อยากรักตัวเองให้เก่งๆ บางทีรู้สึกว่ารักคนอื่นมากกว่า รักตัวเอง

เรื่องAdminAlljitblog

เคยไหมที่แคร์คนอื่นจนลืมแคร์ตัวเอง รักคนอื่นง่ายกว่า ” รักตัวเอง ” จริงไหม ? แล้วจะทำอย่างไรให้หันกลับมารักตัวเองได้จริงๆ สักที ?

 

 

รักตัวเอง คำง่าย ๆ ที่ทำได้ยาก

รักคนอื่น ง่ายกว่า รักตัวเอง จริงไหม?

จริง ๆ ธรรมชาติของมนุษย์ เรารักตัวเองมากกว่ารักคนอื่น เพียงแต่ว่า การที่เราพยายามบอกว่าเรารักคนอื่นมากกว่ารักตัวเอง อาจเป็นเพราะเราต้องการอะไรบางอย่างตอบกลับมา 

 

หรือคาดหวังว่าการรักเขา เขาอาจจะให้อะไรบางอย่างกลับมา ซึ่งแสดงถึงว่า เรารักตัวเองมากกว่าที่จะยอมเห็นว่าเราให้อยู่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ตามหลักการของธรรมชาติ เราทุกคน

 

รักตัวเองมากกว่าสิ่งอื่นเสมอ เพราะสุดท้ายเราจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ถ้าจะลองสังเกตดู บางทีเวลาเราทำอะไรบางอย่าง เราจะรู้สึกว่าเราคิดถึงคนนั้นจังเลย อยากซื้อ

 

สิ่งนี้ให้เพื่อนกินจังเลย ลองถามตัวเองลึก ๆ ว่า เราซื้อให้เพื่อนกิน เราอยากเห็นเพื่อนตอบกลับมายังไง ‘ เราอยากให้เพื่อนยินดีให้เราเข้ากลุ่มหรือยอมรับเรามากขึ้นหรือเปล่า

 

แต่หลาย ๆ คนมักจะมองเห็นว่า เราทำเพื่อคนอื่นอย่างมาก แต่ว่าตามหลักการของมนุษย์ ลองดูวันหนึ่งที่เกิดวิกฤตขึ้น สุดท้ายเราจะเอาตัวเองนี่แหละรอด 

 

รักตัวเอง คืออะไร ในทางจิตวิทยา?

จริง ๆ มีหลากหลายทฤษฎีเขียนถึงเรื่องนี้ ว่ามีนิยามแบบนี้ รักตัวเองต้องเท่ากับประมาณนี้ แต่ว่าถ้าจะให้สรุปโดยภาพรวมว่า ‘รักตัวเอง’ คืออะไร รักตัวเองเป็นการที่เราเข้าใจ

 

เป็นการที่เราสามารถยอมรับความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างสนิทใจ เรารู้ว่าเราเป็นอย่างไร เรารู้ว่าเราทำสิ่งเหล่านี้เพราะอะไร เราเป็นคนคนหนึ่งที่เกิดมา ต้องผิดพลาดบ้าง 

 

เรายอมรับในความผิดพลาดตัวเอง เราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบในทุก ๆ เรื่อง เราไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนหนึ่งของทุก ๆ คน เพียงแต่ว่า เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราอย่างสมบูรณ์แบบ 

 

มันสะท้อนให้เห็นว่า เราเป็นคนที่รักตัวเอง เพราะถ้าเราเริ่มยอมรับตัวเองได้ เราจะเข้าใจความต้องการของตัวเอง พอเรารู้ว่า แค่ไหนคือความต้องการของเรา เราจะทำแบบนั้น 

 

ไม่ให้ขัดแย้งกับความรู้สึกของตัวเราเอง ถ้าจะสังเกต หลาย ๆ คนเวลาทำเพื่อคนอื่นมาก ๆ แต่นั่นไม่ใช่ความต้องการของเขา แต่เป็นความต้องการของคนอื่น เพียงแต่ว่าเขาทำ

 

เพื่อคนอื่นมาก ๆ เพราะเขาอยากให้คนอื่นยอมรับ อยากได้รับความรักจากคนอื่น แต่ในขณะเดียวกัน นั่นแย่ในตัวเอง ที่ต้องทำเพื่อคนอื่นอยู่เสมอ 

 

รักตัวเอง กับ ใจดีกับตัวเอง แตกต่างกันอย่างไร?

