Posts
‘ความโสด’ เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนเคยผ่านช่วงเวลาการเป็นโสดมาก่อน แต่บางคนก็กลัวการเป็นโสด
โสดมานาน ยอมมีความสัมพันธ์ไม่ดีเพราะกลัวความโสด
ความโสด มีข้อดีอย่างไร
ความโสดมีข้อดีหลากหลาย มีโอกาสอะไรหลายอย่างที่คนมีคู่อาจจะไม่มี เช่น . .
ความอิสระ อยากทำอะไรสามารถทำได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตใคร
มีโอกาสเจอคนมากขึ้น สามารถทำความรู้จักกับคนได้หลากหลาย
มีเวลา ในกับตัวเอง มีเวลาให้กับครอบครัวและเพื่อนมากขึ้น
เราสามารถทุ่มเทเวลาให้กับตัวเอง ทำตามเป้าหมายของตัวเองได้มากขึ้น
ข้อเสียของความโสด
ความโสดอาจทำให้เหงา โดดเดี่ยว หว่าเว้ อยากมีคนแบ่งปันเรื่องราวในชีวิตประจำวันแต่ไม่มีใครพร้อมรับฟังเราเลย
การจัดการกับความเหงา
ความเหงาเกิดขึ้นได้เมื่อไม่คุ้นชินกับการอยู่คนเดียว หากเราสามารถอยู่คนเดียวเป็น สร้างความสุขกับตัวเองได้ เราจะไม่มีเวลาให้กับความเหงาเลย
การโสดอย่างมีความสุข
จากงานวิจัยบอกว่าเราสามารถโสดอย่างมีความสุขได้ เมื่อมีเพื่อนที่เป็นโสดเหมือนกัน การทำกิจกรรมร่วมกัน มีเวลาพูดคุยกันกับเพื่อนช่วยคลายความเหงาได้
หรือคนโสดที่เป็น Introvert ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบเข้าสังคม ก็สามารถมีความสุขในแบบของตัวเองได้ โดยการทำสิ่งที่ชอบและสบายใจในแบบของตัวเอง
รับมือกับความกดดันจากสังคมอย่างไร?
แม้สังคมจะตั้งคำถามอย่างไรไม่สำคัญเท่าจิตใจของเรา เคารพในการตัดสินใจของตัวเอง ไม่ต้องสนใจใครว่าเขาจะคิดอย่างไรกับความโสดของเรา
ความคาดหวังของเขาเป็นปัญหาที่เขาควรจัดการ ไม่ใช่ปัญหาของเรา เรามีชีวิต เส้นทางของตัวเอง เราเลือกได้ว่าอยากเป็นแบบไหน แค่มีความสุขในสิ่งที่เราเลือกก็พอ
เริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ยังไม่พร้อมส่งผลอย่างไร?
หากไม่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์ อาจทำให้เราต้องปรับตัวเองเพื่อมีเวลาให้กับอีกคนมากขึ้น จากแต่ก่อนมีความอิสระต้องแคร์อีกคนมากขึ้น
มีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจมากขึ้น ส่งผลต่อภายในจิตใจทำให้เราคาดหวัง เกิดความสัมพันธ์ที่ Toxic
มีความสัมพันธ์เมื่อพร้อมทั้งภายในและภายนอก ลองสำรวจภายในจิตใจของเราก่อน ว่าเราพร้อมที่จะแบ่งปันเวลา คุณค่า และจุดหมายในชีวิต
ที่ต้องมีอีกคนเข้ามาอยู่ในชีวิตเราหรือเปล่า พร้อมที่จะหยุดอยู่กับความสัมพันธ์นี้แล้วจริง ๆ
เราควรมีความสัมพันธ์ในช่วงที่ชีวิตไม่ยุ่ง ไม่มีความเครียดหรือกดดันเกินไป หากชีวิตเรายังมีปัญหาอยู่ อาจมีปัญหากระทบต่อความสัมพันธ์ได้
เปิดใจอย่างไร เมื่ออยากเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่
เมื่อไหร่ที่เจอคนที่ใช่ ใจเราจะเปิดเอง พร้อมที่จะก้าวจากเซฟโซนตัวเอง คนที่ใช่คือคนที่ปลอดภัยสำหรับจิตใจเราด้วยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นคนโสดอย่างมีความสุขหรือโสดอย่างเหงาๆ ควรมีความสุขจากตัวเองให้เป็น และเริ่มต้นเปิดใจกับคนที่ใช่จริงๆ
กล้าที่จะเป็นตัวเอง มีความสัมพันธ์เมื่อพร้อม ถึงยังไม่เจอคนที่ใช่ ก็ไม่เป็นไร เรามีความสุขกับการเป็นโสดได้เสมอ
มูเตลู เกี่ยวข้องกับทางจิตวิทยาคือการทำงานกับจิตใจ การมีที่พึ่งทางใจ การมูเตลูทำงานคล้ายกับจิตวิทยาที่ช่วยดูแลจิตใจได้
ทำไมหลาย ๆ คนถึงเลือกไปหาหมอดู
การไปเจอหมอดูอาจเป็นความสะดวก รวดเร็วและใช้เวลาไม่นานสามารถทำให้เราสบายใจมากขึ้นได้
วิธีจัดการปัญหาของหมอดูและนักจิตวิทยา
หมอดูช่วยจัดการปัญหาตามขั้นตอนจากศาสตร์ที่เรียนมา ว่าควรจัดการปัญหาอย่างไรบ้าง ต้องทำอะไรต่อไป
แต่กระบวนการของนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ใช้หลักการแก้ปัญหาตามความจริง
ที่เผชิญ ต้องใช้ระยะเวลาในการสำรวจจิตใจ เรียนรู้จิตใจ และตัดสินใจแก้ไขด้วยตัวเอง
การไปหาหมอดูไม่ใช่เรื่องแย่หากช่วยเป็นที่พึ่งทางใจทำให้ใช้ชีวิตต่อไปได้
แต่ถ้าหากไปหาหมอดูแล้วปัญหายังอยู่เหมือนเดิม อาจลองเปลี่ยนวิธีเพื่อมาพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ก็เป็นทางเลือกอีกทางได้เช่นกัน
มูเตลู อย่างไรไม่ให้กระทบกับชีวิต?
การไปพบหมอดูหรือการมูเตลูควรอยู่ในพื้นฐานความพอดี หากหมอดูทักว่าเรื่องที่ทำเป็นเรื่องอันตราย ลองกลับมาประเมินก่อน ว่าเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน
และจะจัดการป้องกันความอันตรายได้หรือไม่ เราสามารถใช้ความเชื่อจากการมูเตลูมาป้องกันและระมัดระวังตัวเองจากเรื่องอันตรายได้ โดยอยู่ในพื้นฐานความจริงที่ไม่กังวลมากเกินไป
จะมูเตลูอย่างไรไม่ให้กระทบต่อความสัมพันธ์?
หากเราเชื่อในคำพูดของหมอดูก็แสดงออกได้ว่าความสัมพันธ์อยู่ในความไม่มั่นคง
มีเรื่องที่ไม่มั่นใจเกิดขึ้น บางความคิดของเราก็อาจไม่ใช่เรื่องจริง ลองฝึกตั้งคำถามในสิ่งที่เราคิด ก็สามารถทำให้เรามีการไตร่ตรองมากขึ้น
ควรรีเช็คตัวเองอย่างไร?
เราควรรู้สาเหตุของการนำเรามาพบหมอดูหรือนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ ว่าต้นเหตุคือเรื่องอะไร การรู้สาเหตุเหมือนเป็นการย้ำเตือนตัวเอง
ถึงปัญหาที่เราต้องการหาทางออกและสุดท้ายความสบายใจที่เกิดขึ้นมาจากการจัดการกับปัญหา
มูเตลูที่ส่งผลต่อตัวเองและคนรอบข้าง ควรสื่อสารและเตือนคนรอบข้างอย่างไร?
เตือนผ่านความเป็นจริง สะท้อนถึงการมูเตลูและความเชื่อของเขาทำให้เกิดผลกระทบต่อเขาอย่างไรบ้าง
เราไม่สามารถบังคับให้เขาลดความเชื่อได้ แต่เราสามารถบอกปัญหาที่กระทบต่อเขาและคนรอบข้างได้
และไม่คาดหวังว่าเขาจะเปลี่ยนความเชื่อ เพราะความคิดและความเชื่อเป็นเรื่องของแต่ละคน มีมุมมองที่ต่างกัน
เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า เราจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไรบ้าง และเราจะดูแลตัวของเราอย่างไรดี
ความยากของการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า
ความยากมีระดับความยากที่แตกต่างกัน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นแฟน เพื่อน หรือ คนในครอบครัว
อาจมีความสับสนเกิดขึ้นในจิตใจแบ่งเป็นสองข้างคือเราต้องดูแลผู้ป่วย เพราะเป็นโรคซึมเศร้าแต่เราก็ไม่โอเคกับบางพฤติกรรมที่มาจากการป่วยของเขาเลย เช่น การที่เขาหงุดหงิดใส่
หรือ การที่เขาไล่ให้เราไปไกล ๆ แต่ทั้งหมดอยากให้เราทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้อยากที่จะทำพฤติกรรมแบบนั้น บางพฤติกรรมส่งผลมาจากสารเคมีในสมองเวลาป่วย
แต่ก็เป็นความรู้สึกแย่ของผู้ดูแลถึงแม้จะเข้าใจ แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึกของผู้ดูแล
ดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างไร?
การดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องยากที่จะดูแลได้ทั้งหมด พยายามไม่กดดันตัวเอง และคาดหวังว่าตัวเองจะต้องดูแลผู้ป่วยให้หายดีได้ในทันที ไม่แบกรับทุกอย่างไว้คนเดียว
เราที่เป็นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เราเลือกที่จะรับฟังเขาอยากตั้งใจ เข้าใจปัญหาที่เขาเผชิญและไม่ตัดสินปัญหาของเขาผ่านมุมตัวเอง ควรมีผู้เชี่ยวชาญดูแลควบคู่กับการดูแลผู้ป่วย
คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ในการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีอาการและรายละเอียดแตกต่างกัน คำพูดบางคำอาจมีผลกระทบที่รุนแรงหรือเฉย ๆ ไม่รู้สึกอะไร
เมื่อเรารู้สึกกังวลใจ อยากดูแลจิตใจผู้ป่วย เราสามารถเปิดใจคุยกับเขาตามตรงได้ ว่าเรารับรู้ความรู้สึกของเขาที่เขาดูเศร้าหรือเสียใจ
บางคำพูดหรือจุดประสงค์ของเราอาจจะไม่ตรงกับที่เขาต้องการ หากเขาต้องการให้ช่วยอย่างไรบอกกับเราได้ เราจะคอยซัพพอร์ตเขาเสมอ
เพียงแค่เราแสดงออกว่าห่วงใยและเข้าหาเขาในช่วงเวลาที่เขารู้สึกแย่ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่เราช่วยเหลือเขาได้และเขาไม่ได้โดดเดี่ยวคนเดียว
ความโดดเดี่ยวเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วยซึมเศร้า
การแสดงออกว่าเรารับรู้ถึงความรู้สึกของผู้ป่วย รับฟังสิ่งที่เขารู้สึกก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้เขาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวคนเดียว
การมีคนที่พร้อมรับฟังในเวลาที่เขาต้องการ ทำให้ความโดดเดี่ยวเบาบางลงได้ การสื่อสารสำคัญมากบอกความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใจกันได้มากขึ้น
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
การโฟกัสและให้ความสำคัญกับผู้ป่วยตลอดเวลา อาจทำให้เราละเลยความรู้สึกของตัวเองไป
การพยายามทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก็สามารถทำให้เราหมดไฟ รู้สึกแย่กับตัวเองและหลงลืมการดูแลตัวเองไป
ลองเริ่มแบ่งขอบเขตให้กับตัวเองอย่างชัดเจน อาจไม่ต้องใช้เวลามากแค่ช่วงเวลาเล็ก ๆ ที่เราสามารถแบ่งกลับมาให้ตัวเองได้ลองกลับมาตั้งคำถามกับตัวเอง
ว่าเราต้องการอะไร วันนี้อยากทำอะไร มีสิ่งไหนที่สามารถเติมเต็มความต้องการของตัวเองได้บ้าง ให้ช่วงเวลานั้นหันกลับมาโฟกัสตัวเองและใส่ใจตัวเองบ้าง
เราดูแลคนอื่นได้แต่อย่าลืมดูแลตัวเองไปพร้อมๆกัน 🙂
ความกังวล ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เป็นเหมือนสัญชาตญาณช่วยป้องกันอันตราย
ความกังวลเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรมี หากไม่มีความกังวลเลยเราก็จะไม่กลัวอะไร อาจทำให้เราไม่ระวังตัวในเรื่องที่อันตราย
ประโยชน์จาก ความกังวล
ความกังวลที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์สอนให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เรียนรู้ว่าความกังวลทำให้เรามองเห็นสิ่งที่อยู่ในใจเราชัดมากขึ้น
เราเลือกที่จะเรียนรู้ทำความรู้จักกับความกังวลและเรียนรู้การได้แก้ปัญหาจากเรื่องที่เรากังวลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเรา ทำให้เราได้ประโยชน์จากความกังวลของตัวเอง
เพราะอะไรทำให้ระดับความกังวลถึงแตกต่างกัน?
มี 3 ปัจจัย
- การเติบโตและประสบการณ์มีผลต่อความกังวลที่แตกต่างกันได้
บางคนมีความกังวลจะรู้สึกไม่แน่นอนเพราะประสบการณ์ชีวิตมีแต่เรื่องที่ไม่แน่นอน ไม่ชัดเจน การเลี้ยงดูในวัยเด็กที่คาดเดาไม่ได้ ทำให้เราไม่มั่นคงในจิตใจส่งผลทำให้มีความกังวลอยู่เสมอ
- ความคาดหวังว่าทุกอย่างจะผิดพลาดไม่ได้
ส่งผลให้มีความกังวลมากกว่าปกติ การคิดวางแผนให้กับทุกเรื่องจะทำให้ไม่มีสิ่งที่ผิดพลาดแต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ
- การพยายามควบคุมทุกอย่างส่งผลให้เกิดความกังวลกับตัวเองว่าเราต้องรับผิดชอบทุกอย่าง หากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่ควบคุมจะเกิดอันตรายกับตัวเอง
บางคนมีความยืดหยุ่นให้กับตัวเอง สามารถยอมรับความไม่แน่นอนได้ เข้าใจว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นสามารถทำให้มีความกังวลไม่เท่ากัน
ความกังวลนำไปสู่ โรคทางจิตเวช ได้หรือไม่?
ความกังวลที่ไม่สามารถประเมินผลได้ การมีความกังวลมากเกินไปส่งผลต่อชีวิตประจำวัน สามารถนำไปสู่โรคทางจิตเวชได้
หากรู้สึกว่ามีการประเมินตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง เริ่มหนีปัญหา เก็บตัวอยู่กับตัวเอง อาจบ่งบอกได้ว่าเราควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการรักษากับผู้เชี่ยวชาญ
การรักษามี 2 รูปแบบ
- การใช้ยา จิตแพทย์ประเมินความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่มีอาการ แนวโน้วการรักษาหากทานยาร่วมด้วยก็อาจทำให้จัดการได้ดีขึ้นการบำบัด
- จิตแพทย์มีการประเมินว่าเราสามารถจัดการตัวเองได้ อาจต้องมีนักจิตวิทยาเป็นผู้แนะนำในการบำบัดว่าควรจัดการกับความกังวลอย่างไรบ้าง หรืออาจประเมินแล้วว่าสามารถรักษาควบคู่กันได้
วิธีรับมือกับความกังวลในชีวิตประจำวัน
ค่อย ๆ ทำความเข้าใจกับความกังวลที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องอะไร มีเหตุผลในการแก้ไขเรื่องที่เรากังวลอย่างไร
ฝึกการคิดเชื่อมโยงความกังวล บางครั้งความเครียดก็เป็นความกังวลและความกลัวได้ เริ่มรู้เท่าทันว่าตัวเรากำลังมีความกังวลนะ
มีการตั้งคำถามว่าเราจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างไรต่อไป ก็สามารถป้องกันความกังวลได้ดีขึ้น
บางครั้งความคิดกังวลที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงความคิดที่อาจจริงหรือไม่จริง
เรามีความกังวลเกิดขึ้นได้แต่อยู่ในความพอดี รู้เท่าทันความคิดของตัวเองว่าคิดกังวลเรื่องอะไร บางครั้งการคิดว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด เรายอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็ช่วยให้เราเข้าใจความกังวลได้
คนมีเพื่อนน้อย ทำไมยิ่งเติบโตคนรู้จักในวัยเด็ก วัยรุ่น ถึงหายไปตาลกาลเวลา ?
