Posts

คำพูดของการ Gaslighting ในความสัมพันธ์ที่ได้พบเห็นคำบ่อย ๆ

 

“เพราะเธอนั้นแหละ เราเลยทะเลาะกันแบบนี้”
“เรื่องแค่นี้เอง คิดมากทำไม”
“ไม่จริงนะ ไม่เคยพูดแบบนี้ มั่วแล้ว”
“เธอ sensitive เกินไปรึป่าว”

 

gaslight

 

Gaslighting

 

Gaslighting เป็นรูปแบบพฤติกรรมรูปแบบนึงที่พยายาม Emotional Abuse หรือเรียกว่า ทำร้ายจิตใจ หรือ ล่วงละเมิดทางความรู้สึกคนอื่น

 

ที่ไม่มีใครควรที่จะเผชิญกับพฤติกรรมแบบนี้ โดยพฤติกรรม Gaslighting หรือที่เราเรียกกันว่า การปั่น การบงการ ถ้าเราโดนเราจะเริ่มสับสนกับตัวเอง เริ่มไม่มั่นใจ

 

จากที่เราคิดว่าเราทำถูก กลายเป็นว่าเรามองว่ามันผิด เรามองว่าคุณค่าในตัวเราเองมันลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งพฤติกรรม Gaslight ไม่ได้เกิดกับความสัมพันธ์ในรูปแบบแฟนเพียงอย่างเดียว

 

ยังสามารถเกิดได้ทั้งความสัมพันธ์แบบเพื่อน ครอบครัวก็ได้ และพฤติกรรมนี้เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ Toxic relationship อีกด้วย 

 

 

ที่มา Gaslight

 

ศัพท์คำว่า “Gaslighting” มีต้นกำเนิดมาจาก บทละครโดย Patrick Hamilton ปี 1938 ที่ชื่อว่า Angel Street เป็นบทละครที่โด่งดังมากในประเทศอังกฤษ

 

จน Hollywood ซื้อลิขสิทธิ์แล้วเอามาทำเป็นหนังชื่อ Gaslight ในปี 1944 ซึ่งเป็นเรื่องราวของคู่สามีภรรยาคู่หนึ่งที่ฝ่ายสามีพยายามจะปั่นหัวภรรยาให้คิดว่าตัวเองเสียสติ

 

ด้วยวิธีการชวนเขย่าประสาทเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หรี่ตะเกียงน้ำมัน (อันเป็นที่มาของชื่อเรื่อง Gaslight) ทำให้ภรรยาเข้าใจว่า คิดไปเองคนเดียว

 

พยายามปลุกปั่นให้ภรรยาตัดขาดจากสังคมรอบข้าง และค่อย ๆ ทำให้ภรรยาคิดว่าตัวเองเสียสติจริง ๆ

 

 

Gaslight สัญญาณว่าเรากำลังโดนปั่น

 

การ Gaslight เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล และอาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตอื่น ๆ อีกด้วย 

 

สัญญาณเตือนที่สามารถพิจารณาได้ทั้งตัวเราเองกำลังเป็นเหยื่อไหม หรือ ตัวเราเองได้ทำพฤติกรรมแบบนี้กับใครหรือเปล่า

 

 

อีกอย่างที่สำคัญคือ ผู้กระทำจะพยายามทำยังไงก็ได้ให้สุดท้ายชีวิตเราเหลือแต่เขา และต้องพึ่งพาเขา เหลือเขาอยู่คนเดียวในชีวิต กันเราออกจากคนรอบตัว 

 

Gaslight ในรูปแบบต่าง ๆ ของความสัมพันธ์

 

ในรูปแบบของแฟน

“เพราะเธอไม่มีเวลา ฉันเลยไปมีคนอื่น”

แฟนมีคนอื่น แต่บอกว่าเป็นพราะว่าตัวเราเองที่เป็นคนไม่มีเวลา ไม่ใส่ใจ จนเราคิดว่าเป็นเพราะตัวของเราที่ทำให้สัมพันธ์ของชีวิตคู่เป็นแบบนี้

 

จนลืมถึงความจริงไปว่ามันมีทางออกอื่นอีกนะที่แฟนไม่ต้องไปมีมือที่ สาม การมีมือที่สามไม่ควรเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ 

 

รูปแบบของครอบครัว

ในกรณีที่พ่อแม่มีคำพูดอยากให้เราทำบางสิ่งบางอย่าง โดยอ้างว่าเป็นเพราะพ่อแม่นะลูกถึงมีทุกอย่างอย่างวันนี้

 

การกระทำนี้ไม่ใช่การปั่นแต่เป็นแนวโน้มให้เรารู้สึกแย่ถ้าเราจะเลือกทำอีกทางนึงที่ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่ต้องการ

 

รูปแบบของที่ทำงาน

ความรู้สึกที่เราเหมือนคนไร้ความสามารถในที่ทำงาน ทำเท่าไหร่ก็ไม่ดีพอไม่ได้รับคำชมจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า ๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงเราทำได้ดีที่สุดแล้ว

 

 

ถ้าเราเป็นตกเป็นเหยื่อ . . .

ฝึกฟังเสียงของตัวเองให้มาก ๆ

พยายามมีสติอยู่เสมอ ช่วงเวลาในการโดนปั่น เรามักจะกังวล ประหม่า ไม่เชื่อถือในตัวเอง สับสน อยากที่จะควบคุมตัวของตัวเอง

 

เพราะฉะนั้นเราอาจจะจะต้องลองหาใครสักคนที่เราสามารถแชร์เรื่องนี้ได้เพื่อให้เขาคอยคอนเฟิร์มถึงความจริง และดึงสติให้เรา

 

เก็บหลักฐาน 

เมื่อเรารับรู้ถึงความจริง แต่ผู้กระทำก็ทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเราเอง เราต้องพยายามรักษาสิ่งที่เป็นความจริง หลักฐานที่เรามี คำพูด การกระทำต่าง ๆ

 

ที่เราสามารถมาดูในภายหลังได้เพื่อให้ไม่ให้ตัวเราของเราเองถูกปั่นไปเพียงเพราะคำพูดหรือการกระทำของเขา

 

กำหนดขอบเขต

การกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ก็สำคัญเหมือนกัน เมื่อเรารู้ว่าสิ่งไหนที่ทำให้เรารู้สึกแย่ในความสัมพันธ์เราขีดเส้นให้ตัวเรา

 

เพื่อไม่ให้เขาก้าวข้ามขอบเขตมาทำให้เรารู้สึก Toxic

 

พาตัวเองออกมาจากความสัมพันธ์นั้น

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกแย่มากพอ แล้วเข้าใจแล้วว่าความสัมพันธ์นี้ไม่ควรไปต่อ เราลองพักจากความสัมพันธ์นั้นมาเพื่อรักษาความรู้สึกของตัวเราเอง

 

ที่มา 

What Are the Signs of Gaslighting?

Red Flags of Gaslighting in a Relationship

Gaslighting and How to Respond

รักต่างวัย หลาย ๆ ครั้งอาจจะตามมาด้วยปัญหา เช่น สายตาสังคม การสื่อสารระหว่างกัน จะรักษาความสัมพันธ์อย่างไรให้รักยืนยาว

 

มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X พ.ต.อ พญ. อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล จิตแพทย์ 🙂

ความรักกับอายุสัมพันธ์กันอย่างไร ?

เวลาเรารักใครซักคน เปรียบเหมือนเราตาบอด เรามักจะไม่ได้สนอายุของอีกฝ่าย หรือเขาจะเป็นใครมาจากไหน ความรักมีอนุภาคร้ายแรงทำให้เรามองข้ามบางสิ่งไป และบางสิ่งจะได้รับข้อยกเว้นไปเพียงเพราะรัก 

 

 

จะรับมืออย่างไรกับสายตาสังคม ?

