Posts
Burnout Boreout Brownout
ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและการจัดการพลังงานทั้งจิตใจและร่างกาย ไม่ใช่วัยทำงานอย่างเดียวแต่วันเรียน
ก็มีภาวะเหล่านี้ที่โรงเรียนได้เหมือนกัน เบื่องาน หมดไฟ หมดใจ เรากำลังเป็นแบบไหนกันแน่…
Burnout
ภาวะความอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง ทำให้รู้สึกหมดไฟ มองตัวเองในแง่ลบ ไม่มีแรงจูงใจ
ไม่อยากไปทำงาน/ไปเรียน ภาวะหมดไฟ ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อให้อยู่ในแนวทางการวินิจฉัยโรค
แม้ยังไม่ถูกจัดว่าเป็นความเจ็บป่วยหรือมีเงื่อนไขทางการแพทย์ แต่นักวิชาการที่เกี่ยวข้องก็ให้ความสนใจและมีการพูดถึงประเด็นนี้
Boreout
ภาวะเบื่องาน เกิดจากการทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ไม่ท้าทายหรือความสามารถเราสูงกว่างานที่ทำ
ศักยภาพที่มีก็ใช้ได้ไม่เต็มที่ก็เลยทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงาน กลายเป็นไม่ขยันหรือกระตือรือร้นเท่าแต่ก่อน
ประสิทธิภาพการทำงานเลยลดลง และมีแนวโน้มอยากหางานใหม่เกิดขึ้น
Brownout
ภาวะหมดใจ การอยู่ในสภาพแวดล้อมขององค์กรที่ไม่เหมาะกับตนเองนาน ๆ จนหมดใจที่จะทำงานต่อ มีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนงานไปเลย
อาจดูคล้ายกับการ Bureout ภาวะเบื่องาน เพราะมีความรู้สึกอยากออกจากงานเดิมทั้งคู่
แต่จะมีความต่างที่สังเกตได้ คือ Bureout ถ้าเราได้ทำงานใหม่ ๆ หรืองานเดิมที่ท้าทายขึ้น เราจะกลับมามีแรงทำต่อ
แต่ถ้า Brownout จะรู้สึกว่า ไม่ใช่เนื้องานที่ทำให้เราไม่อยากทำงาน แต่เป็นเพราะสิ่งรอบข้างที่ทำให้เราหมดใจ
เช่น หัวหน้ากดดันว่าต้องเอางานวันนี้ เดี๋ยวนี้ วันหยุดก็ตามงาน ผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่เหมาะกับแรงที่ทุ่มเทไป
Checklist สัญญาณพฤติกรรมแต่ละภาวะ
Boreout พฤติกรรมเบื่องาน ภาวะนี้เกิดจากความเบื่อที่ ‘งานน้อยเกินไป’
- อาจเล่นโทรศัพท์หรือหาอะไรทำในเวลาทำงาน
- ไม่ภูมิใจกับงานที่ทำเพราะมันง่ายเกินไป
- รู้สึกว่างานที่ทำไม่มีความหมายกับตัวเอง สามารถนำไปสู่ความเครียด หรือซึมเศร้าในระยะยาว
- ถ้าได้อัพความยากหรือมีอะไรใหม่ก็จะมีแรงทำต่อ
Burnout จากการทำงานหนักเกินไป
- รู้สึกเหนื่อย มีอาการทางกายร่วมเมื่อต้องมาทำงาน
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย อาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ
- ทำงานช้าลงมาก คุณภาพงานลดลง
- ไม่สนุกกับงานอีกต่อไป
- แต่พักผ่อนแล้วจะหายดี
Brownout หมดใจจากความเหนื่อยใจต่อเพื่อนร่วมงานหรือสภาพแวดล้อมขององค์กรเป็นหลัก
- ทำงานแบบไร้ชีวิตจิตใจ ทำงานแบบอัตโนมัติตามความเคยชิน
- อยากลางานตลอด ตั้งใจมาสาย
- ขาดงานโดยไม่รู้สึกผิด ดองงานหรือเทงานได้ก็จะทำ
- พร้อมลาออกตลอดเวลา
- แม้ว่าจะพักผ่อนแล้วแต่ก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้น
ซึ่งข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ได้ยืนยันว่า Brownout เป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
เนื่องจากเกิดจากความรู้สึกว่าถูกองค์กรกดดันตลอดจนเริ่มปลีกตัวออกจากสังคม และเลือกที่จะลาออกเพื่อไปหาสิ่งที่คาดหวังหรือต้องการมากกว่า
แม้ว่าจะได้รับการเสนอขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่ง แต่ก็จะฉุดรั้งคนที่หมดใจนี้ไว้ไม่ได้นั่นเอง
5 ระยะที่นำมาสู่ภาวะ Burnout
- ระยะ Honeymoon เป็นช่วงเริ่มงาน เลยมีความตั้งใจ เสียสละ และปรับตัวกับเพื่อนร่วมงานอย่างเต็มที่ เลยรับแรงกดดันจากการทำงานได้ดี
- ระยะรู้สึกตัว ระยะนี้เราจะเริ่มคาดหวังกับงาน และอาจพบว่างานไม่ตอบสนองต่อความต้องการทั้งในแง่ค่าตอบแทน หรือการเป็นที่ยอมรับ เริ่มรู้สึกว่ามาทางผิด เกิดความขับข้องใจจนไม่สามารถจัดการงานได้
- ระยะไฟตก เป็นระยะเริ่มต้นของภาวะหมดไฟ เริ่มเหนื่อยล้า และเราจะหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน เริ่มปลีกตัวออกห่างเพื่อนร่วมงาน พูดถึงองค์กรในแง่ลบ และทำพฤติกรรมที่ช่วยให้หนีจากความขับข้องใจ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
- ระยะหมดไฟเต็มที่ ก็คือ หมด passion ในการทำงานอย่างสมบูรณ์ เราเริ่มรู้สึกว่าชีวิตการทำงานล้มเหลว สิ้นหวัง เสียความมั่นใจในตัวเอง
- ระยะฟื้นตัว หากเราได้รับการผ่อนคลายหรือพักผ่อนอย่างเต็มที่ ปรับ mindset ในการทำงาน balance เวลาส่วนตัวและงานได้ดีขึ้น เราก็สามารถกลับมามีแรงบันดาลใจหรือมีไฟในการทำงานใหม่อีกครั้ง ใช้โอกาสนี้ในการตั้งเป้าหมายใหม่ในการทำงานได้ด้วย
วิธีรับมือ แก้ไข
- ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ หรือทำ check list สิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน จะรู้สึกว่าพอมีจุดหมายและทำได้ปุ๊ป การติ้กถูกหรือขีดฆ่าออก จะรู้สึกฟินเหมือนเราทำสำเร็จไปทีละอย่าง เกิดความภูมิใจในตัวเองเล็ก ๆ ขึ้นมา
- หาแรงบันดาลใจ ไปพักผ่อน ไม่ก็จัดตกแต่งสภาพแวดล้อมใหม่
- หยุดพัก แต่การหยุดในที่นี้เราจะไม่ทำให้คนอื่นเสียหาย เคลียร์ทุกอย่างก่อนแล้วมาจัดการความรู้สึกกับตัวเอง
- หากพักใจแล้วก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้น ลองถามความต้องการของตัวเองว่าเราต้องการทำอะไร ปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน แก้เองได้ไหม ถ้าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ตัวเรา วิธีทั่วไปที่ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำเลยก็คือ การสื่อสารบอกหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะช่วยให้ได้รับการแก้ไขมากกว่ามานั่งเครียดอยู่คนเดียว
- สุดท้ายแล้วการลาออก คงเป็นทาางเลือกที่ดีกว่าการทนอยู่สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษหรือ Toxic Workplace
ที่มา
Boreout VS Burnout VS Brownout
พฤติกรรม Burnout Boreout Brownout
Lazy คือ ขี้เกียจ
Perfectionist คือ คนที่ชอบความสมบูรณ์แบบ เวลาทำอะไรจะต้องเป๊ะ มีกรอบ มีหลักการ
A person who wants everything to be done perfectly but is too lazy to do it.
