มนุษย์คิดลบ คิดลบ จัดการอย่างไรเมื่อคิดลบ

เรื่องAdminAlljitblog

สมองเรามักจะ ” คิดลบ ” ไม่ใช่เพียงคิดลบกับคนอื่นแต่คิดลบกับตัวเองด้วย  เป็นไปได้ไหมถ้าอยากเลิกคิดลบ? แล้วการคิดลบมีข้อดีไหม?

 

คุณกำลังเป็นมนุษย์คิดลบอยู่หรือเปล่า?

คิดลบ คืออะไร?

คิดลบเป็นสับเซ็ตของการมองโลกในแง่ร้าย เวลามีเรื่องเข้ามา เราจะคิดว่าสิ่งนั้นจะส่งผลในเชิงลบ “ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้น ฉันจะต้องแย่มาก ๆ” คิดลบเลยเป็นเหมือนการประเมินไปก่อนว่าสิ่งนั้นจะต้องแย่

 

แต่อาจจะเกิดขึ้นกับเรื่องในอดีตได้ด้วย บางทีเรื่องผ่านไปนานแล้ว แต่พอมีอะไรมากระทบเรา แล้วเราไม่ได้มองสิ่งนั้นตามความเป็นจริง แล้วคิดไปในทางที่แย่ก่อน อันนี้เรียกว่าคิดลบได้เหมือนกัน

 

 

คิดลบ แตกต่างจากมองโลกในแง่ร้ายอย่างไร?

คิดลบเป็น Thinking เป็นชุดความคิดหนึ่งที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น เหตุการณ์นั้น แต่มองโลกในแง่ร้ายเป็น Attitude เป็นทัศนคติที่ว่าว่าสิ่งต่าง ๆ จะผิดพลาด

 

ความปรารถนาหรือเป้าหมายของผู้คนมักจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเอาไว้ กลุ่มคนที่มองโลกในแง่ร้ายจะคาดหวังว่าสิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้นกับตัวเองและคนอื่น

 

รวมไปถึงผู้ที่สงสัยลังเลเกี่ยวกับผลลัพธ์ในเชิงบวกด้วย เช่น “มันจะดีหรือเปล่านะ” ดังนั้น ถ้าถามว่าแตกต่างกันอย่างไร คิดลบจะเป็นแค่ชุดความคิดหนึ่งที่บั่นทอนเรา

 

ในขณะที่การมองโลกในแง่ร้ายจะทำให้เราและคนรอบข้างระมัดระวังตัวเองมากขึ้น แต่อาจจะหมายถึงการมองว่าทุกอย่างแย่ไปหมดได้เหมือนกัน มีทั้งข้อดีข้อเสีย

 

 

ข้อดีและข้อเสียของ คิดลบ มีอะไรบ้าง?

ในส่วนของข้อดี อย่างที่บอกไปว่า คนที่สงสัยลังเลว่าสิ่งนั้นจะดีไหม? ถือว่าเป็นการมองโลกในแง่ร้าย เพราะในความเป็นจริงควรมองให้ตรงกับเหตุการณ์ วิเคราะห์และคาดการณ์แทนการสงสัยลังเล 

 

กลุ่มคนที่สงสัยลังเล อาจทำให้เขาได้เห็นถึงปัจจัยบางอย่างที่น่าจะทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงลบ แล้วไปแก้ไข ผลลัพธ์ที่ตามมาเลยจะเป็นเชิงบวกแทน แบบนี้จะทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการคิดลบ

 

แต่ในส่วนของข้อเสีย อาจเกิดความวิตกกังวล ความกระวนกระวายใจ ชีวิตขาดความสุข ขาดสีสัน ทำให้เรามองข้ามสิ่งดี ๆ ไป หรือพัฒนาไปถึงการเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคแพนิคได้ด้วย

 

 

คิดลบ มีสาเหตุมาจากอะไร?

จากที่สังเกตในสังคมไทย ส่วนใหญ่มาจาก

1. ค่านิยม 

ในโซเชียลมีเดีย เวลามีเรื่องอะไรเกิดขึ้นที่ยังไม่มีข้อสรุป แต่มีกลิ่นอายของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง คนจะพุ่งไปที่การตัดสิน ต้องเป็นแบบนี้แน่ ๆ ยิ่งถ้าเป็นกลิ่นอายแย่ ๆ จะเกิดความคิดเชิงลบ

 

คิดแล้วว่าอันนี้แย่แน่ ซึ่งสิ่งนี้แหละ จะทำให้ความคิดลบพัฒนาไปไกลกว่าเดิม เพราะเราไปคิดถึงคนอื่น ไม่ได้คิดถึงคนอื่น แล้วสุดท้ายจะพัฒนากลายเป็นการมองโลกในแง่ร้ายต่อไป 

