ใครหลาย ๆ คนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า “ คิดมาก ” เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ทุก ๆ เรื่องราวที่เราพบเจอไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็ก ๆ เราก็ไม่สามารถห้ามความคิดมากได้
คำที่เรามักจะได้ยินจนติดหูเลยก็คือ ” เรื่องแค่นี้เอง อย่าไปคิดมากเลย ” มาร่วมทำความเข้าใจกับความคิดมาก Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ
“ คิดมาก ”
ความคิดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต่างรู้ดีว่าสมองเป็นอวัยวะหนึ่งที่ทำงาน ด้วยตัวเอง สามารถขับเคลื่อนความคิดและการตัดสินใจ มีเหตุผลกับตัวเราเอง
มากไปกว่านั้นเลย สมองของเราทำงานแต่ก็มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลเยอะแยะเต็มไปหมด แต่เวลาที่มันมีมากเกินไป ใครหลาย ๆ คนมักจะเกิดเป็น “อาการคิดมาก” คิดอยู่แต่เรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ
ซึ่งภาวะการคิดมากหรือภาวะการคิดวกวนของใครหลาย ๆ คน เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว บางทีคิดมากจนเราไม่สามารถรู้เท่าทันความคิดของตัวเองได้ว่ากำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ เหมือนว่าพอคิดเรื่องนี้จบ เรื่องใหม่ก็วิ่งวนเข้ามาเรื่อย ๆ ไม่มีทางที่จะหยุดคิดได้เลย
ความคิดมากเกิดจากอะไร?
“ความคิดมาก” เกิดจากการที่ตัวเราเองมักจะเก็บสิ่งต่างๆระหว่างทางของการใช้ชีวิต สิ่งที่เราเรียกว่า “ประสบการณ์” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเรียน การใช้ชีวิต มาจากเพื่อน เพื่อนร่วมงานหรือแม้กระทั่งครอบครัว หรือการมีความรัก การมีปฏิสัมพันธ์กับใครสักคนนึง
มันก็จะสามารถเกิดเป็นประสบการณ์ทั้งดีและแย่ ที่จะทำให้ตัวเราเองสามารถเก็บสิ่งเหล่านั้นกลับมาคิดวนได้อยู่ตลอดเวลา
คนขี้ คิดมาก
การที่เขามีความคิดกับอะไรบางอย่างและก็ปล่อยให้ตัวเองคิดและทบทวนอยู่กับเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ มันเป็นความรู้สึก เป็นความทรงจำบางอย่างที่วิ่งเข้ามา ทั้งความผิดหวัง ความเสียใจ ความโกรธ ความล้มเหลว
เราก็จะมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา ทำให้ตัวเราเองตกอยู่ในภาวะของความคิดตรงนั้น เหมือนวิ่งวนอยู่ในโลกกลม ๆ ของตัวเอง ไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเราถึงตกอยู่ในภวังค์นั้น
แต่ว่าความวนเวียนทางความคิดเหล่านั้น ใครหลาย ๆ คนก็ไม่ได้พยายามแสวงหาวิธีการในการควบคุม เพื่อเราจะได้แก้ไขภาวะความคิดมากของตัวเองได้ ผลที่ตามมาจากการที่เราปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับภวังค์ความคิดนั้น
คือ “สภาพจิตใจอ่อนล้า” จากการหยุดคิดไม่ได้
บางคนเริ่มมีการกระทบในเรื่องของสภาพร่างกาย นอนหลับยากมากขึ้นหรือบางคนกว่าจะหลับใช้เวลาค่อนนาน บางคนขาดการจดจ่อจนกระทบกับการทำงานด้วย
อยากจัดการกับความคิดมากทำอย่างไรดี?
1. หมั่นตรวจสอบความคิดตัวเอง
ลองเป็นคนที่ฝึกและหมั่นตรวจสอบความคิดของตัวเอง การที่เราเป็นคนคิดมาก ไม่ได้หมายถึงว่าตัวเราเองคิดอะไรก็ไม่รู้เรื่อยเปื่อยเต็มไปหมด แต่มันคือการที่ตัวเราเองรู้ว่าตัวเรากำลังคิดอะไรอยู่
แต่เรากำลังปล่อยตัวเองไปเรื่อย ๆ ปล่อยให้ความคิดเหล่านั้นมันวิ่งหมุนวนอยู่ตรงนั้นอยู่แบบนั้นไปเรื่อย ๆ เราไม่สามารถที่จะควบคุมความคิดเหล่านั้นได้ เพราะเราปล่อยตัวเองไปเรื่อย ๆ
เพราะฉะนั้นการที่เราสามารถฝึกตรวจสอบความคิดของตัวเองได้ จะช่วยทำให้เราสามารถตระหนักได้ว่าเรากำลังคิดถึงสิ่งนี้อยู่ เรากำลังคิดวกวนกับเรื่องนี้อยู่
2. ค้นหาว่าความคิดนั้นจะทำให้เกิดปัญหาอะไร
จุดเริ่มต้นที่ดีมาก ๆ ที่เราจะค่อย ๆ ทำความเข้าใจว่าความคิดนั้นมันกำลังเป็น ปัญหากับเราอย่างไร มันถึงวิ่งเข้ามาหาเราได้บ่อยขนาดนี้ จนทำให้ตัวเราเองคิด มากคิดไปได้เรื่อย ๆ
ถ้าเราสามารถค้นหาได้ เราก็ตรวจสอบความคิดที่มันชัดเจนกับตัวเราเองได้ มันก็จะเป็นวิธีการที่ทำให้เราเนี่ยแสวงหาทางออกกับวิธีการในการจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมมาก
3. คิดวิธีแก้ปัญหา
อย่างต่อมา ถ้าเราหมั่นตรวจสอบความคิดตัวเองก็จะทำให้เรารู้สาเหตุ ถ้าเรารู้สาเหตุแล้วเราต้องมุ่งตรงสู่ปัญหา ว่าความคิดที่เข้ามาตรงนั้นกำลังเป็นปัญหากับเราอยู่ ซึ่งจุดอ่อนของคนที่คิดมากคือ เอาแต่คิดถึงปัญหาแล้วก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา
แต่ใครหลาย ๆ คน ลืมคิดถึงวิธีการแก้ปัญหา การอยู่ที่ความคิดใดความคิดนึงจะช่วยให้ตัวเราเองค่อย ๆ ไปกับตัวเองได้ทีละสเต็ป เพราะถ้าเราเอาทุกเรื่องทุกอย่างที่เป็นปัญหาเข้ามาคิดพร้อม ๆ กันจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย
Post Views: 6,159