Posts
หลุมพรางทางความคิด เมื่อรู้สึกสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือคลั่งไคล้อะไรบางอย่างจนมองข้ามสิ่งที่ไม่ดี สิ่งนั้นเรียกว่า Halo Effect เพราะคนที่ถูกใจ ทำอะไรก็ถูกต้อง
Halo Effect
การรับรู้ทางบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยที่ตัวของเราจะสรุปนิสัยคน ๆ นั้นด้วยความรู้สึกแรก ซึ่งการรับรู้ทางความคิดนี้เกิดขึ้นได้เป็นอัตโนมัติ
อาจจะเกิดขึ้นแบบที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ ดังกล่าวคือ มนุษย์มีแนวโน้มจะหาอะไรมา ‘ยืนยัน’ หรือมองหาสิ่งที่ ‘สอดคล้อง’ กับความเชื่อหรือความคิดเดิมของตัวเอง
มากกว่าสิ่งที่ขัดแย้งกับเรื่องที่ ‘ปักใจ’ เชื่อไปแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกตึงเครียด อึดอัด หรือไม่สบายใจ
ประวัติความเป็นมาของ Halo Effect
คำว่า Halo แปลตรงตัวหมายความว่า รัศมีวงกลมที่อยู่บนหัวของเทวดานางฟ้า ซึ่ง Halo Effect จะใช้เรียก ภาวะการรับรู้ที่เรามีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและประเมินสิ่งนั้นดีเกินจริง
ราวกับเราเห็นรัศมีนางฟ้าอยู่บนสิ่งนั้น ๆ ต้นกำเนิด ในปี 1920 นักจิตวิทยา นามว่า ‘เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์’ (Edward Thorndike) ได้ตั้งคำถาม จึงทำการทดลอง
พร้อมอธิบายปรากฏการณ์ที่เข้าข่าย ‘คนที่ใช่ ทำอะไรก็ไม่ผิด’ นี้ด้วยคำว่า ‘Halo Effect’ พบว่า หากมนุษย์รับรู้ถึงคุณสมบัติเพียงข้อเดียวของคนคนหนึ่ง
จะทำให้เกิดอคติในอื่น ๆ ตามไปด้วย ธอร์นไดค์ ทำการทดลองทางสถิติโดยให้นายทหาร 2 คน ประเมินทหารผู้ใต้บังคับบัญชาในด้านกายภาพ
ด้านลักษณะภายนอก เช่น เสียง พละกำลัง ความอดทน และด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล เช่น ความภักดี ความไม่เห็นแก่ตัว ความร่วมมือ โดยห้ามพูดคุยกับทหารแต่ละคนที่ถูกประเมิน
ความน่าสนใจคือ ธอร์นไดค์ พบว่า ความดึงดูดใจและลักษณะภายนอกของบุคคลนั้น ๆ เช่น ความสูง มีอิทธิพลต่อการประเมินด้านอื่น ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน
เรียกง่าย ๆ ว่า คนที่มีคะแนนคุณลักษณะภายนอกสูงก็จะมีคะแนนในด้านอื่น ๆ เช่น สติปัญญา ความเป็นผู้นำ สูงตามไปด้วย
แสดงว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะนำลักษณะเด่นอย่างหนึ่งมาสร้างมุมมองต่อบุคลิกภาพหรือลักษณะโดยรวมของบุคคลนั้น ซึ่ง ธอร์นไดค์ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘Halo Effect’
คนที่ถูกใจ ทำอะไรก็ถูกต้อง
พอพูดถึงคำว่า Halo Effect พอได้รู้ความหมายคร่าว ๆ แล้วทำให้นึกถึงคำที่ว่า ‘คนที่ถูกใจ’ ทำอะไรก็ถูกต้อง เช่น กรณีที่เราชอบคนนึงมาก แต่เขาทำผิด ทำไม่ดี
เราก็มองข้ามความผิดนั้นไป และบางทีเราอาจจะหาข้อดีมาปกปิดข้อด้อยอีก หรือบางทีก็เกิดความลำเอียงในสังคมหรือที่เราเรียกกันว่า Beauty Standard
การที่คนนึงเกิดมาหน้าตาดี รูปลักษณ์ดี ตามมาตรฐานของสังคมที่ได้เซตเอาไว้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนกลุ่มคนนั้นจะถูกมีโอกาสเลือกมากกว่า
Halo Effect กระทบในด้านต่าง ๆ
ในด้านการศึกษา
งานวิจัยเก่า ๆ พบว่าครูมีความคาดหวังที่ดีกว่าต่อเด็กโดยที่พวกเขาให้คะแนนว่ามีเสน่ห์
หรือเด็กที่เขารู้สึกเอ็นดู หรือที่เขาชอบเป็นพิเศษมากกว่าตามเกณฑ์วัดของความเป็นจริง
ในที่ทำงาน
อคติที่พบบ่อยที่สุดที่ส่งผลต่อการประเมินและการทบทวนประสิทธิภาพ หัวหน้าอาจให้คะแนนลูกน้อง
โดยพิจารณาจากการรับรู้ถึงคุณลักษณะเฉพาะเพียงอย่างเดียว มากกว่าที่จะประเมินผลงานและการมีส่วนร่วมทั้งหมดของพวกเขา
นอกจากนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Economic Psychology พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว
ผู้เสิร์ฟอาหารที่น่าดึงดูดใจจะได้รับทิปมากกว่าผู้ให้บริการที่ไม่น่าดึงดูดโดยเฉลี่ยประมาณ 1,200 เหรียญต่อปี
การใช้ชีวิตประจำวัน
สินค้าในตลาด การทำโฆษณาต่าง ๆ บางทีก็มี Halo Effect มาคอยบังตาของเราให้เรายึดถือ ยึดติดกับสิ่งที่เขาว่าดี แต่จริง ๆ มันก็คงไม่ได้ดีแบบที่เราต้องการแบบนั้น
แต่เป็นเพราะเพียงเสียงส่วนมาก คำเชิญชวนของอินฟลู ที่ทำให้เราเอนเอียงไป
จัดการกับ Halo Effect และฝึกฝนตัวเองไม่ให้ตัดสินคนอื่่น
- Awareness
การตระหนักรู้เป็นก้าวแรกในการเอาชนะข้อผิดพลาดในการตัดสินหนังสือจากปก
- Slow down
การจงใจชะลอการตัดสินใจและการตัดสินใจใด ๆ ในภายหลัง อย่าตัดสินใจเลือกการรับสมัครทันทีหลังการสัมภาษณ์,การออกเดต
โดยทั่วไปการใช้เวลาทำความรู้จักกับอีกฝ่าย ไปเดตหลายๆ ครั้งก่อนที่จะพัฒนาไปอีกขั้น
เราล้วนแต่เป็นทาสของ Halo Effect กันเกือบทั้งนั้น เพราะฉะนั้นถ้ารู้แบบนี้เเล้ว เรามาทำให้ตัวเองดูดีในแบบของเรากันเถอะ
เช่น การเตรียมตัวเตรียมความพร้อมสำหรับการไปสมัครงาน เลือกลองชุดที่เหมาะสมกับเรา เลือกทำผมที่เข้ากับเราที่สุด
เลือกสีลิปสติกที่มันสวยเมื่ออยู่กับเรา นี่อาจจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งก็ได้ ถ้าเรารู้จักการตระหนักรู้ของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เราใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นเหมือนกัน
เราไม่สามารถสรุป หรือ เคาะ อะไรเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เหมือนที่เราชอบพูดกันว่าทุกคนเป็นมนุษย์ไม่มีใครดีทุกอย่างและก็ทางกลับกันก็คงไม่มีใครที่แย่ทุกอย่างเหมือนกัน
ที่มา :
The Halo Effect: What It Is and How to Beat It
อารมณ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องรับมือ เพราะในแต่ละวันอารมณ์เกิดขึ้นได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทางลบหรือทางบวก
ในทางจิตวิทยา การเก็บอารมณ์หรือการแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมทำอย่างไร รวมพูดคุยกับ คุณ รัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก 🙂
อารมณ์ หลากหลายเป็นเรื่องปกติหรือไม่ ?
มนุษย์มีหลากหลายอารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ และอารมณ์ของเราสามารถเกิดทับซ้อนกันได้ ตัวอย่างเช่น เวลาเราเหนื่อย เราก็อาจจะหิว เมื่อเรากินเราก็อิ่ม ก็จะรู้สึกสบายใจขึ้น
เพียงแต่ว่าเมื่อหลาย ๆ อารมณ์ซ้อนอารมณ์ อาจจะทำให้เรารู้สึกหนักบ้าง แต่อารมณ์ของเราเปลี่ยนแปลงตามตัวกระตุ้นไม่ได้เป็นเรื่องแปลก
การเก็บอารมณ์เป็นเรื่องปกติหรือไม่ ?
การเก็บความรู้สึกเป็นสิ่งที่มนุษย์เราทำเป็นธรรมชาติ เพราะเรานั้นต้องประเมินสถานการณ์ก่อนว่า เราสามารถแสดดงออกได้ไหม อย่างเช่น เวลาที่เราโกรธ แล้วเราอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่
เราจึงประเมินแล้วว่าไม่เหมาะสม หากจะแสดงความโกรธออกมา แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราอยู่กับเพื่อน และประเมินว่า พูดได้ เหมาะสม ไม่ได้ส่งผลกระทบคนอื่น เราก็จะแสดงความโกรธออกมา
การเก็บ อารมณ์ อย่างเหมาะสม ทำอย่างไร ?
เรียนรู้ที่จะควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม โดยประเมินได้ด้วยตนเองว่า เราเก็บอารมณ์ไว้เท่านี้ แล้วแสดงออกไปเท่านี้
เรายังคงสุขสบายใจ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราในระยะยาว และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคนอื่นนั่นเรียกได้ว่าเหมาะสมกับเรา
การเก็บและการแสดงออกอารมณ์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
การแสดงออกของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แบ่งออกตามหลักจิตวิทยาดังนี้
Passive แปลว่า ไม่ตอบโต้ นิ่ง คล้าย ๆ สมยอม
Aggression แปลว่า แสดงทุกอย่างออกมาชัดเจน เก็บอารมณ์ได้ค่อนข้างน้อย
Passive-Aggression นิ่งเงียบแต่ในใจต่อต้าน
ซึ่งทุกคนจะมีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นของตัวเอง ถ้าหากในสังคมไทยเชื่อมโยงกันก็มักจะพบ คนที่เป็นลักษณะ Passive หรือ Passive – Aggression
แต่ถ้าในบริบทของต่างชาติ ฏ็มักจะพบ Aggression เขาเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา และสามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้
เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น ควรเก็บหรือแสดงออก ?
เราควรมีวิธีจัดการอารมณ์ตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม คววใช้ได้อย่างหลากหลายตามสถานการณ์เช่น บางสถานการณ์ไม่ยุติธรรมกับเรา
การที่เราแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเพื่อเป็นการปกป้องตัวเอง ไม่ให้ใครคุกคามเรา หรือในบางสถานการณ์หากยอมได้ก็ยอมได้ เราก็ใช้การเก็บอารมณ์ของเราบ้าง
รีเช็คตัวเองอย่างไร ?
นอกจากการจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้แล้ว เรายังควรสร้างพฤติกรรมทางบวกให้ตัวเองด้วย ถ้าเรามองในมุมกว้างขึ้น เราจะสามารถเข้าใจอารมณ์ว่าไม่มีผิดหรือ ถูกเพราะเราเป็น Human Being เราแค่มนุษย์คนหนึ่ง
เมื่อเราเชื่อมโยงอารมณ์ของตัวเองได้ เราก็จะเริ่มเข้าใจว่าอะไรทำให้เราเกิดอารมณ์นี้ ความคิด และจิตใจ และจัดการได้อย่างเหมาะสม
ไม่ใช่เพียงแค่จะพูดว่า ไม่เป็นไรหรอก ช่างมันเถอะ นั่นคือาการที่เราปฎิเสธ และไม่อนุญาติให้ตัวเองได้รู้สึกกับความรู้สึกไม่ดีที่เกิดขึ้น
เหมือนเรากำลังถอยออกมาจากความรู้สึกและความต้องการจริง ๆ ของตัวเอง จึงไม่นำไปสู่วิธีการจัดการอารมณ์ของตัวเอง ตราบใดที่เราคิดว่าไม่เป็นไร ปิดกั้นความรู้สึกตัวเองบ่อย ๆ ก็อาจนำไปสู่ความไม่สุขใจได้
ดูแลอารมณ์อย่างไรไม่ให้กระทบคนรอบข้าง ?
เท่าทันความรู็สึกและความคิดของเรา โดยการฝึกจาก 4 คำถามดังนี้
1. ฉันรู้สึกอย่างไร ?
2. รู้สึกแบบนี้แล้วต้องการอะไร ?
3. เราจะตอบสนองอย่างไร ? เพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้น และทำให้ความรู้สึกลดลง
4. ตั้งคำถามว่าการตอบสนองอย่างนั้นมีประโยชน์จริง ๆ หรือไม่
เมื่อเราฝึกบ่อย ๆ เราจะชิน และเราจะเข้าใจคนที่อยู่ตรงหน้าได้จริง ๆ ไม่ใช่การไม่อนุญาติให้รู้สึก
ควรรับมือกับ อารมณ์ ทางลบและบวกอย่างไร?
อารมณ์ทางบวกเป็นเรื่องดี เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าโลกนี้มันสวยงาม ดีต่อร่างกายและจิตใจ แต่เราอย่าลืมว่า การที่เราให้คุณค่ากับอารมณ์ทางบวกมาก ๆ มันจะทำให้เราหลงลืมความรู้สึกทางด้านลบของตัวเอง
หรืออาจะหลงลืมความรู็สึกอีกฝั่งหนึ่ง ที่ทำใหเรารู้สึกแย่ ซึ่งเราพยายามเก็บไว้โดยไม่โกรธ ไม่เสียใจ ไม่เศร้า รู้สึกแค่ด้านบวก ก็อาจจะทำให้ขาดชัั้นกรอง ภายใรความรู้สึกจริง อาจจะโกรธ
คงจะดีกว่าถ้าเราวสามารถสัมผัสได้ทั้งอารมณ์ทั้งทางบวก และทางลบของตัวเอง และรู้เท่าทัน สุขก็สุข ทุกข์ก็ทุกขื ไม่เห็นเป็นไร สำคัญคือต้องซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเองจึงจะมองเห็นความต้องการลึก ๆ ของตัวเอง
เริ่มต้นจดบันทึก อารมณ์ อย่างไร ?
จดบันทึกโดยการเชื่อมโยง และตั้งคำถามกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง จะทำให้เราเข้าใจอะไรที่เกิดขึ้นกับตัวงเองมากยิ่งขึ้น เช่น เวลาที่เราเจอสถานการณ์หนึ่ง เรารู้สึกอย่างไร
โดยตั้งชื่ออารมณ์ของตัวเองที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น โกรธ เศร้า รู้สึกผิด จากนั้นคิดต่อว่าทำไมรู้สึกแบบนั้น แล้วทำอย่างไรต่อได้ โดยสังเกตการตอบสนองทางทางร่างกายของตัวเอง
ถ้าเราฝึกเชื่อมโยง ความรู้สึก ความคิด พฤติกรรม และร่างกายที่ตอบสนองของตัวเอง เราจะคุ้นชินกับอารมรณ์ต่างๆ ของเราได้มากขึ้น ช่วงแรก ๆ อาจจะต้องจด แต่หากเราเก่งขึ้นเราก็เชื่อมโยงเก่งขึ้นผ่านการฝึกฝนบ่อย ๆ
ทฤษฎีของ ความอ่อนไหว (ง่ายเป็นพิเศษ)
เพราะ การเป็นคนอ่อนไหวไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอ . .
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย เมล คอลลินส์ เป็นที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาบำบัด คุณคอลลินส์มีความเชี่ยวชาญกับคนที่เป็น Highly Sensitive Person เก็บเกี่ยวประสบกาณ์มาเรื่อย ๆ
จนเกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ซึ่งตัวคุณคอลลินส์เองก็เป็น Highly Sensitive Person มาตั้งแต่กำเนิดเหมือนกัน
ใครอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.melcollins.co.uk
ความอ่อนไหงง่ายแก้ด้วยการ “รักตัวเอง”
Chapter ที่น่าสนใจที่อยากนำมาแบ่งปันคือ “การแก้ด้วยการรักตัวเอง” ขอหยิบยก 5 ขั้นตอนที่อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นขั้นตอนที่สามารถนำมาปรับใช้ได้โดยง่ายไหม?
ก็ไม่ง่าย แต่สามารถฝึกฝนและสามารถทำได้ การรักตัวเองคือสภาวะชื่นชมยินดีกับตัวเองจากการกระทำต่าง ๆ ทางร่างกาย อารมณ์ จิตวิทยา จิตวิญญาณ
การรักตัวเองคือการยอมเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดต่าง ๆ ความเชื่อ ความคิดในแง่ลบที่จะเปลี่ยนไปทางแง่บวก พอได้อ่านแล้วก็รู้ว่าจากลบจะเปลี่ยนไปบวกได้อย่างไรบ้าง
การรักตัวเองพูดง่ายแต่ทำยาก จะมีทั้งช่วงที่เรารักตัวเองมาก หวงแหนตัวเองกับบางช่วงที่เราไม่รักและไม่เห็นคุณค่าตัวเองขนาดนั้นเลยก็มี เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มจาก . . .
ขั้นตอนที่ 1 การหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
บางครั้งการที่เราเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นก็เป็นแรงผลักดันเชิงบวกที่ดี แต่การเปรียบเทียบหลาย ๆ สิ่ง ไม่ว่าจะหน้าตา ฐานะการงาน ความฉลาด ประสบความสำเร็จ
จะส่งผลให้เรารู้สึกดีไม่พอ คือไม่ว่ายังไงก็จะต้องมีคนที่เรามองว่า ‘เขาดีกว่าเรา’ อยู่เสมอ และการที่เราคิดแบบนี้จะเป็นบ่อนการทำร้ายตัวเองเรื่อย ๆ
ทางที่ดีคือการที่เรายอมรับความเป็นตัวเรา การรักตัวเองไม่ได้อยู่ดีรูปลักษณ์ภายนอก ความสำเร็จภายนอกแต่สิ่งที่รักตัวเองคือการยอมรับตัวตนของเราเองจากภายใน
ถ้าให้เปรียบคนที่เป็น Highly Sensitive Person จะเบลมว่าเพราะเราเป็นคนอ่อนไหวง่ายไงเลยรู้สึกอ่อนแอ แต่เพราะความอ่อนไหวง่ายไงเราเลยรับรู้ความรู้สึกของคนอื่นได้
รับรู้สถานการณ์อะไรที่ควรหรือไม่ควรคำพูดที่ถนอมจิตใจคน นั้นคือข้อดี
ขั้นตอนที่ 2 เลิกวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง
การที่เราด่าทอตัวเอง วิจารณ์ตัวเองจะทำให้เราหมดกำลังใจ และทำลายความรู้สึกที่ตัวเองมีคุณค่า ไม่แปลกเลยที่เรามีนักวิจารณ์เกิดขึ้นกับตัวเรา
บางคนก็เลือกวิธีมองว่ามันคือศัตรูจึงพยายามมองข้ามมัน บางคนก็เลือกกดทับมันแล้วแล้วคิดถึงแต่สิ่งดี ๆ แต่วิธีเหล่านั้นเหมือนเป็นการปิดเสียงนักวิจารณ์เพียงชั่วคราว
คุณคอลลินส์ก็เลยมีแบบฝึกหัดที่ให้เราได้ผูกมิตรกับนักวิจารณ์ ให้เรานึกถึงนักวิจารณ์ในตัวเราเองแล้วตั้งชื่อให้มัน เช่น เอนักตัดสิน แล้วเออัดเสียงช่วงเวลาที่เราตัดสินตัวเอง
ตำหนิตัวเองลงไป ที่นี้กลับไปฟังเสียงที่อัดแล้วดูว่าสิ่งที่เราตัดสินตัวเอง ตำหนิตัวเอง มีใครเคยบอกเราอย่างนี้รึป่าว พ่อแม่ ครู แฟน เพื่อนรึป่าว
ถ้าเราฟังแล้วเรารู้ว่ามันเริ่มจากไหนเราจะเริ่มแยกแยะได้ ต่อไปก็ต้องตั้งข้อสงสัยว่า ความคิดแง่ลบที่เราตัดสินตัวเองตำหนิตัวเอง มันจริงหรือเปล่า ทำไมเราถึงได้รับคำชมว่าทำงานเก่ง
เป็นเพื่อนที่น่ารัก เป็นคนที่นิสัยดี แล้วเราจะตำหนิตัวเองด่าทอตัวเองหนักให้เจ็บปวดทำไม เมื่อเรารับรู้ถึงความรู้สึกนี้แล้วเราเปลี่ยนจากการด่าทอเป็นการสวมกอด เอนักตัดสิน
และบอกเอนักตัดสินว่า เอจะได้รับการเยียวยานะ ความเห็นอกเห็นใจ การเห็นคุณค่าในตัวของเอเองกำลังจะเริ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องด่าทอตัวเองให้เจ็บปวดแล้วนะ
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาความเห็นอกเห็นใจของตัวเอง
คนเป็น Highly Sensitive Person จำนวนมาก จะมอบความเห็นอกเห็นใจให้คนอื่นอย่างมหาศาล แต่กลับไม่สามารถทำแบบนั้นได้กับตับเอง โทษตัวเอง วิจารณ์ตัวเอง ปฏิเสธตัวเอง
ดังนั้นการฝึกการรัก การเห็นใจตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก คำถามที่ดีที่เหมาะที่จะถามตัวเองก็คือ “เราจะทำกับพ่อแม่ ลูก ๆ เพื่อน ๆ หรือคนที่เรารักเหมือนที่เราทำกับตัวเองหรือเปล่า”
ถ้าคำตอบคือไม่ ก็ให้สัญญากับตัวเองว่าจะปฏิบัติกับตัวเองด้วยความเมตตามากกว่านี้ เหมือนกับที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ การรักตัวเองถ้าทำไม่เป็นลองดูว่าเรารักคนอื่น
ปฏิบัติกับคนอื่นยังไงเราลองเริ่มทำจากสิ่งนั้นไหม?