จริง ๆ คงเป็นนิยามที่ดูแตกต่างกัน ในรากศัพท์คงมี 2 คำนี้อยู่ แต่การที่จะใจดีกับตัวเองได้ เราคงต้องรักตัวเองก่อน แต่ถ้าเราไม่รักตัวเอง เราจะใจดีกับตัวเองไม่เป็น หรือถ้าเราไม่ใจดีกับตัวเองเลย 

 

นั่นแปลว่าตัวเราเองอาจจะรักตัวเองไม่เป็นเช่นกัน คงไม่ใช่อะไรที่เหมือนหรือต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่คงมีบางอย่างที่คาบเกี่ยวกัน แต่สุดท้ายนี่คือการที่เราเข้าใจและเป็นตัวเองในแบบที่อยากจะเป็น 

 

จะรู้ได้ยังไงว่านี่คือ รักตัวเอง หรือ เห็นแก่ตัว?

ถ้า 2 คำนี้มีเส้นบาง ๆ เวลาที่เรารักตัวเองคือเรารู้ความต้องการ เรารู้ว่าโลกภายในเป็นอย่างไร โลกภายในคือ จิตใจ ความต้องการ ความรู้สึก ความคิด เป็นอย่างไร 

 

ถ้ามีมากเกินไป มากเกินในขนาดที่ว่า เราทำไปเพียงเพราะผลประโยชน์ เรารักตัวเองแน่นอนอยู่แล้ว ทีนี้พอเราทำเพื่อตัวเองโดยที่เราไม่แคร์เลยว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร จะรู้สึกอย่างไร

 

หรือว่าความต้องการของคนอื่นเป็นอย่างไร คงเป็นคำหนึ่งที่ใช้แทนได้คือคำว่า ‘เห็นแก่ตัว’ หรือบางคนไม่แม้แต่จะยินดีรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ในสิ่งที่คนอื่นบอกว่านี่ยังไม่เวิร์ค

 

นี่ยังไม่ดีที่สุด ถ้าคนที่รักตัวเองจะตระหนักได้ว่า นี่คือการเตือน เพื่อให้เราสามารถปรับเปลี่ยนบางอย่างในตัวเองให้ดีขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกัน คนที่เห็นแก่ตัวจะมองว่า เขาดีที่สุด

 

เขาเก่งที่สุด เขาเพอร์เฟคที่สุด นั่นคือมุมมองที่จะทำให้เห็นว่า คนที่รักตัวเองโดยส่วนมากเขาจะเข้าใจตัวเอง แต่ไม่ได้แปลว่าเขาไม่สนใจหรือแคร์ความรู้สึกคนอื่น 

 

รักตัวเอง กับ หลงตัวเอง เกี่ยวข้องกันไหม? 

ความหลงตัวเอง คล้ายกับ ความหลงใหล พอพูดถึงคำนี้ จะดูเป็น positive หรือ negative นะ ค่อนข้างก้ำกึ่ง ความหลงใหล อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งกับสอดคล้องกับไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราเป็น 

 

แต่ว่าบางคนรู้สึกว่า มีมากเกินไป อย่างเวลาที่เราหลงใหลคนอื่น ชอบคนนี้จังเลย หลงใหลคนนี้จังเลย เขาดูดีไปหมดเลย พูดอะไรมา คงมองว่า พูดตรงดีจังเลย ทั้ง ๆ ที่คนอื่นอาจจะรับไม่ได้ 

 

เราจะเห็นแค่มุมดี ๆ มองไม่ออกว่า จริง ๆ แล้วทุกคนมีทั้งดีและแย่ในตัวเอง คนหลงตัวเองจะเป็นประมาณนั้น รู้จักตัวเองว่า ฉันเก่ง ฉันดี แต่มองไม่เห็นว่ามนุษย์มีอีกฝั่งหนึ่ง คล้าย ๆ กับ

 

