Posts
Manipulate
- ควบคุมอีกฝ่ายเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง (Cambridge Dictionary)
- ทางตรง คือ การบังคับ / ทางอ้อม คือ การตะล่อม
- ใช้วิธีการต่าง ๆ (เช่น การโน้มน้าว การหลอกลวง หรืออื่น ๆ) เพื่อควบคุมให้อีกฝ่ายและสถานการณ์เป็นอย่างที่ต้องการ
ในความสัมพันธ์ มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะอยู่ในรูปแบบของการโน้มน้าว เช่น สื่อสารว่าควรทำแบบนั้นแบบนี้เพราะ…
หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของการหลอกลวง เช่น ถ้าไม่… จะมีปัญหา 1 2 3
และในกรณีร้ายแรงอาจใช้การ Blackmail เช่น ข่มขู่ว่าถ้าไม่…จะ… ปล่อยรูปภาพ ปล่อยวิดีโอ แฉให้เกิดความเสียหาย ซึ่งทั้งหมดทำไปเพื่อ… ครอบงำอีกฝ่าย
การกระทำที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่หลอกหลวงคนอื่น ผลคือเราอยากได้
Advice for victim
- สื่อสาร เพราะ Manipulator มีทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ถ้ารู้ตัว ถ้าเขาตั้งใจที่จะควบคุม เป็นผลมาจากหลายสาเหตุ อาจเป็นการเลี้ยงดู ประสบการณ์ ความต้องการ หรือปัจจัยอื่น ๆ ทำให้เขากลายเป็น Manipulator
- ครอบครัว เพื่อน แฟน ถ้าไม่รู้ตัว การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ ให้สื่อสารว่า เรารู้สึก… กับ… พูดย้อนกลับเข้าหาตัวเอง เช่น เรารู้สึกเสียใจที่เธอ… เพราะถ้าพูดจี้ไปที่อีกฝ่าย เช่น ทำไมเธอทำแบบนี้ ทำไมเธอ… จะยิ่งทำให้อีกฝ่ายป้องกันตัวเอง ไม่รับฟัง ไม่ยอมรับ
- การขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ในกรณี Blackmail อาจจะต้องแจ้งตำรวจ แจ้งครอบครัว แจ้งคนรอบข้าง เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
การ Manipulator สามารถใช้ในแง่ดีได้นะ เช่น แบบเราพูดโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเปลี่ยนนิสัย เช่น แฟนเราทำนิสัยไม่ค่อยน่ารัก แต่เราก็โน้มน้าวให้เขาลองเปลี่ยนนิสัยดู
หรือการ manipulator เขาจะไม่ใช่วิธีการพูดตรง ๆ แต่จะเป็นการพูดอ้อม ๆ ออกคำสั่งแบบอ้อมๆให้้้อีกฝ่าย ทำตามโดยคนบงการไม่รู้สึกผิด หรือดูแย่
Advice for manipulator
- สิ่งสำคัญคือสำรวจตัวเองว่าพฤติกรรมอะไรที่ทำให้ความสัมพันธ์มีปัญหา
- พูดคุยสื่อสารกับอีกฝ่ายเพื่อหาทางออกร่วมกัน
สุดท้ายแล้วเมื่อเรารู้ว่าอะไรที่ไม่ดีก็ไม่ควรทำ ถ้าเราโดนทำบ้างเราก็ไม่พอใจ และรู้สึกไม่ดีเหมือนกัน 🙂
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด เศร้า หรือความรู้สึกทางลบอื่น ๆ ทางเลือกมีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการหันหน้าเข้าหา คนใกล้ตัว หรือ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อน vs นักจิตวิทยา vs Life coach
มีวิธีการให้คำปรึกษาที่แตกต่างกันอย่างไร มาพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยาการปรึกษา
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด? ตัวเลือกแรก = เพื่อน ?
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด เพื่อนคือตัวเลือกแรก ๆ เพราะเราจะได้ความสบายใจ ความสนิทใจ แต่บางครั้งอาจผิวเผิน เนื่องจากความซับซ้อนในปัญหาที่มีนั้น
เพื่อนอาจไม่สามารถเจาะลึกลงไป หรือโฟกัส และเข้าใจปัญหาได้อย่างแท้จริง แต่หากเพื่อนมีความสามารถในการให้คำปรึกษาก็อาจจะทำให้เราเข้าใจปัญหาได้
การคุยกับ นักจิตวิทยา เหมือนกับการได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่ง ?
แต่การคุยกับนักจิตวิทยายังไงก็ต้องต่างจากการคุยกับเพื่อน เพราะ นักจิตวิทยา ต้องพูดคุยให้เห็นถึงโครงสร้างของปัญหา และเห็นถึงความเชื่อมโยงภายในจิตใจ
และสะท้อนโครงสร้างของปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวเราได้อย่างลึกซึ้ง นี่จึงเป็นความแตกต่างที่การปรึกษาเพื่อนอาจให้ไม่ได้
ปรึกษาใครดีเวลาเครียด ? คุยกับ Life Coach ได้ไหม ?
อีกบริบทหนึ่งที่น่าสนใจ คือ Life Coach จะทำหน้าที่พาผู้รับริการไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ไม่ได้มีหน้าที่บำบัดหรือรักษา ตามข้อกำหนดในใบอนุญาติประกอบวิชาชีพที่เขียนไว้ในต่างประเทศ
แต่บางครั้งเมืองไทยอาจจะยังขาดภาพที่ชัดเจนในความหมายของ เช่น เมื่อเราเจอใครซักคนที่พูดคำคมได้ จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับเราได้
แต่การที่เราเข้าใจสิ่งหนึ่งเราจะมีความสามารในการช่วยเหลือหรือให้คำปรึกษา จนบางครั้งเราเกิดความเข้าใจกันไปว่า Life Coach แก้ไขปัญหาชีวิตได้
การให้คำปรึกษาตามแบบฉบับ นักจิตวิทยา มีจุดเด่นอย่างไร ?
