ความโรแมนติกเมื่อพูดถึงก็คงมีแต่ความสวยงาม ความน่าหลงใหล แต่ถ้าเป็น Romanticize สิ่งที่เราคิดว่าดี สุดท้ายแล้วดีจริง ๆ หรือเปล่า
เราจะมองโลกตามความเป็นจริงมากกว่านี้ได้อย่างไร Alljit Podcast
Romanticize
Romanticize การทำให้เป็นเรื่องอุดมคติหรือเกินจริงในด้านบวก โดยที่ไม่ได้มองถึงด้านลบของเรื่องนั้น ๆ หรือก็คือ ทำให้ดูโลกสวยขึ้นนั่นเอง
การที่เรามองในด้านเดียว มองแค่ด้านที่ดี มองข้ามความจริง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่ควรจะเกิดขึ้น เช่น ตอนโควิดที่ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีโควิดทำให้ธรรมชาติกลับมาสวยงาม
คนจนที่แบ่งกันกินข้าวหนึ่งกล่องด้วยรอยยิ้ม (เหมือนที่โฆษณาที่เราชอบเห็น) การทำงานหนักเกินเงินเดือน เห็นไหมว่ามันเป็นสิ่งทั่วไปมากที่เราสามารถพบเจอได้ในบริบทของสังคมที่เราอยู่แต่เราเอามา Romanticize
หรือว่าเรื่องของ เวลาผู้ชายที่มีครอบครัวแล้วไม่เจ้าชู้ เราจะชื่นชมเขามาก ๆ ว่าเขาเป็นคนดี แต่จริง ๆ คือเรื่องปกติ
Romanticize VS โลกสวย?
อ้างอิงจากรายการ L&S โลกสวย กับคิดบวก ได้กล่าวไว้ว่า โลกสวย หมายถึง การมองโลกในแง่ดีเกินไป จนกลายเป็นพวกมองโลกในแง่ดีเวอร์เกิน หรือหมายถึง คนที่มีโลกในอุดมคติของตัวเองอยู่แล้ว
และปรารถนาจะให้โลกเป็นดั่งที่ใจต้องการ แต่กลับรับไม่ได้กับความจริงที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งตรงข้ามกับโลกในอุดมคติของพวกเขา
ค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกับการ Romanticize ตรงที่มอง “แค่” ในด้านที่ดี มองข้ามความจริง มองในด้านเดียว การ Romanticize กับ โลกสวย อาจเป็นรูปแบบเดียวกัน
Romanticize และ Normalize
นอกจากมี Romanticize แล้วยังมีการ Normalize ด้วย ซึ่ง Normalize ก็คือคำว่า Normal แปลว่า ธรรมดา ความธรรมที่ไม่ธรรมดาตรงที่การทำให้เรื่องใดเรื่องหนึ่งมันกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป
ไม่ใช่เรื่องที่ยิ่งใหญ่ หรือผิดแปลก เช่น การที่เรา Normalize ผู้ชายเจ้าชู้ มีบ้านเล็ก บ้านน้อย ว่าเป็นเรื่องปกติ แต่พอผู้หญิงเจ้าชู้เรากลับโจมตี ด่าท่อ ฝ่าย ญ
ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วไม่ว่าเพศไหน เจ้าชู้ มีบ้านเล็ก บ้านน้อย ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรอยู่ดี
Romanticize ด้านไหนบ้าง
ด้านความรัก
ดร.จูเลีย ลิปป์แมน มองว่าป๊อปคัลเจอร์คือส่วนหนึ่งที่ทำให้การเป็นสตอล์กเกอร์กลายเป็นเรื่องโรแมนติก เพราะถูกทำให้คิดว่าการพยายามเพื่อความรัก และการคอยตามดูแลอยู่เสมอโดยที่ไม่อยากให้อีกฝ่ายรู้ แ
ล้วจบด้วยความสมหวังคือเรื่องที่ทำได้ปกติ ลองนึกดูว่าถ้ามีคนมาแอบชอบเรา แล้วตามดู ตามสืบ ตามโทร หรือแม้แต่สั่งของมาให้แบบไม่บอกกล่าว ลุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว เราอาจจะรู้สึุกอึดอัด ไม่ชอบ
รำคาญใจ และรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ถ้าเหตุผลของเขาคือทำเพราะชอบ ทำเพราะอยากจีบ มันจะดูมีเหตุผล ดูมีความพยายาม ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือการ Romanticize อย่างหนึ่ง