ยิ่งโต ยิ่งมีเพื่อนน้อยลง
การที่เรามีอายุมากขึ้น เพื่อนลดน้อยลงเป็นเรื่องปกติ เมื่อมีสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ ความชอบใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนก็แคบลง
การที่เพื่อนสนิทมีน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าเราแปลกหรือแตกต่างจากคนอื่น
ไม่มีเพื่อน การขาด Social Support
อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจทำให้รู้สึกขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ รู้สึกล้มเหลว
การมีเพื่อนคอยทำกิจกรรมร่วมกันทำให้เรารู้สึกสนุก รู้สึกปลอดภัย
การไม่มีเพื่อนทำให้ความมั่นคงลดลง ไม่มั่นใจในตัวเอง
Social Support ไม่ใช่เพื่อนเสมอไป อาจเป็นครอบครัว ศิลปินดาราที่ชื่นชอบก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยขับเคลื่อนชีวิตได้เช่นกัน
วิธีรับมือเมื่อต้อง “สูญเสียเพื่อน”
การที่เราไม่สนิทกับเพื่อนเหมือนเดิมคล้ายกับอาการอกหัก ความสัมพันธ์ไม่มีความยั่งยืนเสมอไป
ทำความเข้าใจในเหตุผลที่เพื่อนแยกจากเรา เพื่อนอาจมีเหตุผลคือการมีความคิด มีประสบการณ์กับสังคมที่แตกต่างจากเรา
เปิดใจยอมรับเมื่อเจอกับความเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมในความสัมพันธ์เพื่อน ช่วงแรกเราอาจจะยอมรับไม่ได้ โกรธ โมโห
ในการรับมือสิ่งสำคัญที่สุดคือการยอมรับเหตุผลของเพื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าจะไม่เหมือนเดิมแต่เรายังเป็นเพื่อนกันได้เสมอ
สร้างความสัมพันธ์ใหม่อย่างไร
เริ่มจากชัดเจนกับความต้องการของตัวเองว่าต้องการเพื่อนแบบไหน คนที่จริงใจ คนที่คุยกันได้ทุกเรื่อง
จริง ๆ คนที่เราต้องการอาจอยู่เคียงข้างเรามาตลอดบางทีสิ่งที่เราอยากมี อาจทำให้เราเผลอมองข้ามหรือคิดว่าตัวเองไม่มีเพื่อน
หากเราลองสำรวจรอบข้างแล้วว่ายังมีคนที่หวังดีกับเรา คนที่พร้อมรับฟังเราเสมอ เรากลับมาให้ความสำคัญกับเขาก่อนได้
หากไม่มีจริง ๆ เราลองออกจาก Comfort zone ของตัวเองก่อน ไม่ปิดกั้นตัวเอง มองหาคนที่เรารู้สึกสบายใจหรือมีอะไรคล้ายกัน
อาจทำให้เราสบายใจที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ได้มากขึ้น 🙂
ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีใครซัพพอร์ตแต่เรายังมีตัวเอง กลับมาสำรวจตัวเราว่าทำอะไรแล้วมีความสุข รู้สึกสบายใจ
การทำกิจกรรมง่าย ๆ ที่ทำให้เรามีความสุขได้ด้วยตัวเองช่วยทำให้ ผ่อนคลายและลดการโฟกัสการหาคนอื่นมาซัพพอร์ตความรู้สึกตัวเองได้
ลองใจดีกับตัวเอง ภูมิใจในตัวเองจากสิ่งเล็ก ๆ ที่ทำด้วยตัวเอง ก็ทำให้รู้ว่าโลกไม่ได้ใจร้ายกับเราขนาดนั้น
เคยสังเกตเห็นพฤติกรรมตัวเองกันไหม เวลาเราเจออะไรซักพัก มองอะไรซักพัก เราเหมือนถูกสะกดจิต
เช่น มีเพลงฮิตหนึ่งเพลง เป็นแนวเพลงที่โดยปกติจะไม่ฟัง แต่พอฟังได้บ่อย ๆ เพราะได้ยินคนอื่นเปิดก็ชอบเพลงนั้นไปเลย
หรือ การที่เราอยากจะกินอาหารที่เราไม่ชอบกิน แต่เห็นผ่านสื่อบ่อย ๆ วันนี้เห็นซื้อกินดีกว่า
ทำความรู้จักกับ Mere-Exposure Effect คุ้นเคยกับอะไรแล้ว ไม่อยากเปลี่ยนใจ ชอบแล้ว ชอบเลย ชอบตลอดไป
Mere-Exposure Effect
Mere-Exposure Effect เป็นกลไกจิตใจที่เกิดขึ้น เมื่อคนเราได้รับรู้ เช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้พบสิ่งนั้นมาก่อน
เราจะมีแนวโน้มที่จะยอมรับสิ่งนั้นได้ง่าย หรือไม่ก็ชอบไปเลย โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจสิ่งนั้นอย่างลึกซึ้ง เรียกว่าแค่คุ้น ๆ ก็มีใจให้แล้ว โดยความคุ้นที่ว่านั้นเราอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ได้
คุณ Daniel Kahneman นักวิจัยและนักเขียนหนังสือชื่อดังอย่าง Thinking, Fast and Slow เคยกล่าวไว้ว่า วิธีที่จะสร้างความน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะจริง หรือเท็จ คือการพูดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เพราะความคุ้นเคยนั้นแยกความแตกต่างจากความจริงไม่ได้ง่าย ๆ”
เหมือนกับการที่เรากินอาหารร้านเดิม เมนูเดิม ฟังเพลงเดิม ดูหนังเรื่องเดิมได้ซ้ำ ๆ ไม่เบื่อ แม้คนอื่นจะถามเราว่าไม่เบื่อหรอ
ที่มา
1960s Robert Zajonc นักจิตวิทยาสังคม ชาวอเมริกัน เชื้อสายโปแลนด์
ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ University of Michigan ได้ทำการศึกษาถึงปรากฏการณ์นี้ และพบว่า …
การทดลองฉายภาพตัวอักษรญี่ปุ่น Hirakana บางตัวให้คนที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นดู โดยการฉายนั้นแต่ละตัวอักษรจะปรากฏเพียง 1 ใน 30 วินาทีเท่านั้น
แน่นอนว่าสายตาคนมองไม่ทัน แต่เมื่อนำตัวอักษร Hirakana ต่าง ๆ มาให้คนดู ก็พบว่า คนมักจะเลือกตัวอักษรที่ถูกฉายให้ดูแล้วมากกว่า
จึงไม่ต้องสงสัยว่า เมื่อคนเราได้รับรู้หรือมี Exposure กับสิ่งต่าง ๆ นานกว่า 1 ใน 30 วินาที ความคุ้นเคยจะยิ่งมีมากกว่า และตามมาด้วยการยอมรับโดยไม่ยาก
มีการทดลองมากมายเกี่ยวกับ Mere-Exposure Effect เช่น เอาคนแปลกหน้าเดินผ่านเข้าไปในห้องทดลอง
ต่อมาให้คนแปลกหน้านี้มาขอความช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในห้อง โดยขอให้ช่วยตรวจอ่านข้อความที่เขาเขียนหน่อย ผลคือมีคนยอมช่วยถึง 50%
ในขณะที่ถ้าลองให้คนแปลกหน้านั้น ปรากฏตัวเดินเข้ามาขอความช่วยเหลือ โดยไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนจะมีคนยอมช่วยเพียงไม่ถึง 20%
ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
- โฆษณา
ทำไมเวลาเราเห็นโฆษณาที่สินค้าซ้ำ ๆ Ad ที่รันมาซ้ำ ๆ จะสร้างความไม่ชอบหรือรำคาญพอไปนาน ๆ เราจะรู้สึกชอบหรือซื้อตาม
- ดนตรี
ทำไมเรามักจะชอบเพลงที่เราเคยได้ยินมาก่อนมากกว่าเพลงใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยได้ยิน แต่เพลงนั้นดันแมสแล้วเราได้ยินบ่อย ๆ
ตามที่สาธารณะแล้วเนื้อเพลงทำนองก็มาวนเวียนในหัวเราจนเราเผลอหลุดร้องออกมาไม่รู้ตัวแล้วบางครั้งก็พัฒนามาเป็นความชอบ
- ความรัก
การที่เราได้ใช้เวลากับใครสักคนมากขึ้น เราจะพบว่าทำไมเขาถึงมีเสน่ห์มากขึ้นบางครั้งก็เป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงเริ่มชอบหรือตกหลุมรักคนใกล้ตัวเรา
เพื่อนสนิท เพื่อนที่ทำงาน เราสามารถนอกจากนี้แล้วเรายังใช้ประโยชน์จาก Mere-Exposure Effect ได้ในเรื่องความรัก
การที่เราได้ใช้เวลากับคนที่เราชอบบ่อย ๆ จะทำให้เขารู้สึกผูกพันกับเรามากขึ้น
- สินค้า
คนมักจะซื้อสินค้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพราะความคุ้นเคยกับสินค้าเหล่านั้น ไม่ใช่เพราะเป็นสินค้าที่ดีที่สุดหรือเพราะพอใจกับสินค้านั้น
- การตลาด
Anthony Grimes ศาสตราจารย์วิชาการตลาด มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ เปิดเผยว่า การที่เราได้เห็นโฆษณาบางตัวเพียงแค่ครั้งเดียวก็ถือว่ามีผลแล้ว
และยิ่งได้เห็นบ่อยครั้งหลักจิตวิทยา Mere Exposure Effect ก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
Mere-Exposure Effect แย่ไหม?