นักจิตวิทยา สามารถทำหลายกระบวนการได้ภายในเวลาเดียวกันได้ เช่น ในขณะที่ร่างกายและสายตามองผู้รับคำปรึกษา หูก็รับฟัง สมองประมวลผล ตีความรวมถึงคิดถึงภาพล่วงหน้าว่า
เราควรจะจัดการสถานการณ์ตรงหน้านี้อย่างไรดี ต่อเนื่องด้วยการวิเคราะห์ และตีความต่อไปด้วยว่า ถ้าจัดการด้วยวิธีดังนี้ ผู้รับคำปรึกษาจะได้รับอะไรกลับไป โดยที่ทักษะเหล่านี้ต้องไม่กระทบต่อผู้เข้ารับคำปรึกษา
Burn toast theory หรือ ทฤษฎีขนมปังไหม้
ขอบคุณข้อมูล TikTok จาก @offthe__grid, @jazzybaby99
everything happens for a reason, don’t let silly little inconveniences ruin your day.. stay unbothered queens
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมักมีเหตุผลเสมอ อย่าปล่อยให้ความไม่สะดวกเล็กน้อยหรือเรื่องไร้สาระมาทำลายวันของเรา
ทฤษฎีขนมปังไหม้เหมือนให้เราคิดมุมกลับว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นมักมีเหตุผลและข้อดีอยู่เสมอ ให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นและควบคุมไม่ได้
เช่น เราตื่นมาปิ้งขนมปังตอนเช้าก่อนไปทำงาน อาจทำให้เราเสียเวลาไปทำงาน 5-10 นาที แต่อาจจะช่วยให้เราไม่ต้องเจออุบัติเหตุบางอย่างที่ร้ายแรงก็ได้
หรือการที่เราไม่ได้ในสิ่งนั้น อาจจะทำให้เราได้สิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้าก็ได้ ทฤษฎีขนมปังไหม้สนับสนุนให้เรายอมรับแนวคิด
แม้แต่ความพ่ายแพ้เล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตก็สามารถนำทางเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ มันผลักดันให้ผู้คนรับมุมมองใหม่
และมองหาความสำคัญในสิ่งที่ดูเหมือนไร้เหตุผลซึ่งเกิดขึ้นกับพวกเขาในแต่ละวัน
ข้อดีของ ทฤษฏีขนมไหม้
- เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคนคิดมาก
ถ้าเราเป็นคนขี้กังวลและคิดมากแล้ว เวลาอะไรที่เกินควบคุมมันจะมีหลายสิ่งในความคิดมาก ๆ
แต่ถ้าเราเชื่อว่าจะมีแต่เรื่องดี ๆ ตามมาจะเหมือนเป็นการปลอบใจให้ตัวเราได้เหมือนกัน
- การเห็นคุณค่าในตัวเอง
ขนมปังปิ้งที่ถูกเผาไหม้ เกิดจากการที่เราขาดความภูมิใจและมั่นใจในตัวเองและเชื่อว่าเราไม่สมควรได้รับสิ่งที่ดีกว่า
ทฤษฏีนี้จะทำให้เราสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยเสริมสร้างพลังบวก ความคิดบวกให้กับตัวเอง
- การเคารพตัวเอง
การเอาทฤษฎีขนมปังไหม้ไปใช้ในชีวิต เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะพูดว่า ‘ไม่’ โดยไม่รู้สึกผิด แสดงความคิดโดยไม่กลัว และเจรจาต่อความต้องการของของตัวเอง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาในขณะเดียวกันก็รักษาความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น การฝึกกล้าแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ
ในแต่ละวันจะช่วยสร้างความกล้าให้พร้อมเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่
- ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีขนมปังไหม้ สนับสนุนให้คนเรายอมรับความไม่ได้ดั่งใจที่เกิดชึ้นในชีวิต ถึงแม้ว่าตอนนี้มันจะแย่ทำให้รู้สึกไม่ดี หงุดหงิดใจ
แต่เมื่อเรายอมรับและลองพยายามอีกครั้ง หรือเปลี่ยนปลายทาง เชื่อว่าต้องมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์รออยู่แน่ ๆ หรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
แต่โลกนี้ก็ไม่ง่ายเหมือน ทฤษฎี ทำความรู้จัก คิดบวกจนเป็นภัย Toxic Positivity
Toxic Positivity คือ สภาวะที่เราคิดบวกจนเกินไปทำให้ชีวิตเสียศูนย์ โดย Laura Gallagher นักจิตวิทยาจากสถาบัน Gallaher Edge
ได้ให้คำนิยามของความคิดบวกเป็นพิษ (Toxic Positivity) ไว้ว่า เป็นสภาวะที่เราพยายามกดอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดทางลบ
ไว้ด้วยความคิดบวกแบบสุดโต่ง จนก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ การถูกเอาเปรียบ
เมื่อเกิดเหตุร้าย ๆ หรือเหตุรุนแรงขึ้นมาในสังคม คนที่มองโลกในแง่ดีจนเป็นพิษ ก็จะเลือกที่จะไม่รับรู้เหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้น ๆ
สุดท้ายแล้วเราจะคิดบวกยังไงให้พอดี?
- เปิดใจให้กว้าง และมองโลกในความเป็นจริง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นก็มีข้อดีและข้อเสียตามมา
- ยอมรับความจริง เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างไร
- รับรู้ภาวะอารมณ์ที่แท้จริงของตัวเอง ว่าตัวเองรู็สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น
สุดท้ายแล้วการคิดบวก การมองโลกในแง่ดี เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าอะไรที่มีมากเกินไปย่อมเป็นภัยกับเราได้
การยอมรับว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีอะไรที่ได้ดั่งใจเราทุกอย่าง
คิดและอยู่ในทางของความเป็นจริงก็เป็นป้องกันและคุ้มกันทางใจให้ตัวของเราเองได้เช่นกัน
ที่มา :
TikTok’s Burnt Toast Theory Is All About Embracing Life’s Frustrations
From Burnt To Best: Embracing The Burnt Toast Theory For Empowerment
The Burnt Toast Theory: Navigating Life’s Detours
ในปัจจุบันที่สังคมหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต “นักจิตวิทยา” จึงกลายเป็นอาชีพหนึ่งที่ถูกพูดถึง นักจิตวิทยา คือใคร ? ทำหน้าที่อะไ ร? แต่ละสาขาแตกต่างกันอย่างไร ?
มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit x คุณวันเฉลิม คงคาหลวง นักจิตวิทยา
พารู้จักกับอาชีพ “นักจิตวิทยา”
นักจิตวิทยา เป็นอาชีพที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และ เหตุผลที่รองรับได้ในหลากหลายมิติ เช่น เชิงสังคม เชิงปัจเจก สรีระ
โดยทำการทดลอง เก็บข้อมูล การสำรวจ หรือจากประสบการณ์ความชำนาญในการทำงาน
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และยังมีเรื่องที่วิทยาการทางวิทยาศาสตร์ไปไม่ถึง เช่นถ้าวันนี้ฉันเป็นซึมเศร้า สรุปแล้วสารเคมีในสมองสร้างความซึมเศร้าขึ้นมา
หรือซึมเศร้าก่อนแล้วสารเคมีเป็นตัวอธิบายความเศร้าที่เกิดขึ้น
นักจิตวิทยามีสาขาอะไรบ้าง ? ทำหน้าที่อะไรบ้าง ?