ขั้นตอนที่ 4 เรียนรู้ที่จะปฏิเสธโดยที่ไม่รู้สึกผิด
การที่เราเป็น Highly Sensitive Person จะมีปัญหากับการบอกปฏิเสธคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นสถานการณ์ที่ถูกกดดัน จนลำบากใจ หรือสถานการณ์ที่เราคิดว่าต้องแย่แน่ ๆ เลยถ้าเราปฏิเสธคนนี้
คนนี้ต้องไม่โอเค จึงมักจะรู้สึกผิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเห็นแก่ตัวถ้าไม่ช่วยเหลือคนอื่น จึงตอบตกลงไปถึงแม้ว่าจะไม่อยากทำก็ตาม เมื่อตอบตกลงไปเรากลับรู้สึกถูกฉวยโอกาสจากความใจดี
พอมาถึงตรงนี้เราจะฝึกปฏิเสธอย่างไรดี เริ่มแรก ลองพูดก่อนว่า “ฉันจะให้คำตอบคุณเร็วๆนี้” , “ฉันจะติดต่อกลับไปนะ” เวลามีคนขอให้เราทำอะไรจนกว่าเราจะมีความมั่นใจในการปฏิเสธ
หรือการถามตัวเองว่า เรา ‘อยาก’ จะทำไหม หรือ มีความรู้สึกว่า ‘เราควร’ หรือ ‘สมควรต้อง’ ทำ ถ้ามันเป็นความรู้สึก ควร สมควรต้อง
ส่วนใหญ่มันมักจะเป็นสารหรือความคาดหวังของคนอื่น ๆ ที่เรารับมาแบกไว้ และมันก็ ok นะถ้าเราจะปฏิเสธ
ขั้นตอนที่ 5 แสดงความรู้สึกที่แท้จริงของเรา
ใครเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึก ของตัวเองบ้างราวกับว่าเรามีสิ่งคำพูดในหัวมากมายแต่ไม่กล้าที่จะพูดออกไป ไม่รู้ว่าควรพูดไหม
ถ้าพูดไปแล้วมันแย่กว่าเดิมละ จนละเลยความรู้สึกตัวเองบ่อย ๆ การที่เราเป็นตัวเราเป็นเจ้าของความรู้สึกของเรา เราควรยอมรับและแสดงมันออก ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัย
การบอกความต้องการของตัวเองให้คนอื่นรู้ เช่น เราเจอคนที่พูดไม่ดีกับเรา นิสัยไม่ดีใส่เรา เรารู้สึกแบบนั้นเราจะแสดงออกบอกไปยังไงดี
คุณคอลลินส์บอกว่า เราสามารถบอกด้วย เรารู้สึกแย่เวลาที่เธอแสดงความคิดเห็นแบบนี้กับเรา มันทำให้เราเจ็บปวด เราสามารถพูดประโยคนี้ได้ ถึงแม้ว่าจริง ๆ เราจะพูดว่า
เรารู้สึกแย่ที่เธอแสดงความคิดเห็นแบบนี้ เธอนิสัยไม่ดี เธอทำให้ฉันรู้สึกแย่ แสดงความเห็นของตัวเอง ครส ความต้องการ และไม่โทษคนอื่น แค่พูดความจริงเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง
ประโยคที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน
จงให้สัญญาว่าจะทำสิ่งที่อ่อนโยนใจดีต่อตัวเองทุก ๆ วัน แม้ว่ามันจะเป็นแค่การใช้เวลาทำอาหารอร่อย ๆ ให้ตัวเอง
ฟังเพลงที่ชอบ และซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ตัวเองหรือออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะก็ตาม 🙂
หนังสือ ‘ แล้วค่ำคืนยาวนานจะผ่านไป ‘
เขียนโดย ลูลี กับ A chapter
หนังสือเล่มนี้ เป็นหมวด วรรณกรรมแปล เน้นอ่านเพลิน ๆ อ่านสนุก ๆ แฝงไปด้วยข้อคิดต่าง ๆ เขียนโดย คุณ ลูลี เป็นนักเขียนเกาหลี และแปลโดย คุณอภิชญา บุญริน
เป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ของ แรดหินขาวตัวสุดท้ายของโลก ที่ชื่อว่า นอร์เทิร์น และ ซีคู ที่เป็นเพนกวิน เป็นความสัมพันธ์ที่ดูแปลกประหลาดอยู่ไม่น้อย
สายพันธุ์ต่างกัน การกิน สภาพแวดล้อมแตกต่างกัน แต่มาพบกันและร่วมเดินทางไปที่มหาสมุทร
เหตุผลที่พวกเขาอยากไปมหามสุทร เพราะว่าซีคูอยากพาลูกของตัวเองไปมหาสมุทร ก่อนที่ชีวิตของเขาจะจบลง เลยเกิดเป็นการเดินทางขึ้นในระยะที่เขาเดินทางกันมาเรื่อย ๆ
ตัวของซีคูก็ได้สิ้นลมหายใจไปก่อน เลยเหลือแค่ นอเทิน และ ลูกของซีคู
แล้วค่ำคืนอันยาวนานจะผ่านไป
ผลของมะม่วงสุก
“ผลของมะม่วงสุก”
บทสนทนาของลูกเพนกวินกับนอเทิร์นที่แหงนมองฟ้าสีชมพู หรือ Vanilla Sky ในภาษาเรา ๆ แต่พวกเขาสองคนนิยามกันว่า “ผลของมะม่วงสุก”
ลูกของเพนกวินได้ถามกับนอร์เทินว่า “หนูคือใคร” ถ้าวันนึงตัวของหนูได้ไปที่มหาสมุทรแล้วเพนกวินตัวอื่น ๆ จะชอบหนูไหม? หนูจะเข้ากันได้กับเพนกวินตัวอื่นไหม?
แล้วท่ามกลางนกเพนกวินมากมายหลายตัวนอร์เทินจะจำหนูได้รึป่าว จึงอยากให้นอร์เทินตั้งชื่อให้
แต่นอร์เทินกลับปฏิเสธแล้วบอกว่า ตอนที่ตัวของเขาเองไม่มีชื่อเขามีความสุขกว่าตอนที่มีชื่ออีกนะ การมีชื่อไม่ได้มีข้อดีอะไร แรดที่เลี้ยงเพนกวิน ไม่มีทางที่จะหาไม่เจอหรอก
กลิ่นของเธอ ลักษณะการพูดของเธอ ท่าทางการเดิน แค่นั้นก็ทำให้รู้ทันทีได้ว่าเป็นเธอ
ลูกเพนกวินจึงถามอีกว่า แล้วเพนกวินตัวอื่น ๆ จะรับรู้ได้เหมือนกับที่นอร์เทินรับรู้ไหม
นอร์เทินเลยบอกว่า ใครก็ตามที่ชอบเธอ จะรับรู้ได้ว่าเธอคือใคร ในตอนแรกเขาอาจจะจับตาดูเธอด้วยความอยากรู้อยากเห็น
แต่เมื่อเขาเริ่มชอบเธอเรื่อย ๆ เขาก็จะคอยเฝ้ามองเธอ เวลาที่อยู่ใกล้เธอเขาจะรู้ว่าเธอมีกลิ่นแบบไหน เวลาที่เธอเดินเขาจะเงี่ยหูฟังว่าเสียงฝีเท้าของเธอเป็นยังไง แล้วเขาจะรับรู้ได้ว่านั่นคือเธอ
ลูกเพนกวินเลยคิดกับตัวเองว่า พอมองย้อนกลับไปแล้วถึงจะเกิดมาจากไข่ที่โชคร้ายแต่ก็ได้รับความรักมากมาย และเติบโตมาเป็นเพนกวินที่มีความสุขมากจริง ๆ
เป็นพาร์ทที่อยากแชร์ให้ได้อ่านกันค่ะ 😀 พอฟังแล้วมันจะออกแนวดูความรัก และแอบนึกถึงคนที่เรารักว่ามันเป็นจริง ๆ แบบที่นอร์เทินได้บอกกับลูกของเพนกวินเลย
และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ได้จากพาร์ทนี้ เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ใครทุกคนบนโลกพอใจ ถ้ามีคนที่เขารักและหวังดีกับเรา
เราไม่สามารถทำให้คนทั้งโลกมารักเราไม่ได้หรอกมันจะเหนื่อยเกินไป เราแค่เคารพรักตัวเอง และรู้สึกขอบคุณคนที่คอยอยู่ข้างๆ ดูเราเติบโตและภูมิใจในตัวเราก็พอ
ประโยคที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน
หนังสือเล่มนี้จะเป็นการเล่าเรื่อง ของ แรด แพนกวิน ที่ค่อนข้างจะเป็นสัตว์ที่แตกต่างกันมาก ๆ ทำให้รู้สึกถึงแม้ว่าเราจะแตกต่างเราอยู่ร่วมกัน เราคอยอิงอาศัยกันได้
เราไม่จำเป็นต้องมองว่าคนที่แตกต่างนั้นแปลก ไม่น่าคบหา มองด้วยสายตาที่ไม่ดี การที่เขาไม่เหมือนเราไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่มีคนแบบเขา
หรือการที่เราเป็นแบบนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราไม่ดูแปลกในสายตาของคนอื่น โลกก็เป็นแบบนี้มีอะไรปะปนกันไป
การที่เราจะมีความสุขในฐานะมนุษย์คนนึงได้ก็คงจะเป็น be kind กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว 🙂
Life Changing Experience ประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตมักจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ของชีวิต
การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถแสดงให้เห็นในความเชื่อส่วนบุคคล ค่านิยม ลำดับความสำคัญ ความสัมพันธ์ การเลือกอาชีพ หรือไลฟ์สไตล์
Life Changing Experience
ประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิต อาจเป็นเหตุการณ์สำคัญ หรือต่อเนื่องกันของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง และยั่งยืน ต่อความเชื่อ ค่านิยม พฤติกรรม
หรือมุมมองโดยรวมของชีวิต ประสบการณ์เหล่านี้อาจเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ แต่มักจะส่งผลให้เกิดการเติบโต เกิดความเข้าใจตนเอง และโลกรอบตัวเราอย่างลึกซึ้งขึ้น
