Posts

ทุกคนอาจเคยมีเรื่องราว ความกังวล ก่อนอนกันใช่ไหม หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนหลับสนิทมากขึ้นได้นะ ..

 

 

ความวิตกกังวล 

 

ความวิตกกังวล คือ  ความกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและความคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

บางครั้งความวิตกกังวลก็เป็นสารตั้งต้นของความรู้สึกเชิงลบได้หลายอย่าง

 

ไม่ว่าจะเป็นรู้สึกยังดีไม่พอ ไม่มีใครรัก รู้สึกไม่ปลอดภัย คิดวน ๆ ถึงสถานการณ์ในแง่ลบ

 

ใครเป็นคนที่ชอบวิตกกังวลไหม กังวลทั้งเรื่องในใจและก็กังวลเกี่ยวกับความคิดด้วย กังวลว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับเราบ้างบ่อย ๆ

 

กังวลถึงเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ใครจะคิดยังไงกับเรา ถ้าเราเลือกสิ่งนี้จะดีไหม ทำดีหรือไม่ดี หลายอย่างมาก ๆ ที่ความว้าวุ่นเกิดขึ้น

 

เวลาที่เกิดความวิตกกังวล บางครั้งก็ไม่ได้แสดงออกแค่ทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก

 

แต่ความวิตกกังวลก็เชื่อมโยงไปแสดงออกทางกายด้วยเหมือนกับ เช่น น้องไรลีย์ในหนัง Inside out 2

 

ที่มีอาการหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ตัวสั่น พูดวนไปวนมา พอเรารู้สึกแบบนี้แล้วใคร ๆ ก็คงไม่อยากให้ความวิตกกังวลเกิดขึ้นกันใช่ไหม

 

ในตัวของหนังเรื่อง Inside out 2 ช่วงแรกเริ่มก็เปรียบเจ้าว้าวุ่น Anxiety เหมือนตัวร้ายที่ขัดขวางอารมณ์อื่น ๆ เหมือนกัน

 

แต่เป็นการเป็นการขัดขวางเพราะจุดประสงค์ดีแต่ก็ไม่ได้เกิดผลดีอย่างที่คิด….

 

เมื่อความกังวลเกิดขึ้น ความสุขที่เคยมีก็สุขไม่สุด เศร้าไม่สุด โมโหก็ไม่รู้ควรโมโหไหม หลากหลายอย่างที่ตีกันในหัวของเรา

 

 

แต่ว่าความกังวล จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้ …

 

ความวิตกกังวลเกิดจากความไม่รู้…ไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นจะดีหรือไม่ดี

 

สถานการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้  พื้นฐานของความวิตกกังวลมาจาก ความกลัวหรือกังวล และทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์

 

ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงขณะของการใช้ชีวิต เราทุกคนต่างมีความรู้สึกวิตกกังวลได้แบบไม่เลือกเวลา

 

แต่สัญญาณที่เราเริ่มรู้สึกกังวล เราจะเริ่มคิดวนจากเรื่อง 1 ไป 2 ไป 3 แล้วก็กลับมา 1 ใหม่ / ใจไม่สงบ / สมาธิสั้นลง / พฤติกรรมที่ออกจากทางร่างกาย ประหม่า ตัวสั่นท้องปั่นป่วน ใจเต้นแรงมากขึ้น รู้สึกวอกแวก มีเหงื่อออก รู้สึกควบคุมสติไม่ค่อยอยู่  หายใจเร็ว เกิดความเครียด อยากจะถอยกลับหรือหาทางหนีออกมาจากสถานการณ์ตรงนั้น 

 

แต่ความ วิตกกังวล ก็ไม่ใช่ตัวร้าย

 

ความวิตกกังวลก็มีข้อดีเหมือนกัน ความวิตกกังวลจะช่วยกระตุ้นให้เราเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์สำคัญ ๆ

 

หรือช่วยให้เราตื่นตัวในสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายได้ หรือเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกกังวล

 

แปลว่าเรากำลังประเมินความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดในสถานการณ์นั้นอยู่

 

เพื่อให้ตัวเราเองได้หลีกเลี่ยงหรือมีความระมัดระวังกับเหตุการณ์นั้น เช่น เวลาที่เราต้องไปในสถานที่ใหม่ พอเรากังวลเราก็จะวางแพลนว่าเราจะทำยังไงดี 1234 

 

แต่ในข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียหากเราควบคุมความวิตกกังวลไม่ได้ เราอาจจะกลายเป็นคนคิดมากเกินไป

 

หรืออาจจะทำให้เราไม่อยากทำอะไรเลยซึ่งจริง ๆ เป็นธรรมดาที่เราจะเกิดความกังวลในสิ่งที่เราไม่รู้

 

จะทำให้เราคิดไปต่าง ๆ นานาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าตัวเราไม่สามารถควบคุมความคิดมากนั้นหรือรู้เท่าทันความรู้สึกกังวลของตัวเองได้

 

ความกังวลใจในความคิดของเราอาจจะพาเราดำดิ่ง ตกลงไปอยู่ในห้วงอารมณ์ที่สับสน

 

ทำตัวไม่ถูกจนอาจเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และอาจย้อนกลับมาทำร้ายสุขภาพกายและใจเราได้

 

ไม่ว่าจะเกิดการนอนไม่หลับ ความมั่นใจในตัวเองลดลง การเริ่มที่จะไม่เป็นตัวของตัวเอง 

 

 

ความกังวลที่ไม่มีที่มา

 

เราพูดถึงความกังวลกันไปแล้ว แต่รู้ไหมว่าความกังวลมีทั้งแบบมีสาเหตุแล้วก็ไม่มีสาเหตุ  ความกังวลแบบไม่มีที่มา มีชื่อว่า free floating anxiety

 

เป็นความกังวลที่ล่องลอย ไม่มีที่มา เหนือเหตุการณ์ที่เกิดในชีวิตซึ่งพอมานั่งคิดจริง ๆ มันก็อาจจะไม่มีะไรก็ได้

 

แต่เราก็ไม่สามารถสลัดความกังวลนั้นออกไปได้ ซึ่งความกังวลแบบไม่มีที่มาสามารถพัฒนาไปเป็นความเครียด ภาวะซึมซึมเศร้า

 

ซึ่งเราต้องคอยสังเกตตัวเองว่าเรากำลังกังวลแบบไหน มีสาเหตุ หรือ ไม่มีสาเหตุ โดยเราต้องห้ามปฏิเสธความกังวลที่เกิดขึ้น

 

ยอมรับความกังวลแล้วตกตะกอนหาสาเหตุให้พบเพื่อหาวิธีแก้ไขกัน 

 

 

ควบคุมความว้าวุ่นในจิตใจ

ความกังวลที่เรารู้สาเหตุมีที่มาที่ไป เมื่อเราหาจุดที่ทำให้เรากังวลเราลองดูว่ามีอะไรที่เราควบคุมได้บ้าง

 

อะไรที่ควบคุมไม่ได้ก็คือควบคุมไม่ได้ เขียนสิ่งที่กังวลออกมา โดยเขียนแบบเฉพาะเจาะจงมาเลย

 

แล้วลองดูว่าเราจะทำอะไรเพื่อแก้ปัญหานั้นได้บ้าง มีทางออกอย่างไรบ้าง เรื่องไหนที่เกินความสามารถเราก็ต้องปล่อย

 

รับรู้ถึงความกังวลที่เกิดขึ้นพยายามไม่ให้ความกังวลเดินนนำหน้าเรา เพื่อเราจะได้มีพื้นที่เดินต่อไปได้

 

สุดท้ายแล้วขอให้ทุกคนโอบกอดความรู้สึกทุกความรู้สึกของตัวเองเอาไว้ เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ เศร้าใจ ดีใจ

 

ย่อมมีวันที่ความรู้สึกเหล่าลั้นเลือนลางหายไปเหมือนกัน และเมื่อมีความกังวลเกิดขึ้นให้เราคิดว่า

 

ความกังวลคือเพื่อนที่คอยช่วยเตือนสติเราไม่ให้เราถลำลึกกับอะไรบ้างอย่าง

 

แต่อย่าให้เพื่อนคนนี้มารบกวนเราเกินไป ขีดเส้นกั้นของเรากับความกังวลให้ชัดเจน 🙂

 

ภาวะที่ตั้งใจเก็บเงินจนเครียด มีเงินก็ไม่กล้าใช้เงิน เก็บเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอ

 

 

Money Dysmorphia

 

“เกิดขึ้นกับผู้ที่มีเงินเก็บเพียงพออยู่แล้ว แต่กลับไม่ยอมใช้จ่ายเพื่อซื้อความสุข”

 

สาเหตุ

 

 

 

 

 

ภาวะ “สุขภาพจิต” ที่เกี่ยวกับ “การเงิน”

 

นอกจากภาวะ Money Dysmorphia ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตในทางอ้อมเนื่องจากกดดันตัวเองจนเครียดแล้ว

 

ยังมีภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินและอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

 

พฤติกรรมนี้อาจนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวได้ในอนาคต เนื่องจากคู่รักหลายคู่มักปกปิดปัญหาด้านการเงินกับอีกฝ่าย

 

และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากปัญหามีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีปัญหาครอบครัวตามมา โดยเฉพาะการหย่าร้าง 