1. นักจิตวิทยาการปรึกษา
มุ่งเน้นการให้บริการกับบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีความผิดปกติ การทำงานจะเอื้ออำนวยให้ผู้รับบริการเข้าใจปัญหา
2. จิตวิทยาคลินิก
จะให้ความสำคัญการช่วยเหลือผู้ที่มีสภาวะผิดปกติคืนสู่สภาวะปกติ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างราบรื่น
3. จิตวิทยาพัฒนาการ
ศึกษาพัฒนาการตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ เพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายพฤติกรรม
4. นักจิตวิทยาองค์กร
ศึกษาเกี่ยวกับบุคคลและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนา เช่น สร้างแรงจูงใจ หรือพัฒนาบุคคล เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร
นักจิตวิทยาทำงานข้ามสาขาได้หรือไม่ ?
สามารถทำได้ แต่จะต้องทำตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถเข้าไปดูแลบุคลากรในองค์กร ที่เกิดความรู้สึกวิตกกังวล จนส่งผลกระทบต่อการทำงานได้
นักจิตวิทยาคลินิก และ นักจิตวิทยาการปรึกษา แตกต่างกันอย่างไร ?
จิตวิทยาคลินิก เป็นศัพท์ทางการแพทย์ รูปแบบหนึ่งจึงมีรายละเอียดเฉพาะตัว เช่น การทำงานเชิงคลินิก การเก็บข้อมูล การทดลองเชิงคลินิค ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ
เพราะฉะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในคลินิก สามารถไปทำงานในโรงเรียน ในองค์กรได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับเนื้องาน และประสบการณ์
ส่วนจิตวิทยาการปรึกษา เน้นในทักษะของการรับฟัง วิเคราะห์ปัญหา และนำไปสื่อสาร คุยกับผู้เข้ารับคำปรึกษา และสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าควรเลือกไปหานักจิตวิทยาสาขาไหน ?
เลือกตามจุดประสงค์ของตัวเอง เช่น หากคุณไม่ได้ป่วย อยากได้รับคำปรึกษาที่ชัดเจน ก็เข้าไปพบนักจิตวิทยาการปรึกษา
อยากเช็ค อยากตรวจประเมินสุขภาพจิต เลือกเข้าพบนักจิตวิทยาคลินิก หรืออยากปรึกษาเรื่องของลูก ก็สามารถเข้าไปพบ นักจิตวายาพัฒนาการได้
ความรักที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและจบความสัมพันธ์แบบทันที เป็นความสัมพันธ์ที่มีได้ในยุคปัจจุบันนี้
ความรู้สึกชอบ หลง รัก แตกต่างกันหรือไม่?
มีความแตกต่างกัน ตามทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก
- Intimacy ความชอบ ความใกล้ชิด สนิทคุ้นเคยกัน
- Passion ความลุ่มหลง เสน่หา ความคลั่งไคล้
- Commitment การผูกพัน ตกลงที่จะเป็นแฟนหรือคู่ชีวิตกันและกัน
ความชอบก็เหมือนการคุยกันแล้วถูกใจ เป็นเพื่อนกันซึ่งต่างจากความลุ่มหลงคือคลั่งไคล้ ทำอะไรก็ดูดี เขาดีไปหมดทุกอย่าง
เป็นปกติเมื่อเจอกันแรก ๆ ก็จะมีความชอบและคลั่งไคล้กันมาก แต่พอผ่านไปนาน ๆ ความเสน่หาก็ลดลง
แต่ความผูกพันก็จะเพิ่มขึ้นและไปสู่การตกลงว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหนต่อไป
นิยามของความรักคืออะไร?
ความรักก็เป็นอารมณ์รูปแบบหนึ่งของมนุษย์ มีการคิดแยกแยะ เกิดเป็นความรัก ความรู้สึกที่ซับซ้อน
ความรักก็เป็นเรื่องที่คนสองคนชอบพอกัน มีความรู้สึกตรงกัน อยากอยู่ด้วยกัน ดูแลกันและกัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความต้องการต่อกัน
เวลาเป็นปัจจัยสำคัญหรือไม่?
เมื่อเจอคนที่ใช่บางครั้งเวลาก็ไม่สำคัญ แต่ความเข้าใจกันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องศึกษากันและกัน
บางครั้งตอนนี้ใช่ แต่ผ่านไปสักพักอาจไม่ใช่ ก็แยกย้ายกันไปตามเส้นทางของแต่ละคน
สาเหตุของรักไว เลิกไว?
ยุคสมัยปัจจุบันที่มีความการติดต่อสื่อสารง่ายมากขึ้น ทำให้เจอกันง่าย รักกันง่าย ทำให้เราเจอคนหลายคนมากขึ้น
มีทางเลือกเยอะขึ้น หากความรักของแต่ละคนไม่แนวแน่ก็มีสิทธิ์ที่จะเลิกกันง่าย การพบเจอกันเป็นเรื่องง่าย แต่การประคองความสัมพันธ์ให้ยาวนานยากกว่าการเลิกกัน
รักษาความสัมพันธ์อย่างไรให้ยืนยาว?
เลือกคนรักให้ถูก รสนิยมคล้ายกัน รับเราได้ในแบบที่เราเป็น ต้องประคองความรักด้วยการปรับตัวเข้าหากัน พูดคุยกัน
การสื่อสารสำคัญต่อความสัมพันธ์มาก ๆ หากไม่พูดคุยกันก็อาจมีปัญหาต่อความสัมพันธ์ได้ มีการให้อภัยต่อกัน เข้าใจกันและกัน
รับมือกับความสัมพันธ์ที่จบลงอย่างไร?
อาจต้องใช้เวลาในการทำใจ เวลาจะเยียวยาใจเราได้เสมอ จากปกติเราต้องแบ่งเวลา แบ่งหัวใจความรักให้กับคนอีกคน แต่เมื่อไม่มีเขาเราดึงตัวเองกลับมารักตัวเอง
ให้เวลากับตัวเองอย่างเต็มที่ ยอมรับความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ค่อยทำใจได้พร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ ระยะทำใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
มุมมองพลังบวกก็มีผลต่อการทำใจ การมองสิ่งดีๆในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นได้
โดยส่วนใหญ่การนอกใจมักมาจากคนที่มีนิสัยเจ้าชู้ แต่การนอกใจไม่เท่ากับคนเจ้าชู้ บางคนก็อาจนอกใจได้แม้จะไม่ได้เป็นคนที่เจ้าชู้
เจ้าชู้ เป็นอาการทางจิตเวชหรือไม่?