ด้านสุขภาพจิต
เรื่องนี้ก็เป็นที่พูดถึงอย่างมากในต่างประเทศ คือ Gen-Z Romanticizes ความเจ็บป่วยทางจิต
ในสื่อสังคมออนไลน์ บางครั้งความเจ็บป่วยทางจิตก็ไม่ได้รับการปฏิบัติเหมือนกับปัญหาร้ายแรงที่เป็นอยู่ วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อทำให้ความเจ็บป่วยทางจิต
แทนที่จะกล่าวถึงถึงความเป็นจริงอันโหดร้าย กลับได้รับการแปรสภาพเป็นสิ่งที่มักถูกอธิบายว่าเป็น “ความทุกข์ทรมานที่สวยงาม”
ด้านความเป็นอยู่
ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน คนรวยเองก็มองว่าคนจนนั้นก็อยู่ในวิถีชีวิตในแบบพอเพียงของเขาก็ดีอยู่แล้วไม่ได้มีปัญหาอะไร ส่วนตัวเองอยู่ในจุดที่เหนือกว่าคนเหล่านี้ได้
เป็นเพราะตัวเองมีการศึกษามีความพยายาม ทั้งที่ลืมมองว่าโอกาสการเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ความสะดวกสบาย การเดินทาง การทำงาน การศึกษา
“บริจาค” หรือการ “ให้” ที่ดูเหมือนจะกลายเป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งกัน มีคนเมืองที่รับอาสาบทคนใจบุญที่เข้ามาช่วยเหลือในการมอบสิ่งของต่าง ๆ ให้กับผู้ยากไร้หรือผู้ขาดแคลน
ซึ่งไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ปีต่อกี่ปี ภาพเหล่านี้ก็จะยังเป็นการวนซ้ำไปซ้ำมาเช่นเดิมอยู่เสมอ เพราะคนมัก Romanticize กับการให้เหล่านี้ เป็นภาพการช่วยเหลือที่ทรงคุณค่า
การไปต่างจังหวัดที่ใช้ชีวิต Slow Life หรือกินอยู่แบบวิถีชาวบ้าน ทำให้มองเห็นความสุข จากความเรียบง่าย จนเข้าใจว่าคนที่เขาอยู่แบบนี้ก็คงมีความสุขไม่ต่างกัน
โดยที่ลืมคิดไปว่า เราแค่เปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมแค่ไม่กี่วัน แต่กลับตัดสินไปแล้วว่าชีวิตแบบนี้คือชีวิตที่ดี
ด้วยสื่อหลาย ๆ อย่างทั้งโฆษณาหลากหลายที่ผ่านตาให้เห็นกำลังแทรกความ Romanticizes มาให้เราเหมือนกัน การที่เรามีข้าวกินหนึ่งกล่อง เราแบ่งกันครอบครัวด้วยรอยยิ้มนะ แต่เดี๋ยวก่อน แ
สารอาหาร . . ความอิ่ม . . เขาอยากยิ้มจริงไหม? ไม่มีใครตอบได้ ถ้ามองด้วยความเป็นจริง การเติบโต อาหาร ปัจจัย 5 อย่างของคนเราก็สำคัญ
หรืออย่างหนัง parasite ที่มีฉากที่ฝนตกแต่บ้านคนที่มีฐานะบอกว่าดีจังฝนตกทำให้หลับสบาย อากาศดี นั่งมองฝนตก แต่คนที่ฐานะยากจนในเรื่องต้องรีบกลับบ้านไม่เก็บของเพราะน้ำจะท่วมบ้าน
ปัญหาของการมองโลกในแง่เดียว
- หลอกตัวเอง บางครั้งเส้นกั้นระหว่างการมองโลกในแง่ดีกับการหลอกตัวเองก็อาจเลือนลาง จนการคิดแง่ดีกลายเป็นการหลอกตัวเองไปได้ เช่นการสร้างความคาดหวังที่เกินขอบเขตความสามารถของเราแน่นอนว่าชีวิตคนเราต้องมีความหวัง แต่ถ้าหวังมากเกินไปไม่สัมพันธ์กับความเป็นจริง เวลาผิดหวังก็อาจเจ็บหนัก
- มองแต่แง่ดี ไม่มองปัญหา การมองเห็นแต่ด้านดี ด้านสวยงาม อาจทำให้เราละเลยข้อเสียหรือปัญหาที่ควรนำมาประกอบการตัดสินใจ หรือควรได้รับการแก้ไข ซึ่งสุดท้ายแล้วปัญหานั้นก็ไม่ได้หายไปไหน แค่รอวันระเบิดตัวเองออกมา ในกรณีเช่นนี้การมองโลกในแง่ร้ายอาจดีกว่า เพราะการคาดการณ์ถึงสถานการณ์เลวร้ายไว้ก่อน (worst case scenario) ทำให้มีแนวโน้มจะเตรียมวิธีรับมือได้ทัน
