Survivior Guilt ทำไมถึงเป็นฉันที่รอดมาได้

Survivior Guilt ทำไมถึงเป็นฉันที่รอดมาได้

เรื่องAdminAlljitblog

มีรายการชื่อว่า Cinema Therapy ที่จิตแพทย์ดู Godzilla ภาคใหม่ แล้วพูดถึงประเด็นที่เรียกว่า Survival Guilt

 

เป็นศัพท์ที่แปลกใหม่ดี ไม่เคยได้ยิน แล้วพอหาข้อมูลมามันก็เป็นอะไรที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด เลยอยากชวนมาทำความรู้จักกัน

 

 

Survivor Guilt

เป็นสภาวะที่พบเจอได้บ่อยในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรง เช่น ทหารผ่านศึก หรือผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ เหตุสังหารหมู่ 

 

ผู้ที่รอดชีวิตรู้สึกไม่สมเหตุสมผลที่ตัวเองรอดในขณะที่คนข้างกายเสียชีวิต เกิดความละอาย คิดว่าตัวเองไม่สมควรรอด

 

และรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องช่วยเหลือคนอื่นๆ นึกย้อนไปว่าในตอนนั้นควรทำอะไรได้มากกว่านี้ โทษตัวเอ

 

และเกิดความคิดว่า การกระทำของตนส่งผลต่อความทุกข์ทรมานของคนอื่น 

 

ไม่ใช่โรคทางการแพทย์ แต่เป็นสภาวะที่บุคคลหนึ่งเผชิญและต้องได้รับการดูแลรักษา

 

งานวิจัยพบว่าหลายคนที่มี Survivor Guilt เข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้

 

แต่ก็ยังรู้สึกผิดและคิดว่าตัวเองควรช่วยได้มากว่าที่ได้ทำลงไป รู้สึกว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 

การรู้สึก Survivor Guilt สามารถนำไปสู่อาการ PTSD ได้ PTSD คือ ภาวะที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจนเกิดความผิดปกติทางอารมณ์ หลังจากผ่านเหตุการณ์รุนแรง สะเทือนใจมาหนักๆ 

 

ทำไมถึงผิดหวังที่ยังมีชีวิต

คนที่พื้นนิสัยเป็นคนขี้กังวล เป็น People Pleaser หรือ Self-Esteem ต่ำ ยิ่งเกิด Survivor Guilt ง่าย

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้รู้สึกผิดที่คนอื่นทนทุกข์แม้จริงๆ แล้วมันก็ไม่ใช่ความผิดเรามาจากสิ่งที่เรียกว่า…

 

Mirror Neurons เป็นกระบวนการที่สมองเลียนแบบความรู้สึก/พฤติกรรมของอีกฝ่ายที่เรามองอยู่ 

 

รียกอีกชื่อว่า complex Empathy = ถ้าเราเห็นคนที่เรารักเจ็บปวด กระบวนการในสมองจะลอกเลียนไปโดยธรรมชาติจนเรารู้สึกเจ็บปวดไปด้วย 

 

มันก็จะวนไปที่เรื่อง Empathy และ สัตว์สังคม ซึ่งเป็น Quality พื้นฐานของมนุษย์ที่เราเคยพูดถึงกัน

 

ในทางจิตวิทยา คนที่มี Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจ จะเกิดความรู้สึดผิดได้ง่าย

 

ด้วยความที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม สังคมเราก็ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ

 

คนที่มีจิตสำนึกคุณธรรม และคนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งคนเหล่านี้จะเกิดความรู้สึกผิดได้ง่ายเหมือนกัน

 

อีกสาเหตุ คือ บางคนอาจจะรู้สึกผิดเพราะมีคนอื่นมาพูดใส่ด้วย เช่น สังคมกดดันให้เราต้องรับผิดชอบ ต่อว่า ตำหนิ

 

มันก็อาจจะทำให้คนที่รอดยิ่งรู้สึกแย่หรือกระตุ้นความรู้สึกผิดนั้น แต่บอกก่อนว่าถ้ารู้สึกผิดในระดับที่สมควรรู้สึกผิด

 

แบบนึกถึงใจเขาใจเราอะ มันโอเคที่จะรู้สึกนะ แต่ถ้ารู้สึกผิดจนทำร้ายตัวเอง ให้อภัยตัวเองไม่ได้ อันนี้ต้องหาทางออกให้ตัวเอง รวมถึงคนรอบข้างก็ต้องซัพพอร์ตความรู้สึกด้วย

 

Survival guilt ในปัจจุบัน

หลายคนอาจจะคิดว่าไกลตัว แบบเราไม่ใช่ทหาร เราไม่ได้ผ่านเหตุภัยพิบัติอะไรใหญ่หลวง เราก็ไม่น่าเป็น แต่จริงๆ แล้ว Survivor Guilt มันใกล้ตัวกว่านั้นอีก

 

คำว่า Survivor Guilt จะเขียนว่า Survivor’s Guilt ที่แปลว่า ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต เพราะแต่ก่อนมันเป็นสภาวะที่เกิดกับผู้รอดจากเหตุการณ์ร้ายแรง

 

ในปัจจุบันนิยามกว้างขึ้น สามารถใช้เรียกสภาวะหรือความรู้สึกแย่ที่ชีวิตตัวเองไปได้ดีในขณะที่เพื่อน คนรัก หรือคนรู้จักของเรากำลังลำบากอยู่ ซึ่งเป็นอะไรที่ชีวิตประจำวันมากขึ้น 

 

เช่น 

  • เราได้ไปแข่งวิ่ง ในขณะที่เพื่อนของเราที่ควรจะได้ไปแข่งด้วยกันกลับไม่ได้ไป อาจจะเพราะเขาประสบอุบัติเหตุ ไม่สบายกระทันหัน หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เขามาแข่งกับเราไม่ได้ เราเองก้รู้สึกผิดที่โชคชะตาเข้าข้างเรา ไม่เข้าใจว่าทำไมเพื่อนถึงดวงตกในขณะที่เราดวงดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ไปสมัครงานด้วยกันกับเพื่อน แต่ตัวเองได้งาน
  • ชนะการประกวด ในขณะที่เพื่อนแขนซ้นเลยประกวดไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดี
  • ได้งานใหม่ในขณะที่แม่กำลังอาการทรุดลง
  • ตัวอย่างอีกอันที่ค่อนข้างใกล้ตัวคือช่วงโควิดที่เพื่อนร่วมงานโดนไล่ออกแต่เรายังไม่โดน

 

มันคือความรู้สึกผิดที่ตัวเราไปได้ดี ประสบความสำเร็จ มีโชค หรือเป็นทุกข์น้อยกว่า ในขณะที่คนที่เรารักหรือใส่ใจกำลังเผชิญกับความลำบาก

 

จนอาจจะเกิดความคิดที่ว่า เพราะเราเขาถึงได้เป็นทุข์ ความสำเร็จของเราทำให้คนอื่นไม่เป็นสุข นำไปสู่ความรู้สึกไร้ค่า คิดว่าตัวเองไม่คู่ควรกับสิ่งต่างๆ

 

บางครั้งเราเลยจะทำตัวให้เด่นน้อยลง ลดความสำเร็จของเรา บางครั้งอาจถึงขั้นทำลายชีวิตของตัวเอง (Self-Sabotage) เพราะรู้สึกผิดที่เราไปได้ดีกว่าคนรัก

 

 

จากคำว่า  Survivor’s Guilt ที่แปลว่า ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต

ปัจจุบันก็ถูกเปลี่ยนเป็น Survivor Guilt ที่ไม่มี ‘s ที่แปลว่า ความรู้สึกผิดที่รอดชีวิต 

มีอีกคำที่ความหมายใกล้ๆ กัน คือ Happiness Guilt ตรงตัวเลยคือ

ความรู้สึกผิดที่ตัวเองมีความสุขหรือยิ้มได้ในขณะที่คนอื่นๆ หรือบริบทรอบตัวมันกำลังหม่นหมองและอมทุกข์

 

การดูแลตัวเอง

 

1. สังเกตและรับรู้ความรู้สึกของตัวเอง ไม่ว่าจะโกรธ เสียใจ หรือกังวล รับรู้ว่าเรามีมันอยู่ ยอมรับว่าเรามีความรู้สึกผิดที่เรารอดหรือประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่น

 

2. กลับมาดูแลใจตัวเอง อย่าลืมว่าเราก้ผ่านความยากลำบากมาเหมือนกัน ถึงเราจะรอดแต่เราก็บาดเจ็บไม่ว่าจะกายหรือใจ

เราสูญเสียเหมือนกัน เอาความเห็นอกเห็นใจที่เรามีต่อคนอื่น แบ่งมันกลับมาใช้กับตัวเองบ้าง (Positive Self-Talk: แกเก่งมากแล้ว แกทำเต็มที่แล้ว)

 

3. เวลาที่อยู่ใกล้คนที่ทนทุกข์ ทุกครั้งที่หายใจเข้า จิตนาการว่าเราสูบความทรมานและความทนทุขของเขาเข้าไป อาจจะจินตนาการเป็นควันดำ

จินตนาการว่ามันเข้าไปทางจมูก เข้าไปในใจเราแล้วก้แตกสลายและถูกย่อยไป แล้วหายใจเอาความสุขทั้งหมดของเราออกมา

อาจจินตนาการเป็นควันขาว นึกภาพว่ามันรายล้อมคนที่เรารัก นึกภาพว่าความสุขและความโชคดีที่เรามีแผ่หยายไปหาเขา ฝึกนึกภาพนี้บ่อยๆจนเป็นธรรมชาติ

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ไม่มีใครควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ก็ฝึกการให้อภัยตัวเอง

 

กลับมามองเห็นคุณค่าในตนเองหลังจากยอมรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าก็เป็นเรื่องยาก เรื่องแบบนี้มันต้องใช้เวลาก็ค่อย ๆ ให้เวลากับตัวเอง

 

 

ที่มา :

Blog ของ Hist Talk ที่นี่มีเรื่องเล่า วันที่ 1 มี.ค. 2022 

Godzilla and the Birth of Modern Environmentalism

Survivor Guilt

How to Live with Survivor Guilt

รู้สึกผิด ไม่กล้ามีความสุข : Happiness Guilt เมื่อรัฐแย่ๆ ทำให้เราไม่กล้ามีความสุข