเรียกว่า “รู้สึกดี” เพราะฉะนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็อยากให้ทุกคนไปสัมผัสธรรมชาติกัน
ตัวอย่างธรรมชาติบำบัด
- การปลูกต้นไม้
- เดินเล่นสวนสาธารณะ
- การจัดแต่งห้อง / โต๊ะทำงานให้มีสีเขียว
- ท่องเที่ยวธรรมชาติ
- อาบป่า ดูนก ชมไม้
สุดท้ายก็อยากฝากไว้ด้วยว่า ทำกิจกรรมที่เหมาะสม กับเวลาและสถานที่ เคารพกฎกติกา และ เมื่อเราใช้ธรรมชาติมาเยอะขนาดนี้ เราก็ดูแลธรรมชาติกันนะ 🙂
ทุกคนเคยคิดว่าตัวเองควบคุมทุกอย่างได้ไหม แต่จริง ๆ แล้วเราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ขนาดนั้น
หนังสือนี้เล่มนี้จะมีหลักการทางวิทยาศสาสตร์มาให้คำตอบเราผ่านเรื่องราวของยีน ดีเอนเอ จุลชีพ กระบวนการเหนือพันธุกรรมต่าง ๆ
หนังสือปกสีน้ำเงิน ที่ทำให้เราได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเรามากขึ้น เราอาจจะคิดว่าตัวเองปกติ
แต่ก็จะมีใครมองว่าเราแปลกอยู่ดี อาหาร นิสัย ความชอบ ทำไมบางคนใจดีจัง แล้วทำไมบางคนถึงใจร้าย
หลาย ๆ อย่างพฤติกรรม การกระทำ ความคิดที่แตกต่างกันของมนุษย์ ความหลากหลายในการใช้ชีวิต หนังสือเล่มนี้ทำให้เราอยากเข้าใจว่าทำไมคนเราถึงแตกต่างกัน
แต่ในความแตกต่างและหลากหลายก็มีสิ่งนึงที่ทุกคนเหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรียนรู้ความลับของมนุษย์
มนุษย์มักจะชอบคิดว่าเราสามารถควบคุมความชอบ พฤติกรรม นิสัยต่าง ๆ หรือจังหวะชีวิตของเราได้
แต่จริง ๆ แล้วยังมีจังหวะชีวิตที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็นคือ ‘พลังซ่อนเร้นที่วางแผนและจำกัดความเคลื่อนไหวของเรา’
เช่น ตัวอย่างในหนังสือที่ผู้เขียนกล่าวถึง บล็อคโคลี่ เขาไม่ชอบกินบล็อคโคลี่ เพราะขม
แต่ภรรยาชอบกิน เป็นความแตกต่างของสามี-ภรรยา และเขาก็ค้นพบว่าลูกชายเขาชอบแต่ลูกสาวไม่ชอบ
เขาไม่ได้สอนลูก แต่ลูกตอบสนองต่อบล็อคโคลี่เอง คือ DNA ความลับของวิทยาศาตร์ที่ซ่อนไว้
รสนิยมของคุณ
ตอนเด็ก ๆ ทุกคนเคยไหมที่พ่อแม่บังคับให้กินผัก บังคับให้กินในสิ่ง ที่ไม่ชอบ
หรือบางทีกินอาหารจานเดียวกันกับเพื่อน เราชอบแต่เพื่อนไม่ชอบ ในทางวิทยาศาสตร์หนังสือเล่มนี้มีคำอธิบาย
ว่าทำไมรสนิยมคตวามชอบถึงแตกต่างกัน อาหารทั้งหมดของเราประกอบด้วยสารเคมี เมื่อคนเรากินอะไรเข้าไปย่อมได้รับสารเคมีที่แตกต่างกัน
ลิ้นของเรามีปุ่มรับรสชาติที่แตกต่างกัน ปุ่มรับรสชาติของเราประกอบด้วย 50-150 cells ยีนในตระกูลที่เรียกว่า tas2r
เป็นตัวสร้างกลไกรับรสเซลล์ แล้วก็ไปเกี่ยวกับเคมีและโมเลกุลของอาหาร พอโมเลกุลนี้เข้าไปในปากเราก็จะเชื่อมเข้ากับตัวรับรส
และส่งสัญญาณไปที่สมองเราว่า อร่อย กับ ไม่อร่อย และนอกจากนี้แล้วก็ยังมีเข้า DNA ในตัวเราด้วย DNA คือเครื่องจักรที่ทำให้มนุษย์อยู่รอด
และการที่มีปุ่มรับรสขมก็ช่วยให้มนุษย์รอดชีวิตจากสิ่งที่กินเข้าไป
พบกับเนื้อคู่ของคุณ
แรกรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน รักจืดจางนำ้ตาลยังว่าขม เคยสงสัยไหมว่าทำไมความรักในช่วงแรกมันตื่นเต้น เร้าใจ ทำให้นอนไม่หลับ
ผีเสื้อบินในท้องตลอดเวลา เพราะว่าความรักได้เปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองของเรา เวลาที่เราตกหลุมรักใครสักคน
เส้นประสาทที่เดียวกับอารมณ์ด้านลบ รวมถึงความกลัวและการใช้วิจารณญานจะไม่ยอมทำงาน
ดังนั้นส่งผลให้เราในตอนนั้นมีการประเมินตัวตนบุคคลต่ำลง เลยทำให้เกิดคำว่า ความรักทำให้คนตาบอด
ไม่ใช่คำที่เอามาพูดกันเฉย ๆ มันมีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ตาบอดในแง่ที่มันทำให้สมองเราหยุด คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ไปชั่วขณะ
เพื่อเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่หัวใจเราต้องการ สำหรับคนนอกอาจมองว่าไร้สติ ไม่มีเหตุผลแต่สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นจริงๆ กับระบบประสาทของเรา
แต่ความรักและการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในร่างกายก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่นอนว่าความรู้สึกที่กระปรี้ดนะเปร่าตกลุมรักไม่ได้อยู่ตลอดไป
เพราะการที่มีคอร์ติซอลสูง เซโรโนนีนต่ำนั้นไม่ดีต่อร่างกายของเรา ร่างกายเลยจำเป็นที่ต้องกลับสู่อารมณ์พื้นฐาน
เพื่อเปลี่ยนทิศทางให้ร่างการได้ใช้พลังงานที่ถูกต้อง เมื่อโดปามีนลงลด ความตาบอดของเราก็จะค่อยๆ หายไป
เริ่มมีการคิดถึงเหตุผลมากขึ้น วงจรการ คิดวิเคราะห์แยกแยะ ก็จะเริ่มกลับมาปกติ เลยอาจเป็นที่มาของคำว่าหมดโปรโมชั่นเหมือนกัน
เห็นไหมคะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา บางอย่างที่เราทำ ที่เราเลือก ไม่ใช่แค่ตัวเราที่ควบคุมเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีพลังของวิทยาศาสตร์ในตัวเราที่คอยควบคุมเราอีกทีเหมือนกัน
สำหรับหนังสือเล่มนี้ ทำให้เห็นความแตกต่างของคน เข้าใจถึงการกระทำที่มีอะไรอยู่เบื้องหลัง คิดอยากเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
และนอกจากจะเข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังทำให้อยากพยายามทำความเข้าใจคนอื่นเหมือนกัน
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้จะมาบอกให้เราทำใจยอมรับว่าร่างกายของเรานั้นถูกกำหนดไว้ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้
แต่เขากำลังบอกเราว่าเราควรที่จะรู้จักกับร่างกายของเราให้ดีมากพอเพื่อที่จะควบคุมมันได้อีกทีมากกว่า