คนที่เจ้าชู้มีได้หลายแบบ เป็นรสนิยมส่วนตัวที่ชอบมีคนรักหลายคนหรือมีคู่นอนหลายคน แยกได้หลายแบบ
บางคนก็เจ้าชู้ ชอบหยอกล้อ แตะเนื้อต้องตัว แต่เมื่อมีแฟนก็จะหยุดเจ้าชู้หรือบางคนก็มีการนอกกายและนอกใจ
คู่รักแบ่งได้หลายแบบ
- Monogamy การมีคู่สมรสคนเดียว มีแฟนคนเดียว มีคู่นอนคนเดียว
- Non-Monogamy การมีคู่สมรสหลายคน ไม่ได้มีคู่เดียว มีภรรยาหลายคน
- Open relationship ความสัมพันธ์อิสระ ต่างคนต่างมี โดยไม่ได้มีความสัมพันธ์กัน
สำคัญที่สุดคือเลือกคนที่มีรสนิยมตรงกัน เพื่อความสัมพันธ์ที่เข้าใจกันและกัน
วิธีสังเกต คนเจ้าชู้
อาจต้องลองให้เวลาศึกษากันและกัน คนเจ้าชู้มักเผื่อเลือก จะคุยกับใครหลายคน ต้องใช้เวลาในการคุยกัน สังเกตพฤติกรรมของเขาแบบไม่ตัดสินแบบเข้าข้างเขา
จะรับมืออย่างไร เมื่อถูกนอกใจ?
ควรมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าถูกนอกใจจริง ๆ ไม่คิดระแวงเอง เมื่อถูกนอกใจเป็นปกติที่จะเกิดอาการ ‘ตกใจและปฏิเสธความจริง (shock and denial)’
และเริ่มโกรธ ต้องใช้ความรุนแรงระบายออกมา จึงเริ่มต่อรองให้อภัย อยากไปต่อกับความสัมพันธ์ สุดท้ายเกิดเป็นความเศร้า ค่อย ๆ ยอมรับความจริงว่าเขานอกใจจริง ๆ
เราควรดูแลรักษาจิตใจของตัวเองในช่วงเวลาที่เจอกับความยากลำบากจากการโดนนอกใจ ควรจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง
ทบทวนและตอบตัวเองให้ชัดเจนว่าอยากไปต่อหรือหยุดความสัมพันธ์ไว้ หาทางออกของความสัมพันธ์ให้เจอ ว่าเราต้องการอะไร อย่างน้อยก็ควรเลือกในสิ่งที่เราสบายใจที่สุด
รับมือกับความรู้สึกที่มีต่อมือที่สามอย่างไร?
ความจริง ความคิด ความแค้น ต่อมือที่สามก็เหมือนยิ่งสานต่อปัญหาของความสัมพันธ์ ให้ยุ่งยากทำร้ายจิตใจตัวเอง
หากมือที่หนึ่งจับมือที่สองแน่นพอ มือที่สามจะไม่สามารถแทรกได้ เพราะปัญหาอาจเกิดจากคนสองคน ทำให้ดึงอีกคนเข้ามา
ควรคุยกับเขาให้ชัดเจนว่าเป็นคนแบบไหน ชอบอะไร ต้องการอะไรในความสัมพันธ์เพื่อความชัดเจนของความสัมพันธ์
รับมือกับความหวาดระแวงอย่างไร?
หากเลือกที่จะให้อภัยและไปต่อกับความสัมพันธ์ที่เคยโดนนอกใจมาก่อน ต้องยอมรับและอยู่กับความระแวงให้ได้
เพราะการนอกใจมีความไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่เกิดขึ้นเลยได้เสมอ ควรอยู่กับปัจจุบัน ศึกษากันไปเรื่อย ๆ ปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคต
หากคบกันแล้วไม่มีความสุข ก็ควรถอยออกมา อย่าเสียเวลา ทนฝืนต่อไป เสียดายเวลาอดีต
แต่อย่าลืมเวลาอนาคตที่เราจะเสียไปกับการไม่มีความสุข กับคนที่ไม่ใช่ กลับมาดูแลจิตใจตัวเอง
จะออกจากความสัมพันธ์อย่างไร?
ในความสัมพันธ์ที่คบกันอยู่ ลองทบทวนว่าชีวิตเราโอเคหรือเปล่า ควรกลับมารักและเห็นคุณค่าของตัวเอง หากเราเห็นคุณค่าของตัวเอง
จะเลือกตัวเองและเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้เสมอ หากยังไม่มั่นใจ มีสิ่งที่ติดค้างต่อกัน ทุกอย่างอาจเป็นเพียงข้ออ้างในการอยู่กับความสัมพันธ์ต่อไป
เราเลือกเส้นทางของตัวเองได้เสมอ เราเลือกแบบไหน ควรรับผิดชอบในสิ่งที่เราเลือก
Toxic parent มูฟออนชีวิต ถอนพิษพ่อแม่เผด็จการ
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย ดร.ซูซาน ฟอร์เวิร์ด และคุณเครก บัก และแปลโดยคุณ เชิญพร คงมา
ดร.ซูซาน ฟอร์เวิร์ด เป็นจิตแพทย์ที่ดูแลเคสของลูกที่ถูกทำร้าย ทั้งร่างกายและจิตใจ สิ่งที่น่าสนใจของหนังสือเล่มนี้จะมัดรวมประเภทพ่อแม่ที่เป็นพิษหลากหลายประเภทต่าง ๆ
ที่เลือกมาใช้ควบคุมลูก เขียนมาเป็นเคสต่าง ๆ ที่คนเขียนเคยเจอ . . . พ่อแม่คือสถาบันแรกที่เราเกิดมาแล้ว
เป็นสถาบันแรกที่หล่อหลอมให้เราเป็นเราในทุกวันนี้มันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า บาดแผล ความรู้สึก ความคิดต่าง ๆ ที่บ่มเพราะเราก็มาจากพ่อแม่อาจจะไม่ทั้งหมดในชีวิตแต่ก็เป็นส่วนสำคัญ
ประเภทของ Toxic parent