เวลาที่เราไปหลงใหลคนอื่น เราจะมองไม่เห็นหรอกว่า คนนี้ไม่ดีอย่างไร? เราจะมองเห็นแต่ด้านดี ๆ สวยๆ สดใส บางทีอาจเกิดเป็นความรู้สึกที่เกินจริงได้ บางคนหลงตัวเองมาก ๆ หรือหลงใครมาก ๆ

 

เราจะแต่งเติมสีสันบางอย่าง ให้เขาเป็นคนที่ดีขึ้น ดูยิ่งใหญ่ขึ้น ดูเพอร์เฟคขึ้น คนที่หลงใหลในตัวเองจะทำแบบนั้นกับตัวเองเหมือนกัน สมมติว่า เก่ง เรายอมรับได้ว่าคนนี้เก่ง เก่งในเบอร์ 3 เบอร์ 4 

 

แต่เขาอาจจะคิดว่า ไม่สิ ฉันเป็นเบอร์ 1 อาจจะใหญ่กว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่ได้สอดคล้องซะทีเดียว มองโลกได้แคบลง 

 

คนที่ทำร้ายตัวเอง รักตัวเองหรือเปล่า?

ต้องเข้าใจก่อนว่า ทำร้ายตัวเองไม่ได้แปลว่าไม่รักตัวเอง ชวนมองแบบนี้ว่า คนที่ทำร้ายคนอื่น รักตัวเองเหรอ? คนที่ทำร้ายคนอื่น ใจดีกับตัวเองหรอ? 

 

คิดว่าจะเป็นคำตอบหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจได้ว่า คนที่ทำร้ายตัวเองอาจจะไม่ได้แสดงว่าไม่รักตัวเองซะทีเดียว แต่อยากให้ทำความเข้าใจมากกว่า

 

ว่าเพราะอะไรเขาถึงทำร้ายตัวเอง คำว่ารักไม่รัก อาจจะเป็นคำที่ดูตัดสินเกินไปหน่อย ถ้ามองลึกลงไปถึงการทำร้ายตัวเองหรือที่มาที่ไปของพฤติกรรม

 

อาจจะเห็นว่า มีอย่างอื่นซ่อนอยู่ข้างหลังอีกเยอะแยะไปหมด จนทำให้เขามองไม่เห็นว่าคืออะไร เกิดอะไรขึ้น แย่ขนาดไหน เขาคงจะหันกลับมา

 

รักตัวเองอย่างไรในเมื่อโลกของเขาเป็นสีเทา ๆ ดำ ๆ อาจจะเป็นเรื่องของวิธีการมากกว่าว่า เขาอาจจะยังไม่เข้าใจวิธีการที่จะรักตัวเองอย่างไร 

 

หรืออาจจะยังไม่ได้เข้าใจว่าเราจะต้องรับมือกับปัญหาเทา ๆ ดำ ๆ ของตัวเองที่เข้ามา คงอึดอัดมาก คงรู้สึกว่าไม่มีที่ที่จะระบายออกไปได้

 

เจ็บปวดจนไม่สามารถจะดึงออกมาเป็นคำพูดได้ วิธีการนี้แหละที่ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด อยากให้มองไปในมุมของวิธีการ

 

ทำความเข้าใจเขามากกว่า เพราะสุดท้ายแล้วเราไม่มีทางตอบได้ว่า คนที่ไม่ทำร้ายตัวเอง เขารักตัวเองหรือเปล่า 

 

เริ่มต้นรักตัวเองอย่างไรดี? 

เวลาที่เราบอกให้คนอื่นรักเรา เราลองเอามาทำกับตัวเอง เวลาที่อยู่ในความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เรามักจะ ‘เธอทำแบบนี้ให้ฉันสิ’ ‘พูดดี ๆ กับเราสิ’ ‘เธอต้องแบ่งปันเราสิ’

 

เราลองทำกับตัวเอง คำว่ารักตัวเองไม่ได้มี how to ที่ชัดเจน 1 2 3 4 ถ้าทำแบบนี้แล้วเท่ากับรักตัวเอง ถ้าอยากรู้ว่าจะรักตัวเองได้อย่างไรบ้าง อาจจะลองหันกลับไปดูว่า

 