2. สิ่งแวดล้อม

อันนี้จะรวมไปถึงทั้งสถานที่เรียน สถานที่ทำงาน ครูบาอาจารย์ บางทีดารามีส่วนเหมือนกันนะ เพราะดาราเปรียบเสมือนบุคคลสาธารณะ บุคคลตัวอย่าง ถ้าเกิดมีตัวอย่างแบบนี้

 

คนจะทำเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ ในยุคนี้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปแล้ว จึงเป็นต้นแบบในการสื่อสาร การพูด การแสดงความคิดเห็น ทุกอย่างจะส่งผลถึงกันหมด จะสร้างความคิดลบ

 

หรือการมองโลกในแง่ร้ายให้เกิดขึ้นได้ โดยใช้คำว่า ก็ผมคิดของผมแบบนี้ คุณคิดของคุณอย่างนั้น แต่จริง ๆ แล้วการการรับผิดชอบสิ่งที่พูดในที่สาธารณะเป็นเรื่องสำคัญมาก 

3. การเลี้ยงดู

มีงานวิจัยที่นำมาอ้างอิงได้ ผลพบว่าการเลี้ยงดูสามารถทำให้เกิดการคิดลบหรือการมองโลกในแง่ร้ายได้ จากสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถให้ความปลอดภัยแก่เด็กได้

 

และบางอย่างที่มีการกระทบกระทั่งกันอย่างรุนแรงกลายเป็นบาดแผลทางใจฝังรากรึกลงไปในจิตใจของเด็ก นั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นิสัยคิดลบเกิดขึ้นได้

 

สิ่งนี้จะพ่วงมาด้วยภาวะวิตกกังวลได้อีกด้วย พอเติบโตมาในพื้นที่ที่มีความวิตกกังวลมีความร้ายแรง สิ่งแรกที่เด็กจะทำคือโทษพ่อแม่ ไม่โทษตัวเอง ซึ่งการโทษตัวเอง

 

เป็นสับเซ็ตของการคิดลบและเป็นสับเซ็ตของการมองโลกในแง่ร้ายอีกที และถ้าโทษตัวเองบ่อย ๆ จะติดเป็นนิสัย มีอะไรจะโทษตัวเอง ทั้งที่ไม่ผิด แล้วจะพัฒนาไปไกล 

 

 

คิดลบ จนทำร้ายตัวเอง ทำอย่างไร? 

พบนักจิตวิทยาอันดับแรก เพราะถ้ากระทบตัวเองและกระทบคนรอบข้าง เราอาจจะมีอาการหรือโรคทางจิตเวชเข้ามาเกี่ยวข้องโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ ถ้าเราไม่ตรวจไม่คุยเราก็ไม่รู้

 

แล้วถ้าปัญหามาขนาดนั้น แปลว่าคุณจัดการตัวเองไม่ได้แล้ว ต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้ความช่วยเหลือ ไปหาใครก็ได้ อยากจะสร้างค่านิยมใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ

 

คุณต้องรู้ว่าลิมิตอยู่ตรงไหน อย่างก่อนหน้านี้ที่คุยกัน ถ้าคุณอยากหาคุณหาได้เลย ไม่ต้องรอจุดหนักจุดเบา แต่ถ้าคิดลบจนตัวเองแย่ รบกวนคนรอบข้างแล้ว พบนักวิชาชีพดีกว่า

 

เพราะถ้าเกิดแนะนำอะไรไป คุณมีทัศนคติเชิงลบอยู่แล้ว ไม่รู้คุณจะเปิดรับหรือเปล่า หรือต่อให้เปิดรับ คุณทำได้ดีไหม อาจจะตอบไม่ได้ แล้วก็รับผิดชอบชีวิตคุณไม่ได้

 

แต่ถ้าคุณไปพบนักวิชาชีพซึ่งเป็นใครก็ได้ เขานั่งอยู่กับคุณ ได้คุย ได้สัมผัส ได้รู้อะไรที่ลึกกว่า เจอตัวเป็น ๆ เขาจะคุยกับคุณได้ลึกซึ้งกว่า ปัญหาของคุณอาจจะมีอะไรที่มากกว่าการคิดลบ

 

ลองหาใครก็ได้ที่สบายใจ ใกล้ตัว ราคาถูก หรือจะจ่ายแพงก็ได้ ถ้ารู้สึกชอบคนนี้เป็นพิเศษ การพบนักจิตวิทยาเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องที่แปลก มันเหมือนกับคุณเป็นหวัดแล้วไปหาหมอ

 

อยากจะเชิญชวนคุณผู้ฟังที่ติดตาม Alljit หรือใครก็ตามที่มาดู ว่าเราอยากสร้างค่านิยมใหม่ ๆ ว่า สุดท้ายแล้วมันไปหาได้ มันเป็นเรื่องง่าย มันเป็นเรื่องปกติมาก 