เนื่องจากค่านิยมในสังคม เวลามีคู่ ควรมีอายุที่ใกล้เคียงกัน ผู้ชายควรมีอายุที่มากกว่า ผู้หญิงอายุน้อยกว่า  แต่เนื่องด้วในปัจจุบันด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป 

 

เริ่มมีความอิสระ เเละ เสรี กรอบทางสังคมเริ่มจางลง เมื่อพบเจอใครที่พูดคุยกันรู้เรื่อง มีความคิดแนวทางเหมือนกัน หรือที่เรียกว่าเคมีตรงกันก็สามารถคบหากันได้อย่างเปิดเผย

 

เมื่อถึงวัยอายุ 20 ปีขึ้นไป ถือว่าบรรลุนิติภาวะ ถือว่าเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง เมื่อไปคบกับผู้ใหญ่ที่อาจจะมีอายุ 31 หรือ 41 ก็ ถือว่า ผู้ใหญ่ 2 คนมาทำความรู้จักหรือคบหากัน 

 

 

ช่วงอายุที่ต่างกันในความสัมพันธ์ส่งผลอย่างไร ?  

ช่องว่างระหว่างวัย 

 

ยกตัวอย่างเช่น วัยเกษียณ คบหากับ วัยทำงาน  อีกคนหนึ่งต้องวุ่นวายกับการทำงาน สร้างเนื้อสร้างตัว แต่อีกคนอาจจะมีชีวิตที่มีเวลาว่าง สบาย ๆ ก็จะต้องปรับเวลาเข้าหากันมากขึ้น

 

ในเรื่องของมุมมองและทัศนคติก็เช่นกัน แต่หากมีช่วงวัยที่ใกล้เคียงกันก็จะมีความใกล้เคียงกันด้านต่าง ๆ มากกว่า ปรับตัวเข้าหากันได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

 

รักต่างวัย จะสื่อสารอย่างไรให้เข้าใจกัน ?

รักต่างวัย ควรยอมรับซึ่งกันและกัน เราไม่สามารถเปลี่ยนเขาได้ ในขณะเดียวกันเขายังเปลี่ยนเราไม่ได้เช่นเดียวกัน

 

แต่ค่อย ๆ ปรับตัวพูดคุยเข้าหากันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ เพราะความรักไม่สามารถทำให้เราทนได้ทุกอย่าง 

 

 

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรักษาความสัมพันธ์ ?

“ดูแลซึ่งกันและกัน” ไม่ว่าจะเรื่องของจิตใจ ร่างกาย ชีวิตและ ความเป็นอยู่  และ “ยอมรับข้อจำกัดของกันและกัน”  

 

 

สามารถติดตามความอื่น ๆ ได้ที่ Alljit Blog

การร้องไห้เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่คนแสดงออกเมื่อเสียใจ แต่หลาย ๆ ครั้งเรากลับไม่รู้สาเหตุว่าเพราะอะไรเรา ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

เกิดจากอะไร จะรับมืออย่างไร มาหาคำตอบกับ ดร. ทศพิธ รุจิระศักดิ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา

 

 

ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ

 

ร้องไห้ โดยไม่มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

ทุก ๆ การร้องไห้ย่อมมีสาเหตุ แต่สาเหตุนั้นเจ้าตัวจะรับรู้ถึงสาเหตุได้มากน้อยแค่ไหน . . . 

 

อยากให้ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เวลาที่มีคลื่นความเศร้าถาโถมเข้ามาในใจ ระหว่างนั้นเรากำลังนึกถึงเรื่องอะไรอยู่…?”

 

คลื่นความเศร้ามาพร้อมความ ดิ่ง ๆ ดาวน์ ๆ รู้สึกเหมือนกับว่าตัวเราเหนื่อยจัง ในขณะนั้นเราไม่ได้รู้สึกเศร้าเสียใจเพียงอย่างเดียว

 

แต่มีความเหนื่อยล้าเข้ามาด้วย จริง ๆ แล้วในช่วงเวลานั้นหาให้เจอว่า เรากำลังเศร้าหรือเหนื่อย ความรู้สึกไหนที่เข้ามากระทบมากกว่ากัน 

 

และพอเมื่อเรารู้สึก เศร้า เสียใจ จะมีเสียงในใจที่บอกว่าไม่เป็นไร พอเรามีเสียงนี้แทรกเข้ามาทำให้เราได้ยินเสียงความเศร้า ความเหนื่อยล้าได้ชัดน้อยลง เราเลยฟันธงไปว่ามันไม่มีสาเหตุ 

 

ความเศร้ามีที่มาแต่หลายครั้งไม่ได้ถูกรับฟัง ความเศร้าก็เหมือนเพื่อนของเราคนนึง แต่ก็มีเพื่อนอีกคนนึงที่บอกว่าอย่าไปฟังความเศร้า

 

ถ้าเสียงของความเศร้าได้แสดงออกมาเต็ม ๆ เราก็จะได้รับสารของความเศร้าที่พยายามสื่อออกมาได้อย่างชัดเจน 

ร้องไห้บ่อยผิดปกติหรือไม่ ?

ถ้าการร้องไห้ไม่ได้เข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันถือว่าไม่ผิดปกติ แต่ในสายตาคนอื่นที่เห็นว่าเราร้องไห้บ่อย อาจจะตัดสินว่าเราร้องไห้บ่อยเกินไป

 

วิธีรับมือกับสายตาคนอื่นที่มองมาที่เรา เช่น สถานะความสัมพันธ์ในคู่รักจะมีอีกฝ่ายที่อ่อนไหว และรู้สึกมากกว่า ถ้าเรารู้สึกแบบนั้นเราก็ควรสื่อสารให้เขารู้

 

ถ้าเขารับมือกับเราได้ มีวิธีที่จะอยู่กับเรา เราก็จะเดินหน้าต่อไปได้ แต่ถ้าแฟนเรามีวิธีที่ไม่ได้เห็นความสำคัญกับสิ่งที่เราเป็น

 

อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าความสัมพันธ์นี้อาจจะมีปัญหาบางอย่างในการไปต่อ

การร้องไห้มีข้อดีอย่างไร?

 

เวลาเราเกิดอารมณ์ทางลบอยู่ในใจแล้วเรากดอารมณ์ไม่อนุญาตให้ตัวเองร้องไห้เลย สามารถส่งผลเสียทางร่างกายได้

 

ามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้หรือไม่? 

ถ้าหากว่าเราลองพูดคุยกับตัวเองแล้ว ปรึกษาคนอื่นแล้ว แต่เราจัดการไม่ได้ เราสามารถไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญหาทางออก

 

ช่วยเหลือเราในอีกทางหนึ่งได้เหมือนกัน เพราะเรื่องบางเรื่องการที่มีใครบางคนที่เข้ามาช่วยเหลือคงจะดีกว่าการที่เราพยายามหาทางออกอยู่เพียงคนเดียว 🙂

ตัดสินคนอื่น หรือกลัวว่าเขาจะคิดยังไงนะ เขาจะมองเรายังไงนะ เคยมีคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่า หลายคนไม่กล้าลงมือทำ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าเป็นตัวเองตัวเอง

 

เพราะกลัวสายตาของคนอื่นว่าจะตัดสินอย่างไร จะรับมืออย่างไร มาหาคำตอบกันใน รายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂

 

 

เคยกลัวการถูกตัดสิน หรือไม่ ?

 

ความกลัวเป็นธรรมชาติ มักเกิดในสถานที่ไม่คุ้นเคย ที่ตรงนั้นไม่มั่นคงปลอดภัย เราอาจจะคิดว่าตรงนั้นจะเป็นยังไง คนอื่นจะมองเราอย่างไร 

 

 

การตัดสินคนอื่น เกิดจากอะไร?