Mere-Exposure Effect มีทั้งในแง่ดีและไม่ดีถ้าในแง่ดี ก็จะเป็นเรื่องของการตลาดที่เราเห็นอะไรบ่อย ๆ เราจะคุ้นชิน
อาจจะทำให้เราซื้อสินค้าเหล่านั้นได้มากกว่าสินค้าที่เราไม่เคยเห็น หรือความสัมพันธ์กับผู้คนที่เราได้ใช้เวลาร่วมกันบ่อย ๆ สถานที่ที่เดิม ๆ
ที่ไปแล้วเรารู้สึกดีแต่ในทางที่ไม่ดีคงจะเป็นเรื่อง Comfort Zone เมื่อเราติดอยู่กับอะไรเดิม ๆ ที่เราชอบและสบายใจ คงทำให้เราไม่อยากมองสิ่งใหม่ที่อาจจะดีกว่าเดิม
อาจจะพลาดโอกาส ข้อมูล หรือประสบการณ์อะไรใหม่ๆ
ถึง Mere-Exposure Effect จะไม่ได้ถึงกับไม่ดีแต่ถ้าเราจากหลีกเลี่ยงเราจะทำยังไงได้บ้าง เพราะบางทีผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ก็รบกวนการตัดสินใจ
- หากเรารู้ว่าเรากำลังติดอยู่กับกับดักอะไรเดิม ๆ เช่น เพลงเดิม หนังเรื่องเดิม ร้านข้าวร้านเดิม เมื่อเรารู้แบบนั้นแล้วเราพยายามที่จะชอบอะไรเดิม ๆ อยู่ไหม เรามีความสุขกับแบบเดิมจริงไหม ลองฟังเสียงตัวเองให้มากเพื่อเปิดโอกาสสิ่งใหม่
- ท้าทายตัวเองออกจาก Comfort Zone ออกจากสิ่งเดิมที่เคยยึดติด เริ่มแรกอาจเป็นไปร้านเดิม แต่ลองสั่งเมนูใหม่ ฟังเพลงจากศิลปินคนเดิมแต่ลองฟังเพลงอื่น ๆ ในลิสต์บ้าง อาจจะทำให้เราเจอประสบการณ์ ด้านอาหาร แนวเพลงใหม่ ๆ ด้วย
- พักจากลูปเดิม ๆ แน่นอนว่าลูปเดิมย่อมเหมือนที่เซฟใจทำให้เรามีความสุข แต่บางครั้งเราก็ต้องปรับเปลี่ยนบ้าง ลองออกไปกิจกรรมใหม่ ๆ ทำ บางสิ่งที่เราคิดว่าชอบแต่พอได้ทำอะไรใหม่ ๆ เราอาจจะกลับมามีแรงเติมไฟให้เราอีกครั้ง
Mere-Exposure Effect คนเราชอบสิ่งที่คุ้นเคยเป็นข้อความง่าย ๆ ที่เราหลงลืม ยกตัวอย่าง คนเรามักไม่ชอบรูปตัวเองในกระจก
เหตุเพราะเราไม่คุ้นเคยกับการมองตัวเองอยู่ก่อนแล้ว ไม่นับว่าไม่มีทางเลยที่คนเราจะเห็นใบหน้าหรือรูปร่างตัวเองได้ทั้งหมดผ่านกระจกเงา
ในขณะที่คนอื่นมองเห็นร่างกายและใบหน้าของเราทั้งหมดได้มากกว่าและคุ้นเคยกว่า ถึงวันนี้ปรากฏการณ์นี้ยิ่งเห็นเด่นชัด
ทุกครั้งที่เราถ่ายรูปเรามักไม่พอใจภาพที่ออกมา ในขณะที่คนอื่นจะพูดว่าเธอก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว
แม้กระทั่งเรื่องเสียง คนเราไม่ได้ยินเสียงของตัวเองตามที่เป็นจริงเพราะเสียงบางส่วนผ่านกะโหลกศีรษะออกมาด้วย เ
ราจึงมักประท้วงว่าเสียงของเราในเครื่องบันทึกเทปไม่ตรงกับเสียงของเราที่แท้จริง แต่คนที่ฟังจะบอกว่าเสียงของเธอก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว
ที่มา :
Mere Exposure Effect ทำไมยิ่งเห็นหรือได้ยินอะไรบ่อยๆ ถึงเริ่มชอบสิ่งนั้น
Mere Exposure Effect: How Familiarity Breeds Attraction
” Live in Peace ไม่เป็นบ้าไปกับโลก ” หนังสือที่เหมาะกับการอ่านในวันที่เหนื่อยล้าและสับสน เขียนโดย นิ้วกลม
อย่าให้ตัวเราเป็นบ้าไปกับโลกใบนี้ ในปัจจุบันโลกเราก็หมุนเท่าเดิมแต่สิ่งรอบตัวเราต่างหากที่เปลี่ยนไปไว ทำให้เรารู้สึกเบื่อโลกบ้าง ท้อแท้บ้าง
ทำไมโลกใบนี้มันใจร้ายกับเราจังเลย แต่หนังสือเล่มนี้ได้ก็ได้เตือนสติของเราไว้ว่า ตัวของเราไม่สามารถหาความหมายในการหายใจบนโลกใบนี้ได้นานเท่าไหร่หรอก
เพราะเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราจะมีชีวิตอยู่อย่างยาวนานขนาดไหน แต่อย่างน้อย การที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้
ได้มีโอกาสกอดคนที่เรารัก ได้ฟังเพลงเพราะ ๆ ได้กินอาหารที่เราชอบ ก็เป็นเรื่องเพียงพอต่อการขอบคุณที่ยังมีชีวิตอยู่แล้ว 🙂
ความรู้สึก “โลกเป็นโรค”
หนังสือได้เกริ่นเป็นคำถาม ให้เราลองคิดว่าเราจะอยู่ยังไงถ้าโลกที่เราอยู่ ตื่นมาก็เจอเรื่องน่าเครียดจากโซเชียล ข่าวที่ชวนให้คิดมาก
ออกมาจากบ้านก็เจอรถติด คนบีบแตร หรือคนที่ตะโกนด่าทอกัน ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับตัวของเราเองก็สามารถทำให้เราเครียดได้ใช่ไหม?
เรื่องน่าชวนเครียดเหล่านั้นหนังสือได้ไว้ว่า เป็นความเครียดปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามาถควบคุมได้ . . .
ทำความรู้จักเพื่อนสนิทที่ชื่อว่า ‘ความเครียด’ เราทุกคนมีความเครียดภายในมากกว่าที่ตัวเองคาดคิด น้อยคนจะยอมรับว่าตัวเองเครียด
หรือบางคนอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเรากำลังมีเรื่องเครียดอยู่เหมือนกัน
ความเครียดเป็นคำที่ครอบคลุมหมายถึงการมีภาวะอารมณ์และความคิดที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่มีผลทำร้ายอวัยวะต่างๆ ในระยะยาวโดยไม่จำเป็น
คุณหมอโอ คาล ไซมอน ตั้งสมมุติฐานว่า ความเครียดเป็นจุดเริ่มต้นและมีผลต่อการเติบโตของมะเร็ง เพราะมะเร็งเกิดจากความอ่อนแอและเสียสมดุลของร่างกาย
ความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และบางครั้งการที่เราแสดงออกว่าเรากำลังเครียดอยู่ออกมา
ภายในความเครียดนั้นอาจจะมีอะไรบางอย่างแฝงอยู่ เช่น อารมณ์โกรธ เศร้า เสียใจ
ฟังแล้วดูเครียดกว่าเดิมไหม?
พอเรารู้อย่างนี้แล้วเราไม่อยากเครียดเลยจะทำได้ไหม?
ความรู้สึกที่ว่า เราควบคุมชีวิตตัวเองได้ เป็นอะไรที่น่าสนใจนะ . .