ตัวอย่างประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิต ได้แก่ การเจ็บป่วยร้ายแรง การเกิดของเด็ก อุบัติเหตุร้ายแรง การเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก การศึกษาศาสนา หรือความสำเร็จหรือความล้มเหลวครั้งใหญ่
คำว่า Life Changing Experience เราอาจมองว่าต้องเป็นเรื่องใหญ่ถึงทำให้เราเปลี่ยนไปอย่างยิ่งใหญ่ แต่อาจจะเป็นเรื่องราวเล็ก ๆ
ที่เราเจอในวันหนึ่ง แล้วเปลี่ยนแปลงนิสัย ความเข้าใจเล็ก ๆ ของเราไปบางอย่างก็ได้ อาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญ แต่แล้วอยู่ ๆ ก็สำคัญขึ้นมาเฉย ๆ ก็ได้เลยนะ
ทุกคนย่อมมีประสบการณ์ของตัวเอง
พอพูดถึงคำว่า ประสบการณ์ เคยรู้สึกไหมว่าตัวเองไม่มี หรือไม่มั่นใจในประสบการณ์ของตัวเอง เวลาที่มีคนมาถามหรือเวลาคิดว่าจะไปสมัครงานใหม่ก็จะรู้สึกไม่มั่นใจ
จนเกิดความ suffer กับตัวเองบ่อย ๆ เมื่อมีโอกาสได้นั่งพูดคุยกับเพื่อน เราทุกคนมีหน้าที่ของตัวเอง หน้าพี่ของเราเพื่อนก็ทำแทนไม่ได้ จึงไม่ต้องคิดว่าไม่มีประสบการณ์
เพราะสิ่งที่พูดมาก็คือประสบการณ์ของตัวเองแล้ว อยากให้ทุกคนเชื่อมั่นในสิ่งที่ติดตัวเรามากัน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ
การเปลี่ยนแปลงมุมมอง : ประสบการณ์ดังกล่าวมีพลังในการเปลี่ยนมุมมองและท้าทายสมมติฐานหรือความเชื่อที่ยึดถืออาจกระตุ้นให้แต่ละคนตั้งคำถามต่อโลกทัศน์ที่มีอยู่และนำวิธีคิดใหม่ ๆ มาใช้
ผลกระทบทางอารมณ์ : ประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตมักจะเต็มไปด้วยอารมณ์ ต่าง ๆ ได้ เช่น ความสุข ความเศร้าโศก ความกลัว การตอบสนองทางอารมณ์เหล่านี้ส่งผลต่อผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อแต่ละคน
การค้นพบตนเองและการเติบโตขึ้น : ประสบการณ์เหล่านี้สามารถใช้เป็นตัวเร่งให้เกิดการค้นพบตนเองและการเติบโต อาจเปิดเผยจุดแข็ง หรือบางอย่างในตัวเราที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งนำไปสู่การรู้จักตนเอง
ผลกระทบออกไปสู่รอบข้าง : ประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเราสามารถขยายไปไกลกว่าเพียงแค่ตัวเอง และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ หรือแม้แต่สังคม สภาพแวดล้อมที่เราอยู่
จุดประกายการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน
1. เปิดกว้าง
เข้าถึงประสบการณ์ใหม่ ๆ ด้วยใจที่เปิดกว้างและความเต็มใจที่จะเรียนรู้ การเปิดรับมุมมองและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวและใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์
2. ค้นหาความรู้
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือประสบการณ์ที่คนอื่นหรือเราสนใจอยากทำ การรวบรวมข้อมูลก็เหมือนแต้มต่อที่จะทำให้เป้าหมายที่เราอยากทำ ประสบการณ์ที่เราอยากเผชิญได้สำเร็จมากขึ้น
3. ความยืดหยุ่นทางอารมณ์
เสริมสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์เป็นการพัฒนากลไกการรับมือที่ดี ฝึกฝนการดูแลตนเอง และขอความช่วยเหลือจากคนที่เรารัก หรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเป็น
การสร้างความยืดหยุ่นทางอารมณ์สามารถช่วยให้เราก้าวผ่านอารมณ์ดีและร้ายที่มักมาพร้อมกับประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตได้
4. ฝึกการไตร่ตรองตนเอง
การไตร่ตรองตนเองเป็นประจำเพื่อรวบรวมความคิด อารมณ์ และประสบการณ์ ด้วยการจดบันทึก หรือการขอคำแนะนำจากนักบำบัดสามารถช่วยให้เรามีความชัดเจนและสร้างความหมายของประสบการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน
คำจำกัดความของประสบการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน สิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตของบุคคลหนึ่งอาจไม่ส่งผลกระทบแบบเดียวกันต่ออีกคนหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ส่วนบุคคล ค่านิยม และการตีความของแต่ละบุคคล เราสามารถใช้ชีวิตของเราไปเรื่อย ๆ ได้เลย จนวันหนึ่งอาจะเจอเรื่องราวที่เปลี่ยนแปลงก็ได้
ที่มา :
ความกลัว มีหลากหลายรูปแบบ บางคนกลัวงู บางคนกลัวทะเล หรือบางคนกลัวในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่กลัว เช่น กลัวผลไม้ ในมุมทางการแพทย์ ความกลัวคืออะไร
มีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง มาหาคำตอบกับรายการพูดคุย Alljit X คุณ ณัฏฐชัย รำเพย จิตแพทย์ 🙂
ความกลัว คืออะไร
ความกลัวเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ที่ปกป้องเราจากภัย ถ้ามนุษย์ไม่มีความกลัวจะทำให้เราไปเจอกับอันตราย
แต่ความกลัวในทางการแพทย์ที่เกินสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ ดูเป็นพิษใช้ชีวิตยากกับตัวเราเองจะเป็นโรคที่สัมพันธ์กับความกลัว หรือกลุ่มความวิตกกังวล
เช่น
- โรคกลัว Phobia
- กลุ่มวิตกกังวล Anxiety
- โรคตื่นตระหนก Panic
- โรค PTSD
กลัวอะไรแปลกๆ ?
ไม่ว่าจะกลัวอะไรที่ใครว่าแปลก มนุษย์ มีเหตุผล ในการกลัวเสมอ เพราะทุกคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
เช่น การที่คนกลัวผลไม้ ตอนที่คน ๆ นั้นกินผลไม้แล้วเขากำลังโดนแม่ตีทำให้เขากลายเป็นคนกลัวผลไม้ได้ หรือการที่กลัวรถยนต์สีเขียว เพราะเคยประสบอุบัติเหตุกับรถยนต์สีเขียวก็ได้
รับมือ ความกลัว อย่างไร
- รู้ก่อนว่าตัวเรากำลังกลัวอะไร กำลังเผชิญกับสิ่งที่กลัวอะไรอยู่
- กลัวอะไรก็เดินหนี แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราต้องตระหนักรู้ว่าเรากำลังกลัว และสร้างอาการอะไรให้เรา
- การผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึก ๆ
- โฟกัสกับปัจจุบันรอบตัว
- ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าเข้าข่ายกับบางโรคประเภทกลุ่มความกลัวไหม
สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจอย่างไร
- เคารพความกลัวของตัวเอง
- บอกคนอื่นไปตรง ๆ ว่าเรากลัวสิ่งนี้ เช่น การที่คนอื่นมาแกล้งเราให้เราบอกไปว่า “สิ่งที่เขาทำใจเราเกิดอะไรขึ้น” ถ้าเขาเข้าใจเขาจะตระหนักและเคารพกับความกลัวของเรา
ควรเผชิญหน้ากับ ความกลัว หรือไม่
อยู่ที่ว่าเราอยากเผชิญไหมกับสิ่งที่เรากลัวอยู่ เช่น เรากลัวการที่จะออกไปพรีเซนต์หน้าห้องที่เป็นในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
อาจจะต้องลองขอความช่วยเหลือจากใครสักคนที่ให้เราได้เป็นจุดสายตา ที่เราหันไปมองคนนั้น ๆ แล้วรู้สึกผ่อนคลาย
ฝึกการท่องจำ เพื่อให้เราเพิ่มความมั่นใจมากยิ่งขึ้น หรือถ้ากลัวจนไม่อยากเผชิญจริง ๆ ก็ไม่เป็นไร เพราะการที่เรารู้ว่าเรากำลังรู้สึกกลัวอะไร
เรากำลังตระหนักและเคารพตัวเองอยู่เช่นกัน
เปลี่ยนแฟนบ่อย มักถูกสังคมมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ถ้าไม่ตัดสินใจเลิกรา
แน่นอนว่าอีกทางเลือกหนึ่งคือการทนอยู่กับความสัมพันธ์เดิม รูปแบบไหนมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร
เปลี่ยนแฟนบ่อย การมีแฟนหลายคน . .