การที่คน ๆ นึงอยากทำทุกอย่างให้สำเร็จแต่ขี้เกียจเกินจะทำ
หรือ “Lazy Perfectionist” เป็นคำที่ใช้อธิบายคนที่ตั้งใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สมบูรณ์แบบ
แต่บางครั้งก็ขาดความกระตือรือร้นเมื่อต้องทำงานหรือกิจกรรมที่ไม่ถึงขั้นตอนที่พวกเขาคาดหวัง
Lazy Perfectionist
Lazy Perfectionist ไม่ใช่โรค ไม่ใช่ภาวะผิดปกติ ตามเกณฑ์วินิจฉัยอะไร เป็นคำ ๆ นึง ที่ใช้เรียกคนที่มีพฤติกรรมแบบหนึ่งเท่านั้นเอง
ถ้าอ้างอิงจาก Urban Dictionary คำว่า Lazy Perfectionist เป็น Phenomenon หรือ ปรากฏการณ์ อธิบายง่าย ๆ คือ เป็นลักษณะหนึ่ง เป็นพฤติกรรมในช่วงหนึ่ง
คำนี้ใช้อธิบายคนที่ตั้งมาตรฐานไว้สูง อยากทำงาน ทำกิจกรรม ให้ออกมาดี แต่ไม่มีแรงผลักดันที่จะลงมือทำให้สำเร็จ ทำให้ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมทำตามเป้าหมาย
การที่ใครมีภาวะ Lazy Perfectionist อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายของบุคคล
เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเครียดเมื่อไม่สามารถทำงานตามความสมบูรณ์ที่ต้องการได้
Cycle of Laziness
- รู้สึกว่างานน่าเบื่อ
- ไม่รู้สึกอะไรกับเดดไลน์
- รู้สึกผิดเวลาที่ตัวเองไม่พยายามมากพอในการทำมัน
- คิดซ้ำ ๆ ว่าครั้งหน้าจะทำให้ดีขึ้น
- แต่แล้วก็เปลี่ยนกลับไปเป็นคนเก่า ไม่ทำ ไม่สนใจ เหมือนเดิม
Lazy Perfectionist เพราะอะไร ?
- ตั้งเป้าหมายที่ไม่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ตั้งมาตรฐานไว้สูงเกินไป
- ชอบวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง (ยังไม่ดีพอ ยังไม่พร้อมพอ ฯลฯ ทำให้ไม่มีแรงลงมือทำ , ไม่มีความสามารถมากพอ ทำให้ขาดแรงบันดาลใจที่จะทำ)
- เป้าหมายที่เราเคยตั้งไว้ มันล้มเหลวบ่อย ๆ คนที่มีความเครียดหรือกลัวจากเป้าหมายที่เคยตั้งไว้แล้วล้มเหลวก็อาจมีแนวโน้มที่จะต้องการทำให้ทุกสิ่งเป็นสมบูรณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มเหลว แต่ในเวลาเดียวกันก็ไม่อยากใช้พลังงานหรือเวลามากเกินไป
- การที่มีสภาพจิตใจที่ไม่พร้อม
ไม่อยากเป็นคน ขี้เกียจ แล้ว..
- รับรู้และยอมรับ ยอมรับว่ามีความขี้เกียจและต้องการเปลี่ยนแปลง การรับรู้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เริ่มการเปลี่ยนแปลง
- กำหนดเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดเป้าหมายที่เล็ก ๆ และเริ่มจากการทำงานเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้ในแต่ละวัน
- พูดคุยกับตัวเองปลุกความเชื่อมั่นมั่นใจว่าเราจะทำได้
- บริหารเวลา การจัดการเวลาช่วยให้สามารถทำงานและสร้างสมดุลในชีวิตประจำวัน
ทำยังไงได้บ้าง?
- สำคัญที่สุดอยู่ที่จุดเริ่มต้นเลย คือ ตั้งเป้าหมายให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป้าหมายที่ตั้งต้องไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
- เมื่อผิดพลาด ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นแบบที่คาดหวังไว้ อย่าลืมให้อภัยตัวเอง เรียนรู้จากมันแล้วพัฒนาต่อในครั้งหน้า
- รับรู้และยอมรับความไม่สมบูรณ์ รับรู้ว่าไม่ทุกสิ่งจะต้องเป็นสมบูรณ์แบบทุกครั้ง และยอมรับความไม่สมบูรณ์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และทำให้เราเติบโตนะ
- เติม Positive self-talk พูดดี ๆ กับตัวเอง (การให้กำลังใจ การสร้างแรงบันดาลใจ การโอ๋ตัวเองก็ได้นะ เวลาที่ทำแล้วผลลัพธ์ออกมาไม่ถูกใจ)
- จัดการความเบื่อ เพราะความรู้สึกเบื่อเป็นความรู้สึกที่ไม่ค่อยมีใครชอบ
ที่มา :
Are YOU a Lazy Perfectionist? Understanding the Phenomenon
Signs You’re a Lazy Perfectionist
ช่วงนี้ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะเห็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรักอยู่บ่อยครั้ง
Alljit เลยอยากหยิบยก ประเด็นเรื่องอาการคลั่งรัก และการหมดโปรฯ ในความรักมา Learn&Share
อาการคลั่งรัก
คลั่งรัก เป็นสภาวะทางจิตใจของความหลงใหล ซึ่งถูกนิยามครั้งแรกในปี 1970 โดยนักจิตวิทยา Dorothy Tennov
เขาเขียนจากประสบการณ์ของตนเองว่า ช่วงเริ่มต้นอาการคลั่งรักจะเป็นความอิ่มเอมใจและมีความเร้าอารมณ์รุนแรง
จนอยากที่จะครอบครองคนนั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และก็มีนักบำบัดชีวิตคู่ ชื่อ Silva Depanian บอกว่า คนเราจะสับสนความรักกับการคลั่งรัก
โดยเขามองว่าคนที่คลั่งรัก คือ คนที่มีความรักแต่ใช้ไม่ถูกหรือที่เราพูดแซว ๆ กันว่า ‘ความรักทำให้คนตาบอด’
ซึ่ง การมีความรักแรกเริ่ม อะไร ๆ ก็ดีไปหมด บางทีเรายังทำบางสิ่งที่ไร้เหตุผลเพื่อคนที่เรารักได้เลย
อาจจะจริงที่เรามองข้ามข้อเสียของอีกฝ่ายหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่เราเองก็รู้ว่ามีอยู่แล้วในช่วงแรกหรือที่เขาเรียกว่า ช่วงโปรโมชั่น
Honeymoon Phase หรือ ช่วงโปรโมชั่น
Honeymoon Phase หรือที่เราเรียกกันว่าช่วงโปรโมชั่น ช่วงระยะเวลาที่มีผีเสื้อบินอยู่ในท้อง สามารถอยู่ได้ตั้งแต่หกเดือนถึงหลายปีหรือสองปี
สิ่งสำคัญในช่วง Honeymoon เลยคือ เราอาจมองข้ามสิ่งที่เป็นข้อเสียก็ได้ หรือ Red Flage บางอันที่เรามีขอบเขตหรือสิ่งที่คิดว่าอันนี้ถ้าทำ
จะไม่ไปต่อแน่ ๆ ในความสัมพันธ์ ช่วงนี้อาจทำให้เราหลงลืมไป และอยู่กับมันจนกลายเป็นข้อเสียในภายหลัง
เพราะเราทุกคนจะออกจากช่วงฮันนีมูน ช่วงฮันนีมูนไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ความสุข ความรู้สึกดี จะหมดหายไป
ช่วงแรกเวลารักก็จะหลั่งฮอร์โมนโดปามีนออกมา พอช่วงหลังไม่ได้หลั่งฮอร์โมนโดปามีนแล้วไม่ใช่ว่าจะหายไปจากร่างกาย
ถ้ากระตุ้นก็จะยังหลั่งอยู่ แต่ช่วงที่หยุดหลั่งจะเปลี่ยนเป็นออกซิโทซิน หรือฮอร์โมนแห่งความผูกพันเข้ามาแทน
เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมระยะแรกของการมีความรัก เราถึงโหยหา คิดถึงแต่เขา เป็นเพราะเราหลั่งฮอร์โมนความสุขออกมาทำให้เราเสพติดความรู้สึกดี ๆ
เราอาจมีความคาดหวังเพิ่มขึ้นตามมาในความสัมพันธ์ ละพอไม่ได้อย่างที่หวัง ความสุขก็น้อยลง
บวกกับต่างฝ่ายต่างชินกับการมีอยู่ของแต่ละคน ก็อาจจะทำให้รู้สึกว่าเป็นช่วงหมดโปรหมดรัก เพราะโดปามีนเริ่มหลั่งคงที่
ความรักกับอาการคลั่งรักต่างกันอย่างไร ?