 

คนที่มีอาการนี้มักจะเป็นคนที่กำลังมีปัญหาด้านการเงิน แต่พยายามหลอกตัวเองว่ายังสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้

 

แม้จะมีเงินสำรองจ่ายน้อยหรืออาจจะไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ ทำให้คนเหล่านี้มักจะชำระหนี้ช้ากว่ากำหนด หรือมีเงินไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ทำให้ตัวเองมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

 

 

 

เทรนด์ No Buy month 

 

No buy month คือเทรนด์การหยุดซื้อ ของไม่จำเป็น ทั้งเดือน เพื่อฝึกวินัยการเงิน

 

ช่วงเวลาต้นเดือนที่เงินเดือนเข้าเราจะก็วางแพลนว่าเราจะเอาเงินไปทำไรบ้าง กินบุฟเฟต์ เที่ยว ซื้อของ

 

ความรู้สึกดี ๆ เหล่านั้น ก็อาจจะอยู่กับเราได้ไม่นาน ถ้าหากใช้จ่ายเพลิน จนเริ่มมีเงินไม่เพียงพอ ที่จะใช้ไปทั้งเดือน

 

ซึ่งถ้าหากเราไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในเดือนต่อ ๆ ไป เราก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้จ่าย ด้วยการทดลองทำ No Buy Month

 

No Buy Month หรือถ้าแปลเป็นไทยได้ง่าย ๆ ว่า “เดือนนี้ไม่มีการใช้จ่าย”

 

ฟังดูแล้ว เหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะคนเราต้องกินต้องใช้ แถมยังต้องจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าห้อง

 

การทำ No Buy Month นั้น ไม่ใช่การห้ามไม่ให้เราใช้เงินแม้แต่บาทเดียวไปทั้งเดือน แต่คือการที่ในเดือนนั้น เราจะไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น

 

เช่น การซื้อเสื้อผ้าใหม่ กินร้านอาหารแพง ๆ หรือออกไปเดินช็อปปิ้งในห้าง เป็นต้น

 

โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำ No Spend Month อย่างแรกก็คือ การที่เราจะสามารถเก็บเงินได้ หรือมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น จากการไม่ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น  

 

ประโยชน์อย่างที่สองก็คือ การที่เราได้รู้จักควบคุมตัวเอง อีกทั้งยังเป็นเหมือนการถอยออกมามองพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ผ่านมาของตัวเราเอง

 

ซึ่งในบางครั้งอาจทำให้เราเห็นว่า สิ่งที่คิดว่าจำเป็นในวันนั้น จริง ๆ แล้ว มันอาจจะไม่ได้จำเป็นมากเท่าที่คิดก็ได้

 

นอกจากการควบคุมตัวเองแล้ว ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำ No Buy Month ก็คือการเปิดโอกาส ให้เราได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่

 

การทำ No Buy Month ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป เพราะในบางครั้งการที่เราข่มใจตัวเองมาก ๆ ก็อาจทำให้ในเดือนต่อมา

 

เราจะระบายความอัดอั้น ด้วยการใช้เงินอย่างสิ้นเปลือง มากกว่าเดิมก็เป็นได้

 

นอกจากนี้ ในบางครั้งเราอาจจะมีความจำเป็น ที่ต้องใช้เงินฟุ่มเฟือยอยู่บ้าง เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น

 

เช่น ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน หรือออกไปเที่ยวกับสมาชิกครอบครัว ในวันหยุดยาว

 

ทำให้การจะประหยัดอดออมทั้งเดือน กลายเป็นเรื่องที่ยากจนเกินไป

 

ถ้าเป็นอย่างนั้น เราอาจลองลดความเข้มข้นลง จากการทำ No Buy  Month เป็นการทำ No Buy Week แทนก็ได้

 

เพื่อปรับตัวจากตรงนี้เองจะเห็นได้ว่า การทำ No Spend Month จะช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเอง

 

แถมยังได้กลับมาสำรวจ พฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง ว่าที่ผ่านมาเราใช้เงินไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นมากน้อยแค่ไหน  

 

เพราะฉะนั้น ถ้าหากในเดือนนี้เรารู้สึกว่า อยากจะมีเงินเก็บเพิ่ม หรืออยากจะเลิกซื้อของตามใจตัวเอง จนมากเกินไป

 

การเริ่มทำ No Spend Month ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ก็ดูจะเป็นทางเลือก ที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน . .

 

 

ที่มา :

ภาวะ ‘Money Dysmorphia’ ตั้งหน้าตั้งตา ‘เก็บเงิน’ จนเครียด มีเงินก็ไม่ยอมใช้

สเปคหรือไทป์ของมาจากไหน ทำไมบางคนเวลามีแฟนแล้วตัวติดแฟนมาาก มีความขี้หึง ขี้กังวล

 

ขณะที่บางคนบอกว่าอยากมีแฟนแต่พอมีคนมาจีบก็ปัดหนีตลอด สงสัยไหมว่าทำไมบางคนรีแอคกับความรักแตกต่างกัน

 

 

Attachment Theory

ทฤษดี Attachment Theory ที่บอกว่าโดยทั่วไปแล้วคนเราจะมีรูปแบบความสัมพันธ์อยู่ 4 แบบ มนุษย์โดยส่วนใหญ่มีรูปแบบความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในสี่แบบนี้

 

Attachment Theory หรือทฤษฎีรูปแบบความสัมพันธ์ กำเนิดมาจากนักจิตวิทยา John Baldwin ซึ่งเป็นคนริเริ่มคำว่า Attachment

 

และเชื่อว่าความสัมพันธ์ในช่วงแรก ๆ ของชีวิตเรา (เรากับผู้เลี้ยงดู) เป็นเหมือนแม่แบบที่เราใช้ในการสร้างความสัมพันธ์อื่นๆ ในอนาคตด้วย 

 

นักจิตวิทยา Marry Ainsworth เอาแนวคิดของ John มาศึกษาต่อ 

 

 

Secure Attachment

 

ตอนเป็นทารก ผู้เลี้ยงดูค่อนข้างใส่ใจ ถ้าเราร้องแล้วพ่อแม่มาดูเพื่อปลอบเราและพยายามจะให้สิ่งที่เราต้องการ

 

สมองของเราจะเรียนรู้ว่า มันปลอดภัยที่จะแสดงอารมณ์ของเราออกมา มันปลอดภัยที่เราจะแสดงความต้องการออกมา มันปลอดภัยที่จะพึ่งคนอื่น แล้วก็รู้สึกได้รับความรัก 

 

เรียนรู้ว่า “ฉันคู่ควรที่จะได้รับความรัก”

 

อีกลักษณะที่เห็นได้ชัดเลยคือ คนประเภทนี้จะเห็นคุณค่าในตัวเองและมองโลกในแง่ดี กล้าเป็นตัวของตัวเองในความสัมพันธ์

 

เพราะพอเราแสดงออกได้รับการตอบสนอง มันก็เหมือนกับทำให้เรามั่นใจและรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงออก

 

Anxious Attachment

 

กลุ่มนี้ในวัยเด็กได้รับความรักแต่ไม่สม่ำเสมอ เช่น พ่อแม่ติดงานนาน ๆ มาอยู่ด้วยบ้างแต่ก็ต้องไปอยู่กับยายกับญาติบ้าง 

 

มีความไม่สม่ำเสมอในการได้รับความรัก สมองเรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่า ความรักมันชั่วคราว เราได้รับความรักแต่มันได้แล้วก็โดนพรากจากไปเสมอ

 

นักจิตวิทยาเปรียบไว้ว่า อยากได้ความรักมาก แต่ก็เหมือนโกยทราย กำแน่นมากทรายก็ไหลออกไปหมดเสมอ 

 

กลายเป็นคนที่ไม่เคยรู้สึกเติมเต็ม รู้สึกว่าความรักเป็นอะไรที่ชั่วครั้งชั่วคราว

 

แผลใจของคนกลุ่มนี้ก็คือ กลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวการอยู่คนเดียว 

 

Avoidant Attachment

 

เป็นทารกที่โดนละเลยทางอารมณ์ จริง ๆ มีสองกรณี คือ ผู้เลี้ยงดูไม่อยู่เลย ไม่มาดูแล ไม่ใส่ใจ 

 

อีกแบบคืออยู่แต่จะละเลยเวลาที่เด็กแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะบวกหรือลบ เช่น ร้องก็ปล่อยให้ร้องอย่าโอ๋ ไม่ถามอารมณ์ว่าลูกรู้สึกยังไง

 

หรือเป็นพ่อแม่ที่เย็นชาไม่ตอบสนองทางอารมณ์ใด ๆ เลย เด็กจะโตมาโดยที่ไม่รู้ว่าอารมณ์ไหนดี/ไม่ดี 

 

เกิดความรู้สึกละอายหรือไม่เป็นที่ต้องการ แล้วก็ค่อย ๆ สร้างเกราะป้องกันตัว เพื่อพยายามแสดงออกว่าตัวเองเข้มแข็ง แข็งแรง ไม่ต้องพึ่งใคร

 

คนประเภทนี้จะโฟกัสความรู้สึก ตัวเองมากเพราะเขาได้รับความรักและการดูแลมาไม่สม่ำเสมอหรืออาจจะไม่เคยได้รับเลย

 