 

 

วิธีการจัดการเบื้องต้น

ถ้าตั้งเลยว่าจะทำให้ คิดลบ ไปเป็น คิดบวก ในมุมมองคิดว่าผิดตั้งแต่แรก เราไม่ควรรีบเปลี่ยนอะไรทันทีทันใด เราควรดูก่อนว่า ตอนเราคิดลบ ตัวเราเป็นยังไง ตัวเราได้รับผลกระทบอะไรมา

 

ลองนิ่ง ๆ กับตัวเองในตอนนั้นดู ลองทำความรู้จักตัวเองในตอนนั้นดู พอเรารู้จักตัวเอง เราจะเริ่มรู้แล้วว่าเราจะทำอะไร ก่อนที่เราจะเปลี่ยนจากกราฟเชิงลบเป็นกราฟเชิงบวก เราต้องค่อย ๆ ไต่

 

และอยู่ตรงกลางให้เป็น แล้วในสเกลของมนุษย์ Normal ไม่ใช่ Normal line ไม่ได้เป็นเส้น แต่เป็น Normal range เป็นระยะตรงกลาง ถ้าอธิบายง่าย ๆ สมมติว่าเป็นกราฟ มีเส้นตรงกลาง

 

ภาวะปกติของคนอาจจะเป็น 0 ถึง 10 และ 0 ถึง -10 แปลว่าคนเราขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ มันอาจจะมีบางช่วงที่ขึ้นสุดลงสุด แต่จะไม่ถี่ ส่วนสำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะต่ำกว่า -10

 

คนที่มีความสุขมากจนเกินไป อาจจะป่วยเป็นอีกโรคหนึ่ง เช่น อาการ Mania ของโรคไบโพลาร์ จะทะลุ 10 ไปแล้ว ดังนั้นกราฟต้องค่อย ๆ ขึ้น ตอนนี้อาจจะ -8 แล้ว

 

อยากจะกระโดดขึ้นมา ให้ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ ดู ค่อย ๆ สังเกตว่าตัวเองเป็นอย่างไร บางทีเราร้อนรนกับความทุกข์จนเราตั้งสติไม่ได้ พอเราตั้งสติได้ อย่างที่บอก ตัวช่วยมีเยอะแยะ

 

หรือว่าง ๆ สามารถอัพเดทตัวเองได้ อาจจะฟังพอดแคสต์ Alljit หรือช่องอื่น ๆ ก็ได้ นักวิชาชีพที่ชำนาญพูดกันเยอะมาก ๆ ดังนั้นทำให้เป็นเรื่องปกติของชีวิต ป้องกันไว้ดีกว่าแก้

 

แต่ในวันที่คุณแย่ คุณต้องใจเย็น ๆ ตั้งสติ อย่าเพิ่งใจร้อน ค่อย ๆ เรียบเรียงว่าปัญหาคืออะไร แล้วดูว่าจะจัดการกับมันอย่างไรดี เพราะถ้าเกิดคุณอยู่ในลิมิตที่คุณยังไหวอยู่

 

คุณจะรู้ว่าคุณไปต่อได้ แต่ถ้าเกินลิมิตที่ไม่ไหวแล้ว ไม่ต้องพยายามแล้ว ต้องพบนักวิชาชีพ เพราะจังหวะนั้นจะมีความซับซ้อนอยู่ข้างล่างที่ตัวเราไม่สามารถแก้ไขได้ 

 

แต่ไม่ค่อยอยากให้วิธีตรง ๆ เพราะแต่ละคนชอบไม่เหมือนกัน บางคนก็อินกับธรรมมะ บางคนก็อินกับกีฬา บางคนก็อินกับหนังสือ บางคนก็อินกับกาแฟ

 

บางคนจะใจเย็นที่สุดเวลาอยู่กับกาแฟ ทำให้เขาอยู่กับอาการแพนิคได้ดีขึ้น หายจากแพนิคได้ มันจะต้องมีช่วงเวลาที่ได้อยู่นิ่ง ๆ สักช่วงหนึ่ง เพื่อสังเกตตัวเอง

 

ขอให้นิ่ง ๆ ก่อน ใจเย็น ๆ บางทีช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุด ไม่ใช่การดีขึ้นในช่วงเวลาที่แย่ แต่เป็นการนิ่งให้ได้ รู้จักตัวเองให้เป็น ในช่วงเวลาที่เราแย่และกระสับกระส่ายที่สุด 

 

 

อย่าลืมนะคะ นิ่งให้ได้ รู้จักตัวเองให้เป็น คิดลบจะน้อยลง คิดบวกจะมากขึ้นเอง 🙂