- เราหลงใหล หมกมุ่นเกี่ยวกับเขามาก
- เพ้อฝัน จินตนาการถึงเขาบ่อยจนฟุ้งซ่าน
- สืบส่องชีวิตเขา หึงหวงทั้งที่ไม่ได้เป็นอะไรกัน
- เขาคือคนที่เพอร์เฟคที่สุด เห็นแต่ข้อดี มองข้ามข้อเสีย
- อยากอยู่ด้วยกันไปตลอด ไม่อยากแยกจากกันแม้แต่วินาทีเดียว
- ตื่นเต้น พูดจาติดขัด หรือถึงขั้นใจสั่น เหงื่อออก จะเป็นลมทุกครั้งที่อยู่ใกล้เขา
- อารมณ์ดีเป็นพิเศษเวลาที่เขาสนใจ กระวนกระวายเมื่อเขาหายไป
- รู้สึกอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเขา
การคลั่งรัก ความรักเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าลืมว่าถ้าตอนนี้ความรักที่มีอยู้กำลังเรียบง่าย อาจเป็นความเรียบง่ายที่แสนพิเศษที่เราตามหาอยู่ก็ได้นะ 🙂
Playing the victim เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นก็ตาม บุคคลเหล่านี้มักจะแสดงให้เห็นว่าตนไม่ใช่คนผิด
เป็นผู้ถูกกระทำ เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ต่าง ๆ
เพื่อที่บุคคลเหล่านี้จะได้รับความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจหรือให้ได้มาซึ่งบางสิ่งที่ตัวเองต้องการ
Playing the victim
บุคคลเหล่านี้มักจะมองไม่เห็นความผิดของสิ่งที่ตัวเองเคยทำหรือถึงแม้จะรู้ว่าตัวเองนั้นทำความผิดอยู่
บุคคลเหล่านี้ก็เลือกที่จะไม่รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองกระทำโดยการโยนความผิดให้อีกฝ่าย
จะแสดงออกให้เห็นถึงความน่าสงสารเพื่อให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจหรือการสนับสนุนจากคนที่พวกเขาต้องการ
เพื่อที่จะกดดันให้อีกฝ่ายรู้สึกผิดแทน ท้ายที่สุดสิ่งที่พวกเขาต้องการก็แค่การได้รับความสนใจมากขึ้นและทำให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่เขาพูดง่ายขึ้น
Victim Mentality หรือคนที่มีความคิดที่รู้สึกว่าตัวเองเป็น เหยื่อ ต่อโชคชะตา และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขามาจากคนอื่นแทบทั้งสิ้น
หรือที่เราชอบพูดกันว่าทำไมโลกใบนี้มันโหดร้ายกับเราจัง เหมือนเป็นชุด Mindset ที่มาจากความมั่นใจในตัวเองที่ต่ำ
Playing the victim , Victim Mentality มีความเหมือนกัน แต่ก็แตกต่าง ทั้งสองอย่างสามารถเป็นได้แบบสลับไปสลับมาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไหน กับใคร
ถ้าเราไม่อยากคิดแบบเหยื่อแล้ว ?
ความคิดของเหยื่อคือการเรียนรู้พฤติกรรม ความคิดของการตกเป็นเหยื่อ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับเรา
เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ที่เคยเจอ ผลจากบาดแผลทางจิตใจ อย่างไรก็ตาม เราสามารถเอาชนะความคิดนี้ได้
- เราเป็นคนเดียวที่ควบคุมการกระทำของตัวเอง เราไม่สามารถควบคุมผู้อื่นได้ แต่เราสามารถควบคุมวิธีตอบสนองต่อคนอื่นได้
- การดูแลตัวเองและความเห็นอกเห็นใจตัวเอง ฝึกฝนการดูแลตนเองและความรักตนเอง ก็จะช่วยให้จิตใจของเรากลับมาแข็งแรง ความคิดการจะเล่นรับบทเหยื่อก็จะค่อย ๆ หายไป
- พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าเรารู้สึกแบบนี้บ่อยครั้ง อาจส่งผลให้เกิดเป็น ภาวะซึมเศร้า ปัญหาในความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกับคนอื่น อาการทางอารมณ์ และบางครั้งก็ส่งผลถึงร่างกาย
ผู้ถูกกระทำต้องทำอย่างไร
แรก ๆ เราอาจจะไม่รู้ว่าเขากำลังรับบทเป็นเหยื่อ ซึ่งจริง ๆ ตัวเราเองที่กำลังเป็นเหยื่อของเขาอยู่ . . ช่วงแรกเราคงเห็นใจและรู้สึกไม่ดีที่ทำให้เขารู้สึกแบบนั้น
แต่ถ้าทำบ่อย ๆ คงต้องคุยกันว่าสิ่งที่เธอทำ ทำให้ชั้นรู้สึกแย่เหมือนกันนะ โดยวิธีสื่อสารแบบ I-Message การสื่อสารเชิงบวกเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ
Introvert คือคนที่พูดน้อย เข้าถึงยาก เก็บตัว . . .
เคยสงสัยไหมว่าเพื่อนเราหรือคนใกล้ตัวที่เขาเป็น Introvert นะ แต่ทำไมถึงพูดเยอะจัง
Introvert
ถ้าเราพูดถึง Introvert เราจะนึกถึงคนที่ชอบทำอะไรคนเดียว ไปไหนคนเดียว อยู่คนเดียว แตกต่างจาก Extrovert ที่เรามักจะเห็นอย่างได้ชัด
การศึกษาทดลองและการจดบันทึก Carl G. Jung ค้นพบว่า Introvert มีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของสังคมได้ค่อนข้างยาก
มากกว่า Extrovert คนส่วนใหญ่เลยตีความว่าคนที่มีบุคลิกภาพแบบ Introvert ชอบเก็บตัว โดดเดี่ยว
แต่ในความเป็นจริงแล้ว Introvert คือคนที่สนใจในเรื่องของความรู้สึกและความคิดของตัวเองเป็นหลัก
และวิธีการอยู่คนเดียวของเขาคือวิธีชาร์จพลังมากกว่าการทำกิจกรรมของ Extrovert
แต่ทุกคนมีทั้งความเป็น Extrovert และ Introvert อยู่ในตัว แต่อยู่ที่ว่าจะเอนไปในทิศทางไหนมากกว่ากัน
เพราะจริง ๆ Introvert ก็ไม่ใช่ว่าจะเงียบ โดดเดี่ยว เก็บตัวอย่างเดียว เพราะ Introvert ก็มีพื้นที่จะปลอดปล่อยความเป็นตัวเองออกมา
Talkative introvert
Talkative Introvert ไม่ชอบอยู่กับคนหมู่มาก ไม่ได้พูดจากับคนที่ไม่สนิท แต่ก็ไม่ได้เงียบตลอดเวลา
พออยู่กับคนที่สนิทแล้วรู้สึกปลอดภัย ก็จะกลายเป็นคนพูดมากสุด ๆ อาจจะสนุกสนานเฮฮามากเลยด้วยซ้ำ
หรือก็คือ Talkative Introvert คนที่ชอบเก็บตัวแต่พูดมาก มักจะเห็นว่า Introvert จะไม่ค่อยพูดอะไรมากแต่เขาจะพูดมากทันที
ถ้าได้คุยในประเด็นที่เขาสนใจ มี Passion มีความรู้เยอะ ๆ หรือ ถ้าได้คุยกับคนที่คุ้นเคย หรือสนิทมาก ๆ ก็จะพูดไม่หยุด
เพราะเขาเลือกมาแล้วว่า นี่คือคนที่เขาอยากคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในระดับที่ลึกขึ้นมากกว่าแค่การถามไถ่ทั่วไป
พร้อมจะเปิดเผยตัวตน ทัศนคติต่าง ๆ ให้คนเหล่านั้นได้เข้าใจ
ภายในสังคมเราน่าจะมองว่าการใช้ชีวิตแบบชาว Extrovert ง่ายกว่า Introvert เพราะเข้าสังคมง่าย พูดคุยกับคนอื่นได้ง่าย
และเป็นเรื่องง่ายสำหรับการสังสรรค์หลังเลิกงานกับชาว Extrovert มากกว่า Introvert แต่จริง ๆ ชาว Introvert หลายคนก็สามารถกลมกลืนกับสังคมได้ง่าย
ตามรูปแบบของเขาและถ้าหากเราเปิดใจให้ชาว Introvert รับฟังและเข้าใจในตัวตนของเขา เราเชื่อว่าชาว Introvert
จะค่อย ๆ รู้สึกวางใจในสังคมที่เขาอยู่และอาจจะเริ่มสนิทกับคนในสังคมนั้นได้มากขึ้น แค่เราต้องให้เวลาเขาแค่นั้นเอง
ทำไมเราไม่ควรเชื่อความคิดตัวเองหลังเที่ยงคืน
เคยเปลี่ยนใจในเช้าวันใหม่จากการตัดสินใจของตัวเราไหม . .