เป็นธรรมดาที่จะเกิดความรู้กลัว กังวลในการสานสัมพันธ์ มีแฟนได้นะ แต่ถ้าคนที่เข้ามาดันใกล้ชิดเขามากเกินจนเขารู้สึกอึดอัด

 

เขาจะตีตัวออกห่างทันทีถึงจะชอบก็เถอะ เลยอาจทำให้คนประเภทนี้มักจะมีความสัมพันธ์ระยะสั้น 

 

 

Fearful Attachment

 

เป็นทารกที่เจอหนักที่สุด โตมาในความวุ่นวาย เช่น พ่อแม่ที่ติดเหล้า หรือกำลังจะหย่า (ทะเลาะกัน) คือ บางวันพ่อแม่อาจจะใจดี อีกวันโกรธ

 

โตมาในความสัมพันธ์ที่ไม่มีอะไรแน่นอน สะเปะสะปะไปหมด

 

และโตมากับความรู้สึกที่ว่ารักก็ดีแต่ก็น่ากลัว อยากได้ความใกล้ชิดแต่ก็กลัว เพราะไม่เข้าใจด้วยว่าความสัมพันธ์จริง ๆ หน้าตาเป็นแบบไหน

 

รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ความรักความสัมพันธ์เป็นเรื่องน่าสับสน อยากได้ความรักความใกล้ชิดแต่ก็ไม่เข้าใจ

 

ทุกอย่างของจิตวิทยา มีชื่อเพื่อให้รู้ว่ามันคืออะไรและรับมือยังไง แต่ไม่ได้เอาไว้แปะป้าย หรือจัดประเภทใคร

 

Attachment สามารถเปลี่ยนได้ผ่านการไปพบจิตแพทย์ การรักษาแผลใจของเรา หรือการทำงานกับตัวเอง

 

ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อตัวเอง ก็ช่วยได้เหมือนกัน มันไม่ใช้อะไรที่ถาวรซะทีเดียว

 

เพราะทฤษฎีถูกสร้างมาเพื่ออธิบายสาเหตุของคนแต่ละประเภท ซึ่งจริง ๆ การเลี้ยงดูเป็นส่วนสำคัญในการที่จะพิสูจน์

 

เพราะเราโตมาแบบนั้นเราถึงเป็นคนแบบนี้ แต่อีกครึ่งหนึ่ง พี่คิดว่ามันมาจากประสบการณ์ที่เราเจอ

 

บางคนโตมาดีแต่เจอความสัมพันธ์อะไรก็ไม่รู้ เขาก็อาจจะเกิด trust issue หรืออะไรอื่น ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อตัวตนหรือความรักครั้งหน้าได้ 

 

 

ที่มา :

เมื่อการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในวันที่เติบโต

Attachment Styles: How They Affect Adult Relationships

Attachment style – รูปแบบความผูกพัน

 

 

 

ดราม่า ควีน/คิง  “นักสร้างสถานการณ์ให้ตัวเองมีปัญหากับคนรอบข้าง”

 

 

 

ดราม่าควีน/คิง คำนี้ก็ถ้าให้แปลตรงตัว หมายถึง “ละครชีวิต”

 

มีคนบัญญัติคำว่า Drama Queen/King ขึ้นมา ใช้ตามเพศ ผู้หญิงคือ Queen ผู้ชายคือ King

 

เพื่ออธิบายคนที่ชอบทำให้ชีวิตตัวเองเหมือนกำลังเล่นบทนางเอกหรือพระเอกในละคร หรือ หรือคนที่ชอบแตกตื่นไปกับสถานการณ์บางอย่าง 

 

Drama Queen/King จะต้องทำเรื่องบางเรื่องให้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ดูเหมือนว่ามีผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตมาก ๆ

 

จนถึงขั้นบีบน้ำตาเรียกคะแนนความสงสารเลยก็มี แต่ขอย้ำไว้ก่อนว่า คนอ่อนไหวง่าย ไม่เท่ากับ เป็นคนที่ชอบดราม่า

 

พวกเขาแค่อ่อนไหว และมีประสาทสัมผัสที่ไวต่อการรับรู้เท่านั้นเอง

 

หรือ ความหมายสั้น ๆ ตามที่ Cambridge dictionary คนที่อารมณ์เสียหรือโกรธเกินไปกับปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ 

 

แต่ Drama Queen ไม่จำเป็นต้อง ขี้แง ร้องไห้ ปาดน้ำตา เสียใจ หรือไม่ใช่คนอ่อนไหว เพราะเขามีจุดประสงค์ในการเรียกความดราม่า 

 

 

สาเหตุ เหตุผล ทำไมพวกเขาถึงดราม่า 

 

หลัก ๆ คือ ‘ต้องการให้คนอื่นสนใจ’ เนื่องจากรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว ซึ่งอาจเกิดหลายอย่างในชีวิตที่กระทบทั้งจิตใจ 

 

การมีปฏิสัมพันธ์ รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เลยทำให้มีนิสัยพฤติกรรมดราม่าออกมา และพวกเขาจะแสดงออก…

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีแก้ไข 

 

 

 

ที่มา :

รับมืออย่างไรกับคนที่ชอบหาแต่เรื่องดราม่า เพื่อเรียกร้องความสนใจ

7 toxic signs of someone who is ‘addicted to drama,’ according to a psychologist—and how to respond

 

 

 

 

การเตรียมตัว วางแผน พูดคุยกันไว้ก่อน เป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้าเราตกลงกันไว้

 

คนใกล้ชิด ที่จะต้องตัดสินใจบางอย่างในอนาคตจะได้ไม่ต้องเครียดจนเกินไป หาทางออกไม่ได้

 

หรือรู้สึกผิดที่จะต้องตัดสินใจบางอย่าง หรือต้องแบกความรู้สึกไว้คนเดียวเรื่องการรักษาเหล่านี้กลายเป็นหน้าที่ของครอบครัว

 

ลูกหลานของคนไข้หลาย ๆ คนบอกว่ารู้สึกลำบากใจ บางคนรู้สึกผิดหลังจากเลือกการรักษาต่าง ๆ

 

ซึ่งเอาจริง ๆ มันเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ว่าจะต้องทำอย่างไร…

 

ชวนตั้งคำถามเรื่องความตาย

 

  1. รู้ใช่ไหมว่าคนเราทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย แล้วเคยคิดถึงความตายของตัวเองบ้างหรือเปล่า?
  2. ถ้าวันหนึ่งสุขภาพแย่ลง สภาพแบบไหนที่ไม่ต้องการ หรือ ยอมรับไม่ได้?
  3. ถ้าวันหนึ่งเจ็บป่วยหนัก อยากใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างไร?

 

การวางแผนดูแลล่วงหน้า หรือ Advance Care Planning คือ กระบวนการวางแผนดูและสุขภาพที่ทำไว้

 

ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดความสามารถในการตัดสินใจ หรือเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต อาจจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้

 

กระบวนการวางแผนดูแลล่วงหน้า จะใช้กระบวนการสนทนาพูดคุยแบบใดก็ได้ระหว่าง

 

  1. ผู้ป่วยกับครอบครัวและทีมบุคลากรสุขภาพ
  2. ผู้ป่วยอาจทำด้วยตนเอง
  3. ผู้ป่วยปรึกษาสมาชิกในครอบครัว
  4. ผู้ป่วยปรึกษาบุคลากรสุขภาพ

 

การดูแลแบบประคับประคองคืออะไร ?

 

การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัว

 

โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลควบคู่กับการรักษาหลักที่มุ่งหวังกำจัดตัวโรค

 

การดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วย

 

เป้าหมายของการดูแลแบบประคับประคอง คือ การมุ่งหวังให้ผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวสามารถใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข

 

มีความสัมพันธ์ที่ดีในวาระสุดท้าย มีความสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

ครอบคลุมถึงการลดความทุกข์ทรมานจากการยื้อชีวิต เนื่องจากการรักษาบางอย่างในห้อง ICU

 

Stages of Grief ทฤษฎีระยะเวลาของการก้าวผ่านความสูญเสีย

ทฤษฎีระยะเวลาของการก้าวผ่านความสูญเสีย  ต้องบอกก่อนว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ครอบคลุมการสูญเสียทุกรูปแบบ

 

การเสียชีวิต การเลิกรา การตกงาน เพราะฉะนั้นทฤษฎีนี้อาจจะทำให้เราเข้าใจความเป็นไปทางความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น

 

ทฤษฎีนี้จะแบ่งความรู้สึกออกเป็น 5 ระยะ

 

สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเจอความสูญเสียหรือผิดหวังตัวเราจะปฏิเสธและไม่ยอมรับว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ อาจจะมีความคิดว่ามันคือความฝัน ไม่ใช่เรื่องจริง

 

ระยะนี้เราจะเริ่มได้สติ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ้าง เริ่มรู้ตัวถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ก็เริ่มโกรธ

 

อาจจะตีโพยตีพาย โทษคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่นอนว่าภายใต้ความโกรธจะมีอารมณ์อื่นปะปนอยู่ด้วย เช่น ความกลัว ความเศร้า รู้สึกผิด เสียใจ

 

เป็นระยะที่เราไม่มั่นคงในจิตใจมากที่สุด คือ หลังจากโกรธน้อยลง เราจะเริ่มอยากกลับไปแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด เช่น ขอโอกาส ถ้าย้อนกลับไปได้จะแก้ไขให้ดีขึ้น