การตัดสินคือ พื้นฐานที่เราจะต้องตัดสินใจ เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ในขณะเดียวกันความไวในการตัดสินมากกว่าที่ส่งผลกระทบต่อตัวบุคคล

 

โดยผ่านการกรองและ ประสบการณ์ของตัวเอง เราจะมีไม้บรรทัดคำว่าดีกับแย่เป็นของตัวเอง แต่ไม่ได้แปลว่าสิ่งนี้ใช้ได้กับทุก ๆ คน 

 

การ ตัดสินคนอื่น ควรหรือไม่ควรทำ? 

ตัดสินคนอื่นเราควรพิจารณาว่าทำแล้วเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม เราทำแล้วดี หรือไม่ดี  การจะพูดถึงใครซักคนจะเป็นผลดีมากกว่า เราก็สามารถพูดออกไปได้ แต่ควรจะอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่ใช่ อคติ 

 

การจะบอกว่าสิ่งนี้อยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม เราควรดูที่  Norm หรือ คนส่วนใหญ่ที่เขาคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ความเป็นจริง ไม่ใช่มาจากความคิดเห็นตัวเรา

 

จะรับมืออย่างไรเมื่อกลัวการตัดสิน ?

การที่เรากังวลว่าเขาพูดนั้น หมายความว่าอย่างไร เช่น ถ้าเรารู้ว่าเรากังวล และกังวลกับอะไร  ลองต้งคำถามกับตัวเอง สิ่งที่เขาพูดถึงเรา เป็นเรื่องจริงไหม ?

 

และถ้าเราเป็นแบบนั้นจริง มันแย่มากไหม  แย่อย่างไร แล้วเราสามารถแก้ไขได้อย่างไร เพื่อไม่เกิดเรื่องแย่ที่สุดที่เรานึกถึงได้ 

 

ทุกคนต้องพูดถึงเรา แต่ในอีกมุมหนึง อย่าลืมว่าเราไม่ได้สำคัญกับทุกคนขนาดนั้น เราไม่ใช่จุดสนใจเท่าที่เรารู้สึกกังวล บางที่ความกังวลอาจมาจากแค่ตัวเอง 

 

ถ้ามีคนพูดถึงเราจริง ๆ เราต้องมีตัวกรองว่า คำพูดนั้นของเขาจริงไหม แล้วทำอย่างไรได้บ้าง และพิจารณาว่าเราไม่ใช่จุดศูนย์กลางที่ทุกคนสนใจ เราจะได้กังวลน้อยลง ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น 

 

 

จะทำอย่างไรถ้าอยากตัดสินน้อยลง ?

ทันความคิดของตัวเองให้ได้ 

 

ความคิดอัติโนมัติ มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เวลาที่เราเห็นสิ่งที่ไม่พอใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกไม่ควร เราจะตัดสินอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นเราต้องทันความคิดของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่การพูดทุกอย่างที่คิดออกมา 

 

แต่ต้องตัดสินใจได้ว่าสิ่งไหนควรพูด หรือไม่ควรพูด และจะเชื่อหรือไม่เชื่อในความคิดของตัวเอง เราไม่ไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนอื่น 

 

เท่าทันความคิดของตัวเองให้ได้ แล้วเราจะไม่วิ่งตามความคิด แต่เราจะตรวจสอบความคิดของและไม่ Action กับทุกความคิดและอคติของตัวเอง 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

 

หลายคนมองว่าการปฏิเสธจะทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจและสูญเสียความสัมพันธ์ ทำให้หลาย ๆ คนกลัวและ ไม่กล้าปฏิเสธ

 

แต่นั่นเป็นเหตุผลเดียวจริงหรือ จริง ๆ แล้วการไม่กล้าปฏิเสธมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และจะปฏิเสธอย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์


ปฏิเสธคนไม่เป็น

ไม่กล้าปฏิเสธ มีสาเหตุมาจากอะไร?

การที่เราปฏิเสธคนอื่นไม่ค่อยได้ เกิดมาจากความรู้สึกที่เรามีความเชื่อที่ต้องรับผิดชอบทุก ๆ อย่างในโลกใบนี้

 

พอเรามีความเชื่อที่ต้องรับผิดชอบและดูแลคนอื่น ๆ เลยทำให้เราไม่กล้าปฏิเสธ

 

แนวโน้มที่เราไม่กล้าปฏิเสธเพราะเราเห็นความสำคัญของคนอื่นมากกว่าตัวเอง กลัวว่าถ้าปฏิเสธไปเราอาจจะไม่ได้รับการยอมรับ

 

เสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เราอาจจะต้องดูว่า เราปฏิเสธไม่เป็นเพราะไม่กล้าปฏิเสธ หรือเรากล้าที่จะปฏิเสธแต่ไม่กล้าสื่อสารเป็นคำพูด 

 

 

ไม่กล้าปฏิเสธทำให้กลายเป็น People Pleaser จริงหรือไม่?

การที่เราไม่กล้าปฏิเสธไปเรื่อย ๆ แล้วเห็นว่าคนรอบข้างมองว่าเราดูโอเค ดูเป็นคนสำคัญ

 

อาจกลายเป็นคนที่ ‘อะไรก็ได้อะไรก็ยอม’ ก็ได้ เพราะเราเห็นผลตอบรับจากการที่เราไม่ได้ปฏิเสธ 

 

 

เกรงใจอย่างไรให้พอดี?

การมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ความมีน้ำใจที่ดีไม่ควร ล้นมากเกิน ถ้าการมีน้ำใจที่เรามีกลายเป็นการทำตามความคาดหวังคนอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องดี

 

การกำหนดขอบเขตของตัวเองเราจะค่อย ๆ ปฏิเสธคนอื่นได้ดีขึ้น เรื่องไหนที่เราอยากจะช่วย เรื่องไหนที่เราอยากจะอาสา

 

ถ้าเราเรียนรู้ว่าปฏิเสธบ้างก็ไม่ได้แย่ เราจะเริ่มเป็นคนที่ปฏิเสธเป็นโดยที่เรายังมีน้ำใจในขอบเขตของเราด้วย

 

 

ปฏิเสธอย่างไรให้ไม่กระทบความสัมพันธ์?

ไม่มีใครเหมือนเดิมทุกวัน เริ่มจากการรับฟังว่าอีกฝ่ายต้องการแบบไหน เราสามารถปฏิเสธได้โดยการหาทางออกร่วมกัน บอกขอบเขตที่เราสามารถทำได้ 

 

อย่าลืมว่าสิ่งที่เขาเอามาให้เราช่วยคือปัญหาของเขา ถ้าหากเขาจะเปลี่ยนไปในความสัมพันธ์ก็เป็นส่วนของเขา ที่เขาต้องรับผิดชอบความรู้สึกของตัวของเขาเอง

 

 

จะรับมืออย่างไรเมื่อปฏิเสธแล้วสูญเสียความสัมพันธ์?

เราไม่สามารถรับผิดชอบความรู้สึกของคนทั้งโลกได้ รวมไปถึงความรู้สึกของคนอื่นด้วย เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถ้าเราช่วยเขาไปแล้วเขาจะรู้สึกดีจริง ๆ ไหม

 

ถ้าเราเริ่มเข้าใจเราจะเริ่มตั้งหลักกับตัวเองได้ ทุกคนที่หน้าที่รับผิดชอบและจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง ถ้าเราปฏิเสธใครแล้วอยู่ ๆ เขาเปลี่ยนไป

 

แปลว่าบางทีเขามองเห็นเราเป็นเครื่องทำงานบางอย่างให้เขาเท่านั้นเอง สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากที่เราได้พูดหรือเราได้ปฏิเสธไปแล้ว

 

เราต้องฟังเสียงของตัวเราเองให้มาก ๆ ความต้องการของเราคือสิ่งสำคัญถ้าหากทำแล้วรู้สึกแย่การปฏิเสธคงจะดีกว่าการทำให้ตัวเองรู้สึกไม่ดี

 

 

“ความคาดหวัง”  เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน บางครั้งก็สร้างแรงบันดาลใจ แต่หลายครั้งก็นำมาซึ่งความทุกข์และความกดดัน จะรับมืออย่างไร

 

มาหาคำตอบกันใน รายการพูดคุย  X ดร. ทศพิธ รุจิระศักดิ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา 🙂

 

ความหวังกับความคาดหวังแตกต่างกันอย่างไร ?

