สมาธิสั้น

สมาธิสั้น ในผู้ใหญ่แก้ไขอย่างไร? จิตใจชอบวอกแวกอยู่ตลอดเวลา

เรื่องAdminAlljitblog

ปัญหา สมาธิสั้น ในวัยผู้ใหญ่ วัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน อยากชวนให้ลองสังเกตว่าตัวเราเองนั้นเริ่มจดจ่อกับอะไรได้ไม่ดีหรือเปล่า เริ่มทำงานช้าลง อะไรที่ทำแล้วเคยเป็นระเบียบเรียบร้อยก็เริ่มทำไม่ได้ จนได้รับฟีดแบคที่ไม่ดีกลับมาอยู่บ่อยครั้ง

 

บทความนี้ Alljit ร่วมกับ คุณรัชดาภรณ์ ศรีวิลัย นักจิตวิทยาคลินิก พูดคุยในทุกประเด็นในเรื่องสุขภาพใจ สมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่แก้อย่างไร?

สมาธิสั้น ในวัยผู้ใหญ่

เมื่อเจอคำพูดเหล่านั้นเราอาจจะไม่ได้ทันสังเกต แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวเหล่านั้นอาจไม่ได้เกิดจากความไม่รับผิดชอบ แต่เกิดจากสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ จึงส่งผลให้เกิดความไม่รอบคอบในการทำงานมากยิ่งขึ้น

 

เราอาจจะไม่ได้สังเกตตัวเอง เพราะมองว่าตัวเองเครียดเลยทำงานออกมาไม่เสร็จ จึงส่งงานไม่ตรงเวลา ทำงานไม่เรียบร้อย มองว่าเป็นภาวะความเครียด จึงไม่ได้ใส่ใจลงลึกรายละเอียดไปมากกว่านั้น

 

วันนี้อยากชวนให้สำรวจตัวเองว่าเรามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

 

1. อาการเหม่อลอย ขาดสมาธิในการจดจ่อ

 

2. ขี้หลง ขี้ลืม มีปัญหาในการจัดระเบียบให้ตัวเอง 

 

3. ไม่สามารถควบคุมภาวะภายในของตัวเองได้ เช่น ชอบพูดแทรก

 

4. ขี้เบื่อมาก รู้สึกอึดอัดที่จะต้องทำอะไรซ้ำ ๆ ทำให้จับใจความอะไรสำคัญ ๆ ไม่ได้

 

5. ปัญหาในเรื่องของอารมณ์ ขี้หงุดหงิด โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ของตัวเองจากภายในไม่ได้ เพราะสารสื่อประสาทในการควบคุมตัวเองหลั่งได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร 

ผลกระทบที่ตามมา

1. ขาดแรงจูงใจการทำงาน ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงานให้เสร็จ ไม่มีการวางแผนในการทำงาน ไม่สามารถออกแบบตัวเองได้และจำกัดตัวเองให้ทำได้อย่างที่ตั้งเป้า 

 

2. มีอารมณ์โมโห ด่าทอ ทำร้ายร่างกาย ซึ่งส่งผลในเรื่องของสัมพันธภาพให้คนรอบข้างไม่อยากเข้าใกล้ 

 

3. เครียด ขี้เบื่อ ไม่อยากทำอะไร แล้วหันไปหาเหล้า เบียร์ สารเสพติด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกดีขึ้นแต่ส่งผลเสียให้การงานแย่ลง เลิกลากับคู่ครอง สุขภาพเสีย

ถ้าหากเราเริ่มสงสัยตัวเองจากการสำรวจตัวเองและไปมีผลกระทบ

ข้อแนะนำคือการไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัย แต่ถ้าอยากปรับพฤติกรรมด้วยตัวเองสามารถเริ่มได้ด้วยการปรับพฤติกรรมเพราะเป็นเรื่องที่จำเป็นมากถ้าหากเราต้องการเปลี่ยนตัวเองเพื่อเป็นคนนิสัยใหม่ 

วิธีการปรับพฤติกรรม

1. ค่อย ๆ ปรับปรุงทักษะในการจัดการ บริหารเวลาของตัวเอง จดบันทึกออกมา เรียงให้ชัดเจน อย่าเอาแต่คิดอยู่ในหัว แต่ต้องเขียนออกมาเพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

เช่น ค่อย ๆ ย่อยงานออกมาให้ง่ายขึ้น เราจะรู้สึกไม่หมดกำลังใจในการทำงาน

 

พยายามจัดสรรเวลาที่จะทำตามเป้า อยากให้ทำทุก ๆ อย่างตามแพลนที่เราวางไว้ ช่วงแรกอาจจะเป็นเรื่องที่ยากหน่อย แต่เราต้องฝืนตัวเอง ทำตามเป้าที่เราเขียนไว้ในแต่ละวันให้ได้ และควรทำอย่างสม่ำเสมอ

 

สัก 2-3 สัปดาห์ เราจะเริ่มชินและรู้สึกไม่เป็นการฝืนตัวเองอีกต่อไป

 

2. ทักษะการจัดการอารมณ์ของตัวเอง อดทนกับการรอคอย ฝึกการควบคุมตัวเองจากภายใน ฝึกการอดทน หรือหาอะไรที่ช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากการรอคอย พอเราเริ่มรู้ทันอารมณ์ตัวเอง

 

พยายามควบคุมลมหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ ลองกำมือแน่น ๆ และปล่อย หรือบีบมือแน่น ๆ จะช่วยให้เรากลับมาอยู่ในปัจจุบันและลดความตึงเครียดลงได้

 

3. การแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ดีขึ้น อะไรที่เราคิดว่ายากและซับซ้อนทำให้เราเกิดความไม่อยากทำ ลองทบทวนและค่อย ๆ ทำความเข้าใจ ดึงออกมาแล้วค่อย ๆ แก้ ดูว่าเราสามารถใช้วิธีไหนได้บ้างในการจัดการ

 

เพื่อให้ตัวเราเองค่อย ๆ หาวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาเหล่านั้น ค่อย ๆ ทำความเข้าใจปัญหา

 

4. ฝึกการเผชิญหน้ากับความผิดหวังหรืออะไรที่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อเราเจอปัญหาแล้วหลีกเลี่ยง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มีแรงจูงใจในการทำอะไรให้สำเร็จ อยากให้ค่อย ๆ กลับมาเผชิญหน้ากับเรื่องที่เรารู้สึกว่ายังค้างคาอยู่

 

5. เมื่อทำทุกอย่างแล้ว อย่าลืมที่จะชื่นชมตัวเอง ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราลงมือทำ ทำสำเร็จไปบ้างแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ขอให้ชื่นชมตัวเอง เพราะอย่างน้อยเรามีความพยายามที่จะทำให้ทุกอย่างออกมาดีขึ้นได้

 

สุดท้ายนี้ อย่าลืมสำรวจตัวเองว่าเรามีลักษณะบางอย่างข้างต้นที่กล่าวไปหรือไม่ ถ้าหากคิดว่าอยากจะปรับแต่คิดว่าเป็นเรื่องที่ยาก

 

อยากให้ค่อย ๆ ลอง กลับมาเริ่มด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ค่อย ๆ พยายามก้าวเดินไปทีละก้าว เพราะการที่เราได้ลองลงมือทำ ก็สามารถเห็นความพัฒนาในการปรับเปลี่ยนของตัวเราเองได้แล้ว