เหมือนกับการลบโพสต์ที่เพิ่งโพสต์ไปเมื่อคืนก่อนนอนไม่ว่าจะโพสต์ด้วยอารมณ์ไหนก็ตาม
แต่พอตื่นขึ้นมา เริ่มรู้สึกและคิดว่า “ไม่น่าทำแบบนั้นเลย ลบดีกว่า”
เป็นธรรมดาที่จะอ่อนไหวในช่วงเวลากลางคืน ทำให้บางทีมีความคิดที่ฟุ่งซ่าน คิดมาก หรือคิดสิ่งที่เคยทำผิดพลาดในอดีต
ถึงแม้ในช่วงเวลากลางคืน ร่างกายเราจะรู้สึกสงบ ผ่อนคลายแต่ก็ส่งผลให้กล้าพูดความรู้สึกที่จริงใจออกมาในช่วงเวลานี้
ความคิดจิตใจหลังเที่ยงคืน
มนุษย์เราถูกออกแบบมาให้ทำงานในช่วงกลางวันซึ่งสอดคล้องกับพระอาทิตย์ขึ้นและพักผ่อนในช่วงกลางคืนซึ่งก็คือพระอาทิตย์ตก
มีแนวคิดสมมติฐานเรื่องความคิดจิตใจหลังเที่ยงคืน (Mind after Midnight) จากวารสาร Frontiers in Network Psychology
โดยเขาเชื่อว่า ร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลากลางวันโดยในเชิงวิวัฒนาการจะเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ออกล่าหาอาหารนั่นเอง
ในทางกลับกัน หากเราออกหากินในเวลากลางคืน สมองที่ถูกบังคับให้ตื่นตัวในเวลานั้นซึ่งไม่ใช่เวลาทำงานตามปกติ
จะทำให้คน ๆ นั้นเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและอารมณ์เชิงลบได้ไวกว่าปกติ หรืออีกกรณี เวลากลางคืนน่าจะทำให้คนเรามองโลกในแง่ร้ายมากขึ้น
ตัดสินใจเร็วหรือทำอะไรที่เสี่ยงมากขึ้นโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา เช่น การกินตามใจปาก การใช้ความรุนแรง
โดยในช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า พบว่า เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมักมีแรงจูงใจในการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมากกว่าเวลาอื่นของวันถึง 3 เท่า
ผู้ที่เสพยาเสพติดมักควบคุมความอยากของตนเองได้ดีในเวลากลางวัน แต่มักพ่ายแพ้ต่อความอยากในเวลากลางคืน
ความคิดคนเราหลังเที่ยงคืนเป็นอะไรที่เสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ง่ายมากหากเราไม่มีสติที่จะควบคุมมันได้มากพอ
ตัดสินใจเรื่องสำคัญช่วงเที่ยงคืน
สะท้อนตัวเองว่า ตอนนี้ที่เราคิดหรือรู้สึก เรากำลังรู้สึกอะไร ต้องการอะไร แล้วจะเลือกทำวิธีไหนก็ได้ที่จะไม่ทำให้สุขภาพทั้งกายและใจเราพังทีหลัง
ดังนั้นหากจำเป็นต้องตัดสินใจในช่วงเวลานี้จริง ๆ ก็คงต้องกรองความคิดตัวเองซ้ำ ๆ ต้องใช้เวลาตกตะกอนสักระยะนึงหน่อย
สุดท้าย จะเชื่อมั่นเฉพาะความคิดที่ถูกตกตะกอนมาดีแล้วว่า โอเค เรารู้สึกหรือคิดแบบนี้กับเรื่องนี้จริง ๆ ก็จะยอมรับความคิดและการตัดสินใจนั้นของตัวเอง
ที่มา :
สมองมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานหลังเที่ยงคืน
Red flags , Green flags ในความสัมพันธ์
Red flags , Green flags ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับเพศไหนหรือความสัมพันธ์ไหนแต่เกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชายและทุกความสัมพันธ์เลย ไม่ว่าจะเป็น แฟน,เพื่อน,เพื่อนร่วมงาน
Red flags ธงแดง เมื่อเป็นสีแดงเราก็จะนึกถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ Toxic Relationship และ Green flags ขั้วตรงข้ามของธงแดง เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อสุขภาพจิต
ตัวอย่างของ Red flags , Green flags
Red flags
- การไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน ในทุกความสัมพันธ์ พื้นฐานคือความเชื่อใจถึงจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและแข็งแรงได้
- ควบคุมอีกฝ่ายมากเกินไป ไม่ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน
- การทำร้ายร่างกาย
- การนอกใจ และการนอกกาย
- ทำให้เรารู้สึกตัวเล็กลง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำอะไรไม่ถูกใจก็เลือกที่จะตำหนิมากกว่าปรับแก้ หรือคุยกันดี ๆ
Green flags
- สื่อสารด้วยคำพูดที่ดี มองกันในแง่ดี
- มีขอบเขต ไม่ล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวที่ตกลงกันไว้
- มี Feeling validation การยอมรับความรู้สึกกันและกัน มองว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นของอีกฝ่ายสมเหตุสมผลแล้ว
- ไม่หนีเวลาทะเลาะ หรือใช้ความเงียบมาทำร้ายกัน
- มีความเป็นทีม ความรัก มันต้องเป็นทีม ถ้าเรารู้สึกทำงานเดี่ยว อีกฝ่ายก็จะเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยวเหมือนถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว
นอกจาก ธงเขียว และ ธงแดง ก็ยังมีธงอื่น ๆ ด้วยนะ
Beige Flags เป็นธงที่เราไม่สามารถตัดสินได้ว่าดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพอใจ หรือไม่พอใจมากกว่า เป็นพฤติกรรม หรือนิสัยแปลก ๆ ส่วนตัว
ที่ทำให้คนในความสัมพันธ์รู้สึกขึ้นมาว่า เธอคนนี้แปลกจัง หรือบางคนก็มองว่านิสัยของ เธอคนนี้น่ารักจัง
Yellow Flags เป็นธงที่เรารู้สึกเอ๊ะและเริ่มมีพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เราไม่มั่นใจความสัมพันธ์ เช่น ความชอบ นิสัยรวมถึงเป้าหมายระยะยาวที่ค่อนข้างต่างกัน
ทำให้ในบางครั้งอาจเกิดความไม่เข้าใจกันไปบ้าง แต่ความไม่เข้าใจถ้ายอมรับและสามารถอยู่ด้วยกันได้ก็ดี แต่ถ้าไม่เข้าใจ ต่อต้าน และสั่งห้ามสามารถพัฒนาไปสู่ธงแดงได้เหมือนกัน
Pink Flag ถึงแม้จะเป็นธงสีชมพู แต่ไม่ได้หมายความว่าหวานเสมอไป ธงชมพู คือเรื่องที่เกิดขึ้น เล็กๆ น้อยๆ ความไม่ลงรอยเบา ๆ ในช่วงเพิ่งเริ่มคบหา
เรื่องเหล่านี้ก็เป็นอะไรที่พอจะมองข้ามไปได้ แต่ยิ่งนานวันเข้า ยิ่งความคลั่งรักเริ่มลดลง ประเด็นเหล่านี้พร้อมจะกลายเป็นประเด็นในการเลิกราไปเลยก็ได้
รับมือยังไงกับ Red flags
- หลีกเลี่ยงหรือลดความสัมพันธ์ เราไม่จำเป็นต้องเป็นทุกอย่างให้กันในความสัมพันธ์ ต้องยอมรับความรู้สึกของเราและสิ่งที่อีกฝ่ายทำกับเราด้วย
- การสื่อสาร การสื่อสารต้องตรงไปตรงมา และไม่จี้อีกฝ่าย ไม่โยนความผิดไปที่อีกฝ่าย
- คบกับคนที่เข้ากับเรา Red Flags สำหรับเราอาจจะไม่ใช่สำหรับคนอื่น เลือกสร้างความสัมพันธ์กับคนที่เราและเขาต่างรับข้อเสียของกันและกันได้
- มอบพลังบวกดี ๆ ให้กับตัวเอง สำหรับการเปลี่ยนแปลง แต่ทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงจะมีการเริ่มใหม่ ให้กำลังใจตัวเอง พาตัวเองไปทำอะไรใหม่ ๆ
เชื่อในตัวเองว่าถ้าหมดจากความสัมพันธ์นี้ไปยังมีอะไรที่เข้ากับเราได้มากกว่ารออยู่ เพราะถ้าเราไม่จบธงแดงจากคนปัจจุบัน เราจะเจอธงเขียวในอนาคตได้ยังไง
เพราะฉะนั้นแล้วมีอีกหลากหลายความสัมพันธ์ ที่รอเราอยู่ สุดท้ายไม่ว่าจะ ธงเขียว หรือ ธงแดง ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้ากันได้ไหม เรายอมรับกันได้ไหม :))
Manifest คืออะไร?
