ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพราะ เรื่องผี เรื่องลี้ลับ เรื่องสยองขวัญ เรื่องพวกนี้ถึงดึงดูดและน่าฟังกว่าเรื่องทั่วไปหรือเปล่า ไขข้อสงสัยทำไมเรื่องลี้ลับถึงน่าดึงดูดในทางจิตวิทยาได้ที่บทความนี้ค่ะ
ผี และ สิ่งลี้ลับ
“ผี” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายว่า สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้
มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน หรือกระทั่งการใช้เรียกคนที่ตายไปแล้ว
“สิ่งลี้ลับ” คือ สิ่งที่ไม่สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป แต่เมื่อสัมผัสหรือพบเห็นแล้ว อาจทำให้เกิดความสนใจต่อมาได้ และสิ่งลี้ลับที่อยู่ในรูปของพลังงาน
จะเป็นพวกผี วิญญาณ แต่สิ่งลี้ลับที่มีตัวตนก็คือมีร่างกายไว้สิงสถิตย์ เช่น ปีศาจ สัตว์ประหลาด
ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี
1. ปลดปล่อยอารมณ์
จริง ๆ แล้วภายใต้จิตใจของมนุษย์มีอารมณ์ที่รุนแรงซ่อนอยู่ เวลาที่ได้ฟังหรือ ดูเรื่องน่ากลัวทำให้รู้สึกได้ถูกปลดปล่อยออกมา
การดูหนังผีหรือ ฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับผี เวลาที่มีฉากที่ทำให้เราระทึก หรือรู้สึกกลัว ช่วงเวลานั้นในสมองเกิดฮอร์โมนอะดรีนาลีน หลั่งเพื่อตอบสนองกับสิ่งที่เสมือนอันตรายและเตรียมความพร้อมให้กับร่างกายในการสู้
ทำให้เกิดความรู้สึกคล้ายตื่นตัว และตื่นเต้น เป็นผลมาจากการที่สมองหลั่งฮอร์โมนความสุขชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโดพามีน จึงทำให้การฟังเรื่องผีที่น่ากลัว ทำให้ตื่นตัวและมีความสุข
2. กิจกรรมทางร่วมกันทางสังคม
เคยไหมตั้งแต่เด็ก ๆ เวลาจับวงเล่าเรื่องผี และสิ่งเล้นลับ เพื่อนจะมาล้อมเป็นพิเศษ แล้วทุกคนจะเงียบตั้งใจฟัง ซึ่งการที่เป็นแบบนี้มีตั้งแต่สมัยโบราณแล้วนะเราจะเห็นได้จากหนังไทยยุคก่อน ๆ เช่น กระสือ ปอบ
3. ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพื่อตอบสนองความรู้สึก
เพราะเรื่องผีเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าจริงไม่จริง การฟังเรื่องผีเหมือนเป็นการเติมเต็มความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
ทำไมคนเราชอบฟังเรื่องผี เพราะทำให้หลับง่ายขึ้น?