มีประโยคนึงที่เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นผู้หญิงอย่าเปลี่ยนแฟนบ่อยถ้าเสียแล้วมันเสียเลย ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจในตอนนั้นแต่ด้วยความที่โตมาเราเติบโตมาเรื่อย ๆ
เรามีความเข้าใจในความรัก พูดคุยกับคนใกล้ตัวมากขึ้นในเรื่องของการเปลี่ยนแฟนบ่อย ทุกครั้งที่เปลี่ยนความสัมพันธ์มีความเสียใจเกิดขึ้น และบางกรณีก็เจอความรักที่ไม่ดี
เมื่อเราโตขึ้น มีวุฒิภาวะขึ้น เรามีสิทธิ์ในร่างกาย และการใช้ชีวิตของเรา เราเลือกทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้นรวมถึงการมีแฟนก็เช่นเดียวกัน
ทำไมผู้หญิงมักถูกต่อว่าเมื่อเปลี่ยนความสัมพันธ์บ่อย ๆ
ความเชื่อที่มองว่าผู้หญิงจะเสียเปรียบ
ยังคงมีความเชื่อว่าผู้หญืงคือฝ่ายเสียเปรียบเมื่อเปลี่ยนแฟนบ่อย ๆ ถูกมองว่าไม่ดีบ้าง ถูดลดทอนคุณค่าจากทุกครั้งที่เปลี่ยนความสัมพันธ์
ซึ่งความจริงแล้วเราทุกคนย่อมมีสิทธิเลือกสิ่งที่ดี สิ่งเหมาะให้กับตัวเอง
ความเชื่อที่ว่าผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว
ขนบธรรมเนียม ประเพณีตั่งต่างที่เกิดขึ้นทำให้ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว แต่งกายให้เรียบร้อย เป็นผู้หญิงต้องมีมารยาท มีความอาย ถ้าใครสวนทางหรือแสดงออกความเป็นตัวเอง
ที่ไม่ตรงกับขนบธรรมเนียม เช่น การแสดงความรักในที่สาธาณะ หอมแก้ม จับมือ หรือการที่คนอื่นเห็นว่าเปลี่ยนแฟนบ่อย ยังเป็นที่ไม่ยอมรับกันอยู่ในสังคม
เราให้คุณค่ากับรักยืนยงคงกระพัน เพราะมันดูสมบูรณ์แบบ
เป็นแฟนกันต้องอดทนนะ,คู่นี้คบกันนานจังดูดีจังเลย เพราะคำพูดเหล่านี้ทำให้ถูกมองว่าการเปลี่ยนแฟนบ่อย ๆ ถูกมองว่าไม่ดี ชอบคนง่ายบ้าง โลเลบ้าง
แต่ที่จริงแล้วความสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องอดทนจนไม่เป็นตัวเอง และการคบกันยาวนานไม่ใช่สิ่งพิสูจน์ความรักเสมอไป
วัฒนธรรมดั้งเดิม การชายเป็นใหญ่ ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง
ระบบชายเป็นใหญ่ ระบบที่เอื้อให้กับเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นในฐานะพ่อ สามี ลูกชาย หรือผู้นำในชุมชน สถาบัน นั้น ๆ สามารถมีอำนาจและสิทธิเหนือกว่าเพศอื่น ๆ
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา การตัดสินใจต่าง ๆในชีวิตประจำวัน รวมถึงการให้คุณค่า การยกย่องเชิดชู ความเป็นชายของบุคคลและสังคมนั้น ๆ
เพราะฉะนั้นแล้วจึงเป็นคำตอบทำไมผู้ชายเปลี่ยนแฟนบ่อยไม่ถูกโจมตี หรือตั้งคำถามเท่าผู้หญิง
ความสัมพันธ์ Toxic
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ที่ทำให้ไม่มีความสุขทั้งจิตใจและร่างกาย เป็นความสัมพันธ์ที่จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้งคู่ที่มุ่งจะทำร้ายกันมากกว่ามอบความรัก
ความเมตตาต่อกัน ทำให้รู้สึก ไร้ค่า หมดแรง หรืออาจจะกลับทบไปถึงความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบตัว การทำงานต่าง ๆ ได้ด้วย
เราจะรู้ได้ยังไงว่าอยู่ในความสัมพันธ์ Toxic
- รู้สึกไม่ปลอดภัยเหมือนถูกจับผิดทั้งที่ไม่ได้ทำอะไร และไม่มีพื้นที่ส่วนตัวเลย
- รู้สึกเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ อาจจะทั้งการโกหก การนอกใจ และรวมถึงการทำร้ายร่างกาย
- รู้สึดหมดแรงเวลาอยู่กับคนๆ นั้น และทั้งรู้สึก ทุกข์ เหนื่อยใจ โกรธ เหงา เหนื่อย
- รู้สึกโทษตัวเอง มองว่าตัวเองไม่มีคุณค่า เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองซ้ำ ๆ
ส่งผลต่อความสัมพันธ์อย่างไร
- ทำให้เราไม่มีความสุขเมื่ออยู่ด้วยกัน เกิดเรื่องทะเลาะ ขัดหูขัดตากันตลอดเวลา
- ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ในการใช้ชีวิตคู่
- กระทบกับการใช้ชีวิต คนรอบข้าง
- เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรามีค่าพอหรือไม่ เราไม่ดีตรงไหน
การเคารพความรู้สึกตัวเอง ความสัมพันธ์ไม่มีผิดหรือถูก
ถ้าเลือกได้ เชื่อว่าหลาย ๆ คนอยากเจอคนที่ใช่และคบกันได้ลงตัว คงไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะเปลี่ยนแฟนบ่อย ๆ เพื่อมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งหรอก
แต่ในเมื่อความเป็นจริง ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเจอคนที่ใช่ได้ง่าย ๆ และคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เลือกเพื่อนยังเคยเลือกผิด เลือกเสื้อผ้ายังเคยเลือกผิด
เลือกแฟนผิดจะเป็นอะไร ทุกคนมีโลกในอุดมคติของตัวเอง อย่าตัดสินคนอื่นเพียงแค่เปลี่ยนแฟนบ่อยเลย และการพาตัวเองออกมาก็คือการที่เราเริ่มเคารพตัวเอง
ถ้าอันไหนไม่ดีและไม่ใช่อย่าเสียเวลาเลย ชีวิตคนเราสั้นเกินกว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์ที่ Toxic
ความรู้สึกที่ทุกคนต้องเจอบางทีมาแบบเรารู้ตัวและบางทีก็ไม่รู้ตัว บางครั้งเวลามีคนมาหยอกหรือมาถามว่า ก็รู้สึก หัวร้อน
มาพูดคุยถึงอารมณ์หัวร้อน ความรู้สึกโกรธ ขี้วีน กับ Alljit 🙂
ทำไมเราถึง ‘หัวร้อน โกรธ’
เจอร์รี เดฟเฟนบาเชอร์ นำเสนอไว้ว่าเป็นผลมาจาก
- สิ่งกระตุ้น คือ เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความโกรธ เช่น รถติด โดนพ่อแม่บ่น ทะเลาะกับแฟน
- ลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล หรือ บุคลิกภาพ
เช่น การหลงตัวเอง คนที่ชอบการแข่งขัน ไม่ชอบแพ้ และ ความอดทนต่อความคับข้องใจของตัวเองต่ำ หรือช่วงนั้นอยู่ในช่วงอารมณ์ไม่มั่นคง มีความเครียด ความเหนื่อย
- การประเมินสถานการณ์ และการรับรู้ของแต่ละคน
เช่น รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ยุติธรรมกับตัวเราเลย เรื่องนี้ฉันไม่ได้ทำอะไรผิด ทำไมฉันถึงถูกกระทำแบบนี้ ถูกลงโทษ
ความโกรธในเชิงวิทยาศาสตร์
ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการอธิบายความโกรธไว้ว่า เป็นสัญชาตยานหนึ่งของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่อดีต
ลองนึกถึงภาพว่าสมัยก่อนที่เราอยู่เป็นคนเผ่า ต้องล่าสัตว์ แย่งทรัพยากรในการใช้ชีวิตกัน เราใช้ความโกรธนี่แหละแย่งชิงและสร้างบรรทัดฐานของสังคม
รูปแบบ
Outward ความโกรธภายนอก สิ่งนี้แสดงออกมาภายนอกต่อบุคคลหรือสิ่งของ เช่น การขึ้นเสียงหรือการขว้างปาสิ่งของ
Inward ความโกรธภายใน แสดงออกต่อตัวเอง พูดเชิงลบกับตัวเอง หรือแม้แต่พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
Passive ความโกรธแบบไม่โต้ตอบ การแสดงความโกรธทางอ้อม เช่น การใช้คำพูดส่อเสียดหรือการเสียดสี
อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่า ‘เป็นคนโกรธง่าย หรือ ความโกรธที่เกิดขึ้นเริ่มเป็นสิ่งที่มากเกินปกติ’
- โกรธแบบส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบตัว
- โกรธแล้วจะมองในแง่ลบอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์เชิงลบ
- รู้สึกว่าคนที่คิดต่างจากความโกรธของเราคือ ‘ศัตรู’
- ทะเลาะกับคนอื่นบ่อย ๆ และโกรธมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มีความรุนแรงทางร่างกาย โกรธจนทำร้ายตัวเอง
- คุกคามคนอื่นเวลาโกรธ ลงไม้ ลงมือ ทำร้ายคนอื่นแบบจงใจให้รู้สึกว่าสะใจ
- ทำสิ่งรุนแรง หุนหันพลันแล่น เช่น ขับรถแบบประมาท ทำลายข้าวของ
ความโกรธแสดงออกมาในรูปแบบไหนบ้าง
พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบที่รุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น คำพูดเสียดสี โมโหร้าย ไม่รับฟังผู้อื่น ตะโกนด่าทอ ทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเอง และทำร้ายคนอื่น
ซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression and Anxiety)
เรามักถูกสอนตั้งแต่เด็ก ๆ ว่าอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ จะไปทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ทำให้เราเลี่ยงที่จะตอบโต้และพยายามข่มอารมณ์ไว้อยู่เรื่อยมา
เพื่อรักษาความสัมพันธ์ แต่มันอาจเป็นดาบสองคมเหมือนกัน เพราะเราต้องแบกทั้งความรู้สึกและความไม่พอใจเอาไว้ จนความโกรธกัดกินจิตใจและกลายเป็นความเศร้าในที่สุด
หรือโกรธมากจนร้องไห้ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เราโกรธอย่างหนักและไม่สามารถจัดการมันได้ หรือระบายมันออกมาได้ มันอึดอัด มันควบคุมไม่ได้ ร้องไห้เลยเป็นวิธีเดียวที่ได้ที่ทำได้ ณ ตอนนั้น
การเงียบใส่ (Silent treatment)
เพราะการเงียบใส่ดีกว่าตอบโต้แบบขาดสติ บางคนก็เลือกใช้วิธีเงียบ เดินหนีมากกว่าแสดงการโต้เถียง หรืออารมณ์ออกมา ซึ่งการใช้วิธีเงียบเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ดี
เพราะเราเงียบเรามีการควบคุมนะการใช้สติ แต่รู้ไหมว่าการเงียบมันสร้างความเจ็บปวดทั้ง 2 ฝ่าย บางครั้งฝ่ายเงียบเงียบนอกจริงแต่ในใจเราอาจกำลังลุกเป็นไฟ
ตบตีกับตัวเองและอีกฝ่ายในใจจนกลายเป็นความเก็บกด
เราจะผ่อนคลาย ความโกรธ ให้เบาลงได้ยังไงบ้าง
เพราะความโกรธเป็นอารมณ์เชิงลบพอ ๆ กับความเศร้าที่บางคนก็ไม่กล้าแสดงความรู้สึกโกรธออกมา ตามมาตรฐานของสังคมเวลาที่เรารู้สึกโกรธ
ก็จะมีสายตาที่มองว่าทำไมไม่รู้จักกักเก็บอารมณ์ เพราะโกรธเนี่ยเลยขาดสติเลยทำให้ทุกอย่างพลัง เพราะฉะนั้นเราจะดีลกับความเลือดร้อน ความหัวร้อนของเราได้ยังไงบ้าง
- รับรู้อารมณ์ตัวเองว่าเรากำลังโกรธอยู่นะ รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอารมณ์ตัวเองตอนนี้คือเรื่องไม่ปกติ เราหัวใจเต้นเร็วผิดปกติไหม หรือว่ามีอะไรมาสะกิดก็พร้อมติดหมดเลยหรือเปล่า
- หาวิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสมกับตนเองโดยไม่เดือนร้อนผู้อื่น
- รวบรวมสติ สติ สติ ไม่ให้ฟึดฟัดมากเกินไปหากว่าเราอยู่ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถระบายความโกรธได้
- ถ้าควบคุมไม่ได้ให้เดินออกมาจากสถานการณ์นั้น
เราจะอยู่ร่วมกับคนขี้โกรธอย่างไร
1. ตอบรับได้ แต่อย่าแสดงออกไปด้วยความโกรธ
ถ้ามีคนมาแสดงความวีน โกรธ เหวี่ยงใส่เรา เราจะทำไงคะแม้ว่ามันอาจจะยาก แต่การฟัง การสงบสติอารมณ์ และโต้ตอบจะช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้
พยายามหลีกเลี่ยงการโกรธหรือกระวนกระวายใจในระหว่างการพูดคุย แต่ให้พยายามตอบสนองด้วยความเห็นอกเห็นใจและเอาใจใส่แทน
สิ่งนี้จะแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณได้ยินสิ่งที่พวกเขาพูด เข้าใจมุมมองของพวกเขา
2. Don’t take it personally
แต่มันก็อาจจะไม่เกี่ยวกับเราด้วยซ้ำ ความโกรธของบุคคลนั้นอาจเป็นผลมาจากสิ่งที่คนอื่นพูดก่อนหน้านี้ ที่ตึงเครียดในที่ทำงาน หรือเพียงแค่มีวันที่ยากลำบาก
3. หันเหความสนใจ
สิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถก้าวออกจากความโกรธและอาจสะท้อนถึงพฤติกรรมของพวกเขาได้
4. กำหนดขอบเขต
กำหนดขอบเขตอาจเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสมดุลทางจิตใจและอารมณ์ของตัวเอง ก่อนที่คุณจะต้องเผชิญกับการจัดการความรู้สึกของคนอื่น ให้พยายามกำหนดขีดจำกัดของตัวเองเสียก่อน
ความโกรธก็มีประโยชน์?