เรากำลังรู้สึกว่าตัวของเราเองกำลังถูกควบคุมจากปัจจัยภายนอกอยู่รึป่าว? ไม่ว่าจะเป็นการที่ถูกบงการโดยคนอื่น สังคม ที่ทำงาน ครอบครัว
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยภายนอกมีผลกับตัวเรามาก ๆ หลายอย่างความไม่ยุติธรรมบนโลกที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์มากที่เราควบคุมความเครียดไม่ค่อยได้
หนังสือก็ให้เราตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ตอนที่เรากำลังเครียดอยู่ เรากำลังเครียดจากอะไร และอะไรบ้างที่เราเครียดเกินความจำเป็นหรือเปล่า สาเหตุที่ความเครียดเหล่านั้นที่เข้ามากระทบเราคืออะไร เราสามาถควบคุมได้ไหมเป็นความเครียดที่มาจากตัวเราเองล้วนๆ หรือสิ่งอื่นที่เข้ามากระทบตัวเรา”
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีคำตอบว่าเราทำยังไงถึงเราจะหายเครียดได้เลย แต่คำถามที่กล่าวไปข้างต้นก็ทำให้ตกตะกอนกับตัวเอง
ว่าสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเครียดมันมาจากอะไร บางครั้งเราแก้ปัญหาทีปลายเหตุแต่เราไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ความเครียดเหล่านั้นมันก็จะไม่หายไปอยู่ดี . . .
ประโยคจากที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน
บนโลกของความเป็นจริงเราไม่สามารถทำอะไรทุกอย่างได้ดั่งใจเราได้หรอก สิ่งที่เราคาดหวัง สิ่งที่เราอยากให้เป็น ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อย
ก็มีเปอร์เซ็นที่เราจะผิดหวังได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีให้เต็มที่ ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้
ถ้าหากว่ามันผิดหวังก็ไม่เป็นไรเพราะเราก็คือมนุษย์คนนึงที่ความผิดหวังพร้อมจะเข้ามาทักทายตัวเราเสมอเหมือนกัน
เคยไหมที่เราเห็นคนที่มี อารมณ์ขัน แล้วเรารู้สึกว่าทำไมเขาเป็นคนที่น่าเข้าหาจัง
อยากเข้าไปทำความรู้จักพูดคุยด้วย หรือบางทีเราก็อยากเป็นแบบนั้นบ้างที่คอยสร้างเสียหัวเราะและรอยยิ้มให้กับคนอื่น ๆ
ทำความรู้จักกับอารมณ์ขัน พอกล่าวถึงอารมณ์ขันอาจจะคิดว่าต้องมีแต่แง่ดีแต่จริง ๆ อารมณ์ขันก็เหมือนอารมณ์ทั่วไปที่มีทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
อารมณ์ขัน สำคัญไหม?
The human race has one really effective weapon, and that is laughter. เผ่าพันธุ์ของมนุษย์มีอาวุธที่มีประสิทธิภาพนั่นก็คือ เสียงหัวเราะ – Mark twain
ลองนึกภาพถ้าวันนึงโลกของเราไม่มีเสียงหัวเราะ โลกที่ไร้อารมณ์ขัน ทุกคนไม่ได้หัวเราะ โลกของเราจะเป็นยังไง แค่นึกก็ดูเศร้า ดูหดหู่ ดูตึงเครียดเหมือนกันไหม
Sense Of Humor เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นได้ และมีแนวโน้มว่าคนตลกมักจะมี IQs สูงกว่าปกติ
เป็นความฉลาดทางสมองที่ควบคู่ไปกับความเฉียบคมทางอารมณ์ อย่างคนที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่น่าอึดอัด
ให้ผ่อนคลายลงได้ด้วยเรื่องตลก ล้วนเป็นคนที่ใช้อารมณ์ขันและปัญญาได้อย่างเฉียบคมทั้งสิ้น ความตลกจึงไม่ใช่แค่เสน่ห์แต่เป็นทักษะในการใช้ชีวิต และเข้าสังคมด้วย
อารมณ์ขันในแง่บวก
- อารมณ์ขันแบบเป็นกันเอง
อารมณ์ขันที่สร้างบรรยากาศให้ตัวเองและคนรอบข้างมีการละลายพฤติกรรมในทางที่ดี เรื่องตลกที่ไม่ใช่เรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้ตัวเองและคนอื่น
มุกตลกหรือการเล่าเรื่องอารมณ์ขันอาจจะมาจากตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่เรายอมรับได้ ไม่เสียดสีตัวเอง หรือเรื่องคนอื่นที่ไม่เสียหายเดือดร้อน
ลักษณะร่วมของคนมีอารมณ์ขันแบบเป็นกันเองที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน คือ ชอบพบปะคน ชอบเข้าสังคม ไม่รู้สึกเคอะเขินเมื่อต้องทำความรู้จักคนใหม่ๆ
ที่สำคัญที่สุด ไม่เพียงเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) แต่เห็นคุณค่าในตัวคนทุกคน เคารพและให้เกียรติทุกคนเท่ากัน
- อารมณ์ขันแบบส่งเสริมตัวเอง
ลักษณะของคนที่มีอารมณ์ขันแบบส่งเสริมตนเอง คือ เป็นคนที่ปรับตัวง่ายและยืดหยุ่น ถึงจะมองโลกตามความเป็นจริง แต่ไม่ลืมมองหาด้านดีในทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว
พร้อมส่งต่อพลังบวกให้กับคนรอบข้าง รู้จักพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มองความยากลำบากเป็นเรื่องท้าทายมากกว่าภัยคุกคาม
คงจะคล้าย ๆ กับการมองโลกในแง่บวกแต่จะเป็นการมองโลกในความเป็นจริงไปด้วย เป็นการใช้อารมณ์ทางบวกเพื่อลดความเครียด
อารมณ์ขันในแง่ลบ
- อารมณ์ขันแบบก้าวร้าว
อารมณ์ขันแบบก้าวร้าวคือการที่เราเอาปมด้อยคนอื่นมาหยอกล้อ หรือทำให้บุคคลรอบข้างไม่สบายใจ การหัวเราะ เยาะเย้ย โดยไม่สนใจว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกยังไง
เป็นการระบายอารมณ์ให้ตัวเองรู้สึกดีแต่คนอื่นรู้สึกแย่ เช่น รายการเอามุกตลกมาเล่นในเชิง Bully ซึ่งในรายการฝ่ายที่โดนล้อเขาอาจจะโอเคจริงๆ หรือเปล่า
เราไม่รู้แต่ว่าในปัจจุบันเราสามารถสร้างความตลก อารมณ์ขันในการสร้างสรรค์โดยที่ไม่เอาปมหรือสิ่งนั้นมาพูดทำร้ายคนอื่น
คนที่มีอารมณ์ขันแบบก้าวร้าวจึงถูกตัดสินว่าเป็นคนไม่มีมารยาทและนิสัยเสีย ถึงกล้าเล่นมุกตลกน่ารังเกียจโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ
ต่อให้มีคนห้ามปรามหรือเตือนด้วยความหวังดี ก็มักแสดงท่าทีแข็งกร้าวไม่รับฟัง เพราะเป็นคนหัวรั้น เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
และไม่เคยนึกถึงใจเขาใจเรา จึงมุ่งร้ายต่อผู้อื่นได้อย่างหน้าตาเฉยและไม่เคยรู้สึกผิด
- อารมณ์ขันแบบล้อเลียนตัวเอง
การพูดใช้อารมณ์ขันพูดสบประมาทตัวเองในทางลบ เพื่อพยายามสร้างความสนุกสนานให้กับคนอื่นโดยใช้เรื่องของตัวเอง เหมือนประโยคที่ว่า ‘เล่นตัวเองเจ็บน้อยที่สุด’
แต่จริง ๆ แล้วอาจเจ็บมากก็ได้ ซึ่งอารมณ์ขันแบบล้อเลียนตัวเองผู้ที่ใช้แนวทางนี้บ่อยครั้งอาจจะมีความรู้สึกในทางลบ
เช่น ซึมเศร้า มีความกังวล มีความไม่มั่นใจ เลยเล่นตลกในเชิงนี้เพื่อให้คนอื่นขำในการล้อเลียนตัวเอง
ประโยชน์ของอารมณ์ขัน
- ช่วยลดความเครียด การที่มีอารมณ์ขัน การล้อเล่นสบาย ๆ ในที่ทำงาน ในระหว่างวันจะช่วยทำให้ลดความเครียด ช่วยให้หลุดพ้นจากความกดดันระหว่างวันได้
- การมีอารมณ์ขันจะทำให้การสื่อสารกับคนรอบข้างง่ายมากขึ้น หรือเวลาที่มีเรื่องซีเรียสจริงจังจะคุยกัน สังเกตไหมว่าการที่เราเลือกจะคุยกับใครเราเลือกคนที่มีอารมณ์ขัน ความเป็นกันเอง เพราะเราจะมองว่าคุยกับคนนั้นดูคุยง่ายกว่า
- เสียงหัวเราะที่แบ่งปันทำให้สายสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น และเหมือนเป็นการย้ำเตือนว่าการที่เรายังอยู่ด้วยกันคือการที่เราแบ่งปันเสียงหัวเราะ รอยยิ้มให้กัน