คุณเจฟ คาห์น หนึ่งในผู้วิจัยเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมการนอนโดยอาศัยเทคโนโลยีและผู้ร่วมก่อตั้ง RISE Application เพื่อการนอนหลับได้อธิบายความสัมพันธ์
ของการฟังและการนอนหลับว่า การฟัง Podcast ก่อนนอนจะช่วยให้สมองรู้สึกผ่อนคลาย และเหมือนเป็นการสร้างกิจวัตรให้ร่างกายรับรู้ว่าถึงเวลานอนแล้ว
ดร.ลินซีย์ บราวนิง นักจิตวิทยาคลินิกและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการนอน Navigating Sleeplessness กล่าวว่า การฟัง Podcast จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจเราไปยังเรื่องอื่นนอกเหนือเรื่องที่เรากำลังเครียด
ซึ่งเหตุผลที่เรื่องผีเป็นที่นิยมในการฟังก่อนนอน เพราะการเสพสื่อพวกนี้ สามารถลดระดับคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดได้
จากงานวิจัย Pandemic practice : Horror fans ในวารสาร Personality and individual differences กล่าวว่า ความกลัวจะกระตุ้นการตอบสนองทางสรีรวิทยา
เช่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก รูม่านตาขยาย หลังจากนั้นร่างกายจะเข้าสู่โหมดจัดการอารมณ์ลบเพื่อหนีความกลัว และเมื่อเริ่มสงบสติอารมณ์ลง หัวใจจะเต้นช้าลง และหยุดผลิตคอร์ติซอล สมองรู้สึกผ่อนจะคลายในท้ายที่สุด
โรคกลัวผี Phasmophobia
‘โรคกลัวผี’ เป็นอาการกลัวสิ่งเหนือธรรมชาติ สิ่งลี้ลับ จัดอยู่ในกลุ่มโรคอาการกลัว Phobia แต่โรคกลัวผี จะต้องมีอาการต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 เดือน
มีความกลัวและวิตกกังวลเกินปกติและควบคุมไม่ได้ พยายามทำทุกทางที่จะหลีกหนีสิ่งนั้น ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น
ไม่กล้าอยู่คนเดียว กลัวความมืดแม้เพียงเล็กน้อย นอนหลับยาก สำหรับโรคกลัวผีนี้ นอกเหนือจากความกลัวจากภาพจำในสมองแล้ว ยังกลัวสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและทึกทักว่า เป็นผีอีกด้วย
ซึ่งพวกสื่อหรือภาพยนตร์ แม้กระทั่งความเชื่อที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เรื่องเล่าต่าง ๆ สภาพแวดล้อมก็มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยจะพบความกลัวผีได้มากในวัยเด็ก
และเริ่มหายกลัวเมื่อโตขึ้น แต่หลายคนก็ยังคงมีอาการนี้ และอาจร้ายแรงขึ้นจนมีอาการหลอน หากกระทบกับชีวิตประจำวันมาก ก็ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน
การรักษามี 2 แบบ คือ รักษาทางจิตบำบัดและยา หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน การใช้ยาจะเป็นการรักษาชั่วคราว แค่บรรเทาอาการทางกายลง
แต่การเอาชนะความกลัวอาจจำเป็นต้องเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อจัดการกับความกลัวและอาการต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ
ประโยชน์ของความกลัว
จากงานวิจัยของนักสรีรวิทยาในลอนดอน พบว่าเมื่อเรารู้สึกกลัวจากการดูหนังสยองขวัญ อัตราการเต้นของชีพจรจะสูงขึ้น ทำให้อะดรีนาลินและเลือดไหลเวียนเร็วขึ้น
ทำให้ไขมันและน้ำตาลถูกดึงมาใช้ในกระบวนการเผาผลาญ จึงช่วยลดน้ำหนักได้ อีกทั้งยังมีนอร์อิพิเนฟริน ถูกปล่อยออกมาพร้อมกัน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้เราตื่นตัวเต็มที่ มีสมาธิเตรียมพร้อมรับมือสิ่งต่าง ๆ
ความกลัวทำให้เซโรโทนินถูกหลั่ง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สมองเกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากขึ้น เช่น เดินกลับบ้านเส้นใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
ความกลัวจะทำให้เราระวังตัวมากขึ้น รวมถึงบางที การทำตามสัญชาตญาณจากความกลัว ก็อาจจะช่วยเราให้เลี่ยงเผชิญอันตรายได้เร็วกว่าเดิม
จริง ๆ แล้วความกลัวก็เป็นสัญชาตญาณของเราที่ช่วยปกป้องเราให้มีชีวิตรอดด้วย ถ้าเราไม่กลัวอุบัติเหตุ เราก็คงเดินข้ามถนนโดยไม่แคร์ความปลอดภัยของตัวเอง
ที่มา:
คุยเรื่องผี ๆ แบบจิตวิทยา เรื่องที่ว่าปรากฏการณ์เกี่ยวกับ “ผี”
The Psychology Behind Why We Love (or Hate) Horror
8 เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่าทำไม “ความกลัว” ส่งผลดีกับเรา
Post Views: 345