Victim

Victim รับบทเป็นเหยื่อ จนคนอื่นเหนื่อยใจ

เรื่องAdminAlljitblog

Playing the victim  เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นก็ตาม บุคคลเหล่านี้มักจะแสดงให้เห็นว่าตนไม่ใช่คนผิด

 

เป็นผู้ถูกกระทำ เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ต่าง ๆ

 

เพื่อที่บุคคลเหล่านี้จะได้รับความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจหรือให้ได้มาซึ่งบางสิ่งที่ตัวเองต้องการ

 

 

Playing the victim

 

บุคคลเหล่านี้มักจะมองไม่เห็นความผิดของสิ่งที่ตัวเองเคยทำหรือถึงแม้จะรู้ว่าตัวเองนั้นทำความผิดอยู่

 

บุคคลเหล่านี้ก็เลือกที่จะไม่รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองกระทำโดยการโยนความผิดให้อีกฝ่าย

 

จะแสดงออกให้เห็นถึงความน่าสงสารเพื่อให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจหรือการสนับสนุนจากคนที่พวกเขาต้องการ

 

เพื่อที่จะกดดันให้อีกฝ่ายรู้สึกผิดแทน ท้ายที่สุดสิ่งที่พวกเขาต้องการก็แค่การได้รับความสนใจมากขึ้นและทำให้คนอื่นเชื่อในสิ่งที่เขาพูดง่ายขึ้น

 

Victim Mentality หรือคนที่มีความคิดที่รู้สึกว่าตัวเองเป็น เหยื่อ ต่อโชคชะตา และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขามาจากคนอื่นแทบทั้งสิ้น

 

หรือที่เราชอบพูดกันว่าทำไมโลกใบนี้มันโหดร้ายกับเราจัง เหมือนเป็นชุด Mindset ที่มาจากความมั่นใจในตัวเองที่ต่ำ 

 

Playing the victim , Victim Mentality มีความเหมือนกัน แต่ก็แตกต่าง ทั้งสองอย่างสามารถเป็นได้แบบสลับไปสลับมาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไหน กับใคร 

ถ้าเราไม่อยากคิดแบบเหยื่อแล้ว ?

 

ความคิดของเหยื่อคือการเรียนรู้พฤติกรรม ความคิดของการตกเป็นเหยื่อ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับเรา

 

เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่เราอยู่ในสภาพแวดล้อม ประสบการณ์ที่เคยเจอ ผลจากบาดแผลทางจิตใจ อย่างไรก็ตาม เราสามารถเอาชนะความคิดนี้ได้ 

 

  • เราเป็นคนเดียวที่ควบคุมการกระทำของตัวเอง เราไม่สามารถควบคุมผู้อื่นได้ แต่เราสามารถควบคุมวิธีตอบสนองต่อคนอื่นได้ 

 

 

  • การดูแลตัวเองและความเห็นอกเห็นใจตัวเอง ฝึกฝนการดูแลตนเองและความรักตนเอง ก็จะช่วยให้จิตใจของเรากลับมาแข็งแรง ความคิดการจะเล่นรับบทเหยื่อก็จะค่อย ๆ หายไป

 

 

  • พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าเรารู้สึกแบบนี้บ่อยครั้ง อาจส่งผลให้เกิดเป็น ภาวะซึมเศร้า ปัญหาในความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกับคนอื่น อาการทางอารมณ์ และบางครั้งก็ส่งผลถึงร่างกาย

 

 

ผู้ถูกกระทำต้องทำอย่างไร

 

แรก ๆ เราอาจจะไม่รู้ว่าเขากำลังรับบทเป็นเหยื่อ ซึ่งจริง ๆ ตัวเราเองที่กำลังเป็นเหยื่อของเขาอยู่ . . ช่วงแรกเราคงเห็นใจและรู้สึกไม่ดีที่ทำให้เขารู้สึกแบบนั้น

 

แต่ถ้าทำบ่อย ๆ คงต้องคุยกันว่าสิ่งที่เธอทำ ทำให้ชั้นรู้สึกแย่เหมือนกันนะ โดยวิธีสื่อสารแบบ I-Message การสื่อสารเชิงบวกเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