- พ่อแม่เทวดา พ่อแม่เทวดาในหนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนว่าจะทำตัวเหมือนเทพ ที่มักเชื่อว่าที่ทำอยู่ทำเพื่อประโยชน์ของลูกแต่จริง ๆ แล้วทำเพื่อตัวเอง คอยตั้งกฎเกณฑ์ ไม่ยอมให้ลูกออกไปใช้ชีวิตหรือทำอะไรเพื่อตัวเอง พอลูกทำผิดกลับมาก็ตำหนิแล้วบอกว่าทำไมไม่เชื่อฟัง
- พ่อแม่ผู้บกพร่อง ที่ไม่เลี้ยงดูลูก ไม่ให้ลูกได้ใช้ชีวิตวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยโตอย่างเต็มที่
- พ่อแม่จอมบงการ ชอบดุ ชอบข่ม เช่น “ที่ทำทั้งหมดนี้เพื่อลูก” คำที่ยิ่งใหญ่เขาทำทั้งหมดเพื่อเราเราอย่าทำให้เขาผิดหวังนะ ถึงแม้สิ่งที่เราทำจะเป็นสิ่งที่ฝืนใจ สิ่งที่ไม่ใช่ความฝัน แต่ต้องไปสานฝันของพ่อแม่ คำนี้เหมือนคำที่สวยหรูแต่ไม่ได้สวยหรู
- พ่อแม่ที่ติดอบายมุข กินเหล้าจนเกินเหตุทำให้คนรอบข้างได้รับผลกระทบจากอบายมุขเหล่านั้น
- พ่อแม่จอมตำหนิ ถึงลูกจะทำดีแค่ไหนพ่อแม่ก็หาคำพูดที่ทำร้ายจิตใจลูกเสมอ
- พ่อแม่จอมโหดที่ทำร้ายร่างกาย การตบตี หรือแม้กระทั่งการทำร้ายร่างกายทางอ้อม การที่พ่อทำร้ายร่างกายลูก แล้วแม่ไม่ห้าม คนที่เป็นลูกก็จะรู้สึกถึงการถูกทอดทิ้ง
- ที่สุดแห่งการหักหลังคือ การล่วงละเมิดทางเพศลูก ไม่ว่าจะเป็นลูกชายหรือผู้หญิง อันนี้คือขั้นรุนแรง
หนังสือเล่มนี้ให้ทางออกเมื่อเราเจอพ่อแม่ที่เป็นพิษ มาหลากหลายกรณี ถ้าโดนคนที่ทำไม่ดีใส่โดยเฉพาะถ้าเป็นพ่อแม่ที่เป็นผู้มีพระคุณ
คำว่า ‘ทดแทดบุญคุณ’ เป็นสิ่งที่ลูกต้องแบกไว้ตลอด คงยากที่จะรู้สึกไม่ดี หรือรู้สึกโกรธ บางทีกลับมารู้สึกผิดเอง และรู้สึกว่าไม่ควรมีความรู้สึกนี้เกิดขึ้นด้วยซ้ำ
แต่อะไรที่มันมากเกินไปเราไม่จำเป็นต้องให้อภัยก็ได้นะ จดจำไว้เสมอว่า เราไม่สามารถทำให้ใครรู้สึกอะไรได้ทั้งนั้น
ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองเลือก เรามีหน้าที่ต้องหาทางออกให้ตัวเองเมื่อรู้สึกเวลามีใครมาทำร้าย พ่อแม่ก็มีหน้าที่ที่ต้องหาทางออกนี้เหมือนกัน
สิ่งสุดท้ายไม่ใช่แค่ในฐานะลูก แต่ในฐานะถ้าเราเป็นพ่อแม่อยู่หรือจะในฐานะไหนก็ตาม ลองถามว่าตัวเราเองว่าเราอยากอยู่กับคนนี้จริง ๆ หรอ
คนที่ทำนิสัย พฤติกรรมเหล่านี้ อยู่แล้วสุขสบายใจไหม หรือหนักใจ ทุกข์ใจ ถ้าคำตอบเป็นแบบหลัง เมื่อเราโตขึ้นแล้ว
เราสามารถดูแลตัวเองการตัดวงจร แยกออกมาเพื่อตัวเราเองปล่อยวางแล้วก้าวต่อไปเพื่อความสุขของตัวเองดีกว่า
การ กอดตัวเอง ดีอย่างไร?
กอดตัวเอง
กอดตัวเองทางร่างกายคือการเอาแขนมาโอบตัวเอง แต่การกอดตัวเองไม่จำกัดแค่การเอามือโอบกอด แต่มีหลากหลายรูปแบบ
การกอดตัวเอง ในมุมหนึ่งคือการเทคแคร์ตัวเอง คล้าย ๆ กับ Self-Care การกอดตัวเอง หมายถึง การกระทำของการโอบกอดตัวเองเพื่อเป็นการปลอบโยนและดูแลตัวเอง
การโอบแขนรอบลำตัว วางมือบนไหล่หรือแขนส่วนบน และบีบเบา ๆ การกอดตัวเองเป็นประโยชน์ต่อการปลดปล่อยออกซิโทซิน
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการผูกพันและลดความเครียด และสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกเหงา วิตกกังวล หรือไม่สบายใจ
Butterfly Hug
หลายครั้งที่เรากำลังรู้สึกกลัว กังวล หายใจสั้นถี่ ท่า Butterfly Hug จะเหมือนการเลียนแบบว่าเหมือนมีคนมากอดเราอยู่ ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
ทำให้อาการกลัวค่อย ๆ ทุเลาลง เพราะฉะนั้นท่า Butterfly Hug จะถูกใช้บ่อย ๆ เวลาที่เรารู้สึกวิตกกังวลมาก ๆ
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกอดตัวเองเสมอไป วิธีอื่นก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน เช่น การหาจุดโฟกัสในสิ่งที่เราสบายใจ หรือการนึกถึงเรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นในหัวจินจนาการถึงสิ่งที่เรามองแล้วรู้สึกอบอุ่นใจ
เราจะเริ่มต้นดูแลตัวเองได้อย่างไร
- เรากำลังรู้สึกอย่างไร มีอะไรที่เราอยากได้แต่ไม่ได้ไหม? ลองเขียนออกมาเพื่อความชัดเจนมากกว่าการคิดในใจ
- ลองเอาลิสต์ที่เราลิสต์ออกมาลองดูว่ามีอะไรที่เราสามารถทำได้ไหม?