1. เพื่อความอยู่รอด
ความโกรธจะถูกเปิดอัตโนมัติเมื่อเราถูกโจมตีและกระตุ้นให้โต้ตอบ อย่างรวดเร็วและรุนแรง เคยสังเกตไหมคะว่าเวลาเราโดนด่า บางครั้งเราจะมีปฏิกิริยาแบบโต้กลับอัตโนมัติ
2. ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
เคยได้ยินไหมว่า อ่านหนังสือสอบด้วยความโกรธ, ทำงานด้วยความโกรธ ความโกรธทำให้เรามีสมาธิกับสิ่งนั้น ๆ มากขึ้น ถ้าเราใช้ความโกรธเป็น
โกรธที่มีสติและใช้พลังของความโกรธชมุ่งสิ่งนั้นให้สำเร็จ
3. โกรธ ทำให้รู้ว่าเรายังมีความรู้สึกไง มันเป็นเรื่องปกติ ไม่โกรธซิแปลก
เป็นการตอบสนองทางสังคมและมีผลกระทบทางสังคม ทฤษฎีทางจิตวิทยาถือว่าความโกรธเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวด
ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกเจ็บปวด ระคายเคือง หรือผ่านความรู้สึกไม่พึงประสงค์ไปพร้อมกับการตระหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เรามักจะโกรธ
ที่มา :
นินทา อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของบางคน แต่หลายครั้ง… พฤติกรรมแบบนี้มักจะถูกมองในแง่ลบ
เพราะอะไรเราถึงซุบซิบนินทา การซุบซิบนินทามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะรับมืออย่างไร
ซุบซิบ นินทา ?
เรามักคิดว่า คำว่า ซุบซิบ นินทา คือการพูดถึงคนอื่นในเชิงลบ พูดถึงบุคคลที่สามในขณะที่เขาไม่อยู่ หรือการดูถูกเหยียดหยาม
แต่จริง ๆ แล้ว นักวิจัยมักให้คำจำกัดความกว้าง ๆ ว่า “กำลังพูดถึงคนที่ไม่อยู่ ณ ตรงนี้ ”
เมแกน ร็อบบินส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ กล่าว “เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสำหรับเรา”
เป็นส่วนสำคัญของการสนทนา การแบ่งปันข้อมูล และแม้แต่ความสัมพันธ์
“มันไม่จำเป็นต้องเป็นลบ” “อาจเป็นเชิงบวกหรือเป็นกลางก็ได้” David Ludden ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ Georgia Gwinnett College
และผู้เขียน The Psychology of Language: An Integrated Approach กล่าว
ทำไมคนเราถึงซุบซิบ นินทา
คุณ Robin Dunbar ได้เขียนหนังสือเรื่อง Why you were born to gossip ?
ได้อธิบายถึงวิวัฒนาการของการนินทาที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาการด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร
ซึ่งเขาบอกว่า เคยคิดหรือไม่ว่าวันหนึ่งเราใช้เวลาว่างไปมากน้อยเท่าใดในการพูดคุยถึงใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร
ซึ่งการนินทาเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น แม้ว่าเนื้อหาของการพูดคุยจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่การพูดคุย เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมได้เป็นอย่างดี
ทำให้สามารถได้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนหรืออัพเดทข่าวสาร
สถิติการซุบซิบ นินทา
ในการวิเคราะห์ เมต้าปี 2019 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Social Psychological and Personality Science ร็อบบินส์และเพื่อนร่วมงาน พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เข้าร่วม 467 คน พบว่า
ผู้คนนินทาเฉลี่ย 52 นาที/วัน โดย 3 ใน 4 ของการนินทานั้นเป็นเรื่องกลาง และพบว่า ประมาณ 15% – เป็นการนินทาเชิงลบ ประมาณ 9% – เป็นการนินทาเชิงบวก
ดังนั้นแม้ว่าความเป็นจริงที่ผู้คนสามารถใช้เวลามากมายเพื่อพูดถึงคนรอบข้าง แต่บ่อยครั้งการพูดคุยกันนั้นไม่เป็นเรื่องดี
สาเหตุ Gossip ที่ทำร้ายกัน
การนินทาที่ไม่ดีอย่างชัดเจนเลยคือการนินทาที่สร้างความเสียหายให้คนอื่น สร้างความเกลียดชัง ไม่มีศีลธรรมอย่างทุกวันที่เราเห็น ๆ กันก็คือพวก fake news หรือการ bully
ขอขอบคุณข้อมูลจาก i strong หากจะถามว่าคนแบบไหนที่ชอบนินทา คนแบบนั้นก็มักจะเป็นคนที่…
– มีพฤติกรรมขี้ขลาด (Cowardly Behavior) คนที่ขี้ขลาดจะไม่กล้าเข้าไปถามตรง ๆ ก็เลยคิดว่า “ฉันฟังจากปากของคนอื่นก็ได้” หรือ “มันก็สนุกดีที่จะพูดต่อ ๆ กันไป”
– รู้สึกไม่มั่นคง/ต้องการเสริมพลังให้ตัวเอง (Insecurity/Empowerment) คนขี้นินทาส่วนใหญ่ต้องการได้รับความสนใจ และมักจะรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญขึ้นมาเมื่อได้เป็นคนปล่อยข่าว
ทำให้มีคนเข้ามาคุยด้วยมากขึ้น โดยที่พวกเขาไม่รู้เลยว่าการเป็นคนขี้นินทามันมีราคาที่ต้องจ่ายก็คือความน่าเชื่อถือลดลงและ สุดท้ายก็จะไม่มีใครอยากอยู่ใกล้เพราะไม่อยากเป็นรายต่อไปที่จะถูกนินทา
– มีพฤติกรรมชอบซาดิสม์ (Sadistic Personality) คนขี้นินทาอาจจะเป็นคนเดียวกับคนที่ชอบเห็นคนอื่นเจ็บปวด และรู้สึกดีเมื่อได้เห็นคนอื่นต้องเจอกับประสบการณ์เจ็บปวดทุกข์ใจ
– มีความกังวลไม่มั่นใจ (Anxiety and Uncertainty) คนที่มีนิสัยขี้กังวลไม่มั่นใจสามารถกลายเป็นคนขี้นินทาได้ เพราะช่วงเวลาที่นินทาคนอื่นมันช่วยให้ลืมความกังวลของตัวเองไปได้ชั่วคราว
– เป็นผู้หญิง (You’re Female) คุณผู้หญิงอาจจะรู้สึกไม่ค่อยดีที่ต้องมาเจอกับข้อความนี้ แต่จากข้อมูลของ Dr. Hallowell จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นพบว่า การนินทามักมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นใน
กลุ่มผู้หญิงมากกว่า และก็มักจะพบว่าคนที่ชอบสร้างเรื่องขึ้นมานินทาส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้หญิง
Gossip ต้องเป็นเชิงบวกจึงจะมีประโยชน์
การเมาท์มอย ซุบซุบ มักจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับ “การนินทา” หรือการว่าร้ายผู้อื่นแบบลับหลังอยู่เรื่อยมา แต่อันที่จริงแล้วการเมาท์มอยนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการประสงค์ร้ายเสมอไป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า
การเมาท์มอยเรื่อยเปื่อยทั่วไปแบบไร้สาระและไร้พิษภัยระหว่างเพื่อนร่วมงานนั้น ดีต่อสุขภาพจิตแถมยังช่วยให้คนเราทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้นอีกด้วย แต่การนินทาว่าร้าย นี่ต่างหากนะคะที่อาจจะเป็นปัญหา
แฟรง ที แมคแอนดรูว์ ศาสตราจารย์สาขาวิชาจิตวิทยา “คนเรามักจะมองการนินทาคนอื่นเป็นพฤติกรรมเชิงลบที่แย่และดูไม่ดี แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น
เพราะความรู้ที่เราได้รับจากการนินทานั้น ช่วยให้เรานั้นก้าวหน้าเพื่อไปต่อในสังคม และคนที่ไม่สนใจในเรื่องนี้มักจะเป็นคนที่เสียเปรียบ”
ที่มา :
The Science Behind Why People Gossip
‘การนินทา’ หนึ่งในวิวัฒนาการที่ทำให้มนุษย์อยู่รอด
Psychologists say gossiping is a social skill.
Gossip เรื่องเลวร้ายหรือของฟรีที่มีค่า
เวลาที่เราได้รับรู้เรื่องใดเรื่องนึงมาในทุกวันนี้ที่มี internet ที่สามารถแพร่ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เราไม่รู้ด้วยว่าจริงหรือไม่จริง ยิ่งเร็ว ยิ่งสดใหม่
บางครั้งก็ดีใจที่ได้รู้ก่อน ดังนั้นจำเป็นหรือไม่ที่เราควรใช้วิจารณาญาณในการเสพสื่อต่าง ๆ
Critical Thinking คิด วิเคราะห์ แล้ว แยกแยะ
Critical Thinking คือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นกระบวนการคิดรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ในการสร้างและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใด ๆ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
นอกจากความหมายนี้แล้ว ยังมีนักวิชาการที่ให้ความหมายของ Critical Thinking อีกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
Critical Thinking คือ ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินและตัดสินใจข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล Benjamin Bloom (1956)
Critical Thinking คือ กระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ
โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย
องค์ประกอบของ Critical Thinking มีอะไรบ้าง?
หลักจากเข้าใจถึงความหมายของ Critical Thinking ต่อมาเราจะมาถึงองค์ประกอบ (Elements) ของทักษะนี้ จริง ๆ แล้วองค์ประกอบของ Critical Thinking Skills
ถ้าจะเรียกให้ถูกควรจะเรียกว่า ทักษะย่อย (Subskills) แต่มันก็ไม่ได้เป็นกระบวนการ หรือ Process ที่ต้องเอาทุกองค์ประกอบมาทำต่อ ๆ กัน
พูดง่าย ๆ ก็คือ มี Subskill ที่ 2 ได้โดยไม่ต้องคิด Subskill 1 ก่อน นั่นเอง โดย Subskills ของ Critical Thinking มีดังนี้ช
1. การทำความเข้าใจ ( Understanding )
การทำความเข้าใจเป็นที่มีความสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ประกอบ และข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำไปวิเคราะห์ในขั้นต่อไป จริงแล้ว ๆ มนุษย์เราได้เปรียบกว่าสัตว์อื่น
เพราะเราพยายามทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอมาตั้งแต่อดีต และวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการทำความเข้าใจ ก็คือ การตั้งคำถาม
2. การวิเคราะห์ข้อมูล ( Analysis )
สิ่งต่อมาคือการหาความเชื่อมโยงขององค์ประกอบเหล่านั้นว่าองค์ประกอบเหล่านั้น ถ้าสิ่งหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกสิ่งหนึ่งจะเป็นอย่างไร หรือถ้าสิ่งหนึ่งขาดหายไปสิ่งไหนจะโดนผลกระทบบ้าง
เราเรียกการเชื่อมโยงที่ว่านี้ว่า การให้เหตุผล ซึ่งนี่ก็ยากบางทีเราก็วิเคราห์แบบใส่อคติลงไปโดยไม่รู้ตัว
3. การอนุมาน (Inference) การคาดการณ์..
