จิตแพทย์

พบ จิตแพทย์ เมื่อสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า

เรื่องAdminAlljitblog

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ “โลกซึมเศร้า” ถ้าใครกำลังเครียดหรือเศร้า จนตัวเองรู้สึกไม่ไหวแล้วอยากลองไปพบหมอ

 

วันนี้เรามาร่วมพูดคุยกันในรายการ “โลกซึมเศร้า” กับหัวข้อ เมื่อสงสัยว่าเป็นซึมเศร้า พบ จิตแพทย์ ที่ไหนดี ?

 

สัญญาณเตือนที่ต้องมาพบ จิตแพทย์ 

สารบัญ

1. พฤติกรรมเราเริ่มเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ความรู้สึก ความคิดและพฤติกรรม

2. เริ่มทุกข์ใจกับอาการที่เป็น

3. อาการที่เป็นกระทบกับการใช้ชีวิต

4. หรือแค่ไม่สบายใจก็มาพบจิตแพทย์ได้แล้ว

 

เตรียมตัวมาพบ จิตแพทย์

1. ศึกษาข้อมูลของสถานพยาบาลที่จะเข้ารับคำปรึกษา

เช่น ต้องไปประมาณกี่โมง เราว่างช่วงไหนในวันนั้น เพราะบางสถานพยาบารับคนไข้น้อย ต้องไปจองคิว หรือบางสถานพยาบาลรับคนไข้ค่อนข้างเยอะ ก็จะทำให้การเข้ารับการรักษาค่อนข้างช้า

 

2. เตรียมบัตรประชาชนหรือเอกสารที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์

 

3. เตรียมตัว เตรียมใจ ไปให้พร้อม

อาจจะมีการจดบันทึกสิ่งที่เราอยากบอกกับหมอ อาการ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ชีวิต หรือความเจ็บปวดที่เจอ การเขียนจะทำให้ความรู้สึกที่อยู่ข้างในเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

 

ขั้นตอนการเข้ารับคำปรึกษา

  1. ลงทะเบียนคัดกรอง
  2. ซักประวัติกับพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่รับคิว  
  3. เข้าพูดคุยกับนักจิตวิทยา 
  4. เข้าพบจิตเเพทย์ 
  5. นัดครั้งถัดไป รับยา 

 

ไปพบ จิตเเพทย์ =เป็นโรคซึมเศร้าเสมอไปไหม?

ไม่เสมอไป เพราะอาการทางจิตเวช หรือภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับจิตใจ มีอีกเยอะมาก ๆ หรือบางทีแค่เครียด เราก็สามารถเข้าไปพบกับนักจิตวิทยาได้แล้ว 

 

ทำไมเป็นเบาหวานหาหมอได้ ?

 

แล้วทำไมคิดมากจนนอนไม่หลับถึงไปหาหมอไม่ได้?

 

ความแตกต่างของสถานพยาบาล

โรงพยาบาลรัฐ

ราคา  : ถูกที่สุด(ตามระเบียบของกระทรวง)

ความสะดวก : การนัดพบอาจจะมีระยะ 1 เดือนขึ้นไป เนื่องจากมีคนเข้าใช้บริการเยอะ

การใช้สิทธิ : บัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการและอื่นๆ

 

โรงพยาบาลเอกชน

ราคา : ราคาสูง (แต่ละที่จะมีการกำหนดราคาต่างกัน)

ความสะดวก : รวดเร็วที่สุด (เลือกหมอเองได้)

การใช้สิทธิ : ประกันไม่ครอบคลุม

 

คลินิกจิตเวช

ราคา  : ราคาสูง(อาจจะมีการคิดราคายาต่อเม็ด)

ความสะดวก : รวดเร็ว(สามารถไปหานอกเวลาราชการได้)

การใช้สิทธิ : ประกันไม่ครอบคลุม

*ควรเลือกโรงพยาบาลที่สามารถไปพบแพทย์ได้สะดวก เพราะกระบวนการการรักษาต้องอาศัยความต่อเนื่อง

 

 

อายุต่ำกว่า 18 ไปพบจิตแพทย์เองได้ไหม

หากเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี Walk in เข้าหาจิตแพทย์โดยไม่มีผู้ปกครอง จะถือว่ายังไม่เป็นผู้ป่วย ดังนั้น จะได้รับบริการให้คำปรึกษา ได้รับการดูแลเบื้องต้น และสามารถตรวจสุขภาพจิตได้

 

คุณหมอจะต้องให้บริการทั้ง inform และ consent มีการคัดกรองผู้ป่วย และจำแนกเป็นแต่ละประเภท ประเมินในส่วนของภาวะอันตรายและเร่งด่วนในการบำบัดรักษา และประเมินความปลอดภัยของเด็ก

 

หากเป็นเคสฉุกเฉิน ส่งผลต่อชีวิตของตนเองและผู้อื่น มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง มีบาดเเผล แม้มากหรือเล็กน้อย จิตแพทย์สามารถให้การรักษาได้ทันที ตามหลัก  ” จรรยาบรรณแพทย์ ”

 

 “โดยยึดถือประโยชน์และสิทธิของเด็กเป็นอันดับ 1”

 

หากเป็นเคสไม่ฉุกเฉิน (ถ้าเป็นซึมเศร้า จะเป็นภาวะซึมเศร้า ไม่ถึงขั้นเป็นโรค ) ผู้ให้บริการจะให้คำปรึกษา ช่วยเหลือเบื้องต้น พูดคุยในเคสคลายความกังวล

 

และสอบถามความสมัครใจว่าสามารถที่จะพูดคุยกับผู้ปกครองได้ไหม ให้หมอหรือนักสังคมสงเคราะห์ช่วยไหม และจะดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

 

ปลายทางของ 2 เคสนี้คือ “ เด็กได้รับการรักษาและหายจากโรคจิตเวช “

 

 

นักจิตวิทยา VS จิตแพทย์ บทบาทที่ต่างกัน

จิตแพทย์ ทำหน้าที่วินิจฉัยโรค ให้คำแนะนำ และสั่งยา

 

นักจิตวิทยา จิตบำบัด เน้นพูดคุย รับฟังทุกอย่าง ให้กำลังใจ และสะท้อนให้เราเห็นอีกมุม

 

 

ไม่สบายใจเฉย ๆ ไปพบจิตแพทย์ได้ไหม

 

การพบจิตแพทย์ในวันที่เรารู้สึกไม่มั่นคงทางความรู้สึก ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเรื่องน่าอาย เพราะปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจเรื่องของสุขภาพจิตกันมากขึ้น จึงทำให้การมาพบจิตแพทย์เป็นเรื่องปกติ 

 

และการมาพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด เมื่อเราสังเกตเห็นว่าคนรอบข้างหรือตนเองเริ่มรู้สึกไม่สบายใจ ก็ควรมาพบจิตแพทย์ เพื่อประเมินอาการและรักษา

 

 

ที่มา:

prachaya.kidwriter