‘แล้วเราทำอย่างไรกับคนอื่น’ เราอยากให้คนอื่นทำอย่างไรกับเรา เราลองเอามาทำกับตัวเอง คงเป็นการรักตัวเองเหมือนกัน มากไปกว่านั้น ถ้าเราเริ่มสังเกตได้ว่า เวลาที่จะถึงวันพิเศษ

 

เราจะต้องซื้อของขวัญเซอไพรส์คนพิเศษของเรา ลองทำกับตัวเองบ้าง คงจะเป็นความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเอง จะวันเกิด จะปีใหม่ จะอะไรก็ตาม ลองให้ตัวเองบ้าง

 

คงเป็นวิธีหนึ่ง ที่แสดงออกว่า เรารักตัวเอง ไม่งั้นคงไม่ใส่ใจว่า เราอยากจะมีความรู้สึกดี ๆ กับตัวเองจังเลย เราให้ความสำคัญกับตัวเองน้อยกว่าคนอื่น ทำจนเป็นความเคยชิน

 

เราเลยไม่รู้ว่ารักตัวเองคืออย่างไร จริง ๆ คำถามนี้ถูกถามบ่อยมาก ๆ อย่างในการทำงานของพี่อีฟเอง คนไข้หลาย ๆ คน จะรู้สึกว่า รักตัวเองทำอย่างไร? เป็นคำถามที่ทุกคนไม่รู้

 

ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เลยอยากบอกว่า แบบนี้แหละ ทำอย่างไรให้แฟนรักล่ะ ทำอย่างไรให้เพื่อนรักล่ะ ลองทำกับตัวเองบ้าง 

 

ปรับตัวเองอย่างไรให้กลับมาใส่ใจตัวเองมากขึ้น?

 แน่นอนว่า เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมได้ ตราบใดที่เราจะต้องใช้ชีวิตอยู่ นอกจากว่าเราจะเป็นเด็กทารก จริง ๆ เด็กทารกยังมีสังคมที่เรียกว่าครอบครัวอยู่ดี

 

ถามว่าทำอย่างไรได้บ้างที่จะหยุดแคร์คนอื่น บางทีเราต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางกับสิ่งที่เกิดขึ้น คำพูดทุกคำไม่ได้แปลว่าเราเป็นแบบนั้น ทุก ๆ พฤติกรรมที่เขาแสดงออก

 

ไม่ได้แปลว่า ‘เพราะเรา’ ทุก ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นความผิดพลาด อาจจะไม่ใช่แค่ว่า ‘เพราะตัวเรา’ แต่คงมีองค์ประกอบอื่น ๆ จิ๊กซออื่น ๆ ที่เท่ากับความผิดพลาด

 

อาจจะฟังดูยาก คำว่าปล่อยวาง ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเก็บทุกอย่าง เรามองเห็นแต่คนอื่น เราให้ใจกับคนอื่น แต่ในขณะเดียวกัน เราไม่ได้อะไรกลับมาเลย 

 

สิ่งนี้เป็นอย่างหนึ่งที่ เราต้องเรียนรู้แล้วว่า ปล่อยวางบ้าง อาจะคิดว่า แล้วจะปล่อยวางอย่างไร ในเมื่อต้องอยู่ด้วยกัน คงตอบได้ว่า อยู่กันแบบนั้นแหละ 

 

รับรู้ว่าอีกฝ่ายเป็นคนแบบนี้ ชอบพูดประมาณนี้ มีลักษณะนิสัยประมาณนี้ แค่รับรู้ แล้วปล่อยออกไป สุดท้ายแล้วคนที่ดิ้น ที่รู้สึกแย่ ที่กระอักกระอ่วนกับสิ่งที่เกิดขึ้น

 

จะเกิดขึ้นกับตัวคนนั้น ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราคงจะรู้สึกสบาย ๆ มากขึ้น ถ้าเอาเวลาไปคิดว่า จะทำอะไรให้เขาหายโกรธดี พูดกับเขาอย่างไรดี ลองเอาเวลาไปทำอย่างอื่น

 

กินอะไรดี ช็อปปิ้งที่ไหนดี หรือวันนี้อ่านหนังสือเล่มไหนดี คงมีเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น