- รู้ความต้องการของตัวเอง เมื่อเราโตขึ้นเรื่อย ๆ เสียงรอบข้างของคนรอบตัวจะเข้ามามีบทบาทมากกว่าเสียงของเรา
- กลับไปทำในสิ่งที่เคยชอบ ให้เวลาตัวเองกับสิ่งที่เราชอบ รือฟื้นสิ่งที่ทำให้มีความสุข
- กำหนดขอบเขต เรียนรู้ที่จะพูด “ไม่” กับสิ่งที่ไม่ต้องการหรือไม่สบายใจ
- ดูแลตัวเอง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ให้เวลากับตัวเอง ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือใช้เวลากับคนที่รัก
- ให้อภัยตัวเอง ทุกคนทำผิดพลาดได้ อย่าจมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต
- พูดกับตัวเองด้วยความเมตตา หลีกเลี่ยงการวิพากวิจารณ์ตัวเองในแง่ลบ
การรักตัวเอง ไม่เท่ากับ การเห็นแก่ตัว
ในสังคมปัจจุบัน คำว่า “การรักตัวเอง” ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการรักตัวเองนั้นหมายถึงการเห็นแก่ตัว ซึ่งไม่เป็นความจริง
- การรักตัวเอง เป็นการดูแลและให้ความสำคัญกับความต้องการทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของตัวเอง โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
- การเห็นแก่ตัว เป็นการกระทำที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่สนใจความรู้สึกหรือความต้องการของผู้อื่น
การรักตัวเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ แต่ต้องไม่สับสนกับการเห็นแก่ตัว
การรักตัวเองอย่างแท้จริงนั้นคำนึงถึงทั้งความต้องการของตัวเองและความต้องการของผู้อื่น โดยไม่เบียดเบียนหรือสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
ความสัมพันธ์แบบ Friend with Benefit และ One Night Stand อาจเริ่มมีมานานแล้ว ด้วยมนุษย์เรามีความต้องการในเรื่อง Sex
เป็นเรื่องธรรมชาติ บางยุคสมัยที่เข้มงวดมากก็อาจเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ในบางยุคที่ไม่ได้เข้มงวด ความสัมพันธ์แบบ FWB และ ONS ก็อาจมีได้ตั้งแต่ยุคโบราญ
เพราะอะไรคนถึงชอบความสัมพันธ์แบบ Friend with Benefit และ One Night Stand
เป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้มีความสุข น่าตื่นเต้นและไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก โดยความสัมพันธ์เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งก็คือ Sex
แต่การที่จะมีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ต้องมีการทำความรู้จัก จีบกัน เป็นแฟนกันจึงจะมี Sex ได้ ต้องผ่านการรับผิดชอบหลายขั้น ทำให้รู้สึกว่ายากเกินไป
บางคนแค่ต้องการมีความสุขแบบไม่ต้องรับผิดชอบ ก็เลือกที่จะมีความสัมพันธ์แบบ ONS แต่ FWB เป็นความสัมพันธ์อีกขั้นที่มากกว่า ONS
เป็นได้ทั้งเพื่อนและคนที่มีเพศสัมพันธ์กัน แต่ต้องไม่คาดหวังกับความสัมพันธ์ที่จะพัฒนากลายมาเป็นคนรัก
การเอาใจไปลงเล่นกับความสัมพันธ์แบบ Friend with Benefit และ One Night Stand
จากงานวิจัยความสัมพันธ์แบบ FWB มีโอกาสที่จะตกหลุมรักกันได้ โดยปกติเมื่อมี Sex ร่างกายจะกระตุ้นฮอร์โมนหลายตัว
ซึ่งมีหนึ่งฮอร์โมนที่เป็นตัวทำให้มีความผูกพันเกิดขึ้นคือ Oxytocin เมื่อหลั่งฮอร์โมนออกมาก็มีความผูกพันต่อกันมากขึ้น
และความสัมพันธ์ FWB บ่งบอกว่าเป็นความสัมพันธ์ Sex ที่ดี มีความเข้ากันได้จึงมีโอกาสสูงที่จะตกหลุมรักกัน
หากเอาใจลงมาเล่นกับความสัมพันธ์ FWB พร้อมกันทั้งสองฝ่ายก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาความสัมพันธ์
แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่พร้อมก็อาจเสียความสัมพันธ์ FWB ได้ เพราะความต้องการไม่เท่ากัน
Friend with Benefit ที่มีแฟนอยู่แล้ว
เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นได้ เพราะ FWB เป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่าย คือการมี Sex และเป็นเพื่อนกันแต่ความสัมพันธ์จะไม่เกินกว่านั้น
หรือ ONS เป็นความสัมพันธ์ของคนสองคนมีข้อตกลงแค่เรื่อง Sex แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีแฟนอยู่แล้วก็สามารถทำได้
แต่เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงออกว่าคือการนอกกายและนอกใจ ถึงจะไม่ได้รู้สึกอะไรต่อกัน อาจทำให้เกิดปัญหามือที่สามได้
หากมีแฟนอยู่แล้วและต้องการมีความสัมพันธ์แบบ FWB หรือ ONS ควรคุยตกลงกับแฟนให้เข้าใจและยินยอม
ซึ่งการยอมรับหรือไม่ยอมรับ เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของแฟน ไม่ควรบังคับอีกฝ่าย
เมื่อแฟนยอมรับได้ ความสัมพันธ์ FWB ก็ไม่ใช่การนอกใจนอกกายแม้จะมีแฟนอยู่แล้วก็ตาม เพราะทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเข้าใจกันแล้ว
ควรรับมืออย่างไร เมื่อเอาใจลงไปเล่นกับความสัมพันธ์ Friend with Benefit
อาจต้องคุยกับตัวเองก่อนว่าความสัมพันธ์ที่ตกลงกันตั้งแต่แรกคือ FWB สิ่งที่เรารู้สึกอาจทำให้ขัดกฎข้อตกลงกัน เตือนใจตัวเองก่อนว่าจะเกิดความเจ็บปวดได้
คุยกับตัวเองว่าต้องการจะเดินหน้าต่อเพื่อความสัมพันธ์ที่อาจจะพัฒนาต่อไปหรือจะถอยออกมาจากความสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
เพราะไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็มีผลต่อความสัมพันธ์แน่นอน เลือกว่าเราจะรับความเสี่ยงแบบไหนได้มากที่สุด
ไม่ว่าจะมีความสัมพันธ์แบบไหน ควรป้องกันให้ปลอดภัยเพื่อเซฟตัวเรา
สาเหตุของ ความลังเล เกิดจากความกังวลต่อผลลัพธ์ในสิ่งที่เลือก เหมือนกับการสอบ
บางครั้งการมีข้อมูลไม่มากพอก็ทำให้ลังเลที่จะตอบ แต่ถ้าเรามีข้อมูลที่ชัดเจนก็สามารถเลือกได้อย่างมั่นใจ
ประสบการณ์ส่งผลต่อทักษะการตัดสินใจ
การเติบโต วิธีการเลี้ยงดูในวัยเด็ก มีผลต่อการตัดสินใจ หากเราเติบโตมาแบบที่ผู้ใหญ่สอนให้เราเชื่อว่าควรเลือกอะไร
ทำแบบไหนถึงจะดีกว่า การมีคนเลือกและตัดสินใจแทนก็ทำให้เราไม่รู้ว่าแบบไหนถึงจะดีกับเรามากกว่า ไม่รู้วิธีวิเคราะห์การตัดสินใจ
ความลังเลมีผลทำให้ไม่รู้จักความต้องการของตัวเอง
ความลังเลควบคุมได้ยาก เพราะเกิดจากความไม่ชัดเจนกับตัวเอง อาจทำให้เราไม่รู้ความต้องการของตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้ความต้องการของตัวเองเลย
ต้องฝึกชัดเจนกับความต้องการของตัวเอง การสื่อสารกับตัวเองให้เข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร ฝึกคุยกับตัวเอง ถามตัวเองว่าต้องการอะไรก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจ
ความลังเล กับ ความโลเล แตกต่างกันหรือไม่
ความลังเลเหมือนเรามีตัวเลือกให้เราได้เลือก แต่ความโลเลคือการที่เราไม่มีตัวเลือกหรือยังไม่แน่ชัดเจนกับตัวเองว่าคืออะไร
เป็นคำที่ใช้ร่วมกันได้ในบางครั้ง แต่ก็มีความหมายที่แตกต่างกัน
ข้อดีของความลังเล
ทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นมักมีข้อดีเสมอ ไม่ว่าจะรู้สึกอะไรก็เป็นประโยชน์กับตัวเองได้ ความลังเลก็อาจมีข้อดีได้เช่นกัน
การที่เราลังเลก็เหมือนทำให้เรามีความรอบคอบและละเอียดต่อการตัดสินใจมากขึ้น ความลังเลก็สร้างมุมมองได้หลากหลายมุม
ความลังเลทำให้เราได้หยุดคิด ซึ่งเรานำช่วงเวลาที่ลังเลมาทบทวนได้ว่าสิ่งไหนคุ้มค่ากับเราจริง ๆ
ไม่ว่าอารมณ์ทางบวกหรือทางลบก็เป็นประโยชน์ต่อเราเสมอ การที่เราลังเล หยุดคิดให้ช้าลงอาจทำให้เจอกับทางเลือกที่ดีและคุ้มค่ากับตัวเองได้
ความลังเลในความสัมพันธ์
บางครั้งที่เราเริ่มคิดว่าควรเลิกหรือไปต่อดีกว่า ก็ทำให้มีเวลาได้ทบทวนความรู้สึกของตัวเอง
ลองนำความลังเลตรงนี้มาทบทวนก่อนได้ ว่าทางเลือกไหนที่มีผลดีกับเราจริงๆ
การที่คนอื่นตัดสินใจแทนเราว่าแบบนี้ดีกว่า ก็ไม่ได้หมายความว่าอีกทางเลือกจะไม่ดีกับเรา
ความลังเลส่งผลต่อความรัก
เมื่อมีความลังเลในความสัมพันธ์แสดงว่าเรารู้สึกไม่มั่นคงกับความสัมพันธ์ของตัวเอง
หากเกิดความลังเลในความสัมพันธ์ก็บ่งบอกได้ว่ามีปัญหาบางอย่างที่ไม่เข้าใจกันเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ของเรา
จัดการกับความลังเลด้วยการเริ่มต้นค้นหาสาเหตุของความลังเล ว่าเกิดจากอะไรที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย ลังเลในความสัมพันธ์นี้
รับมือกับความผิดหวังจากการตัดสินใจผิดพลาด
เราผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ ก่อนที่จะถูกเราก็เคยผิดพลาดมาก่อน อาจลองยอมรับในสิ่งที่เราตัดสินใจ
การตัดสินมาจากการที่เราได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดกับตัวเองแล้วจริงๆ แม้ว่าจะมีความผิดพลาด
แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ในความผิดพลาดก็ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น เพื่อที่จะใช้ชีวิตต่อไปในวันข้างหน้า
ถูกปฏิเสธจากสังคม หรือการโดนแบน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย
เหตุการณ์ที่มีคนรอบข้างเรามองว่าเราแตกต่างจากเขา มีมุมมองความคิดไม่เหมือนกัน ทำให้เราถูกปฏิเสธออกจากสังคม
Social rejection และ Social pain แตกต่างกันอย่างไร
Social rejection คือ การถูกปฏิเสธจากสังคมที่มีกลุ่มคนหนึ่งกลุ่มดึงเราออกจากสังคมของเขา
Social pain คือ ความเจ็บปวดทางสังคมจากการที่เราถูกปฏิเสธ
มีความแตกต่างคือโดนกระทำจากสังคมที่ถูกปฏิบัติไม่เท่าเทียม ไม่ถูกยอมรับจากสังคมและความรู้สึกหลังโดนกระทำจากสังคม
การรับมือจากการโดนแบน
ลดการตั้งคำถามที่ตัดสินตัวเองว่าเราทำอะไรผิดลงก่อน เพราะการที่เราถูกปฏิเสธจากสังคมไม่ได้หมายความว่าคุณค่าในตัวเราลดน้อยลง
ลองกลับมาทบทวนว่าเราควรอยู่กับกลุ่มอื่นหรือทำความรู้จักคนใหม่ๆ บ้างดีไหม
เพราะการจมอยู่กับการตั้งคำถามว่าตัวเราผิดอะไรก็เหมือนยิ่งสร้างความเจ็บปวดและตอกย้ำตัวเอง
การอยู่ร่วมกับสังคมโดนปฏิเสธ
เริ่มกลับมาทบทวนตัวเองก่อนว่าสาเหตุที่เราอยู่ในสังคมนี้คืออะไร
เรามีหน้าที่ทำอะไรในสังคม หากเราเป็นนักเรียน เราควรโฟกัสที่การเรียนและการพัฒนาตัวเอง กลับมาให้ความสำคัญในหน้าที่ของตัวเอง
และลองมองหาความสัมพันธ์กับคนอื่น ที่มีอะไรคล้ายกับเราหรือเข้ากับเราได้มากกว่ากลุ่มเดิม
ทุกความสัมพันธ์มีเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันได้ เราอาจเข้ากับสังคมนี้ไม่ได้ แต่อาจจะเข้ากันได้ดีกับสังคมใหม่ๆ
ถ้าไม่มีสังคมเพื่อนและเลือกที่จะอยู่คนเดียวได้ไหม?