 

ความหวังและความคาดหวังมักมาพร้อม  ๆ กัน  เมื่อเรามีความคาดหวังกับอะไรซักอย่าง นั่นหมายความว่าเราต้องการสิ่งเหล่านั้น หรือคน ๆ นั้นอยู่

 

 

จัดการความคาดหวังอย่างไรให้พอดี ?

 

แต่ละสถานการณ์ที่เราคาดหวังก็จะมีรายละเอียดของความคาดหวังที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเหตุการณ์  

 

สมมุตว่าเราเลิกกับแฟน  เรารู้สึกเสียใจ ความเสียใจตรงนี้ถูดยึดโยงกับความคาดหวังว่าเธอยังจะต้องอยู่กับในสถานะแฟนเช่นเดิม

 

ในกรณีนี้แนวทางการจัดการความคาดหวังมีหลากหลาย แต่จะขอยกตัวอย่างหนึง คือ สำรวจความคาดหวัง ว่ามีอะไรที่อยู่เบื้องหลังความคาดหวังนั้น  

 

เมื่อพบคำตอบเราก็ลองเข้าไปจัดการด้วยวิธีที่ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของเราได้เป็นวิธีที่เราสะดวกสบายใจ ซึ่งอาจจะไม่ได้ช่วยเติมเต็มทั้งหมด แต่อย่างน้อยการที่เราได้เติมเต็มขึ้นมา ก็จะลดความทรมานลงได้บ้าง

 

 

รับมือกับความคาดหวังจากคนอื่นอย่างไร ?

 

คนอื่นมีความคาดหวังกับเรา แล้วเขาเอาความคาดหวังมาใส่ให้เรา แต่ไม่ว่า คนอื่นจะพยายามยัดเยียดความหวังใส่เรา แล้วเราเลือกจะ Say No ความคาดหวังก็จะไม่มาหนักในใจเรา 

 

แต่ถ้าคนอื่นเอาความคาดหวังมาใส่ให้เรา แล้วเราเลือกที่จะ Say yes ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร  สิ่งที่สังเกตเห็นได้คือ เราก็มีความคาดหวังในใจที่อยากจะให้อีกฝ่ายสมหวังในตัวเรา 

 

 

 

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่มีความคาดหวัง ?

 

ความคาดหวัง และความต้องการมักจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เราให้ความสำคัญ  เราจะไม่คาดหวังในคน หรือในสิ่งที่เราไม่ให้ความสำคัญ 

 

ถ้าเราจะกลายเป็นคนไม่มีความคาดหวังเลย นั่นหมายถึงเราจะเป็นคนที่ไม่ให้ความสำคัญกับอะไรเลย  แต่เราจะอยู่แบบไม่คาดหวังก็ได้นะ แต่เราจะเป็นคนที่ไม่ให้คุณค่ากับอะไรเลย 

 

ดูเผิน ๆ การไม่ให้คุณค่ากับสิ่งใด จะทำให้ไร้ทุกข์ แต่อีกมุมอาจเป็นทุกข์อีกรูปแบบหนึง “การใช้ชีวิตแบบไม่มีความทุกข์เลย อาจจะไม่ใช่ทางเลือกเสมอไป”

 

เราสามารถใช้ชีวิตแบบที่มีความคาดหวัง และมีความทุกข์ที่พวงโยงมากับความคาดหวังได้  แต่อย่างน้อยเราก็สามารถ ค้นพบความหมายของชีวิตเราตรงนี้ได้ ก็จะทำให้เรามีความทุกข์อย่างมีความหมาย

 

มีค่าพอที่เราจะแบกความคาดหวังนี้ไว้ได้  เพราะฉะนั้นความทุกข์จะยังมีอยู๋ แต่จะมีความหมาย และคุณค่าและช่วยให้เราทนเผชิญหน้าของความคาดหวังได้มากขึ้น 

 

ดัั่งคำพูดที่ว่า  One who has a why can endure anyhow.จาก Friedrich Nietzsche  แปลคร่าว ๆ ได้ว่า

 

การใช้ชีวิตของเราอาจไม่จำเป็นต้องพุ่งไปไปที่การไรทุกข์ก็ได้  แต่การค้นพบความหมายของความทุกข์ จะทำให้เราเผชิญหน้ากับความทุกข์ได้อย่างไม่ทรมาน

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ 

 

 

Emotional First Aid ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ เวลาที่เราเจ็บปวดทางกาย ไม่สบายเรามักรู้อาการ

 

รู้วิธีรักษาว่าเราจะบรรเทายังไง กินยาอะไรถึงหายดี แต่ถ้าเราเจ็บปวดทางใจละ

 

คนอื่นก็รักษาเราไม่ได้ นอกจากตัวเราเองที่จะเยียวยา . . .


Emotional First Aid

 

Emotional First Aid

‘ชุดปฐมพยาบาลทางอารมณ์เบื้องต้น เพื่อบรรเทาอาการแตกสลาย และป้องกันใจที่อักเสบลุกลาม

 

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย คุณ Guy Winch (กาย วินซ์) นักจิตวิทยา แปลโดยคุณลลิตา ผลผลา

 

หนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์คนไข้ของ คุณ กาย วินซ์ อีกด้วย

 

หนังสือเล่มนี้จะมี 7 ความรู้สึกที่เรารู้สึกกันอยู่เป็นบ่อยครั้ง

ทั้ง 7 ความรู้สึกทุกคนน่าจะเคยเผชิญและบางครั้งเราก็หาวิธีรักษาความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้ หรือวิธีการรักษาที่เราทำกันเป็นประจำอาจจะยังไม่มากพอให้มันจางลงไป

 

เลยเลือกที่จะหยิบ 1 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งมาแบ่งปันเรื่องราวกัน 🙂

 

“การครุ่นคิด”

1. การครุ่นคิดทำให้ความทุกข์ของเราใหญ่มากขึ้น ยิ่งเราคิดถึงสิ่งที่เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีและเจ็บปวด ก็เหมือนกับเราได้เปิดแผลของตัวเองไปเรื่อย ๆ

 

กลายเป็นความบั่นทอนในชีวิต พัฒนาไปเป็นความเสี่ยงของ ‘โรคซึมเศร้า’ ได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ชีวิตเราจะไม่มีอะไร อาจจะไม่ได้ดีมาก แต่เรายังนึกถึงประสบการณ์ที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นอาจจะบั่นทอนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

2. ความโกรธ เป็นการเติมไฟของการครุ่นคิด ยิ่งเราโกรธเรายิ่งคิด และเมื่อเราคิดที่ระบายไม่ได้เราจึงเลือกระบายความโกรธ ความหงุดหงิดใส่คนรอบตัว

 

3. การครุ่นคิดเป็นบ่อนทำลายสติปัญญาและเผาพลาญเวลาที่มีค่าของเรา เคยครุ่นคิดวนไปจนเวลาในชีวิตของเรามันหมดไปกับห้วงความคิดเหล่านั้น

 

พอเรารู้ตัวอีกทีเราก็รู้สึกเสียเวลาและเสียดายช่วงเวลาที่เราน่าจะพาตัวของเราออกไปหาสิ่งใหม่ ๆ สิ่งที่เป็นแง่บวกมากกว่าการที่เรามาจมกับสิ่งที่เราครุ่นคิดอยู่

 

