ความเหงา

อะไรคือ “ความเหงา” มีหน้าตาแบบไหน นักจิตวิทยามีคำตอบ

เรื่องAdminAlljitblog

ปฎิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันมนุษย์เราให้ความสำคัญกับโลกโซเชียลมากขึ้น จนลืมให้ความสำคัญคนที่นั่งอยู่ตรงหน้าไปอย่างง่ายดาย

 

ทำให้อีกฝ่ายเข้าใกล้ ความเหงา ได้ง่ายขึ้น

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็น ความเหงามีหน้าตาเป็นแบบไหน? โดยคำตอบแบบนักจิตวิทยา

หากพูดถึง ความเหงา ก็คงเป็นเรื่องที่มนุษย์เราทุกคนเคยเจอ 

บางคนอยู่คนเดียวแล้วรู้สึกเหงา บางคนอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายแต่กลับรู้สึกเหงา ความเหงาอาจแอบแฝงมาอยู่ในความรู้สึกเรา

 

โดยบางทีเราไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกทีความรู้สึกเหงามาก ๆ ก่อเกิดขึ้นมาในจิตใจของเราแล้ว หากเคยรู้สึกเหงาเหมือนกันแบบนี้ มาทำความรู้จักกันหน่อยดีกว่าว่าอะไรคือความเหงา?

 

แล้วหน้าตาของความเหงาเป็นแบบไหนกันแน่?

 

 

นิยามความเหงาแบบนักจิตวิทยา

ความเหงาในนิยามของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับนิยามของจิตวิทยา

 

“ความเหงา คือ อารมณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง” ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกช่วงวัย เพราะมนุษย์เราล้วนมีความรู้สึก เพียงแต่สาเหตุของการเกิดความเหงาในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกัน

 

ความเหงาเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวจากนั้นค่อย ๆ จางหายไป แล้วแต่สถานการณ์ที่เจอและสิ่งกระตุ้นที่ทำให้คุณรู้สึกเหงาบางคนอาจรู้สึกเหงาเวลาขับรถกลับจากทำงานเพียงลำพัง

 

รู้สึกเหงาเวลาฝนตกด้วยบรรยากาศความเคว้งคว้างที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นจึงนำไปสู่อารมณ์เหงาได้

 

 

หน้าตาของความเหงา 

ความเหงาของแต่ละคนค่อนข้างแตกต่างกัน โดยแท้จริงแล้วความเหงาถูกซ่อนด้วยอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างอยู่ในนั้น

 

ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกเศร้า,คิดถึง แม้แต่กระทั่งความรู้สึกแปลกแยก แม้อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย

 

ก็ทำให้อยู่ในห่วงความรู้สึกเหงาโดดเดียวในใจได้ รวมถึงความคิดของตัวเองเมื่อตั้งคำถามบางอย่างขึ้นมาในใจ ความคิดที่เกิดขึ้นเข้าไปกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเหงาได้เช่นกัน   

 

 

ข้อดีของความเหงา

หลายคนอาจคิดว่าความเหงามีข้อเสียเต็มไปหมดเลย แต่จริง ๆ แล้วความเหงาเองก็มีข้อดีเพราะทำให้รับรู้ว่าตัวเองยังมีความรู้สึกอยู่ รับรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นภายในความรู้สึกนั้นคือความเหงา

 

ถ้าหากคุณไม่รู้ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร

 

ปล่อยตัวเองจมอยู่กับความคิด ความรู้สึกไปเรื่อย ๆ ไม่ดึงตัวเองออกจากความรู้สึกนั้น อาจนำไปสู่พฤติกรรมหรือโรคบางอย่างได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุมากจะรู้สึกสูญเสียศักยภาพในตัวเองไป

 

จนเกิดเป็นความรู้สึกความเหงาโดดเดี่ยว  

 

ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ทำร้ายเรา อาจเป็นความคิดมากกว่าความเหงาที่เกิดขึ้นเพราะ ความเหงาไม่ใช่ศัตรูหากเรียนรู้ที่จะเข้าใจความรู้สึกตัวเอง

Related Posts