 

หลังจากที่ผ่านทั้งสามระยะมาเราจะเริ่มรู้ตัวเองอย่างชัดเจนแล้วว่าเราต้องยอมรับและคงเปลี่ยนผลลัพธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้

 

นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น บางคนก็เศร้าเสียใจมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ บางคนสามารถพัฒนาระยะนี้เป็นภาวะซึมเศร้าได้

 

ระยะนี้ต้องมีคนคอยดูแลพราะถ้าไม่มีคนไว้คอยรับฟัง

 

เป็นระยะที่อาการเศร้าเสียใจต่าง ๆ ดีขึ้น สามารถยอมรับการการจากลา การสูญเสียได้

 

แต่ก็อาจจะไม่ได้ถึงขั้นว่ามีความสุข หัวเราะร่าเริง แต่เริ่มอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น

 

ถึงแม้เราจะรู้ว่าเจ็บป่วย การจากลาเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอแต่ระยะที่กว่าจะผ่านและยอมรับได้ก็มี Step

 

และขั้นตอนของความรู้สึกเหล่านั้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมให้เวลาและพื้นที่ในการดูแลฟื้นฟูตัวเอง

 

อย่าลืมขอบคุณตัวเอง และอย่าลืมให้อภัยตัวเอง ณ ปัจจุบันนี้ด้วย จนกว่าใจจะค่อย ๆ ยอมรับและผ่านพ้นไปได้

 

อาจเป็นการรักษาที่สร้างความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดโดยที่ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ

 

 

ที่มา : 

Stages of Grief 5 ระยะ ก้าวผ่านความสูญเสีย

It’s Good to Feel Sad Sometimes: Here’s Why

 

 “ความสุขมีจริงไหม หรือแค่เพราะเราไม่ทุกข์ เราเลยเรียกว่านั่นคือความสุข” และคำถามนี้ยังคงติดถึงในใจทุกวันนี้

 

 

นิยามความสุข

 

แต่ก่อนที่จะหาความหมายของความสุข ในช่วงชีวิตต้องมีหลายครั้งที่ชอบเกิดคำถามกับตัวเองว่า “ชีวิตคืออะไร”

 

ดูเป็นคำถามที่ธรรมดาแต่ก็ไม่มีใครให้คำตอบได้ตายตัวสักที …

 

ถ้าตอบในมุมของธรรมะ ชีวิต คือ การประกอบขึ้นจากร่างกาย (รูปธรรม) และจิตใจ (นามธรรม) เพื่อนำไปสู่การหาทางให้หลุดพ้นจากความทุกข์ 

 

ในมุมของวิทยาศาสตร์ ชีวิต คือ สถานะที่ช่วยให้แยกออกจากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว และเกิดจากการสืบพันธุ์ ปรับตัวเมื่อเติบโตให้ใช้ชีวิตในโลกต่อได้ 

 

ส่วนในมุมของจิตวิทยา ชีวิต คือ การรับรู้ถึงเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ของตนเองผ่านการทบทวนและค้นหาสิ่งที่ตนเองชอบ เพื่อมีแรงกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อ 

 

ความหมายของ ‘ชีวิต’ ก็คงแตกต่างกันไปในแต่ละคนไม่ต่างกับการมองตามความหมายของศาสตร์ต่าง ๆ

 

แต่สิ่งสำคัญ คือ เมื่อมีชีวิต เราก็ต้องใช้ชีวิต จะใช้ยังไงก็ขึ้นอยู่กับเราอีกเช่นกัน

 

ถ้าเราอยากนิยามว่า การใช้ชีวิต คือ การเลี้ยงหมาแมวอยู่บ้าน ไม่ต้องวุ่นวายกับใครแบบนี้ก็ได้ แค่เราทำในสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข

 

หัวเราะให้กับอะไรโก๊ะ ๆ ที่ผ่านมาให้เห็น ยังไงก็ตาม เราในวันนี้อาจจะยังหาความหมายของชีวิตไม่เจอ แต่ก็ไม่เป็นไร

 

เพราะสุดท้ายเราจะเข้าใจชีวิตผ่านการออกแบบชีวิตที่เราต้องการได้ด้วยความคิดเราเอง ไม่ใช่คำพูดคนอื่น

 

นักจิตวิทยาชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ Veenhoven เคยให้นิยามความสุขไว้ว่า ความสุขคือการที่เรารู้สึกชอบหรือพึงพอใจกับชีวิตของเรา

 

ถ้าประเมินแล้วว่าชอบชีวิตตัวเองนะ นั่นก็คือความสุขในชีวิต ซึ่งคนที่มีความสุขส่วนใหญ่จะมีบุคลิกลักษณะชอบความสนุกสนาน

 

กล้าลองอะไรใหม่ ๆ อารมณ์มั่นคง มองเห็นข้อดีในเรื่องต่าง ๆ แต่ถึงอย่างนั้น แม้ความสุขจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีพลังบวกมากมาย

 

 

บุคลิกของคนที่มีความสุข

 

 

 

แล้วเราจะตามหาความสุขได้จากที่ไหนบ้าง

 

ความสุขของบางคนอาจเกิดจากการประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน การมีเงินพอใช้ไปทั้งชีวิต การมีครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อม

 

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ในสังคมเรา แทบจะเป็นตัวการันตีว่า เราใช้ชีวิตได้ตามบรรทัดฐานสังคม ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ผิดที่เป้าหมายพวกนี้จะทำให้เรามีความสุข

 

เพราะมันคือพื้นฐานของความต้องการคนเราอยู่แล้ว ความสบายใจ ความมั่นคงนำไปสู่การมีความสุขได้ง่ายที่สุด

 

ก็เหมือนกับความสัมพันธ์ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นที่สบายใจและมีความซื่อสัตย์ต่อกันซึ่งเป็นพื้นฐานของชีวิตคู่ ความสุขในชีวิตคู่ก็จะเกิดขึ้นแล้ว

 

 

บางครั้งเราก็มองข้ามสิ่งเล็กน้อยในชีวิตไป 

 

คนเคยบอกว่ามีเงินเยอะใช่ว่าจะมีความสุขเสมอไป คนที่มี ‘ทุกขลาภ’ มีเยอะแยะไป ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษานึงที่นักจิตวิทยาพบว่า…

 

ความร่ำรวยหรือการมีเงินเดือนสูงไม่ได้การันตีว่าจะมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย เขาก็อาจจะมีความเครียดจากเรื่องอื่นมาแทนก็ได้

 

จริงอยู่ว่าความยากจนทำให้เกิดทุกข์ แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าเศรษฐีหรือคนที่รวยล้นฟ้าจะมีความสุขเสมอไป

 

ดังนั้น ถ้าเรามองว่าความสุขของเรา คือ การมีเงิน การทะเยอะทะยานสร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อตัวเอง ก็สามารถมีความสุขจากสิ่งนั้นได้ทุกคน

 

แต่อยากให้ตระหนักไว้เสมอว่าอย่ายกเรื่องเงินหรือยกใครมาเป็นก้อนความสุขของเราทั้งหมดก็พอ เพราะถ้าวันนึงเราไม่มีสิ่งนั้นแล้ว

 

มันจะกลายเป็นว่าเรามองหาความสุขไม่เจอ กลายเป็นคนไม่มีความสุข ลืมว่าความสุขหน้าตาเป็นยังไง จนถึงหลงลืมไปว่าความสุขมันสามารถหาใหม่ได้

 

อะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทางที่เรามีตอนนี้ ก็เป็นความสุขให้เราได้เหมือนกัน

 

 

ออกแบบความสุขง่าย ๆ กัน

 

ถ้าพูดถึงการทำให้คนรอบข้างมีความสุข จะนึกถึงอะไรบ้าง…

 

เทคนิคอื่น ๆ ในการสร้างความสุขที่เราจะเห็นได้ทั่วไปและหลายคนมักจะแนะนำกัน ไม่ว่าจะออกกำลังกาย เพราะทำให้เรามั่นใจในบุคลิกตัวเองมากขึ้น

 

แล้วก็การทำในสิ่งที่ชอบ แน่นอนว่ามันคือความสุขของเราอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราอาจมองข้ามไป คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ

 

อาจจะทำได้ยากในบางอาชีพที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาเสมอ หรือมีตารางเวลางานและวันหยุดแบบไม่แน่นอน ลางานยาก เลิกงานดึก เข้างานเช้า

 

จะหาเวลามาพักผ่อนก็ทำได้ยาก เพราะการที่ได้พักอย่างเต็มที่ จะส่งผลต่อความสดชื่น ความพร้อมของร่างกายอย่างเห็นได้ชัด

 

และถ้ามองอีกมุม การที่เราสามารถควบคุมเวลาตัวเองได้ เราจะมีความสุขจริง ๆ เพราะเราสามารถจัดการตารางชีวิตได้ตามใจเลย

 

แต่เนื่องจากความสุขมันไม่มีสูตรสำเร็จ อยู่ที่แต่ละคนจะกำหน วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างความสุขในวันที่ความสุขมันหายไป

 