- ช่วยแก้สถานการณ์ หรือปัญหาเฉพาะหน้าได้แบบแยบยล
เราจะฝึกให้มีอารมณ์ขันได้อย่างไรบ้าง
- ฝึกที่จะฟังให้มาก ๆ
ก่อนที่เราจะเป็นคนที่สื่อสารออกไปได้ เราต้องมีสกิลการฟังที่ดี จับใจความเรื่องที่คุย จับบรรยากาศของการพูดคุยนั้นได้
- หมั่นหาความรู้
‘Robin Andrew Haigh’ ผู้เขียนหนังสือ ‘Anatomy of Humor’ ได้อธิบายไว้ว่า คนเราจะมีอารมณ์ขันในเรื่องใดได้ ก็ต้องมีความรู้ทั่วไปในเรื่องนั้น ๆ ก่อน
- สังเกตผู้คน
คนมีอารมณ์ขันจะเข้าใจภาษากายได้ดี และสามารถตรวจจับอารมณ์คนได้ไวจากสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง ซึ่งทักษะนี้เกิดจากการสังเกตทั้งบุคลิกภายใน ทัศนคติ และความชอบของผู้อื่น ทำให้สามารถสร้างอารมณ์ขันได้ถูกที่ถูกเวลาและถูกคน
ที่มา :
Sense of Humor อารมณ์ขันนั้น สำคัญไฉน
Trust issue ความไว้ใจ บางคนต้องเผชิญกับประสบการณ์เชิงลบที่ไม่ดีในอดีต
อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องความไว้ใจ แล้วส่งผลเสียต่อมิตรภาพกับครอบครัว เพื่อน แฟน หรือแม้กระทั่งกับตัวเรา
Trust issue ปัญหาด้านความไว้ใจ
“Trust issue” เป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป เพื่อบ่งชี้เมื่อมีคนแสดงพฤติกรรมที่ไม่ไว้วางใจเป็นนิสัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ความไม่ไว้วางใจถ้าเป็นระยะยาวจะผลต่อชีวิตประจำวัน กับทั้งตัวเราเองและกับความสัมพันธ์รอบตัว
สัญญาณของการขาดความไว้วางใจ
- ตั้งคำถามถึงการกระทำของคนอื่นที่ปฏิบัติกับเรา เป็นเจ้าหนูจำไมแทบทุกเรื่อง
- ถึงแม้ว่าคนอื่นจะใจดีกับเราแต่เราก็สงสัยว่าทำไมเขาถึงใจดีกับเรา เขาต้องการอะไรจากเรากันแน่
- สงสัยไม่แน่ใจในตัวเอง เป็นความสงสัยที่ทำร้ายตัวเอง
- ตีตัวออกห่างจากผู้อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวัง
- Needy Relationship การขัดสนในความสัม เป็นความสัมพันธ์ที่เราต้องการความรักความมั่นใจจากคู่ของเรา ไม่ใช่แค่กับแฟน แต่หมายถึง เพื่อน หรือ ความสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วยโดยความต้องการที่มากเกินกว่าอีกฝ่ายจะให้ได้
- มีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
หวาดระแวง VS ไม่ไว้ใจ
ถ้าเราพูดถึงความไม่ไว้ใจแล้วเหมือนจะมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่คำว่าหวาดระแวง กับ ไม่ไว้ใจ จริง ๆ แล้วสองคำนี้แตกต่างกัน
โดยทั่วไปความไม่ไว้วางใจมีรากฐานมาจากความเป็นจริง เราเคยพบเจอกับบางสิ่งที่ทำให้สงสัยในความน่าเชื่อถือของผู้อื่น
เช่น การที่โดนพ่อแม่โกหก การโดนเพื่อนแกล้ง การโดนนอกใจ แต่ ความหวาดระแวงหมายถึงความสงสัยและความหวาดระแวงอย่างไม่มีเหตุผล รุนแรง
เช่น เคยโดนแฟนเก่านอกใจ ส่งผลให้ระแวงแฟนที่คบอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคนปัจจุบันยังไม่ได้ทำอะไรใช้ชีวิตปกติสุขกับเราแต่เราก็ไประแวงเขาซะอย่างงั้น
Kali Wolken ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่มีใบอนุญาตใน Grand Rapids รัฐมิชิแกนอธิบาย…
“ ความไว้วางใจตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่เรียนรู้ ความหวาดระแวงไม่มีที่มา ด้วยความหวาดระแวง จึงไม่มีหลักฐานสนับสนุนความสงสัยที่เกิดขึ้นกับบุคคลหรือประสบการณ์”
ปัญหาใน Trust issue มาจากไหน?
ประสบการณ์ในวัยเด็ก
ความไว้วางใจเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงแรก ๆ ของชีวิต สังคมแรกที่เราเจอคือสังคมของครอบครัวเราพึ่งพาพ่อแม่
นักจิตวิเคราะห์ เอริค อีริคสัน เรียกช่วงของชีวิตนี้ว่าระยะความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจและเขาเชื่อว่าระยะนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางการพัฒนาในอนาคต
คนที่เติบโตมากับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงที่ให้การสนับสนุนและไว้วางใจได้อาจมีแนวโน้มที่จะเชื่อใจผู้อื่นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าคนที่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจได้ตั้งแต่เนิ่น
คนสำคัญในชีวิตของเราสามารถส่งผลต่อระดับความไว้วางใจของเราในภายหลังได้ ถ้าเราเชื่อใจผู้คนรอบตัวเรา และพวกเขาตอบแทนความไว้วางใจนั้น
เราจะใกล้ชิดกับพวกเขามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากความไว้วางใจนั้นถูกทำลาย เราอาจพบว่าตัวเราเองไว้วางใจผู้อื่นน้อยลงในอนาคต
- ทฤษฎีรูปแบบความผูกพัน
ทฤษฎีรูปแบบความผูกพันแสดงให้เห็นว่าการที่เราผูกพันกับคนที่เราอยู่ด้วยในวัยเด็กส่งผลโดยตรงต่อวิธีสร้างความสัมพันธ์ของเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่
รูปแบบความผูกพันที่ไม่ปลอดภัยคิดว่าเป็นผลมาจากผู้ปกครองที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างเมื่อเราโตขึ้น
เช่น การเลี้ยงดูที่ปล่อยปะละเลย ไม่ใส่ใจ อาจนำไปสู่รูปแบบสัมพันธ์ความผูกพันที่น่ากังวล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความกลัวการละทิ้งในภายหลังในชีวิต
ในปี 2015 การศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ซึ่งสืบสวนความไม่ไว้วางใจในความสัมพันธ์แบบคู่รัก พบว่ารูปแบบความผูกพันเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับความไม่ไว้วางใจในความสัมพันธ์
ไม่ไว้วางใจพฤติกรรมที่คาดการณ์ไว้ เช่น ความหึงหวง ความรุนแรงที่ไม่ใช่ทางกายภาพ การทำร้ายจิตใจ และพฤติกรรมการสอดแนม
- การกลั่นแกล้งหรือการปฏิเสธ
ประสบการณ์ระหว่างบุคคลและสังคมส่งผลต่อความไว้วางใจที่เรามีต่อผู้อื่น การถูกรังแกหรือเผชิญกับการถูกปฏิเสธจากสังคมตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
สามารถนำไปสู่ปัญหาความไว้วางใจได้ หากคนรอบข้างทำร้ายเราซ้ำ ๆ อาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อใจใครเป็นผู้ใหญ่เพราะกลัวว่าเราจะเจ็บอีกครั้ง
- ประสบการณ์ความสัมพันธ์เชิงลบ
ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีทำให้การไว้วางใจผู้อื่นเป็นเรื่องยาก เช่น แฟนที่ใช้ความรุนแรงทางอารมณ์อาจทำให้ยากสำหรับเราที่จะเชื่อใจผู้อื่นในอนาคต
เนื่องจากกลัวว่าพวกเขาจะทำร้ายหรือเอาเปรียบเรา หรือการนอกใจก็เป็นประสบการณ์ที่ไม่คาดคิดจนทำลายความสัมพันธ์ได้เหมือนกัน
- การบาดเจ็บหรือ PTSD
สภาพสุขภาพจิตหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจยังสามารถส่งผลต่อปัญหาความไว้วางใจได้ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อวิธีที่เรามองตัวเองและความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่น