Manifest หรือ จิตดลบัลดาล คือ ความสามารถในการสร้างชีวิตที่สมปารถนา ความสามารถในการดึงดูดสิ่งใดก็ตามที่เราอยากได้
อยากให้เข้ามาในชีวิต และทำให้เรากลายเป็นคนเเขียนเรื่องราวของตัวเราเอง แต่ Manifest สามารถทำได้จริง ๆ หรอ…
Manifest มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ควินตัมฟิสิกส์สอนไว้ว่า ทุกอย่างในจักรวาลประกอบด้วยพลังงาน ตัวเราเกิดจากพลังงาน สิ่งที่เหมือนกันจะดึงดูดกัน
ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ก็คือพลังงานถ้าเรามีพลังงานที่ High Vibe (ความรัก ความหวัง ความมั่นใจ ความสุขฯลฯ) ก็จะดึงดูดพลังงานเหล่านั้น
แต่ถ้าเรามี Low Vibe (ความโกรธ สิ้นหวัง เศร้า อิจฉา กลัวฯลฯ) ก็จะดึงดูด สิ่งเหล่านี้ก็เรียกว่า พลังของจักรวาล
“มองภาพให้ชัดเจน”
วิธีแรกคือการมองภาพสิ่งที่อยากให้เกิด สิ่งที่เราอยากเป็น บ้านที่เราอยากอยู่ คนรักที่เราอยากมี ความสำเร็จ เงินในบัญชี เป็นภาพให้ชัดเจนก่อน
การนึกภาพใหชัดเจนและมีประสิทธิภาพ คือ ไม่ใช่แค่นึกเพียงสภาพแต่เราต้องดำดิ่งว่าเราได้ครอบครองสิ่งนั้นด้วย ให้จำไว้ว่า เราดึงดูดสิ่งที่เรารู้สึก
เช่น เราอยากอยู่บ้านหลังนี้ เราต้องนึกว่าเรารู้สึกอย่างที่จะได้อยู่บ้านหลังนั้นจริง ๆ ยิ่งถ้าเรารู้สึกได้ครอบครองจะยิ่งเข้มข้น สิ่งนั้นก้จะมาหาง่ายมากขึ้นเช่นกัน
ซึ่งเวลานึกเราต้องนึกสิ่งที่เราต้องการ และจะเป็นจริง ๆ พยายามตั้งสติเลือกสิ่งที่เราต้องการ
อย่านึกหรือเขียนสิ่งที่เราคิดว่าเราน่าจะต้องการหรือสิ่งที่คนอื่น คนรักเราต้องการแทนเรา ไม่เปรียบเทียบ จิตดลบัลดาล ของเรากับคนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
“ขจัดความกลัว และความกังขา”
การที่จะทำ Manifest ให้สำเร็จ ต้องมีความเชื่อที่มาจากจิตใต้สำนึกแต่อุปสรรคของความเชื่อ ก็คือ ความกลัว และความกังขา ไม่มั่นใจว่าจักรวาลจะจัดสิ่งเหล่านั้นมาให้จริง ๆ
โดยที่ความกลัวและความกังวลบางทีก็มาในรูปแบบ เพื่อนที่หวังดี ที่คอยบอกเราว่า อย่าหวังไกล อย่าฝันไกล เพราะอาจจะไม่สำเร็จ
เราต้องเชื่อก่อนว่าเรามีค่าควรที่จะได้รับสิ่งนั้น ระบุความกลัว ข้อกังขาให้ชัดเจนแล้วก็หาวิธีขจัด 2 สิ่งนั้นออกไป
เช่น หากเราเติบโตมาแบบไม่ได้รับความรักจากครอบครัว แต่เราอยากมีความรักที่ดี เราอาจจะเชื่อและะตอกย้ำตัวเองว่าชั้นไม่มีวันที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์หรือความรักดี ๆ
สิ่งเหล่านั้นอาจจะกลายเป็นความเชื่อเราจนทำให้เราคิดแบบนั้นไปถึงแม้ว่าจะอยากมีความรักที่ดีก็จะยั้งตัวเองไว้ตลอดก็ได้
“การลงมือเชิงรุก”
การลงมือเชิงรุกก็ คือ การลงมือทำ เราลิสต์สิ่งที่อยากให้เป็นจริง แต่ถ้าเราไม่ลงมือทำเปิดโอกาสให้ตัวได้ไปเจอ ได้ไปทำ สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น
เช่น อยากมีแฟน เราลิสต์ไว้แล้ว แต่ไม่ได้พาตัวเองไปเจอสังคมใหม่ หรือการเล่นแอปเพื่อเกิดโอกาสให้ตัวเอง เปอร์เซ็นที่จะทำให้สำเร็จเรื่องคู่อาจไม่สำเร็จเท่าไหร่
เอาชนะบททดสอบของจักรวาล
แบบทดสอบของจักรวาล มาในรูปแบบอุปสรรค คน สิ่งท้าทาย จำเอาไว้ว่า
“Manifest จะสำเร็จ ต้องเชื่อว่าเรามีคุณค่าที่ควรจะได้รับสิ่งนั้น และแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะได้รับ”
เวลาที่เราไม่ได้รับในสิ่งที่เราวาดหวัง ให้เราเชื่อและมั่นใจไว้ว่า จักรวาลรู้ว่าเรามีค่าควรได้รับสิ่งดียิ่งกว่าเราปรารถนา
เช่น ถ้าคนที่เรากำลังคบทิ้งเราไป ให้ยอมรับความจริงว่าเขาไม่ใช่คนที่ใช่สำหรับเรา และขอบคุณสิ่งที่ผ่านไปต้อนรับสิ่งใหม่ที่กำลังเข้ามาหาเรา
โอบรับความสำนึกรู้คุณ โดยปราศจากเงื่อนไข
เราดึงดูดสิ่งที่เรารู้สึกเข้ามา รู้สึกดีก็จะดึงดูดสิ่งดี ๆ เข้ามา เมื่อเรารู้สึก low vibe ก็จะดึงดูดความรู้สึกไม่ดีเข้ามา ซึ่งเมื่อเรารู้สึก low vibe ให้เรานึกถึงความสำนึกรู้คุณ 3 หมวด
- ความสำนึกรู้คุณตัวเอง
- ความสำนึกรู้คุณชีวิต (เช่น งาน ครอบครัว เพื่อน ที่อยู่ ฯลฯ)
- ความสำนึกรู้คุณโลก ใดใดที่เป็นสากล เช่น แสงอาทิตย์ วัฒนธรรม ฯลฯ
วิธีบ่มเพาะและโอบรับความสำนึกรู้คุณ (โดยปราศจากเงื่อนไข)
- ทุกคืนหรือทุกเช้า เขียนสิ่งที่เราซาบซึ้งใจ 3 หมวด หมวดละ 5 เรื่อง
- บันทึกความประทับใจเชิงบวก เขียนสิ่งดีทุกอย่างที่ประสบพบเจอในวันนั้น ๆ
เปลี่ยนความริษยาเป็นแรงบัลดาลใจ
แรงบันดาลใจ เป็นขั้วตรงข้ามของความริษยา
4 ขั้นตอนที่เราต้องทำเพื่อเปลี่ยนความริษยาเป็นแรงบันดาลใจ
- ตระหนักรู้ความริษยา
- รักตัวเอง เห็นอกเห็นใจ เมตตา และไม่ตัดสินตัวเอง
- ตั้งคำถามกับตัวเองว่า การตัดสินผู้อื่นนี้ขับเคลื่อนจากไหน ความกลัวหรือความกังขาใดขับเคลื่อนสิ่งนี้
- เปลี่ยนความริษยาเป็นแรงบัลดาลใจ
การรักตัวเองคือพื้นฐานในทุกขั้นตอนของ Manifest ยิ่งเรารักตัวตนที่แท้จริงที่เราเป็นและที่กำลังจะเป็นมากเท่าไร เราจะถูกกระตุ้นด้วยสิ่งรอบตัวน้อยลงเท่านั้น
ไว้วางใจในจักรวาล
ความไว้วางใจอาจเป็นการล่วงรู้ว่า ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เราแค่รู้ว่ามันจะเกิด การล่วงรู้โดยปราศจากข้อกังขาว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เราปรารถนาที่สุดกำลังมาหาเรา
เวลาที่เราไม่วิตกกังวลว่าจะได้อะไรมา เพราะเรารู้ดีว่าเราจะได้มาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เราจะมีสติอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น