อยากให้เพื่อน ๆ ลองเริ่มปรับความคิดจากเรื่องราวที่น่ายินดีใกล้ตัวก่อน เช่น แค่การที่เราได้มีโอกาสตื่นขึ้นมา ได้หายใจ ได้อาบน้ำ

 

ได้ทานของอร่อย ๆ ที่ชอบ ก็ถือว่าเราดูแลชีวิตได้เป็นอย่างดีแล้ว สำหรับเพื่อน ๆ ที่รู้สึกว่ามันยากจังเลยในการมองสิ่งใกล้ตัวเป็นความสุข 

 

ค่อย ๆ ฝึกการคิด การมองเห็นอะไรน่ารัก ๆ รอบตัวไปเรื่อย ๆ ทุกการเรียนรู้ย่อมใช้เวลา 🙂

 

ทำไม กล่องจุ่ม ถึงยอดฮิต ทำไมคนเราถึงติดใจการสุ่มผ่านมุมมองจิตวิทยา 

 

 

กล่องจุ่ม คืออะไร

 

กล่องจุ่ม กล่องสุ่มหรือ Mysterious Box คือ กล่องที่มีการนำสินค้าทั้งแบ่งหมวดหมู่และแบบคละสินค้ามาใส่รวมกันในกล่อง

 

คนซื้อจะไม่รู้ว่าตัวเองจะได้อะไร เลยจะมีความรู้สึกลุ้น ตื่นเต้น สนุก

 

 

การสุ่มเริ่มมาจากอะไร เกิดขึ้นตอนไหน

 

ต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่ก่อนญี่ปุ่นมีเหมือนถุงสุ่มที่เรียกว่า ถุงเอบิสึ คำว่าอบิสึมาจากชื่อเทพเจ้าแห่งการค้าและโชคลาภ

 

ภายหลังเปลี่ยนเป็นชื่อ ฟุกุบุคุโระ แปลว่าโชคดี หรือ Lucky bag ส่วนใหญ่จะเป็นถุงกระดาษสีแดง ๆ ข้างในก็จะมีสินค้าต่าง ๆ คละๆ ไว้ในถุง

 

และวางขายแค่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่น คนต่อแถวตั้งแต่ร้านยังไม่เปิดเลยนะ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว

 

ในส่วนของกาชาไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น มาจากอเมริกาที่ผลิตเครื่องกฎหมายฝรั่งที่มีของแถม

 

ต่อมาก็พัฒนาเป็นขายของเล่น แล้วก็เอาไปวางที่ญี่ปุ่น แล้วก็บูมในคนญี่ปุ่นมาก ๆ เลยกลายเป็นของคู่ประเทศญี่ปุ่น

 

 

เหตุผลที่ทำให้การสุ่มขึ้นติดเทรนด์ 

 

ความสนุก ตื่นเต้น การลุ้น เพราะความน่าตื่นเต้น น่าค้นหาทำให้ดึงดูดใจคน

 

แต่อีกความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่ซ่อนอยู่ คือ ความคาดหวัง ในทางจิตวิทยา

 

เมื่อเราเกิดความรู้สึกนี้ เหมือนเป็นแรงขับที่จูงใจให้เราอยากได้อยากมี รู้สึกมีความสุขถ้าทำสำเร็จ 

 

ความคาดหวัง เกิดจากการที่เราไม่รู้อนาคตถึงความไม่รู้มันจะดูน่ากลัว แต่ทุกคนก็ยังเลือกที่จะมีความหวัง

 

เห็นได้ว่าจะมีความรู้สึกขัดแย้งกันอยู่ แต่ถ้าเรียบเรียงดี ๆ อะ ความไม่รู้ทำให้เกิดความกลัว พอกลัวเราก็เกิดการให้กำลังใจตัวเอง

 

คาดหวังว่ามันอาจจะดีก็ได้นะ ไม่ลองไม่รู้ ฟีลแบบให้กำลังใจตัวเอง มนุษย์ติดอยู่กับความคาดหวังในทุกวัน

 

นอกจากความคาดหวังแล้ว พ่วงเรื่องของ ความอยากรู้อยากเห็น หรือ Pandora effect เข้ามาด้วย

 

ปรากฎการณ์ ที่จิตวิทยาเชื่อว่า ถ้ามันมีสิ่งที่ไม่แน่นอนอะ มนุษย์จะสนใจและอยากรู้อยากลองมากกว่าอะไรที่ความแน่นนอนชัดเจน

 

เช่น ถ้าตรงหน้ามีประตูสองบาน แล้วมีคนบอกกว่า ประตูแรกเป็นเหวอีกประตูเป็นบันได กับบอกว่า ประตูแรกเป็นบันได อีกประตูไม่รู้คืออะไร

 

พูดแบบไหนเราจะอยากเปิดประตูมากกว่ากัน ความอยากรู้อยากเห็นเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาอยู่ก่อนแล้ว

 

และมันก็ช่วยกำจัดความไม่แน่นอนออกไป มนุษย์ไม่ชอบอะไรที่ไม่แน่นอน เลยอาจเป็นอีกสาเหตุที่เราชอบสุ่ม 

 

 

เคล็ดลับก่อนตัดสินใจเข้าวงการสุ่ม

 

สำหรับใครที่กำลังจะเข้าวงการนี้ หรือเป็นมือใหม่ วิธีจาก mushroomtravel  เป็นเคล็ดลับการเลือกซื้อกล่องสุ่ม เขาบอกไว้ว่า

 

เป้าหมายที่อยากได้คืออะไร ถ้าซื้อตัวแรกแล้วยังไม่ได้ จะซื้ออีกกี่ครั้งถึงจะพอ 

 

 

 

ที่มา 

 

ต้นกำเนิดที่มากล่องสุ่ม

ทำไมกล่องสุ่มถึงนิยม 

The Pandora Effect

ตลาด “กาชาปอง” ของเล่นสุดป็อปที่กลายเป็นของฝากสุดฮอตจากญี่ปุ่น

 

อิคิไก ใช้อธิบายความรื่นรมย์และความหมายของชีวิต อิคิ คือ ชีวิต ไก คือ เหตุผล

 

 

 

อิคิไก เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่คนในญี่ปุ่นใช้กันในชีวิตประจำวัน การที่เราจะใช้คำว่า อิคิไก

 

ไม่จำเป็นว่าเราต้องประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานก็ได้ อิคิไก เป็นคำที่เปิดกว้างที่หมายถึงว่าการ ยอมรับความแตกต่างความหลากหลายของชีวิต

 

เป็นคำที่มีความเสมอภาค เปิดกว้างสำหรับทุกคน อิคิไก คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่ตื่นนอน เช่น อากาศดี ๆ อาหารอร่อย คำชม

 

หรือคำติที่ทำให้เราดีขึ้น สิ่งที่ดีงามเหล่านี้เราสามารถมีความสุขและชื่นชม นี่แหละคือ อิคิไก

การเริ่มต้นเล็ก ๆ 

 

ในหนังสืออิคิไกได้พูดถึงข้อดีของการตื่นเช้า  ฮิโรกิ ฟูจิดะ พ่อค้าปลาทูน่าในตลาดปลาชื่อดังของโตเกียว เขาตื่นตั้งแต่ตีสอง

 

และเตรียมออกไปทำงานทุกวัน เพราะต้องการได้ปลาตัวที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าของเขา ซึ่งฮิโรกิ ฟูจิดะ ได้ทำแบบนี้ทุกวันเป็นเวลา 10 ปี

 

ถ้าตื่นสายวัตถุดิบที่ดีจะหมด เมื่อหมดคนที่มากินก็จะได้วัตถุดิบที่ไม่ดี อาหารไม่อร่อย จากสิ่งที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ การตื่นเช้า

 

การได้ลงมือทำทีละขั้นตอนปั้นซูชิ สั่งสมไปเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความสุข คนกินมีความสุข คนปั้นก็มีความสุข 

 

 

การปลดปล่อยตัวเอง

 

ฮิโรกิ ฟูจิดะ ไม่ยึดติดว่าเขาเคยทำอะไรหรือเป็นใครมาก่อน เขาคิดว่าตอนนี้เขามีหน้าที่ทำซูชิให้ดีที่สุดในแบบของเขาก็พอ

 

การที่เขาคิดแบบยอมรับตัวเองและปลดปล่อยตัวเองในหน้าที่ของเขา จะเกิดสภาวะลื่นไหลเกิดขึ้น

 

จนสิ่งอื่นใดก็ไม่มีความสำคัญ “มีความสุขกับงานที่ทำ” เป็นเป้าหมายในตัว ไม่ใช่ต้อง “ทนทำ” 

 

เวลาที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบสิ่งที่ถูกใจจะเกิดภาวะ Flow เกิดขึ้นรู้สึกตัวอีกทีเวลามันผ่านไปไวเหลือเกิน

 

 

ความสอดคล้องและยั่งยืน

 

การเป็นมนุษย์การกระทำของเราต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ และมนุษย์ด้วยกันเอง

 

เช่น ตัวอย่างของ ฮิโรกิ ฟูจิดะ ที่ตื่นเช้า เวลาเดินไปซื้อวุตถุดิบที่ตลาด เขาจะทักทาย “อรุณสวัสดิ์” ด้วยภาษาญี่ปุ่นว่า “โอฮาโยะ”

 