ตัวอย่างเช่น ปัญหาความไว้วางใจอาจแสดงออกมาเป็นอาการของโรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)
สร้างความไว้ใจกลับมาได้ยังไง
การที่จะกลับมาเชื่อใจ วางใจคนอื่นสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องของ Trust issue เป็นเรื่องที่ยาก
แต่วิธีการบางอย่างอาจช่วยให้เราเรียนรู้วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและไว้วางใจได้มากขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
- เริ่มต้นสร้างความไว้วางใจจากเรื่องเล็ก ๆ
มองหาวิธีเล็กๆ น้อยๆ ที่จะไว้วางใจผู้อื่น สิ่งที่จะทำให้เราวางใจคนอื่นได้มากที่สุดก็คือตัวเรา เริ่มจากการผลักดันตัวเองให้เชื่อใจผู้อื่นในปริมาณเล็กน้อย
จนกว่าเราจะสามารถเชื่อใจบางสิ่งที่สำคัญกว่าได้ เมื่อมีคนพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถรับความไว้วางใจจากเราในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราอาจพบว่าตัวเองสบายใจขึ้นโดยขึ้นอยู่กับพวกเขามากยิ่งขึ้น
- คิดในแง่บวก
พยายามมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับผู้อื่น เริ่มจากความเชื่อที่ว่ามีคนที่ใจดีที่มองอะไรดี ๆ ให้เราจริง ๆ การเปิดใจ เปิดกว้าง และทัศนคติในแง่ดีอาจช่วยลดความไม่ไว้วางใจผู้คนโดยทั่วไปได้
- ไว้วางใจอย่างระมัดระวัง
การเชื่อใจง่ายเกินไปอาจทำให้ผิดหวังได้ เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ที่จะไว้วางใจผู้คนในระดับที่ต้องการ เช่น กับกลุ่มเพื่อนคนนี้เราพูดเรื่องนี้ไ
ด้ กับอีกกลุ่มเราสามารถเลือกวางใจในเรื่องนี้ได้ ซึ่งบุคคลในชีวิตเราอาจต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคนที่เชื่อถือได้ ซื่อสัตย์ และคู่ควรแก่ความไว้วางใจของเรา
- ให้โอกาส
คนทุกคนเวลาทำผิดถ้าเขายังอยากที่จะมีเราอยู่ในชีวิตเขาย่อมต้องปรับปรุงตัว ถ้ามีสถานการณ์นี้เกิดขึ้นเราลองวางใจและให้โอกาสเขา
- พูดคุยกับนักบำบัด
การขาดความไว้วางใจในผู้คนส่งผลต่อความสามารถในการทำงานได้ตามปกติหรือทำให้เกิดความทุกข์ ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต
วิธีบำบัดที่แตกต่างกันหลายวิธีสามารถช่วยค้นพบและแทนที่ความคิดเชิงลบที่ซ่อนอยู่ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการไว้วางใจ
ที่มา :
How to Cope When Trusting Is a Challenge
พฤติกรรม ชอบส่อง ชอบดู ชอบแชร์โพสต์ของคนที่เราไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็น แฟนเก่า เเฟนเก่าของแฟนใหม่ เพื่อนที่เลิกคบกันไป
รวมไปถึงดาราคนมีชื่อเสียง รู้สึกไม่ชอบแต่ก็ยังอยากจะดู อยากจะอ่าน อยากจะรู้เขาเป็นยังไง ทำไมเราถึงชอบส่อง รู้แล้วสบายใจจริงหรอ
นิสัย ชอบส่อง คืออะไร?
Hate-Stalking พฤติกรรมการตามส่องดูคนที่เราไม่ชอบในโซเชียลมีเดีย ถึงแม้ว่าจะรู้สึกไม่ชอบ บางครั้งก็รู้สึกเกลียด
แต่ก็เลิกส่อง เลิกดูไม่ได้ ไปทำไปมาก็รู้สึกมีความสุข รู้สึกสะใจถ้าคนที่เราชอบส่องมีความทุกข์ใจ พฤติกรรม ชอบส่อง เปรียบเสมือนการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง
นิสัย ชอบส่อง มีประโยชน์ไหม?
พฤติกรรมดังกล่าวเป็นนิสัยที่พบได้ทั่วไป เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง มักจะไม่เป็นอันตรายในระยะสั้น แต่ก็เป็นกิจกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ กับชีวิต
เกี่ยวกับฮอร์โมน อารมณ์ความรักและความเกลียดชังต่างถูกกระตุ้นจากสมองในส่วนเดียวกัน ส่งผลให้ความรู้สึกพึงพอใจหลั่งไหลออกมาแบบเดียวกัน
เมื่อคนเรารู้สึกเกลียดจึงสร้างความรู้สึกพึงพอใจได้ พอทำบ่อย ๆ จะทำให้เราเสพติดความสุขจากการ Hate-Stalking คนอื่น ๆ ในอนาคตได้
ดร.เมแกน กล่าวว่า การที่เราระบายความรู้สึกเชิงลบออกไปในโลกโซเชียลบ้าง สามารถช่วยลดความเครียด ความเศร้า หรือความวิตกกังวลได้อย่างรวดเร็ว
และการเติมอีโก้ของตัวเองด้วยการตัดสินผู้อื่นผ่านโลกออนไลน์ สามารถกระตุ้นให้สมองปล่อยสาร “โดปามีน” ที่ให้ความรู้สึกดีออกมาได้
ดังนั้นหลายคนจึงตกหลุมพรางบ่มเพาะพฤติกรรม ชอบส่อง ได้ง่าย ๆ จนติดเป็นนิสัย
ทำไมถึงหยุดส่องไม่ได้?
- พฤติกรรมชอบส่องเหมือนกับนิสัยการเสพติดอื่น ๆ เป็นนิสัยที่เกิดเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนอง อาจจะมีเหตุผลบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในพฤติกรรมนี้ ถ้าอยากหยุดพฤติกรรมส่อง เราต้องรู้ตัวก่อนว่า เพราะอะไรเราถึงส่องอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราส่องคน ๆ นี้ เช่น คนนี้ทำให้เรารู้สึกไม่ดีใช่ไหม? เราเลยเลิกส่องเขาไม่ได้ หรือว่าโกรธ หรือว่าอิจฉา หรือว่าเราอยากรู้ว่าชีวิตคนอื่นเป็นยังไงถ้าไม่มีเรา
- โซเชียลมีเดียทำให้เราสามารถรู้ว่าเพื่อนของเรากำลังทำอะไรอยู่ทุกช่วงเวลาของวันแบบเรียลไทม์
- เพราะเวลาเราส่องคนที่ไม่ชอบแล้วเรารู้ว่าเรามีชีวิตที่ดีกว่าเขาทำให้เรามีความสุข หรือรู้ว่าตอนนี้เขากำลังเศร้าก็ทำให้เรามีความสุข หลายคนจึงตกหลุมพรางบ่มเพาะพฤติกรรม ชอบส่อง ได้ง่าย ๆ จนติดเป็นนิสัย
ข้อสังเกต ข้อมูลจาก Medium
- เราทุกคนจะมีคนที่เราแอบตามดู แอบตามส่อง มีบางสิ่งบางอย่างที่อยากแสดงออกไปแต่แสดงออกมาไม่ได้ เช่น ไปชายหาดอยากแต่งตัวบิกินี่แต่ไม่มั่นใจ เลยไปตามดูคนที่ใส่บิกินี่สวย ๆ เพื่อสนองความต้องการที่เราทำไม่ได้
- คนที่เราติดตาม คนที่มีความสนใจคล้ายกันมากกับเราหรือทำสิ่งที่เราอยากทำกับชีวิตของเรา
- เราอาจจะไม่ได้เกลียดพวกเขา จริง ๆ แล้วเราอาจรู้สึกชื่นชมสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ เราชอบส่องเพราะเขามีอะไรบางอย่างที่ทำให้เราชอบ
อยากหยุดพฤติกรรม ชอบส่อง ทำอย่างไร ..
เริ่มจากเล็ก ๆ น้อย ๆ
พฤติกรมม ชอบส่อง ที่เราทำจากที่เราทำแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าเราทำเรื่อย ๆ จนกลายเป็นชีวิตประจำวันนั้นจะกลายเป็นความ Toxic กับตัวเรา เมื่อเราเริ่มรู้สึกว่าไม่ปกติ
เราไม่อยากส่องแล้ว เราต้องค่อย ๆ มีสติกับตัวเอง การฝึกใจตัวเองให้ควบคุมว่าห้ามส่องนะ เริ่มจากวันนี้แล้วไปทีละวัน การส่องก็ยอมรับว่าถ้ามันไม่ได้ทำให้เราบั่นทอนหรือรู้สึกไม่ดีถึงขั้น
กระทบกับความรู้สึกเราขนาดนั้นก็ต้องยอมรับว่ามันคือเรื่องปกติ แต่ถ้าถึงขั้นนั้นเมื่อไหร่คือต้องพอ
เปลี่ยนจุดโฟกัสจากโฟกัสคนอื่น มาที่ตัวเราเอง
เราชอบส่องเพราะเขาน่ารักเราลองเอาสิ่งที่เราชื่นชม เอามาปรับปรุงตัวเอง ผลักดันตัวเอง หรือไม่ก็ถ้าเรา
Toxic กับตัวเราเองกับนิสัยชอบเราเราเฟดตัวเองออกมาก็เป็นสิ่งที่ดีก่อนที่เราจะรู้สึกแย่กับตัวเอง
ที่มา :
Why do we keep tabs on people we can’t stand?