การประเมินให้เกิดผลลัพธ์จาก องค์ประกอบที่มีความหมาย หรือผลจากการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ คาดการณ์ว่าผลลัพท์จะออกมาแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้
ยกตัวอย่าง
มีคอลเซ็นเตอร์โทรมาบอกว่าคุณมีพัสดุตกค้างอยู่ที่ สมมุติเป็น บริษัทชื่อ DD จะต้องจ่ายเงินจำนวน 100 บาทถึง ทำความข้าใจกับข้อมูลก่อน โดยการตั้งคำถาม ฉันมีพัสดุจริง ๆ หรือ
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาลองเชื่อมโยงกัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ ฉันมี พัสดุอยู่ที่ บริษัท DD แล้วจะต้องจ่ายเงิน 100 บาท วิเคราะห์จากข้อมูลที่ตัวเองมี รวมกับข่าวสารที่เคยได้รับมา
หรือหาข้อมูลจากการถามคนรอบข้าง อินเทอร์เน็ต อนุมาน ว่า มิจฉาชีพแน่ ๆ แบบนี้ไม่ปกติ ขั้นตอนต่อไปเป็นการตัดสินใจว่าจะเอายังไงต่อ
คิด วิเคราะห์ แล้ว แยกแยะ ในด้านต่าง ๆ
ด้านการทำงาน
ทักษะของ Critical Thinking เป็นทักษะนึงที่สำคัญมาก ๆ ในการทำงานคนในองค์กร ‘ควรที่จะ’ มีทักษะนี้ เพราะ Critical Thinking คือ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ แน่นอนว่าการทำงาน
หรือการใช้ชีวิตประจำวันมันหนีไม่พ้นกับการแก้ปัญหาเรื่องราวหรือการที่เราจะตัดสินใจในแต่ละวันอยู่แล้ว
ด้านความรัก ความสัมพันธ์
เวลาทะเลาะกับเพื่อน กับแฟน กับคนในครอบครัว เราสามารถนำ Critical Thinking มาปรับใช้ได้ คบกับแฟนช่วงแรกเราจะมีความรู้สึกหลงไหล เลยช่วงหลง ๆ ไป
จะเริ่มเกิดการตั้งคำถามกันบ่อยขึ้นแล้ว ทำไมเธอทำแบบนี้ ทำไมเธอเปลี่ยนไปแล้ว แต่ถ้าเราตั้งคำถามก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี
จากนั้นหลังจากการตั้งคำถามเราก็นำเหตุผลหลาย ๆอย่างมาวิเคราะห์ นำมาพูดคุยหาจุดลงตัว แก้ปัญหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะถูกนำไปคลี่คลาย มากกว่าตั้งคำถามแล้วไม่พอใจอย่างเดียว
เช่นเดียวกันเราไม่เข้าใจพ่อแม่ เราไม่เข้าใจเพื่อน เราสามารถนำหลักการ วิเคราะห์ แยกแยะ แก้ไขได้เช่นเดียวกัน
ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน
ในการใช้ชีวิตประจำวันของเราแบบว่าถ้านั่งนึกง่าย ๆ เลยคือเรื่องของการเล่นโซเชียลของพวกเรา แค่เราไถ หน้าจอ เราก็ได้รับสารได้อะไรมาใหม่ ๆ
ทุกวันนี้การพาดหัวข้อข่าวต่าง ๆ หัวข้อคลิปในยูทูปก็ล่อให้เรากดเข้าไปสุด ๆ การที่เรามี Critical Thinking จะทำให้เราไม่เชื่ออะไรได้ง่าย ๆ เราจะเริ่มคิดว่าจริงหรอ
เกิดการตั้งคำถาม มีการไปค้นหาข้อมูล และเอ๊ะอ๋อกับตัวเองว่ามันจริงหรือไม่จริงนะ
5 ข้อที่จะพัฒนาให้เรามี Critical Thinking ได้
อ้างอิงจาก Ted x Samantha Agoos
ฝึกตั้งคำถาม
ตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวแล้วเริ่มหาข้อมูล ถ้ามีผลลัพธ์ที่ต้องการในใจอยู่แล้วก็ลองคิดหาวิธีการที่จะทำให้ผลลัพธ์นั้นเกิดขึ้นได้โดยเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย
อย่างมีวิจารณญาณ จากนั้นจึงเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด
รวบรวมข้อมูล
เมื่อมีคำถามที่ต้องการคำตอบ คำตอบในยุคนี้หาไม่ยากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แต่ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของข้อมูลต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ
ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในที่นี้อาจเป็นเปเปอร์ งานิจัยที่แหล่งที่มาชัดเจน หรือคำแนะนำโดยตรงของผู้เชี่ยวชาญ แต่อย่าลืมรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง
และนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาอย่างละเอียดอีกที
นำข้อมูลไปใช้
การนำข้อมูลไปใช้ในที่นี้รวมถึงการตั้งคำถามกับข้อมูลนั้นด้วย นอกจากตรวจสอบว่าข้อมูลนี้ตอบคำถามที่เราสงสัยได้ไหม
คิดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้
ไม่ว่าเราจะตัดสินใจทำหรือไม่ทำอะไรก็จะมีผลจากการตัดสินใจนั้น ๆ ตามมาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในระยะสั้นและในระยะยาว
ผลกระทบทางตรงและทางอ้อม การได้ลองคิดว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะทำให้เกิดผลอะไรตามมาบ้าง จะช่วยให้เราตัดสินใจได้รอบคอบกว่าเดิม
สำรวจมุมมองอื่น ๆ
ลองมองประเด็นเดียวกันจากขั้วความคิดตรงข้ามหรือสำรวจมุมมองอื่น ๆ อาจช่วยให้การตัดสินใจของเรามีน้ำหนักมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลและที่มา :
Critical Thinking เพราะการคิดที่ดีสร้างขึ้นได้
หนังสือ The Why Cafe คาเฟ่สำหรับคนหลงทาง
เขียนโดย จอห์น สเตรเลกกี
สำหรับเล่มนี้สิ่งที่รู้สึกสะดุดตาตั้งแต่แรกคือ หน้าปก ชื่อหนังสือ ‘ คาเฟ่สำหรับคนหลงทาง ‘ ไม่รู้จะเริ่มทำอะไรดีเลยสนใจซื้อหนังสือเล่มนี้
และสิ่งที่น่าสนใจคือ 3 ประโยค ของหนังสือเล่มนี้ที่เป็นหัวใจหลัก ๆ เลยคือ เหตุใดคุณจึงมาที่นี้,คุณกลัวตายไหม,คุณพึงพอใจกับชีวิตตัวเองหรือยัง?
* หนังสือเล่มนี้จะมี ตัวหลักอยู่ คือ จอน (คนหลงทางที่เข้ามาในคาเฟ่),เคซีย์ (พนักงานร้านคาเฟ่),ไมค์(เจ้าของคาเฟ่)
- บทที่ 1
คุณกลัวตายไหม
นิยามของ ความสำเร็จ ความสุข ความพึงพอใจ ที่ถูกตั้งโดยคนอื่น
บทนี้ ไมค์ แนะนำให้ จอน พูดคุยกับ แอน (แอนคือลูกค้าอีกนึงคนที่เข้ามาใช้บริการคาเฟ่แห่งนี้เหมือนกัน) ซึ่งแอนได้ถามคำถามที่ปรากฎอยู่ตรงเมนูกับจอนว่า คุณกลัวตายไหม?