เราจะมองโลกในแง่ของความเป็นจริงได้ยังไง
Realistic ความจริง สามารถหาเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ แต่พอมาในความชีวิตคนเราแล้ว การมองสิ่งต่าง ๆ มันยากมาก และการเลี้ยงดูต่าง ๆ สภาพแวดล้อม สังคมเป็นส่วนล่อลอมให้มองโลก
มองโลกในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ว “ความเป็นจริง = การเดินทางสายกลาง” เช่น เราเลิกกับคนนึงไปแล้ว แล้วมองในแบบ วิธีที่หนึ่ง เดี๋ยวเขาก็กลับมา เขายังรักเราอยู่
วิธีที่สอง เราเลิกกันแล้ว ขอเวลาทำใจ แล้วชีวิตต้องไปต่อ วิธีที่สาม เขาต้องมีคนอื่นภายในเร็ว ๆ นี้แน่เลย เรามันไม่ดี ความคิดทั้ง 3 แบบ เป็นความคิดที่แน่นอนต้องตีกันบ้างในหัวเร
แต่ถ้าแบบที่หนึ่งเราจะมีความคาดหวัง แล้วถ้าเขาไม่กลับมาเราก็จะเจ็บปวดสุด ๆ แบบที่สาม เรากำลังมองในแง่ร้ายและทำให้ตัวเองแย่สุด ๆ หรือเปล่า และในแบบที่สองคือการเดินสายกลางตามความเป็นจริง
แต่กว่าเราจะบรรลุมาแบบที่สองได้มันก็ต้องใช้เวลา การมองโลกตามความเป็นจริงค่อนข้างยาก แต่ถ้าหากว่าเรามีสติ เรารับรู้ว่าตอนนี้นะสถานการณ์ไหน เราหาข้อมูล
หาใครสักคนมาคอยช่วยดึงสติ การจะมองโลกในความเป็นจริงสามารถทำได้ และทำให้มีความสุขในระยะยาวด้วยนะ
ถ้าโลกความเป็นจริงมันโหดร้าย จะทำอย่างไรให้มีความสุขได้บ้าง
Resilience ความยืดหยุ่นทางใจ มีอีกชื่อเรียกด้วยว่าเป็นพลังแห่งการ ฮึบ เหมือนกันว่าถ้าเรากำลังเจอวิกฤตกับตัวเรา หรือเจอปัญหาไรสักอย่างที่ค่อนข้างหนักหน่วง
ตัวของเราเองจะฉุด RQ: Resilience Quotient) ขึ้นมา ถ้าหากว่าเรามีเจ้า RQ (Resilience Quotient) ไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์รุนแรง ก็สามารถเผชิญชีวิตได้อย่างมีสติ มีจิตที่มั่นคง
รับความจริงของชีวิตที่ต้องมีทั้งด้านดี และด้านไม่ดี เรียนรู้ที่จะล้มแล้วลุกขึ้นยืนใหม่ได้ RQ เป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนกันได้
how to develop RQ
มีชื่อเรียกว่า “พลัง 3 ด้านต้านวิกฤต เมื่อเราเจอสถานการณ์ที่มันโหดร้าย”
- อึด เราต้องมีการจัดการอารมณ์ได้ ซึ่งอันนี้พอพูดถึงการจัดการอารมณ์ของแต่ละคนคนต่างกันออกไป เพราะบางทีเวลาอารมณ์มันมามาก ๆ เราก็จะขาดสติ เหตุผลที่เคยมีก็หายไป การจัดการอารมณ์เบื้องต้น เราต้องรู้จักอารมณ์นั้นที่มาทักทายเราก่อน ถ้าเรารู้จัก เราก็จะหยุดไม่ให้มันเข้ามารุกล้ำเราเกินไปได้
- ฮึด มีแรงใจ กำลังใจที่จะก้าวเดินต่อไปในสถานการณ์ที่กดดัน กำลังใจที่เราสร้างเองอาจไม่ต้องยิ่งใหญ่ก็ได้บางทีเรากลับมาอยู่กับตัวเองสักพัก หาของที่เราชอบกิน ฟังเพลงโปรด ดูอะไรที่สนุกเยียวยาจิตใจ
- สู้ คือเราต้องเชื่อมั่นในตัวเองว่าเราะสามารถเอาชนะมันได้ ความมั่นใจสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าเรามีความเชื่อ เชื่อมั่นแล้วแน่นอนว่าสิ่งนี้มันจะผลักให้เราสำเร็จได้
ที่มา :
คิดบวก กับ โลกสวย เหมือนกันหรือไม่?
The Romanticism of Mental Illness on Social Media
เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดีพลังสุขภาพจิต
เปิดนิยาม Romanticize คืออะไร?
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ คลิก
Post Views: 2,814