Why Are You Obsessed With Her Instagram?
Passion ในทางจิตวิทยาหมายความว่าอย่างไร จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันมากแค่ไหน
เมื่อเรามี Passion ที่แตกต่างไปจากค่านิยมของสังคม จะรับมือกับความรู้สึกกดดันที่ตามมาอย่างไร
Passion คือ . .
การที่คน ๆ นึงมีความชื่นชอบจนเอาเวลาและพลังงานไปทุ่มเทกับสิ่งนั้น Passion ในแต่ละคนจะมีลักษณะความรู้สึกที่ต่างกัน บางคนชื่นชอบมากมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ
บางคนไม่ได้ชอบแต่ถ้ามีเวลาก็แบ่งมาทำเป็นแรงจูงใจที่ทำให้สบายใจ แต่บางคนเวลาที่ทำสิ่งนั้นก็จะหลุมหลงถ้าไม่ได้ทำจะไม่มีความสุขเลย
หรืออีกรูปแบบเป็น Passion ที่สังคมกำหนดมา ถ้าไม่ได้ทำจะรู้สึกไม่มีความสุข
เช่น Passion ที่สังคมนำมาเป็นบรรทัดฐานว่าต้องประสบความสำเร็จขั้นไหน มีเงินเก็บกี่บาทถึงเรียกว่าประสบความสำเร็จ
ไม่มี Passion แปลกไหม . . .
มนุษย์ดำรงชีวิตแบบมีเป้าหมายเป็นพื้นฐานกันอยู่แล้ว แต่เป้าหมายที่เรามีไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหมายที่ต้องเป็นรูปธรรมในเชิงที่สังคมกำหนด บริบทของสังคมพยายามเข้ามากำหนดเรา
ถ้าอยากมีความสุขต้องทำแบบนั้นแบบนี้ ต้องการยอมรับจากสังคมทำให้เรามี Passion ที่ทำร้ายตัวเอง เป้าหมายก็เปรียบเสมือนกับดาบสองคม
Passion กลับมาทำร้ายตัวเอง
ลองถามตัวเองว่าจริง ๆ แล้วตัวเราต้องการอะไร สิ่งที่เราต้องการที่แท้จริง ระหว่างเดินไปแบบมีความสุข กับเดินไปแบบห่อเหี่ยวรอให้สำเร็จ หากถ้าเราคิดว่าเรากำลังหลงทางอยู่ ไม่มีคำว่า หลงทาง เพราะนั้นคือการเลือกที่ดีที่สุดแล้ว ณ วินาทีนั้น
หมด Passion ในชีวิต
สาเหตุที่เราหมด Passion บางครั้งอาจจะเกิดจากบริบทเปลี่ยน การเรียนรู้เปลี่ยนค้นพบว่าเราควรไปอีกทางมากกว่าทางเดิม หรือบางครั้ง Passion อาจจะไม่ได้หายไป แต่เราแค่เหนื่อยลองให้เวลาตัวเองได้พักก่อน
“ อารมณ์จะกลายเป็นพิษถ้าคุณซ่อนไว้ และเป็นยารักษาใจถ้าคุณยอมรับมัน ”
หนังสือเรื่อง อย่าเก็บอารมณ์ไว้ให้ใจเจ็บปวด หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับอารมณ์
หนังสือเล่มนี้พูดถึงอารมณ์ การจัดการอารมณ์ วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ เขียนโดย ดร.หลิวเพ่ยเซียน และแปลโดย คุณ ชัยชาญ นวลมณี
สามเหลี่ยมอารมณ์
สามเหลี่ยมอารมณ์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น สามเหลี่ยมอารมณ์จะเป็นสามเหลี่ยมคว่ำ
ตรงยอดปลายคว่ำจะเป็นอารมณ์หลัก เช่น ความสุข ตื่นเต้น กลัว เสียใจ รังเกียจ ความโกรธ สิ่งที่เป็นอารมณ์หลักคือสิ่งที่เรารู้สึกและต้องเผชิญ
ฝั่งซ้ายของสามเหลี่ยมคือ กลไกลป้องกัน เป็น พฤติกรรมที่ปกป้อง ปิดกั้นไม่ให้เรารู้สึก เบี่ยงเบนความรู้สึกที่เราควรจะรู้สึก
ฝั่งขวาของสามเหลี่ยมคือ อารมณ์ที่ถูกระงับ อารมณ์ที่ควรจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแต่เราเลือกปิดกั้นระงับอารมณ์ไว้
เรามักจะแยก อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกไม่ค่อยออกเวลากำลังเผชิญกับความรู้สึก เช่น ถ้าเราโดนแฟนบอกเลิกมาเราจะทำอะไรต่อ หลายคนคงจะตอบว่าออกไปหาเพื่อน
ออกไปหากิจกรรมอย่างอื่น แต่ไม่ค่อยมีใครตอบว่าให้เวลากับตัวเอง ได้ปลอดปล่อยอารมณ์เสียใจออกมา เรามักจะเห็นในหนัง หรือกับชีวิตจริงที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ
ทำไมช่วง 1-2 อาทิตย์แรกถึงรู้สึกอยู่ได้แต่พอหลัง ๆ ความเสียใจได้ก่อตัวทรมานขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นลองไม่ปฏิเสธความรู้สึกของตัวเอง ไม่ใช้กลไกลการปกป้อง
ไม่ทำให้อารมณ์ที่ควรเกิดขึ้นถูกระงับ เมื่อรู้สึกอย่างไรลองหายใจลึก ๆ แล้วจับอารมณ์นั้นให้ถูกแล้วปลดปล่อยอารมณ์เหล่านั้นออกมา
ความเหงา
เราจะสนิทกันได้ยังไงถ้าเราไม่เผยในมุมที่อ่อนแอ ความเหงาเป็นความรู้สึกที่เฉพาะตัว ไม่มีใครเข้าใจ ความเหงาไม่เท่ากับการอยู่คนเดียว
และไม่ได้ขึ้นว่ามีคนอยู่รอบตัวทั้งหมดกี่คน มีคนหลายคนที่กำลังเที่ยวหรือกำลังปาตี้แต่ในใจก็ยังมีความรู้สึกเหงาอยู่ดี
หรือแม้แต่คนที่แต่งงานกับคนรักมา 10 ปีแต่พอกลับมาบ้านก็รู้สึกเหมือนอยู่กันคนแปลกหน้า และเหงาอยู่ดี
ความเหงาเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยเกินไปความเหงาจะเหมือนการสูบบุหรี่ห้ามวนต่อวัน
หนังสือเล่มนี้ได้บอกว่าความเหงานั้นไม่เกี่ยวกับว่าเราใช้เวลากับคนอื่นมากน้อยแค่ไหน
แต่เกี่ยวกับคุณภาพความสัมพันธ์ที่เราเต็มใจปล่อยให้ตัวเองอ่อนแอเมื่ออยู่กับคนอื่นหรือเปล่า
อ่อนแอในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะอยู่กับคนอื่นแค่เพียงช่วงเวลาเศร้า แต่หมายถึงทุกความรู้สึกที่เราเต็มใจปล่อยออกมาโดยไม่มีอะไรการปิดกั้น
หรือกลไกลการเบี่ยงเบนความรู้สึกเรายินดีที่จะแสดงข้อด้อย และยินดีที่จะแสดงตัวตนที่แท้จริง
ข้อคิดที่ชอบ
“เรารับผิดชอบอารมณ์ของตัวเราเองเท่านั้น ความผิดหวังและความเศร้าของอีกฝ่าย ไม่ควรมีใครต้องแบกรับหรือดูแล”
ในความเป็นจริงเราต้องรับผิดชอบความรู้สึกของตัวเอง การที่เราแชร์ความรู้สึกกับการที่เราอยากให้คนอื่นมารับผิดชอบความรู้สึกไม่เหมือนกัน
การที่เราแชร์หมายถึงว่า ถ้าหากว่าเศร้าก็ระบายให้เพื่อนฟังแต่ไม่ได้อยากให้เพื่อนมาทำอะไรบางอย่างให้เรารู้สึกดีขึ้น
หรือว่าตัวเราต้องไม่มองคนอื่นเป็นสนามอารมณ์ที่จะทิ้งอารมณ์ใส่เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี