Turning Red เขินแรงเป็นแพนด้า จากดิสนีย์และพิกซาร์ สตูดิโอ โดยมี “โดมี ฉี” เป็นผู้กำกับ โดมีฉีได้เคยกำกับ ภาพยนตร์แอนิเมชัน Bao ที่คว้ารางวัล Oscar สาขาภาพยนตร์อนิเมชั่นสั้นยอดเยี่ยมมากำกับเรื่องนี้ด้วย
Turning red ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริง ครอบครัวของเมยเมย ออกแบบมาจากชีวิตจริงของผู้กำกับที่มีเชื้อสายจีน เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่แม่มีลักษณะ Overprotective คือ ห่วงจนเกินเหตุ ปกป้องจนเกินพอดี
Turning Red
เรื่องราวของ เมยเมย เด็กผู้หญิงวัย 13 ปี ที่ใช้ชีวิตปกติในทุกวัน กินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับพ่อแม่ เมยเมยคิดว่าทุกอย่างที่ทำคือความสุขแต่มาวันหนึ่งก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เมยเมยกลายเป็นแพนด้าแดง
ซึ่งเมยเมยจะกลายเป็นแพนด้าตอนที่ตัวเองรู้สึกควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ในเรื่องจะเป็นการเลี้ยงลูกแนวเอเชียมากๆ เป็นการสะท้อนเรื่องราวครอบครัวชาวเอเชียผสมผสานกับความแฟนตาซี
อัดแน่นมาด้วยมุกตลก และประเด็นเกี่ยวกับการก้าวข้ามผ่านช่วงวัยหรือ Coming Of Age
ตัวละคร
1. เมยเมย
อายุ 13 รักอิสระ สดใส ร่าเริง ทำได้ทุกอย่างเก่งครอบคลุมมากๆ แต่เมื่ออยู่กับแม่ เธอก็กลายเป็นลูกสาวตามระเบียบของครอบครัว ทำให้เราได้เห็นมุมมองว่าเธอคือเด็กผู้หญิงคนนึงที่ดูธรรมดาแถมยังแบกความคาดหวังง
ที่เติบโตแบบสังคมของลูกเอเชีย ทุกคนจะเห็นได้ว่า เมยเมยไม่ได้ใช้ชีวิตแบบที่อยากใช้จริงๆ ค่อนข้างจะเก็บกดอึดอัดด้วยซ้ำ
2. แม่
แม่เมยเมยเป็นตัวอย่างของ Overprotective คือแม่ที่ห่วงลูกเกินเหตุ จนทำให้มีบางการกระทำ ที่ทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด อับอาย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีมุมที่ดีเลย
ในเรื่องก็จะมีหลายๆ เหตุการณ์ที่แม่เมยเมยน่ารักกับเมยเมยเหมือนกัน
3. พ่อ
เป็นพ่อ สนับสนุนลูกมากๆ ตอนเปิดวิดิโอที่ลูกเป็นแพนด้าแดงแล้วมีความสุขทำให้เมยเมย ได้คิดกับตัวเองว่าไม่จำเป็นต้องจำกัดแพนด้าแดงออกไป
น้องสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะแพนด้าแดงก็คือตัวตนของน้องอีกคนเหมือนกันพ่อคอยดูลูกเติบโตอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ เป็นคนที่แสดงออกว่าเข้าใจลูกที่สุด อีกอย่างฉากที่ประทับใจมากๆ
คือ ตอนที่พ่อบอกเมยเมยว่า ‘คนเราก็มีทุกด้านแหละ บางด้านก็เละเทะ สิ่งสำคัญไม่ใช่การพยายามผลักไสด้านแย่ๆ ออกไป แต่เป็นการให้พื้นที่กับมันและอยู่กับมัน’
4. เพื่อนๆ ของเมยเมย
มีเรียม ปรีญา แอ็บบี้ กลุ่มเพื่อนของเมยเมย น่ารักกันมาก ๆ คอยซัพพอร์ต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เมยเมย ตอนนี้เมยเมยเป็นแพนด้าแดง ตอนแรกเมยเมยเกลียดตัวเองมากที่ไม่สามารถควบคุมมันได้
แต่พอได้เจอเพื่อน ได้คุยตัวเองก็ควบคุมได้ เพราะรู้สึกว่าตัวเองมีที่พักทางใจ สบายใจเวลานึกถึงเพื่อน ซึ่งฉากที่เมยเมยควบคุมตัวเองได้แล้วแม่ถามว่า ทำได้ยังไง
เมยเมยบอกว่า เมยเมยนึกถึงคนที่ทำให้เมยเมยสงบ ซึ่งเมยเมยโกหกว่านึกถึงแม่ แต่จริงๆ แล้วนึกถึงเพื่อนๆ
5. โฟร์ทาว
กลุ่มไอดอลผช 5 คน ที่เมยเมยและเพื่อนๆ ชอบ เป็นตัวละครที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เมยเมยและกลุ่มเพื่อนหาเงินไปดูคอนเสิร์ต ได้ใช้เวลาร่วมกัน บางเหตุการณ์ในชีวิตก็ต้องมีเพื่อนผ่านไปกับเราด้วย อีกอย่างโฟร์ทาวก็มีบทบาทในความสัมพันธ์ของเมยเมยกับแม่ด้วย เพราะเป็นเหตุผลที่ทำให้เมยเมยทะเลาะกับแม่
ข้อคิด
1. การสนับสนุนลูกเป็นเรื่องสำคัญ
อ้างอิงจากในหนังเรื่องอื่นๆ ส่วนใหญ่ตัวละครของ เด็กจะมีความไม่รู้จักตัวเอง ต้องค้นหาตัวเอง แต่เรื่องนี้กลับกันเลยคือตัวละครหลัก
เมยเมย รู้จักตัวเองดี รู้ว่าตัวเองมีนิสัยยังไง สนใจอะไร เพียงแต่ต้องใช้ความกล้าอย่างมากในการแสดงตัวตนออกมา อย่างในเรื่องนี้ การแสดงตัวตนออกมาเป็นเรื่องยาก
เพราะกรอบวัฒนธรรม รวมถึงค่านิยมและความคาดหวังจากครอบครัวในมุมพ่อแม่คิดว่าไม่ผิดเลย ที่จะคอยตักเตือนหรือคอยห้ามในบางพฤติกรรม ถ้าพฤติกรรมนั้นทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่ในส่วนของตัวตนลูก
นิสัยลูก ความสนใจของลูก ถ้ายอมรับและสนับสนุนคงดีมากๆ เพราะจะทำให้เด็กกล้าลองผิดลองถูก พร้อมสู้กับอุปสรรคต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา และเรียนรู้ที่จะยอมรับผลที่ตามมาจากสิ่งที่เขาเลือกด้วย
2. ‘การเอาใจเขามาใส่ใจเรา’
ในมุมพ่อแม่ เมื่อลูกโตถึงจุดหนึ่ง ต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง การเอาใจลูกมาใส่ใจเราเป็นเรื่องสำคัญ
การปะทะกันระหว่าง เมยเมย และ แม่ กระทบใจจนต้องติด Trigger Warnings
ลูกสาวที่ทำดีมาทั้งชีวิตแต่แม่ไม่เคยไว้ใจ กับแม่ของเมยเมยที่ก็เคยผ่านเรื่องราวเจ็บปวดทะเลาะกับแม่แบบเดียวกันมาก่อนแต่กลับส่งต่อมายังลูก เมยเมย คือตัวแทนของลูกหลานชาวเอเชีย
ที่ไม่เคยโต้เถียงผู้ใหญ่ใดๆ เลย เป็นเด็กดีมาทั้งชีวิต จึงตกผลึกได้ว่าการที่เธอเชื่อฟังแม่มาตลอดนั้น คือการที่เธอจะไม่มีวันได้เป็นอิสระ
เพราะแม่คุมขังเธอด้วย “ความเป็นห่วง” และใช้คำว่า “ปกป้อง” มาเป็นเส้นกัันที่ไม่ให้เมยเมยได้ทำในสิ่งที่อยากทำ
‘พ่อแม่รังแกฉัน’ น่าจะเป็นประโยคหนึ่งที่ได้ยินกันทั่วไป บางครั้งคำว่า ‘รังแก’ อาจไม่ได้หมายถึงการทำร้ายทางร่ายกายและจิตใจเท่านั้น อย่างในเรื่อง ความเป็นห่วงที่เกินพอดี บุ่มบ่ามทำอะไรลงไปโดยไม่ถามลูก
อาจทำร้ายลูกได้เหมือนกัน อย่างในฉากตอนที่ไปดุผู้ชายที่เป็นพนักงานร้านสะดวกซื้อ เพราะเข้าใจผิดว่าเขามาทำอะไรเมยเมย แล้วยังเอารูปที่เมยเมยวาด
ซึ่งเป็นรูปวาดเกี่ยวกับผู้ชายผู้หญิงแสดงความรักต่อกันไปโชว์ให้ดูด้วย ทำให้เมยเมยโดนล้อ เหตุการณ์อะไรแบบนี้สร้างปมให้เด็กได้ ซึ่งมันอาจจะพัฒนาไปเป็นนิสัยอะไรบางอย่างด้วย
เช่น ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าทำอะไรเพราะกลัวว่าจะโดนล้อ กลัวไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งนิสัยพวกนี้เป็นปัญหาเมื่อโตขึ้น
Post Views: 2,635