ถ้าหากเราเป็นคนหนึ่งที่ต้องการ ความสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งนั้นไม่ได้ออกมาตามแบบตามที่เราต้องการ จนเกิดความรู้สึกอึดอัดใจ หงุดหงิดใจ
และรู้สึกหมดกำลังใจในการทำสิ่งนั้นต่อไป เราอาจจะต้องลองปรับตัวเองดูใหม่สักเล็กน้อยดีไหม?
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
วิธีแสวงหา ความสมบูรณ์แบบ
หลาย ๆ คนอาจกำลังคิดวิธีแสวงหาความสมบูรณ์แบบที่มากจนเกินไป จนกลับกลายมาทำร้ายตัวเองและส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต ความกังวลที่เกิดจากบางสิ่งบางอย่าง ความกลัวที่จะทำตามที่คาดหวังไม่ได้
จนส่งผลให้ไม่สามารถทำอะไรใหม่ ๆ ได้เลย เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ทุกอย่างออกนอกแบบแผน เราก็เกิดความรู้สึกอัดอัดใจ กระวนกระวายใจ ซึ่งบางคนอาจจะควบคุมตัวเองได้
แต่บางคนกลับควบคุมตัวเองไม่ได้จนส่งเสียต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น
การแสวงหา ความสมบูรณ์แบบ ที่เราจะพูดถึงในวันนี้มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. การแสวงหาความสมบูรณ์แบบและปรับตัวได้ มีการมุ่งความสนใจและความสุขให้ออกมาดี แทนที่จะไปมัวแต่กังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว กลับยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้
โดยจะไม่โฟกัสกับสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ และมักจะยอมรับได้เมื่อสิ่งนั้นไม่ได้ออกมาตามแบบแผนที่วางเอาไว้
2. การแสวงหาความสมบูรณ์แบบแต่ไม่สามารถปรับตัวกับความสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการได้ ความกังวลวกลัวว่าอาจจะทำอะไรผิดพลาด ตำหนิตัวเอง สงสัยในสิ่งที่ตัวเองทำ กลัวการที่จะไม่ได้ทำตามความคาดหวังของ
ตัวเอง ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดสิ่งใดบกพร่องขึ้นมา
ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็จะคิดว่าสิ่งนั้นคือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในทันทีและมองไม่เห็นความพยายามอื่นที่ทำมาโดยตลอด จะมองเห็นแค่จุดเล็ก ๆ ที่เป็นความผิดพลาด
และเกิดความไม่สบายใจจนส่งผลให้สุขภาพจิตไม่ดีและอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลได้
การปรับความสมบูรณ์แบบ
อยากให้เราลองพยายามปรับตัวและเรียนรู้การมีความเมตตากรุณาต่อตัวเอง เพื่อเข้ามาปรับใช้กับคนท่ีมีลักษณะแบบ Perfectionist เพราะการที่เรามีความเมตตากรุณาและอ่อนโยนต่อตัวเอง
ยินดีให้ความเจ็บปวดเข้ามาในชีวิตของตัวเองได้บ้าง รับรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้ ยอมรับได้ที่สิ่งนั้นเกิดข้อผิดพลาด เรื่องผิดพลาดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนกับทุกเรื่อง
การปรับความสมบูรณ์แบบเป็นการที่คุณอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างอ่อนโยน เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัว เราจะไม่กล้าลงมือทำอะไรเลย ได้แต่คิดว่าว่าสิ่งนั้นอาจจะเสี่ยงเกินไปจนไม่กล้าลงมือทำ
ซึ่งถ้าเรามัวแต่กลัวไม่กล้าลงมือทำ เราจะไม่มีวันพัฒนาตัวเองได้เลย เราต้องกล้าที่จะเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ให้โอกาสตัวเองในการเรียนรู้ ยอมปล่อยวางความสมบูรณ์แบบได้บ้างแล้วกระบวนการเรียนรู้อื่น ๆ ก็จะตามมา
การยืดหยุ่น ความสมบูรณ์แบบ ของตัวเองได้บ้าง
ยืดหยุ่นตามความคิด ตามวิธีการจัดการของตัวเองจะส่งผลทำให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการที่เกี่ยวข้องมี ดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนมุมมอง
2. ตัวเราเองต้องไม่ตกเป็นทาสความคิดตัวเอง
3. ไม่หลีกหนี ไม่หหลีกเลี่ยงที่จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น กล้ายอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น
4. ตระหนักรู้ว่าสิ่งนั้นได้เกิดขึ้นไปแล้ว
5. สามารถมองเห็นบริบทภาพรวม
6. รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองให้คุณค่า ว่าตัวเองกำลังให้คุณค่ากับสิ่งใดอยู่
7. สามารถเลือกการแสดงออกสิ่งต่าง ๆ ของตัวเองให้สอดคล้องกับคุณค่าที่รักษาสมดุลของจิตใจ
ในวันที่เราไม่อยากสัมผัสกับความเจ็บปวด การที่เราทิ้งปัญหา ทิ้งสิ่งที่เกิดขึ้นไว้เบื้องหลัง ไม่กล้าที่จะเผชิญในตอนนั้น สิ่งที่ได้ตามมาอาจจะเกิดความรุนแรงเกินกว่าที่จะรับไหว ถ้าไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองเรียนรู้
ก็อาจจะทำให้ตัวเราเองปรับตัวได้ยากในอนาคต อยากให้เรามีความคิดที่ยืดหยุ่นทางจิตใจ ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ค่อย ๆ เรียนรู้ในการฝึกฝนที่จะยืดหยุ่นความไม่สมบูรณ์แบบขอตัวเอง อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี
อะไรที่น้อยเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดี หาตรงกลางของตัวเองให้เจอ ตอนนี้เราอาจจะลองมองหาว่าตัวเองกำลังยึดติดกับอะไรอยู่
สิ่งนั้นสอดคล้องกับความเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน คนที่มีลักษณะแบบนี้อาจถูกขับเคลื่อนมาจากความกลัว กลัวว่าคนอื่นจะไม่ยอมรับ ซึ่งเกิดจากความคาดหวังจากผู้อื่น หรือเป็นการก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
โดยไปสร้างความกดดันให้กับผู้อื่นแทน อยากบอกว่าบนโลกนี้มีสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบอยู่มากมาย มนุษย์เราเองก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบอยู่เสมอไป ความสมบูรณ์แบบเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นมาก็เท่านั้น
เพราะฉะนั้นจงกล้าที่จะลองผิดลองถูก ตั้งเป้าหมายบนความเป็นจริงและมองดูที่ศักยภาพของตัวเอง เรียนรู้จากข้อผิดพลาด เรียนรู้ที่จะเป็นคนประสบความสำเร็จหรือเป็นคนที่มีคุณค่าโดยไม่ต้องเป็นคนสมบูรณ์แบบมากจนเกินไป
Post Views: 4,377