พร้อมสบตากับผู้เกี่ยวข้อง ด้วยความรู้สึกดี ๆ ก็ช่วยกระตุ้นระบบการให้รางวัลสมอง มีผลให้ระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนดีขึ้น ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น

 

ความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ

 

ฮิโรกิ ฟูจิดะ ‘ความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ’ คือการปั้นซูชิที่อยู่ตรงหน้า

 

จากการตื่นเช้าแล้วเริ่มต้นด้วยสิ่งที่หอมหวาน การดื่มน้ำชาหรือกาแฟ ชมวิวที่สวยงามระหว่างทาง กินขนมที่ชอบ

 

สมองจะหลั่งสารโดปามีน ที่ตอกย้ำพฤติกรรมการตื่นตัวของร่างกาย เพื่อรับรางวัลด้วยเครื่อง เป็นความสุขเล็ก ๆ แบบง่าย ๆ ที่เริ่มต้นด้วยบรรยากาศดี ๆ ทุกเช้า

 

 

การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้

 

‘การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้’ อยู่กับปัจจุบัน ไม่ติดกับอดีตหรือกังวลในอนาคต จะทำให้เกิดสภาวะลื่นไหล ถูกตัดขาดจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ ของโลกภายนอก

 

และใจจดใจจ่อมีสมาธิเช่น พ่อค้าอยู่กับการปั้นซูชิตรงหน้าเพียงอย่างเดียว เกิดสภาวะลื่นไหลและทำให้ได้สร้างผลงานที่มีคุณค่า และมีความหมาย ที่รู้สึกได้ในขณะที่ทำในปัจจุบัน

 

 

เสาหลัก 5 ประการ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ยังไง

 

สิ่งสำคัญของ อิคิไก คือ การที่เรายอมรับตัวเอง อิคิไกไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชีพการงานในชีวิตของเรา

 

อิคิไกให้คำตอบว่าใจเย็นๆ ไม่ต้องสุดไม่ต้องขนาดนั้น แค่เราต้องยอมรับตัวเราเอง และมองหาสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขจริง ๆ  แบบยั่งยืน

 

ในวัยทำงาน ถ้ารู้สึกว่างานที่ทำไม่ได้สร้างความสุขเท่าคุณลุงขายซูชิ ลองหางานอดิเรกอย่างอื่นไหมมาเติมเต็มความสุขเหล่านั้นแทน

 

งานอดิเรกที่เรารู้สึกว่าเราพอจะสนุกกับชีวิตได้บ้าง ไม่ได้ห่อเหี่ยวแต่มีเรื่องให้แฮปปี้ในแต่ละวัน 🙂

ความอิจฉา เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ที่มักจะสร้างความหงุดหงิดใจให้กับมนุษย์เอง

 

 

ความอิจฉา

 

ความอิจฉามีหลากหลายความหมาย …

 

 

จากอาจารย์ คิม รันโดว 

 

อิจฉา เป็นการเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าแล้วรู้สึกไม่พอใจ อยากได้บ้าง แต่ก็ยอมรับความจริง ไม่ยอมรับความสำเร็จของคนอื่น 

 

ริษยา คือ การไม่อยากเห็นผู้อื่นได้ดีกว่า 

 

 

จากอาจารย์ ดร.แพง ชินพงศ์ 

 

“คนขี้อิจฉา” หมายถึง คนที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วมีความรู้สึกไม่พอใจ เกิดรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ อยากจะเป็นหรืออยากจะมีเหมือนกับเค้าบ้าง 

 

“คนขี้อิจฉา” หมายถึง คนที่มีความอยากและความปรารถนา ที่จะได้ดีมากกว่าคนอื่น และไม่อยากให้คนอื่นได้ดีกว่าตนเอง 

 

และเมื่อไม่เป็นไปอย่างที่อยากให้เป็น ก็เกิดอาการโกรธ เกลียด กลัว มืดมัว อ้างว้าง บางคนมีอาการหนัก

 

ถึงขนาดที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตนเองแล้วทนไม่ได้ ต้องหาทางทำลายหรือทำร้ายคนที่ตนเองอิจฉาริษยาให้ต้องมีเหตุย่อยยับไป

 

 

โรงพยาบาลมโนรมณ์ 

 

“อิจฉา” เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการประเมิน แข่งขัน หรือเปรียบเทียบทางสังคม ระหว่างตัวเองและผู้อื่น

 

ก่อให้เกิดความไม่สบายใจหรือไม่มีความสุข แน่นอนว่าโดยส่วนมากเป็นอารมณ์ที่เป็นไปในทางลบ

 

และมักเป็นอารมณ์ที่แม้แต่เจ้าของความรู้สึกยังคิดว่ามันไม่เหมาะสม บางคนจึงอาจรู้สึกผิดที่ไปอิจฉาคนอื่น

 

 ดังนั้นอิจฉาจึงมักเป็นอารมณ์ที่ถูกเก็บซ่อนไว้อยู่ภายในโดยไม่ได้แสดงออกไปให้ใครเห็น

 

 

วิธีเราจะต้องหัดยอมรับกับอารมณ์เหล่านี้ เพื่อให้เราเติบโตไปข้างหน้าได้

 

สำรวจตัวเองก่อนว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุของความรู้สึกอิจฉาของตัวเราเอง

 

เราต้องการอะไรเรามีความอยากได้อะไร หรือเราลองให้เวลาตัวเอง

 

สัมผัสกับความรู้สึกอิจฉาของตัวเองให้เต็มที่

 

ถ้าเกิดขึ้นแล้วเราก็ถอยออกมาจากสถานการณ์นั้นทำให้จิตใจเราค่อย ๆ สงบลงก่อน

 

ถ้าเราสงบจิตใจเราลงได้แล้วเราก็ยอมรับได้ว่าเราเป็นคนขี้อิจฉาคนนึงแล้วเราถอยออกมามองตรงนั้น

 

เราจะเข้าใจได้ว่าที่มันอยู่ภายใต้ความรู้สึกที่เราอิจฉาเราต้องการอะไรจากความอิจฉาตรงนั้น 🙂 

 

 

 

เคยไหมที่เวลาดูหนัง ฟังเพลง อ่านนิยาย แล้วร้องไห้?

 

ถึงจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นไม่เกี่ยวกับเราเลย แต่ก็ร้องไห้ตามอยู่ดี …

 

 

สาเหตุที่เราดูอะไรซึ้ง ๆ แล้วร้องไห้ 

 

สาเหตุที่เราเศร้าเวลาที่ดูหรืออ่าน หรือกระทั่งฟังอะไรเศร้าๆ เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซินของแม่และความรัก

 

ออกซิโทซินแม่ เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาท มักจะเจอตอนที่แม่คลอดลูก หรือให้นมลูก

 

หน้าที่ของออกซิโทซินในช่วงเวลานั้น คือ ช่วยในการเบ่งคลอดและทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันระหว่างแม่กับลูก 

 

เป็นฮอร์โมนที่หมอเอามาใช้กระตุ้นการทำงานของมดลูก เพื่อกระตุ้นการคลอด หรือเพิ่มการบีบตัวของมดลูกในระหว่างการคลอดบุตร 

 

ออกซิโทซินความผูกพัน หลั่งในตอนที่เรามีปฏิสัมพัทธ์ทางบวกทางร่างกายกับคนอื่นด้วย เช่น กอด จูบ มีเพศสัมพันธ์ ไปจนถึงเล่นกับสัตว์ 

 

แต่ในช่วงหลัง ๆ หลังจากการระบาดของ โควิด-19 เราเริ่มใช้ชีวิตแบบออนไลน์มากขึ้น

 

มีการศึกษาแล้วก็พบเหมือนกันว่า การมีปฎิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ เช่น Video Call, Zoom,Meet อะไรต่างๆ ที่ไม่ได้เจอตัวเป็น ๆ ฮอร์โมนชนิดนี้ก็หลั่งเช่นกัน

 

พอฮอร์โมนหลั่งก็จะทำให้เรารู้สึกเชื่อใจ ไว้ใจ ผูกพัน ไปจนถึงรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของคน ๆ นั้นหรือสิ่ง ๆ นั้น 

 

เลยมีชื่อเล่นว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” และเมื่อการหลั่งออกซิโทซินจะมีความ เห็นอกเห็นใจ (Empathy) เพื่อนมนุษย์เพิ่มมากขึ้นด้วย 

 

งานวิจัยเลยสรุปได้ว่า ออกซิโทซินเกี่ยวข้องกับ ความเห็นอกเห็นใจ และเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เราแคร์คนอื่นแม้กระทั้งคนแปลกหน้า

 

มนุษย์ในฐานะสัตว์สังคม  มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม อยู่รอดด้วยการอ่านพฤติกรรม สีหน้า หรือรีแอคชั่นของคนอื่น ๆ ในสังคมที่ตัวเองอยู่ 

 

ความ Empathy หรือการที่เราเห็นตัวละครศร้าแล้วเราร้องไห้ตาม เป็นหนึ่งในกระบวนการ “เข้าเมืองตาหลิ่ว” ของมนุษย์

 

เราจำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราแคร์ตลอดว่าสังคมกำลังคิดแบบไหนและรู้สึกอย่างไร

 

การแชร์ความรู้สึกร่วมกับสังคมทำให้เรารอดในสมัยก่อน ถึงปัจจุบัน เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เราร้องไห้เวลาดูหนัง

