Projection คืออะไร เพื่อน ๆ หลายคนคงจะมีบ้างที่รู้สึกไม่ชอบลักษณะนิสัยหรือการกระทำบางอย่างของคนอื่น แต่ในบางครั้ง สิ่งที่เราไม่ชอบในคนอื่น อาจจะมาจากการไม่ชอบตัวเองก็ได้
มาทำความรู้จักกับ Defence Mechanism หรือกลไกการป้องกันตัวแบบหนึ่งของมนุษย์เราที่เป็นคำตอบสำหรับประเด็นนี้คืออะไร
Defence Mechanism กลไกการป้องกันตัว
Defence Mechanism คือ กระบวนการที่จิตใจเราใช้เพื่อให้ ID EGO Superego ของเรายังสมดุลเนอะ ความต้องการของเรา การมองโลกตามความเป็นจริง
และการทำกรอบของสังคม บางครั้งเราทำทั้งหมดนั้นพร้อมกันไม่ได้ Defence Mechanism จึงมาเพื่อช่วยลดความตึงเครียดในใจเรา
Defence Mechanism เป็นได้ทั้งกระบวนการที่ช่วยให้เราไม่กลายเป็นบ้า (คุมสติเราไม่ให้พังจนใช้การไม่ได้) หรือไม่ก็ทำให้เราหลุดจากความเป็นจริงไปเลย
Defence Mechanism มีหลากหลายแบบ แต่เราจะกล่าวคือ Projection และ ขั้นกว่า คือ Projective Identification
Projection การฉายสะท้อน
การปฎิเสธข้อมูลที่รับไม่ได้เกี่ยวกับตัวเอง แล้วโยนให้คนอื่น หรือ การสะท้อนลักษณะอันไม่พึงประสงค์ของตนไปให้ผู้อื่น
เช่น เราโกรธเพื่อน แต่รู้สึกว่าการโกรธเพื่อนเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรโกรธ ไปๆมาๆ พอเพื่อนตอบแชทช้า เราเผลอคิดไปว่าเพื่อนนั้นแหละที่โกรธ
ภาวะนี้เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ และหลายครั้งเราอาจจะไม่รู้ตัว เรียกว่ามันอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก เพราะฉะนั้น บางครั้งเราก็จึงไม่รู้ตัวว่า สิ่งที่เราไม่ชอบในตัวคนอื่น คือสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเอง
Projective Identification การยัดเยียดอัตลักษณ์
หากเปรียบเทียบ การฉายภาพสะท้อน คือการที่เรามีบางสิ่งในตัวเราที่ไม่ชอบ แล้วเราก็โยนมันเป็นของคนอื่น ๆ แต่ Projective identification นอกจากโยนสิ่งที่ไม่ชอบให้คนอื่นแล้ว
เรายังแสดงพฤติกรรมเพื่อกระตุ้นให้อีกฝ่ายเป็นในสิ่งที่เราโยนให้เขาด้วย เหมือนการเอาชุดไปสวมให้เขาแล้วทำให้เขาเล่นบทบาทอย่างที่เราไม่ชอบ เรากำลังสร้างให้เขาเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบในตัวเอง
ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบที่ตัวเอง “ขี้โมโห” เราก็เลยโยนไปว่าเพื่อนเราต่างหากที่ขี้โมโห โดยเราอาจจะพูดว่า “แกอย่าโมโหสิ” “อย่าใช้อารมณ์นะ”
ทั้ง ๆ ที่คนปกติก็คือ อารมณ์เสียแต่เราไปเน้นว่า “แกขึ้โมโห” มุมมองของเพื่อนต่อตัวเองก็เปลี่ยนไป
กลไกป้องกันตนเองแบบ Projection เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
กลไกป้องกันตนเองแบบการฉายภาพสะท้อน มีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องความ “ผิด/ถูก” โดยคนเราจะเริ่มใช้กลไกป้องกันตนเองในช่วงวัยเด็กตอนกลาง
ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มมีพัฒนาการในเรื่องของความผิดชอบชั่วดีขึ้นมาแล้ว ถือว่าเป็นกลไกป้องกันตนเองแบบแรก ๆ ที่ถูกนำมาใช้
เพราะเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจเรื่องของความดีความเลว แบบขาวกับดำ และเพื่อสร้างสมดุลของความดีและความไม่ดีในตัวเรา ปกป้องเราจากความเจ็บปวด คววามกลัว ความโหดร้าย
การรู้เท่าทันภาวะการโทษคนอื่น
ข้อขอบคุณข้อมูลจาก อาจารย์ ดร.พนิตา เสือวรรณศรี
การจะปรับให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการความคิดแบบนี้ คือ เราต้องถามตนเองว่าการที่เรามองคนอื่นว่าเขาเลว อันตราย น่ากลัว ความคิดนี้อยู่บนพื้นฐานความจริงแค่ไหน
หรือเรากำลังโยนความรู้สึกไม่ปลอดภัย วิตกกังวลที่เรามีในใจออกไปสู่คนอื่นอยู่รึเปล่า อะไรที่ทำให้เรารู้สึกวิตกกังวล ไม่ปลอดภัยเมื่อมีคนที่คิดเห็นต่างจากเรา เป็นแบบที่เราไม่ชอบ มันผิดตรงไหน
แล้วความรู้สึกนี้อยู่บนพื้นฐานความจริงแค่ไหน ในทางตรงกันข้าม คนที่เรามองว่าเป็นคนดีที่ไม่มีที่ติ เขาดีแบบนั้นจริง ๆ หรือไม่ ความคิดนี้อยู่บนเหตุผลและหลักฐานตามความเป็นจริงแค่ไหน
หรือเราแค่ทำให้คนนั้นหรือกลุ่มคนนั้นเป็นกลุ่มคนอุดมคติเพื่อให้เรารู้สึกปลอดภัย ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนดีที่เราก็อยู่ในกลุ่มนั้น
บทความอื่น ๆ ที่ Alljit Blog
ที่มา :
Understanding Experiences of Projective Identification
ทำไมความต่างจึงนำไปสู่ความเกลียด
Post Views: 9