และความไม่อดทนรอคือศัตรูของ Manifesting เวลาที่อะไรบางอย่างไม่เข้ามาหาเราโดยทันที จะเกิดพื้นที่ให้ความคิดเชิงลบ ความไม่มั่นใจ
สัญชาตญาณอาจเอนเอียงไปสู่ความคิดลบ โดยยอมให้ความกลัวและความกังขาเข้ามา
แต่ถ้าเราไว้วางใจในจังหวะเวลาอันเหมาะสม เราจะมีสติอยู่กับปัจจุบันและรู้ว่าทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ควรเป็น
หนังสือเล่มนี้เหมือนไกด์ที่มีวิธีที่ทำให้เราได้ไปปรับใช้ชีวิตจริง เช่น การที่ให้เราเลือกใช้กฎแรงดึงดูดของการทำดี พูดดี
เหมือนเป็นการปลดปล่อยพลังงานในตัวเรา ให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และรักตัวเอง ในแบบที่เรามี
แล้วจะมีสิ่งที่เข้ากับเรา ดีที่สุดที่เราอยากมีเกิดขึ้นกับเราเมื่อเราเปิดรับพลังงานเหล่านั้น 🙂
Toxic People มีหลากหลายประเภท เราจะมาทำความรู้จักกับ เห็นแก่ตัว
เห็นแก่ตัว
‘เห็นแก่ตัว’ เป็นคำที่เรารับรู้ความหมายการกระทำ ที่คนอื่นกระทำใส่เรา หรือใส่คนอื่น ถ้าคนนี้เขาทำลักษณะของคำว่า เห็นแก่ตัว เราจะรู้ว่านี่แหละคือการเห็นแก่ตัว
Melissa Deuter ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชศาสตร์คลินิก กล่าวว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นคำที่ดูน่าเกลียด แต่จริง ๆ แล้วมีความหมายที่แตกต่างกันอยู่สองอย่าง
อย่างแรกคือการเป็นคนใจร้ายและไม่เกรงใจผู้อื่น แต่อีกอย่างหนึ่งคือการที่เราต้องรับผิดชอบต่อการตอบสนองความต้องการของเรา
ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการเป็น “ผู้ใหญ่” หมายความว่าถ้าเราใช้ความเห็นแก่ตัวในสถานการณ์หรือช่วงเวลาที่ถูกต้อง เราก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นและมีความสุขมากยิ่งขึ้น
ทำไมคนเราถึงเห็นแก่ตัว?
- การเลี้ยงดู
วิธีการเลี้ยงลูกเป็นสาเหตุหลักของการปลูกฝังนิสัยเห็นแก่ตัวให้กับลูก การเลี้ยงดูแบบตามใจที่มากเกินไป ทำให้ลูกมองตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
เอาแต่ความต้องการตัวเองเป็นหลัก ก็สามารถทำไปสู่ขาดการเคารพและเห็นอกเห็นใจคนอื่น
- สัญชาตญาณการเอาอยู่รอดของมนุษย์
สัตว์มีความเห็นแก่ตัวเหมือนกับมนุษย์ แต่มนุษย์มีสติปัญหาที่แตกต่างจากสัตว์และเราก็เป็นมนุษย์ที่สามารถสัมผัส รับรู้ ความคิด ความเห็นแก่ตัวได้
และปกติเมื่อมีความรู้สึก กลัว เกิดขึ้น มนุษย์มีจะเกราะป้องกันความรู้สึกนี้ บางครั้งก็อาจเลือกใช้ความเห็นแก่ตัวมาปกป้องการอยู่รอดของตัวเอง
เมื่อไหร่ที่ควร เริ่มเห็นแก่ตัว
- เมื่อต้องการอยู่คนเดียว หรือทำตามใจตัวเอง
เคยไหม? เวลามีเพื่อนมาชวนออกไปข้างนอก แล้วเราอยากจะตอบว่า “ไม่อยากไป เพราะอยากอยู่บ้านมากกว่า” แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะพูดออกไป
เพราะกลัวเพื่อนไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงเลือกที่จะอยู่คนเดียวมากกว่าออกไปใช้เวลากับกลุ่มเพื่อน ไม่ต้องรู้สึกผิดหากเราเลือกที่จะใช้เวลากับตัวเอง
มากกว่าที่จะสละเวลาส่วนตัวอันมีค่าให้กับคนอื่น และเราเชื่อด้วยว่าคนที่เขารู้จักเราจริง ๆ จะไม่มองว่าเราเห็นแก่ตัว
- เมื่อถึงเวลาต้องพาตัวเองออกมาจากความสัมพันธ์ งาน และอื่นๆ
ช่วงเวลาที่ยากลำบากของใครหลาย ๆ คนคงจะหนีไม่พ้นช่วงเวลาที่ต้องเลิกกับแฟน หรือลาออกจากงาน
หลายครั้งเรามักจะไม่กล้าก้าวออกมาจากความสัมพันธ์เพราะกลัวจะไปทำร้ายใครบางคน
แต่ถ้าการอยู่ในพื้นที่นั้นทำให้เรารู้สึกแย่ เราก็ต้องกล้าที่จะบอกลา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ งาน หรืออะไรก็ตาม
เพราะมันคือช่วงเวลาที่เราต้องให้ความสำคัญกับตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
- เมื่อเรา “ให้” มากกว่า “รับ”
“ความสัมพันธ์ที่ดี เมื่อเป็นผู้รับแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ให้ที่ดีด้วย” ลองสังเกตดูว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีความสมดุลระหว่างการให้และการรับอยู่หรือเปล่า
ถ้าเราเป็นฝ่ายให้มากกว่าก็ถึงเวลาที่เราต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว เช่น เปิดอกพูดคุยกัน หรือตัดคนเหล่านั้นออกไปจากชีวิต
เพราะถ้าเราไม่ทำอะไรและปล่อยไปเฉยๆ ความสัมพันธ์แบบนี้ก็จะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจในอนาคตได้
สำหรับคนที่ “ให้” คนอื่นตลอดเวลา จนตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดเอง ในบางครั้งเราก็ต้อง “เห็นแก่ตัว” และให้ความสำคัญกับตัวเองบ้าง
เพื่อดูแลสุขภาวะทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจของตัวเอง
“ความเห็นแก่ตัว” เป็นเหมือนดาบสองคม ถ้าเราใช้ในทางที่ถูกต้องมันก็จะให้ประโยชน์แก่ตัวเรา แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิดผลลัพธ์ก็จะออกมาตรงกันข้าม
จัดการกับความ เห็นแก่ตัว
การที่เราเริ่มคำนึงถึงสิ่งเล็ก ๆ รอบตัวให้มากขึ้น มันจะทำให้เราใจกว้าง และลดการเห็นแก่ตัวลงไปเองทีละน้อย การสร้างนิสัยไม่เอาแค่ตัวเองหรือคนที่ฉันรัก
เช่น การทำถูกกฎระเบียบของสังคม ซึ่งไม่รู้ว่ามีอะไรมาวัดได้ นั่นก็คือกฎหมาย เมื่อไหร่ที่เราคำนึงถึงส่วนรวมได้มันเหมือนเราตัวเล็กลง แล้วเราจะมีนิสัยไม่เห็นแก่ตัว
‘ตัวเองต้องมีความสุขก่อนที่จะทำให้คนอื่นมีความสุข’ เป็นการเห็นแก่ตัวในแง่ดี ที่ทำให้ตัวเองมีความสุขก่อนเพื่อที่จะสามารถเผื่อแผ่ความสุข