 

เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของการระแวดระวังและการอ่านพฤติกรรมหรือความรู้สึกของคนที่อยู่ในสังคมร่วมกับเรา

 

เป็นหนึ่งในระบบการอยู่รอดที่ถูกเซ็ตเป็นแบบ โปรแกรมพื้นฐานของสมอง

ร้องไห้เท่ากับอ่อนแอ

 

 

“การร้องไห้มันคือการที่เข้าใจอีกฝ่าย เข้าใจในระดับที่เรารู้สึกร่วมไปด้วย การเข้าใจเขาในเชิงอารมณ์”

 

 

การร้องไห้ทำให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง ความเครียด ความกังวลต่าง ๆ ที่อยู่ในใจเหมือนถูกระบายออกมาทางน้ำตา 

 

เวลาที่ร้องไห้ ฮอร์โมนความเครียดก็ออกมากับน้ำตาด้วย การร้องไห้ดูหนัง ฟัง อ่าน  จริง ๆ แล้วเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาดทางอารมณ์ 

 

แล้วคนที่ร้องไห้เมื่อดูหนังก็มีแนวโน้มที่จะสามารถรับมือกับอารมณ์ของตนเอง และสามารถจัดการปัญหาในชีวิตจริงได้ดีกว่า

 

เพราะว่าเขาเข้าใจอารมณ์ของตัวเองและสามารถแสดงอารมณ์ได้ตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ร้องตอนดูหนังคือคนที่แข็งแกร่งกว่า

 

เพราะความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของเราไม่เท่ากัน  ระดับความอ่อนไหวของคนเราไม่เท่ากัน

 

คนที่ร้องไห้ง่ายอาจหมายความว่าเขา connect กับตัวเองได้ง่ายกว่า หรือว่าอ่อนไหวกว่า แต่ไม่ได้แปลว่าแบบไหนดีกว่าแบบไหน :))

 

 

ที่มา :

Why We Cry at Movies

Crying is not a sign of weakness

ดูหนังทั้งน้ำตา จริงหรือที่เขาบอกว่า คนร้องไห้ขณะดูหนังนั้นอ่อนแอ

 

เด็กโตเกินวัย อาจจะเข้าใจว่า เด็กที่เป็นหนุ่มสาวก่อนวัยรึป่าว จริง ๆ แล้ว เด็กลักษณะนี้คืออะไรกันแน่

 

 

Parentified Child คืออะไร

 

เด็กคนนึงที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกินวัย เช่น ตัวละครของ วันเฉลิม ทองเนื้อเก้า ที่อายุไม่กี่ขวบแต่ต้องมาเลี้ยงน้อง ๆ  แทนพ่อแม่

 

ซึ่งอาจส่งผลให้วันเฉลิม แทบจะไม่มีช่วงเวลาเล่นสนุกสนานอย่างที่ควรจะเป็นเหมือนเพื่อนวัยเดียวกัน

 

ต่างจากภาวะโตเกินวัยอีกแบบ โดยภาวะโตเกินวัยในด้านการแพทย์ จะเกิดจากการที่ร่างกายเด็กมีฮอร์โมนเพศสูงกว่าปกติ

 

ทำให้โตกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน อันนั้นเราก็จะเห็นผ่านร่างกายชัดเลย แล้วก็มีโตเกินวัยในอีกรูปแบบที่ โตเกินวัยในด้านภาวะอารมณ์ พฤติกรรม และการแสดงออก 

 

 

Parentified Child เป็นการโตเกินวัยในด้านความรับผิดชอบ 

 

เราอาจสับสนการที่พ่อแม่เลี้ยงดูให้เราสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง อย่างการฝึกให้ลูกล้างจาน เก็บที่นอนด้วยตนเองตั้งแต่ 7-8 ขวบ

 

มันคือ การสร้างนิสัยที่เหมาะสมกับอายุลูกอย่างถูกต้องแล้ว แต่ถ้าเป็นการเลี้ยงแบบ Parentification อย่างที่เราน่าจะเห็นในละครหรือหนังบ่อย ๆ

 

ที่ลูกต้องหาเลี้ยงครอบครัว ดูแลพ่อแม่หรือพี่น้องที่ป่วยบ้าง พูดง่าย ๆ การที่ต้องขึ้นมาเป็นพ่อเป็นแม่แทนพ่อแม่ตัวจริง 

 

เช่น น้องที่ต้องดูแลพี่ที่มีภาวะออทิสติกอย่างพี่ยิม น้องโด่ง ในซีรี่ส์เรื่อง Side by Side พี่น้องลูกขนไก่ จะเห็นว่าน้องโด่งที่รับบท โดย สกาย วงศ์รวี

 

แทบจะเป็นเหมือนพ่อหรือพี่ชายอีกคนของพี่ยิม ซึ่งรับบท โดย ต่อ ธนภพ ก็จะเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายของเด็กคนนึงที่ต้องรับหน้าที่ให้เป็นผู้ใหญ่ก่อนวัยอันควร

 

แต่ก็มีการศึกษาจาก healthline ในปี 2016 บอกไว้ว่า ความสัมพันธ์พี่น้อง อาจจะมีประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันได้มากกว่าพ่อแม่

 

 

Parentification ส่งผลต่อบุคลิกเด็กคนนึงได้อย่างไร

 

พอเด็กมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเกินวัยขนาดนั้น เด็กอาจจะมีนิสัยเก็บความรู้สึกตัวเอง เราต้องเป็นผู้นำห้ามอ่อนแอ เพราะไม่อยากดูเป็นเด็กในสายตาคนอื่น

 

ละเลยความรู้สึกตัวเองจนความสุขตัวเองอาจจะหายไป #EldestDaughterSyndrome กลุ่มลูกสาวคนโตออกมาระบายเรื่องความรับผิดชอบที่ได้รับในฐานะพี่สาวคนโต

 

บางทีก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นเหมือนพ่อแม่อีกคนของน้อง รวมถึงต้องแบกรับความหวังของครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่เลือกที่จะทำหน้าที่เป็นเสาหลักของครอบครัว

 

ก่อนโดยทิ้งความฝันตัวเองไว้ข้างหลัง ก็เลยอาจจะทำให้บุคลิกภายนอกดูเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนไหว ไม่ได้มีความสุขที่แท้จริงก็ได้

 

 

สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังเป็น Parentified Child

 

 

 

ถ้ามองในแง่ดี การเป็นคนที่ชอบดูแลคนอื่น ก็ทำให้รู้สึกดีกับตัวเอง อาจจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันดีขึ้นด้วย

 

แต่ถ้าต้องกลายเป็นคนที่พ่อแม่คาดหวังก็คงรู้สึกกดดัน ซึ่งอาจจะมาจากตัวพ่อแม่เองที่ก็ไม่ได้รับการเติมเต็มในวัยเด็กเหมือนกัน

 

 

การเป็น Parentified Child ส่งผลอย่างไรได้บ้างในความสัมพันธ์

 

ดีตรงที่เราพึ่งพาตัวเองได้ไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์ไหนเพราะต้องเป็นผู้นำตั้งแต่เด็ก การเป็น Parentified Child 

 

ถ้าไม่ชอบควบคุมคนอื่นเพราะไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ ไปเลย ก็อาจจะเป็นแนว People Pleaser  เพราะคนสองประเภทนี้จะชอบเห็นคนอื่นมีความสุข

 

คอยเอาใจคนอื่นเสมอ ทำให้มองว่าการทำให้คนอื่นรู้สึกดีเป็นหน้าที่ของตนเอง ถ้าทำไม่ได้ก็จะรู้สึกว่าตนไม่มีคุณค่า

 

ก็อาจจะทำให้เกิดการถูกเอาเปรียบในความสัมพันธ์ได้ รวมถึงอาจจะเผลอเข้าไปอยู่ใน Toxic Relationship ด้วย

 

เพราะคนลักษณะนี้จะค่อนข้างลำบากใจในการปฏิเสธคน เลยยอมทำตามคนอื่นเพื่อได้รับการยอมรับ

 

เราทุกคนสามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งแม้ว่าจะไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อม 

 

ไม่ต้องรู้สึกผิดที่จะสนุกกับชีวิต ตามหาตัวเองในเวอร์ชั่นที่ชอบและอยากเป็นได้อย่างมีความสุข 🙂

 

เพราะว่าเรา เปลี่ยนไป ตามเรื่องราวที่เราพบเจอ

 

 

 

การเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลง  ถ้าเป็นเรื่องของตัวเอง เราก็อาจจะยังพอหาคำตอบและรับมือกับมันได้

 

เช่น เสาร์นี้มีนัดเจอกับเพื่อน เลือกชุดไว้ตั้งแต่วันจันทร์ มีกำลังใจตื่นเช้าในวันหยุด ตื่นเต้น ตั้งใจแต่งตัว

 

แต่เพื่อนดันมาเทนัดในวินาทีสุดท้ายตอนที่กำลังจะออกจากบ้าน ความเปลี่ยนแปลงได้ถือกำเนิดขึ้นในใจแล้ว

 

จากอารมณ์ที่ดีกลายเป็นเซ็งหรือบางคนอาจจะหงุดหงิดเลยก็ได้ พอเป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของเรา เราน่าจะรู้ตัวเราดีใช่ไหม