4. คนที่เรารักได้รับผลกระทบจากการครุ่นคิด เวลาที่เราครุ่นคิดอะไรบางอย่างเรามักจะระบายกับคนที่อยู่ข้าง ๆ เราและการระบายแต่ละครั้งก็เหมือนเรากดเล่นอะไรซ้ำ ๆ

 

ในห้วงความคิดและบทสนทนาให้คนอื่นด้วย เวลาที่เราระบายไปแน่นอนว่าคนที่เรารักมักจะเสนอตัวช่วยวิธีแก้ไข แต่เรามักจะรับฟังแต่ไม่ค่อยได้เอาไปใช้เท่าไหร่

 

และเมื่อเรายังครุ่นคิดเราก็จะเล่าเรื่องซ้ำ ๆ ระบายเรื่องซ้ำ ๆ ให้กับคนที่เรารัก จนพวกเขารู้สึกว่าไม่ไหวแล้วไม่อยากฟังแล้วแล้วค่อย ๆ ถอยห่างจากเราออกไป

 

เมื่อเราพอรู้แล้วว่าการครุ่นคิดทำให้เราเกิดบาดแผลได้ยังไงบ้าง เรามาดูชุดปฐมพยาบาลที่หนังสือเล่มนี้ได้บอกให้เราทำกัน

เปลี่ยนมุมมอง

จากที่เราเป็นมุมมองผู้ครุ่นคิดเราลองเปลี่ยนมุมมองมาเป็นคนนอกในเรื่องที่เราครุ่นคิดอยู่ เวลาใครมาปรึกษาเรา เราสามารถหาวิธีแก้ไขให้พวกเขาได้

 

ให้คำแนะนำต่าง ๆ เราลองเอาวิธีเหล่านั้นในการเป็นมุมมองคนนอกที่กำลังมองเรื่องของเราอยู่ เราอาจจะเจจอวิธีแก้ไขเหล่านั้น และเข้าใจตัวของเราเองมากขึ้น

เบี่ยงเบนความสนใจ

การเบี่ยงเบนความสนใจไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำเวลาที่เรารู้สึกครุ่นคิด คิดมากในเรื่องนั้น ลองออกกำลังกาย เข้าสังคม ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม

 

ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเบี่ยงเบนความคิดนั้นในช่วงเวลาที่สั้น ๆ ไม่ได้หายไป แต่มันก็ยังดีที่เราไม่ต้องคิดถึงเรื่องราวนั้นในขณะนั้น

 

 

ตีกรอบความโกรธใหม่

มีการศึกษาหลายอย่างพบว่า การที่เราระบายอารมณ์กับสิ่งของ จะช่วยให้ความโกรธหายลงไป แต่จริงแล้ว กลับทำให้เป็นแรงขับความโกรธได้มากกว่าเดิม

 

วิธีปฐมบาลคือเราต้องตีความความโกรธใหม่ ให้เราเปลี่ยนเจตนาความโกรธเป็นเจตนาที่ไปในทางบวก เหมือนเวลาที่เราครุ่นคิดว่าทำไมคนนั้นถึงเลือกที่จะทำแย่ ๆ ใส่เรา

 

พูดจาไม่ดี หรือทำให้เรารู้สึกไม่ดี คนนั้นอาจจะมีประสบการณ์หรือเจออะไรแย่ ๆ มา เลยเลือกที่จะทำแบบนั้นใส่เราหรือเปล่า

 

ความโกรธที่เรามีอาจะเปลี่ยนเป็นความเข้าใจว่า อ่อเพราะเขาคงผ่านเรื่องอะไรแบบนั้นมาสินะ

จัดการมิตรภาพ

เราต้องประเมินว่าเรากำลังสร้างภาระให้กับมิตรภาพของเราอยู่หรือป่าว

เช่น การที่เราเลิกกับใครสักคน เราควรที่จะฟื้นตัวภายในระยะเวลาหนึ่งไม่เกิน 3-4 เดือน ฟื้นตัวจากการครุ่นคิดถึงสิ่งนั้น

 

เมื่อเลือกระบายกับเพื่อนคนนี้กับเรื่องนี้บ่อยครั้ง ‘เกินไป’ ไหม คนที่เป็นผู้รับฟังแน่นอนว่าเขาจะอ่อนล้ากับสิ่งที่เราได้พูดออกไป

 

บางทีเราอาจจะต้องลองเกลี่ยเรื่องนี้ให้ผ้รับฟังคนอื่นบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างความอ่อนล้าจนความสัมพันธ์เริ่มห่างหาย

 

เวลาที่เรารู้สึกไม่สบายใจ แน่นอนว่าเรามักจะระบายสิ่งที่อยู่ในใจของเรา แต่การที่เราไม่ถามอีกฝ่ายเลยว่าสะดวกใจฟังไหม

 

หรือแบ่งพื้นที่ให้อีกฝ่ายแชร์เรื่องของตัวเองบ้าง ตัวของเราเองกำลังเสี่ยงที่จะทำให้มิตรภาพนี้ตกอยู่ในอันตราย ไม่มีใครที่อยากรับฟังไปตลอดทุกบทสนทนา อย่าลืมที่จะถามไถ่อีกฝ่ายบ้าง

 

ลองสังเกตว่าในเวลาสนทนาเราปล่อยให้ความครุ่นคิดทางอารมณ์ ความรู้สึกคิดมาก ความหดหู่ มาปะปนกับความสนุก การที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน ๆ มากเกินไป

 

จนทำให้บรรยากาศมันตึงเครียดไปด้วยไหม แน่นอนว่าตอนที่เรายังเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของการครุ่นคิดจะมีเงาเทา ๆ หรือความคิดของเราที่ไม่ได้ Positive ขนาดนั้น

 

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเราได้ออกมาเจอเพื่อน ๆ แล้วพยายามเก็บเกี่ยวรอยยิ้มของคนตรงหน้าให้มากที่สุดลืมเรื่องราวครุ่นคิดไปสักพักแล้วมีความสุขกับช่วงเวลานี้

 

สุดท้ายแล้วถ้าการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 4 วิธี ลองทำแล้วไม่ดีขึ้นหรือเรายังมอยู่กับความครุ่นคิดนานเกินไป ความครุ่นคิดเหล่านั้นบั่นทอนกินเวลาชีวิตของเราเหลือเกิน

 

คุณ กาย วินซ์ ก็ได้แนะนำให้เราไปพบผู้เชี่ยวชาญ นักบำบัด นักจิตวิทยา เพราะถ้าเราครุ่นคิดบ่อยครั้งบ่อย เราก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ และภาวะซึมเศร้า

 

ประโยคจากที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน

ไม่มีอะไรที่ทำให้เราคิดถึงบางสิ่งได้เท่ากับการพยายามเต็มที่ไม่ให้คิดถึงมัน เป็นข้อคิดที่ได้จาก การครุ่นคิด

 

เชื่อว่าหลายคนคงเคยพยายามที่จะลืมอะไรบางอย่างลืมเรื่องที่สร้างความจุกจิกในใจของเราแต่ยิ่งอยากลืมยิ่งคิดถึงมัน

 

เพราะฉะนั้นแล้วเราลองไม่รีบลืมแต่หาวิธีอยู่กับสิ่งนั้นให้ได้โดยไม่ให้มันมารบกวนจิตใจกันดีกว่า

 

สิ่งที่ทำให้เราอยู่กับมันได้ที่เราอยู่เหนือความคิดที่เข้ามารบกวนเหล่านั้น  🙂

แมวยิ้มง่าย ใช่ว่า . . . แตกสลายไม่เป็น บทสนทนาว่าด้วยรอยขีดข่วนแห่งยุคสมัย

 

แมวยิ้มง่าย

 

หนังสือ หน้าปกเล่มสีขาว มีน้องเงาแมวดำ เขียนโด คุณใบพัด นบน้อม

 

หนังสือที่เราได้อ่านแล้วเหมือนเราอ่านสิ่งที่เราคุยกับเพื่อน เป็นหนังสือที่มีบทสนทนาระหว่างคนกับแมว และแมวกับคน ที่เต็มไปด้วยร่องรอยขีดข่วนของยุคสมัย

 

เราจะเห็นได้ว่าเนื้อหาในหนังสือมีการพูดถึงสิ่งที่คนทั่วไปเจอกันใยุคนสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Beauty standard,ความเจ็บปวดของการที่ต้องไล่หาความสำเร็จ

 

หรือ การที่เราอยากเป็นคนกลาง ๆ ไม่ขวนขวายอะไรกับสังคม 

 

A Chapter ที่ชอบ

คนกลาง ๆ 

 

การเป็นคนกลาง ๆ ไม่ทะเยอทะยาน ไม่มีแพชชั่นอะไรรุนแรง เอาตัวรอดไปเรื่อย ๆ ให้พอมีความสุขไปวัน ๆ จะสามารถอยู่รอดได้ไหมนะ .. ?