ความอบอุ่นไปถึงคนรอบข้างได้ ก็อยากให้ทุกคนเห็นแก่ตัวแบบมีความสุข และไม่ทำร้ายคนอื่น 🙂
ที่มา :
เห็นแก่ตัวบ้างก็ไม่เป็นไร! รวม 5 ช่วงเวลาที่เราต้องใส่ใจตัวเอง
เคยดูละครดัง เช่น จำเลยรัก,เกมส์ร้ายเกมส์รัก,Beauty and the Beast ทรชนคนปล้นโลก
ที่พระเอกจะร้ายกาจ ทำร้ายจิตใจ ทำร้ายร่างกาย เป็นโจรปล้น แต่ทำไมเรายังรัก เพราะเขาหล่อ หรือเพราะมีเสน่ห์ หรือเพราะเป็นละคร
แต่ในชีวิตจริงมีเกิดขึ้นเหมือนกันนะ มีคำเรียกว่า Stockholm Syndrome
Stockholm Syndrome
แนวคิดพื้นฐานของ Stockholm Syndrome คือ ความรู้สึกดีที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ภายใต้การกดขี่หรือถูกทำร้าย
เป็นอาการของคนที่ตกเป็นเชลยหรือตัวประกันเกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ คนที่เป็นคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง
โดยความรุนแรงและการกดขี่เหล่านี้อาจมาในรูปแบบของคำพูด การทำร้ายร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการลิดรอนสิทธิ์บางอย่างในตัวเหยื่อ
สิ่งเหล่านี้เกิดได้ทุกวันและอาจต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงอาจเพิ่มรอยแผลและความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจให้กับเหยื่อได้
แต่เมื่อผู้ที่กดขี่แสดงความเห็นใจ แม้จะเล็กน้อยก็อาจทำให้เหยื่อรู้สึกถึงความดีและ เจตนาที่ดีของผู้กระทำจนทำให้เกิดความผูกพันหรือความรักในที่สุด
ดังนั้น Stockholm Syndrome อาจไม่ใช่เรื่องไกลตัวสักเท่าไร
Stockholm เป็นกลไกในการรับมือกับสถานการณ์ที่ถูกคุมขังหรือถูกทารุณกรรม ซึ่งคน ๆ นึงสามารถพัฒนาเป็นความรู้สึกเชิงบวกต่อผู้จับกุมหรือผู้ทารุณกรรม
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนถือว่าความรู้สึกเชิงบวกของเหยื่อที่มีต่อผู้ทำร้ายนั้นเป็นการตอบสนองทางจิตใจ
เป็นกลไกในการรับมือ ที่พวกเขาใช้เพื่อเอาตัวรอดจากบาดแผลทางใจหรือถูกทารุณกรรมเป็นเวลาหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือแม้แต่หลายปี
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าอาการตกหลุมรักหรือผูกพันอาการนี้อาจค่อย ๆ เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่ถูกลักพาตัวหรือถูกทำร้าย
โดยทั้งเหยื่อและผู้ร้ายอาจเกิดความผูกพันหรือเกิดความเห็นใจซึ่งกันและกันจากระยะเวลาที่ได้อยู่ร่วมกัน
ทำไมถึงชื่อ Stockholm Syndrome
Stockholm Syndrome ถูกพบและตั้งชื่อครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1973 ณ เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อเกิดเหตุการณ์ปล้นธนาคาร
และโจรได้จับตัวประกันไว้ 4 คน แต่เมื่อคดีถูกสะสาง ตัวประกันที่ถูกลักพาตัวไป ปฏิเสธในการเป็นพยาน
รวมทั้งหาเงินเพื่อสนับสนุนผู้ก่อเหตุอีกด้วย นับแต่นั้นมาอาการที่เหยื่อเกิดความเห็นใจหรือรู้สึกทางบวกกับผู้ก่อเหตุจึงมักเรียกกันว่า Stockholm Syndrome
โดยเป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้อาจมีมานาน แต่ไม่ได้มีนิยามหรือการตั้งชื่อเรียกที่ชัดเจน
อาการของ Stockholm Syndrome
Stockholm เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและมักเข้าใจผิด Stockholm ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นภาวะสุขภาพจิต
ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต สมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA) มองว่านี่เป็นการตอบสนองทางจิตใจและอารมณ์แทน
- พัฒนาความรู้สึกเชิงบวกต่อบุคคลที่จับพวกเขาไว้เป็นเชลยหรือทำร้ายพวกเขา
- มีความรู้สึกด้านลบต่อตำรวจ เจ้าหน้าที่ หรือใครก็ตามที่อาจพยายามช่วยพวกเขา หลุดพ้นจากผู้จับกุม พวก เขาอาจปฏิเสธที่จะร่วมมือกับผู้จับกุมด้วยซ้ำ
- เหยื่อเริ่มรับรู้ความเป็นมนุษย์ของผู้จับกุมและ เชื่อว่าพวกเขามีเป้าหมายและค่านิยมเดียวกัน
สถานการณ์
ในที่ทำงาน
ในบริบทนี้ อาจหมายถึงความผูกพันทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง แม้ในสถานการณ์ที่นายจ้างผิด หรือแสวงหาผลประโยชน์ก็ตาม
ในที่ทำงานอาจรู้สึกติดอยู่ในงานเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือในทางปฏิบัติอื่น ๆ และอาจต้องพึ่งพานายจ้างทางอารมณ์
อาจนำไปสู่การที่พนักงานระบุตัวตน และปกป้องนายจ้างได้ แม้ว่าจะเผชิญกับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสมหรือการละเมิดก็ตาม
ในครอบครัว
เกิดขึ้นได้ในบางครอบครัว เพราะว่าบางครั้งพ่อแม่ พี่น้องอาจจะทำร้ายจิตใจ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย แต่พอเขาทำดีกับเรา หรือใช้เหตุผลว่ารัก เป็นห่วง เราก็จะยอม เราก็จะรู้สึกดี
ในความสัมพันธ์
ลองนึกถึงละคร จำเลยรัก ที่ตอนแรกนางเอกโดนขืนใจทั้งร่างกายและได้รับคำพูดที่กระทบจิตใจ แต่พอเรารู้ถึงที่มาสาเหตุว่าทำไมเขาเป็นแบบนั้น
กลับอ่อนใจและรักหลงรัก ทั้ง ๆที่การกระทำที่เขาทำมาคือการกระทำที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเพราะความรัก ความหวาดกลัว ทำให้บางทีผู้ถูกกระทำลืมไปว่าเรากำลังตกเป็นเหยื่อ
ที่มา :
Stockholm Syndrome สต็อกโฮล์มซินโดรม ความสัมพันธ์จากความเจ็บปวด
The Stockholm Syndrome: From Victim to Survivor
How did Stockholm syndrome get its name?
