การนอนหลับนั้นสำคัญต่อชีวิตของเรามาก คนส่วนมากโดยทั่วไปใช้เวลา 1 ส่วน 3 ของชีวิตในการนอนหลับ ไม่ใช่แค่มนุษย์เราเท่านั้นที่ต้องการการนอนหลับ สัตว์ต่าง ๆ รวมถึงพืชเองก็มีช่วงเวลาพักผ่อน
บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ อยากเปลี่ยนจากคน นอนหลับยาก มาเป็น คนนอนหลับง่าย เราสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?
คนไทยประมาณ 40% หรือราว ๆ 19 ล้านคน มักพบเจอกับปัญหานอนหลับไม่เพียงพอ ปัญหาการนอนที่พบบ่อยที่สุดนั่นคือ นอนไม่หลับ
นอนน้อย หลับ ๆ ตื่น ๆ จนทำให้รู้สึกพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเราไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียต่ออารมณ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ชีวิตของเราได้
นอนหลับยาก พักผ่อนไม่เพียงพอพอส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง?
นอนไม่พอ สมองจะพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ กระทบต่อสุขภาพร่างกาย เหนื่อยง่าย หายใจหอบเหนื่อย กระทบต่อภาวะทางด้านอารมณ์ อารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน
สาเหตุนอนไม่หลับ
1. อาจเกิดจากหลายปัจจัยของความเครียด ซึ่งมาจากภาวะความเจ็บปวดทางด้านจิตใจ จึงส่งผลให้นอนไม่หลับ
2. เจ็บปวดจากโรคทางกายจึงกระทบต่อการนอนหลับ หรือเกิดจากสารสื่อประสาทบางอย่างเราที่หลั่งผิดปกติ
3. การกินยากระตุ้นต่อระบบสมอง สามารถทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม ควรงดกินก่อนเข้านอน 2-4 ชั่วโมง
อยากให้ลองประเมินคุณภาพของการนอนหลับของตัวเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะบางคนมีสิ่งเร้าอยู่ตลอดเวลา ก็เกิดขึ้นได้ว่าอาจหลับไม่สนิท เป็นสิ่งสะท้อนถึงคุณภาพการนอนว่านอนไม่หลับ
สังเกตเรื่องระยะเวลาในการนอน กว่าเราจะหลับได้ในแค่ละครั้งใช้เวลานานไหม
และสำคัญกว่าไปนั้น เช็คว่าชั่วโมงการนอนหลับที่เกิดขึ้นกับตัวเองมีประสิทธิภาพต่อการใช้ชีวิตในวันถัดไปไหม แม้หนังสือตำราจะบอกว่าคนเราควรพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
แต่บางคนอาจต้องการชั่วโมงการนอนหลับที่แตกต่างกันไป อย่างบางคนนอน 5 ชั่วโมงก็รู้สึกว่าพอต่อร่างกา ยสามารถใช้ชีวิตได้ปกติในวันถัดไปได้
เขาอาจไม่ได้คิดว่าตัวเองมีปัญหาการนอน แต่บางคนต้องการเวลานอนมากถึง 8-10 เพื่อให้เช้าวันถัดไปมีพลังในการใช้ชีวิตอย่างสดชื่น
วิธีจัดการกับการนอนหลับยาก
1. ปรับวัฎจักรของตัวเองการนอนก่อน เซ็ตตัวเองให้ชัดเจนว่าช่วงเวลาไหนเข้านอน เวลานอนสำคัญมากเพื่อให้ร่างกายคุ้นชินว่าเวลาไหนควรนอน จนกว่าร่างกายได้เรียนรู้
2. ปรับบรรยากาศในการนอนมีผลต่อการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิห้อง บรรยากาศ ที่นอน สภาพแวดล้อม เสียง กลิ่น
3. วางเรื่องราวต่าง ๆ ลงก่อน ให้ความคิดก่อนนอนโล่ง ๆ กลับมาอยู่กับปัจจุบันให้มากขึ้น หรือสำหรับใครที่เลี่ยงการคิดไม่ได้ ก็ให้เปลี่ยนเรื่องคิดก่อนนอนให้ตัวเองได้ผ่อนคลายให้มากขึ้น
4. ดนตรีบำบัดช่วยในการนอนหลับ ดนตรี Jazz จะเป็นหนึ่งสิ่งที่ทำให้ผ่อนคลายได้ค่อนข้างดี
สุดท้าย หากลองทำแล้วรู้สึกว่าการนอนหลับพักผ่อนของตัวเองไม่ดีขึ้นเลย การเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็เป็นสิ่งที่จะช่วยได้ เราจะเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นและจัดการได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
Post Views: 2,635