เป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ทุกคนมักจะกลัว คนที่ไม่เคยถามตัวเองด้วยคำถามที่เห็นบนเมนู และไม่เคยลงมือทำสิ่งที่อยากให้บรรลุ ‘ เป้าหมายชีวิต ‘ คนเหล่านั้นจะกลัวตาย
ไมค์ก็บอกว่าตัวของเขาเองไม่ได้คิดถึงเรื่องความตายทุกวัน แอนเลยบอกว่า ไม่ใช่เลย เรื่องของ ความตายอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก การคิดถึงความตายไม่ได้อยู่อันดับแรก ๆ
ที่เราคิดแต่เรามักจะคิดว่าระหว่างที่เราใช้ชีวิตผ่านไปในแต่ละวัน มันใกล้กับความตายแล้วต่างหากเหมือนกับว่าเรามีชีวิตอยู่บนโลกนี้อีกเท่าไหร่
เราจะไม่กลัวการมีโอกาสทำบางอย่าง ถ้าได้ทำไปแล้วหรือกำลังทำมันอยู่
จอนทบทวนกับตัวเองว่า รู้แค่แนวคิดยังไม่พอสิ่งสำคัญคือการลงมือทำ
- บทที่ 2
บทเรียนชีวิตที่หาได้จากเต่าตนุ
เคซีย์ พนักงานสาวในคาเฟ่ เล่าว่า ได้เรียนรู้บทเรียนชีวิตสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเลือกสิ่งที่จะทำในแต่ละวัน
วันหนึ่งเคซีย์ดำน้ำแบบสนอกเกิลแล้วบังเอิญได้เจอกับเต่าตนุ เคซีย์ดีใจและตั้งใจจะว่ายน้ำตามดูสักพัก แต่ว่ายยังไงก็ว่ายไม่ทัน พอสังเกตจริง ๆ เคซีย์ถึงเข้าใจว่า
เต่าตนุตัวนั้นใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำ เมื่อไหร่ที่กระแสน้ำพัดไปในทางที่อยากไปค่อยตีขาว่ายไปทางนั้นและลอยตัวพักนิ่ง ๆ เมื่อกระแสน้ำพัดสวนทาง
เคซีย์กลับตีขาไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้สนใจว่ากระแสน้ำจะพัดไปทางไหน สุดท้ายจึงเหนื่อยและไม่มีแรงพอที่จะใช้ประโยชน์จากกระแสน้ำ
เปรียบได้ว่า เมื่อใครสักคนมีเป้าหมายชีวิต เรารู้ว่าตัวเองจะไปทางไหน เราจะใช้เวลาไปกับการทำสิ่งต่าง ๆ นั้นได้เต็มที่
แต่ถ้าไม่มีเป้าหมายชีวิต เราจะเสียเวลาทำแต่สิ่งที่ไม่ได้ช่วยให้เข้าใกล้เป้าหมายนั้น
ประโยคที่อยากบอกเล่าจากคนอ่าน
-“ความท้าทายคือการตระหนักว่าบางสิ่งบางอย่างน่าพึงพอใจ เพราะเราตัดสินว่ามันน่าพึงพอใจด้วยตัวเราเอง ไม่ใช่เพราะคนอื่นบอก”-
หลาย ๆ ครั้ง มาตรฐานทางสังคม มักจะเข้ามาทำให้เราสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตของตัวเอง ถึงเราจะบอกตัวเองแล้วว่าเราเลือกแบบนี้
แต่พอได้ฟังความคิดเห็นคนรอบข้างหรือได้ฟังเรื่องราวของคนอื่น เรามักจะไขว้เขว แล้วกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า สิ่งที่เราเลือก ณ ตอนนี้ดีพอหรือยัง
เพราะมันยากจริง ๆ ที่จะบอกว่าเส้นทางที่เราเลือกมันดีพอ มันเหมาะสมกับเรา เป็นไปได้อยากที่จะตัดสินด้วยตัวเองว่า… สำหรับเรามันดีพอ
อยากพูดได้เต็มปากว่า “พอใจกับชีวิตและเส้นทางที่เลือกเดิน”
คิดว่าต้องอาศัยการทุ่มเทแรงกายแรงใจที่ตัวเองมีเพื่อพิสูจน์ และที่ขาดไม่ได้คือ การเคารพตัวเอง
เพราะถ้ามองในอีกแง่ เราอาจจะยังเคารพการตัดสินใจของตัวเองไม่มากพอถึงยังเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
สุดท้ายแล้วการตามหาเป้าหมายชีวิตในปัจจุบันทั้งยากและกดดันขนาดไหน เราจะพอรู้แต่หวังว่าเราจะหาสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขเจอ 😃
ข้างนอกสดใส ข้างในฮือฮือ เป็นประโยคหนึ่งที่ใช้อธิบายคำว่า Smiling Depression จริง ๆ แล้ว คืออะไร
มาสาเหตุมาจากอะไร เพราะอะไรบางคนถึงเลือกที่จะซ่อนความรู้สึกเศร้า ดิ่ง ดาวน์ ไว้ภายใต้รอยยิ้มและคำว่า
“ไม่เป็นไร เราโอเค”
Smiling Depression
เป็นคำอธิบายอาการที่เราพยายามซ่อน ภาวะซึมเศร้า ไว้ในใจ โดยการเสแสร้งว่าตัวเอง มีความสุขกับชีวิต เช่น คนที่ร่าเริง ยิ้มแย้ม แจ่มใส สร้างเสียงหัวเราะกับผู้อื่น
อาจเป็นคนเดียวกับคนที่นอนเศร้าเมื่ออยู่ตัวคนเดียว Smiling Depression อาจมีชีวิตที่คนภายนอกมองเห็นว่าดูดี มีความสุข ทั้งที่ความจริงแล้วภายในใจอาจจะมีเรื่องกังวล
Smiling Depression ถูกตีความไว้ให้เป็น “ High-functioning depression ” หรืออาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดูเหมือนจะเป็นคนที่ตลกง่าย หัวเราะง่าย คอยสร้างเสียงหัวเราะให้คนรอบกายอยู่เสมอ
Smiling Depression จะพยายามจัดการกับความรู้สึกด้วยการหาเรื่องหักเหความสนใจ เช่น ออกไปซื้อของใหม่ ๆ ซื้อมาแล้วอาจจะไม่ได้ใช้บ้างแต่หาอะไรทำเพื่อให้ลืมเรื่องที่เศร้า
ไปเที่ยวแบบไม่ได้หยุดพักถึงจะเที่ยวแล้วแต่ก็ไม่มีความสุขเหมือนที่หวังไว้ วิธีนี้ก็ไม่ได้ผลที่ระยะยาวเพราะไม่ได้เผชิญหน้าจัดการกับปัญหาอยู่ดี
Smiling Depression คือ โรคซึมเศร้า?
Smiling Depression คือ หน้ากากแห่ง ‘รอยยิ้ม’ ที่ซ่อนความรู้สึกเศร้าอยู่ข้างใน มีอีกนิยาม คือภาวะที่มีอาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ
พอกล่าวถึงโรคซึมเศร้าแล้วเราจะนึกถึง ความเศร้าที่บางคนอาจจะแสดงออกผ่านทางสีหน้าอารมณ์ได้ชัดเจน แต่ Smiling Depression ที่ต้องซ่อนความเศร้าไว้ข้างใน
เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้างในจิตใจเขาเป็นยังไง เป็นซึมเศร้าที่เสี่ยงกว่าซึมเศร้าที่แสดงออก เพราะไม่มีใครรับรู้อาการของพวกเขา
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราอยากยิ้มจริง ๆ หรือเรากำลังยิ้มเพื่อปกปิดความเศร้าของเราอยู่
ในภาวะ Smiling Depression เราอาจรู้สึกดีชั่วขณะ ชั่วคราว เวลามีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น แต่จะเพียงแค่เวลาสั้น ๆ ขั้นแรกคือการเปรียบความรู้สึกกับสิ่งที่ปรากฎออกไปให้คนภายนอกเห็น
เวลาอยู่คนเดียว เรามีอาการเศร้าอย่างต่อเนื่องไหม แล้วเราไม่เคยแสดงให้คนอื่นรู้เลย เก็บความเศร้าของตัวเองไว้ แล้วบอกกับคนอื่นว่าโอเค
อาการจะคล้ายกับซึมเศร้าเลยเพราะ Smiling Depression ก็เหมือนการที่เป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่ได้แสดงออก
- ขาดพลังงานเหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลีย
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหารหรือความผันผวนของน้ำหนัก
- สูญเสียความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมที่คุณเคยชอบ
- รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิด
- มีปัญหาในการคิด มีสมาธิ หรือตัดสินใจ
- ความคิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตาย
สิ่งที่โดดเด่นออกมาสำหรับคนที่เป็น Smiling Depression
- พยายามใช้ชีวิตตามปกติ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ทำเหมือนว่าไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นข้างใน
- แสดงออกว่าร่าเริง มองโลกในแง่ดี
สาเหตุในชีวิตประจำวันที่บางคนไม่กล้าจะแสดงความเศร้า
Amy Morin นักจิตบำบัดได้อธิบายเอาไว้ว่า การที่คนหนึ่งคนเลือกที่จะซ่อนอารมณ์ไว้เพราะว่า . .
- ไม่อยากให้ตัวเองเป็นภาระ ไม่อยากให้คนต้องมาดูแลความลำบากของตัวเอง ความรู้สึกนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ชอบดูแลคนอื่นหรือใส่ใจความรู้สึกคนอื่นมาก ๆ
- ไม่อยากให้ส่งผลต่อหน้าที่การงาน ถึงแม้ว่าสังคมจะเปิดกว้างและเข้าใจสภาวะนี้กันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ก็เลยเลือกที่จะปกปิดอาการเหล่านี้ไว้ เพื่อให้มันส่งผลกระทบน้อยที่สุด
- ไม่อยากยอมรับความเศร้า อาการนี้อาจจะดูน่ากลัวในสายตาบางคน ก็เลยเลือกที่จะยิ้มรับทุกอย่างไว้ ทั้งที่ภายในไม่ได้แก้ไขอย่างถูกต้อง
- ไม่อยากรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ/ไม่อยากรู้สึกอ่อนแอ ในบางครั้งคนเราเลือกที่จะยิ้มสู้ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองรู้สึกว่าเข้มแข็ง และคนที่เสพติดความเป็น Perfectionist มักจะไม่ยอมรับความเจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจอะไรง่าย ๆ
- ไม่อยากแปลกแยก Social Media ในปัจจุบัน เราจะพบเลยว่า ทุกคนต่างนำเสนอมุมความสุขในแบบฉบับของตัวเอง แต่พอเราเริ่มรู้สึกเศร้า รู้สึกแย่ มันมักจะทำให้เราโดดเดี่ยวและแปลกแยกจากคนทั่วไป ทำให้บางครั้งไม่กล้ายอมรับมันการสร้างกลไกการป้องกันตัวเองแบบนี้จะทำให้เขารู้สึกดีกว่าการแสดงความรู้สึกที่แท้จริง
Smile Depression ในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
อ้างอิงจากข้อมูลจาก I strong ในทางจิตวิทยาโรคซึมเศร้านั้นประกอบด้วยอาการหลักคือ อารมณ์เศร้าหมอง
ดังนั้น การยิ้ม หัวเราะ ร่าเริง จึงเป็นเหมือนกลไกปกป้องตัวเอง (Defense mechanism) คือความพยายามที่จะซ่อนแอบความรู้สึกที่แท้จริง
Learn How to Recognizing the Signs of Smiling Depression
คอยสังเกตอาการ สัญญาณ ของตัวของเราค่ะ เพราะ การที่เราเป็น Smiling Depression เราใช้รอยยิ้ม ความร่าเริง อาจดูเหมือนประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่อาการที่ซ่อนอยู่ข้างในจะนำพาไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ นำไปสู่การทำร้ายตัวเอง เพราะการที่เราแสดงว่า ฉันไม่เป็น ฉันโอเค ฉันยิ้มได้ทำให้คนอื่นไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เรารู้สึกอยู่ข้างใน
แก้ไขอย่างไรดี
การรักษาที่สามารถทำได้จะเหมือนกับ Major Depressive Disorder ทั้งการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์ การพูดคุยทำจิตบำบัด
การเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำงานอดิเรกที่ชอบ อยู่กับคนที่ทำให้เรามีความสุข
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเริ่มต้นที่จะดูแลตัวเอง การเล่าเรื่อง เล่าปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ให้กับคนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเราเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย
มื่อผ่านช่วงนี้ไปได้ทุกอย่างจะค่อย ๆ ดีขึ้น เพราะไม่ต้องเก็บปัญหานี้ไว้คนเดียว มีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือเราเสมอ
การพูดเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ และการหาจิตแพทย์ก็ไม่ได้หมายความว่าเราอ่อนแอ
หรือเป็นบ้าอย่างที่คนเข้าใจผิดกัน การพูดให้เคยชินจะทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะแสดงออกความรู้สึก ๆ ที่มีมากยิ่งขึ้น
สำหรับการเก็บซ่อนความรู้สึกเศร้า และทำเหมือนตัวเองมีความสุขตลอดเวลา อยากให้ลอง
สำรวจความรู้สึก ด้วยการจดบันทึก หรือนั่งคุยกับตัวเอง คอนเน็คกับความรู้สึกตัวเอง
หาพื้นที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อม หรือผู้คนที่เรารู้สึกว่า เราสามารถแสดงออกความเป็นตัวของเราได้นะ เข้มแข็ง เสียใจ ร้องไห้ ผิดหวัง
ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ เศร้า เสียใจ บ้างก็ได้ ไม่มีใครไม่เคยเสียใจ ไม่มีใครไม่เคยเศร้า
ที่มา :