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการที่พึ่งพิง ลองสำรวจความรู้สึกตัวเองก่อนว่าไหวไหม อยู่คนเดียวได้หรือเปล่า
เพราะการโดนแบนก็เหมือนสร้างพลังลบและดูดพลังเราไปทั้งหมด ทำให้ไม่มีที่พักพิง ถ้าเลือกที่จะอยู่คนเดียวก็เป็นความรู้สึกที่โดดเดี่ยวมากๆ
แม้ว่าเราสามารถอยู่คนเดียวได้แต่จะมีความสุขจริงๆหรือเปล่า เราตอบตัวเองได้ดีที่สุด
หากโดนแบนจากสังคมควรรับมือกับความรู้สึกตัวเองอย่างไร
การดูแลใจตัวเองลองหาพื้นที่ให้ตัวเองได้ทบทวนว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมีสาเหตุอย่างไร แตกต่างกับคนอื่นเพราะอะไร และต้องไม่โทษตัวเอง
ไม่ตัดสินว่าตัวเองผิดหรือด้อยค่าตัวเองจากคำตัดสินของคนอื่น การที่เราโดนแบนไม่ได้แปลว่าเราไม่ดีหรือไม่มีค่าพอสำหรับสังคม
ยังมีสังคมอื่นที่ดีกว่าเดิม มีพื้นที่ให้กับเราได้เป็นตัวเอง โดยที่เราไม่ต้องหนีออกมาจากสังคมที่ไม่ยอมรับเรา
เลือกอยู่ในพื้นที่ที่เราสบายใจและมีความสุขแล้วเราจะไม่ถูกปฏิเสธจากสังคม เพราะทุกคนมีพื้นที่ที่สามารถเป็นตัวเองได้เสมอ
คำว่า แฟนเก่า คือคนที่เคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันและแยกกันไป สิ้นสุดความสัมพันธ์กัน ก็เหมือนผีที่ดูน่ากลัวในความสัมพันธ์ใหม่
ปัญหาเกี่ยวกับ แฟนเก่า
การส่งข้อความหาแฟนเก่า การเก็บรูปภาพกับแฟนเก่าไว้ในโทรศัพท์ บางกรณีอาจจะไม่ได้คบกันแต่ยังมีความหวังดีและความเป็นเพื่อนกันอยู่
หรือบางคนยังคงพร่ำเพ้อคิดถึงแฟนเก่าจึงเก็บรูปภาพไว้ เพราะช่วงเวลาที่คบกับแฟนเก่าเป็นเหมือนความทรงจำช่วงหนึ่งในชีวิตที่อาจมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น คล้ายกับเป็นไดอารี่เล่มหนึ่ง
ปัญหาที่แฟนเรายังติดต่อกับ แฟนเก่า อยู่
ต้องลองกลับมาถามความรู้สึกตัวเองว่ารับได้หรือไม่ เพราะปัญหาที่เขายังติดต่อกับแฟนเก่าอยู่เป็นเรื่องของความยินยอม หากเรารับไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิด
แต่เมื่อรับไม่ได้ก็ไม่ควรไปต่อ การที่แฟนเรายังติดต่อกับแฟนเก่าอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดเช่นกัน บางครั้งเขามีความจำเป็นที่ต้องติดต่อกัน
เช่น เรื่องงานธุรกิจหรือเรื่องลูก ซึ่งการเปิดใจยอมรับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ไปต่อได้
Recheck แฟนเราว่าเขา ลืม หรือ ยังไม่ลืม แฟนเก่า?
บางทีก็ต้องกลับมาถามตัวเองเช่นกัน ว่าความรักของเรากับแฟนเกิดขึ้นหรือยัง เขายังรักแฟนเก่าอยู่หรือเปล่า
ถ้าเขาก็รักเราแต่ยังรักแฟนเก่าอยู่ก็เป็นไปได้ว่า เขารักสองคนไปพร้อมกัน
อาจต้องมาเปิดใจคุยกันก่อน ว่าความรักที่เขามีต่อแฟนอยู่ในระดับไหน ยังรู้สึกรัก รักมากหรือไม่รักแต่ยังมีแค่ความทรงจำที่เหลืออยู่
เพราะแต่ละระดับมีการจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนมากมักไม่ได้รักแต่ยังมีความทรงจำต่อกันอยู่ แม้ว่าความเป็นจริงจะไม่มีใครลืมความทรงจำในอดีตได้ก็ตาม
ถ้าหากเรายอมรับได้ว่าเขายังไม่ลืมและเลือกที่จะอยู่ในความสัมพันธ์ต่อไป อาจต้องค่อยๆให้เวลาเยียวยาความรู้สึกของเขา
การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของแฟน ต้องปรับตัวให้เข้ากันทั้งสองฝ่ายเสมอ
ไม่ควรมีฝ่ายไหนรับผิดชอบความรู้สึกทั้งหมดไว้คนเดียวเพราะอาจทำให้เหนื่อยล้าและบั่นทอนจิตใจได้ มั่นเตือนตัวเองว่าคนใหม่ไม่ใช่คนเก่า
ทุกคนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ความรู้สึกของเราควรรับผิดชอบและจัดการด้วยตัวเอง ไม่ควรเป็นปัญหาของคนใหม่
Recheck ความพร้อมสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่
ลองทบทวนความรู้สึกตัวเองก่อนว่าเรายังคิดถึงคนเก่าอยู่หรือเปล่า ถ้าไม่คิดถึงและไม่มีความรู้สึกอะไรกับคนเก่าแล้วแสดงว่าเราก็พร้อมที่จะไปต่อในความสัมพันธ์ครั้งใหม่
แต่ถ้ายังคิดถึงและยังมีความรู้สึกกับคนเก่า อาจต้องถามตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่าเราพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่จริงๆหรือเปล่า
หากเราก็พร้อมที่จะรักคนใหม่ แม้จะยังมีความทรงจำกับคนเก่า เราก็สามารถเริ่มต้นใหม่ได้ เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาให้ความรู้สึกที่มีต่อคนเก่าลดน้อยลง
พฤติกรรมชอบส่อง Social media ของแฟนเก่า
บางครั้งการส่อง Social media เป็นเรื่องปกติ เหมือนเราส่อง Social media เพื่อน ดาราศิลปินที่ชื่นชอบ เป็นความชอบส่วนตัว แม้จะไม่ใช่แฟนเก่า
เราก็มีความต้องการอยากรู้อยากเห็น ถึงเราจะส่องแฟนเก่าแต่เราอาจไม่ได้รู้สึกอะไรกับแฟนเก่าแล้วก็ได้
แต่ถ้าหากส่องแล้วมีความรู้สึกอยู่ ต้องกลับมาจัดการที่ความรู้สึกของตัวเองเพราะอาจมีปัญหาทางจิตใจ มีความทรงจำที่ไม่ดีเกิดTraumaสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อบำบัดได้
วิธีรับมือกับความรู้สึกตัวเอง
ยอมรับในความรู้สึกตัวเองที่ระแวงแฟน และเปิดใจคุยกับแฟนตามตรงว่าเรายังไม่สามารถวางความระแวงเรื่องแฟนเก่าของเขาได้
ช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกัน ว่าอะไรที่ทำให้เราสบายใจขึ้น บางครั้งความใส่ใจ ความห่วงใย ความสนใจที่เขามอบให้เราก็เป็นตัวช่วยที่เยียวยาจิตใจและความรู้สึกระแวงให้เบาบางลงได้
วิธีลืม แฟนเก่า
เวลาคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยเยียวยาจิตใจและทำให้ความรู้สึกที่มีต่อแฟนเก่าลดน้อยลง ซึ่งเวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน
การกลับมารักตัวเองก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้ความรู้สึกต่อแฟนเก่าลดน้อยลงได้ หากมีการจัดการความรู้สึกที่มีต่อแฟนเก่าไม่ได้จริงๆสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เสมอ