 

แต่ทั้งหมดที่พูดมาก็ต้องใช้เงิน อยากเป็นกลาง ๆ ที่ร่ำรวยจัง อยากเป็นกลาง ๆ ที่ทำงานเหมือนกับการไปเข้าสังคม

 

แต่ความเป็นจริงเราจะทำได้ไหม คงอยู่ที่เราพอใจ เราคงสามารถเปนคนกลาง ๆ ได้โดยที่ไม่เอาเสียงขของคนรอบข้างมากดดันตัวเอง 

 

พอได้อ่านจบแล้ว มีใครอยากเปนคนกลาง ๆ เหมือนกันไหม คนกลาง ๆ ของแต่ละคนอาจนิยามไม่เหมือนกัน การใช้ชีวิตมันเหนื่อยเหมือนกันนะที่ต้องไล่ตามสิ่งต่าง ๆในโลกใบนี้

 

เพราะฉะนั้นแล้วอย่าฝืนมากเกินไปถ้าไม่เป็นตัวของตัวเอง และการฝืนมันไม่ได้ทำให้เรามีความสุข ขอให้ทุกคนได้พบเจอนิยามการเป็นคนกลาง ๆ ที่เรามีความสุขไปกับมัน

 

 

วิ่ง

สไลด์จอมือถือก็เจอแต่คนมีชีวิตดี ๆ ขึ้นเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง ใช้ชีวิตท่ามกลางการแผดเผาความสำเร็จของคนอื่น จมอยู่กับความรู้สึกเราเก่งไม่พอ สวยไม่พอ ตัวเล็กลีบไปวันทุกวัน 

 

วิ่งช้าบ้างก็ได้ อย่าใจร้ายกับตัวเองนักเลย อนุญาตให้ตัวเองผิดพลาดตัวเองบ้างก็ได้ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แต่พอเราอยากวิ่งให้ช้าลง

 

ก็กลัวตกขบวนเหมือนโดนหลอกให้หยุดพักชื่นชมข้างทาง แล้วโดนคนอื่นแซงไประหว่างทาง เลยได้ค้นพบว่าการที่เราจะวิ่งลองฟังเสียงในตัวเราดูไหม ?

 

แรงจูงของเรามีอยู่ 2 แบบ

 

การทำอะไรหวังผล ทำเพื่อที่จะได้รับอะไรบางอย่างตอบแทนจากภายนอก เงิน ชื่อเสียง การยอมรับ

 

ทำอะไรเพราะเรารู้สึกชอบ และมาจากใจจริง ๆ ลองหาสิ่งที่ตัวเราเองชอบ โดยท่่ไม่ต้องนึกถึงว่าสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับ ถึงแม้จะเป็นเรื่องไร้สาระก็ตาม 🙂

 

 

ประโยคที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน

“ชอบแบบไหน ก็ทำแบบนั้น มีความสุขในแบบของตัวเอง และเคารพความรู้สึกของคนอื่นแค่นั้นเอง”

 

บางครั้งถ้าเราลองหยุดคิด หยุดเปรียบเทียบ หยุดประเมินตัวเองบ้าง ชอบอะไร มีความสุขกับอะไรก็ทำไป ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้เดือดร้อนใคร

 

ไม่ได้หมายความว่าการประเมินตัวเองไม่ได้ไม่ดีไปสะทุกด้านบางทีการประเมินตัวเองจะทำให้เราเจอว่าเราควรปรับจุดไหน ความ ‘พอดี’ ในการใช้ชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ

 

 

 

พอพูดถึง ‘ความรัก’ การที่เราเป็นแฟนกัน ต้องอยู่ใกล้ชิดกันสิ การอยู่ด้วยกัน ตัวติดกัน มันเป็นอะไรที่ดีมาก ๆ เลย แต่ ความใกล้ชิด ที่มากเกินอาจจะ ‘ทำร้าย’ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ก็ได้

 

ความใกล้ชิด

 

เพราะ ความรักคือการต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ไม่
ความรักคือการที่ “มีพื้นที่” ส่วนตัวของกันและกัน ใช่

 

พื้นที่ส่วนตัว กับ ความสัมพันธ์ สำคัญอย่าไร?

Terri Orbuch นักจิตวิทยา ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคมแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน และผู้แต่ง Finding Love Again: 6 Simple

 

กล่าวว่า “การมีพื้นที่ว่างหรือความเป็นส่วนตัวเพียงพอในความสัมพันธ์ มีความสำคัญต่อความสุขของคู่รักมากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ที่ดี” และการให้พื้นที่ส่วนตัว ช่วยยืดความสัมพันธ์ได้

 

ในการวิจัยนี้ Orbuch ศึกษาเกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร้าง ตั้งแต่ปี 1990 และมีส่วนร่วมในการศึกษาเรื่องการแต่งงานระยะยาวในสหรัฐอเมริกา

 

ที่เรียกว่า The Early Years of Marriage Project ซึ่งในโปรเจกต์นี้ ได้ติดตามคู่แต่งงาน 373 คู่มานานกว่า 25 ปี พบว่าคู่รักกว่า 46% ในโปรเจกต์นี้ ได้หย่าร้างกัน

 

ในระหว่างการวิจัยค้นคว้า พบว่าคู่สมรส 29% กล่าวว่าพวกเขามี “ความเป็นส่วนตัวหรือเวลาสำหรับตนเอง ไม่เพียงพอในความสัมพันธ์”

 

โดยฝ่ายที่เป็นภรรยากว่า 31% บอกว่ามีพื้นที่ส่วนตัวไม่เพียงพอ และ 11.5% บอกว่า เหตุผลที่ไม่มีความสุขในชีวิตคู่ เพราะขาดความเป็นส่วนตัวหรือไม่มีเวลาให้ตัวเอง

 

 

ดร.Orbuch ก็สรุปเอาไว้ว่า การให้พื้นที่ส่วนตัว ช่วยยืดความสัมพันธ์ได้ เนื่องจาก การให้พื้นที่ส่วนตัวนั้น ทำให้มีความสุขมากขึ้น และรู้สึกเบื่อน้อยลง

 

เพราะเวลาส่วนตัวได้เอาไปประมวลผลความคิด ไปทำงานอดิเรก และผ่อนคลายตัวเอง โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้อื่น ช่วยปลดปล่อยความเครียด และช่วยลดความกดดันในชีวิตคู่ลงได้ 

 

 

John Aiken นักจิตวิทยาด้านความสัมพันธ์และนักประพันธ์ก็รู้สึกเห็นด้วย เพราะการมีระยะห่างในความสัมพันธ์ จะกระตุ้นให้แต่ละฝ่ายไปรักษาความรู้สึกของตัวเอง

 