 

แต่การที่เพื่อนเปลี่ยนใจแล้วไม่บอกเหตุผล กลายเป็นว่าเราเองที่พยายามหาเหตุผล ซึ่งก็มีได้ทั้งเพื่อนอาจจะมีเหตุจำเป็น ไข้ขึ้น มีงานด่วน

 

หรือแค่ขี้เกียจออกจากบ้านแล้ว เราจะคิดไปต่าง ๆ นานา ทั้งคิดแทนทั้งคิดไปเองอาจจะคิดจากประสบการณ์เดิมของตัวเองด้วย

 

ก็สะท้อนให้เห็นนะคะว่า ถ้าคนรอบข้างเราเปลี่ยนไป เราอาจไม่มีทางเข้าใจการเปลี่ยนไปของพวกเขาเลย

 

ยิ่งถ้าเราไม่ได้รับการอธิบายหรือไม่ทราบสาเหตุมาก่อน ความเครียด คิดมากกับตัวเองว่า ‘หรือเราทำอะไรผิด’ ก็จะตามมา

 

และคิดว่าหลาย ๆ คนก็คงอยากรู้แต่ก็ไม่กล้าถามอีกฝ่ายเพราะกลัวว่าบางอย่างอาจจะไม่เป็นอย่างที่หวังหรือกลัวว่าความสัมพันธ์จะเปลี่ยนไป 

 

เปลี่ยนแปลงเหมือนกับเปลี่ยนไปไหม เพราะบางครั้ง ในบางเรื่องราวหรือบางความสัมพันธ์เราอาจจะรู้สึกว่าอย่างน้อย

 

‘เปลี่ยนแปลงได้แต่อย่าเปลี่ยนไป’ พอได้หาความหมายตามพจนานุกรมก็พบว่าความหมายใกล้เคียงกัน

 

แต่เมื่อเราพูดแต่ละคำในประโยคเดียวกัน เช่น อย่าให้สิ่งนั้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตฉัน กับ อย่าให้สิ่งนั้นมาทำให้ชีวิตฉันเปลี่ยนไป

 

ฟังแล้วให้ความรู้สึกต่างกันเล็กน้อย คำว่าเปลี่ยนแปลงดูเป็นอะไรที่ค่อนข้างใช้เวลา

 

ค่อย ๆ เปลี่ยน แต่เปลี่ยนไป เหมือนกับว่าอยู่ ๆ ก็พบว่าสิ่งนั้นเปลี่ยนไปจนไม่ทันตั้งตัว จากหน้ามือเป็นหลังมืออะไรทำนองนี้

 

ก็เลยคิดว่ามันคงอาจจะอยู่ที่บริบทการใช้ ถ้าอยากให้รู้สึกดี การใช้คำว่าเปลี่ยนแปลงอาจจะดีต่อใจมากกว่าเปลี่ยนไป

 

 

สาเหตุการเปลี่ยนแปลง   

 

สาเหตุที่ทำให้คนนึงเปลี่ยนแปลงไปอาจจะเกิดจากหลายปัจจัย หลายเหตุผลก็ได้ เพราะ ‘ทุกสิ่งบนโลกไม่มีอะไรแน่นอน’

 

เมื่อเวลาเปลี่ยน ไม่ว่าใครก็เปลี่ยนไปได้กันทั้งนั้น ตัวเราในวันนี้ก็สามารถต่างจากเราในเมื่อวานก็ได้

 

เมื่อวานชอบเพลงป๊อปแต่วันนี้กลับเริ่มชอบเพลง Alternative ขึ้นมา แต่ก่อนดื่มหวานปกติ เดี๋ยวนี้ชอบดื่มหวานน้อย

 

หรือวันนี้รัก พรุ่งนี้หมดรักไปดื้อ ๆ แล้วก็มี มันเลยไม่แปลกที่คนรอบข้างเราก็อาจจะเปลี่ยนไปตามเรื่องราวของตัวเองได้เช่นกัน  

 

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อพบความเปลี่ยนแปลง

 

ในเมื่อเราหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ สิ่งแรกที่เราต้องมีคือ สติ รับรู้ ทบทวนจนกว่าจะมั่นใจว่ามันเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง ๆ 

 

เพราะการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่มักอยู่กับเราเรื่อย ๆ โดยที่เราอาจไม่ทันสังเกตหรือตั้งตัวว่ามันเปลี่ยนไปตั้งแต่เมื่อไร

 

ต่อจากนั้นสิ่งสำคัญ คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลง แม้ว่ามันจะยากในช่วงแรก  มองว่ามันคือจุดเริ่มต้นของคนที่มีความพยายามในการเดินหน้าต่อไป

 

แต่ถ้ารู้สึกยังไม่พร้อมยอมรับความเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องกดดันตัวเองให้ยอมรับในทันที เพราะการฝืนยอมรับทั้งที่ใจไม่โอเค

 

ผลที่ตามมาโดยเฉพาะใจเราเอง ก็อาจไม่โอเคด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เราอึดอัดใจกับการกระทำคนอื่นที่เปลี่ยนไปจนรู้สึกแย่กับตัวเอง

 

บางทีการอดทน ปล่อยไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร การสื่อสารเพื่อปรับความเข้าใจตนเองหรือเพื่อปรับความเข้าใจกับผู้อื่นอาจจะเป็นทางออกที่ช่วยได้มากกว่า

 

เราสามารถเลือกตัดสินใจได้ว่าเราจะเลือกอดทนต่อความเปลี่ยนแปลง และผ่านมันไปด้วยตัวเองหรือเลือกสื่อสารออกไป

 

หากเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับคนรอบข้างด้วยซึ่งถ้าพูดไปแล้ว ผลลัพธ์มันน่าจะดีขึ้นก็ขอให้สื่อสารออกไปดีกว่า

 

 

ยอมรับความเปลี่ยนแปลง

บทเรียนของการมีสติและยอมรับการเปลี่ยนแปลง คือ เราจะใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจและพร้อมรับมือมากขึ้นว่าคนเรา

 

ต้องเจอสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ไม่มีใครเหมือนเดิมได้ตลอด เราเองก็ด้วย ยอมรับได้ว่าตอนนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป

 

แล้วเรารู้สึกอะไรกับการเปลี่ยนแปลงนั้น และค่อย ๆ หาวิธีรับมือกับมันไป คนที่มีสติและมีความมั่นใจในคุณค่าของตัวเอง

 

จะไม่หวั่นไหวและสามารถจัดการรับมือเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว แต่ถ้าคนที่จิตใจไม่มั่นคง ไม่มั่นใจในตัวเอง

 

ความรู้สึกกลัวต่าง ๆ มันอาจจะเข้ามาครอบครองจิตใจที่อ่อนไหวของเราได้ ไม่ใช่ว่าเราจะเกิดความรู้สึกกลัวไม่ได้

 

กลัวได้ตามกลไกธรรมชาติของจิตใจ ยอมรับความกลัวนั้นก่อนก็เป็นเรื่องดีเช่นกัน

 

ในทางจิตวิทยาจะเรียกว่า การโอบกอดอารมณ์ไว้อย่างมีสติ คือ การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกอย่างเหมาะสม แล้วค่อย ๆ ประคองจิตใจให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นต่อ 

 

 

ปรับความคิด mindset ของตัวเอง

การเริ่มต้นสังเกตและยอมรับความเปลี่ยนแปลงมันอาจจะทำได้ยาก แต่ถ้าทำได้ก็ดีเหมือนกัน

 

เพราะถ้ามองอีกมุม การให้โอกาสตัวเองได้ลองสัมผัสและเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน

 

ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เติบโตขึ้น เพราะการที่เรารับรู้และยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดจากตัวเราหรือคนใกล้ตัวเราได้

 

เป็นวิธีที่ทำให้เราเข้าใจโลกความจริงมากขึ้น เราอาจจะค้นพบการมีความสุขโดยง่ายผ่านการเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน

 

เพราะในเมื่อเราห้ามสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ เราก็แค่ยอมรับมัน เศร้าบ้าง เอนจอยบ้าง ต้องปรับตัวกันไป ลดความคาดหวังลงหน่อยจะได้ไม่เจ็บมาก

 

กลับมาโฟกัสความสุขของตัวเองมากขึ้น ชีวิตก็จะง่ายขึ้นตามไปด้วย

 

ก่อนจบค่ำคืนนี้ อยากฝากข้อความสุดท้ายไว้อีกครั้งว่า การที่คน ๆ นึงจะเปลี่ยนไป เรารับรู้และใส่ใจได้เท่าที่พอดีกับใจเรา

 

พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลงได้ หนึ่งนาทีหลังจากนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนใจในบางเรื่องก็ได้เช่นกัน

 

ถ้าเรามองว่า การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ในใจเราได้รวมตัวกันเป็นมวลพลังที่จะทำให้เรากล้าที่จะก้าวออกจาก comfort zone นั่นเป็นสัญญาณที่ดี

 

อยากให้เพื่อน ๆ ค่อย ๆ ฝึกการยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาอย่างสม่ำเสมอ

 

อย่าลืมขอบคุณตัวเองที่ก้าวผ่านความยากเหล่านั้นมาได้สำเร็จ สำหรับคืนนี้เข้านอนด้วยจิตใจที่สงบและเป็นสุข :))