การซุบซิบ นินทา คือส่วนหนึ่งของมนุษย์ .. ?
แบบไหนถึงเรียกว่า นินทา
ความหมายคำว่า “นินทา” ความหมายจาก ราชบัณฑิตยสถาน (น. คําติเตียนลับหลัง. ก. ติเตียนลับหลัง.)
พอรู้ถึงความหมายสิ่งที่เป็นความหมายหลักคือ คำว่า ‘ลับหลัง’
“มนุษย์ทุกคน นินทา เวลามีใครพูดถึงเราในทางที่ไม่ดีลับหลัง เราจะมักจะมองว่าเขานินทาเรา
ในทางกลับกันเวลาเราพูดถึงผู้อื่นในทางที่ไม่ดีลับหลัง เรามักจะมองว่าเราไม่ได้นินทา เราพูดเรื่องจริง”
แต่การนินทาก็มีมุมที่ดี มีผลการศึกษาวิจัยบอกว่า การนินทาจะช่วยจัดระเบียนสังคมให้ดีขึ้น หรือทำให้สังคมที่อยู่รอบตัวดีขึ้นได้
หรือการที่เราได้เห็นหรือได้ยินสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนใกล้ตัว เมื่อเรารับรู้แล้วเราสามารถรับสารนั้นไปบอกคนใกล้ตัวของเรา เพื่อ ‘เตือน’ ได้
จัดการอารมณ์ที่ต้องเจอคน Gossip
หากเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ซุบซิบนินทา เช่น สถานที่ทำงาน กลุ่มเพื่อน หากเราไม่ชอบการที่เราถอยออกมาเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเรา
แต่หากเราไม่สามารถถอยออกมาได้ ให้เราทำงานกับความรู้สึกตัวเอง พยายามทำความเข้าใจว่า การนินทา มีอยู่ทุกสังคม
สร้างสภาวะความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับตัวเอง ฟังได้แต่ไม่ไหลตามไปสังคม
จริง ๆ แล้วเหตุการณ์ Toxic อาจไม่ได้เกิดจากคนไม่ดี Toxic ใส่คนดี
แต่อาจเป็นคนดี 2 คนมาอยู่ด้วยกันแล้วมีพฤติกรรมที่ไม่เข้ากันก็เลยกลายเป็น Toxic ของกันและกันก็ได้
เพราะเราทุกคนล้วนมีมุม Toxic เพราะเราล้วนทำให้คนอื่น รู้สึกว่าเรา Toxic ไม่มากก็น้อย 🙂
Peter Pan Syndrome หนังของดิสนีย์ที่เราเคยดูกันแต่เด็ก ๆ
เรื่องราวของเด็กคนนึงที่มีมนต์วิเศษที่เลือกได้ว่าไม่ต้องโต เป็นเด็กตลอดกาล ท่องเที่ยวในเนเวอร์แลนด์
Peter Pan Syndrome
Peter Pan Syndrome เป็นคำศัพท์ ‘Pop- Psychology’ ที่ใช้อธิบายผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในการ ‘เติบโต’ เป็นภาวะซับซ้อน ที่ผู้ใหญ่ยังคงยึดติดกับแนวโน้มในวัยเด็ก
อาการจะพบได้ชัดหลังจากที่เราเรียนจบมหาลัย เราจะเริ่มมีความคิดว่าไม่อยากโต อยากเรียนต่อไปเรียน ๆ ไม่อยากรับผิดชอบ
แทนที่เราจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ทางสังคมและอารมณ์มีความรับผิดชอบ แต่ Peter Pan Syndrome ยังคงอยู่ในวัยเด็กไม่อยากมีความเสี่ยงในด้านใด ๆ
แม้ว่าจะไม่สามารถวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ แต่ถ้าไม่แก้ไขอาการนี้ตั้งแต่แรกเริ่มอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้กลายเป็นภาวะทางจิต เช่น ซึมเศร้า
Peter Pan Syndrome เป็นคำที่บัญญัติโดย ดร. แดน ไคลีย์ (Dr. Dan Kiley) ซึ่งปรากฏในหนังสือ ‘The Peter Pan Syndrome: Men Who Have Never Grown Up’
ในปี 1983 และแม้จะไม่ได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคโดยตรง แต่ได้กลายเป็นคำที่นักจิตวิทยาใช้เรียกคนที่มีอาการไม่อยากโตจนถึงปัจจุบัน
ปีเตอร์ แพนส์ มีความขี้เล่น สนุกสนาน แต่กลับขัดกับการมีส่วนร่วมในหน้าที่ของชีวิต เป็นเสน่ห์แบบเด็กผู้ชายที่ทั้งน่าหลงใหลและน่ารำคาญ
Peter Pan Syndrome อาการ
- กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่อยากรับผิดชอบชีวิตตัวเอง
- ระเบิดอารมณ์เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด,เศร้า,ก้าวร้าว
- มีแนวโน้มที่จะแก้ตัวและตำหนิผู้อื่นเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น กลัวการถูกตำหนิ วิจารณ์
- ไม่อยากโต
- ความคาดหวังที่จะได้รับการดูแลจากพ่อแม่ตลอดไป
สาเหตุมาจากอะไร?
1. รูปแบบการเลี้ยงดูแบบที่ตามใจ ‘มากเกินไป’
2. การเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป การเลี้ยงดูที่ไม่ได้ปล่อยให้ลูกไปเจออิสระ หรือสถานการณ์ที่ลูกต้องเจอปัญหาแล้วแก้ไขด้วยตัวเอง ทำให้ติดล่มต้องขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่เมื่อโตขึ้น
3. ความวิตกกังวลสามารถมีบทบาทให้เกิดการพัฒนาเป็นภาวะปีเตอร์แพนได้ ในวัยผู้ใหญ่ เราถูกคาดหวังให้จัดการกับปัญหา
4. ความเหงาอาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและอาจบีบให้เราต้องถอยกลับไปสู่ช่วงต้นของชีวิต (วัยเด็ก) เพื่อรู้สึกถึงความรักและได้รับการปกป้อง
5. ความกลัวการผูกมัดเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของโรคปีเตอร์แพน บุคคลที่เป็นโรคปีเตอร์แพนจะกลัวการตัดสินใจ
6. ความรู้สึกหลงทาง ความกดดันจากครอบครัวหรือคนที่เรารัก ที่ทำให้รู้สึกว่าต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
Peter Pan syndrome ผลกระทบกับการทำงาน
- ตกงาน เนื่องจากขาดความพยายาม ทำงานล่าช้า หรือโดดงาน
- ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยในการหางาน หรือทำงาน
- ออกจากงานบ่อย ๆ เมื่อพวกเขารู้สึกเบื่อ ถูกท้าทาย หรือเครียด
- ทำงานนอกเวลาเท่านั้น ไม่มีความสนใจในการแสวงหาโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง
Peter Pan syndrome ผลกระทำกับความสัมพันธ์
- ให้แฟนวางแผนทุกอย่างและตัดสินใจเรื่องสำคัญได้
- ละเลยงานบ้าน และความรับผิดชอบในการดูแลเด็ก
- ชอบที่จะ “มีชีวิตอยู่เพื่อวันนี้” และแสดงความสนใจเพียงเล็กน้อยในการวางแผนระยะยาว
- แสดงสัญญาณของความไม่พร้อมทางอารมณ์ เช่น ไม่มีความชัดเจนในความสัมพันธ์
- ใช้จ่ายเงินอย่างไม่ฉลาดและมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับการเงิน
- หลีกเลี่ยงการแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิผล อย่างสม่ำเสมอ
ที่มา :
Peter Pan Syndrome: When People Just Can’t Grow Up
What Is Peter Pan Syndrome, and Could It Be Hurting Your Relationship?
“Stuck in Neverland”: Understanding the Peter Pan Syndrome
Are you in a relationship with ‘Peter Pan’? Here’s how to tell