และรักษาตัวตนของตัวเองได้ในขณะที่ยังเป็นคู่รักกันอยู่ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมความเป็นอิสระ และทำให้ความสัมพันธ์เหนียวแน่นมากกว่าการเกาะติดกันตลอดเวลาอีกด้วย

 

 

ความใกล้ชิด ในความสัมพันธ์บางทีก็สะท้อนถึงมุมสุขภาพจิต

 

Separation Anxiety โรควิตกกังวลจากการแยกจาก

 

อาการที่พบบ่อยในวัยเด็ก แต่ วัยผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน 

 

หากตอนเด็กเราถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งบ่อย ๆ จะทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือเกิดความไม่ไว้วางใจในตัวพ่อแม่หรือผู้ปกครองคนอื่น ๆ ของเรา

 

ก็จะนำไปสู่ “Anxious Attachment” หรือ “ความผูกพันแบบกังวล” พอโตขึ้นและมีความรักความสัมพันธ์เป็นของตัวเอง ก็อาจจะกลายเป็นคนขี้กังวลในความสัมพันธ์ได้ เช่น

 

 

 

Dependent Personality Disorder (DPD)

พฤติกรรมพึ่งพาคนอื่นมากเกินไป ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองได้ กลัวการแยกจาก ถ้าอีกฝ่ายต้องจากหรือห่างไปจะรู้สึกไม่สบายใจ

 

ต้องการการสนับสนุนทางจิตใจ ร่างกาย อยากให้อีกฝ่ายมาซัพพอร์ตไม่มั่นใจในตัวเอง 

 

 

สามารถกระทบกับความสัมพันธ์ได้อย่างไร . .

เช่น พอเรามีแฟนแฟนขอไปเที่ยวกับเพื่อน เราให้แฟนไปแต่ก็ขอไปกับแฟนด้วย ในครั้งแรกแฟนก็ให้ไปด้วย แต่ในความรู้สึกจริง ๆ เขาจะมีความพะวงว่าเราจะเบื่อไหม

 

เราจะสนุกไหม หรือจริง ๆ แล้ว แฟนขอไปกับเพื่อนเพราะว่าแฟนอยากไปใช้เวลาอยู่กับเพื่อนจริง ๆ ถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ การที่พึ่งพาแฟนมากเกินไป

 

โดยที่ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวให้เขา พื้นที่สังคมให้กับเขาเลยอาจจะส่งผลให้กลายเป็น Toxic Relationship ได้ ลองนึกภาพว่าความสัมพันธ์เป็นวงกลมซ้อนทับกัน

 

วงกลมที่ซ้อนทับคือสิ่งที่เรามีเวลาร่วมกัน และก็ยังมีเสี้ยววงกลมของตัวเองทั้งคู่ พยายามอย่าให้วงกลมมันทับสวมรอยกัน เพราะนั้นอาจจะเป็นอะไรที่มากเกินไปของทั้งสองฝ่าย

 

 

ห่างแบบไหนถึงไม่ห่างเหิน

เราจะมีพื้นที่ส่วนตัวยังไงให้เรารักตัวเองไปด้วยและรักคนของเราไปด้วย 

 

 

 

 

สุดท้ายมันเป็นคุณค่าของแต่ละคนที่ให้กับสิ่งหนึ่ง มันไม่มีผิดหรือถูก มันอาจจะเป็นแค่ว่าคุณค่าของเรามันตรงกับคุณค่าของอีกคนหรือเปล่า

 

อีกคนยอมรับได้กับคุณค่าที่เราให้หรือเปล่า ถ้าเห็นไม่ตรงกันก็อาจจะทำให้อึดอัด แต่ถ้าเห็นตรงกันต่างคนมันก็ต่างยอมรับได้และอยู่ด้วยกันได้ 😀

 

 

ที่มา :

 Separation Anxiety

Staying Compatible by Staying Yourself

 

 

 

 

 

 

 

 

สมาธิสั้น เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมากขึ้นจริงไหม สมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียทำให้หลายคนจดจ่อกับอะไรได้ยากขึ้นหรือเปล่า

 

ในมุมมองทางการแพทย์ สมาธิและสติสำคัญอย่างไร ถ้าอยากพัฒนาตัวเองให้มีสมาธิและสติมากขึ้นจะทำอย่างไรได้บ้าง ร่วมพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ 🙂

 

Social Media ทำให้สมาธิสั้น จริงหรือไม่

ค่าเฉลี่ยนสมาธิของผู้คนลดลงจริง อาจเป็นไปได้ทั้ง ปัจจัยภายใน – ภายนอก  และเนื่องด้วยปัจจัยภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปเยอะ เช่น โลกในยุคปัจจุบันมีสิ่งที่ Distract เรามากมาย ทุกอย่างเข้าถึงเร็วและง่ายไปหมด 

 

 

สมาธิสำคัญอย่างไร

ถ้าหากเรามีสมาธิ โฟกัส ก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ 

 

 

สาเหตุที่ทำให้ สมาธิสั้น คืออะไร

ภายนอก 

1. สิ่งแวดล้อมที่จะดึงความสนใจของเรา เช่น เสียงดังรบกวน สภาพอากาศ  

ภายใน 

1. ความเหนื่อยล้า

2. ความเครียดและ วิตกกังวล

3. ความชอบ และความสนใจส่วนตัว

 

 

ไม่มีสมาธิ กับสมาธิสั้น แตกต่างกันหรือไม่

 

สมาธิสั้น เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ทางการเเพทย์ เรียกว่า “โรคสมาธิสั้น”  ซึ่งโรคนี้ติดตัวมาแต่กำเนิดอาจเกิดจากปัจจัยทางชีวภาพต่าง ๆ 

 

ในส่วนของการ ไม่มีสมาธิ อาจเป็นแค่ภาวะที่เกิดได้ในคนทั่วไป และในบางครั้งอาจมีคนที่อาการคล้าย ๆ โรคสมาธิสั้นเป็นช่วง ๆ เพราะปัจจัยภายนอกและภายในต่าง ๆ 

 

 

สังเกตสมาธิตัวเองอย่างไร

 

เทียบกับตัวเองในก่อนหน้านี้ ถ้าหากเรารู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง ไม่เหมือนเดิม โฟกัสอะไรได้น้อยลง โฟกัสไม่ได้ ค่อย ๆ หันมาดูแลตัวเอง แต่หากวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น ต้องพบผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

 

อยากมี สมาธิ มากขึ้นทำอย่างไร 

 

1. ฝึกฝนอยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง จนเกิดความสม่ำเสมอ ความเคยชินของสมอง  ช่วงแรก ๆ อาจจะเหนื่อย แต่ต้องค่อย ๆ ฝึกฝนไปเรื่อย ๆ 

 

2. ลองสาเหตุที่กวนใจ และเคลียร์ความกังวลนั้นออกไปก่อน 

 

3. การฝึกสติให้ตระหนักรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น เช่น ตอนนี้กำลังกังวล ตอนนี้กำลังไม่มีสมาธิ สิ่งรอบข้างเกิดอะไรขึ้นบ้าง 

 

การฝึกสติทำได้โดยการหายใจเข้า- ออก ลึก ๆ และรู้ลมหายใจตัวเอง เป็นการฝึกให้ตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน เมื่อเราเริ่มนิ่ง สมาธิจะเกิดขึ้นตามมา 

 

4. จำกัดปัจจัยภายที่รบกวนเรา เช่น เสียงรบกวน หรือ มือถือ เป็นต้น 

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ คลิก

ความเปลี่ยนแปลง เกิดได้ทุกวัน ทุกเวลา แต่ไม่ง่ายที่จะยอมรับ เพราะเราไม่รู้ว่าต้องเผชิญกับอะไรบ้าง

 

จะรับมือกับความกลัวอย่างไร มาหาคำตอบกันในรายการพูดคุย X คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂

 

ความเปลี่ยนแปลง

 

 

ความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นทุกวันไหม ..

