ทำไมเราไม่ควรเชื่อความคิดตัวเองหลังเที่ยงคืน
เคยเปลี่ยนใจในเช้าวันใหม่จากการตัดสินใจของตัวเราไหม . .
เหมือนกับการลบโพสต์ที่เพิ่งโพสต์ไปเมื่อคืนก่อนนอนไม่ว่าจะโพสต์ด้วยอารมณ์ไหนก็ตาม
แต่พอตื่นขึ้นมา เริ่มรู้สึกและคิดว่า “ไม่น่าทำแบบนั้นเลย ลบดีกว่า”
เป็นธรรมดาที่จะอ่อนไหวในช่วงเวลากลางคืน ทำให้บางทีมีความคิดที่ฟุ่งซ่าน คิดมาก หรือคิดสิ่งที่เคยทำผิดพลาดในอดีต
ถึงแม้ในช่วงเวลากลางคืน ร่างกายเราจะรู้สึกสงบ ผ่อนคลายแต่ก็ส่งผลให้กล้าพูดความรู้สึกที่จริงใจออกมาในช่วงเวลานี้
ความคิดจิตใจหลังเที่ยงคืน
มนุษย์เราถูกออกแบบมาให้ทำงานในช่วงกลางวันซึ่งสอดคล้องกับพระอาทิตย์ขึ้นและพักผ่อนในช่วงกลางคืนซึ่งก็คือพระอาทิตย์ตก
มีแนวคิดสมมติฐานเรื่องความคิดจิตใจหลังเที่ยงคืน (Mind after Midnight) จากวารสาร Frontiers in Network Psychology
โดยเขาเชื่อว่า ร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงเวลากลางวันโดยในเชิงวิวัฒนาการจะเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ออกล่าหาอาหารนั่นเอง
ในทางกลับกัน หากเราออกหากินในเวลากลางคืน สมองที่ถูกบังคับให้ตื่นตัวในเวลานั้นซึ่งไม่ใช่เวลาทำงานตามปกติ
จะทำให้คน ๆ นั้นเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและอารมณ์เชิงลบได้ไวกว่าปกติ หรืออีกกรณี เวลากลางคืนน่าจะทำให้คนเรามองโลกในแง่ร้ายมากขึ้น
ตัดสินใจเร็วหรือทำอะไรที่เสี่ยงมากขึ้นโดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมา เช่น การกินตามใจปาก การใช้ความรุนแรง
โดยในช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า พบว่า เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมักมีแรงจูงใจในการฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมากกว่าเวลาอื่นของวันถึง 3 เท่า
ผู้ที่เสพยาเสพติดมักควบคุมความอยากของตนเองได้ดีในเวลากลางวัน แต่มักพ่ายแพ้ต่อความอยากในเวลากลางคืน
ความคิดคนเราหลังเที่ยงคืนเป็นอะไรที่เสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ง่ายมากหากเราไม่มีสติที่จะควบคุมมันได้มากพอ
ตัดสินใจเรื่องสำคัญช่วงเที่ยงคืน
สะท้อนตัวเองว่า ตอนนี้ที่เราคิดหรือรู้สึก เรากำลังรู้สึกอะไร ต้องการอะไร แล้วจะเลือกทำวิธีไหนก็ได้ที่จะไม่ทำให้สุขภาพทั้งกายและใจเราพังทีหลัง
ดังนั้นหากจำเป็นต้องตัดสินใจในช่วงเวลานี้จริง ๆ ก็คงต้องกรองความคิดตัวเองซ้ำ ๆ ต้องใช้เวลาตกตะกอนสักระยะนึงหน่อย
สุดท้าย จะเชื่อมั่นเฉพาะความคิดที่ถูกตกตะกอนมาดีแล้วว่า โอเค เรารู้สึกหรือคิดแบบนี้กับเรื่องนี้จริง ๆ ก็จะยอมรับความคิดและการตัดสินใจนั้นของตัวเอง
ที่มา :
สมองมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานหลังเที่ยงคืน
Post Views: 861