เราไม่เหมือนเดิมสักวัน ตอนเช้าเราอาจเป็นคนที่อารมณ์ดี แต่ระหว่างวันถ้าเราได้เจอเรื่องที่ติดขัด หรือเจอเรื่องที่เข้ามากระทบกับความรู้สึกของเรา

 

ในตอนเช้าที่เรารู้สึกอารมณ์ดีอาจเปลี่ยนเป็นตอนเย็นที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจก็ได้ เพราะฉะนั้นแล้วคนเราคงไม่ใช่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงทุกวัน แต่สามารถเปลี่ยนได้เป็นทุกชั่วโมง ทุกนาที

 

 

จะรับมือกับความกลัวการเริ่มต้นใหม่อย่างไร?

ความเปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับความกลัว ความกังวล เราไม่รู้ว่าสถานที่ใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่เราต้องพบเจอกับอะไรบ้าง

 

เพราะฉะนั้นแล้วเราควรเข้าใจสิ่งที่ต้องเผชิญว่า นี่คือสิ่งที่เราต้องเผชิญหลังจากนี้นะ เตรียมใจรับสิ่งใหม่ ๆ ถึงแม้ว่าช่วงแรกจะมาพร้อมกับหลากหลายความรู้สึกก็ตาม

 

 

เผชิญหน้ากับ ความเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงน่ากลัวเสมอในการเริ่มต้น การเริ่มต้นใหม่มาพร้อมกับความไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้เราก็จะรู้สึกไม่ปลอดภัย

 

ลองก้าวออกมาจากความกลัวอะไรบางอย่างของตัวเราเอง ถ้าเราก้าวข้ามก้าวแรกออกไปเราจะได้เรียนรู้ว่าทั้งหมดที่เรากลัวคืออะไร 

 

ความกลัวที่กับดักของเราที่ไม่อยากเริ่มอะไรใหม่ ๆ กับดักทางความคิดว่าเราทำได้แค่นี้ ข้างนอกมันน่ากลัวจังเลย

 

 

ข้อดี ความเปลี่ยนแปลง

ความเปลี่ยนแปลงทำให้เราเติบโต ทำให้เรามีโอกาสในการพัฒนาตัวเอง มองเห็นโลกได้หลากหลายมากขึ้น

 

ถ้าเรายังอยู่ในพื้นที่ของตัวเองเราจะมองเห็นแค่โลกของเรา เปลี่ยนจากความกลัวเป็นความท้าทายเราจะได้มีความกล้ามากขึ้น

 

 

ในวันที่มีเรื่องแย่ ๆ เข้ามา สิ่งแรกที่เราจะทำหลังจากเกิดเรื่องที่ไม่ดีคืออะไรกัน . . คำตอบส่วนใหญ่แล้วคงเลือกที่จะ ระบายความในใจ กับใครสักคน

 

อาจเป็นคนที่สนิทใจหรือเป็นการโพสระบายผ่านโซเชียลก็ตาม แต่การระบายที่เราทำอาจจะเป็นพิษกับคนอื่นได้เหมือนกัน

 

 

 

Trauma Dumping

การระบายที่เป็นพิษหรือ Trauma Dumping คิอการที่ใครสักคนพยายามที่จะระบายความทุกข์ของตัวเองให้คนรอบข้างฟัง ‘มากเกินไป’

 

จนทำให้อีกฝ่ายเหมือนเป็นที่รองรับเกิดความลำบากใจ หรืออาจจะไปถึงเกิดความทุกข์ใจเสียเอง

 

Carlar Manly นักจิตวิทยาได้อธิบายไว้ว่า แม้ว่าการ Trauma Dumping นั้นจะทำให้ผู้ระบายรู้สึกโล่งใจหรือสบายใจขึ้นมา

 

แต่ก็อาจทำให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึก เหน็ดเหนื่อย ดาวน์ อึดอัด โกรธ รู้สึกกำลังโดนเอาเปรียบ เมื่อต้องรับฟังมันมากเกินไป

 

โดยอย่างแย่ที่สุดก็คือไปกระตุ้นเหตุการณ์สะเทือนใจในอดีตที่เลวร้ายของตัวเองขึ้นมาอีกรอบ

 

แต่อย่างไรก็ตาม การระบาย ก็เป็นทางออกที่ดีในวันที่เจอเรื่องแย่ ๆ เพราะฉะนั้นแล้วการระบายที่พอดีคืออะไร?

 

 

การระบายที่ดี Healthy Venting

การระบายความทุกข์ใจ ที่อีกฝ่ายเต็มใจที่จะรับฟังและสนับสนุนความรู้สึกของเราอย่างเต็มที่ โดยไม่รู้สึกอึดอัด หรือเราสอบถามความสะดวกของเขาก่อนที่เราจะระบาย

 

จะมีความแตกต่างกับการระบายที่เป็นพิษหรือ Trauma Dumping เช่น จะไม่มีการนินทาคนอื่น มีหัวข้อการคุยที่ชัดเจน มีเวลาในการคุยที่พอเหมาะ เปิดรับความคิดเห็นที่ หรือแนวทางแก้ไข 

 

 

เรากำลัง Trauma dumping ใส่คนอื่นอยู่หรือเปล่า?

 

 

พอได้ลองตั้งคำถามกับตัวเองแบบนี้แล้ว เราอาจจะคิดว่าตัวเราต้องเคยทำแบบนี้แน่ ๆ เลย แต่ว่าถ้าเรารู้ว่าเราเคยแล้วก็อย่าเลิกที่จะระบายแล้วเก็บไว้คนเดียวเลยนะ

 

เพราะยังไงการที่เราระบาย มีคนที่อยู่ข้าง ๆ คอยเป็น Social support ก็สำคัญและดีกับสุขภาพจิตของเราเหมือนกัน 🙂

 

เพราะฉะนั้นเลยต้องตั้งคำถามกับตัวเองโดยคำถามเหล่านี้ ขอบคุณข้อมูลจาก mission to the moon 

 

  1. การระบายของเราจะส่งผลกระทบกับคนอื่นไหม เช่น ตอนนี้ เราอยากระบายเรื่องานกับเพื่อนคนนี้มาก แต่เพื่อนคนนี้เขาก็กำลังเครียดเรื่องงานเหมือนกัน เราอาจจะต้องหาคนอื่นที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราสบายจะได้ไม่สร้างบาดแผลให้คนอื่น
  2. ทำไมเราถึงอยากระบายเรื่องนี้ เพราะเราไว้ใจคนนี้ หรือเพียงแคว่ามันรู้สึกดีที่ได้พูดออกไป
  3. เราได้ให้โอกาสคนที่รับฟังเรา ได้ระบายความในใจกลับมาด้วยหรือไม่
  4. คนอื่นจะสบายใจไหม ที่จะรับฟังเรื่องของเรา
  5. เราเคยระบายเรื่องนี้ให้พวกเขาฟังไปแล้วหรือยัง

 

ผลกระทบของ Trauma Dumping

 

อาจมีบางครั้งที่ Trauma Dumping จะกลายเป็นมากกว่าแค่ความอึดอัด แต่บางครั้งก็สามารถทำให้บางความสัมพันธ์ค่อย ๆ ห่างหายกันไป

 

ความรู้สึกของผู้ที่ถูกได้รับผลกระทบใส่ เวลาที่ได้รับความคิด อารมณ์ จะรู้สึกหนักใจและทำอะไรไม่ถูก

 

เพราะพวกเขาไม่แน่ใจว่าจะตอบสนองหรือ หรือบางทีก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ตอบสนองเลย 

 

ทางเลือกอื่น ๆ สำหรับการระบายความรู้สึก 

 

 

ที่มา :

When Venting Turns Toxic: What Is Trauma Dumping?

The Difference Between Venting and Dumping